ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงประจำพระองค์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
[[ไฟล์:ThaiRoyalFlags displayed.jpg|thumb|225px|[[ธงชาติไทย]]ประดับอยู่ร่วมกับธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมักพบทั่วไปในประเทศไทย]]
[[ไฟล์:ThaiRoyalFlags displayed.jpg|thumb|225px|[[ธงชาติไทย]]ประดับอยู่ร่วมกับธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมักพบทั่วไปในประเทศไทย]]


'''ธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์''' ในที่นี้หมายความถึงธงประเภทหนึ่งของพระราชวงศ์ไทย ซึ่งมักมีการประดับร่วมกับ[[ธงชาติไทย]]เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแก่[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] [[สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] และพระบรมวงศานุวงศ์ ธงดังกล่าวมีการใช้อยู่ทุกหนแห่งในประเทศไทย ต่างจากธงประจำพระองค์อีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกรวมกันตามกฎหมายธงในปัจจุบันว่า[[ธงพระอิสริยยศในประเทศไทย|ธงพระอิสริยยศ]] ซึ่งเป็นธงที่ใช้ในพิธีการต่างๆ เป็นการพิเศษ และใช้ในสถานที่เฉพาะแห่ง
'''ธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์''' ในที่นี้หมายความถึงธงประเภทหนึ่งของพระราชวงศ์ไทย ซึ่งมักมีการประดับร่วมกับ[[ธงชาติไทย]]เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแก่[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] และพระบรมวงศานุวงศ์ ธงดังกล่าวมีการใช้อยู่ทุกหนแห่งในประเทศไทย ต่างจากธงประจำพระองค์อีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกรวมกันตามกฎหมายธงในปัจจุบันว่า[[ธงพระอิสริยยศในประเทศไทย|ธงพระอิสริยยศ]] ซึ่งเป็นธงที่ใช้ในพิธีการต่างๆ เป็นการพิเศษ และใช้ในสถานที่เฉพาะแห่ง


== ลักษณะ ==
== ลักษณะ ==


โดยหลักแล้วจะปรากฏการประดับธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์โดยทั่วไปอยู่ 2 ประเภท กล่าวคือ ธงสัญลักษณ์ของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] และธงของ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] ทั้งสองธงนั้นมีลักษณะเป็นธงสีพื้น ประดับด้วยเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อและพระนามาภิไธยย่อของแต่ละพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น เช่น [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร]], [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]], [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] เป็นต้น ล้วนมีธงประจำพระองค์ในลักษณะดังกล่าวเช่นเดียวกัน แต่มักมิได้พบเห็นบ่อยนักนอกจากในงานพิธีซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์นั้นๆ เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นองค์ประธานในพิธี
โดยหลักแล้วจะปรากฏการประดับธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์โดยทั่วไปอยู่ 2 ประเภท กล่าวคือ ธงสัญลักษณ์ของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] และธงของ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] ทั้งสองธงนั้นมีลักษณะเป็นธงสีพื้น ประดับด้วยเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อและพระนามาภิไธยย่อของแต่ละพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น เช่น [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร]], [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี]], [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] เป็นต้น ล้วนมีธงประจำพระองค์ในลักษณะดังกล่าวเช่นเดียวกัน แต่มักมิได้พบเห็นบ่อยนักนอกจากในงานพิธีซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์นั้นๆ เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นองค์ประธานในพิธี


ธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ใช้ประดับในพระราชพิธีและพิธีการต่างๆ ที่เป็นทางการเท่านั้น แต่ยังมีการใช้อยู่ทั่วไปอย่างไม่เป็นทางการด้วย ประชาชนชาวไทยในทุกชนชั้นและทุกหนแห่งนิยมประดับธงดังกล่าวร่วมกับ[[ธงชาติไทย]] เพื่อถวายพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งการแสดงออกดังกล่าวถือเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งที่ปรากฏในวัฒนธรรมไทย
ธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ใช้ประดับในพระราชพิธีและพิธีการต่างๆ ที่เป็นทางการเท่านั้น แต่ยังมีการใช้อยู่ทั่วไปอย่างไม่เป็นทางการด้วย ประชาชนชาวไทยในทุกชนชั้นและทุกหนแห่งนิยมประดับธงดังกล่าวร่วมกับ[[ธงชาติไทย]] เพื่อถวายพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งการแสดงออกดังกล่าวถือเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งที่ปรากฏในวัฒนธรรมไทย
บรรทัด 85: บรรทัด 85:


|-
|-
| <center>[[ไฟล์:Royal Flag of Princess Adityadhornkitikhun.jpg|150px|border]]</center> || [[พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ]] || ธงสีแดงทั้งผืน ไม่มีตราพระนามย่อ || ประสูติวันอาทิตย์ จึงใช้ธงสีแดงเป็นพื้นธง ยังไม่มีตราประจำพระองค์ที่กลางผืน ธงมีลักษณคล้ายธงแดงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้ใช้เป็นธงประจำพระองค์ชั่วคราวจนกว่าตราประจำพระองค์จะออกแบบแล้วเสร็จจึงจะเชิญมาไว้กลางธง และเป็นธงที่ประดับรับเสด็จในการเสด็จไปปฏิบัติพระกรณียกิจ
| <center>[[ไฟล์:Royal Flag of Princess Adityadhornkitikhun.jpg|150px|border]]</center> || [[พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ]] || ธงสีแดงทั้งผืน ตราพระนามย่อ อ.ท. || ประสูติวันอาทิตย์ จึงใช้ธงสีแดงเป็นพื้นธง ยังไม่มีตราประจำพระองค์ที่กลางผืน ธงมีลักษณคล้ายธงแดงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้ใช้เป็นธงประจำพระองค์ชั่วคราวจนกว่าตราประจำพระองค์จะออกแบบแล้วเสร็จจึงจะเชิญมาไว้กลางธง และเป็นธงที่ประดับรับเสด็จในการเสด็จไปปฏิบัติพระกรณียกิจ


|}
|}
บรรทัด 95: บรรทัด 95:
ไฟล์:Flag_of_Crown_Prince_Maha_Vajiralongkorn.jpg|ธงพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก.
ไฟล์:Flag_of_Crown_Prince_Maha_Vajiralongkorn.jpg|ธงพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก.
ไฟล์:Flag of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn.jpg|ธงพระนามาภิไธยย่อ ส.ธ.
ไฟล์:Flag of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn.jpg|ธงพระนามาภิไธยย่อ ส.ธ.
ไฟล์:HRH_Princess_Maha_Chakri_Sirindhorn.jpg|[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]] และธงพระนามาภิไธยย่อ ส.ธ.
ไฟล์:HRH_Princess_Maha_Chakri_Sirindhorn.jpg|[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี]] และธงพระนามาภิไธยย่อ ส.ธ.
ไฟล์:Flag of HRH Princess Galyani Vadhana.jpg|ธงพระนามาภิไธยย่อ ก.ว.
ไฟล์:Flag of HRH Princess Galyani Vadhana.jpg|ธงพระนามาภิไธยย่อ ก.ว.
ไฟล์:Flag of Princess Ubol Ratana.jpg|ธงพระนามาภิไธยย่อ อ.ร.
ไฟล์:Flag of Princess Ubol Ratana.jpg|ธงพระนามาภิไธยย่อ อ.ร.
ไฟล์:Thailand Shop flags.jpg|ธงพระนามาภิไธยย่อ ศ.ร.
ไฟล์:Thailand Shop flags.jpg|ร้านสังฆภัณฑ์ซึ่งมีการขายธงชาติและธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์
ไฟล์:Thailand Shop flags.jpg|ร้านสังฆภัณฑ์ซึ่งมีการขายธงชาติและธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์
</gallery>
</gallery>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:28, 29 สิงหาคม 2556

ธงชาติไทยประดับอยู่ร่วมกับธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมักพบทั่วไปในประเทศไทย

ธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ในที่นี้หมายความถึงธงประเภทหนึ่งของพระราชวงศ์ไทย ซึ่งมักมีการประดับร่วมกับธงชาติไทยเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ธงดังกล่าวมีการใช้อยู่ทุกหนแห่งในประเทศไทย ต่างจากธงประจำพระองค์อีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกรวมกันตามกฎหมายธงในปัจจุบันว่าธงพระอิสริยยศ ซึ่งเป็นธงที่ใช้ในพิธีการต่างๆ เป็นการพิเศษ และใช้ในสถานที่เฉพาะแห่ง

ลักษณะ

โดยหลักแล้วจะปรากฏการประดับธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์โดยทั่วไปอยู่ 2 ประเภท กล่าวคือ ธงสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และธงของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งสองธงนั้นมีลักษณะเป็นธงสีพื้น ประดับด้วยเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อและพระนามาภิไธยย่อของแต่ละพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นต้น ล้วนมีธงประจำพระองค์ในลักษณะดังกล่าวเช่นเดียวกัน แต่มักมิได้พบเห็นบ่อยนักนอกจากในงานพิธีซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์นั้นๆ เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นองค์ประธานในพิธี

ธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ใช้ประดับในพระราชพิธีและพิธีการต่างๆ ที่เป็นทางการเท่านั้น แต่ยังมีการใช้อยู่ทั่วไปอย่างไม่เป็นทางการด้วย ประชาชนชาวไทยในทุกชนชั้นและทุกหนแห่งนิยมประดับธงดังกล่าวร่วมกับธงชาติไทย เพื่อถวายพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งการแสดงออกดังกล่าวถือเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งที่ปรากฏในวัฒนธรรมไทย

ธงเหล่านี้มักมีขายตามร้านค้าขนาดเล็กและร้านเครื่องเขียนในหัวเมืองต่างๆ โดยมีขนาดที่แตกต่างกันหลายขนาด และธงดังกล่าวมักจะพิมพ์รูปตราพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยย่อลงบนธงเพียงด้านเดียว

ธงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นธงพื้นสีเหลือง อันเป็นสีประจำพระชนมวาร (เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470) ที่กลางธงมีตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ซึ่งโดยปกติจะเป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ภายใต้อุณาโลมและพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี โดยรูปอักษร "ภ" เป็นสีเหลือง(หมายถึง สีประจำวันเสด็จพระราชสมภพ) "ป" สีน้ำเงิน (หมายถึง พระมหากษัตริย์) และ "ร" สีขาว (หมายถึง สีประจำพระชนมวาร) นอกจากนี้ยังมีธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์แบบอื่นที่ใช้เนื่องในวาระพิเศษ เช่น ธงสำหรับงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550 ธงดังกล่าวนี้จะใช้ธงพื้นสีเหลืองเช่นเดียวกับธง ภ.ป.ร. ตามปกติ แต่ใช้สัญลักษณ์กลางธงเป็นรูปตราสัญลักษณ์ของพระราชพิธีดังกล่าวแทน ซึ่งตราสัญลักษณ์ของงานพระราชพิธีต่างๆ ในแต่ละคราวนั้นจะผูกขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะ

ธงดังกล่าวนี้นอกจากจะมีแบบที่พิมพ์ด้วยสีสันต่างๆ ตามมาตรฐานแล้ว ยังมีธงแบบง่ายซึ่งพิมพ์ลวดลายของตราสัญลักษณ์ในธงอย่างเดียวกันด้วยสีแดง เพื่อให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ถูกกว่า

ธงของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเป็นธงสีฟ้า อันเป็นสีประจำพระชนมวาร (เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475) กลางธงประดับสัญลักษณ์พระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ภายใต้มงกุฎนารี อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีฟ้าเข้ม และ "ก" เป็นสีขาว ลักษณะดังกล่าวเป็นไปในทำนองเดียวกับธงพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. โดยปกติแล้วธงนี้มักปรากฏอยู่ทั่วไปในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนแห่งการเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในบางวาระ เช่น พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาของ 6 รอบ ของพระองค์ในปี พ.ศ. 2547 ก็จะมีการใช้ธงสีฟ้าตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีในลักษณะเดียวกันกับธงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สำหรับธงสัญลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถแบบง่ายจะใช้วิธีการพิมพ์ตราสัญลักษณ์ด้วยสีขาวสีเดียวลงบนผืนธงสีฟ้า

ภาพธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์

ภาพธง ใช้สำหรับ ลักษณะ หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ธงสีเหลือง ตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ภายใต้อุณาโลมและพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี เสด็จพระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ธงสีฟ้า ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ภายใต้พระมหามงกุฎ เสด็จพระราชสมภพวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:รำไพพรรณี.jpg
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ธงสีชมพู ตราพระนามาภิไธยย่อ ร.พ. ภายใต้มงกุฎขัติยนารี ประสูติวันอังคาร จึงใช้ชมพูเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ธงสีเหลือง ตราพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. ภายใต้พระอนุราชมงกุฎและตราจักรี ประสูติวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ธ. ภายใต้พระชฎาไม่มีกรรเจียกจร ประสูติวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ธงสีแสด ตราพระนามย่อ จ.ภ. ภายใต้พระจุลมงกุฎ ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ธงสีชมพู ตราพระนามย่อ พ.ร. ภายใต้พระชฎามหากฐินและอุณาโลม ประสูติวันอังคาร จึงใช้สีชมพูเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ธงสีน้ำเงิน ตราพระนามย่อ ก.ว. ภายใต้พระจุลมงกุฎ ประสูติวันอาทิตย์ แต่สีน้ำเงินเป็นสีที่โปรดเป็นการส่วนพระองค์ จึงใช้สีนี้เป็นสีพื้นธงแทนสีแดง
ไฟล์:ธงพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี.jpg
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ผูกเป็นรูปงู ภายใต้เลข ๖ เปล่งรัศมี ประสูติวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ธงสีแดง ตราพระนามย่อ อ.ร. ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดแดงเป็นสีพื้นธง อนึ่งมีพระบรมวงศ์ประสูติในวันพฤหัสบดีเช่นเดียวกันหลายพระองค์ ประกอบกับ เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงใช้สีพื้นธงสีเข้มกว่าพระองค์อื่น
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ธงสีแสด ตราพระนามย่อ ศ.ร. ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ธงสีม่วง ตราพระนามย่อ ส.ส. ยอดพระนามาภิไธยย่อเป็นรูปอุณาโลม ประสูติวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ธงสีแสด ตราพระนามย่อ พ.ภ. ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ธงสีแสด ตราพระนามย่อ ส.ร. ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ธงสีฟ้า ตราพระนามย่อ ท.ป. ประสูติวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ธงสีฟ้า ตราพระนามย่อ ส.ภ. ประสูติวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ธงสีแดงทั้งผืน ตราพระนามย่อ อ.ท. ประสูติวันอาทิตย์ จึงใช้ธงสีแดงเป็นพื้นธง ยังไม่มีตราประจำพระองค์ที่กลางผืน ธงมีลักษณคล้ายธงแดงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้ใช้เป็นธงประจำพระองค์ชั่วคราวจนกว่าตราประจำพระองค์จะออกแบบแล้วเสร็จจึงจะเชิญมาไว้กลางธง และเป็นธงที่ประดับรับเสด็จในการเสด็จไปปฏิบัติพระกรณียกิจ

ระเบียงภาพ

ดูเพิ่ม