ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 120: บรรทัด 120:
* [[ศิริ พุทธศุกร์]]
* [[ศิริ พุทธศุกร์]]
* [[แสง จันทร์งาม|ศ.เกียรติคุณ ดร. แสง จันทร์งาม]]
* [[แสง จันทร์งาม|ศ.เกียรติคุณ ดร. แสง จันทร์งาม]]
* [[เสถียร โพธินันทะ|อาจารย์เสถียร โพธินันทะ]]
* [[เสถียร โพธินันทะ|อาจารย์ เสถียร โพธินันทะ]]
* [[สมัคร บุราวาส]]
* [[สมัคร บุราวาส]]
* [[กีรติ บุญจือ]]
* [[กีรติ บุญจือ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:44, 17 กรกฎาคม 2556

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัย
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา1 ตุลาคม พ.ศ. 2436
อธิการบดีพระราชบัณฑิต (ธรณิศ ชาคโร)
อธิการบดีพระราชบัณฑิต (ธรณิศ ชาคโร)
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.mbu.ac.th

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์แห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่เริ่มประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่ โดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ หนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย[1] (ฝ่ายธรรมยุตินิกาย)

ประวัติ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระดำริจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นภายใน วัดบวรนิเวศวิหาร โดยวิธีจัดการศึกษาแบบสมัยใหม่ มีลักษณะแตกต่างจากการเล่าเรียนภาษาบาลีตามประเพณีแบบเดิม ในขณะเดียวกัน ก็นำเอาวิธีวัดผลแบบข้อเขียนมาใช้เป็นแห่งแรกของประเทศไทยด้วย

หลังจากที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงก่อตั้งสถาบันการศึกษานี้ขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชดำรัสให้พระองค์ทรงช่วยปรับปรุงโรงเรียนสอนภาษาบาลี ชื่อ "มหาธาตุวิทยาลัย" ภายในวัดมหาธาตุ ขึ้นเป็น "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เพื่อจัดการให้คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายได้มีสถาบันการศึกษาชั้นสูงในลักษณะเดียวกัน ควบคู่ไปกับมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งสมัยนั้นเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง และส่วนมากยังจำกัดอยู่แต่คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ต่อมา ทั้ง มหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ปิดตายลงเพราะประสบปัญหาหลายประการด้วยกัน นับเป็นเวลาหลายสิบปี

จนกระทั่ง ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพได้พยายามรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ จนประสบผลสำเร็จ เมื่อ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์และคณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ให้การอุปถัมภ์ โดยได้ทำการประกาศรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2488 ตามมาด้วย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งประกาศรื้อฟื้นกิจการในปี พ.ศ. 2490 อาจารย์สุชีพ ได้แถลงว่า สาเหตุที่ต้องมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็เพราะคณะสงฆ์จำเป็นต้องผลิตบุคลากรที่รู้ทันวิชาการสมัยใหม่ มิฉะนั้น คณะสงฆ์จะไม่สามารถสั่งสอนแนะนำชาวบ้านได้ และการสื่อสารกันก็จะเกิดความไม่เข้าใจ เพราะชาวบ้านศึกษาด้านคดีโลก ส่วนพระสงฆ์ศึกษาด้านคดีธรรม ท่านจึงต่อสู้เพื่อให้ได้มหาวิทยาลัยสงฆ์มาอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด มหามกุฏราชวิทยาลัย และ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็ได้รับการรื้อฟื้นมาอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นผลพวงมาจากการทุ่มเทและความมุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งของท่านฯ อย่างแท้จริง เหตุผลนี้ ทำให้คนรุ่นหลังกล่าวยกย่อง "อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ" ว่าเป็น บิดาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย

เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่านและสืบสานเจตนารมณ์ของท่าน คณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิปุญญานุภาพ ขึ้นโดยความเห็นชอบของท่านเพื่อให้ทุนสนับสนุนนักศึกษาหรือครูอาจารย์ผู้ค้นคว้าวิจัยทางพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และดำเนินกิจการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

โครงการย้ายมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีโครงการย้ายที่ตั้งของมหาวิทยาลัยไปยังตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ[2]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

  • ตรามหามกุฏราชวิทยาลัย
    • พระมหามงกุฎ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนามมหามกุฏราชวิทยาลัย
    • พระเกี้ยวประดิษฐสถานบนหมอนรอง หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • หนังสือ หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา
    • ปากกาปากไก่ ดินสอและม้วนกระดาษ หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียนทางพระพุทธศาสนา
    • ช่อดอกไม้แย้มกลีบ หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาการในทางพระพุทธศาสนา
    • พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นทั้งสถานจัดการศึกษาและเผยแผ่
    • วงรัศมี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษา
    • มหามกุฏราชวิทยาลัย หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
  • สุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย

"วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส = ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติที่ดีประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและหมู่มนุษย์" หมายความว่าเป้าหมายในการสร้างคนจะต้องให้สมบูรณ์ครบทั้งความรู้และความประพฤติที่ดี (ความรู้คู่คุณธรรม) ในเวลาเดียวกัน

  • สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีส้ม
  • ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าใช้ประทับอาศัยเป็นร่มเงาเมื่อตรัสรู้ ต้นโพธิ์จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า

คณะ

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 5 คณะ

  • คณะศาสนาและปรัชญา
  • คณะมนุษยศาสตร์ (เดิมชื่อ คณะศิลปศาสตร์)
  • คณะสังคมศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะบัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาเขต

วิทยาลัย

ศูนย์การศึกษา

  • ศูนย์การศึกษาวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร
  • ศูนย์การศึกษาวัดอาวุธวิกสิดาราม กรุงเทพมหานคร
  • ศูนย์การศึกษากำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
  • ศูนย์การศึกษาโคราช อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
  • ศูนย์การศึกษาอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ศูนย์การศึกษาด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
  • ศูนย์การศึกษาชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
  • ศูนย์การศึกษาหนองบัวลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
  • ศูนย์การศึกษาศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
  • ศูนย์การศึกษาชลบุรี อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  • ศูนย์การศึกษาปราจีนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
  • ศูนย์การศึกษาเพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
  • ศูนย์การศึกษาสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ศูนย์การศึกษาสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

โรงเรียนในสังกัดมหามกุฏราชวิทยาลัย

ความร่วมมือกับนานาชาติ

ปัจจุบัน มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ตกลงในความร่วมมือเพื่อพัฒนา ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ใน อังกฤษ เพื่อเผยแผ่หลักพุทธธรรมให้กว้างขวางไปสู่นานาประเทศ นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซียเพื่อพัฒนาการศึกษาพุทธศาสน์ศึกษาด้วย

เกียรติภูมิของชาวมหามกุฏราชวิทยาลัย

สิ่งที่ชาวมหามกุฏราชวิทยาลัยภาคภูมิใจที่สุดก็คือการเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาหรือมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศ หลังจากที่มีการเปิดการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัย นักศึกษาและครูอาจารย์มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้มีเป้าประสงค์ยิ่งใหญ่ตามเจตนารมณ์ของ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ คือพยายามขยายการอบรมจริยธรรมหรือศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาไปทั่วประเทศในรูปแบบต่างๆ กล่าวได้ว่าในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ประเทศได้รับอิทธิพลวัตถุนิยมจากตะวันตก นักศึกษาและครูอาจารย์มหามกุฏราชวิทยาลัยได้มีบทบาทสำคัญในการชี้นำให้เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติที่เป็นรากฐานของสังคมไทยมาช้านาน พระสงฆ์สามเณรที่เป็นพระนักศึกษาหลายรูปได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาเหล่านี้จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา

กิจกรรมที่คณาจารย์และนักศึกษาได้กระทำกันมาเพื่อปลูกฝังศีลธรรมในประเทศไทยมีจำนวนมาก อาทิ

  • บรรยายธรรมทางสถานีวิทยุหลายสถานี
  • ส่งพระนักศึกษาและครูอาจารย์ไปสอนนักโทษเรือนจำในที่ต่างๆ ของประเทศ
  • ส่งพระนักศึกษาและครูอาจารย์ไปสอนศีลธรรมตามโรงเรียนต่างๆ ที่ขาดแคลน
  • เปิดสอนศีลธรรมแก่ประชาชนและนิสิตนักศึกษาทั่วไปเป็นกรณีพิเศษในวันอาทิตย์
  • จัดอภิปราย บรรยายหรือเสวนาธรรมเป็นประจำเพื่อกระตุ้นหรือเร่งเร้าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของธรรมะ
  • ส่งพระนักศึกษาไปอบรมกรรมฐานเป็นเวลา 1 เดือนในสำนักพระกัมมัฏฐานก่อนจะรับปริญญา
  • จัดส่งนักศึกษาที่เรียนครบตามหลักสูตรไปปฏิบัติหน้าที่สอนศีลธรรมในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศเป็นระยะเวลา 1 ปีก่อนจะมีพิธีประสาธน์ปริญญา
  • คณาจารย์ได้เข้าไปมีบทบาทในการแสดงความเห็นเพื่อแก้ปัญหาการขาดศีลธรรมของชนในชาติระดับต่างๆ
  • เป็นผู้นำในการตอบโต้ภัยคุกคามจากลัทธิศาสนาอื่นที่มีพฤติกรรมบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา
  • ชี้นำสังคมให้พัฒนาบัณฑิตเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม หรือมีความรู้คู่คุณธรรม

ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยสงฆ์มหามกุฏราชวิทยาลัยหลักๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ประชาชนทั่วไปที่ติดตามผลงานของมหามกุฏราชวิทยาลัยมาโดยตลอดจึงอยู่ที่ความสามารถในการผลิตบุคลากรทางพระพุทธศาสนาเพื่อพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาและเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับชั้น

บุคคลที่มีชื่อเสียง

คณาจารย์

ศิษย์เก่า

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น