ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จำนง รังสิกุล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
*'''ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์'''ทางวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์สาขานิเทศสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2528
*'''ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์'''ทางวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์สาขานิเทศสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2528
*'''รางวัลสังข์เงิน''' นักประชาสัมพันธ์ดีเด่นทางวิทยุโทรทัศน์ [[สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย]] พ.ศ. 2530
*'''รางวัลสังข์เงิน''' นักประชาสัมพันธ์ดีเด่นทางวิทยุโทรทัศน์ [[สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย]] พ.ศ. 2530
*'''กิจกรรมตลอดปีเนื่องในโอกาส 100 ปีชาตกาล อาจารย์ จำนง รังสิกุล''' และ '''รูปหล่อสำริด''' ครึ่งตัวในวัย 38 ปี ขนาด 2 ฟุต จัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2556 <ref>ครบ 100 ปีชาตกาล อ.จำนง รังสิกุล,news.voicetv.co.th/thailand/70972.html</ref>
*'''กิจกรรมตลอดปีเนื่องในโอกาส 100 ปีชาตกาล จำนง รังสิกุล''' และ '''รูปหล่อสำริด''' ครึ่งตัวในวัย 38 ปี ขนาด 2 ฟุต จัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2556 <ref>ครบ 100 ปีชาตกาล อ.จำนง รังสิกุล,news.voicetv.co.th/thailand/70972.html</ref>


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:42, 27 กรกฎาคม 2556

จำนง รังสิกุล
เกิด28 พฤษภาคม พ.ศ. 2456
อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (81 )
สัญชาติไทยไทย
ชื่ออื่น"หัวหน้าจำนง"
การศึกษาปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2478
มีชื่อเสียงจากผู้บุกเบิกโทรทัศน์ไทย ช่อง 4 บางขุนพรหม ,บิดาแห่งโทรทัศน์ไทย
คู่สมรสพิสมัย รังสิกุล (อมาตยกุล)
บุตรพัชรี ,นฤมล และ ธีรชัย

จำนง รังสิกุล นักสื่อสารมวลชนชาวไทยผู้บุกเบิกสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของเมืองไทย ซึ่งดำเนินงานในนาม บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด ของ กรมประชาสัมพันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม (และ วิทยุท.ท.ท.) ระหว่าง พ.ศ. 2498 - 2520

หลังจากนั้นกลับมาปฏิบัติหน้าที่ประจำกรมประชาสัมพันธ์จนเกษียณอายุราชการ รวมเวลา 33 ปี [1]

เป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่า "พิธีกร" (Master of Ceremony),เพลง "ลูกทุ่ง" (Country Song) และ "หอกิตติคุณ" (Hall of Fame)[2] เป็นต้น

ปฐมวัย

เกิดที่ อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี เป็นบุตรคนแรกในจำนวน 6 คน ของ หลวงบัญชาพิชิตราษฎร์ และ นางจันทร์ รังสิกุล

เรียนชั้นประถมศึกษาที่ จ.นครนายก และ มัธยมศึกษา จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ จ.ฉะเชิงเทรา แล้วต่อระดับอุดมศึกษาวิชากฎหมาย ที่แผนกรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แต่ขณะเรียนชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาดังกล่าวย้ายโอนไปอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (และการเมือง) จึงเรียนต่อจนสำเร็จวุฒิปริญญาตรี ของธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2478[3]

มัชฉิมวัย

  • ด้วยความเป็นผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดี จึงได้เดินทางไปทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวภาคภาษาไทย ที่บีบีซี (BBC) ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี แล้วกลับมาเป็นหัวหน้ากองกระจายเสียงต่างประเทศ ของกรมประชาสัมพันธ์ (กรมโฆษณาการ)
  • เมื่อสถานีโทรทัศน์ ช่อง 4 เริ่มออกอากาศใน พ.ศ. 2498 ต้องดูแลรับผิดชอบในฐานะผู้อำนวยการสถานีและหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ที่ให้ข่าวสาร ความรู้ และ ความบันเทิงทั้งไทยและสากล (ด้วยความร่วมมือจากสำนักข่าวสารอเมริกันและสถานทูตนานาชาติ)
  • รายการสำหรับทุกคนทุกวัยในครอบครัว ได้แก่ รายการส่งเสริมความเป็นไทย เช่น ศิษย์นาฏศิลป์ไทยทีวีช่อง 4 [4],นายเทิ่งกับสัตว์เลี้ยง ,ละครสั้นเบาสมองชุด พ่อท้วมกับแม่อิ๊ด ,ละครครอบครัวชวนหัวชุด ฉันรักนุสรา ,ลูกทุ่งกรุงไทย ,เพลินเพลงกับนฤพนธ์ ,เพลงกล่อมจิตร ,มิตรกล่อมใจ ,เพลงแห่งความหลัง ,เพลงสุนทราภรณ์ ,คันธรรพศาลา ,สังคีตภิรมย์ ละครพันทางและละครวรรณกรรม เช่น เจ้าหญิงแสนหวี ,ศรอนงค์ ,นันทาเทวี ,พันท้ายนรสิงห์ ,บ้านทรายทอง ,นิจ ,ขุนศึก ,ขุนศึกมหาราช ฯลฯ รวมทั้งรายการปกิณกะ /เกมโชว์ เช่น มาลัยลอยวน ,ลับแลกลอนสด ,ปัญหารอบโลก ,ผะหมี ,ทายอาชีพ ,ภาพปริศนา ,เปิดหน้ากาก ฯลฯ

ส่วนแนวสากล มีทั้งรายการ เพลงนานาชาติ ละครวรรณกรรม เช่น สามก๊ก ,ฮวนนั้ง ,ซูสีไทเฮา ,ฮวนลิฮวยกับซิเต็งซัน ,ออกญายามาดา ,โรมิโอ จูเลียต ,ไอด้า จัดโดยเจ้าหน้าที่สถานี และภาพยนตร์ต่างประเทศที่พิจารณาเลือกสรรจากหัวหน้าจำนงโดยตรง เช่น คุณพ่อรู้ดี ,แลซซี่สุนัขแสนรู้ ,คาวบอยหน้ากากดำ "โลนเรนเจอร์ส" ,ฉันรักลูซี่ (ซึ่งเป็นแนวคิดในการทำละคร ฉันรักนุสรา ) ฯลฯ[5]

ปัจฉิมวัย

ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองข่าว (ทั้งในและต่างประเทศ) กรมประชาสัมพันธ์ ก่อนเกษียณอายุราชการ หลังจากนั้นเป็นที่ปรึกษา ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ ด้านวิทยุ-ทีวี และเขียนหนังสือซึ่งทำมานานก่อนหน้าในชื่อนามแฝงต่างๆ เช่น "จินตนา " คอลัมน์ตอบปัญหาชีวิตใน สตรีสาร และนามจริง เมื่อเขียนเรื่องสารคดี

ริเริ่มรางวัลเมขลา (2523-2526) และ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ (2529-2537) เพื่อบุคคลและรายการทางทีวีสาขาต่างๆ เป็นประจำทุกปี [6]

เกียรติคุณ

  • ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ทางวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์สาขานิเทศสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2528
  • รางวัลสังข์เงิน นักประชาสัมพันธ์ดีเด่นทางวิทยุโทรทัศน์ สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530
  • กิจกรรมตลอดปีเนื่องในโอกาส 100 ปีชาตกาล จำนง รังสิกุล และ รูปหล่อสำริด ครึ่งตัวในวัย 38 ปี ขนาด 2 ฟุต จัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2556 [7]

อ้างอิง

  1. หนังสือ 70 ปีกรมประชาสัมพันธ์,สำนักนายกรัฐมนตรี 2546 หน้า 148-149
  2. จำนง รังสิกุล ru.ac.th
  3. จำนง รังสิกุล
  4. หนังสือ 70 ปีกรมปชส.หน้า139
  5. หนังสือ 70 ปีกรมปชส.หน้า 142
  6. จำนง รังสิกุล
  7. ครบ 100 ปีชาตกาล อ.จำนง รังสิกุล,news.voicetv.co.th/thailand/70972.html