ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รวงทอง ทองลั่นธม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
เดิมชื่อ '''ทองก้อน''' เกิดที่[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เป็นลูกกำพร้าตั้งแต่เด็ก จึงย้ายมาอยู่กับยายที่กรุงเทพ เข้าเรียนที่[[โรงเรียนขัตติยนารี]] จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6
เดิมชื่อ '''ทองก้อน''' เกิดที่[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เป็นลูกกำพร้าตั้งแต่เด็ก จึงย้ายมาอยู่กับยายที่กรุงเทพ เข้าเรียนที่[[โรงเรียนขัตติยนารี]] จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6


==ในวงการเพลง==
==ในวงการบันเทิง==


ผู้ใหญ่ที่นับถือนำไปฝากกับครู[[เอื้อ สุนทรสนาน]] เนื่องจากชอบร้องเพลงและมีเสียงไพเราะ ได้ฝึกหัดร้องเพลงกับพลโท [[หม่อมหลวงขาบ กุญชร]] และครู[[ชอุ่ม ปัญจพรรค์]] ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่า '''รวงทอง ทองลั่นธม'''
ผู้ใหญ่ที่นับถือนำไปฝากกับครู[[เอื้อ สุนทรสนาน]] เนื่องจากชอบร้องเพลงและมีเสียงไพเราะ ได้ฝึกหัดร้องเพลงกับพลโท [[หม่อมหลวงขาบ กุญชร]] และครู[[ชอุ่ม ปัญจพรรค์]] ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่า '''รวงทอง ทองลั่นธม'''


เข้าเป็นนักร้องประจำวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และเริ่มมีชื่อเสียงจากการร้องเพลง ''รักบังใบ'' ของครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ มีชื่อเสียงโด่งดังจากเพลง ''จำได้ไหม'' (คำร้องโดย [[ธาตรี]] ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน) และ ''ขวัญใจไอ้ทุย'' (โดย [[สมศักดิ์ เทพานนท์]]) พ.ศ. 2500
เข้าเป็นนักร้องประจำ[[วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์]] และเริ่มมีชื่อเสียงจากการร้องเพลง ''รักบังใบ'' ของครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ มีชื่อเสียงโด่งดังจากเพลง ''จำได้ไหม'' (คำร้องโดย [[ธาตรี]] ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน) และ ''ขวัญใจไอ้ทุย'' (โดย [[สมศักดิ์ เทพานนท์]]) พ.ศ. 2500 และยังเป็นนางเอกละครโทรทัศน์ประกอบเพลงเรื่องยิ่งใหญ่ทางไทยทีวี [[ช่อง 4 บางขุนพรหม]] เรื่อง''[[จุฬาตรีคูณ]]'' คู่กับ [[อาคม มกรานนท์]] ในปีนั้นด้วย รวมทั้งมีงานเพลงประกอบภาพยนตร์ เด่นๆ เช่น ''ปาหนัน ,สร้อยไข่มุก ,วนาลี ฯลฯ'' นับเป็นดารานักร้องใหม่ล่าสุดที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนอย่างยิ่งในเวลานั้น


เนื่องจากงานเพลงประจำและงานพิเศษ รายการวิทยุและโทรทัศน์จำนวนมาก จนกระทั่ง พ.ศ. 2506 จึงได้ลาออกไปเป็นนักร้องอิสระ ควบคู่กับเป็นผู้จัดและนำแสดงในละครโทรทัศน์ ททบ.7 (ขาวดำ) สนามเป้า ([[ททบ.5]] ปัจจุบัน) เช่น ''จุฬาตรีคูณ'' คู่กับ [[ตรัยเทพ เทวะผลิน]]<ref>รายการเพื่อนฝัน,สวท เอเอ็ม 891,ก.ค.2556</ref>และร่วมแสดงภาพยนตร์ เช่น''ในฝูงหงส์ '' เป็นต้น
พ.ศ. 2506 ได้ลาออกไปเป็นนักร้องอิสระ และแสดงภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ''กาในฝูงหงส์'' รวมทั้งจัดรายการเพลงทางวิทยุ และแสดงละครโทรทัศน์


==ผลงานเด่น==
==ผลงานเด่น==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:49, 27 กรกฎาคม 2556

รวงทอง ทองลั่นธม
เกิด8 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (86 ปี)
ทองก้อน ทองลั่นธม
อาชีพนักร้อง นักแสดงละครทีวี/ภาพยนตร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2500 - ปัจจุบัน
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2539 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)

รวงทอง ทองลั่นธม หรือ รวงทอง ทองลั่นทม (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 - ) นักร้องวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และ วงสุนทราภรณ์ มีชื่อเสียงจากเพลง จำได้ไหม และ ขวัญใจไอ้ทุย รวมทั้งได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2539

วัยเด็ก

เดิมชื่อ ทองก้อน เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นลูกกำพร้าตั้งแต่เด็ก จึงย้ายมาอยู่กับยายที่กรุงเทพ เข้าเรียนที่โรงเรียนขัตติยนารี จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6

ในวงการบันเทิง

ผู้ใหญ่ที่นับถือนำไปฝากกับครูเอื้อ สุนทรสนาน เนื่องจากชอบร้องเพลงและมีเสียงไพเราะ ได้ฝึกหัดร้องเพลงกับพลโท หม่อมหลวงขาบ กุญชร และครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่า รวงทอง ทองลั่นธม

เข้าเป็นนักร้องประจำวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และเริ่มมีชื่อเสียงจากการร้องเพลง รักบังใบ ของครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ มีชื่อเสียงโด่งดังจากเพลง จำได้ไหม (คำร้องโดย ธาตรี ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน) และ ขวัญใจไอ้ทุย (โดย สมศักดิ์ เทพานนท์) พ.ศ. 2500 และยังเป็นนางเอกละครโทรทัศน์ประกอบเพลงเรื่องยิ่งใหญ่ทางไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม เรื่องจุฬาตรีคูณ คู่กับ อาคม มกรานนท์ ในปีนั้นด้วย รวมทั้งมีงานเพลงประกอบภาพยนตร์ เด่นๆ เช่น ปาหนัน ,สร้อยไข่มุก ,วนาลี ฯลฯ นับเป็นดารานักร้องใหม่ล่าสุดที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนอย่างยิ่งในเวลานั้น

เนื่องจากงานเพลงประจำและงานพิเศษ รายการวิทยุและโทรทัศน์จำนวนมาก จนกระทั่ง พ.ศ. 2506 จึงได้ลาออกไปเป็นนักร้องอิสระ ควบคู่กับเป็นผู้จัดและนำแสดงในละครโทรทัศน์ ททบ.7 (ขาวดำ) สนามเป้า (ททบ.5 ปัจจุบัน) เช่น จุฬาตรีคูณ คู่กับ ตรัยเทพ เทวะผลิน[1]และร่วมแสดงภาพยนตร์ เช่นในฝูงหงส์ เป็นต้น

ผลงานเด่น

ผลงานขับร้องที่มีชื่อเสียง เช่น เกียรติยศในกรงทอง ,คีรีบูนยอดรัก ,ทุยจ๋า ,นี่หรือความรัก ,รอยมลทิน ,คิดถึงน้องบ้างนะ ,พรุ่งนี้วิวาห์ ,อนิจจาความรัก ,วนาสวาท ,วังบัวบาน ,แรมพิศวาส ,เราไม่ควรพบกันเลย ,ผู้หญิงก็มีหัวใจ ,ที่แล้วมาคิดว่าเป็นทาน ,ใครก็ได้ที่รักฉันจริง ,เชลยรัก ,กามเทพเจ้าขา ,คืนคลื่นสวาท ,พาร์ทเนอร์ ,สนิมมนุษย์ ,ทะเลน้ำตา ,สวรรค์หาย ,น้ำตาแม่ ,แม้แต่ทะเลยังครวญคร่ำ ,จดหมายรักบนพื้นทราย (Love Letters In The Sand),ซาโยนาระ (Sayonara),รักฝังใจ (An Affair To Remember),เวนิสพิศวาส (Summertime In Venice) ฯลฯ

รางวัลเกียรติยศ

  • รางวัลแผ่นเสียงทองพระราชทาน จากเพลง วนาสวาท ,รักเธอเสมอ พ.ศ. 2508
  • รางวัลใบโพธิ์ทองพระราชทาน จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2514 (ในฐานะนักร้องผู้เผยแพร่ภาษาไทยได้ชัดเจนถูกต้อง )
  • การเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (ร้องเพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2539

อ้างอิง

  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3

แหล่งข้อมูลอื่น

8 ส

  1. รายการเพื่อนฝัน,สวท เอเอ็ม 891,ก.ค.2556