ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:สโมสรฟุตบอลไทย ไปยัง หมวดหมู่:สโมสรฟุตบอลในประเทศไทย
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
capacity = 10,000|
capacity = 10,000|
owner = [[ทรูวิชั่นส์]]|
owner = [[ทรูวิชั่นส์]]|
chairman = {{Flagicon|Thailand}} [[อภิรักษ์ โกษะโยธิน]]|
chairman = {{Flagicon|Thailand}} [[ขจร เจียรวนนท์]]|
mgrtitle = ผู้จัดการทีม|
mgrtitle = ผู้จัดการทีม|
manager = {{Flagicon|Thailand}} [[สะสม พบประเสริฐ]]|
manager = {{Flagicon|Thailand}} [[สะสม พบประเสริฐ]]|

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:27, 29 มิถุนายน 2556

ระวังสับสนกับ สโมสรฟุตบอลกรุงเทพมหานคร ในลีกดิวิชัน 1
Bangkok United
แบงค็อก ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มBangkok United Football Club
สโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด
ฉายาBangkok Angels
(แข้งเทพ)
ก่อตั้ง1988 (ในชื่อ สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
2009 (ในชื่อ สโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด)
สนามศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)
กรุงเทพ, ประเทศไทย
Ground ความจุ10,000
เจ้าของทรูวิชั่นส์
ประธานไทย ขจร เจียรวนนท์
ผู้จัดการทีมไทย สะสม พบประเสริฐ
ลีกไทยพรีเมียร์ลีก
2012ดิวิชัน 1, อันดับที่ 3 (เลื่อนชั้น)
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย เคยชนะเลิศการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 1 สมัย ในปี 2549 และได้รับสิทธิไปร่วมเล่นใน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ในอดีตเคยใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้มีการร่วมเป็นพันธมิตรกับ กรุงเทพมหานคร ที่เข้ามาเป็นผู้สนับสนุน จึงมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แบงค็อก ยูไนเต็ด มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติสโมสร

ปี 2505 - 2530

สโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอลคลับ ได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่า “สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ” จากปณิธานตั้งมั่นของผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพชั้นนำของประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากมุ่งส่งเสริมด้านการเรียน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนกิจกรรมการกีฬา โดยจัดให้มีศูนย์กีฬาและสนามกีฬาเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากรตลอดจนบุคคลภายนอก และได้ส่งทีมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันตามคำเชิญของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และฟุตบอลถือเป็นกีฬาหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยได้ส่งสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันเรื่อยมา

ปี 2531 - 2544

โลโก้สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เมื่อเข้าสู่ปี 2531 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ร่วมเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จนได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วย พระราชทานประเภท ง. ก่อนจะสามารถเลื่อนระดับชั้นสู่ถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี 2533 ก่อนจะไต่ลำดับขึ้นไปแข่งในถ้วยพระราชทานประเภท ข. ในปี 2534 จากการบ่มเพาะฝึกฝนพัฒนาทักษะของทีมเรื่อยมา ปี 2543 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพก็ได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศถ้วยพระราชทานประเภท ข. ทำให้ได้รับสิทธิ์ให้เข้าร่วมการแข่งขันในไทยลีก ดิวิชั่น 1 และจบฤดูกาล 2544/2545 ด้วยการครองอันดับ 3

ปี 2545 - 2551

ในฤดูกาลแข่งขัน 2545/2546 สโมสรได้คว้าแชมป์ชนะเลิศฟุตบอลไทยลีก ดิวิชั่น 1 ทำให้ได้รับสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ครั้งที่ 8 ซึ่งถือเป็นผลงานในระดับที่ดีที่สุดครั้งแรกของการก่อตั้งสโมสร และถือเป็นทีมสโมสรเดียวจากสถาบันการศึกษาที่สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในระดับลีกสูงสุดของประเทศได้โดยที่มีนักกีฬาส่วนใหญ่มาจากนักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย จนมาถึงการเข้าร่วมแข่งขันในไทยลีก ครั้งที่ 3 ในฤดูกาล 2549 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพก็สามารถคว้าชัยชนะในระดับสูงสุดของระบบลีกฟุตบอลไทยได้สำเร็จ จากการร่วมแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม ทำให้ได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก และได้รับเชิญจากสมาคมฟุตบอลประเทศสิงคโปร์ให้เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลสิงคโปร์คัพ 2007 ซึ่งทีมได้ผลงานกลับมาในอันดับ 3 และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 ในไทยพรีเมียร์ลีก ส่วนผลแข่งขันจากรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ ลีก 2007 จับฉลากได้อยู่ในสายเอฟ ซึ่งแข่งขันกับทีมคาวาซากิ ฟรอนตาเล่ จากญี่ปุ่น อาเรมามาลังจากอินโดนีเซีย และชุนนัม ดรากอนส์จากเกาหลีใต้ โดยมี การแข่งขันทั้งหมด 6 นัด ทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพเสมอ 3 และแพ้ 3 ซึ่งแม้จะไม่ผ่าน รอบแรกแต่ก็เป็นความภาคภูมิใจและเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาทีมสู่การแข่งขันอาชีพระดับนานาชาติ

ปี 2552 - 2553

ปี 2552 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “แบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอลคลับ” จากการร่วมเป็นพันธมิตรกับ กรุงเทพมหานคร ด้วยหลักการและเหตุผลที่ต้องการพัฒนาทีมของมหาวิทยาลัยให้เป็นทีมของชาวกรุงเทพฯ และเพื่อยกระดับมาตรฐานฟุตบอลอาชีพของไทยสู่ความเป็นมืออาชีพอย่างเต็มตัว ทำให้มีการปรับเปลี่ยนของสโมสรหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยน ตัวประธานสโมสรจากเรือโทหญิงสุธี บูรณธนิต เป็นนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และเปลี่ยน สัญลักษณ์ ตลอดจนสีชุดแข่งขันจากสีประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสีประจำของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งย้ายสนามแข่งขันจากสนามมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มาเป็นสนามศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ล่าสุดเมื่อเดือนต้นเดือนมีนาคม 2553 กลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วมสนับสนุนโดยการถือหุ้นรายใหญ่ของสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอลคลับ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตให้เกิดแก่วงการฟุตบอลไทย และเริ่มจัดตั้ง "สถาบันสอนฟุตบอลกรุงเทพมหานคร" หรือ “แบงค็อก ฟุตบอล อคาเดมี” จากความร่วมมือของกรุงเทพมหานคร พร้อมกับสร้างปูทางสู่ระดับนานาชาติให้กับทีมด้วยการดึงนักเตะต่างชาติมาเข้าร่วมทีม ตลอดจนรวมพลนักเตะระดับชาติที่มีชื่อหลายคนมาเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีม ด้วยเป้าหมายสำคัญกับการขึ้นสู่อันดับ 1 ใน 5 ของไทยพรีเมียร์ลีก แต่สโมสรก็ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังจนจบฤดูกาลในปี 2552 และ 2553 ด้วยอันดับ 13 และ 15 ตามลำดับ ตกชั้นสู่ ไทยลีก ดิวิชัน 1 ในฤดูกาลต่อมา

ปี 2554 - 2555

หลังจากตกชั้นลงสู่ไทยลีก ดิวิชั่น 1 สโมสรก็ได้ตั้งเป้าหมายในการกลับขึ้นไปแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีกซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้ง ด้วยการเปลี่ยนแปลงทีมใหม่ทั้งหมดเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและสร้างรากฐานให้มีความพร้อมในการเป็นสโมสรฟุตบอลชั้นนำของประเทศ โดยในฤดูกาล 2554 สโมสรจบการแข่งขันด้วยอันดับ 6 ของไทยลีก ดิวิชั่น 1 พลาดการเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีกอย่างน่าเสียดาย สำหรับในฤดูกาล 2555 ภายใต้การนำของผู้ฝึกสอน สะสม พบประเสริฐ แม้จะออกสตาร์ทช่วงต้นฤดูกาลไม่ดีนัก แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายสโมสรจึงกลับมาทำผลงานได้ดีในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล ส่งผลให้จบฤดูกาลด้วยอันดับ 3 คว้าตั๋วใบสุดท้ายเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีกในที่สุด

ปี 2556

สนามแข่งขัน

สนามเหย้า

สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ถือเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย–ญี่ปุ่น) หรือ Bangkok Youth Centre (Thai-Japan) ภายใต้การกำกับ ดูแลของกรุงเทพมหานคร ถูกสร้างขึ้นจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาล ไทยเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยได้จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมติจากคณะรัฐบาลในสมัยนั้น (ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์) ได้อนุมัติให้สร้างศูนย์เยาวชนนี้ขึ้นที่บริเวณสนามกีฬาดินแดงเดิมของกรุงเทพมหานคร รวมเนื้อที่ประมาณ 73 ไร่ ภายใต้งบประมาณร่วมประมาณ 300 ล้านบาทเศษ ใช้ระยะเวลาสร้างประมาณ 2 ปี (กุมภาพันธ์ 2523 -ตุลาคม 2524) ประกอบด้วยสนามกีฬาต่างๆ มากมาย ทั้งสนามฟุตบอลพร้อมลู่วิ่งมาตรฐานซึ่งสามารถจุคนดูได้ถึง 6,600 ที่นั่ง สนามอเนกประสงค์ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาในร่มทุกประเภท สนามยูโด สนามมวย สนามกีฬากลางแจ้ง และสระว่ายน้ำ ฯลฯ ซึ่งได้เปิดบริการให้กับประชาชนทั่วไปที่สมัครเป็นสมาชิกรายปี

ปัจจุบันสนามกีฬาศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ถือเป็นสนามเหย้าของสโมสร ฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอล คลับ (BANGKOK UNITED FOOTBALL CLUB) มาตั้งแต่ปี 2552

สนามฝึกซ้อม

สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต (สนามเหย้าเดิม) อยู่ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ปัจจุบันใช้เป็นสนามฝึกซ้อมของสโมสร

ผู้เล่นและทีมงานชุดปัจจุบัน

ผู้เล่น

ณ วันที่ 23 มีนาคม 2556

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ฝรั่งเศส อันโตนิน ทริลเลส
2 DF ไทย วรเนตร ต่อเนื่อง
3 DF ไทย กรวิทย์ นามวิเศษ
4 DF ไทย ปกาศิต แสนสุข
5 MF ไทย กิตติศักดิ์ ศิริแว่น
7 FW ซีเรีย ฮาหมัด อัลฮาสัน
8 MF ไทย วิทยา หมัดหลำ
9 FW แคเมอรูน พอล เบกอมโบ เอโคลโล
10 FW ไทย ฉัตร์ชัย คุ้มพญา
11 FW ไทย รณชัย รังสิโย
14 FW ฝรั่งเศส โรมียง แกสมี
15 MF ไทย อาลีฟ เปาะจิ
16 GK ไทย จักรพงศ์ เรณุมาศ
17 FW ไทย จารุวัฒน์ นามมูล
18 MF ไทย กิตติพล ปาภูงา
19 DF ไทย พลวัฒน์ ปิ่นกอง
20 DF ไทย คมกริช คำโสกเชือก
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
21 DF ไทย อานิสงส์ เจริญธรรม
22 DF บราซิล มารีอู เซซาร์ ดา ซิลวา
23 MF บราซิล โทนี คอสตา
24 FW ไทย สมปอง สอเหลบ
25 DF บราซิล กิลสัน ดีอัส
26 FW ไทย ธานัท จันทะยา
27 MF ไทย ไททรร ทำบุญ
29 FW ไทย ปรัชญา นะราช
30 MF ไทย วิศรุต พันนาสี
31 GK ไทย สราวุธ กองลาภ
33 MF ไทย พลวุฒิ ดอนจุ้ย
34 MF ไทย นฤพน พุฒซ้อน
35 GK ไทย อนุศิษฏ์ เติมมี
36 DF ไทย อิทธิพร เทพเรียน
37 DF ไทย พงศ์พิพัฒน์ คำนวณ
40 MF ไทย ณหทัย สุขสมบัติ

ทีมงาน

ตำแหน่ง สัญชาติ ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย ขจร เจียรวนนท์
ผู้จัดการทีม ไทย อ.สมหมาย ดอกไม้
ผู้ข่วยผู้จัดการทีม ไทย อ.อาคม สมุทรโคจร
ที่ปรึกษาสโมสร ไทย ประกาศิต โบสุวรรณ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน ไทย สะสม พบประเสริฐ
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ไทย สุวโรจน์ อภิวัฒน์วราชัย, นิสสัน พบประเสริฐ
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู ไทย นิพนธ์ มาลานนท์
นักกายภาพบำบัด ไทย ตระกูล ไชยสงคราม, ณัฐ ณ สงขลา
เจ้าหน้าที่ทีม ไทย จักรกริช สิริวัฒนาศาสตร์, วรวุฒิ ทิพยศักดิ์วารกุล

ทำเนียบผู้ฝึกสอน

ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา ความสำเร็จ
สมชาย ทรัพย์เพิ่ม ไทย 2549-มีนาคม 2553 ชนะเลิศ ไทยพรีเมียร์ลีก 2549
วรกร วิจารณรงค์ ไทย มีนาคม 2553-กรกฎาคม 2553
ทวีรักษ์ สิทธิพูลทอง ไทย กรกฎาคม 2553-สิงหาคม 2553
ประพล พงษ์พานิช ไทย สิงหาคม 2553-ตุลาคม 2554
สุวโรจน์ อภิวัฒน์วราชัย ไทย ตุลาคม 2554-พฤศจิกายน 2554
สะสม พบประเสริฐ ไทย พฤศจิกายน 2554-ปัจจุบัน

ผลงานที่ผ่านมา

เกียรติประวัติ

ผลงาน

ฤดูกาล/พ.ศ. การแข่งขัน ผลงาน
2545/2546
ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ชนะเลิศ (เลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีก)
2546/2547
ไทยพรีเมียร์ลีก อันดับ 4
2547/2548
ไทยพรีเมียร์ลีก อันดับ 7
2549
ไทยพรีเมียร์ลีก ชนะเลิศ
2550
ไทยพรีเมียร์ลีก อันดับ 4
2551
ไทยพรีเมียร์ลีก อันดับ 10
2552
ไทยพรีเมียร์ลีก อันดับ 13
ไทยคม เอฟเอคัพ รอบก่อนรองชนะเลิศ
2553
ไทยพรีเมียร์ลีก อันดับ 15 (ตกชั้นสู่ดิวิชัน 1)
โตโยต้า ลีกคัพ รอบก่อนรองชนะเลิศ
ไทยคม เอฟเอคัพ รอบ 16 ทีม
2554
ไทยลีก ดิวิชั่น 1 อันดับ 6
โตโยต้า ลีกคัพ รอบ 64 ทีม
ไทยคม เอฟเอคัพ รอบ 2
2555
ไทยลีก ดิวิชั่น 1 อันดับ 3 (เลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีก)
โตโยต้า ลีกคัพ รอบแรก
ไทยคม เอฟเอคัพ รอบ 3

ตารางคะแนน

      เลื่อนชั้น       คงที่       ตกชั้น

ฤดูกาล/พ.ศ. การแข่งขัน อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ผลต่างประตู คะแนน
2546/2547 ไทยพรีเมียร์ลีก 4 18 9 4 5 26 22 +4 31
2547/2548 ไทยพรีเมียร์ลีก 7 18 5 7 6 16 21 -5 22
2549 ไทยพรีเมียร์ลีก 1 22 11 6 5 25 17 +8 39
2550 ไทยพรีเมียร์ลีก 4 30 14 5 11 39 36 +3 47
2551 ไทยพรีเมียร์ลีก 10 30 9 8 13 27 36 -9 35
2552 ไทยพรีเมียร์ลีก 13 30 5 15 10 24 34 -10 30
2553 ไทยพรีเมียร์ลีก 15 30 5 9 16 25 52 -27 24
2554 ไทยลีก ดิวิชั่น 1 6 34 15 6 13 56 52 +4 51
2555 ไทยลีก ดิวิชั่น 1 3 34 23 5 6 57 29 +28 74

แหล่งข้อมูลอื่น

สโมสรพันธมิตร