ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุษบาริมทาง (ภาพยนตร์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
ศาสตราจารย์หนุ่มโสดผู้เชียวชาญภาษาทั่วโลก พนันกับเพื่อนคู่หูว่า เขาจะทำให้ เอไลซ่า ดูลิตเติล หญิงขายดอกไม้ข้างถนน กลายเป็นสุภาพสตรีชั้นสูงเพรียบพร้อมด้วยกิริยาและภาษาอังกฤษอันเลอเลิศ ความสำเร็จดีเกินคาด แม้แต่ลูกศิษย์ชั้นยอดของศาสตราจารย์ ก็ยังเข้าใจผิด คิดว่าเธอเป็นเจ้าหญิงต่างแดนผู้สมบูรณ์แบบอย่างไม่มีใครเทียบ
ศาสตราจารย์หนุ่มโสดผู้เชียวชาญภาษาทั่วโลก พนันกับเพื่อนคู่หูว่า เขาจะทำให้ เอไลซ่า ดูลิตเติล หญิงขายดอกไม้ข้างถนน กลายเป็นสุภาพสตรีชั้นสูงเพรียบพร้อมด้วยกิริยาและภาษาอังกฤษอันเลอเลิศ ความสำเร็จดีเกินคาด แม้แต่ลูกศิษย์ชั้นยอดของศาสตราจารย์ ก็ยังเข้าใจผิด คิดว่าเธอเป็นเจ้าหญิงต่างแดนผู้สมบูรณ์แบบอย่างไม่มีใครเทียบ


แต่เธอกลับรู้สึกสับสนในอนาคตของตนเอง พวกคนคุ้นเคยถิ่นเก่าไม่มีใครจำได้ พ่อขี้เมากำลังเผชิญปัญหา "ศีลธรรมของชนชั้นกลาง" เกินกว่าจะเห็นใจลูกสาว
เธอพอใจความสำเร็จตามที่ใฝ่ฝันแต่แล้วกลับรู้สึกสับสนในอนาคตของตนเอง คนคุ้นเคยย่านตลาดถิ่นเก่าไม่มีใครจำได้ ขณะที่พ่อขี้เมากำลังเผชิญปัญหา "ศีลธรรมของชนชั้นกลาง" ทำได้เพียงอวยพรขอให้ลูกสาวโชคดี


เอไลซ่าตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตใหม่กับหนุ่มผู้ดีคนหนึ่งที่ยอมรับที่มาของเธอได้ แต่แล้วความรู้สึกที่ซ่อนลึกในใจ ทำให้เธอต้องกลับมาหาศาสตราจารย์ในที่สุด
เอไลซ่าตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตใหม่กับหนุ่มผู้ดีคนหนึ่งที่ยอมรับที่มาของเธอได้ แต่แล้วความรู้สึกที่ซ่อนลึกในใจ ทำให้เธอต้องกลับมาหาศาสตราจารย์ในที่สุด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:48, 1 กรกฎาคม 2556

บุษบาริมทาง
ภาพโปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับGeorge Cukor
เขียนบทAlan Jay Lerner
George Bernard Shaw
อำนวยการสร้างJack Warner
นักแสดงนำAudrey Hepburn
Rex Harrison
กำกับภาพHarry Stradling Sr.
ตัดต่อWilliam H. Ziegler
ดนตรีประกอบFrederick Loewe (ดนตรี)
Alan Jay Lerner (เนื้อร้อง)
ผู้จัดจำหน่ายWarner Bros. (ฉายในปี 1964)
20th Century Fox (ฉายใหม่)
วันฉาย25 ธันวาคม 1964
ความยาว171 นาที
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง$17,000,000
ทำเงิน$72,000,000

บุษบาริมทาง (อังกฤษ: My Fair Lady) เป็นภาพยนตร์เพลงในปี ค.ศ. 1964 เดิมเป็นละครเพลงของเลอร์เนอร์แอนด์โลว์ ชื่อเดียวกัน ซึงดัดแปลงจากบทละครชวนหัวเสียดสีสังคมชนชั้น Pygmalion ของจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ เมื่อสร้างเป็นภาพยนตร์ ใน ค.ศ. 1938 มีการเพิ่มเติมฉากบอลรูมและเปลี่ยนตอนจบให้นางเอกกลับมาหาพระเอกแทนที่จะจากไปอย่างสตรีผู้มาดมั่นตามบทละครดั้งเดิมของชอว์

ถ่ายทำระบบซูเปอร์พานาวิชั่น 70 มม.สีเทคนิค สร้างโดย วอร์เนอร์ บราเธอร์ส กำกับโดยจอร์จ คูเกอร์ นำแสดงโดย ออเดรย์ เฮปเบิร์น และ เรกซ์ แฮร์ริสัน

ภาพยนตร์ลงทุนสูงโดยเฉพาะด้านกำกับศิลป์และเครื่องแต่งกายหรูหราย้อนยุค

ได้รับ 8 รางวัลออสการ์ รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยม[1]

เรื่องย่อ

ศาสตราจารย์หนุ่มโสดผู้เชียวชาญภาษาทั่วโลก พนันกับเพื่อนคู่หูว่า เขาจะทำให้ เอไลซ่า ดูลิตเติล หญิงขายดอกไม้ข้างถนน กลายเป็นสุภาพสตรีชั้นสูงเพรียบพร้อมด้วยกิริยาและภาษาอังกฤษอันเลอเลิศ ความสำเร็จดีเกินคาด แม้แต่ลูกศิษย์ชั้นยอดของศาสตราจารย์ ก็ยังเข้าใจผิด คิดว่าเธอเป็นเจ้าหญิงต่างแดนผู้สมบูรณ์แบบอย่างไม่มีใครเทียบ

เธอพอใจความสำเร็จตามที่ใฝ่ฝันแต่แล้วกลับรู้สึกสับสนในอนาคตของตนเอง คนคุ้นเคยย่านตลาดถิ่นเก่าไม่มีใครจำได้ ขณะที่พ่อขี้เมากำลังเผชิญปัญหา "ศีลธรรมของชนชั้นกลาง" ทำได้เพียงอวยพรขอให้ลูกสาวโชคดี

เอไลซ่าตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตใหม่กับหนุ่มผู้ดีคนหนึ่งที่ยอมรับที่มาของเธอได้ แต่แล้วความรู้สึกที่ซ่อนลึกในใจ ทำให้เธอต้องกลับมาหาศาสตราจารย์ในที่สุด

งานสร้าง

จากละครบรอดเวย์ที่มีชื่อเสียง นำแสดงโดย จูลี่ แอนดรูวส์ ดาวรุ่งละครเวที (และดารานำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เพลง แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ (Mary Poppins) ของวอลท์ ดีสนี่ย์ ในปีเดียวกับภาพยนตร์เรื่องนี้) คู่กับ เรกซ์ แฮร์ริสัน ซึ่งแสดงและร้องด้วยเสียงตนเองทั้งละครและภาพยนตร์

ในเมืองไทยฉายครั้งแรกที่ ศาลาเฉลิมไทย เมื่อ พ.ศ. 2507 ใช้คำโฆษณาว่าโปรแกรม "อัครภาพยนตร์" [2]และอีกหลายครั้งที่โรงหนังฮอลลีวู้ด ใกล้วงเวียนราชเทวี

ชื่อภาษาไทย เดิมเป็นชื่อละครเวที บทพระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล แห่งคณะอัศวินการละคร ซึ่งคณะกรรมการผู้บริหารโรงภาพยนตร์เห็นเหมาะสมจึงได้ทูลขอประทานอนุญาตนำมาใช้เป็นชื่อภาพยนตร์

เพลงเด่น

เพลงประกอบภาพยนตร์ / ละครบรอดเวย์ ได้รับยกย่องว่ามีความไพเราะและเป็นที่จดจำของผู้ชม เช่น Wouldn't It Be Lovely ,The Rain In Spain ,On The Street Where You Live ,Get Me To The Church On Time ,I 've Grown Accustomed To Her Face ฯลฯ

อัลบั้มเพลงประกอบทั้งฉบับละครและภาพยนตร์ รวมถึงอัลบั้มจากการขับร้องของนักร้องชั้นนำอื่นๆ ยังได้รับความนิยมจนทุกวันนี้

อ้างอิง

  1. "NY Times: My Fair Lady". NY Times. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
  2. หน้าโฆษณา หนังสือพิมพ์รายวัน ,2507