ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เป็ดน้อย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
ในงานเลี้ยงต้อนรับ ศักดิ์ศรี (จินฟง) น้องชายคนสุดท้องที่เพิ่งเรียนจบจากเมืองนอก เป้ดน้อยในชื่อใหม่ว่า วรรณวิไล ต้องขายหน้าโดยไม่รู้ตัวที่ทำกิริยาเปิ่นๆจากแผนของหญิงเล็ก (เมตตา)ผู้ตั้งชื่อให้และแสร้งทำดีเพื่อหาโอกาสกำจัดเธอ
ในงานเลี้ยงต้อนรับ ศักดิ์ศรี (จินฟง) น้องชายคนสุดท้องที่เพิ่งเรียนจบจากเมืองนอก เป้ดน้อยในชื่อใหม่ว่า วรรณวิไล ต้องขายหน้าโดยไม่รู้ตัวที่ทำกิริยาเปิ่นๆจากแผนของหญิงเล็ก (เมตตา)ผู้ตั้งชื่อให้และแสร้งทำดีเพื่อหาโอกาสกำจัดเธอ


บุญ (ธานินทร์)หนุ่มบ้านเดียวกันและศักดิ์ศรี จึงช่วยกันวางแผนให้เป็ดน้อยปรากฏตัวใหม่เป็นที่ประทับใจของทุกคนรวมทั้งเจ้าคุณ ด้วยความร่วมมือของครูฝึกมารยาท (พูนสวสดิ์)และพวกสามศักดิ์
บุญ (ธานินทร์) หนุ่มบ้านเดียวกันและศักดิ์ศรี จึงช่วยกันวางแผนให้เป็ดน้อยปรากฏตัวใหม่เป็นที่ประทับใจของทุกคนรวมทั้งเจ้าคุณ ด้วยความร่วมมือของครูฝึกมารยาท (พูนสวสดิ์) และพวกสามศักดิ์


==งานสร้าง==
==งานสร้าง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:03, 1 กรกฎาคม 2556

เป็ดน้อย
กำกับภาณุพันธุ์
เขียนบทเวตาล
อำนวยการสร้างปริม บุนนาค
นักแสดงนำไชยา สุริยัน
สุทิศา พัฒนุช
จินฟง
ธานินทร์ อินทรเทพ
เมตตา รุ่งรัตน์
จุรี โอศิริ
มาลี เวชประเสริฐ
สาหัส บุญหลง
มนัส บุณยเกียรติ
หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร ณ อยุธยา
สมพงษ์ พงษ์มิตร
คณะสามศักดิ์ ฯลฯ
กำกับภาพโชน บุนนาค
พูนสวัสดิ์ ธีมากร
ตัดต่อมนัส โตเพาะญาติ
ดนตรีประกอบภาณุพันธุ์
พระยาโกมารกุล
ม.ล.พวงร้อย สนิทวงศ์ (ร้อยพัน)
เกษม มิลินทจินดา
สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์
สง่า อารัมภีร์
สุรพล แสงเอก
สมาน กาญจนะผลิน
วิม อิทธิกุล
สังเวียน ดุละลัมพะ
นิรันดร์ นวมารค
คณะสามศักดิ์
วงจุลดุริยางค์กรมศิลปากรและชลหมู่ ชลานุเคราะห์ (ผู้อำนวยเพลง)
วงดนตรีสมาน กาญจนะผลิน
บริษัทผู้สร้าง
อัศวินภาพยนตร์
วันฉาย19 มิถุนายน พ.ศ. 2511[1]
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

เป็ดน้อย เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2511 ประกอบเพลงแนวรักชวนหัว เสียดสีสังคมชนชั้น ระบบ 35 มม.อัศวินซูเปอร์ซีเนสโคป สีอัศวินอีสต์แมน เสียง(พากย์)ในฟิล์ม ของ อัศวินภาพยนตร์ เรื่องและบทภาพยนตร์โดย เวตาล กำกับโดย ภาณุพันธุ์ (ทั้งสองชื่อเป็นพระนามแฝงของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล) ฉายที่ศาลาเฉลิมไทย พ.ศ. 2511 เป็นครั้งแรกของภาพยนตร์ไทยจำนวนน้อยเรื่องช่วงต้นทศวรรษ 2510 ที่เสนอภาพชีวิตไทยในชนบท , เพลงลูกทุ่ง, การละเล่นพื้นบ้าน "ลำตัด" และ ควาย[2]

เสด็จพระองค์ชายใหญ่ทรงสร้างเป็นละครโทรทัศน์ช่อง 7 ขาวดำ (ททบ.5) สนามเป้า นำแสดงโดย ทม วิศวชาติ, บุษรา นฤมิตร, จันตรี สาริกบุตร ไม่นานก่อนสร้างเป็นภาพยนตร์ และเป็นเรื่องที่เสด็จฯ โปรดมากที่สุด[3]

ราวทศวรรษ 2520-2530 เคยผลิตเป็นแถบวีดิทัศน์ตลับ (Video Cassette) ในสภาพปานกลาง ต่อมา แฮบปี้ไทม์ มาร์เก็ตติ้ง ผู้ได้ลิขสิทธิ์ เผยแพร่ในรูปแบบดีวีดี เมื่อ พ.ศ. 2550 คุณภาพด้อยกว่าปานกลาง ต้นฉบับบางส่วนขาดหายไปรวมทั้งช่วงหลังที่ต้องใช้ภาพจากแถบวีดิทัศน์ตลับแทน

เรื่องย่อ

ศักดิ์ชัย (ไชยา) และสหายชาวคณะสามศักดิ์ (สักรินทร์ - ทนงศักดิ์ - มีศักดิ์) เจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ทำทางหลวง เข้ามาขอพักชั่วคราวในบ้านสุดชายทุ่งของเป็ดน้อย (สุทิศา) และเกิดชอบพอกัน เขาสัญญาว่าจะมารับเธอไปอยู่กรุงเทพที่แม่และพี่น้องของเขาต่างรังเกียจเมื่อทราบว่าจะได้สะใภ้ชาวนาเข้ามาอยู่ร่วมด้วย ขณะที่ตระกูลนี้กำลังอยู่ในฐานะลำบาก ทางเดียวที่จะกู้สถานการณ์ได้คือ มรดกของเจ้าคุณปู่ (ม.ล.รุจิรา)ที่มีเงื่อนไขว่าศักดิ์ชัย ต้องหาเจ้าสาวที่ท่านพอใจเท่านั้น

ในงานเลี้ยงต้อนรับ ศักดิ์ศรี (จินฟง) น้องชายคนสุดท้องที่เพิ่งเรียนจบจากเมืองนอก เป้ดน้อยในชื่อใหม่ว่า วรรณวิไล ต้องขายหน้าโดยไม่รู้ตัวที่ทำกิริยาเปิ่นๆจากแผนของหญิงเล็ก (เมตตา)ผู้ตั้งชื่อให้และแสร้งทำดีเพื่อหาโอกาสกำจัดเธอ

บุญ (ธานินทร์) หนุ่มบ้านเดียวกันและศักดิ์ศรี จึงช่วยกันวางแผนให้เป็ดน้อยปรากฏตัวใหม่เป็นที่ประทับใจของทุกคนรวมทั้งเจ้าคุณ ด้วยความร่วมมือของครูฝึกมารยาท (พูนสวสดิ์) และพวกสามศักดิ์

งานสร้าง

เสด็จพระองค์ชายใหญ่ทรงทดลองสร้างเป็นละครทีวี ระหว่างปี พ.ศ. 2508-2509 ก่อนทำเป็นภาพยนตร์[4] และนับเป็นครั้งแรกที่ไม่เคยมีในหนังไทยเรื่องใดมาก่อน ได้แก่ การอันเชิญทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ "ใกล้รุ่ง" คลอการประสานเสียงประกอบไตเติ้ล ,ภาพหมู่เมฆเคลื่อนตัวเร็วกว่าปกติซึ่งต้องใช้ฟิล์มมากขึ้นและเลนส์ถ่ายทำพิเศษสั่งจากต่างประเทศโดยเฉพาะ [5] รวมทั้งบันทึกเสียงด้วยระบบเวสเทร็กซ์ที่ใช้ตามสตูดิโอใหญ่ของฮอลลีวูดสมัยนั้นซึ่งในเมืองไทยมีที่อัศวินแห่งเดียว (เรื่องอื่นๆ ที่บันทึกเสียงระบบนี้ ได้แก่ เรือนแพ ,ละครเร่ ฯลฯ )[6] [7]

นอกจากนี้ยังมีงานเพลงบอกเล่าถึงวีรกรรมของกองร้อยทหารสยามในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่แนวชายแดนฝรั่งเศส (มีศักดิ์ นาครัตน์ ร้องแทนเสียง ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร)

การตอบรับ

แม้จะมีความประณีตและคุณภาพของงานสร้างสูงกว่าภาพยนตร์ไทยทั่วไปโดยเฉพาะช่วง 20 นาทีแรก หลังจากนั้นการลำดับเหตุการณ์ขาดความกระชับเท่าที่ควร บทสนทนาเกี่ยวกับนกยูงกินข้าวโพดมีความสับสนที่การพิมพ์บทหรือการพากย์ลงฟิล์ม หลายฉากและเพลงเกินความจำเป็น ผิดกับฉบับละครทีวีที่ไม่ยาวมากแต่ดูดีกว่า ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉบับภาพยนตร์มีกระแสแรงเพียงระยะแรกๆ เท่านั้น

อ้างอิง

  1. เป็ดน้อย (2511) ที่เว็บไซต์ ThaiFilmDb.
  2. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เป็ดน้อย อัศวินภาพยนตร์ และ แฮบปี้มาร์เก็ตติ้ง 2511 และ 2550 ตามลำดับ
  3. รายการ "แกะกล่องหนังไทย" ตอน เป็ดน้อย. ไทยพีบีเอส. 28 กุมภาพันธ์ 2552.
  4. ผังรายการโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 ขาวดำ
  5. ข่าวบันเทิงหน้า 13 เบื้องหลังการถ่ายทำ เป็ดน้อย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 2510
  6. imdb.com
  7. ไตเติ้ลภาพยนตร์ เรือนแพ ,เป็ดน้อย และ ละครเร่