ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองทัพบกไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 710: บรรทัด 710:
| 8
| 8
|
|
|-
| {{THA}}
| [[ดีทีไอ-1จี|DTI-1G]]
|
|
|-
|-
| {{UK}}
| {{UK}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:53, 3 กันยายน 2556

กองทัพบกไทย
ตราราชการกองทัพบก
ประเทศไทย
รูปแบบกองทัพบก
กำลังรบกองประจำการ 190,000 นาย
9 กองพลทหารราบ
1 กองพลทหารราบยานเกราะ
3 กองพลทหารม้า
1 กองพลรบพิเศษ
1 กองพลทหารปืนใหญ่
1 กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
1 กองพลทหารช่าง
กองบัญชาการกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร
คำขวัญเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
สีหน่วยแดง
เพลงหน่วยมาร์ชกองทัพบก
วันสถาปนา18 มกราคม
(วันกองทัพบกและวันกองทัพไทย)
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการ
ทหารบก
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
เครื่องหมายสังกัด
ธงประจำ
กองทัพ
ธงชัยเฉลิมพล

กองทัพบกไทย เป็นเหล่าทัพที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพไทย ก่อตั้งเป็นกองทัพสมัยใหม่ขี้นในปี พ.ศ. 2417 เหตุผลส่วนหนึ่งคือ เพื่อรับมือกับการคุกคามรุกแบบใหม่จากอังกฤษ ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง และการเปิดประเทศใน พ.ศ. 2398

ประวัติ

กองทัพบกได้ถือกำเนิดมาพร้อม ๆ กับการก่อตั้งราชอาณาจักรไทย และเป็นรากฐานของความมั่นคงของประเทศตลอดมา การปฏิรูปการทหารบกของไทยเป็นแบบตะวันตก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือต้นแบบของกิจการทหารบกสมัยปัจจุบัน

สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2394 กิจการแรกที่พระองค์ทรงกระทำ คือ ทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และให้จัดการเรื่องกิจการทหารเป็นการด่วน โดยให้ปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นแบบสมัยใหม่ และมีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันประเทศชาติได้ ทั้งนี้ เพราะประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามา อยู่เหนือประเทศทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และมีท่าทีคุกคามต่อประเทศไทยยิ่งขึ้นตามลำดับ สำหรับการปรับปรุงในด้านวิทยาการนั้น พระองค์ทรงจ้าง ร้อยเอก อิมเปย์ และ ร้อยเอก น็อกส์ ชาวอังกฤษ ซึ่งเดินทางจากอินเดียผ่านเข้ามาทางพม่า ให้เป็นครูฝึกหัดทหารบก ทั้งทหารของวังหน้าและวังหลวง ดังนั้นใน พ.ศ. 2395 กองทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้

  1. กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป
  2. กองทหารหน้า
  3. กองปืนใหญ่อาสาญวน

กองทหารหน้าเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกแบบใหม่ มีอาวุธใหม่ และมีทหารประจำการมากกว่าทหารหน่วยอื่นๆ ทั้งยังมีความชำนาญในการรบมาพอสมควร เนื่องจากได้เข้าสมทบในกองทัพหลวงไปทำศึกที่เมืองเชียงตุง เมื่อปี พ.ศ. 2395 และ พ.ศ. 2396 การศึกทั้ง 2 ครั้งนี้ กองทหารหน้าได้สำแดงเกียรติภูมิในหน้าที่ของตนไว้อย่างน่าชมเชย จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ยามปกติกองทหารหน้ามีหน้าที่เข้าขบวนแห่นำตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกคราว นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองต่างๆ เช่น ปราบปรามพวกอั้งยี่ที่มณฑลปราจีน และเมืองชลบุรีอีกด้วย จึงนับได้ว่า "กองทหารหน้า" นี้เองเป็นรากเหง้าของกองทัพบกในปัจจุบันนี้

กิจการทหารบกได้รุดหน้าไปอีก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทหารหน้าใน พ.ศ. 2398 พระองค์ทรงรวบรวมกองทหารที่อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วกรุงเทพฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน คือโรงทหารสนามไชย กองทหารดังกล่าวคือ

  1. กองทหารฝึกแบบยุโรป (เดิมอยู่ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก)
  2. กองทหารมหาดไทย (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
  3. กองทหารกลาโหม (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
  4. กองทหารเกณฑ์หัด (คือพวกขุนหมื่นสิบยก กองทหารเกณฑ์หัดนี้ ขึ้นกับกองทหารหน้า)

จะเห็นได้ว่า การจัดการทหารบกแบบตะวันตกหรือกองทัพบกปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เป็นไปในวงแคบ อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ แยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารที่สังกัดพระบรมมหาราชวังขึ้นโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารที่สังกัดพระบวรราชวัง หรือวังหน้า ขึ้นโดยตรงต่อ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารในหัวเมืองก็แยกขึ้นกับ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์มิได้แถลงพระบรมราโชบายในการจัดการทางทหารไว้เป็นที่เด่นชัด อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสภาวการณ์ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งวิธีการทางทหาร ตลอดจนพระปรีชาญาณในการบริหารประเทศแล้วอาจพิจารณาได้ว่า พระองค์น่าจะมีพระราชประสงค์ในการจัดการทางทหารเป็น 2 ประการ คือ

  1. การปฏิรูปการทหารเพื่อความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์
  2. การปฏิรูปการทหารเพื่อความเจริญทางด้านการทหารเอง และให้เหมาะสมกับกาลสมัย ตลอดจนสามารถรักษาความปลอดภัยให้แก่ประเทศชาติ

เนื่องจาการทหารในสมัยนั้นยังเป็นไปในลักษณะกระจัดกระจาย อยู่ในสังกัดอำนาจของบุคคลหลายฝ่าย จึงทำให้การปฏิรูปการทหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกมีขอบเขตจำกัด ต่อมาใน พ.ศ. 2415 ภายหลังจากการเสด็จไปประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวียแล้ว พระองค์โปรดให้ปรับปรุงการทหารให้กาวหน้ายิ่งขึ้น โดยนำแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปนำมาฝึกทหารในอาณานิคมของตน แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย โปรดให้แบ่งหน่วยทหารออกเป็น 7 หน่วย ดังนี้

  1. กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
  2. กรมทหารรักษาพระองค์
  3. กรมทหารล้อมวัง
  4. กรมทหารหน้า
  5. กรมทหารปืนใหญ่
  6. กรมทหารช้าง
  7. กรมทหารฝีพาย

พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหารือกับพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดการทหารอย่างใหม่เป็นระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2430 จึงได้มี "ประกาศจัดการทหาร" ขึ้น โดยตั้ง "กรมยุทธนาธิการ" มีลักษณะเป็นกรมกลางของทหารบก และทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศตำแหน่ง "จอมทัพ" สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็น "ผู้บังคับบัญชาการทั่วไป" และเพื่อให้หน่วยทหารได้รับการบังคับบัญชาดูแลได้ทั่วถึง จึงทรงแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาทั่วไปอีก 4 ตำแหน่ง คือ

  1. เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  2. เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
  3. เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการใช้จ่าย
  4. เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ ทั้งยังทรงรับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม และค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากต่างประเทศโดยเฉพาะ เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงทรงปรับปรุงกิจการทหารบกให้ดียิ่งขึ้น และเจริญก้าวหน้าตามแบบอย่างทหารในทวีปยุโรป พระองค์ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารกิจการทหารใหม่ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 โดย

  1. เปลี่ยนชื่อกรมยุทธนาธิการ เป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารบก
  2. ยกกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ
  3. จัดตั้งสภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงทหารเรือ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทหารบกโดยอาชีพ กล่าวคือ ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากวิทยาลัยการทหารวูลลิช ประเทศอังกฤษ และวิชาเสนาธิการทหาร จากโรงเรียนเสนาธิการฝรั่งเศส พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำนุบำรุงกิจการทหารบกให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการขากแคลนงบประมาณแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องตัดทอนรายจ่าย และส่งผลกระทบมาถึงกิจการทหารในสมัยของพระองค์ด้วย มีการยุบกรมกองและปลดข้าราชการตำแหน่งต่างๆ ลง ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกระทรวงทหารเรือ รวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม ให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการทหาร 3 ฝ่าย คือ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ปัญหาและผลสะท้อนจาการตัดทอนรายจ่ายในราชการทหารนี้เองเป็นสาเหตุนำไปสู่ความยุ่งยากทางการเมือง

หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่เคยดำรงตำแหน่งชั้นสูงในกองทัพบก ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งจนหมด และได้มีการบรรจุบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน โดยมี นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้บัญชาการทหารบก และ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ อย่างไรก็ตามงานในหน้าที่ผู้บังคับบัญชาทหารบกกลับอยู่ในมือของ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เนื่องจากมีความสามารถและความเชี่ยวชาญทางวิชาการทหารสูง จึงมีบทบาทในการจัดราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง ในเดือนกันยายน ปี 2476 พระยาทรงสุรเดช ได้ก่อความไม่สงบขึ้น โดยมั่นหมายที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลในระดับสูง ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือนเสียใหม่ แต่ไม่สำเร็จ

เมื่อเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดขณะนั้น ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ทางทหาร ด้วยการนำกำลังกองทัพบกส่วนใหญ่ขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วจัดตั้งเป็นกองทัพพายัพขึ้น กับได้วางแผนการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปอยู่เพชรบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยให้พ้นจากการยึดครองของญี่ปุ่น และในขณะเดียวกัน ก็พยายามรักษากำลังทัพของไทยมิให้กองทัพญี่ปุ่นปลดอาวุธ แผนการนี้เป็นแผนที่จะใช้พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นป้อมปราการต่อสู้ตายกับศัตรู เมื่อภัยสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นใน พ.ศ. 2486 กองบัญชาการกองทัพบกสนามได้อพยพส่วนหนึ่งจากกรุงเทพฯ ไปตั้งที่ ตำบลวังรุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแผนการย้ายเมืองหลวงดังกล่าว

กองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีที่ตั้งอยู่ภายในกระทรวงกลาโหมแล้ว ยังมีกองบัญชาการอีกส่วนหนึ่งอยู่ที่หอประชุมกองทัพบก และบริเวณสวนรื่นฤดี เขตดุสิต กล่าวคือ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและแต่งตั้งให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร มีอำนาจเต็มที่ในการสั่งการแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ โดยใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการฝ่ายทหาร ต่อมาในเดือนกันยายน เมื่อคณะทหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้พร้อมใจกันยึดอำนาจจากรัฐบาล (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้ใช้หอประชุมกองทัพ เป็นกองบัญชาการผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร แต่ได้ปิดลงในระยะเวลาอันสั้น แล้วตั้งเป็น กองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ 2 ขึ้นแทน ต่อมาใน พ.ศ. 2503 ได้ใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ 2 อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์ตามแนวพรหมแดนมีปัญหาขัดแย้งบางประการ อันจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย และใน พ.ศ. 2506 จอมพล ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ให้เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการกองทัพบกส่วนที่ 2 เป็นศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกและใช้เรียกชื่อนี้เรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่าศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกจะย้ายมาตั้ง ณ สวนรื่นฤดี ถนนสุโขทัย เขตดุสิต ก็ตาม

ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ปัจจุบันเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ประกอบด้วย สำนักงานผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการต่างๆ มีภารกิจในการวางแผน อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ และกำกับดูแลหน่วยรองของกองทัพบก และกำลังรบเฉพาะกิจในการปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงของรัฐในทุกรูปแบบ

สมัยปัจจุบัน

พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พิจารณาเห็นว่า กองทัพบกเป็นสถาบันหลักสถานบันหนึ่งของประเทศ มีภารกิจในการรักษาความมั่นคงและอธิปไตยของชาติ ตลอดจนเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่ยังไม่มีกองบัญชาการเป็นสัดส่วนของตนเองเช่นเหล่าทัพอื่น ทั้งยังได้อาศัยอาคารและสถานที่ของกระทรวงกลาโหมมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย สถานที่ดังกล่าวนอกจากจะคับแคบ ไม่เป็นเอกเทศกับตนเองแล้ว ยังไม่สมเกียรติและศักดิ์ศรีของกองทัพบกอีกด้วย ดังนั้น ผู้บัญชาการทหารบกจึงได้สั่งการให้พิจารณาหาสถานที่ก่อสร้าง "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ ในระยะแรกได้พิจารณาเห็นว่า สถานที่บริเวณกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน มีพื้นที่เพียงพอ การคมนาคมสะดวก แต่เรื่องนี้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากติดขัดทางด้านงบประมาณ

ครั้นเมื่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ย้ายไปอยู่ ณ เขาชะโงก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก กองทัพบกพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเดิม ซึ่งตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสง่างาม มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่กับกองทัพบก นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่กว้างขวาง การคมนาคมสะดวก เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร และเป็นเส้นทางผ่านของแขกบ้านแขกเมือง หากกองทัพบกใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นกองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังเป็นการประหยัดงบประมาณของกองทัพบกและประเทศชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้สั่งการให้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็น กองบัญชาการกองทัพบก และได้กระทำพิธีเปิดที่ทำการของกองบัญชาการกองทัพบกครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2529 สำหรับการกำหนดสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ ภายในกองบัญชาการกองทัพบกในครั้งนั้น ได้กำหนดให้อาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของส่วนราชการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม (ตรงข้ามสนามมวยราชดำเนิน) เป็นที่ตั้งของกรมฝ่ายเสนาธิการ ส่วนอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนการศึกษาเดิม (ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นที่ตั้งของสำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก และกรมการเงินทหารบก

ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอใช้ที่ดินบริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม เพื่อขยายสถานที่ทำงานของทำเนียบรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2530 อนุมัติหลักการให้สำนักนายกรัฐมนตรีใช้ที่ดินและอาคารสถานที่บริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม และอนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กองทัพบกในการก่อสร้างอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ บริเวณส่วนบัญชาการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม คณะกรรมการโครงการก่อสร้างกองบัญชาการกองทัพบก จึงได้พิจารณาออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เพื่อเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และฝ่ายเสนาธิการต่างๆ ของกองทัพบก ให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีวางศิลาฤกษ์กองบัญชาการกองทัพบกแห่งใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ระหว่างเวลา 08.49 - 09.29 นาฬิกา โดยมี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธี

สำหรับหน่วยที่ใช้สถานที่ภายในอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" ปัจจุบันประกอบด้วย

ภารกิจกองทัพบก

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา14 กำหนดอำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหมและหน้าที่ของกองทัพบกไว้ว่า "กองทัพบกมีหน้าที่เตรียมกำลังทางบก และป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ"

ผู้บังคับบัญชาระดับสูง (5 เสือ ทบ.)

  • ผู้บัญชาการทหารบก: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • รองผู้บัญชาการทหารบก: พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
  • ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก(๑): พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล
  • ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก(๒): พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต
  • เสนาธิการทหารบก: พลเอก อุดมเดช สีตบุตร

การแบ่งเหล่า

กองทัพบกไทย มีการแบ่งเหล่าทหารบก ออกเป็นเหล่าต่างๆ ดังต่อไปนี้

เหล่ารบ

เหล่ารบ เป็นเหล่าหลักที่ใช้ในการรบ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หลักในสนามรบ ประกอบด้วย

  1. ทหารราบ (ร.) เป็นกำลังรบหลักของกองทัพบกไทย มีกำลังพลมากที่สุด มีหน้าที่เข้ารักษาพื้นที่

แบ่งออกเป็น 3 แบบ 1. ทหารราบยานนนต์ 2.ทหารราบยานเกราะ 3.ทหารราบเบา

  1. ทหารม้า (ม.) แบ่งออกเป็นสามแบบคือ
    • ทหารม้าลาดตระเวน
    • ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ยานสายพาน หรือยานหุ้มเกราะเป็นพาหนะในการรบ
    • ทหารม้ารถถัง ใช้รถถังเป็นอาวุธหลัก ในการปฏิบัติการรบ

เหล่าสนับสนุนการรบ

เหล่าสนับสนุนการรบ เป็นฝ่ายสนุบสนุนการรบ โดยมากมักปฏิบัติงานควบคู่กับหน่วยรบในสนามรบ ประกอบด้วย

  1. ทหารปืนใหญ่ (ป.) ใช้ปืนใหญ่ ในการยิงสนับสนุนให้กับหน่วยกำลังรบ
  2. ทหารช่าง (ช.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานช่าง ก่อสร้าง ซ่อม หรือทำลาย สิ่งก่อสร้างต่างๆ
  3. ทหารสื่อสาร (สส.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานสื่อสาร และด้านเทคโนโลยีต่างๆ
  4. ทหารการข่าว (ขว.)

เหล่าช่วยรบ

เหล่าช่วยรบ เป็นฝ่ายส่งกำลังหรือสิ่งอุปรณ์ช่วยเหลือการรบ โดยมากปฏิบัติงานแนวหลังในสนามรบ ประกอบด้วย

  1. ทหารสรรพาวุธ (สพ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาวุธ กระสุน วัตถุระเบิด ตลอดจนยานพาหนะในการรบ
  2. ทหารพลาธิการ (พธ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาหาร เครื่องแต่งกาย เชื้อเพลิง ยุทธภัณฑ์ส่วนบุคคล
  3. ทหารแพทย์ (พ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ในกลุ่มเวชภัณฑ์ และสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงเป็นฝ่ายรักษาพยาบาลให้กับทหารและครอบครัวทหาร
  4. ทหารขนส่ง (ขส.) เป็นฝ่ายอำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งกำลังพล และสิ่งอุปกรณ์

เหล่าสนับสนุนการช่วยรบ

นอกจากนี้ยังมีหน่วยอื่นๆ ที่มิได้เป็นหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการรบโดยตรง ประกอบด้วย

  1. ทหารสารบรรณ (สบ.) มีหน้าที่ดำเนินการด้านธุรการ เอกสาร ทะเบียนประวัติ และงานสัสดี
  2. ทหารการเงิน (กง.) ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี งบประมาณ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
  3. ทหารพระธรรมนูญ (ธน.) ดำเนินการด้านกฎหมาย การศาลทหาร และงานทนายทหาร
  4. ทหารแผนที่ (ผท.) มีหน้าที่สำรวจและจัดทำ แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ
  5. ทหารการสัตว์ (กส.) มีหน้าที่ดูแลสัตว์ในราชการกองทัพ
  6. ทหารดุริยางค์ (ดย.) มีหน้าที่ให้ความบันเทิง
  7. สารวัตรทหาร (สห.) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและระเบียบวินัยของทหาร

การจัดส่วนราชการ

กองทัพบก แบ่งส่วนราชการเป็น 7 ส่วนดังนี้ [1]

  1. ส่วนบัญชาการ
  2. ส่วนกำลังรบ
  3. ส่วนสนับสนุนการรบ
  4. ส่วนส่งกำลังบำรุง
  5. ส่วนภูมิภาค
  6. ส่วนการศึกษา
  7. ส่วนช่วยพัฒนาประเทศ

ส่วนบัญชาการ

ส่วนกำลังรบ

ส่วนสนับสนุนการบ

  • กองพลทหารปืนใหญ่ (พล.ป.)
  • กองพลทหารช่าง (พล.ช)
  • กองพันทหารช่างที่ 51 (ช.พัน.51)
  • กรมทหารสื่อสารที่ 1 (ส.1)
  • กองพันบิน (พัน.บ.)
  • (ขกท.)
  • (พัน.ปฐบ.)
  • (ร้อย.วศ.)

ส่วนส่งกำลังบำรุง

มีจำนวน 9 กรม ดังนี้ [1]

ส่วนภูมิภาค

ส่วนการศึกษา

ส่วนช่วยการพัฒนาประเทศ

  • กองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1)
  • กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2)
    • กองพลพัฒนาที่ 2 (พล.พัฒนา 2)
  • กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3)
    • กองพลพัฒนาที่ 3 (พล.พัฒนา 3)
  • กองทัพภาคที่ 4 (ทภ.4)

สื่อในความควบคุมของกองทัพบก

ยุทธภัณฑ์

ทหารบกที่เข้าร่วมการรัฐประหารครั้งล่าสุดถือ ปลย. M16A2 เป็นอาวุธประจำกาย

หมายเหตุ : อธิบายคำย่อดังต่อไปนี้

  • ปพ. = ปืนพก - หมายถึง ปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ ใช้เป็นอาวุธสำรองประจำกาย
  • ปลย. = ปืนเล็กยาว - หมายถึง ปืนเล็กยาว (ไรเฟิล) ซึ่งอาจเป็นแบบยิงทีละนัดและขึ้นลำ หรือแบบอัตโนมัติ(ยิงรัวได้โดยไม่ต้องขึ้นลำใหม่) และเป็นปืนประจำกายของทหารส่วนใหญ่
  • ปลส. = ปืนเล็กสั้น - หมายถึง ปืนที่มีความสามารถในการยิงอัตโนมัติเหมือน ปลย. แต่มีขนาดเล็กกว่า
  • ปลยบ. = ปืนเล็กยาวบรรจุเอง - หมายถึง ปืนเล็กยาวที่สามารถบรรจุกระสุนเข้ารังเพลิงเองเมื่อยิง และเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติเท่านั้น ปัจจุบันเมื่อปลย.เข้ามาแทนที่ ก็ใช้เป็นอาวุธใช้ฝึกนศท.และทหารรักษาพระองค์
  • ปกม. = ปืนกลมือ - หมายถึง ปืนเล็กยาวที่ใช้กระสุนปืนสั้น (เช่น 9 มม. หรือ .45 นิ้ว) และสามารถยิงอัตโนมัติได้
  • ปกบ. = ปืนกลเบา - หมายถึง ปืนใช้กระสุนปลย. แต่สามารถยิงอัตโนมัติได้ด้วยอัตราการยิงสูงกว่า ปลย. ใช้เป็นอาวุธสนับสนุนแนวหลังหรือยานหุ้มเกราะ
  • ปกน. = ปืนกลหนัก - หมายถึง ปืนกลที่ใช้กระสุนขนาดค่อนข้างใหญ่ (เช่น .50 นิ้ว Browning) เช่น มีอัตราในการยิงสูงมาก ไม่สามารถถือยิงได้ เพราะแรงถีบและน้ำหนักมาก ต้องมีขาทรายใช้ตั้งระหว่างการยิง
  • ปลซ. = ปืนลูกซอง -
  • ค. = เครื่องยิงลูกระเบิด - หมายถึง ปืนที่ใช้ยิงแคปซูล (เช่นขนาด 40 มม.) ติดหัวรบระเบิด, ระเบิดควัน, ระเบิดแก๊ส บางรุ่นสามารถใช้ติดใต้ประกับ ปลย. ได้
  • คจตถ. = เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง
  • ปรส. = ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง
  • ถ.หลัก = รถถังหลัก
  • ถ.เบา = รถถังเบา
  • รสพ. = รถสายพานลำเลียงพลหุ้มเกราะ
  • รพบ. = รถพยาบาล
  • รนต. = รถยนต์นั่งตรวจการณ์
  • ป. = ปืนใหญ่
  • ปตอ. = ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
  • จตอ. = จรวดต่อสู้อากาศยาน
  • รยบ. = รถยนต์บรรทุก

อาวุธประจำกายที่ประจำการในปัจจุบัน

Origin Small Arm Type Remark
 ไทย/ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี ปลย.11 ปลย. ปืนหลักใช้ในการรักษาการณ์ กรมสรรพวุธทหารบก ซื้อลิขสิขธิ์ของ HK33 มาผลิตเอง
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Heckler & Koch HK33/A1/K ปลย. ปืนรองในอัตรา ใช้ฝึกนักศึกษาวิชาทหารที่ค่ายเขาชนไก่ บางส่วนมอบให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ใช้เป็นอาวุธประจำกาย
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Heckler & Koch G36,G36k ปลย. ปืนใหม่ ใช้ในกองกำลังที่ปฏิบัติการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และหน่วยรบพิเศษต่างๆ
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย Steyr AUG ปลย. ปืนรองในอัตรา เป็นปืนไรเฟิลอัตโนมัติแบบ Bullpup (ซองกระสุนด้านหลังชุดลั่นไก) จากออสเตรีย มีใช้ค่อนข้างน้อย พบประจำการในหน่วยรบพิเศษ
 สหรัฐ M653 ปลย. เป็น M16A1 เวอร์ชันสั้น โดยการนำปืน M16A1 ที่ลำกล้องหมดอายุใช้งานนำมาตัดลำกล้องสั้นให้สั้นลง เปลี่ยนประกับเป็นแบบสั้น มีลำกล่อง 2 แบบคือ 14.5 นิ้วและ 11 นิ้ว
 สหรัฐ M16A1/A2 ปลย. ปืนหลักในอัตรา M16A1 กำลังถูกแทนที่ด้วย TAR-21
 สหรัฐ M16A4 ปลย. ปืนใหม่ส่งซื้อ 20,031 กระบอกเพียงล็อตเดียว M16A4 ซึ่งเป็น M16 รุ่นล่าสุด สามารถถอดด้ามจับเพื่อติดอุปกรณ์ช่วยเล็งบนรางได้
 สหรัฐ M1 Garand ปลยบ. อาวุธของทหารรักษาพระองค์และใช้ฝึกนักศึกษาวิชาทหารในหลายจังหวัด
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต AK-47/AKS ปลย. อาวุธของทหารพราน ส่วนใหญ่ยึดได้มาจากกองกำลังคอมมิวนิสต์ในสงครามเวียดนามส่วนAKSคือรุ่นที่พับพานท้ายได้ของAK-47 กำลังเปลียนไปเป็น M16a1 หลัง ทหารหลังรับ TAR 21 เข้าประจำกาย
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล IMI Galil ปลย. พบในหน่วยรบพิเศษ จำนวนน้อยมาก
 สิงคโปร์ SAR-21 ปลย. เป็นปืนไรเฟิลแบบ Bullpup พบประจำการในหน่วยรบพิเศษ
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล IMI Tavor TAR-21 (ปลย.50) ปลย. ปลย.หลักใหม่ สั่งซื้อมาจำนวน 4 ล็อตกำลังได้รับมอบ รวมทั้ง 4 ล็อต 58,206 กระบอก เป็นปืนแบบ Bullpup ในวันที่ 15 ก.ย. 52 สั่งเพิ่ม 14,868 กระบอก
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Heckler & Koch MP5 ปกม. ปืนกลมือใช้กระสุน 9x19 มม
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี MG3 ปกบ. มีใช้ในรถเกราะ V-150
 สหรัฐ M60 machine gun ปกบ.
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล UZI ปกม.
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม FN P90 ปกม. ปืนกลมือจากเบลเยี่ยม ใช้ในหน่วยรบพิเศษต่างๆของกองทัพไทย
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Heckler & Koch HK21 ปกบ.
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม FN MINIMI ปกบ.
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม FN MAG-58 ปกบ.
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม,  สหรัฐ M249 ปกบ.
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล IMI Negev ปกบ. สั่งซื้อจำนวน 1,500 กระบอก กำลังได้รับมอบ
 สิงคโปร์ Ultimax 100 ปกบ.
 สหรัฐ M4A1 Carbine ปลส. เป็นปืน M16A3/A4 เวอร์ชันลำกล้อง 14.5 นิ้ว ใช้ในหน่วยรบพิเศษและกองกำลังที่อยู่ในย่านกรุงเทพและปริมณฑล
 สหรัฐ M4A1 Sopmod ปลส. เป็นปืน M4A1 รุ่นแต่งครบ มีอุปกรณ์จำเป็นในการรบเช่นกล้อง AGOC 4x ปรกับหน้า RAS เลเซือรุ่น AN/PEQ-2 ไฟฉายทางยุทวิธี กริปมือหน้า
 สหรัฐ M1 carbine ปลส. ใช้ฝึกนักศึกษาวิชาทหารทั่วประเทศ
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น Arisaka ปลย. ใช้ฝึกนักศึกษาวิชาทหารในบางจังหวัด เช่นที่ จทบ.พิษณุโลก
 สหรัฐ 93 (ฺFN Browning M2HB) ปกน. ได้เข้าประจำการในราชการกองทัพไทยเมื่อปี พ.ศ. 2493 โดยความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประจำการในชื่อทางราชการว่า ปืนกล แบบ 93 หรือ ปก. 93 โดยจัดเป็นอาวุธระดับหมวด
 สหรัฐ Remington 870 ปลซ.
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี Franchi SPAS-12 ปลซ.
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย Glock 17 ปพ. ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ใช้กระสุนขนาด 9x19 มม.
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย Glock 23 ปพ. ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ใช้กระสุนขนาด .40 S&W
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Heckler & Koch USP ปพ. ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ใช้กระสุนขนาด .45 ACP พบประจำการในหน่วยรบพิเศษ
 สหรัฐ M1911A1 ปพ.
 ไทย/ สหรัฐ ปพ.86,ปพ.95 ปพ. พัฒนาจากปืนพกกึ่งอัตโนมัติ M1911 ขนาด .45 ACP ของกองทัพสหรัฐ
 สหรัฐ Mk 19 ค.
 สหรัฐ M72 LAW คจตถ.
 สหรัฐ BGM-71 TOW คจตถ.

อาวุธหลัก

Country Type Quantity Remark
รถถังหลัก
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน T-84 Oplot-M (0)49 รับมอบ 5 คันแรก กรกฎาคม 2556
 สหรัฐ M60A3 Patton 178 มือสองจากกองทัพบกสหรัฐ ประจำการในกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2รอ.)
 สหรัฐ M48A5 Patton 105 ประจำการในกองพันทหารม้าที่ขึ้นตรงต่อกองพลทหารราบ (พล.ร.2รอ.และ พล.ร.6)
ธงของประเทศจีน จีน Type 69-II 53
รถถัง
 สหรัฐ Stingray 106 ไทยเป็นผู้ใช้รายเดียวในโลก ประจำการในกองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม.1)
 สหรัฐ M41 Walker Bulldog 200 ประจำการในกองพันทหารม้าที่ขึ้นตรงต่อกองพลทหารราบ (พล.1รอ. พล.ร.3 พล.ร.4 พล.ร.5) มีอายุกว่า 50 ปี กองทัพเตรียมที่จะปลดประจำการ
 สหราชอาณาจักร FV101 Scorpion 154 กำลังเข้ารับการปรับปรุง ใช้การไม่ได้1คันเนื่องจากขาดการปรับปรุงและซ่อมแซม ส่วนมากประจำการในกองร้อยทหารม้าลาดตระเวณในหน่วยทหารต่างๆ
รถเกราะ
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน BTR-3E1 96(121)
 สหรัฐ M901A3 Improved TOW Vehicle 11 ติดจรวดต่อสู้รถถัง TOW
 สหรัฐ V-150 162 ประจำการในกรมทหารม้าที่ 2(ม.2) กองพลทหารม้าที่ 1(พล.ม.1)
 สหรัฐ M113A1/A3 APC 340+ ประจำการในกรมทหารม้าที่ 3 (ม.3) และกรมทหารม้าที่ 6 (ม.6) กองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม.1)
 ไทย First Win 21
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Rasit 41
ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ REVA 4x4 85 กำลังรับมอบ (เสียหายจากฝังระเบิดแสวงเครื่องใต้ถนน - 1 คัน)
 สาธารณรัฐประชาชนจีน Type 85 (YW531H) 450 ส่วนใหญ่ประจำการในกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์(พล.ม.2รอ.) มีบางส่วนประจำการในกรมทหารม้าที่ 6 (ม.6) กองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม.1)
 สหราชอาณาจักร Alvis Saracen ?
ปืนใหญ่
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย ปืนใหญ่ลากจูง GHN-45 155 มม. 42
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล ปืนใหญ่ลากจูง Soltam M-71 ขนาด 155 มม. 32
 สหรัฐ ปืนใหญ่ลากจูง M198 ขนาด 155 มม. 62 เข้าประจำการใน ทบ. ไทยเมื่อปี 2525 เป็นปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง (ปกค.25) ระยะยิงไกลสุด (เมื่อใช้กระสุนต่อระยะพิเศษ) ประมาณ 30 กม. มีใช้อยู่ในกองพันทหารปืนใหญ่ที่บรรจุอยู่ในกองพลทหารราบ (ป.พัน.103 , ป.พัน.104 เป็นต้น )
 สหรัฐ ปืนใหญ่อัตตาจร M109A5 ขนาด 155 มม. 20
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ปืนใหญ่อัตตาจร CAESAR ขนาด 155 มม. 6 รับมอบแล้ว
 สหรัฐ ปืนใหญ่ลากจูง M114 ขนาด 155 มม. 56
 สาธารณรัฐประชาชนจีน ปืนใหญ่ลากจูง M1954 ขนาด 130 มม. 15
 สหราชอาณาจักร ปืนใหญ่ลากจูง L119 105 มม. 34
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ปืนใหญ่ลากจูง GIAT LG1 Mk II ขนาด 105 มม. 24
 สหรัฐ ปืนใหญ่ลากจูง M101 ขนาด 105 มม. 285
 สหรัฐ ปืนใหญ่ลากจูง M102 ขนาด 105 มม. 12
 ไทย ปืนใหญ่ลากจูง M618A2 ขนาด 105 มม. 32
 สาธารณรัฐประชาชนจีน จรวดหลายลำกล้อง Type 81 ขนาด 122 มม. 6
 สาธารณรัฐประชาชนจีน จรวดหลายลำกล้อง Type 82 ขนาด 130 มม. 6
 สาธารณรัฐประชาชนจีน จรวดหลายลำกล้อง WS-1B ขนาด 302 มม. 6 ไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
 ไทย จรวดหลายลำกล้อง DTI-1 ขนาด 302 มม. 3 ไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี WS-1B มาพัฒนาเป็นของตนเอง
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน Bofors L40/70 ขนาด 40 มม. 48
 สาธารณรัฐประชาชนจีน Type 59 ขนาด 57 มม. 24
 สาธารณรัฐประชาชนจีน Type 74 ลำกล้องคู่ขนาด 37 มม. 122
 สหรัฐ M163 VADS แท่นหมุน 20 มม. 24
 สหรัฐ M167 VADS แท่นหมุน 20 มม. 24
 สหรัฐ M167 Vulcan ?
จรวด
 สหรัฐ M203 เครื่องยิงลูกระเบิดที่สามารถติดใต้ประกบปืน M16 และ M4 ได้ทุกรุ่น
 สหรัฐ M79
 สาธารณรัฐประชาชนจีน Type 56 RPG
 สาธารณรัฐประชาชนจีน Type 69 RPG
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน Carl Gustav ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ขนาด 84 มม. ผลิตโดยบริษัท Saab Bofors Dynamics ประเทศสวีเดน
 สหรัฐ M72 LAW
 สหรัฐ M47 Dragon 400
 สาธารณรัฐประชาชนจีน HN-5A
 สหภาพโซเวียต 9K38 Igla 220
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี ASPIDE 8
 ไทย DTI-1G
 สหราชอาณาจักร Starstreak
ส่วนหนึ่งของรถถังที่นำมามาใช้ในการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

อากาศยาน

Origin Type Quantity Remark
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี British Aerospace Jetstream 41 2 ลำเลียงบุคคลสำคัญ
 สหรัฐ Beechcraft 200 King Air 2 ลำเลียงบุคคลสำคัญ
 สหรัฐ Beech 1900C-1 2 ลำเลียงบุคคลสำคัญ
ธงของประเทศสเปน สเปน Casa 212-300 2 ลำเลียงบุคคลสำคัญ
ธงของประเทศบราซิล บราซิล Embraer ERJ-135 2 ลำเลียงบุคคลสำคัญและส่งกลับสายการแพทย์
 สหรัฐ Bell 206 Jet Ranger 25 ธุรการ
 สหรัฐ เบลล์ ยูเอช-1เอช 92 ลำเลียงทางยุทธวิธี
 สหรัฐ เบลล์ เอเอช-1เอฟ ฮิวอี้ คอบรา 3 โจมตี, กำลังสั่งซื้ออีก 4 ลำ
 สหรัฐ ซิคอร์สกี้ เอส-70เอ-43 แบล็คฮอร์ก(ยูเอช-60แอล) 10 ลำเลียงทางยุทธวิธี สั่งซื้อ 2 UH 60L/M
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Schweizer S-300C ~45 ฝึก/ลาดตระเวน
 สหรัฐ Cessna U-17B 20 ธุรการ
 สหรัฐ Cessna T-41B 30 ฝึก/ธุรการ
 สหรัฐ Maule MX-7 15 ธุรการ
 สหรัฐ เบลล์ 212 60 ลำเลียงทางยุทธวิธี
 สหรัฐ โบอิง ซีเอช-47 ชีนุก 6 ลำเลียงทางยุทธวิธี
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล IAI Searcher 4 อากาศยานไร้นักบิน
 ไทย UAV RD01 0 อากาศยานไร้นักบิน
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย Mil Mi-17 3 ลำเลียงทางยุทธวิธี สั่งซื้อ +3

ข่าวการจัดหาอาวุธของกองทัพบก

อาวุธประจำกาย

  • ปืนเล็ก, ปืนกล, และจรวดแบบใหม่ - กองทัพบกจัดหาปืนเล็กยาว TAR-21 Tavor จากอิสราเอลจำนวน 15,000 กระบอก และปืนเล็กกล Negev จากอิสราเอลจำนวน 992 กระบอก มูลค่ารวม 43.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [2]

ในวันที่ 9 ก.ย. 2551, คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กองทัพบกจัดหาปืนเล็กยาว TAR-21 Tavor จากอิสราเอลจำนวน 15,037 กระบอก และปืนกลเบา Nagev จากอิสราเอลจำนวน 553 กระบอก ซึ่งเป็นการจัดหาในล็อตที่สอง นอกจากนี้ยังอนุมัติให้จัดหาจรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่ารุ่น Igla จำนวน 36 หน่วยจากรัสเซียอีกด้วย[3] ทั้งนี้ ทบ.สั่งซื้อ TAR-21 Tavor ล็อตสามรวม 13,868 กระบอก[4] ในวันที่ 15 ก.ย. 52 ล็อตที่4 ในเดือนเดียวกัน 22 ก.ย. 52 อีก 14,264 กระบอก รวมทั้งหมด 58,206 กระบอก ทบมีความต้องการ ปลย. รุ้นใหม่เพื่อมาทดแทน M16A1 ที่ใช้งานมากว่า 40 ปี ทั้งหมด 106,205 กระบอก

ยุทธยานยนต์

  • การจัดหารถเกราะล้อยางจากยูเครน - กองทัพบกประกาศจัดซื้อรถเกราะล้อยางซึ่งยังขาดแคลน โดยได้เลือกรถเกราะรุ่น BTR-3E1 จากประเทศยูเครนพร้อมอาวุธ จำนวน 96 คัน ในราคา 4,000 ล้านบาท [5] แต่เกิดข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับความโปร่งใสของกระบวนการการจัดหา จนรัฐมนตรีกลาโหมต้องประกาศพักโครงการและรอรัฐบาลใหม่เข้ามาสานต่อ [6] จนในที่สุดนายสมัคร สุนทรเวชก็ลงนามอนุมัติการจัดหา ซื้อกองทัพบกจะได้รับมอบในปี 2552 แต่เนื่องจากมีปัญหาด้านการจัดหาเครื่องยนต์ ทำให้การจัดส่งล่าช้าและจะได้รับรับในปี 2553 [7]

อากาศยานทหารบก

  • เครื่องบินลำเลียงบุคคลสำคัญและส่งกลับสายการแพทย์ - กองทัพบกและกองทัพเรือร่วมกันลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบินแบบ ERJ-135 จากบริษัท Embraer ประเทศบราซิล จำนวน 2 ลำ เหล่าทัพละ 1 ลำ โดยกองทัพบกและกองทัพเรือจะนำไปใช้ในในสนับสนุนการเดินทางของผู้บัญชาการและบุคคลสำคัญ สำหรับเครื่องของกองทัพเรือยังเพิ่มความสามารถในการขนส่งผู้บาดเจ็บจากการสู้รบ MEDEVAC ได้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนภารกิจของทหารเรือในสามจังหวัดชายแดนใต้ [8]

วันที่ 12 มกราคม 2552 กองทัพบกได้ลงนามจัดหาเครื่องบินแบบ ERJ-135 เพิ่มเติมอีก 1 ลำเพื่อใช้ในการสนับสนุนการเดินทางของผู้บัญชาการและบุคคลสำคัญ รวมถึงขนส่งผู้บาดเจ็บจากการสู้รบ (MEDEVAC) [9]

  • การจัดหาเฮลิคอปแบล็คฮอก - ในวันที่ 6 สิงหาคม สำนักงานความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงของสหรัฐได้รายงานต่อสภาคองเกรสว่ากองทัพบกไทยได้จัดหา UH-60L Black Hawk เพิ่มเติมอีก 3 ลำ[10]

ดูเพิ่ม

ผู้บัญชาการทหารบก

การทหารในประเทศไทย

ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับกองทัพบกไทย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 กรมยุทธศึกษาทหารบก, คู่มือนายทหารสัญญาบัตร ประจำปี 2551, สำนักพิมพ์ หจก.อรุณการพิมพ์, 2551, หน้า 484
  2. Defensenews.com Thai Cabinet Approves Defense Equipment Buys
  3. DefenseNews.com Thailand Plans $191.3M Arms Purchase
  4. Thairath กห.ชงครม. ซื้อปืนยิว พันล้านให้ทบ.
  5. Ukrainian Observer Online Ukraine Snags Large Armored Personnel Carrier Deal in Thailand
  6. The Nation Army required to clear doubt of auditor-general over APCs purchase first: Boonrawd
  7. Skyman Military Blogทบ. ลงนามจัดหา BTR-3E1 จากยูเครน: ข้อวิจารณ์และบทเรียนสำคัญต่อกองทัพไทย
  8. Embraer Press Release Embraer sign contracts with the Royal Thai Army and the Royal Thai Navy
  9. Flight International Thailand buys third ERJ-135
  10. DSCAUH-60L Black Hawk Helicopter

แหล่งข้อมูลอื่น