ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศรีอาภา เรือนนาค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jungide (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
* [[อูเทนะ พลิกฟ้าตามหารัก]] (ช่อง 9) รับบทเป็น เทนโจ อูเทนะ
* [[อูเทนะ พลิกฟ้าตามหารัก]] (ช่อง 9) รับบทเป็น เทนโจ อูเทนะ
* [[เซเลอร์มูน]] (โมเดิร์นไนน์ทีวี และ ไทก้า) รับบทเป็น [[มิซุโนะ อามิ]] / เซเลอร์เมอร์คิวรี่, [[ไอโนะ มินาโกะ]] / เซเลอร์วีนัส
* [[เซเลอร์มูน]] (โมเดิร์นไนน์ทีวี และ ไทก้า) รับบทเป็น [[มิซุโนะ อามิ]] / เซเลอร์เมอร์คิวรี่, [[ไอโนะ มินาโกะ]] / เซเลอร์วีนัส
* [[เซเลอร์มูน]] (ไรท์ บียอนด์) รับบทเป็น [[สึคิโนะ อุซางิ]] / เซเลอร์มูน
* [[คู่ซ่าฮาคูณสอง]] (ช่อง 9) รับบทเป็น ฮายาคาว่า เคียวโกะ
* [[คู่ซ่าฮาคูณสอง]] (ช่อง 9) รับบทเป็น ฮายาคาว่า เคียวโกะ
* [[คนเก่งทะลุโลก]] (โมเดิร์นไนน์ทีวี) รับบทเป็น ยูกิมุระเคโกะ , ยูกินะ , ปรมาจารย์ เก็นไค
* [[คนเก่งทะลุโลก]] (โมเดิร์นไนน์ทีวี) รับบทเป็น ยูกิมุระเคโกะ , ยูกินะ , ปรมาจารย์ เก็นไค

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:11, 21 กรกฎาคม 2556

ศรีอาภา เรือนนาค (ชื่อเล่น: ผึ้ง) เป็นนักพากย์การ์ตูนชาวไทยที่มีชื่อเสียง และ นักแสดงในอดีต ในชื่อเดิมคือ ศรีอาภา บางนารถ[1] ปัจจุบันพากย์เสียงให้กับบริษัทการ์ตูนในประเทศไทยหลายบริษัท เช่น ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (โมเดิร์นไนน์ทีวี), ไทก้า, โรส วิดีโอ เป็นต้น ผลงานการพากย์เรื่องแรกคือเรื่องครีมมี่มามี่ โดยรับบทเป็นแมวตัวเล็กๆ หนึ่งใน 2 คู่หูของนางเอก

ประวัติ

ศรีอาภา เรือนนาค เกิดวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2499[2] เป็นคนจังหวัดนนทบุรี จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูสวนดุสิต ในปี พ.ศ. 2520 ช่วงที่เป็นนักศึกษาปีสุดท้าย ได้มาฝึกงานอยู่ที่ช่อง 9 บางขุนพรหม เมื่อเรียนจบก็สมัครเข้าทำงานที่ช่อง 9 เลย ในระหว่างที่รอประกาศผลรับสมัคร ได้รับจ้างเป็นครูสอนพิเศษตามบ้าน แต่ไม่นานก็ได้เข้าทำงานพิเศษที่ราชกรีฑาสโมสร จากนั้นประมาณ 5-6 เดือน ทางช่อง 9 ก็เรียกตัวให้เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานฝ่ายผลิตรายการ ต่อมาได้ถูกทาบทามให้แสดงละครของทางสถานีหลายเรื่อง เช่น ชื่นจิตพเนจร, เงาะป่า, นางสาวทองสร้อย[3], วิมานไฟ [4] และภูตพิศวาส [5] โดยได้รับบทเป็นนางเอก ซึ่งเรื่องภูตพิศวาสนี้ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่พี่ผึ้งเป็นอย่างมาก หลังจากที่เลิกแสดงละคร ก็หันไปเป็นผู้ประกาศข่าว จากนั้นจึงได้มาเริ่มทำงานด้านการพากย์การ์ตูน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา

เคยได้รับรางวัลนักพากย์จาก สยช. สำนักนายกรัฐมนตรีฯ ในปี พ.ศ. 2529 และ 2530 นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลนักพากย์หญิงดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2537 จากการพากย์หนังเรื่อง เชลยกรรม และการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ปริศนาปลาทอง

ผลงาน

แอนิเมชัน

ภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึ

ภาพยนตร์การ์ตูนไทย

ภาพยนตร์ต่างประเทศ

รายการโทรทัศน์

อื่นๆ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น