ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| death_place = [[ปีนัง]] [[ประเทศมาเลเซีย]]
| death_place = [[ปีนัง]] [[ประเทศมาเลเซีย]]
| party =
| party =
| spouse = [[#ครอบครัว|คุณหญิงนิตย์ มโนปกรณนิติธาดา]]<br>เชย หุตะสิงห์
| spouse = [[#ครอบครัว|คุณหญิง นิตย์ มโนปกรณนิติธาดา]]<br>เชย หุตะสิงห์
| religion = [[ศาสนาพุทธ|พุทธ]]
| religion = [[ศาสนาพุทธ|พุทธ]]
| signature =
| signature =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:05, 18 กรกฎาคม 2556

พระยามโนปกรณนิติธาดา
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(0 ปี 358 วัน)
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เสียชีวิต1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 (64 ปี)
ปีนัง ประเทศมาเลเซีย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิง นิตย์ มโนปกรณนิติธาดา
เชย หุตะสิงห์

มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ ท่านถึงอสัญกรรม ณ ปีนัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 64 ปีเศษ

การศึกษา

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

บทบาททางการเมือง

พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังจากมีกรณีเรื่อง "สมุดปกเหลือง" เค้าโครงเศรษฐกิจที่ร่างโดยนายปรีดี ขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่านไม่เห็นชอบด้วย ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ ขุนนาง และบุคคลในสภา ฯ พระยามโนปกรณ ฯ เองก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกคณะราษฎรกลุ่มทหารที่นำโดย พระยาทรงสุรเดช ท่านจึงได้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ ให้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย ซึ่งเรียกกันว่าท่านกระทำรัฐประหารด้วยการใช้ "ปากกาด้ามเดียว" ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎรที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์

เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหารคณะรัฐบาลของท่าน และเนรเทศท่านไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัวนายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณนิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม

พระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและคุณวุฒิสูง แต่เป็นบุคคลที่มีบุคคลิกพูดจาตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก ชีวิตส่วนตัวชื่นชอบในการเดินป่าและล่าสัตว์ป่า[1]

ลำดับเหตุการณ์

ผลงานที่สำคัญ

ครอบครัว

พระยามโนปกรณนิติธาดา สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงนิตย์ มโนปกรณนิติธาดา (สกุลเดิม สาณะเสน) ธิดาของพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน)

คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดา ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อคราวเสด็จประพาสอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 จนเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม นั้นได้เกิดอุบัติเหตุเมื่อรถยนต์ที่เธอนั่งพุ่งชนเข้ากับเสาโทรเลข เนื่องจากความประมาทของพลขับ[3] ทำให้คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดาบาดเจ็บสาหัสที่ศีรษะบาดแผลฉกรรจ์ ภายหลังคุณหญิงทนพิษบาดแผลไม่ไหว และเสียชีวิตลงในเวลา 12.35 นาฬิกา ของวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[3]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงทรงร่นระยะเวลาพระกรณียกิจ และโปรดให้งดงานรื่นเริงต่าง ๆ ระหว่างการเสด็จประพาสไปเสียสิ้น[3] ทั้งยังได้สร้างอนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านาง 4 หน้า เพื่อเก็บอังคารของคุณหญิงที่วัดปทุมวนาราม[3]

หลังการเสียชิวิตของคุณหญิงมโนปกรณนิติธาดา พระยามโนปกรณนิติธาดาจึงใช้ชีวิตคู่กับ เชย หุตะสิงห์[3] และมีบุตรเพียงคนเดียวคือ ตุ้ม หุตะสิงห์[3]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ถัดไป
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
ประธานคณะกรรมการราษฎร (สมัยที่ 1 : ครม. 1)
(28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (สมัยที่ 2 : ครม. 2)
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 1 เมษายน พ.ศ. 2476
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (สมัยที่ 3 : ครม. 3)
1 เมษายน พ.ศ. 2476 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476)
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
พระยาโกมารกุลมนตรี
(ชื่น โกมารกุล ณ นคร)
ไฟล์:ตรากระทรวงการคลัง1.jpg
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
(29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476)
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
(จิตร ณ สงขลา)