ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญรอด บิณฑสันต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
บุญรอด บิณฑสันต์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำ[[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เมื่อวันที่ [[17 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2477]] เป็นอาจารย์ที่มีอายุเพียง 18 ปี<ref>[http://www.car.chula.ac.th/halloffame/profile/2/?ref=biography หอเกียรติยศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]</ref> ต่อมาเมื่อได้มีการจัดตั้งสำนักงานพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2496 จึงได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511
บุญรอด บิณฑสันต์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำ[[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เมื่อวันที่ [[17 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2477]] เป็นอาจารย์ที่มีอายุเพียง 18 ปี<ref>[http://www.car.chula.ac.th/halloffame/profile/2/?ref=biography หอเกียรติยศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]</ref> ต่อมาเมื่อได้มีการจัดตั้งสำนักงานพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2496 จึงได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511


ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2516 เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐคนแรกของไทย และตำแหน่งต่อมาคือ ผู้ว่าการ[[การประปานครหลวง]]
ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2516 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นคนแรกของไทย และตำแหน่งต่อมาคือ ผู้ว่าการ[[การประปานครหลวง]]


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:02, 30 มิถุนายน 2556

ดร.บุญรอด บิณฑสันต์
ไฟล์:บุญรอด บิณฑสันต์.jpg
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
ถัดไปอรุณ สรเทศน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าหม่อมหลวงชูชาติ กำภู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 กันยายน พ.ศ. 2458
เสียชีวิต26 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (96 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงพยอม บิณฑสันต์

ร้อยเอก ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐคนแรกของประเทศไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อดีตเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ และเป็นอดีตประธานมูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติ

บุญรอด บิณฑสันต์ เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458[1]สมรสกับคุณหญิงพยอม บิณฑสันต์ มีบุตรบุญธรรม 3 คนได้แก่ นางพัฒนา รุจิระวงค์ รองศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์[2]และ นายศิริพงศ์ บิณฑสันต์

จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2476 ระดับปริญญาโท สาขาไฟฟ้ากำลัง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ในปี พ.ศ. 2481 ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน แต่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 ได้ไปเข้าร่วมกับกลุ่มเสรีไทยในประเทศจีน อินเดีย และศรีลังกา ทำให้ได้รับยศทหาร "ร้อยเอก" ในเวลาต่อมา และในปี พ.ศ. 2489 ได้กลับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสาขาวิชาไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง The International Water Resources Association (IWRA)

บุญรอด บิณฑสันต์ ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2509[3] และดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยยาวนานถึง 20 ปี (พ.ศ. 2518-2538) [4]

ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การทำงาน

บุญรอด บิณฑสันต์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 เป็นอาจารย์ที่มีอายุเพียง 18 ปี[5] ต่อมาเมื่อได้มีการจัดตั้งสำนักงานพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2496 จึงได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511

ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2516 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นคนแรกของไทย และตำแหน่งต่อมาคือ ผู้ว่าการการประปานครหลวง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

ก่อนหน้า บุญรอด บิณฑสันต์ ถัดไป
ไม่มี
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (ครม. 32)
(19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
อรุณ สรเทศน์