ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุภาพร กิตติขจร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 21: บรรทัด 21:


[[หมวดหมู่:คู่สมรสของนักการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:คู่สมรสของนักการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนราชินีบน]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนราชินีบน]]
[[หมวดหมู่:สกุลกิตติขจร]]
[[หมวดหมู่:สกุลกิตติขจร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:42, 19 กรกฎาคม 2556

สุภาพร กิตติขจร (23 กันยายน พ.ศ. 248317 มีนาคม พ.ศ. 2548) ภริยาพันเอกณรงค์ กิตติขจร

ประวัติ

คุณสุภาพร กิตติขจร เป็นบุตรคนที่ 3 ของจอมพลประภาส จารุเสถียรและท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2483 เมื่อเยาว์วัยเข้าเรียนชั้นอนุบาลในโรงเรียนกรมทหารสื่อสาร เขตบางซื่อ ในขณะที่จอมพลประภาส รับราชการที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ที่ตั้งเดิม ปัจจุบันเป็น ร.1 พัน 3 รอ.) ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียน เมื่อจอมพลประภาสย้ายไปเป็น ผบ.ร.1 รอ.ซึ่งตั้งอยู่ที่สวนเจ้าเชตุ ตรงข้ามวัดโพธิ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกรมรักษาดินแดน) ครอบครัวก็ย้ายตามไปหมด คุณสุภาพรจึงย้ายไปเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนซันตาครู๊ซ แล้วย้ายมาเรียนชั้นประถมตอนปลายที่โรงเรียนราชินีบน (บางกระบือ) จนจบมัธยมบริบูรณ์ แล้วจึงไปเรียนต่อในไฮสคูล ที่ลอเร้นโต้ คอนแวนต์ เมืองซิมล่า ประเทศอินเดีย หลังจากจบลอเร็นโต้กำลังจะไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ แต่ ร้อยตรีณรงค์ กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับคุณสุภาพรมาตั้งแต่อายุได้ 5-6 ขวบ ซึ่งรู้จักกันตั้งแต่เยาว์วัย ได้ขอแต่งงานเมื่อคุณสุภาพรอายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น โดยมีบุตร - ธิดารวม 4 คน ได้แก่

  • พันเอก เกริกเกียรติ กิตติขจร
  • นายกรกาจ กิตติขจร
  • พันเอก กิจก้อง กิตติขจร
  • นางกรองกาญจน์ ดิศกุล ณ อยุธยา

ชีวิตส่วนตัว

พันโทณรงค์และคุณสุภาพร กิตติขจรอยู่กันมาเป็นระยะเวลาถึง 47 ปี แม้ว่า พันโทณรงค์ กิตติขจร ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการสงครามในต่างประเทศหรือขณะที่ พันโทณรงค์ ถูกมรสุมทางการเมือง ต้องไปอยู่ในประเทศเยอรมนีก็ตาม

บั้นปลายชีวิต

คุณสุภาพร กิตติขจร เริ่มป่วยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้รับการรักษาจากคณะแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ ในเบื้องต้น และคณะแพทย์พยาบาลโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยเฉพาะ นพ.นิพนธ์ ลิ้มตระกูล ได้พยายามรักษาพยาบาลอย่างเต็มความสามารถจนกลับบ้านได้ในครั้งแรก ต่อมาภายหลังมีอาการไม่ค่อยดี จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพอีกครั้ง และมีอาการทรุดลงเรื่อยๆ จนสุดจะเยียวยาได้และจากไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2548