ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 121: บรรทัด 121:


สายสนม วีรานุวัต ,จิตรา สุมนนัฏ ''(หลอกเมีย )''
สายสนม วีรานุวัต ,จิตรา สุมนนัฏ ''(หลอกเมีย )''

จุรี รัตนหัตถ์ ''(หวานใจนายเรือ )''


เลิศล้วน อมาตยกุล , วาสนา สุวรรณทัต ''(ตื่นเขย )''
เลิศล้วน อมาตยกุล , วาสนา สุวรรณทัต ''(ตื่นเขย )''


สมพงษ์ จันทรประภา ''(อ้ายค่อม <ref>มนัส138</ref>,ค่ายบางระจัน )''
สมพงษ์ จันทรประภา ''(อ้ายค่อม <ref>มนัส138</ref>,ค่ายบางระจัน ,แผลเก่า )''


นรา พานิชพัฒน์ ''(ในสวนรัก ,น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง )''
นรา พานิชพัฒน์ ''(ในสวนรัก ,น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง )''

จุรี รัตนหัตถ์ ''(หวานใจนายเรือ )''


[[เจือ จักษุรักษ์]] ,ไพพรรณ บูรณพิมพ์ ''(ค่ายบางระจัน )''
[[เจือ จักษุรักษ์]] ,ไพพรรณ บูรณพิมพ์ ''(ค่ายบางระจัน )''



ฯลฯ
ฯลฯ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:56, 6 กรกฎาคม 2556

ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
Srikrung Sound on Film
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมโรงถ่ายภาพยนตร์เสียง
ก่อตั้งพ.ศ. 2478
สำนักงานใหญ่
ทุ่งบางกะปิ กรุงเทพ
บุคลากรหลัก
พี่น้องสกุลวสุวัต
ผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม
พ.ศ. 2475-2485
เจ้าของมานิต วสุวัต

ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง หรือ ศรีกรุงภาพยนตร์ เป็นบริษัทสร้างภาพยนตร์ไทย สมัยรัชกาลที่ 7 กิจการแห่งเดียวที่สร้าง "หนังพูด" อัดเสียงลงฟิล์มขณะถ่ายทำพร้อมกัน (ซาวด์ออนฟิล์ม) ของพี่น้องตระกูลวสุวัต เจ้าของโรงพิมพ์และหนังสือพิมพ์รายวัน ศรีกรุง ซึ่งชอบเรื่องสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆตั้งแต่วัยเยาว์ นำโดย มานิต วสุวัต เจ้าของโรงถ่ายภาพยนตร์มาตรฐานสากลแห่งแรกของไทยที่ได้ฉายา ฮอลลีวู้ดเมืองไทย[1][2]

ถ่ายทำหนังข่าวและสารคดีที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ หลายเรื่อง ตลอดจนสร้างหนังที่มีชื่อเสียงและเพลงอมตะไว้อีกมาก รวมทั้งหนังชั้น ซูเปอร์ ใช้ทุนและฉากมโหฬาร 2 เรื่อง คือ เลือดทหารไทย และ เพลงหวานใจ

ผู้นำความคิดริเริ่มใหม่และนวัตกรรม หลายๆด้านในยุคบุกเบิกของวงการหนังไทย

นวัตกรรม

ช่วงแรกตอนต้น (พ.ศ. 2470 - 2473)

หนังเงียบ ในนาม กรุงเทพภาพยนตร์บริษัท / หนังศรีกรุง / หนังหลวงกล

โชคสองชั้น (2470) หนังเงียบฝีมือคนไทยเรื่องแรก

ผู้ประพันธ์

หลวงบุณยมานพพานิชย์ (อรุณ บุณยมานพ) เจ้าของนาม "แสงทอง"

ผู้กำกับการแสดง

หลวงอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขวิริยะ)

ผู้ถ่ายภาพ

หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต)

ตัวแสดง

มานพ ประภารักษ์ ,ม.ล.สุดจิตร์ อิศรางกูร และ หลวงภรตกรรมโกศล

ช่วงแรกตอนหลัง (พ.ศ. 2474 - 2478)

หนังพูด ในนาม หนังเสียงศรีกรุง แบบวสุวัต

โรงถ่ายสะพานขาว หรือโรงโถงกลางสนามในลานบ้านวสุวัต ย่านสะพานขาวติดถนนกรุงเกษม ภายในกั้นเป็น 3 ห้องบุฝาเซ็ลโลเท็กซ์เก็บเสียงสะท้อน ใช้เป็นฉากภายในเรื่อง หลงทาง (2474) ได้แก่ ฉากห้องกินข้าว ,ห้องนอนของพระเอก และ ห้องรับแขกใหญ่ของเพื่อนพระเอก

ผู้ประพันธ์ และ กำกับการแสดง

ขุนวิจิตรมาตรา /กาญจนาคพันธุ์ (หลงทาง ,ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ,เลือดทหารไทย )

ตัวแสดง

แม่น ชลานุเคราะห์ ,ศรี ,วาสนา ทองศรี ,ชื่นใจ ,ปลั่ง ชูเทศะ และ ชลัช อัลบูรณ์ (หลงทาง )

เสน่ห์ นิลพันธ์ ,ปลอบ ผลาชีวะ ,มณี มุญจนานนท์ และ องุ่น เครือพันธ์ (ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ )

ร.อ.ม.ล.ขาบ กุญชร ,จมื่นมานิตย์นเรศ ,ร.ท.เขียน ธีมากร และ จำรุ กรรณสูตร (เลือดทหารไทย )

ช่วงกลาง (พ.ศ. 2478 - 2485)

จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ ดาราคู่แรกของไทย

หนังพูด ในนาม บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จำกัด - โรงถ่ายบางกะปิ สร้างปีละ 2-3 เรื่อง รวม 17 เรื่อง [3]ยุคทองของกิจการ มีดารานักแสดงในสังกัดและ ดารายอดนิยม มานี - จำรัส คู่แรกของวงการหนังไทย

ปลายปี พ.ศ. 2476 ทีมงานซื้อที่ดินผืนใหญ่สุดถนนสายปากน้ำ (ใกล้ ร.ร.วัฒนาวิทยาลัย) เตรียมสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์ (Studio)

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2477 เริ่มสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์พูด เสียงศรีกรุง ที่ทุ่งบางกะปิ จนเสร็จสมบูรณ์ก่อนปลายปีเดียวกัน (ทันใช้ถ่ายทำฉากเพลงปิดกล้อง เรื่อง เลือดทหารไทย )

เมื่อแรกเปิดโรงถ่าย ได้ประกาศรับนักแสดง มีผู้สนใจสมัคร หญิงราว 400 คนเศษ และชาย อีก 1,000 คนเศษ

สตูดิโอเป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาโค้ง (เข้าถนนอโศกไปราว 50 เมตรจากถนนสุขุมวิท ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสถานีสุขุมวิท ของรถไฟฟ้าใต้ดิน) เขียนแปลนและก่อสร้างโดย บริษัทคริสเตียนนีแอนด์เนียลเสน ติดตั้งอุปกรณ์ทันสมัย วางระเบียบตามแบบโรงถ่ายฮอลลีวู้ด แบ่งเป็นแผนกพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำ แผนกอำนวยการ มานิต วสุวัต (ผู้อำนวยการทั่วไป) เชื้อ อินทรทูต ฯลฯ แผนกกล้อง หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) ,ศรีสุข - พอใจ วสุวัต (ช่างกล้อง) ,ศรีสุข - เชื้อ (เสมียนจดบันทึก) แผนกแสง หลวงกลการเจนจิต แผนกเสียง กระเศียร วสุวัต แผนกอัดจานเสียง กระเศียร วสุวัต แผนกล้างและพิมพ์ กระเศียร วสุวัต ,ประจวบ อมาตยกุล แผนกลำดับภาพ กระเศียร วสุวัต แผนกเครื่องแต่งกาย นิตชลอ - อุ่นจิต วสุวัต แผนกฉาก แนม สุวรรณแพทย์ แผนกดนตรี เรือโทมานิต เสนะวีณิน (คนแรก),นารถ ถาวรบุตร (คนถัดมา) ,จำรัส รวยนิรันดร์ แผนกธุรการทั่วไป (รวมกับ แผนกโฆษณา) กระแส วสุวัต ,ผัน นาคสุวรรณ โดยมี ขุนวิจิตรมาตรา /กาญจนาคพันธุ์ เป็นที่ปรึกษาทั่วไป นอกจากผู้ประพันธ์เรื่องและคำร้องเพลงประกอบ

ผู้ประพันธ์

ขุนวิจิตรมาตรา (เพลงหวานใจ )

หลวงอนุรักษ์รัถการ (เมืองแม่หม้าย ,กลัวเมีย ,หลอกเมีย )

หลวงกลการเจนจิต (แก่นกะลาสี )

ศรีสุข วสุวัต กับ เชื้อ อินทรทูต (เลือดชาวนา )

ผัน นาคสุวรรณ (เลือดชนบท )

จวงจันทร์ จันทร์คณา /พรานบูรพ์ (ในสวนรัก ,อ้ายค่อม ,ค่ายบางระจัน ,ไม่เคยรัก )

ผู้กำกับการแสดง

ขุนวิจิตรมาตรา (เพลงหวานใจ )

หลวงอนุรักษ์รัถการ (พญาน้อยชมตลาด ,เมืองแม่หม้าย ,กลัวเมีย ,หลอกเมีย )

ศรีสุข วสุวัต กับ เชื้อ อินทรทูต (เลือดชาวนา )

หลวงกลการเจนจิต กับ พอใจ วสุวัต (แก่นกะลาสี )[4]

หลวงกลการเจนจิต (เลือดชนบท )[5]

จวงจันทร์ จันทร์คณา /พรานบูรพ์ (ในสวนรัก ,อ้ายค่อม ,ค่ายบางระจัน ,ไม่เคยรัก )

ดาราศรีกรุง

หลวงพรตกรรมโกศล /มงคล สุมนนัฎ (พญาน้อยชมตลาด ,แก่นกะลาสี )

มานี สุมนนัฎ (พญาน้อยชมตลาด ,เมืองแม่หม้าย ,กลัวเมีย ,เพลงหวานใจ ,หลอกเมีย )

เขียน ไกรกุล (กลัวเมีย )

ประมวล รัศมิทัต ,นัยนา วาณีวัฒน์ ,เชิญ ศิวเสน ,สมยศ ทัศนพันธ์ ,สวัสดิ์ วิธีเทศ (เพลงหวานใจ )

เกษม มิลินทจินดา (เมืองแม่หม้าย ,แก่นกะลาสี ,เพลงหวานใจ ,หวานใจนายเรือ )

จำรัส สุวคนธ์ (เลือดชาวนา ,กลัวเมีย ,เพลงหวานใจ ,หลอกเมีย ,ในสวนรัก ,ไม่เคยรัก ,น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง )

ปลอบ ผลาชีวะ ,ราศรี เพ็ญงาม ,บังอร อินทุโสภณ (เลือดชาวนา )

ชั้น ไชยนันท์ (เลือดชนบท )

เบ็ญจา รัตนกุล (เลือดชนบท ,อ้ายค่อม [6],ไม่เคยรัก )

ทองคำ มาติน (เพลงหวานใจ ,ตื่นเขย )

สายสนม วีรานุวัต ,จิตรา สุมนนัฏ (หลอกเมีย )

จุรี รัตนหัตถ์ (หวานใจนายเรือ )

เลิศล้วน อมาตยกุล , วาสนา สุวรรณทัต (ตื่นเขย )

สมพงษ์ จันทรประภา (อ้ายค่อม [7],ค่ายบางระจัน ,แผลเก่า )

นรา พานิชพัฒน์ (ในสวนรัก ,น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง )

เจือ จักษุรักษ์ ,ไพพรรณ บูรณพิมพ์ (ค่ายบางระจัน )


ฯลฯ

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง พักงานสร้างหนังพูด แล้วปรับปรุงโรงถ่ายเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นสอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ฉายหนังฝรั่งชั้นนำที่เพิ่งออกจากโรงใหญ่ เสียงในฟิล์ม[8]มีผู้ชมขาประจำทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่อาศัยในย่านซอยอโศกและใกล้เคียงตลอดมา หนังดังที่ฉายในช่วง พ.ศ. 2506 - 2507 ไม่นานก่อนเลิกโรงหนัง เช่น 55 วันในปักกิ่ง (55 Days at Peking) ,แม่ยอดดวงยิหวา (What a Way to Go!) ฯลฯ เพื่อทำเป็นโรงถ่ายเตรียมสร้างหนังเสียงอีกครั้ง รวมทั้งรับงานบันทึกเทป 1/4" และ 1/2" กับทำแผ่นเสียงไวนิลขนาด 4",7"และ 12" ในนาม บริษัทแผ่นเสียงศรีกรุง จำกัด [9]

ช่วงท้าย (พ.ศ. 2514 - 2515)

หนังพูด สีธรรมชาติ ในนาม ศรีกรุงภาพยนตร์ รวม 3 เรื่อง ขณะที่วงการกำลังนิยมทำหนังสโคป เสียงพากย์ในฟิล์ม โดยมี ชายชาญ วสุวัต เป็นผู้อำนวยการสร้าง และ มานิต วสุวัต เป็นที่ปรึกษา

ผู้กำกับการแสดง

ขุนวิจิตรมาตรา (กลัวเมีย )

สมบัติ เมทะนี - รุจน์ รณภพ (ในสวนรัก )

ประกอบ แก้วประเสริฐ (หัวใจมีตีน )

ดารา /นักแสดง

สมบัติ เมทะนี (กลัวเมีย ,ในสวนรัก )

อรัญญา นามวงศ์ (กลัวเมีย ,ในสวนรัก )

สุคนธ์ทิพย์ เสนะวงศ์ (หัวใจมีตีน )

เมตตา รุ่งรัตน์ (ในสวนรัก ,หัวใจมีตีน )

ไพโรจน์ ใจสิงห์ (หัวใจมีตีน )

ฯลฯ

ยุติงานสร้างหนังอีกครั้ง เหลือเพียงบริษัทแผ่นเสียง ต่อมาถึง พ.ศ. 2518 และเลิกกิจการถาวรเมื่อความนิยมลดลงในยุคแถบเสียงตลับ (Casette) กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ แทนที่แผ่นไวนิล

ปัจจุบันหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม สร้างโรงถ่ายบางกะปิจำลอง ภายในจัดเป็นพิพิธภัณฑ์หนังไทย เปิดเข้าชมทุกวันเสาร์-อาทิตย์

เครื่องมือถ่ายทำ

  • ฟิล์ม 35 มม.ไวด์สกรีน (จอกว้าง) ขาวดำ (2478-2485) , สีธรรมชาติ (2514-2515)
  • กล้องใหญ่มิตเชล ,กล้องเบลโฮเวล และกล้องมืออายโม ตั้งแต่ยุคโรงถ่ายสะพานขาว [10]
  • สร้างกล้องภาพยนตร์และเสียงรวมกัน ระบบฟิล์มเดียว (Single System) แบบ วสุวัต สำเร็จ (ดัดแปลงจากกล้องถ่ายหนังเงียบ) ใช้ถ่ายทำหนังข่าวพิธีรับเสด็จรัชกาลที่ 7 และพระราชินี นิวัติพระนครจากสหรัฐอเมริกา และหนังพูด หลงทาง (2474)
  • สร้างกล้องภาพยนตร์และกล้องเสียงแยกกัน ระบบฟิล์มคู่ (Double System) สำเร็จ ใช้ถ่ายทำหนัง ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2476) เป็นสี (บางฉาก) และใช้แบบฟอร์มจดรายละเอียดทุกเทค เรื่องแรกของเมืองไทย
  • รถบรรทุกติดตั้งอุปกรณ์อัดเสียงชั่วคราว (ถอดจากโรงถ่ายบางกะปิ) ใช้ถ่ายทำ ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2476)
  • โทรศัพท์พิเศษเพื่อติดต่อกองถ่ายแต่ละชุด ฉากสนามรบ (แถว ร.ร.วัฒนาวิทยาลัย ปัจจุบัน) ใน เลือดทหารไทย (2478)
  • รถติดตั้งอุปกรณ์อัดเสียง (ด้วยความช่วยเหลือ) จากฮอลลีวู้ด ใช้ถ่ายทำ เลือดชนบท (2480)

อื่นๆ

  • กำเนิดเพลงไทยโน๊ตสากลจังหวะรัมบ้า "กล้วยไม้" และ นางเอกร้องเพลงบนเวทีโรงภาพยนตร์ (ศาลาเฉลิมกรุง,พัฒนากร) เรื่อง ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2476)
  • เก้าอี้พิเศษ แบบโรงถ่ายในฮอลลีวู้ด สำหรับนักแสดงที่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ดาราภาพยนตร์ ในเรื่องต่อมา เริ่มจาก มานี สุมนนัฎ ใน เมืองแม่หม้าย (2478)
  • กีต้าร์โปร่ง เครื่องดนตรีใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเข้ามาเมืองไทยช่วงต้นปี ใช้ในฉาก จำรัส สุวคนธ์ เดินร้องเพลง "ตะวันยอแสง " เรื่อง เลือดชาวนา (2479)
  • หนังพูดถ่ายทำในประเทศอิตาลี แก่นกะลาสี (2479)[11]
  • เครื่องอาบน้ำแบบใหม่ล่าสุด "ชุดทูพีซ" ,จังหวะเต้นรำ "คองก้า" และปฏิวัติคำร้องจากเดิมใช้ "พี่" กับ "น้อง" เป็นใช้ "ฉัน" และ "เธอ" ใน เพลงหวานใจ (2480)
  • ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ปรากฏตัวพิเศษในฉากเพลง ยามรัก เรื่อง กลัวเมีย (2514)

ผลงาน

[12] พี่น้องสกุลวสุวัต

  • 2465: น้ำท่วมเมืองซัวเถา (ถ่ายทำจากภาพนิ่งเอามาต่อกันเป็นเรื่องยาว) ,การชนช้างในงานยุทธกีฬาของทหาร ,ไทรโยก จังหวัดกาญจนบุรี ,รัชกาลที่ 6 ทรงกอล์ฟที่หัวหิน
  • 2466: นางสาวสุวรรณ (ช่วยงานด้านสถานที่และล้างพิมพ์ฟิล์มให้ทีมงานยูนิเวอร์แซล)

กรุงเทพภาพยนตร์บริษัท

ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง แบบวสุวัต

  • 2474: พิธีรับเสด็จรัชกาลที่ 7 และพระราชินี นิวัตพระนคร จากสหรัฐอเมิกา ,หลงทาง (Going Astray ) ,ข่าวงานฉลองพระนครครบ 150 ปี (ถ่ายทำพร้อมกับทีมงานพาราเม้าท์) ,ข่าวรัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
  • 2476: ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ,ความรักในเมืองไทย (ทุนของกลุ่มพ่อค้าชาวจีนในสยาม พูดกว้างตุ้ง)
  • 2478: เลือดทหารไทย (ตามความประสงค์ของ กระทรวงกลาโหม )

บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จำกัด

ศรีกรุงภาพยนตร์

  • 2514: กลัวเมีย (สร้างใหม่ ) ,ในสวนรัก (สร้างใหม่ )
  • 2515: หัวใจมีตีน

รางวัล

  • รางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี เกียรติยศ ประจำปี พ.ศ. 2525 แด่ นายมานิต วสุวัต ในฐานะผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทย

อ้างอิง

  1. กาญจนาคพันธุ์ ,ยุคเพลงหนังและละครในอดีต ,เรืองศิลป์ 2518 ,220 หน้า
  2. กระทู้เกี่ยวกับจำรัส สุวคนธ์ ,thaifilm.com
  3. โดม สุขวงศ์ ,ประวัติภาพยนตร์ไทย ,องค์การค้าคุรุสภา 2533 ,57 หน้า
  4. โดม สุขวงศ์ ,สยามภาพยนตร์ ,หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน),2555 ISBN:978-616-543-173-6 หน้า 253-254
  5. สยามภาพยนตร์ หน้า 254
  6. มนัส138,กระทู้บัญชีรายชื่อหนังไทย thaifilm.com
  7. มนัส138
  8. กรอบโฆษณา Srikrung Theatre พ.ศ. 2493/ค.ศ.1950
  9. กรอบโฆษณาบริษัทแผ่นเสียงศรีกรุง ,เรืองศิลป์ 2518
  10. ยุคเพลงหนังและละครในอดีต หน้า 131
  11. วิวัฒนาการภาพยนตร์ไทย ,คำอธิบายภาพประกอบเรื่องแก่นกะลาสี หนังสือเสรีภาพ ของ สำนักข่าวสารอเมริกัน (ภาพปก เพชรา เชาวราษฎร์)
  12. สยามภาพยนตร์ หน้า 259-266
  13. มนัส138