ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยศิลปากร"

พิกัด: 13°45′10.93″N 100°29′27.98″E / 13.7530361°N 100.4911056°E / 13.7530361; 100.4911056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 248: บรรทัด 248:
* [[พนิตา กำภู ณ อยุธยา]] ปลัด[[กระทรวงศึกษาธิการ]]
* [[พนิตา กำภู ณ อยุธยา]] ปลัด[[กระทรวงศึกษาธิการ]]
* [[พูน เกษจำรัส]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ)
* [[พูน เกษจำรัส]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ)
* พลอากาศตรี ศาสตราจารย์[[อาวุธ เงินชูกลิ่น]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) อดีตอธิบดีกรมศิลปากร
* พลอากาศตรี ศาสตราจารย์ [[อาวุธ เงินชูกลิ่น]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) อดีตอธิบดีกรมศิลปากร
* [[ธงชัย รักปทุม]] อดีตอธิการบดี[[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]]
* [[ธงชัย รักปทุม]] อดีตอธิการบดี[[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]]
* [[ บรรณพจน์ ดามาพงศ์]] พี่ชายคนโตของคุณหญิง[[พจมาน ดามาพงศ์]]
* [[ บรรณพจน์ ดามาพงศ์]] พี่ชายคนโตของคุณหญิง[[พจมาน ดามาพงศ์]]
บรรทัด 261: บรรทัด 261:
* [[สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง]] หรือ นามปากกา '''สุวรรณี สุคนธา''' นักเขียนเรื่องสั้น ศิษย์เก่าคณะจิตรกรรมและประติมากรรม
* [[สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง]] หรือ นามปากกา '''สุวรรณี สุคนธา''' นักเขียนเรื่องสั้น ศิษย์เก่าคณะจิตรกรรมและประติมากรรม
* [[จักรพันธุ์ โปษยกฤต]] ศิลปินแห่งชาติ นักเขียน จิตรกร
* [[จักรพันธุ์ โปษยกฤต]] ศิลปินแห่งชาติ นักเขียน จิตรกร
* [[ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง]] ศิลปินแห่งชาติ (ทัศนศิลป์)
* [[ศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง]] ศิลปินแห่งชาติ (ทัศนศิลป์)
* [[เผ่าทอง ทองเจือ]] นักประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผ้าไทย)
* [[เผ่าทอง ทองเจือ]] นักประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผ้าไทย)
* [[ศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ [[สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง]]
* [[ศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ [[สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง]]
* [[นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม)
* [[นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม)
* [[ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ]] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาปนิกหญิงชั้นแนวหน้าของเอเชีย
* [[ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ]] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาปนิกหญิงชั้นแนวหน้าของเอเชีย
บรรทัด 270: บรรทัด 270:
* [[เมธา บุนนาค]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ผู้ก่อตั้ง สำนักงานสถาปนิก บริษัท บุนนาค อาร์คิเท็คส์ จำกัด
* [[เมธา บุนนาค]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ผู้ก่อตั้ง สำนักงานสถาปนิก บริษัท บุนนาค อาร์คิเท็คส์ จำกัด
* [[อ.เสนอ นิลเดช]] นักวิชาการประวัติศาสตร์ ศิลปสถาปัตยกรรม
* [[อ.เสนอ นิลเดช]] นักวิชาการประวัติศาสตร์ ศิลปสถาปัตยกรรม
* [[ศาสตราจารย์ ดร.[[ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์]] นักประวัติศาสตร์
* [[ศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์]] นักประวัติศาสตร์
* [[ฤทัย ใจจงรัก]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
* [[ฤทัย ใจจงรัก]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
* [[อ.วนิดา พึ่งสุนทร]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) สถาปนิกหญิงของชาติ
* [[อ.วนิดา พึ่งสุนทร]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) สถาปนิกหญิงของชาติ
* [[ศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์)
* [[ศาสตราจารย์ อิทธิพล ตั้งโฉลก]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์)
* [[ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
* [[ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
* [[ผศ.ดร.ทรงยศ วีระทวีมาศ]] คณบดี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]]
* [[ผศ.ดร.ทรงยศ วีระทวีมาศ]] คณบดี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]]
* [[ผศ.เฉลิมชัย เงารังษี]] คณบดี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]]
* [[ผศ.เฉลิมชัย เงารังษี]] คณบดี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]]
* [[พลเอกเสรี พุกกะมาน]] คณบดี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม]]
* [[พลเอก เสรี พุกกะมาน]] คณบดี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม]]
* [[ประยูร อุลุชาฎะ]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เจ้าของนามปากกา น. ณ ปากน้ำ
* [[ประยูร อุลุชาฎะ]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เจ้าของนามปากกา น. ณ ปากน้ำ
* [[มานะ สุดสงวน]] กรรมการบริหาร [[สหพันธ์สหภาพครูเสรีระหว่างประเทศภาคพ้นเอเซีย-แปซิฟิก International of Federation Teachers Union (IFFTU)
* [[มานะ สุดสงวน]] กรรมการบริหาร [[สหพันธ์สหภาพครูเสรีระหว่างประเทศภาคพ้นเอเซีย-แปซิฟิก International of Federation Teachers Union (IFFTU)
บรรทัด 286: บรรทัด 286:
* [[กุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา]] รองกงสุลใหญ่ กระทรวงการต่างประเทศ
* [[กุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา]] รองกงสุลใหญ่ กระทรวงการต่างประเทศ
* [[ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา กาญจนาคม]] นักโบราณคดี
* [[ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา กาญจนาคม]] นักโบราณคดี
* [[พลโททวีเกียรติ โกไศยกานนท์]] หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา กรมราชองครักษ์
* [[พลโท ทวีเกียรติ โกไศยกานนท์]] หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา กรมราชองครักษ์
* [[ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พิชัย นิรันต์]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
* [[ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พิชัย นิรันต์]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
* [[ทวี รัชนีกร]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
* [[ทวี รัชนีกร]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
* [[แพทย์หญิงสุภัทรา เตียวเจริญ]] กรรมการสภาอาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
* [[แพทย์หญิง สุภัทรา เตียวเจริญ]] กรรมการสภาอาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
* [[พลเอกเสรี พุกกะมาน]] ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานยุทธโยธาทหาร กรมยุทธบริการทหาร
* [[พลเอก เสรี พุกกะมาน]] ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานยุทธโยธาทหาร กรมยุทธบริการทหาร
* [[พุฒ วีระประเสริฐ]] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และอดีต Member of the board of Co-ordinators Concerning SPAFA Regional Centre
* [[พุฒ วีระประเสริฐ]] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และอดีต Member of the board of Co-ordinators Concerning SPAFA Regional Centre
* [[ศาสตราจารย์ ประศาสน์ คุณะดิลก]] คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
* [[ศาสตราจารย์ ประศาสน์ คุณะดิลก]] คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
* [[ม.ล.เติมแสง (ลดาวัลย์) สรรพโส]] ผู้อำนวยการกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
* [[ม.ล.เติมแสง (ลดาวัลย์) สรรพโส]] ผู้อำนวยการกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
* [[พลตรีหญิงวิภาสิริ จินตสุวรรณ]] ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการทหารสูงสุด
* [[พลตรีหญิง วิภาสิริ จินตสุวรรณ]] ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการทหารสูงสุด
* [[หม่อมหลวงเพชรี สุขสวัสดิ์]]
* [[หม่อมหลวงเพชรี สุขสวัสดิ์]]
* [[รองศาสตราจารย์ วิชัย สิทธิรัตน์]] อุปนายกสมาคมประติมากรไทย
* [[รองศาสตราจารย์ วิชัย สิทธิรัตน์]] อุปนายกสมาคมประติมากรไทย
บรรทัด 306: บรรทัด 306:
* [[รองศาสตราจารย์ ดร.ธาดา สุทธิธรรม]] คณบดี [[คณะศิลปะประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี]]
* [[รองศาสตราจารย์ ดร.ธาดา สุทธิธรรม]] คณบดี [[คณะศิลปะประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี]]
* [[ชิบ จิตนิยม]] ผู้สื่อข่าวอาวุโสสายงานด้านต่างประเทศ
* [[ชิบ จิตนิยม]] ผู้สื่อข่าวอาวุโสสายงานด้านต่างประเทศ
* [[ศาสตราจารย์สุรพล ดำริห์กุล]]
* [[ศาสตราจารย์ สุรพล ดำริห์กุล]]
* [[พลอากาศเอกจารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา]] รองสมุหราชองครักษ์ [[กรมราชองครักษ์]]
* [[พลอากาศเอก จารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา]] รองสมุหราชองครักษ์ [[กรมราชองครักษ์]]
* [[สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์]] ผู้ตรวจราชการ กระทรวงวัฒนธรรม
* [[สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์]] ผู้ตรวจราชการ กระทรวงวัฒนธรรม
* [[ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี]] กรรมการสภามหาวิทยาลัยทักษิณ และ The World Masters in Arts and Culture ในสาขา Art Department จากสาธารณรัฐเกาหลี
* [[ศาสตราจารย์ วิโชค มุกดามณี]] กรรมการสภามหาวิทยาลัยทักษิณ และ The World Masters in Arts and Culture ในสาขา Art Department จากสาธารณรัฐเกาหลี
* [[ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์]] นักประวัติศาสตร์
* [[ศาสตราจารย์ สายันต์ ไพรชาญจิตร์]] นักประวัติศาสตร์


=== บุคคลในวงการบันเทิง ===
=== บุคคลในวงการบันเทิง ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:27, 17 กรกฎาคม 2556

มหาวิทยาลัยศิลปากร
ไฟล์:Su logo.gif
ชื่อย่อมศก. / SU
คติพจน์Ars longa vita brevis
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา12 ตุลาคม พ.ศ. 2486
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช
นายกสภาฯศ.(เกียรติคุณ) คุณหญิงไขศรี
ศรีอรุณ
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.su.ac.th

มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Silpakorn University; ชื่อย่อ: มศก. - SU)เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดีปัจจุบัน เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์การเกษตร ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์

ถือกำเนิดจากโรงเรียนปราณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็นโรงเรียนศิลปากร และเมื่อวันที่12 ตุลาคมพ.ศ. 2486พระยาอนุมานราชธนร่วมกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะ วิทยาการ และภูมิปัญญาเพื่อสังคม มีผลให้งานศิลปะของชาติพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่างๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันพ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 18 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช

ชื่อ "ศิลปากร" นั้นมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 มีพระบรมราชโองการ ณ วันที่ 27 มีนาคม ร.ศ.130 ว่า “...(ให้) แยกการช่างที่เป็นประณีตศิลปไว้ส่วนหนึ่ง แลให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ มารวมกันตั้งขึ้นเป็น ‘กรมศิลปากร‘ มีผู้บัญชาการกรมขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน" [1]

ประวัติ

มหาวิทยาลัยศิลปากร เดิมคือ โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียน ซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมกับคุณพระสาโรช รัชตมินมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ท่านทั้งสองได้ก่อตั้งโรงเรียนปราณีตศิลปกรรมขึ้นในปีพ.ศ. 2476 ใช้พื้นที่วังกลาง และวังตะวันออก หน้าพระบรมมหาราชวังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแห่งนี้ เปิดสอนให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ต่อมาปีพ.ศ. 2478 ได้รวมเอาโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์ ที่ตั้งอยู่วังหน้าไว้ด้วย และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนศิลปากร”

โรงเรียนศิลปากรได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา กระทั่งพระยาอนุมานราชธนร่วมกับอาจารย์ศิลป์ พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 [2]จัดตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. 2498 อาจารย์ศิลป์ผลักดันให้เกิดคณะวิชาใหม่ คือ คณะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมี พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ก่อตั้ง (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) คณะโบราณคดี วางรากฐานโดยหลวงบริบาล บุรีภัณฑ์ และต่อมาจึงมี คณะมัณฑนศิลป์ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะจิตรกรรมฯ จากนั้นได้ขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยโดยได้จัดซื้อที่ดินวังท่าพระซึ่งอยู่ติดกับที่ตั้งเดิมจากทายาทสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์


ต่อมาเมื่อผู้แทนขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของสหประชาชาติได้ให้คำแนะนำในการจัดตั้ง สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยให้มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการสากล คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการปรับปรุงมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายการศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปะและโบราณคดีเท่านั้น ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ ดำเนินการจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 เป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตแห่งใหม่ คือ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และคณะอักษรศาสตร์ได้ถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะฯ ตลอดมา และได้มีการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ในปีพ.ศ. 2513 คณะวิทยาศาสตร์ในปีพ.ศ. 2515 คณะเภสัชศาสตร์ในปีพ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในปีพ.ศ. 2535 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม) และคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรในปีพ.ศ. 2544(เปิดการเรียนการสอนรวมกับคณะวิทยาศาสตร์)ตามลำดับ

ระหว่างปีพ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ36พรรษา ในวันที่2 เมษายน พ.ศ. 2536 และเพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น โดยจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรที่สำนักงานอธิการบดีตลิ่งชัน

จากนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้มีมติก่อตั้งวิทยาเขตใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยมีมติเลือกอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี คือ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยมีคณะวิทยาการจัดการในปีพ.ศ. 2545เป็นคณะสาขาวิชาแรกของวิทยาเขต จากนั้นคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรจึงได้ย้ายมาเปิดการเรียนการสอนเต็มรูปแบบที่วิทยาเขตนี้ ตามด้วยการจัดตั้ง คณะเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร ในปีพ.ศ. 2546เป็นคณะล่าสุด

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ไฟล์:Su logo.gif
ตราประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร

ตราสัญลักษณ์

พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ประกาศใช้เมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ซึ่งคล้ายคลึงกับกรมศิลปากร [3]

สีประจำมหาวิทยาลัย

เขียวเวอร์ริเดียน เป็นสีของน้ำทะเลระดับลึกที่สุด แต่ในระยะแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้กำหนดใช้สีเขียว ซึ่งเป็นสีพื้นป้ายมหาวิทยาลัยป้ายแรก แต่ช่วงนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดลก็ใช้สีเขียวเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเช่นกัน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างความแตกต่าง และเนื่องจากนักศึกษาคณะจิตกรรมฯนิยมพารุ่นน้องปี1ไปทำกิจกรรมรับน้องที่เกาะเสม็ด จึงได้มีโอกาสชื่นชมสีของน้ำทะเลใส และได้นำมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสีที่บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของชาวศิลปากร

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

  • Santa Lucia เป็นเพลงพื้นเมืองของประเทศอิตาลี แต่งขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 เป็นบทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อชมความงามของชายหาดที่มีชื่อเสียงของเมืองเนเปิลส์ นอกจากนี้ เพลง Santa Lucia ยังเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วย สืบเนื่องจาก ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเป็นชาวอิตาลี ซึ่งมีชื่อเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) และชอบร้องเพลงนี้บ่อย ๆ เวลาทำงาน หลังจากนั้น คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ได้นำทำนองเพลงนี้ มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย โดยใช้ชื่อเพลงว่า "ศิลปากรนิยม"
  • กลิ่นจันเป็นเพลงที่มาจากคณะอักษรศาสตร์ ผู้ประพันธ์เพลงนี้คือ คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ เจ้าของนามปากกา ว.วินิจฉัยกุลและแก้วเก้า

ซึ่งท่านเคยเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลาผ่านไป เพลงกลิ่นจันทร์ก็แพร่หลายไปทั่วมหาวิทยาลัย

  • สวัสดีศิลปากร แต่งโดยนักศึกษานักศึกษาคณะโบราณคดี เพื่อที่จะนำไปเต้นเรี่ยไรเงินสมทบทุนช่วยภัยน้ำท่วมช่วงน้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ ปัจจุบันเป็นเพลงสันทนาการประจำมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาทุกคณะสามารถร้องและเต้นพร้อมกัน แต่ท่าเต้นจะต่างกันเล็กน้อย

ต้นจัน

ต้นจันเป็นต้นไม้ใหญ่ ผลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ยืนต้นเก่าแก่อยู่คู่กับวังท่าพระมาช้านาน และยังมีต้นเก่าแก่อีกต้นที่พระตำหนักทับขวัญ พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ต้นจันเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เป็นที่มาของเพลงกลิ่นจัน ปัจจุบันมีการปลูกต้นจันที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเพิ่มขึ้นด้วย

ดอกแก้ว

ด้านข้างท้องพระโรง วังท่าพระ มีสวนแก้วอยู่ด้านใน ยามเมื่อดอกแก้วออกดอก จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทั้งวัง

การบูมคณะ

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่แต่ละคณะวิชาจะมีการบูมสำหรับคณะตนเองซึ่งแตกต่างกันในแต่ละคณะ ขณะที่จะไม่มีการบูมมหาวิทยาลัยโดยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวของประเทศไทยที่ไม่มีการบูมมหาวิทยาลัย[4]

ทำเนียบผู้อำนวยการและอธิการบดี

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2555) นับได้ 69 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 19 คน ดังรายพระนาม และรายนามต่อไปนี้

ผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
2. ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2492
3. ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494
4. ศาสตราจารย์ พลเอก หลวงรณสิทธิพิชัย พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2501
5. ศาสตราจารย์ ธนิต อยู่โพธิ์ พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2508
อธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
6. ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2514
7. ศาสตราจารย์ พันเอก หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2517
8. ศาสตราจารย์ แสวง สดประเสริฐ (รักษาการแทนอธิการบดี) พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518
9. ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2522
10. ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ทองใหญ่ ทองใหญ่ พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2525
11. ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอนก วีรเวชชพิสัย พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531
13. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2539
14. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543
15. อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2547
16. รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากร 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
17. นายภราเดช พยัฆวิเชียร 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 - 30 เมษายน พ.ศ. 2551
18. ดร.อุทัย ดุลยเกษม 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555
19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 (รักษาราชการแทนอธิการบดี)
13 มีนาคม พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน[5]

คณะวิชา

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์

มหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขามนุษยศาสตร์ โดยมีหน่วยงานจัดการเรียนการสอนทั้งหมด ดังต่อไปนี้

สถานที่ตั้งหรือวิทยาเขต

สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน

เป็นที่ตั้งของคณะดุริยางคศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยทั้งภาคไทยและอังกฤษ และวิทยาลัยนานาชาติสาขาการจัดการโรงแรม(เริ่มทำการย้ายไปเขตบางรัก)

วังท่าพระ

ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังและท่าช้าง มีพื้นที่ประมาณ 11 ไร่ เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นวิทยาเขตแรกและจุดกำเนิดของมหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์(ชั้นปีที่2-5) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(ชั้นปีที่ 3-5) คณะโบราณคดี คณะมัณฑนศิลป์(ชั้นปีที่2-4) และหอศิลป์ต่างๆ

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ม.ทับแก้ว" ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ แต่ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยเพียง 428 ไร่ โดยเป็นที่ตั้งของคณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์(ชั้นปีที่1) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(ชั้นปีที่ 1-2) และคณะมัณฑนศิลป์(ชั้นปีที่1)นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเปิดให้มีการเรียนการสอนแบบสหศึกษาแก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษาปีที่ 1-6และชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วิจัยและพัฒนา ศูนย์วิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการต่างๆ

สาเหตุที่เลือกจังหวัดนครปฐมเป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยเหตุผลดังนี้

  • ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทาง โบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะ ทาง วรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์
  • ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่แล้ว
  • ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

ตั้งอยู่ที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ 621 ไร่

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เป็นวิทยาเขตแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการออกแบบอาคารและวางแผนแม่บทให้ ประหยัดพลังงาน และรักษาสภาพแวดล้อม (Clean and Green Campus) โดยอาคารทุกหลังจะสูงไม่เกิน 5 ชั้น ใช้บันไดติดต่อสัญจรทางตั้ง โดยไม่ต้องใช้ลิฟท์ ออกแบบโดยการใช้หลักการในการประหยัดพลังงาน ทั้งในเรื่องการลดความร้อน การใช้แสงสว่าง และลมธรรมชาติ รวมทั้งการนำของเสีย และพลังงาน หมุนเวียนมาใช้ประโยชน์

การวางผังจะให้รถยนต์จอดที่ด้านหน้าวิทยาเขต แต่ภายในจะใช้จักรยาน ทางเดิน และรถไฟฟ้าเท่านั้น ถนนทุกสายรวมทั้งการเดินเท้า ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาตลอดทุกสาย ทางเดินติดต่อระหว่างอาคารที่สำคัญมีหลังคาคลุมกันแดด และฝน มีคลองเรียบถนนสายหลัก มีสระน้ำ คูน้ำ บ่อน้ำ และบึง กระจายอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทางเดินติดต่อของบ้านพักอาจารย์ และข้าราชการ เป็นสะพานลอย เช่นเดียวกับหมู่บ้านชาวประมง เพราะอยู่บนที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง การใช้สะพานเป็นทางเดินติดต่อจะช่วยรักษาระบบนิเวศน์ได้เป็นอย่างดี และยังมีการนำบรรยากาศของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์มาผสมผสาน เมื่อจัดทำภูมิสถาปัตยกรรมเสร็จเรียบร้อย จะเป็นวิทยาเขตที่งดงาม และปราศจากมลพิษ ถือเป็นวิทยาเขตแห่งอนาคตของมหาวิทยาลัยศิลปากร(ปัจจุบันวิทยาเขตไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากมีข้อขัดข้องบางประการ โดยเฉพาะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการรับนักศึกษาเข้าเรียนและการขาดแคลนงบประมาณ จึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้)

วิทยาเขตนี้เป็นที่ตั้งของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ชั้นปีที่1-3) คลังโบราณวัตถุของคณะโบราณคดี ศูนย์วิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ และในอนาคตตามแผนพัฒนาของคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2550 มีมติให้มีการขยายสาขาด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคตะวันตก ไว้ที่ "วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี" โดยจะมีคณะตั้งใหม่ คือ คณะรัฐประศาสนศาสตร์,คณะสัตวแพทยศาสตร์,คณะรัฐศาสตร์,คณะแพทยศาสตร์,คณะพยาบาลศาสตร์ ,คณะการออกแบบยานพาหนะ,คณะทันตแพทยศาสตร์และคณะกายภาพบำบัด รวมถึงวิทยาลัยนานาชาติ สาขาทัศนศิลป์และสถาบันศิลปะร่วมสมัยแห่งภูมิภาคเอเชียด้วย

บางรัก

ในปี พ.ศ. 2551 ตามนโยบายของสภามหาวิทยาลัย ได้เปิดวิทยาเขตใหม่ ขึ้นที่อาคารของบริษัท ก.ส.ท.หรือตึกแคทเทเลคอม ในเขตบางรัก ซึ่งพื้นที่ที่จะใช้งานคือโฮมออฟฟิศชั้นที่10และ11 ของอาคารจอดรถของบริษัท ก.ส.ท. ซึ่งอยู่ในซอยหลังที่ทำการไปรษณีย์กลาง กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้จะมี นักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติสาขาการออกแบบมัลติมีเดียและคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขานิเทศศาสตร์ กับชั้นปีที่4ของสาขาออกกับแบบสาขาธุรกิจ และสาขาธุรกิจภาคต่อเนื่อง ศึกษาอยู่ที่วิทยาเขตบางรักทั้งหมด โดยจะใช้บริเวณชั้นที่ 8 เป็นหลัก โดยตามประกาศคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ทำตามนโยบายของสภามหาวิทยาลัยในหัวข้อ "หนึ่งคณะสองวิทยาเขต" จึงทำให้มีการปรับปรุงและโยกย้ายนักศึกษา ที่เคยศึกษาเดิมที่วิทยาเขตท่าพระ และตลิ่งชันนั้นมาสู่วิทยาเขตบางรัก ทางมหาวิทยาลัยได้อนุมัติงบพัฒนาพื้นที่บริเวณโฮมออฟฟิศดังกล่าวให้ทันสมัย โดยชั้นที่8ของนักศึกษาคณะเทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มีการสร้างห้องเรียน ขนาด 45 60 80 120ที่นั่ง เพื่อการรองรับนักศึษาที่เพิ่มขึ้นทุกปีของสาขานิเทศศาสตร์ และห้องแลปคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเทียบเท่าห้องแลปสองที่ตึกอาคารบริหาร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ที่มีความทันสมัยและเหมาะแก่การปฏิบัติงานทางกราฟิกและแอนิเมชั่น ปัจจุบันวิทยาลัยนานาชาติสาขาการจัดการโรงแรมได้ย้ายที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการ Vatel Restaurant และบางวิชาภาคทฤษฏี เริ่มเปิดบริการวันที่ 9 มกราคม 2555 และภาควิชาภาคทฤษฏีที่อื่นๆจะตามมาเป็นทีหลังเป็นลำดับไป

สถานที่สำคัญ

ประตูและกำแพงวังท่าพระ

กำแพงก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาประกอบ กำแพงนี้คาดว่าก่อสร้างพร้อมกับวังท่าพระตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1 ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะด้านริมถนนหน้าพระลาน ถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

ท้องพระโรงและกำแพงแก้ว

ปัจจุบันเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัย ลักษณะท้องพระโรงเป็นแบบเรือน 5 ห้อง เฉลียงรอบหันหน้ายาวออกหน้าวัง รูปทรงท้องพระโรงที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นภายนอกคงยึดตามแบบที่ปรากฏเมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 แต่ภายในคงไว้แต่เสาเดิม มีบันไดใหญ่เข้าทางด้านหน้าได้ทางเดียว กำแพงนั้นเป็นสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ 5 มีลูกกรงที่ทำด้วยเหล็กหล่อเป็นลายสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

ตำหนักกลางและตำหนักพรรณราย

สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรุ่นแรกๆในรัชกาลที่ 5 กล่าวคือเป็นตึกสองชั้น มีเฉลียงหลังหนึ่งหันเข้าหาอีกหลังหนึ่ง ส่วนหลังนอกนั้นอยู่ข้างสวนแก้ว ตึกหลังในที่มีเฉลียงทำเรียบกว่าหลังนอก และมีเสาทึบ หัวเสาเป็นแบบศิลปะโรมัน ช่องคูหาด้านล่างเป็นช่องโค้ง มีการตกแต่งที่ส่วนต่างๆ ภายนอกอาคารเล็กน้อย ส่วนตึกหลังนอกมีรูปทรงทึบกว่า มีการตกแต่งผิวหนังโดยการเซาะเป็นร่องในชั้นล่าง ส่วนชั้นบนผนังเรียบ มีเสาติดผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูต่างๆ ด้วยลายปูนปั้นหรือตีตารางไม้ไว้ในช่องแสงเหนือประตูบางส่วน ตึกหลังนอกมีกันสาด มีเท้าแขนรับกันสาดทำอย่างเรียบๆ และประดับชายคาด้วยลายฉลุไม้ ตึกหลังในนี้เป็นที่ประทับของ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยตำหนักกลางนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของหอศิลป์และหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

ศาลาในสวนแก้ว

เรียกว่า ศาลาดนตรี เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 องค์เจ้าของวังเคยประทับที่ศาลานี้เพื่อชมการแสดงหรือประชันดนตรีซึ่งจะตั้งวงกันในสวนแก้ว เพราะในวังท่าพระขณะนั้นมีวงดนตรีประจำวังที่มีชื่อเสียง ศาลาในสวนนี้ทำเป็นศาลาโปร่งมีผนังด้านเดียว หันหน้าเข้าหาสวนแก้ว หลังคาเป็นแบบปั้นหยา มีลายประดับอาคารอย่างละเอียดซับซ้อนกว่าตัวตำหนัก จึงเข้าใจว่าสร้างทีหลัง ลายฉลุไม้ทั้งที่ชายคาท้าวแขนระเบียบทำอย่างประณีตงดงาม

รูปเคารพอาจารย์ศิลป์

เป็นหนึ่งในศูนย์รวมใจของชาวศิลปากร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานอาจารย์ศิลป์ หลังตึกกรมศิลปากร

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์และอนุสาวรีย์ย่าเหล

พระตำหนักที่โดดเด่นที่สุดในหมู่พระตำหนักและพระที่นั่ง และเป็นสัญลักษณ์ของพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2451 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาท ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะเรอเนซองส์ของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ของอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460

พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์

พระตำหนัก ๒ ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก ของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วน ให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้ สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพาน จากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนัก สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้อง และติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราวปีพ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ

พระตำหนักทับแก้ว

อาคารตึกสองชั้น ในพระราชวังสนามจันทร์ เคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาว ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ภายในอาคารมีเตาผิงและหลังคา มีปล่องไฟตามแบบตะวันตก ในระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่า พระตำหนักเป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่ากองเสนาน้อยราบเบารักษาพระองค์ โดยพื้นที่ด้านหลังของพระตำหนักเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อันเป็นที่มาของคำว่า"ม.ทับแก้ว"

พระตำหนักทับขวัญ

เป็นเรือนไทยภาคกลางที่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ และใช้พระตำหนักองค์นี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ โดยบริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันใหญ่แผ่กิ่งก้านไว้ให้ร่มเงาอยู่ เหตุนี้ต้นจันจึงถูกกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

รูปเคารพหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ก่อตั้งวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่บริเวณหน้าคณะศึกษาศาสตร์

สระแก้ว สะพานสระแก้ว และศาลาสระแก้ว

สระน้ำขนาดใหญ่กลางมหาวิทยาลัย อยู่คู่กับพระราชวังสนามจันทร์มานาน มีบรรยากาศร่มรื่น มีการสร้างสะพานข้ามสระหลายแห่ง แต่ที่โดดเด่นคือสะพานไม้หน้าตึกยูเนี่ยน ใกล้กันมีศาลาไม้แปดเหลี่ยมแบบโปร่ง ฉลุตามตามแบบตะวันตก สระน้ำนี้เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและใช้จัดงานลอยกระทงที่มีชื่อเสียง

องค์พระพิฆเนศ

พระพิฆเนศหล่อโลหะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 96 นิ้ว ประดิษฐานเมื่อปีพ.ศ. 2550 บริเวณลานประติมากรรม เนื่องในปีมหามงคลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อองค์พระพิฆเนศ ออกแบบปั้นและหล่อโดยอาจารย์เศวต เทศน์ธรรม ประติมากรอาวุโส ศิษย์คนสำคัญของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่วิทยาเขตสารเทศเพชรบุรี

ลานประติมากรรม

ลานเนินสูงต่ำหลายเนิน ปูคลุมทั้งหมดด้วยสนามหญ้า มีต้นไม้และสระน้ำขนาดใหญ่ กว้างขวาง จัดแสดงผลงานประติมากรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและต่างประเทศหลายชิ้น ตั้งอยู่บริเวณหน้าวิทยาเขตมีชื่อเล่นว่า"ลานเทเลทับบี้" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับสถานที่ในละครทีวีเรื่องเทเลทับบี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและใช้จัดกิจกรรมต่างๆเช่น พิธีบรวงสวงพระพิฆเนศ เทศกาลตลาดศิลป์ และพิธีลอยกระทง เป็นต้น

อาคารบริหาร

อาคารสูง 7 ชั้น มีลักษณะโดดเด่น ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้วัสดุและแนวคิดประหยัดพลังงาน เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดีและหน่วยงานต่างๆในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และเป็นสัญลักษณ์ของวิทยาเขตสารสนเทศ ด้านข้างอาคารมีทางเดินเชื่อมกับอาคารเรียนรวม1 เรียกว่า"ระเบียงชงโค"

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม อดีตผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จฯครั้งแรกในปีพ.ศ. 2508 ณ วังท่าพระ ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร

ปูชนียบุคคล

บุคคลในวงการบันเทิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′10.93″N 100°29′27.98″E / 13.7530361°N 100.4911056°E / 13.7530361; 100.4911056

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ จัดราชการและเปลี่ยนนามกระทรวงโยธาธิการใหม่กับตั้งกรมศิลปากรขึ้นใหม่ กรมหนึ่ง
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช ๒๔๘๖, เล่ม๖๐, ตอน ๕๔ ก, ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖, หน้า ๑๔๙๖
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒๔) เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒
  4. หนังสือสำหรับน้องใหม่ปีการศึกษา 2551 หน้า 41
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/035/7.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓o ตอนพิเศษ ๓๕ ง หน้า ๗ ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร