ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชา พรหมนอก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
เพิม่กล่องสืบตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี
บรรทัด 128: บรรทัด 128:
| ก่อนหน้า = [[เฉลิม อยู่บำรุง|ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง]]
| ก่อนหน้า = [[เฉลิม อยู่บำรุง|ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง]]
| จำนวนก่อนหน้า =
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป =
| ถัดไป = ''อยู่ในตำแหน่ง''
| จำนวนถัดไป =
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = [[30 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2556]] - ปัจจุบัน
| ช่วงเวลา = [[30 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2556]] - ปัจจุบัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:45, 1 กรกฎาคม 2556

ประชา พรหมนอก
ไฟล์:Pracha p.png
รองนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
ถัดไปชัยเกษม นิติสิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าพลตำรวจตรี วุฒิ สุโกศล
ถัดไปเดช บุญ-หลง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้ามิ่งขวัญ แสงสุวรรณ
ถัดไปชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2539 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2541
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก พจน์ บุณยะจินดา
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
16 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2543
ถัดไปพลตำรวจเอก พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์
หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2552
ก่อนหน้าสุวิทย์ คุณกิตติ
ถัดไปชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
ประธานคณะกรรมการเยียวยาชายแดนภาคใต้
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 (81 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสคุณหญิงวารุณี พรหมนอก

พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายตำรวจมือปราบมีฉายาว่า "อินทรีอีสาน" เนื่องจากเป็นชาวจังหวัดนครราชสีมา เป็นทั้งอธิบดีกรมตำรวจคนสุดท้ายและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก เนื่องจากมีตำแหน่งสูงสุดในช่วงที่ปรับเปลี่ยนสถานะของกรมตำรวจเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[1]

ประวัติ

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ที่จังหวัดนครราชสีมา สมรสกับ คุณหญิงวารุณี พรมหมนอก (สกุลเดิม บำรุงสวัสดิ์) มีบุตร-ธิดา 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2 คน คือ พ.ต.อ.ชัชธรรม พรหมนอก (เสียชีวิต) นางธารศรี ศรีวรขาน นางนุดี เพชรพนมพร และ พ.ต.ท.จิรพัฒน์ พรหมนอก[2]

ประวัติการศึกษา

ประสบการณ์

  • พ.ศ. 2508 รองสารวัตร แผนก 3 กองกำกับการ 7 กองตำรวจสันติบาล
  • พ.ศ. 2515 นายเวรผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 4
  • พ.ศ. 2517 ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่น
  • พ.ศ. 2518 สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอุดรธานี
  • พ.ศ. 2519 รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา
  • พ.ศ. 2522 ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี
  • พ.ศ. 2524 รองผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • พ.ศ. 2526 ผู้บังคับการตำรวจภูธร 6
  • พ.ศ. 2528 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธร 2
  • พ.ศ. 2531 รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร 2
  • พ.ศ. 2532 ผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่ชุมชนและมวลชนสัมพันธ์)
  • พ.ศ. 2534 ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • พ.ศ. 2534 ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2537 รองอธิบดีกรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2540 อธิบดีกรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2547 นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
  • เป็นกรรมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • เป็นกรรมการธนาคารกรุงไทย
  • เป็นกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • เป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุมิสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (9 สิงหาคม 2554 - 30 มิถุนายน 2556)
  • รองนายกรัฐมนตรี (30 มิถุนายน 2556 - ปัจจุบัน)

การเมือง

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2540 ภายหลังเกษียณราชการแล้ว ต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา[3] และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ต่อมาได้ย้ายมาเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคแทนที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ที่ประกาศลาออกไป และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4]

ภายหลังรัฐบาลนายสมชายต้องพ้นวาระไปจากคดียุบพรรคพลังประชาชน ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องว่างลง พล.ต.อ.ประชาได้รับการสนับสนุนจากนายเสนาะ เทียนทอง และพรรคเพื่อไทยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนต่อไป ในวันที่เลือกนายกรัฐมนตรีที่รัฐสภา เสียงที่เลือก พล.ต.อ.ประชา แพ้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยคะแนน 198 ต่อ 235 เสียง ซึ่ง พล.ต.อ.ประชาได้โหวตให้แก่ตัวเองด้วย

ต่อมา พล.ต.อ.ประชา ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[5] และเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[6] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554[7] และจากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 5[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
  5. “ประชา”ลาเพื่อแผ่นดิน คาดร่วมงาน พท.
  6. พล.ต.อ.ประชาสมัครเป็นสมาชิกเพื่อไทยแล้ว จากประชาทรรศน์
  7. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
  8. เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)
ก่อนหน้า ประชา พรหมนอก ถัดไป
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 60)
(30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ไฟล์:ตรากระทรวงยุติธรรม1.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 60)
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
ชัยเกษม นิติสิริ
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 58)
(24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
พลตำรวจตรี วุฒิ สุโกศล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครม. 53)
(14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
เดช บุญ-หลง
พลตำรวจเอกพจน์ บุณยะจินดา
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2543)
พลตำรวจเอกพรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์