ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอ่าว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 218: บรรทัด 218:


อิรักหวังว่าจะกระตุ้นให้อิสราเอลเข้าร่วมสงครามด้วย รัฐบาลอิรักหวังว่าชาติอาหรับหลายชาติจะถอนตัวออกจากกองกำลังผสมหากอิสราเอลเข้าร่วมเพราะชาติอาหรับอาจลังเลใจที่จะอยู่ข้างเดียวกันกับอิสราเอล<ref name=sam>Waldman, Shmuel (2005). ''Beyond a Reasonable Doubt''. Feldheim Publishers, p. 179. ISBN 1-58330-806-7</ref> หลังจากการโจมตีครั้งแรก [[กองทัพอากาศอิสราเอล]]ได้ส่งเครื่องบินเข้าลาดตระเวนบริเวณน่านฟ้าทางเหนือของอิรัก อิสราเอลเตรียมกองทัพเพื่อตอบโต้ตามนโยบายของตนตลอด 40 ปีที่ใช้การตอบโต้มาโดยตลอด อย่างไรก็ดีประธานาธิบดีบุชได้กดดันนายกเทศมนตรีของอิสราเอล[[ยิตซัค ชาเมียร์]]ให้อยู่เฉยๆ เพราะกลัวว่าหากอิสราเอลโจมตีอิรัก ชาติอาหรับอื่นๆ อาจถอนตัวออกจากกองกำลังผสมหรือเข้าร่วมกับอิรัก นอกจากนี้สหรัฐยังกลัวว่าหากอิสราเอลใช้น่านฟ้าของซีเรียหรือจอร์แดนในการโจมตีอิรัก ชาติเหล่านั้นก็จะเข้าร่วมกับอิรักหรือโจมตีอิสราเอล กองกำลังผสมให้สัญญาว่าจะใช้ขีปนาวุธ[[เอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียต|เพเทรียต]]ป้องกันอิสราเอลจากขีปนาวุธสกั๊ด<ref>Lawrence Freedman and Efraim Karsh, ''The Gulf Conflict: Diplomacy and War in the New World Order'', 1990–1991 (Princeton, 1993), 331–41.</ref><ref>Thomas, Gordon, ''Gideon's Spies: The Secret History of the Mossad''</ref>
อิรักหวังว่าจะกระตุ้นให้อิสราเอลเข้าร่วมสงครามด้วย รัฐบาลอิรักหวังว่าชาติอาหรับหลายชาติจะถอนตัวออกจากกองกำลังผสมหากอิสราเอลเข้าร่วมเพราะชาติอาหรับอาจลังเลใจที่จะอยู่ข้างเดียวกันกับอิสราเอล<ref name=sam>Waldman, Shmuel (2005). ''Beyond a Reasonable Doubt''. Feldheim Publishers, p. 179. ISBN 1-58330-806-7</ref> หลังจากการโจมตีครั้งแรก [[กองทัพอากาศอิสราเอล]]ได้ส่งเครื่องบินเข้าลาดตระเวนบริเวณน่านฟ้าทางเหนือของอิรัก อิสราเอลเตรียมกองทัพเพื่อตอบโต้ตามนโยบายของตนตลอด 40 ปีที่ใช้การตอบโต้มาโดยตลอด อย่างไรก็ดีประธานาธิบดีบุชได้กดดันนายกเทศมนตรีของอิสราเอล[[ยิตซัค ชาเมียร์]]ให้อยู่เฉยๆ เพราะกลัวว่าหากอิสราเอลโจมตีอิรัก ชาติอาหรับอื่นๆ อาจถอนตัวออกจากกองกำลังผสมหรือเข้าร่วมกับอิรัก นอกจากนี้สหรัฐยังกลัวว่าหากอิสราเอลใช้น่านฟ้าของซีเรียหรือจอร์แดนในการโจมตีอิรัก ชาติเหล่านั้นก็จะเข้าร่วมกับอิรักหรือโจมตีอิสราเอล กองกำลังผสมให้สัญญาว่าจะใช้ขีปนาวุธ[[เอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียต|เพเทรียต]]ป้องกันอิสราเอลจากขีปนาวุธสกั๊ด<ref>Lawrence Freedman and Efraim Karsh, ''The Gulf Conflict: Diplomacy and War in the New World Order'', 1990–1991 (Princeton, 1993), 331–41.</ref><ref>Thomas, Gordon, ''Gideon's Spies: The Secret History of the Mossad''</ref>
{{Double image|right|Gulfwar 1991 in Israeli shelter.jpg|180|Flickr - Government Press Office (GPO) - Damage from an Iraqi Scud missile.jpg|180|Israeli civilians taking shelter from rockets (left) and aftermath of attack in Ramat Gan, Tel Aviv (right)}}
{{Double image|right|Gulfwar 1991 in Israeli shelter.jpg|180|Flickr - Government Press Office (GPO) - Damage from an Iraqi Scud missile.jpg|180|(ขวา) ชาวอิสราเอลหลบหาที่กำบังจากการโจมตีและ (ซ้าย) สภาพที่อยู่อาศัยในรามัตกันในอิสราเอลหลังถูกโจมตี}}

ขีปนาวุธสกั๊ดที่ยิงใส่อิสราเอลนั้นพบว่าไร้ประสิทธิภาพ ด้วยการยิงที่พิสัยสูงสุดส่งผลให้ความแม่นยำและน้ำหนักระเบิดลดลง ห้องสมุดเสมือนชาวยิวได้รายงานว่ามีชาวอิสราเอล 74 คนเสียชีวิตจากการโจมตีของอิรัก สองคนเสียชีวิตจากการถูกระเบิดและที่เหลือเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจและหัวใจวายเฉียบพลัน<ref name="JVL">[http://www.jewishvirtuallibrary.org/jsource/History/Gulf_War.html The Gulf War]</ref> มีชาวอิสราเอลประมาณ 230 คนได้รับบาดเจ็บ<ref name="publicpolicy.umd.edu">{{Cite journal | last1 = Fetter | first1 = Steve | last2 = Lewis | first2 = George N. | last3 = Gronlund | first3 = Lisbeth | title = Why were Casualties so low? | journal = [[Nature (journal)|Nature]] | volume = 361 | pages = 293–296 | publisher = [[Nature Publishing Group]] | location = London | date = 28 January 1993 | url = http://drum.lib.umd.edu/bitstream/1903/4282/1/1993-Nature-Scud.pdf | doi = 10.1038/361293a0 | issue = 6410 | ref = harv}}</ref> ในเหตุการณ์หนึ่งได้เกิดการโจมตีเข้าที่ละแวกเทล อะวิฟ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตสามรายและบาดเจ็บอีก 96 ราย<ref>{{cite web|last1=Atkinson|first1=Rick|last2=Balz|first2=Dan|title=Scud Hits Tel Aviv, Leaving 3 Dead, 96 Hurt|url=http://www.washingtonpost.com/wp-srv/inatl/longterm/fogofwar/archive/post012291.htm|work=[[The Washington Post]]|accessdate=June 2, 2013|date=January 23, 1991}}</ref> ทรัพย์สินมหาศาลได้รับความเสียหาย กระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลกล่าวว่า "ความเสียหายทั่วไปแก่ทรัพย์สินได้แก่ บ้าน 1,302 หลัง อพาร์ทเมนท์ 6,142 แห่ง สิ่งก่อสร้างสาธารณะ 23 แห่ง ร้านค้า 200 ร้าน และรถ 50 คัน"<ref>[http://www.mfa.gov.il/mfa/aboutisrael/history/pages/the%20gulf%20war%20-%201991.aspx The Gulf War (1991)]</ref> เป็นที่กลัวกันว่าอิรักจะยิงขีปนาวุธที่มีส่วนประกอบของแก๊ซทำลายประสาทหรือ[[ซาริน]] ผลที่ตามมาคือรัฐบาลอิสราเอลได้แจกจ่ายหน้ากากกันแก๊ซให้กับประชาชนของตน เมื่อขีปนาวุธลูกแรกยิงเข้าใส่อิสราเอล มีผู้คนบางจำนวนที่ฉีดยาถอนพิษให้กับตัวเอง
[[Image:AlHussein-Strike.JPEG|thumb|สภาพค่ายทหารสหรัฐที่ถูกอิรักโจมตี]]
เพื่อโต้ตอบการใช้ขีปนาวุธของอิรัก สหรัฐได้ส่งขีปนาวุธเพเทรียตจำนวนมากเข้าไปยังอิสราเอลโดยมีแท่นยิงจรวด[[เอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียต]]สองแท่นเพื่อเอาไว้ปกป้องประชาชน<ref>{{cite web|url=http://tech.mit.edu/V110/N60/war1.60n.html|title=Three Isrealis killed as Scuds hit Tel Aviv|publisher=[[The Tech (newspaper)|The Tech]]|year=1991|accessdate=11 January 2009}}</ref> กองทัพอากาศของกองกำลังผสมทำการฝึกล่าขีปนาวุธสกั๊ดอย่างจริงจังในทะเลทรายของอิรัก เพื่อหาตำแหน่งรถถังบรรทุกที่พรางตัวก่อนที่อิรักจะใช้มันยิงขีปนาวุธเข้าใส่อิสราเอลหรือซาอุดิอาระเบียได้ ทางภาคพื้นดินหน่วยรบพิเศษได้ทำการแทรกซึมเข้าไปยังอิรักเพื่อค้นหาและทำลายขีปนาวุธสกั๊ด เมื่อหน่วยรบพิเศษทำงานร่วมกับหน่วยลาดตระเวนทางอากาศทำให้การโจมตีมีความแม่นยำขึ้น ทางอิรักจึงเริ่มปรับเปลี่ยนยุทธวิธีเช่นกัน

[[กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์]]ใช้ขีปนาวุธเพเทรียตเพื่อตอบโต้ขีปนาวุธสกั๊ดเช่นกัน กระทรวงกลาโหมของเนเธอร์แลนด์กล่าวในเวลาต่อมาว่าการใช้เพเทรียตส่วนมากนั้นไร้ประสิทธิภาพ แต่ผลทางจิตวิทยานั้นกลับเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก แม้ว่าขขีปนาวุธเพเทรียตเองจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าที่ขีปนาวุธสกั๊ดทำเสียอีก<ref>Sprey, Pierre M. [http://www.cdi.org/pdfs/TPL_Essay9_2.9.11.pdf "Evaluating Weapons: Sorting the Good from the Bad."] ''CDI'', February 2011.</ref><ref name=nederland2009>{{cite web|url=http://www.defensie.nl/landmacht/onderwijs/werkstukken_basisvorming/golfoorlog/betrokkenheid_van_nederland|title=Betrokkenheid van Nederland|publisher=[[Ministry of Defence (Netherlands)|Ministerie van Defensie]]|year=2009|accessdate=11 January 2009|language=Dutch}}</ref> มีการแนะนำว่าการที่อิสราเอลเสริมความแข็งแกร่งให้กับเมืองของตนนั้นมีบทบาทสำคัญที่ทำให้อิสราเอลสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากขีปนาวุธสกั๊ดได้ รวมทั้งเป็นเพราะว่าขีปนาวุธสกั๊ดจะทำการยิงแค่ในตอนกลางคืนเท่านั้น<ref name="publicpolicy.umd.edu"/>


== การทัพทางบก ==
== การทัพทางบก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:21, 29 มิถุนายน 2556

สงครามอ่าว

ลำดับภาพตามเข็มนาฬิกา เครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐกำลังบินเหนือบ่อน้ำมันในคูเวต; ทหารอังกฤษในปฏิบัติการแกรนบี้; ภาพจากล็อกฮีด เอซี-130; ทางหลวงมรณะ; เอ็ม 728
สถานที่
{{{place}}}
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

คูเวต จาเบอร์ อัลอะหมัด อัลจาเบอร์ อัลซาบาห์
สหรัฐ นอร์แมน ชวาร์ซคอพฟ์
สหรัฐ โคลิน โพเวลล์
ซาอุดีอาระเบีย คาลิด บิน สุลต่าน[1][2]
สหราชอาณาจักร แอนดรูว์ วิลสัน

สหราชอาณาจักร ปีเตอร์ เดอ ลา บิลแลร์

อิรัก ซัดดัม ฮุสเซน

อิรัก อลี ฮัสซัน อัลมาจิด
กำลัง

ทหาร 959,600 นาย[3]
เครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีรวมกันทั้งหมด 1,820 ลำ (สหรัฐอเมริกา 1,376 ลำ; ซาอุดิอาระเบีย 175 ลำ; อังกฤษ 69 ลำ; ฝรั่งเศส 42 ลำ; แคนาดา 24 ลำ; อิตาลี 8 ลำ)
รถถัง 3,318 คัน (ส่วนมากมักจะเป็นเอ็ม 1 เอบรามส์ (สหรัฐอเมริกา) ชาเลนเจอร์ 1 (สหราชอาณาจักร) และเอ็ม 60 (สหรัฐอเมริกา)
เรือบรรทุกเครื่องบิน 8 ลำ
เรือประจัญบาน 2 ลำ
เรือลาดตระเวน 20 ลำ
เรือพิฆาต 20 ลำ

เรือดำน้ำ 5 ลำ[4]

ทหาร 545,000+ นาย (100,000+ นายในคูเวต)
เครื่องบินขับไล่ 649 ลำ

ถถัง 4,500 คัน (มีไทป์-59 และไทป์-69 ของจีน; ที-55 และที-62ที่ผลิตเอง; ที-72 ของโซเวียตอีก 500 คัน)[4]
ความสูญเสีย

ถูกศัตรูสังหาร: 190 นาย
บาดเจ็บ 719 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 41 นาย (ไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิตของฝ่ายคูเวต แต่มีอย่างน้อย 605 นายที่สูญหาย)

ยิงฝ่ายเดียวกัน: 44 นาย บาดเจ็บ 57 นาย
อุบัติเหตุจากระเบิด: 11 นาย
อุบัติเหตุ: 134 นาย
ทั้งสิ้น: มีประมาณ 1,800 นายที่เสียชีวิต บาดเจ็บ สูญหายและถูกจับเป็นเชลย

ถูกสังหาร 20,000 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 80,000 นาย[5]
บาดเจ็บ 75,000 นาย

ทั้งสิ้น 175,000-355,000 นายที่ถูกสังหาร บาดเจ็บ สูญหาย และถูกจับเป็นเชลย

พลเรือน
ชาวอิรักถูกสังหาร 3,664 ราย[6]
ชาวอิสราเอลถูกสังหาร 2 ราย บาดเจ็บ 230 ราย[7]
ชาวซาอุถูกสังหาร 1 ราย บาดเจ็บ 65 ราย[8]

ชาวคูเวตประมาณ 1,000 คนถูกสังหารในช่วงที่อิรักเข้ายึดครอง และมีผู้อพยพกว่า 300,000 คน[9]

สงครามอ่าวเปอร์เซีย หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า สงครามอ่าว (อังกฤษ: Gulf War) หรือที่รู้จักกันว่า สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่หนึ่ง, สงครามอิรัก[10][11][12] ก่อนที่จะใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อ พ.ศ. 2546 และเรียกกันด้วยความเข้าใจผิดว่า ปฏิบัติการพายุทะเลทราย ซึ่งเป็นชื่อของปฏิบัติการเพื่อการรับมือทางทหาร[13] เป็นความขัดแย้งทางทหารที่เริ่มโดยกองกำลังผสมจาก 34 ประเทศโดยมีสหประชาชาติเป็นผู้ดูแล กับอิรักและรัฐบาลร่วมที่ต้องการขับไล่กองกำลังอิรักออกจากคูเวตหลังจากที่อิรักเข้ายึดครองคูเวต ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533

การรุกรานคูเวตโดยกองทัพอิรักที่เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ได้รับการประณามจากนานาชาติ และนำไปสู่การลงโทษทางเศรษฐกิจทันทีโดยสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ส่งกำลังอเมริกันไปยังซาอุดิอาระเบียเกือบ 6 เดือนหลังจากนั้น และกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนเข้ามายังสถานที่ดังกล่าวด้วย มีหลายประเทศเข้าร่วมกำลังผสมด้วย โดยมีกำลังทหารส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้ให้ความร่วมมือหลัก ซาอุดิอาระเบียระดมทุนให้ประมาณ 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทั้งมหด 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในสงครามครั้งนี้[14]

ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับไล่กองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มต้นขึ้นจากการทิ้งระเบิดทางอากาศเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 ตามมาด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สงครามดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะอย่างเด็ดขาดของกองกำลังผสม ผู้ซึ่งปลดปล่อยคูเวตและรุกเข้าไปในพรมแดนอิรัก กองกำลังผสมยุติการรุกคืบ และประกาศหยุดหยิง 100 ชั่วโมงหลังจากการทัพภาคพื้นดินเริ่มต้นขึ้น การรบทางอากาศและพื้นดินจำกัดอยู่ภายในอิรัก คูเวต และพื้นที่บริเวณพรมแดนของซาอุดิอาระเบีย อย่างไรก็ตาม อิรักได้ปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกองกำลังผสมในซาอุดิอาระเบียและต่ออิสราเอล

ที่มา

ตลอดช่วงเวลาของสงครามเย็น อิรักเป็นพันธมิตรสหภาพโซเวียตและมีประวัติความไม่ลงรอยกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐกังวลถึงตำแหน่งของอิรักต่อการเมืองอิสราเอล-ชาวปาเลสไตน์และการที่อิรักไม่เห็นด้วยกับสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์

สหรัฐเองก็ไม่ชอบการที่อิรักเข้าสนับสนุนกลุ่มอาหรับและปาเลสไตน์ติดอาวุธอย่างอาบูไนดัล ซึ่งทำให้มีการรวมอิรักเข้าไปในรายชื่อประเทศผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายข้ามชาติของสหรัฐในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2522 สหรัฐยังคงสถานะเป็นกลางอย่างเป็นทางการหลังจากการรุนรานของอิหร่านกลายมาเป็นสงครามอิรัก-อิหร่าน แม้ว่าจะแอบช่วยอิรักอย่างลับ ๆ อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม 2525 อิหร่านเริ่มทำการโต้ตอบได้สำเร็จ ปฏิบัติการชัยชนะที่ปฏิเสธไม่ได้ และสหรัฐได้เพิ่มการสนับสนุนให้กับอิรักเพื่อป้องกันไม่ให้อิรักถูกบังคับให้พ่ายแพ้

ในความพยายามของสหรัฐที่จะเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอิรักอย่างเต็มตัว ประเทศอิรักได้ถูกนำออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย นั่นก็เพราะว่าการพัฒนาในบันทึกการปกครอง แม้ว่าอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โนเอล คอช ได้กล่าวในเวลาต่อมาว่า "ไม่มีใครที่สงสัยในเรื่องที่อิรักยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้าย... เหตุผลจริง ๆ คือเพื่อช่วยให้พวกเขามีชัยเหนืออิหร่าน"[15]

เมื่ออิหร่านประสบกับชัยชนะในสงครามและปฏิเสธการสงบศึกที่ได้รับการเสนอขึ้นในเดือนกรกฎาคม การขายอาวุธให้กับอิรักก็ทำลายสถิติเมื่อปี 2525 แต่อุปสรรคยังคงมีอยู่ระหว่างสหรัฐกับอิรัก กลุ่มอาบูไนดัลยังคงได้รับการสนับสนุนอยู่ในแบกแดด เมื่อประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน ได้ขับไล่พวเขาไปยังซีเรียตามคำขอของสหรัฐในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2526 รัฐบาลเรแกนได้ส่งโดนัลด์ รัมส์เฟลด์ เพื่อพบกับประธานาธิบดีฮุสเซนเป็นทูตพิเศษและเพื่อกระชับความสัมพันธ์

ความตึงเครียดกับคูเวต

เมื่ออิรักทำการหยุดยิงกับอิหร่านในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 อิรักก็ประสบกับการล้มละลายอย่างแท้จริง โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้ซาอุดิอาระเบียและคูเวต อิรักกดดันทั้งสองชาติให้ยกหนี้ทั้งหมด แต่ทั้งสองประเทศตอบปฏิเสธ อิรักยังได้กล่าวหาคูเวตว่าได้ผลิตน้ำมันโควตาของโอเปก ทำให้ราคาน้ำมันดิ่งลง ซึ่งส่งผลให้อิรักประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจเพิ่มเข้าไปอีก

การที่ราคาของน้ำมันตกลงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอิรักอย่างใหญ่หลวง รัฐบาลอิรักได้บรรยายว่ามันเป็นสงครามทางเศรษฐกิจ ซึ่งอ้างว่าคูเวตเป็นต้นเหตุ โดยการเจาะท่อลอดข้ามพรมแดนเข้าไปในทุ่งน้ำมันรูมาเลียของอิรัก[16]

ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศยังเกี่ยวข้องกับคำกล่าวอ้างของอิรักที่ระบุว่า คูเวตเป็นอาณาเขตของอิรัก หลังจากได้รับเอกรารชจากสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2475 รัฐบาลอิรักได้ประกาศในัทันทีว่าคูเวตเป็นอาณาเขตโดยชอบธรรมของอิรัก เนื่องจากเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอิรักเป็นเวลาหลายศตวรรษจนกระทั่งอังกฤษก่อตั้งคูเวตขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ดังนั้น จึงได้กล่าวว่า คูเวตเป็นผลผลิตจากลัทธิจักรวรรดินิยมของอังกฤษ[17] อิรักอ้างว่าคูเวตเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบาสราของจักรวรรดิออตโตมัน ราชวงศ์ที่ปกครองคูเวต อัลซอบะห์ ได้ตัดสินใจลงนามในข้อตกลงเป็นรัฐในอารักขาเมื่อ พ.ศ. 2442 ซึ่งมอบหมายความรับผิดชอกิจการระหว่างประเทศให้แก่อังกฤษ อังกฤษเขียนพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ และพยายามจำกัดทางออกสู่ทะเลของอิรักอย่างระมัดระวัง เพื่อที่ว่ารัฐบาลอิรักในอนาคตจะไม่มีโอกาสคุกคามการครอบครองอ่าวเปอร์เซียของอังกฤษ อิรักปฏิเสธที่จะยอมรับพรมแดนที่ถูกเขียนขึ้น และไม่รับรองคูเวตจนกระทั่งปี พ.ศ. 2506[18]

ในตอนต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2533 อิรักไม่พอใจกับพฤติกรรมของคูเวต อย่างเช่น ไม่เคารพโควตา และคุกคามที่จะใช้กำลังทหารอย่างเปิดเผย วันที่ 23 กรกฎาคม ซีไอเอรายงานว่าอิรักได้เคลื่อนกำลังพล 30,000 นาย ไปยังพรมแดนอิรัก-คูเวต และกองเรือสหรัฐในอ่าวเปอร์เซียได้รับการเตือนภัย วันที่ 25 กรกฎาคม ซัดดัม ฮุสเซน พบกับเอพริล กลาสพาย เอกอัครราชทูตอเมริกันในกรุงแบกแดด ตามการแปลเป็นภาษาอิรักของการประชุมครั้งนั้น กลาสพายพูดกับผู้แทนอิรักว่า

"เราไม่มีความคิดเห็นต่อความขัดแย้งอาหรับ-อาหรับ"[19]

ตามบันทึกส่วนตัวของกลาสพาย เธอกล่าวในการประชุมถึงพรมแดนที่ชัดเจนระหว่างคูเวตและอิรัก

"[...] ว่าเธอได้เคยทำงานอยู่ในคูเวตเมื่อ 20 ปีก่อน ดังนั้น ในขณะนี้ เราจึงไม่เลือกฝ่ายต่อความสัมพันธ์ระหว่างอาหรับ"[20]

เมื่อวันที่ 31 การเจรจาระหว่างอิรักและคูเวตในเจดดะห์ประสบความล้มเหลวอย่างรุนแรง

การบุกครองคูเวต

รถถังประจัญบานเอ็ม-84 ของกองทัพคูเวต
รถถังประจัฐบานที-72ของกองทัพบกอิรัก
เครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ-4เคยู สกายฮอว์คของกองทัพอากาศคูเวต
เฮลิคอปเตอร์ขนส่งเบลล์ 214เอสทีของกองทัพอากาศอิรัก

ผลจากการประชุมที่เจดดห์ลงเอยด้วยการที่อิรักต้องการเงินจำนวน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อชดเชยรายได้ที่ตนเสียไปจากทุ่งน้ำมันรูไมลา คูเวตเสนอกลับด้วยเงินจำนวน 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้อิรักสั่งทำการบุกในทันที[21] ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 อิรักเปิดการรุกด้วยการทิ้งระเบิดใส่คูเวตซิตี เมืองหลวงของคูเวต

ในช่วงขณะการบุก เชื่อกันว่ากองทัพคูเวตมีทหาร 16,000 นาย โดยแบ่งออกเป็นกองกำลังยานเกราะ ทหารช่าง และกองทหารปืนใหญ่[22] กำลังของกองทัพอากาศคูเวตก่อนช่วงสงครามนั้นอยู่ที่ประมาณ 2,200 นาย โดยมีอากาศยาน 80 ลำและเฮลิคอปเตอร์อีก 40 ลำ[22] แม้ว่าอิรักได้ทำการขู่เปิดสงครามก่อนหน้า แต่คูเวตกลับไม่ได้เตรียมกองกำลังของตนเอาไว้ กองทัพคูเวตยอมแพ้ในวันที่ 19 กรกฎาคม[23]

เมื่อสิ้นสุดสงครามอิหร่านอิรักในปีพ.ศ. 2531 กองทัพบกอิรักกลายเป็นกองทัพอันดับสี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยประกอบด้วยทหาร 955,000 นายและกองกำลังกึ่งทหารอีก 650,000 นาย จากการคาดการณ์ขั้นต่ำของจอห์น ไชลด์สและอังเดร คอร์วิแซร์ กองทัพอิรักสามารถระดมรถถังได้ 4,500 คัน อากาศยานรบ 484 ลำ และเฮลิคอปเตอร์รบอีก 232 ลำ[24] ไมเคิล ไนท์ส คาดการว่า ในกรณีอย่างมาก อิรักจะสามารถระดมพลได้ 1 ล้านนายและกองกำลังสำรองอีก 850,000 นาย พร้อมรถถัง 5,500 คัน ปืนใหญ่ 3,000 กระบอก อากาศยานรบและเฮลิคอปเตอร์ 700 ลำ เป็นทั้งหมด 53 กองพล กรมสงครามพิเศษ 20 กรม และกองกำลังติดอาวุธอีกจำนวนมากตามพื้นที่ และพวกเขาก็มีการป้องกันทางอากาศที่แน่นหนาอีกด้วย[25]

หน่วยคอมมานโดของอิรักเป็นหัวหอกในการรบด้วยการแทรกซึมเข้าไปที่ชายแดนของคูเวตเพื่อเตรียมการรบให้พร้อมสำหรับหน่วยรบขนาดใหญ่ที่จะเปิดศึกตอนเที่ยงคืน อิรักแบ่งการรุกเป็นสองแนว โดยมีกองกำลังหลักโจมตีจากทางเหนือลงไปทางใต้ผ่านทางหลวงตรงไปยังคูเวต และอีกด้านเป็นการโจมตีสนับสนุนที่เข้าจากทางตะวันตกของคูเวตและหักออกไปทางตะวันออก เพื่อตัดเมืองหลวงออกจากทางใต้ที่เหลือของประเทศ ผู้บัญชาการกองพันยานเกราะ กรมยานเกราะที่ 35 ของคูเวตได้วางแนวรบเพื่อรับมือกองทัพอิรักและสามารถป้องกันเอาไว้ได้อย่างดุเดือดดในการรบใกล้กับอัล จาห์ราทางตะวันตกจองคูเวตซิคี[26]

อากาศยานของคูเวตเข้าสกัดข้าศึกแต่ถูกยึดหรือทำลายไปร้อยละ 20 การรบทางอากาศกับกองพลขนส่งทางเฮลิคอปเตอร์ของอิรักเกิดขึ้นเหนือคูเวตซิตี อิรักสูญเสียทหารชั้นดีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการปะทะประปรายระหว่างกองทัพอากาศคูเวตกับกองกำลังภาคพื้นของอิรักด้วย[27]

กองกำลังหลักของอิรักฝ่าแนวเข้าไปยังคูเวตซิตีนำโดยคอมมานโดที่ส่งโดยเฮลิคอปเตอร์และเรือเพื่อเข้าโจมตีเมืองจากทางทะเล ใขณะที่กองพลอื่นเข้ายึดท่าอากาศยานและสนามบิน อิรักทำการโจมตีวังดัสมาน ที่พักของเจ้าชายจาเบอร์ อัลอะห์หมัด อัลจาเบอร์ อัลชาบาห์ ซึ่งคุ้มกันโดยองครักษ์และรถถังเอ็ม-84 ในการรบ เจ้าชายองค์เล็กสุดฟาหัด อัลอะห์หมัด อัลจาเบอร์ อัลชาบาห์ถูกสังหารโดยฝ่ายอิรัก

ฝ่ายต่อต้านส่วนใหญ่ถูกปราบปรามภายในสิบสองชั่วโมง ราชวงศ์หลบหนีออกนอกคูเวต ทำให้อิรักเข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของคูเวต[21] หลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือดเป็นเวลาสองวัน กองกำลังส่วนใหญ่ของคูเวตถูกเอาชนะโดยริพับลิกันการ์ดของอิรักหรือไม่ก็หนีไปยังซาอุดิอาระเบีย เจ้าชายแห่งคูเวตและรัฐมนตรีสามารถหลบหนีและมุ่งหน้าลงใต้เพื่อขอลี้ภัยในซาอุดิอาระเบียได้ กองกำลังภาคพื้นของอิรักเข้าควบคุมคูเวตซิตี หลังจากนั้นมุ่งหน้าลงใต้เพื่อวางกำลังพลตลอดแนวชายแดนซาอุ หลังจากได้รับชัยชนะ ซัดดัมก็เริ่มตั้งการปกครองหุ่นเชิดโดยใช้ชื่อว่ารัฐบาลชั่วคราวแห่งคูเวตอิสระ ก่อนที่จะแต่งตั้งให้ญาติของตน อลี ฮัสซาน อัลมาจิดเป็นผู้ว่าราชการในวันที่ 8 สิงหาคม

ช่วงก่อนเริ่มสงคราม

วิธีการทางการทูต

ในชั่วโมงที่การรุกรานคูเวตเริ่มขึ้น คณะผู้แทนของคูเวตและสหรัฐได้เข้าร้องให้มีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้อนุมัติมติที่ 660 ซึ่งมองว่าการรุกรานเป็นสิ่งไม่ถูกต้องแบะต้องการให้อิรักถอนทหารออก[28] ในวันที่ 3 สิงหาคม สันนิบาตอาหรับได้ออกมติ ซึ่งสรุปได้ว่าต้องการหาทางออกของปัญหาโดยกลุ่มชาติในสันนิบาตอาหรับเท่านั้น และเตือนไม่ให้ชาติอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง อิรักและลิเบียเป็นชาติอาหรับสองชาติที่ปฏิเสธมติที่ให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวต องค์ปลดปล่อยปาเลสไตน์เห็นด้วยกับอิรัก[29][30] รัฐอาหรับเยเมนและจอร์แดน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับตะวันตกที่มีชายแดนติดกับอิรักและพึ่งพาเศรษฐกิจของอิรัก[31] – ไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงทางทหารจากชาติที่ไม่ใช่รัฐอาหรับ[32] รัฐอาหรับซูดานเห็นด้วยกับซัดดัม[31]

ในวันที่ 6 สิงหาคม ตามมติที่ 661 ได้มีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรัก[33] หลังจากนั้นได้มีมติที่ 665 ซึ่งสั่งการให้มีการปิดล้อมทางทะเลเพื่อทวีความรุนแรงของการคว่ำบาตร คณะมนตรีความมั่นคงกล่าวว่า "การใช้มาตรการดังกล่าวต่อสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นเรื่องจำเป็น... เพื่อที่จะหยุดการเข้าออกของเรือสินค้า เพื่อตรวจสอบสินค้าและจุดหมายปลายทางบนเรือเหล่านั้นและเพื่อให้แน่ใจว่ามติที่ 661 ถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวด”[34]

ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู บุช เข้าเยี่ยมทหารอเมริกันในซาอุดิอาระเบียเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า ปีพ.ศ. 2533

ตั้งแต่แรกเริ่ม ทางการสหรัฐยืนยันว่าให้มีการถอนทหารอิรักทั้งหมดออกจากคูเวต โดยกล่าวว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับปัญหาอื่นๆ ในตะวันออกกลาง สหรัฐเกรงว่าหากมติเอกฉันท์ใดๆ จากอิรักจะทำให้อิรักมีอิทธิพลในบริเวณดังกล่าวในอนาคต[35]

ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ซัดดัมได้ประกาศให้มีการประนีประนอมผ่านทางวิทยุกรุงแบกแดดและหน่วยงานข่าวของอิรัก เขากล่าวว่า "ทุกการยึดครองที่เกิดขึ้น และทุกกรณีที่เห็นว่าเป็นการยึดครอง ในพื้นที่ดังกล่าว จะถูกยกเลิกพร้อมๆ กัน" โดยเขากล่าวเป็นพิเศษว่าต้องการให้อิสราเอลถอนกำลังออกจากปาเลสไตน์ ซีเรีย และเลบานอน รวมทั้งให้ซีเรียถอนกำลังออกจากเลบานอนด้วย และเสริมว่า "การถอนกำลังโดยอิรักและอิหร่านจัดการสถานการณ์วนคูเวต" เขาได้เรียกร้องให้หากองกำลังมาแทนกองทหารของสหรัฐในซาอุดิอาระเบียด้วยกองกำลังของชาติอาหรับ โดยจะต้องไม่เป็นกองกำลังจากอียิปต์ นอกจากนี้เขาขอให้ "หยุดการคว่ำบาตรทั้งหมด" และปฏิบัติต่ออิรักอย่างเป็นปกติ[36] ตั้งแต่ที่วิกฤตการณ์ดังกล่าวเริ่มขึ้น ประธานาธิบดีสหรัฐยืนกรานว่าการที่อิรักเข้ายึดคูเวตนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับปัญหาในปาเลสไตน์ [37]

ในวันที่ 23 สิงหาคม ซัดดัมปรากฏตัวทางโทรทัศน์พร้อทตัวประกันชาวตะวันตก ซึ่งเขาปฏิเสธที่จะให้ออกจากประเทศ ในวิดีโอ เขาถามเด็กชายชาวอังกฤษ สจ๊วต ล็อกวูด ผ่านทางล่ามว่าเขาได้รับนมหรือไม่ และพูดต่อว่า​ "เราหวังว่าที่หนูมาในฐานะแขกจะไม่ต้องกินเวลานานนัก การที่หนูอยู่ที่นี่และที่อื่นๆ เป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม"[38]

อีกข้อเสนอหนึ่งจากอิรักเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 โดยส่งให้กับที่ปรึกษาความมั่งคงของชาติของสหรัฐ เบรนท์ สคอว์ครอฟท์ อิรักติดต่อกับธรรมเนียบขาวว่า "จะถอนทหารออกจากคูเวตและยอมให้ชาวต่างชาติออกนอกประเทศได้" โดยสหประชาชาติจะต้องยกเลิกการคว่ำบาตร โดยต้องยอมให้ "สามารถเข้าออกอ่าวเปอร์เซียผ่านเกาะบูบิยันและวาร์บาห์ของคูเวตได้โดยมีการรับรอง" และยอมให้อิรัก "ควบคุมทุ่งน้ำมันรูไมลาได้อย่างเต็มที่รวมทั้งบางส่วนในเขตของคูเวต" ข้อเสนอยังรวมทั้ง "ยอมให้มีการเจรจาการตกลงเรื่องน้ำมันกับสหรัฐ เพื่อความพอใจทั้งสองฝ่าย เพื่อ'พัฒนาแผนร่วมกัน'เพื่อบรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของอิรัก และ'ทำงานร่วมกันเพื่อคงไว้ซึ่งเสถียรภาพของอ่าวเปอร์เซีย'"[39]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 อิรักได้ยื่นข้อเสนอว่าจะถอนทหารออกจากคูเวตโดยจะไม่มีการโจมตีขณะทำการถอนทัพ และคำนึงถึงการห้ามใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในพื้นที่ปาเลสไตน์ ทางธรรมเนียบขาวปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว[40] ยัสเซอร์ อาราฟัตจากองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ให้คำบรรยายว่าทั้งเขาและซัดดัมไม่ยืนยันว่า ควรที่จะมีการแก้ไขปัญหาอิสราเอลและปาเลสไตน์ก่อนที่จะแก้ไขในคูเวต แม้ว่าเขารู้ว่าทั้งสองปัญหามีความเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน[41]

ท้ายที่สุด สหรัฐยืนหยัดว่าจะไม่มีการเจรจาใดๆ จนกว่าอิรักจะถอนทหารออกจากคูเวตและพวกเขาจะไม่มีเอกฉันท์ใดๆ ให้กับอิรัก เพื่อให้อิรักเห็นว่าพวกเขาไม่ได้อะไรจากปฏิบัติการทางทหารที่กระทำไป[35] นอกจากนี้ เมื่อรัฐมนตรีของสหรัฐเจมส์ เบเกอร์ได้พบกับทาริก อซิซในกรุงเจนีวา ประเทศสวิซ ในนาทีสุดท้ายของการเจรจาเพื่อความสงบเมื่อต้นปีพ.ศ. 2534 มีรายงานว่าอซิซไม่มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมและไม่เห็นความน่าสงสัยใดๆ ในการกระทำของอิรัก[42]

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 สภาความมั่นคงได้ลงมติที่ 678 ซึ่งให้เวลาอิรักถอนทหารออกจากคูเวตจนถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2534 และอนุญาตให้รัฐที่มีอำนาจ"ใช้ทุกวิธี"เพื่อขับไล่อิรักออกจากคูเวตเมื่อเกินเวลากำหนด

ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2534 ฝรั่งเศสได้ยื่นข้อเสนอให้สภาความมั่นคงเรียกร้องให้มี"การถอนทหารอย่างรวดเร็ว"จากคูเวตพร้อมกับส่งคำแถลงถึงอิรักว่าสมาชิกสภาความมั่นคงจะทำการ"เรี่ยไร"เพื่อยุติข้อพิพาทในพื้นที่ที่มีปัญหา "โดยเฉพาะปัญหาอิสราเอลกับรัฐอาหรับและปัญหาในปาเลสไตน์ ด้วยการจัดประชุมนานาชาติในเวลาที่เหมาะสม" เพื่อคงไว้ซึ่ง "เสถียรภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาในส่วนดังกล่าวของโลก" ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากเบลเยี่ยม (ขณะนั้นเป็นสมาชิกไม่ถาวรของสภา) เยอรมนี สเปน อิตาลี อัลจีเรีย โมรอกโก ตูนิเซีย และประเทศอื่นอีกมากมาย สหรัฐ สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียตไม่เห็นด้วย ทูตสหรัฐในสหประชาชาติ โธมัส พิกเกอร์ริ่ง กล่าวว่าข้อเสนอของฝรั่งเศสนั้นไม่สามารถยอมรับได้ เพราะว่ามันไม่เป็นไปตามมติที่สภาได้ลงไว้ในตอนที่อิรักเข้ารุกรานคูเวต[43][44][45]

วิธีการทางทหาร

ความกังวลหลักของประเทศตะวันตกคือการที่ซาอุดิอาระเบียตกอยู่ในภัยคุกคามจากอิรัก หลังจากที่คูเวตถูกยึด อิรักก็เข้าสู่ระยะใกล้พอที่จะเข้าโจมตีบ่อน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย หากว่าบ่อน้ำมันดังกล่าวถูกควบคุมพร้อมกับในคูเวตและของอิรัก ซัดดัมก็จะควบคุมแหล่งน้ำมันหลักของโลกเอาไว้ นอกจากนี้แล้วอิรักเองก็มีความแค้นส่วนตัวกับซาอุ ซาอุนั้นได้ให้เงินยืมแก่อิรักในสงครามอิรักอิหร่านเป็นจำนวน 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุที่ซาอุยอมช่วยอิรักในครั้งนั้นก็เพราะว่ากลัวอิทธิพลของนิกายชีอะฮ์ที่ลุกฮือจากการปฏิวัติในอิหร่าน หลังจากสงครามสิ้นสุดลง ซัดดัมคิดว่าเขาไม่ต้องจ่ายหนี้ให้กับซาอุเพราะอิรักได้ช่วยตอบแทนด้วยการต่อสู้กับอิหร่านไปแล้ว

เอฟ-15อีที่กำลังจอดในช่วงปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์

ไม่นานหลังจากที่ซัดดัมยึดคูเวตได้ เขาก็เริ่มทำการพูดโจมตีซาอุ โดยกล่าวว่า การที่สหรัฐสนับสนุนซาอุดิอาระเบียเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและไม่ควรค่าอย่างยิ่งที่สหรัฐจะเป็นคนปกป้องเมืองศักดิ์สิทธิอย่างเมกกะและมาดินา เขาได้รวบรวมภาษาของกลุ่มอิสลามที่ได้ร่วมรบในอัฟกานิสถานเมื่อไม่นานพร้อมกับวาทศาสตร์แบบที่อิหร่านใช้โจมตีซาอุเป็นเวลานาน[46]

ด้วยการใช้นโยบายตามหลักคาร์เตอร์และด้วยการเกรงว่ากองทัพบกอิรักจะเปิดการรุกเข้าซาอุดิอาระเบีย ประธานาธิบดีสหรัฐจอร์จ เอช. ดับบลิว. บุชจึงประกาศอย่างทันทีว่าจะทำการป้องกันซาอุจากการรุกรานของอิรักโดยใช้ชื่อว่า"ปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์" ซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2533 เมื่อทหารสหรัฐถูกส่งเข้าไปยังซาอุดิอาระเบียตามคำขอร้องจากกษัตริย์ฟาห์ดแห่งซาอุ[47] การป้องกันทั้งหมดนี้ถูกยกเลิกอย่างรวดเร็วในวันที่ 8 สิงหาคม เมื่ออิรักประกาศว่าคูเวตจะเป็นจังหวัดที่ 19 ของอิรักและปกครองโดยผู้ว่ากึ่งทหาร อลี ฮัสซาน อัลมาจิด ญาติของซัดดัมเอง[48]

กองทัพเรือสหรัฐได้ส่งกองเรือรบสองกลุ่มเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย โดยมีเรือบรรทุกอากาศยานยูเอสเอส "ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาว"และยูเอสเอส "อินดีเพนเดนซ์"เป็นหลักและพร้อมรบในวันที่ 8 สิงหาคม นอกจากนี้ยังมีเรือประจัญบานยูเอสเอส "มิสซูรี"และยูเอสเอส "วิสคอนซิน"ที่ถูกส่งเข้าไปในพื้นที่อีกด้วย มีเอฟ-15 ทั้งหมด 48 ลำจากฝูงบินขับไล่ที่ 1 จากฐานทัพอากาศแลงลีย์ของสหรัฐ โดยมาลงจอดที่ซาอุดิอาระเบียและออกปฏิบัติหน้าที่บินลาดตระเวนบริเวณชายแดนซาอุ คูเวต อิรักในทันทีเพื่อเป็นการข่มขวัญทหารอิรักที่กำลังรุกคืบ นอกจากนี้ยังมีกองเสริมเป็นเอฟ-15เอ-ดี 36 ลำจากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 36 จากเยอรมนี กองบินดังกล่าวเข้าประจำการที่ฐานบินอัล คาร์จ ซึ่งห่างจากกรุงริยาดห์ประมาณ 1 ชั่วโมงจากทางตะวันออกเฉียงใต้ ในการรบฝูงบินที่ 36 สามารถยิงเครื่องบินของอิรักตกได้ 11 ลำ นอกจากนี้ยังมีหน่วยบินสองหน่วยจากกองกำลังป้องกันทางอากาศแห่งชาติเข้ามาประจำการที่ฐานบินอัล คาร์จ ฝูงบินขับไล่ที่ 169 ของสหรัฐจากเซาท์แคโรไลนาได้เข้าทำภารกิจทิ้งระเบิดร่วมกับเอฟ-16 จำนวน 24 ลำ โดยทำภารกิจทั้งหมด 2,000 เที่ยวและทิ้งระเบิดไป 4 ล้านปอนด์ เอฟ-16 อีก 24 ลำจากฝูงบินที่ 24 จากนิวยอร์กก็ร่วมทำภารกิจทิ้งระเบิดเช่นกัน นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งสมกองกำลังทหารจนในที่สุดมีทหารมากถึง 543,000 นาย เป็นสองเท่าของจำนวนทหารที่ใข้ในการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546 อุปกรณ์มากมายถูกส่งมาทางเครื่องบินหรือเรือ เป็นเหตุผลที่พวกเขาสามารถระดมพลได้รวดเร็วมาก

การก่อตั้งกองกำลังผสม

มติมากมายจากสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและสันนิบาตอาหรับถูกลงนามในช่วงที่อิรักรุกรานคูเวต มติหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือมติที่ 678 ที่ออกมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ซึ่งให้เส้นตายในการถอนทัพแก่อิรักในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2534 และให้คำสั่งในการใช้ทุกวิธีเพื่อคงไว้ซึ่งมติที่ 660 และรูปแบบทางการทูตที่อนุญาตให้ใช้กำลังหากอิรักไม่สามารถถอนทหารในเวลาที่กำหนดได้[49]

พลเอกนอร์แมน ชวาซคอพฟ์ จูเนียร์และจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช เข้าเยี่ยมหารสหรัฐในซาอุดิอาระเบียเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้าเมื่อปีพ.ศ. 2533

สหรัฐได้รวบรวมกองกำลังผสมของนานาชาติเข้าด้วยกันเพื่อต่อต้านการรุกรานจากอิรัก โดยประกอบด้วยประเทศทั้งหมด 34 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บาห์เรน บังกลาเทศ เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก อียิปต์ ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี คูเวต โมรอกโก เนเธอแลนด์ นิวซีแลนด์ ไนเจอร์ นอร์เวย์ โอมาน ปากีสถาน โปรตุเกส กาตาร์ เกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล เซียราลีโอน สิงคโปร์ สเปน ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[50] นายพลจากกองทัพบกสหรัฐนอร์แมน ชวาซคอพฟ์ จูเนียร์ ได้รับหน้าที่ในการบัญชาการกองกำลังผสมในพื้นที่อ่าวเปอร์เซีย

แม้ว่าญี่ปุ่นและเยอรมนีจะไม่ได้ส่งทหารร่วมสงคราม แต่พวกเขาให้การสนับสนุนทางการเงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐและ 6,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ กองกำลังผสมคิดเป็นทหารสหรัฐร้อยละ 73 จากทั้งหมด 956,600 นาย

กองกำลังผสมบางส่วนรู้สึกลังเลที่จะเข้าร่วมสงคราม บางชาติเห็นว่าสงครามดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของชาติอาหรับ หรือบางชาติก็ไม่ต้องการที่จะให้สหรัฐมีอิทธิพลในตะวันออกกลางมากขึ้น ในท้ายที่สุดหลายประเทศก็ยอมเข้าร่วมเพราะเห็นความเกรี้ยวกราดของอิรักที่มีต่อรัฐอาหรับอื่นๆ โดยชาติเหล่านั้นเสนอที่จะให้การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจหรือยกเลิกหนี้สิน[51]

เหตุผลในการเข้าแทรกแซง

ดิก เชนีย์เข้าพบเจ้าชายสุลต่านที่ซาอุดิอาระเบียเพื่อหาวิธีรับมือกับการรุกรานคูเวต

สหรัฐและสหประชาชาติให้เหตุผลมากมายในการเข้าแทรกแซงเหตุการณ์ในคูเวตต่อสาธารณะ เหตุผลหลักก็คือการที่อิรักรุกรานอาณาเขตของคูเวตนั่นเอง นอกจากนี้สหรัฐยังเข้าสนับสนุนพันธมิตรอย่างซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความสำคัญในตะวันออกกลางและเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายสำคัญ โดยมองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นความสำคัญด้านภูมิศาสตร์การเมือง ไม่นานหลังจากการรุกรานคูเวต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมดิก เชนีย์ได้ไปเยือนซาอุดิอาระเบียตามคำร้องขอความช่วยเหลือจากสหรัฐโดยกษัตริย์ฟาห์ดแห่งซาอุ ในการแถลงการในการประชุมพิเศษของสภาคองเกรสเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2533 ประธานาธิบดีสหรัฐจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุชได้รวบรวมเหตุผลพร้อมกับรายละเอียดว่า "ภายในสามวัน ทหารอิรัก 120,000 นายพร้อมรถถัง 850 คันได้ทะลักเข้าคูเวตและเคลื่อนพลไปทางใต้เพื่อคุกคามซาอุดิอาระเบีย นั่นเป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าตัดสินใจที่จะลงมือเพื่อจัดการกับการรุกรานดังกล่าว"[52]

ทางเพนตากอนได้กล่าวว่ารูปถ่ายทางดาวเทียมได้แสดงให้เห็นกองกำลังอิรักที่ระดมพลตลอดแนวชายแดน แต่ต่อมาพบว่าเป็นการเข้าใจผิด ผู้รายงานข่าวจากเซนท์ปีเตอร์สเบิร์ก ไทมส์ได้ภาพถ่ายสองภาพจากดาวเทียมพาณิชย์ของโซเวียตที่แสดงให้เห็นเพียงทะเลทรายที่ว่างเปล่า[53]

นายพลคอลิน โพเวลล์ (ซ้าย) นายพลนอร์แมน ชวาซคอพฟ์ จูเนียร์ และพอล วูล์ฟโอวิทซ์ (ขวา) ขณะเข้าฟังรายงานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐดิก เชนีย์ในกรณีสงครามอ่าวปีพ.ศ. 2534

เหตุผลอื่นๆ ในการเข้าแทรกแซงคือการที่อิรักมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงการปกครองโดยซัดดัม นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้กันโดยทั่วว่าอิรักนั้นครอบครองอาวุธชีวภาพและอาวุธเคมี ซึ่งซัดดัมเคยใช้จัดการกับทหารอิหร่านในช่วงสงครามอิหร่าน-อิรักและใช้กับชาวเคิร์ดที่อาศัยอยู่ในอิรักอีกด้วย อิรักเองก็มีโครงการอาวุธนิวเคลียร์แต่ข้อมูลดังกล่าวส่วนหนึ่งจากปีพ.ศ. 2534 ถูกหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริงในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2544[54]

แม้ว่าจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในคูเวตโดยกองทัพอิรัก แต่กรณีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในสหรัฐคือการแทรกแซงบริษัทประชาสัมพันธ์ที่ว่าจ้างโดยรัฐบาลคูเวตเพื่อส่งอิทธิพลต่อความคิดเห็นของสหรัฐในการใช้ทหารเข้าแทรกแซง ไม่นานหลังจากการรุกรานคูเวต องค์กรที่เรียกว่า"กลุ่มพลเมืองเพื่อปลดปล่อยคูเวต"ก็เกิดขึ้นในสหรัฐ องค์กรดังกล่าวได้ว่าจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ชื่อฮิลล์แอนด์โนล์ตันเป็นจำนวนเงินประมาณ 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีรัฐบาลแห่งคูเวตเป็นคนจ่าย[55]

ในหมู่วิธีอื่นๆ ที่ส่งอิทธิพลต่อความเห็นของสหรัฐ (เช่น การแจกจ่ายหนังสือที่ตีแผ่ความโหดร้ายของอิรักต่อทหารอเมริกัน เสื้อที่มีข้อความว่า'ปลดปล่อยคูเวต' รวมทั้งการกระจายเสียงในมหาวิทยาลัยและวิดีโอมากมายทางโทรทัศน์) บริษัทดังกล่าวได้จัดให้มีการปรากฎตัวต่อหน้าสมาชิกสภาคองเกรส ซึ่งมีผู้หญิงคนหนึ่งระบุตนว่าเป็นพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลในคูเวต พร้อมอธิบายว่าเห็นทหารอิรักนำเด็กทารกออกจากเครื่องอบและทิ้งให้ทารกตายบนพื้น[56]

เรื่องดังกล่าวส่งอิทธิพลต่อทั้งสาธารณะและสภาคองเกรสในเรื่องการทำสงครามกับอิรัก สมาชิกสภาหกคนเห็นว่าเรื่องเล่าดังกล่าวเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะให้ใช้กองทัพจัดการกับอิรักและมีวุฒิสมาชิกอีกเจ็ดคนที่นำเรื่องดังกล่าวสู่การถกเถียง วุฒิสภาสนับสนุนให้มีการลงมือทางทหารด้วยเสียงโหวต 52 ต่อ 47 เสียง อย่างไรก็ตามหนึ่งปีหลังจากสงครามเริ่มขึ้น การให้การดังกล่าวถูกเปิดเผยว่าเป็นเรื่องโกหก ผู้หญิงคนดังกล่าวที่เป็นคนให้การถูกพบในภายหลังว่าเป็นสมาชิกราชวงศ์ของคูเวต และเป็นลูกสาวของทูตคูเวตในสหรัฐ[56] เธอไม่ได้อาศัยอยู่ในคูเวตตอนที่อิรักทำการบุกด้วยซ้ำ

รายละเอียดของการประชาสัมพันธ์โดยบริษัทฮิลล์แอนด์โนล์ตันถูกตีพิมพ์ในหนังสือ Second Front: Censorship and Propaganda in the Gulf War ที่เขียนโดยจอห์น อาร์. แมคอาเธอร์ และเป็นที่สนใจในหมู่ประชาชนเมื่อความคิดเห็นของแมคไนท์ถูกตีพิมพ์ใน"เดอะนิวยอร์กไทมส์" สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีการกระตุ้นให้เกิดการตรวจสอบ หลังจากที่ไม่พบหลักฐานเรื่องที่ทหารอิรักปฏิบัติกับเด็กทารก องค์กรดังกล่าวก็ถอนตัวออกไป ประธานาธิบดีบุชได้ย้ำเรื่องข้อกล่าวหาดังกล่าวอีกครั้งทางโทรทัศน์

ในขณะเดียวกัน กองทัพบกอิรักได้ก่ออาชญากรรมหลายครั้งซึ่งถูกบันทึกเอาไว้ในช่วงที่่เข้ายึดครองคูเวต เช่น การประหารนักโทษสามพี่น้องโดยปราศจากการไต่สวน ศพของทั้งสามถูกสุมทิ้งไว้ให้เน่าอยู่กลางถนน[57] ทหารอิรักยังได้เข้าปล้นสะดมบ้านของประชาชนอีกด้วย บ้านหลังหนึ่งถูกใช้เป็นที่ถ่ายของเสียอยู่บ่อยครั้ง[58] ต่อมาผู้อยู่อาศัยคนหนึ่งกล่าวว่า "เรื่องทั้งหมดเป็นการใช้ความรุนแรงแก้ไขความรุนแรง เป็นการใช้การทำลายเพื่อต่อกรกับอีกการทำลาย... คุณลองนึกถึงภาพวาดเหนือความจริงของซัลวาดอร์ ดาลีดูสิ"[59]

สงครามช่วงต้น

การทัพทางอากาศ

The USAF F-117 Nighthawk, one of the key players in Desert Storm.

ส่งครามอ่าวเริ่มขึ้นด้วยการทิ้งระเบิดทางอากาศอย่างดุเดือดในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 เครื่องบินของกองกำลังผสมทำการบินกว่า 1 แสนครั้งพร้อมทิ้งระเบิดกว่า 88,500 ตัน[60] และได้ทำลายสิ่งก่อสร้างทางทหารและพลเรือนไปเป็นจำนวนมาก[61] การศึกทางอากาศบัญชาการโดยพลอากาศโทชัค ฮอร์เนอร์จากกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำหน้าเป็นเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในขณะที่นายพลชวาซคอพฟ์ยังอยู่ที่สหรัฐ

หนึ่งวันหลังจากเส้นตายตามมติที่ 678 กองกำลังผสมได้เปิดการศึกทางอากาศขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นปฏิบัติการพายุทะเลทราย จุดประสงค์หลักของกองกำลังผสมคือการเข้าทำลายกองทัพอากาศและฐานต่อต้านอากาศยานของอิรัก การบินส่วนมากมีฐานจากซาอุดิอาระเบียและกองเรือบรรทุกเครื่องบินทั้งหกลำของกองกำลังผสมที่จอดอยู่ในอ่าวเปอร์เซียและทะเลแดง

An Iraqi T-54A or Type 59 tank lies destroyed after a Coalition bombing attack during Operation Desert Storm.

เป้าหมายต่อไปคือศูนย์อำนวยความสะดวกและศูนย์บัญชาการของอิรัก ซัดดัม ฮุสเซนได้ทำการจัดการกองทัพอิรักด้วยตัวเองทั้งหมดในสงครามอิหร่าน-อิรัก นักยุทธวิธีของกองกำลังผสมหวังที่จะให้การต่อต้านของอิรักพังทลายลงให้เร็วที่สุดเมื่อศูนย์บัญชาการและควบคุมถูกทำลาย

การศึกทางอากาศครั้งที่สามเป็นครั้งใหญ่ที่สุดโดยเล็งเป้าไปที่กองกำลังทหารที่อยู่ในอิรักและคูเวต เช่น ขีปนาวุธสกั๊ด ศูนย์วิจัยอาวุธ และกองกำลังทางทะเล กองกำลังทางอากาศ 1 ใน 3 ของกองกำลังผสมได้รับมอบหมายให้ทำลายขีปนาวุธสกั๊ด ซึ่งบางลูกติดตั้งบนรถบรรทุกซึ่งทำให้ตามหาได้ยาก หน่วยรบพิเศษของสหรัฐและสหราชอาณาจักรได้แทรกซึมเข้าไปทางตะวันตกของอิรักเพื่อค้นหาและทำลายขีปนาวุธดังกล่าว

การป้องกันทางอากาศของอิรักที่มีทั้ง อาวุธเคลื่อนที่ได้ พบว่าไร้ประสิทธิภาพต่อเครื่องบินของกองกำลังผสมอย่างมาก โดยกองกำลังผสมสูญเสียเครื่องบินไปเพียง 75 ลำจากการบินทั้งหมด 1 แสนครั้ง ในจำนวนนั้น 44 ลำถูกยิงตกโดยอิรัก 2 ลำชนกับพื้นดินขณะหลบการยิงจากทหารอิรักบนพื้น[62][63] หนึ่งลำถูกยิงตกโดยเครื่องบินอิรัก[64]

อิรักใช้ขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลและซาอุดิอาระเบีย

รัฐบาลของอิรักเตรียมพร้อมที่จะโจมตีกลับเสมอหากถูกรุกราน ก่อนที่สงครามเริ่มต้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิรักทาริก อซิซถูกสัมภาษณ์โดยนักข่าวหลังจากการประชุมเพื่อสันติภาพกับสหรัฐที่เจนีวาล้มเหลวลง นักข่าวถามเขาว่า "ท่านรัฐมนตรีครับ ถ้าสงครามเริ่มขึ้น...อิรักจะตอบโต้หรือไม่" นายทาริกตอบว่า "ครับ แน่นอน"[65][66]

ห้าชั่วโมงหลังจากการโจมตีครั้งแรก วิทยุของอิรักได้ประกาศว่า "ชัยชนะของเราอยู่แค่เอื้อมเมื่อเราเริ่มตอบโต้นี้" อิรักได้ยิงขีปนาวุธแปดลูกในวันต่อมา การใช้ขีปนาวุธเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดสงคราม มีการยิงขีปนาวุธสกั๊ดไปทั้งหมด 88 ลูกในช่วงเจ็ดสัปดาห์ของสงคราม[67]

อิรักหวังว่าจะกระตุ้นให้อิสราเอลเข้าร่วมสงครามด้วย รัฐบาลอิรักหวังว่าชาติอาหรับหลายชาติจะถอนตัวออกจากกองกำลังผสมหากอิสราเอลเข้าร่วมเพราะชาติอาหรับอาจลังเลใจที่จะอยู่ข้างเดียวกันกับอิสราเอล[37] หลังจากการโจมตีครั้งแรก กองทัพอากาศอิสราเอลได้ส่งเครื่องบินเข้าลาดตระเวนบริเวณน่านฟ้าทางเหนือของอิรัก อิสราเอลเตรียมกองทัพเพื่อตอบโต้ตามนโยบายของตนตลอด 40 ปีที่ใช้การตอบโต้มาโดยตลอด อย่างไรก็ดีประธานาธิบดีบุชได้กดดันนายกเทศมนตรีของอิสราเอลยิตซัค ชาเมียร์ให้อยู่เฉยๆ เพราะกลัวว่าหากอิสราเอลโจมตีอิรัก ชาติอาหรับอื่นๆ อาจถอนตัวออกจากกองกำลังผสมหรือเข้าร่วมกับอิรัก นอกจากนี้สหรัฐยังกลัวว่าหากอิสราเอลใช้น่านฟ้าของซีเรียหรือจอร์แดนในการโจมตีอิรัก ชาติเหล่านั้นก็จะเข้าร่วมกับอิรักหรือโจมตีอิสราเอล กองกำลังผสมให้สัญญาว่าจะใช้ขีปนาวุธเพเทรียตป้องกันอิสราเอลจากขีปนาวุธสกั๊ด[68][69]

(ขวา) ชาวอิสราเอลหลบหาที่กำบังจากการโจมตีและ (ซ้าย) สภาพที่อยู่อาศัยในรามัตกันในอิสราเอลหลังถูกโจมตี (ขวา) ชาวอิสราเอลหลบหาที่กำบังจากการโจมตีและ (ซ้าย) สภาพที่อยู่อาศัยในรามัตกันในอิสราเอลหลังถูกโจมตี
(ขวา) ชาวอิสราเอลหลบหาที่กำบังจากการโจมตีและ (ซ้าย) สภาพที่อยู่อาศัยในรามัตกันในอิสราเอลหลังถูกโจมตี

ขีปนาวุธสกั๊ดที่ยิงใส่อิสราเอลนั้นพบว่าไร้ประสิทธิภาพ ด้วยการยิงที่พิสัยสูงสุดส่งผลให้ความแม่นยำและน้ำหนักระเบิดลดลง ห้องสมุดเสมือนชาวยิวได้รายงานว่ามีชาวอิสราเอล 74 คนเสียชีวิตจากการโจมตีของอิรัก สองคนเสียชีวิตจากการถูกระเบิดและที่เหลือเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจและหัวใจวายเฉียบพลัน[70] มีชาวอิสราเอลประมาณ 230 คนได้รับบาดเจ็บ[7] ในเหตุการณ์หนึ่งได้เกิดการโจมตีเข้าที่ละแวกเทล อะวิฟ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตสามรายและบาดเจ็บอีก 96 ราย[71] ทรัพย์สินมหาศาลได้รับความเสียหาย กระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลกล่าวว่า "ความเสียหายทั่วไปแก่ทรัพย์สินได้แก่ บ้าน 1,302 หลัง อพาร์ทเมนท์ 6,142 แห่ง สิ่งก่อสร้างสาธารณะ 23 แห่ง ร้านค้า 200 ร้าน และรถ 50 คัน"[72] เป็นที่กลัวกันว่าอิรักจะยิงขีปนาวุธที่มีส่วนประกอบของแก๊ซทำลายประสาทหรือซาริน ผลที่ตามมาคือรัฐบาลอิสราเอลได้แจกจ่ายหน้ากากกันแก๊ซให้กับประชาชนของตน เมื่อขีปนาวุธลูกแรกยิงเข้าใส่อิสราเอล มีผู้คนบางจำนวนที่ฉีดยาถอนพิษให้กับตัวเอง

สภาพค่ายทหารสหรัฐที่ถูกอิรักโจมตี

เพื่อโต้ตอบการใช้ขีปนาวุธของอิรัก สหรัฐได้ส่งขีปนาวุธเพเทรียตจำนวนมากเข้าไปยังอิสราเอลโดยมีแท่นยิงจรวดเอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียตสองแท่นเพื่อเอาไว้ปกป้องประชาชน[73] กองทัพอากาศของกองกำลังผสมทำการฝึกล่าขีปนาวุธสกั๊ดอย่างจริงจังในทะเลทรายของอิรัก เพื่อหาตำแหน่งรถถังบรรทุกที่พรางตัวก่อนที่อิรักจะใช้มันยิงขีปนาวุธเข้าใส่อิสราเอลหรือซาอุดิอาระเบียได้ ทางภาคพื้นดินหน่วยรบพิเศษได้ทำการแทรกซึมเข้าไปยังอิรักเพื่อค้นหาและทำลายขีปนาวุธสกั๊ด เมื่อหน่วยรบพิเศษทำงานร่วมกับหน่วยลาดตระเวนทางอากาศทำให้การโจมตีมีความแม่นยำขึ้น ทางอิรักจึงเริ่มปรับเปลี่ยนยุทธวิธีเช่นกัน

กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ใช้ขีปนาวุธเพเทรียตเพื่อตอบโต้ขีปนาวุธสกั๊ดเช่นกัน กระทรวงกลาโหมของเนเธอร์แลนด์กล่าวในเวลาต่อมาว่าการใช้เพเทรียตส่วนมากนั้นไร้ประสิทธิภาพ แต่ผลทางจิตวิทยานั้นกลับเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก แม้ว่าขขีปนาวุธเพเทรียตเองจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าที่ขีปนาวุธสกั๊ดทำเสียอีก[74][75] มีการแนะนำว่าการที่อิสราเอลเสริมความแข็งแกร่งให้กับเมืองของตนนั้นมีบทบาทสำคัญที่ทำให้อิสราเอลสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากขีปนาวุธสกั๊ดได้ รวมทั้งเป็นเพราะว่าขีปนาวุธสกั๊ดจะทำการยิงแค่ในตอนกลางคืนเท่านั้น[7]

การทัพทางบก

กองกำลังผสมได้ครอบครองพื้นที่ในอากาศด้วยความได้เปรียบทางเทคโนโลยี แต่ทางบกนั้นกองกำลังถูกมองว่าเทียบกันไม่ได้ กองกำลังทางบกของกองกำลังผสมนั้นได้เปรียบด้วยการที่สามารถปฏิบัติการภายใต้การป้องกันทางอากาศ ซึ่งเป็นเพราะว่ากองทัพอากาศเฝ้าน่านฟ้าก่อนหน้าที่จะมีการบุก กองกำลังผสมมีสองปัจจัยสำคัญในความได้เปรียบทางเทคโนโลยี คือ

  1. รถถังประจัญบานหลักของกองกำลังผสมคือเอ็ม1 เอบรามส์ของสหรัฐ ชาเลนเจอร์ 1 ของอังกฤษ และเอ็ม-84เอบีของคูเวต พวกมันล้วนเหนือกว่าที-72 ของโซเวียตที่ใช้โดยอิรัก ด้วยการที่พวกมันมีลูกเรือที่ได้รับการฝึกมาดีและกองยานเกราะที่เหนือกว่า;
  2. การใช้จีพีเอสทำให้กองกำลังผสมสามารถหาทางได้โดยไม่ต้องพึ่งถนนหรือจุดสังเกต เมื่อรวมกับการสอดแนมทางอากาศทำให้พวกเขามีความได้เปรียบทางการเคลื่อนพลมากกว่าการโต้กลับ พวกเขารู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหนและศัตรูอยู่ที่ไหน ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถทำการโจมตีได้อย่างแม่นยำ

เริ่มบุกเข้าอิรัก

ขั้นตอนการบุกทางบกใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่าปฏิบัติการดีเซิร์ทเซเบอร์[76] หน่วยแรกที่เคลื่อนที่เข้าอิรักคือทีมลาดตระเวนสามทีมจากหน่วยเอสเอเอสของอังกฤษ โดยใช้ชื่อรหัสว่าบราโววันซีโร่ บราโวทูซีโร่ และบราโวทรีซีโร่ กลุ่มลาดตระเวนที่ประกอบด้วยทหารแปดนายเหล่านี้ได้แทรกซึมเข้าไปหลังแนวของอิรักเพื่อรวบรวมข้อมูลของขีปนาวุธสกั๊ดซึ่งมองเห็นได้ยากจากทางอากาศ ในตอนกลางวันพวกมันจะถูกซ่อนเอาไว้ซ่อนตัวใต้สะพานและลายพราง เป้าหมายอื่นๆ รวมทั้งการทำลายเครื่องยิงขีปนาวุธและการสื่อสารที่อยู่ในท่อ

ส่วนของกองพันทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐได้ทำการสอดแนมในอิรักเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2534 ตามมาด้วยการเข้าทำลายกองทหารของอิรักในวันที่ 20 กุมภาพันธ์[ต้องการอ้างอิง] ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 อิรักได้ตกลงตามข้อตกลงหยุดยิงที่เสนอโดยโซเวียต ข้อตกลงนั้นระบุให้อิรักถอนทหารออกไปยังตำแหน่งก่อนการบุกภายใน 6 สัปดาห์หลังจากการหยุดยิง และระบุให้มีการเฝ้าตรวจตราการหยุดยิงโดยสภาความมั่นคงของยูเอ็น กองกำลังผสมได้ปฏิเสธข้อเสนอแต่กล่าวว่าการถอนกำลังของอิรักจะไม่ถูกขัดขวาง [ต้องการอ้างอิง] และให้เวลา 24 ชั่วโมงกับอิรักเพื่อเริ่มถอนกำลัง ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ผลของการต่อสู้ทำให้มีทหารอิรัก 500 ถูกจับ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์กองยานเกราะของอังกฤษและสหรัฐได้ข้ามชายแดนของอิรัก-คูเวตและเข้าสู่อิรัก พวกเขาจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก การต่อต้านของอิรักมีน้อยมากและมีทหารอเมริกันเพียง 4 นายเท่านั้นที่ถูกสังหาร[77] อย่างไรก็ตามในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ทหารอิรักได้ทำการยิงขีปนาวุธเข้าใส่ค่ายทหารของกองกำลังผสมในเมืองดารานประเทศซาอุดิอาระเบีย การโจมตีครั้งนั้นทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตไป 28 นาย[78]

กองกำลังผสมเข้าสู่อิรัก

ไม่นานหลังจากที่สหรัฐรวมกำลังและมีหัวหอกเป็นกองทหารม้ายานเกราะที่ 2 พวกเขาก็เริ่มการเข้าโจมตีอิรักในเช้าวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ในทางตะวันตกของคูเวต ทำให้ฝ่ายอิรักประหลาดใจ ในเวลาเดียวกันนั้นเหล่ากองกำลังขนส่งทางอากาศของสหรัฐก็เข้าเก็บกวาดท้องทะเลทรายที่ไร้การป้องกันในทางใต้ของอิรัก ซึ่งนำโดยกองทหารม้ายานเกราะที่ 3 และกองพันทหารราบที่ 24 ทางปีกซ้ายได้รับการป้องกันจากกองยานเกราะขนาดเบาที่ 6 ของฝรั่งเศส กองกำลังของฝรั่งเศสเอาชนะกองพันทหารราบที่ 45 ได้อย่างรวดเร็วโดยได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย พวกเขาได้เข้าปิดกั้นการโต้ตอบของอิรักต่อปีกซ้ายของกองกำลังผสม ทางปีกขวาได้รับการป้องกันจากกองพันยานเกราะที่ 1 ของอังกฤษ เมื่อเหล่าพันธมิตรได้บุกลึกเข้าไปในเขตแดนของอิรัก พวกเขาก็หันหน้าไปทางตะวันออกเพื่อเริ่มการโจมตีรีพับลิกันการ์ดก่อนที่พวกเขาจะหลบหนี การสู้รบกินเวาลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ยานเกราะ 50 คันของอิรักถูกทำลาย กองกำลังผสมได้รับความเสียหายน้อยมาก

เศษซากยานพาหนะของพลเรือนและของทหารบนทางหลวงมรณะ

การรุกของกองกำลังผสมนั้นรวดเร็วกว่าที่เหล่านายพลของสหรัฐคาดการณ์เอาไว้ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ทหารของอิรักได้เริ่มล่าถอยออกจากคูเวต พวกเขาวางเพลิงบ่อน้ำมันในตอนที่พวกเขาจากไป (มีบ่อน้ำมัน 73 แห่งที่ถูกวางเพลิง) ขบวนรถที่ยาวเหยียดของอิรักถอดแนวยาวตลอดทางหลวงคูเวต-อิรัก แม้ว่าพวกเขาจะล่าถอย แต่ขบวนรถนี้ก็ถูกทิ้งระเบิดใส่ยับเยินโดยกองกำลังผสมซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อทางหลวงมรณะ ทหารอิรักนับร้อยถูกสังหาร กองกำลังของสหรัฐ สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสยังคงไล่ตามกองกำลังที่ล่าถอยของอิรักข้ามชายแดนและกลับเข้าในอิรัก การต่อสู้เกิดขึ้นถี่มากซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียต่อิรักมหาศาลแต่น้อยต่อกองกำลังผสม ในท้ายที่สุดแล้วการต่อสู้ก็อยู่ห่างจากแบกแดดเพียง 150 ไมล์

100 ชั่วโมงหลังจากที่การทัพทางบกเริ่มขึ้น ประธานาธิบดีบุชก็ได้ประกาศให้มีการหยุดยิงในวันที่ 6 เมษายน โดยประกาศว่าคูเวตเป็นอิสระแล้ว

การวิเคราะห์ทางทหารหลังสงคราม

แม้ว่าในตอนนั้นสื่อของตะวันตกได้กล่าวว่ามีทหารอิรักประมาณ 545,000-600,000 นาย แต่ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญคิดว่าการนับจำนวนและคุณภาพของทหารอิรักในตอนนั้นผิดพลาด เพราะพวกเขาได้รวบเอาทั้งปัจจัยประกอบมากมาย ทหารอิรักจำนวนมากยังหนุ่มและได้รับการฝึกมาไม่ดี

กองกำลังผสมแนะว่ามีทหารประมาณ 540,000 นาย นอกจากนี้แล้วมีอีก 100,000 คนที่เป็นทหารตุรกีซึ่งอยู่ตามชายแดน สิ่งนี้เป็นการทำให้ทหารอิรักต้องกระจายตัวออกไปตามชายแดนและหมายความว่ามันเป็นการลดความแข็งแกร่งของกองทัพ มันทำให้สหรัฐไม่เพียงได้เปรียบทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของจำนวนที่เหนือกว่าอีกด้วย

หารสนับสนุนที่กระจายกันออกไปของอิรักในสงครามอิรัก-อิหร่านทำให้อิรักต้องใช้อาวุธจากพ่อค้าอาวุธทั่วโลก นั่นทำให้เกิดกองกำลังที่ไม่มีมาตรฐานขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบกับการไร้การฝึกและการเคลื่อนที่ กองยานเกราะส่วนใหญ่ของอิรักยังคงใช้รถถังเก่าๆ ของจีนอย่างไทป์ 59 และไทป์ 69 ที-55 ของโซเวียตจากพ.ศ. 2493 และ 2503 และที-72 ตั้งแต่พ.ศ. 2513 รถถังเหล่านี้ไม่ได้รับอุปกรณ์ที่พัฒนาแล้ว อย่างกล้องมองความร้อนหรือเลเซอร์วัดระยะ และประสิทธิภาพของพวกมันก็มีอย่างจำกัด อิรักล้มเหลวที่จะหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาโต้ตอบกล้องจับความร้อนและกระสุนแซ็บบ็อทที่ใช้โดยกองกำลังผสม อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้รถถังของกองกำลังผสมสามารถต่อกรและทำลายรถถังของอิรักได้จากระยะที่ไกลกว่าฝ่ายอิรักถึง 3 เท่า รถถังอิรักใช้กระสุนเจาะเกราะที่เก่าและถูกในการจัดการกับเกราะช็อบแฮมของสหรัฐและอังกฤษ กองกำลังอิรักยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการรบในเมือง ต่อสู้ภายในคูเวตซิตี ซึ่งจะทำให้ฝ่ายบุกได้รับความสูญเสียอย่างมาก การต่อสู้ในเมืองเป็นการลดระยะในการเข้าปะทะและลดความได้เปรียบของเทคโนโลยีบางประเภท

อิรักยังได้พยายามใช้ยุทธวิธีแบบโซเวียต แต่ก็ล้มเหลวเพราะว่าขาดทักษะของผู้บัญชาการและไร้การป้องกันจากกองกำลังทางอากาศของกองกำลังผสมที่เข้าโจมตีเครื่องมือสื่อสารและบังเกอร์ของพวกเขา

การมีส่วนร่วมของกองกำลังผสม

สมาชิกของกองกำลังผสมมีอาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย บาห์เรน บังกลาเทศ เบลเยียม แคนาดา เชสโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก อียิปต์ ฝรั่งเศส กรีซ ฮอนดูรัส ฮังการี อิตาลี คูเวต โมรอกโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ไนเจอร์ นอร์เวย์ โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โปรตุเกส การ์ตา โรมาเนีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล เกาหลีใต้ สเปน ซีเรีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[5] เยอรมนีและญี่ปุ่นนั้นเป็นฝ่ายให้ทุนช่วยเหลือและมอบฮาร์ดแวร์แทนที่จะเป็นการช่วยเหลือโดยตรง สหรัฐได้ขอให้อิสราเอลอย่าเข้าร่วมสงคราม แม้ว่าการโจมตีจากขีปนาวุธจะเกิดขึ้นในอิสราเอลก็ตาม อินเดียได้ให้การสนับสนุนทางทหารแก่สหรัฐในรูปแบบของการให้เชื้อเพลิงในทะเลอาหรับ

สหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักรเป็นประเทศจากยุโรปที่มีส่วนร่วมมากที่สุด ปฏิบัติการแกรนบี้เป็นชื่อของปฏิบัติการในอ่าวเปอร์เซีย กองทัพบก (มีกองกำลังหลักคือกองพลยานเกราะที่ 1) กองทัพอากาศ และกองทัพเรือของอังกฤษได้เคลื่อนกำลังเข้าสู่อ่าว กองทัพอากาศได้ใช้อากาศยานหลายรูปแบบที่ปฏิบัติการจากฐานบินในซาอุดิอาระเบีย]] มียานเกราะเกือบ 2,500 คันและทหาร 43,000 นาย[5] were shipped for action.

ทางกองทัพเรือได้วางกำลังเรือในอ่าวโดยมีเรือฟริเกตชั้นบรอดซอร์ด และเรือพิฆาตชั้นเชฟฟีลด์ เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเบาอาร์คโรยัลไม่ได้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่อ่าว แต่ถูกวางตำแหน่งไว้ที่ทะเลมิดิเตอร์เรเนียนแทน

ฝรั่งเศส

กองกำลังของยุโรปที่ใหญ่รองลงมาคือของฝรั่งเศส โดยมีทหาร 18,000 นาย[5] พวกเขาทำหน้าที่ที่ด้านปีกซ้ายของกองพลขนส่งทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐ กองกำลังหลักของฝรั่งเศสคือกองพลยานเกราะขนาดเบาที่ 6 รวมทั้งทหารจากกองกำลังต่างแดนของฝรั่งเศส ในตอนแรกฝรั่งเศสทำหน้าที่ภายใต้คำสั่งและการควบคุมที่แยกต่างหาก แต่ก็ทำงานร่วมกับอเมริกา ซาอุ และเซนท์คอม (CENTCOM) อย่างใกล้ชิด ในเดือนมกราคมกองกำลังก็ถูกวางกำลังภายใต้การควบคุมของกองพลขนส่งทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐ ฝรั่งเศสยังได้วางกำลังอากาศยานและเรือรบอีกด้วย ฝรั่งเศสเรียกมันว่าOpération Daguet

แคนาดา

แถวของเอพีซีเอ็ม-113 และยานพาหนะอื่นๆ ของกองทัพบกซาอุดิอาระเบียที่กำลังเคลื่อนพลไปตามทางฝ่าทุ่งกับระเบิดในปฏับัติการพายุทะเลทรายในคูเวต เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534

แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ตกลงที่จะลงโทษการกระทำของอิรักและไม่นานก็ร่วมกับกองกำลังผสมที่นำโดยสหรัฐ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีแห่งแคนาดาไบรอัน มัลโรนีย์ได้สั่งให้กองกำลังแคนาดาใช้เรือหลวงอธาบาสคันและเรือรบหลวงเทอร์ราโนว่าเพื่อเข้าร่วมกับกองกำลังบุกทางทะเล เรือเสบียงเรือหลวงโปรเทกเตอร์ก็ถูกส่งเข้าไปให้การช่วยเหลือกองกำลังผสมในอ่าวเปอร์เซีย เรือลำที่สี่คือเรือหลวงฮิวรอนที่เข้าร่วมเมื่อศัตรูทำการหยุดยิงและไปเยือนคูเวต

หลังจากที่ยูเอ็นได้ออกคำสั่งให้ใช้กองกำลังเต็มรูปแบบเพื่อจัดการกับอิรัก กองกำลังของแคนาดาได้ใช้ซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ทพร้อมกับบุคลากรสนับสนุนเช่นเดียวกับโรงพยาบาลสนามเพื่อช่วยเหลือคนเจ็บ เมื่อสงครามทางอากาศเริ่มขึ้นซีเอฟ-18 ของแคนาดาก็ถูกรวมเข้ากับกองกำลังผสมและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่คุ้มกันทางอากาศและโจมตีเป้าหมายบนพื้นดิน นี่เป็นครั้งแรกตั้งแต่สงครามเกาหลีที่กองทัพแคนาดาได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการโจมตี

กำลังพลสูญเสีย

กองกำลังผสม

มีการรายงานว่ากองกำลังสหรัฐเสียทหารไปในการรบ 148 นาย (35 นายเสียชีวิตจากการยิงพวกเดียวกันเอง) มีนักบินหนึ่งนายที่ขึ้นว่าสูญหาย (ร่างของเขาถูกพบและระบุตัวได้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552) อีก 145 นายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ[79] สหราชอาณาจักรเสียทหารไป 47 นาย (9 นายเสียชีวิตจากการยิงพวกเดียวกันเอง) ฝรั่งเศสเสียไป 2 นาย และอาหรับ ไม่รวมคูเวต เสียทหารไป 37 นาย (ซาอุ 18 นาย อียิปต์ 10 นาย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 6 นาย และซีเรีย 3 นาย)[79] ทหารคูเวตอย่างน้อย 605 นายที่ยังคงหายสาบสูญหลังจากผ่านไป 10 ปี[80]

การสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในกองกำลังผสมคือเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เมื่อขีปนาวุธอัล ฮุสเซนของอิรักตกใส่ค่ายทหารอเมริกาในเมืองดารานประเทศซาอุดิอาระเบีย ทำให้ทหารสหรัฐเสียชีวิตไป 28 นาย ทั้งสิ้นมีทหารของกองกำลังผสมเสียชีวิตไป 190 นายด้วยฝีมือทหารอิรัก 113 นายเป็นอเมริกัน จากการตายทั้งหมด 358 นาย ทหารอีก 44 นายถูกสังหารและ 57 นายได้รับบาดเจ็บจากการยิงพวกเดียวกันเอง ทหาร 145 นายเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุจากการระเบิดหรือไม่ใช่การรบ[ต้องการอ้างอิง]

ผู้บาดเจ็บของกองกำลังผสมอยู่ที่ประมาณ 776 รวมทั้งทหารอเมริกัน 458 นาย[81]

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปีพ.ศ. 2543 ทหารผ่านศึกจากสงครามอ่าวจำนวน 183,000 นาย เป็นจำนวนที่มากกว่าเสี้ยวหนึ่งของทหารอเมริกาที่เข้าร่วมสงคราม ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าถูกปลดประจำการจากกลุ่มทหารผ่านศึก[82] มีทหารประมาณ 30% จาก 7 แสนนายทั้งชายและหญิงที่รับใช้ในกองกำลังสหรัฐในสงครามอ่าวที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจ[83]

ทหารกองกำลังผสม 190 นายถูกสังหารโดยทหารอิรัก ที่เหลืออีก 379 นายเสียชีวิตเพราะยิงพวกเดียวกันเอง จำนวนนี้ต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ท่ามกลางการตายของทหารอเมริกันมีทหารหญิง 3 นาย

สหรัฐ สหรัฐอเมริกา - 293 นาย (ถูกข้าศึกสังหาร 113 นาย อุบัติเหตุ 145 นาย ยิงพวกเดียวกันเอง 35 นาย)

สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร - 47 นาย (ถูกข้าศึกสังหาร 38 นาย ยิงพวกเดียวกันเอง 9 นาย)

ซาอุดีอาระเบีย ซาอุดิอาระเบีย - 18 นาย[84]

อียิปต์ อียิปต์ - 11 นาย[85]

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ - 6 นาย[86]

ซีเรีย ซีเรีย - 2 นาย[87]

ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส - 2 นาย

คูเวต คูเวต - 1 นาย (จากปฏิบัติการพายุทะเลทราย)[88]

การยิงพวกเดียวกัน

ในขณะที่การตายของกองกำลังผสมมาจากการปะทะกับทหารอิรักนั้นต่ำมาก การตายส่วนมากเกิดจากการยิงพวกเดียวกันเอง ทหารอเมริกัน 148 นายที่เสียชีวิตในการรบมี 24% ที่ถูกพวกเดียวกันเองยิง อีก 11 นายเสียชีวิตจากการระเบิด ทหารอังกฤษ 9 นายถูกสังหารโดยพวกเดียวกันเองเมื่อเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 ของกองทัพอากาศสหรัฐโจมตีใส่กลุ่มยานพาหนะของพันธมิตร

อิรัก

จำนวนที่แท้จริงของผู้เสียชีวิตของฝ่ายอิรักนั้นไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่มีจำนวนมากแน่นอน มีการประมาณว่าอิรักเสียทหารประมาณ 20,000-35,000 นาย[89]

รายงานของกองทัพอากาศสหรัฐ ประมาณว่ามีทหารอิรักเสียชีวิต 10,000-12,000 นายจากการทัพทางอากาศและบนพื้นดินอาจมีถึง 10,000 นาย[90] การประเมินนี้อ้างอิงจากการรายงานจำนวนเชลยศึกชาวอิรัก เป็นที่ทราบกันว่ามีทหารอิรักเสียชีวิต 20,000 นาย

รัฐบาลของซัดดัมแจ้งจำนวนพลเรือนที่เสียชีวิตสูงมากเพื่อเรียกร้องการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศอิสลาม[ต้องการอ้างอิง] รัฐบาลอิรักอ้างว่ามีพลเรือนเสียชีวิต 2,300 รายจากการทัพทางอากาศ

ตามการศึกษาของการป้องกันทางเลือก (Defense Alternatives)[91] มีพลเรือนประมาณ 20,000 รายและทหารอีก 26,000 นายที่ถูกสังหาร ทหารอิรักได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 75,000 นายในสงคราม

พลเรือน

จากการโจมตีทางอากาศทั้งของเครื่องบินรบและขีปนาวุธร่อนทำให้มีการโต้เถียงอย่างรุนแรงถึงอัตราการตายของพลเรือนในช่วงแรกของสงคราม ภายใน 24 ชั่วโมงแรกของสงครามมีการบินมากกว่า 1,000 เที่ยว หลายครั้งที่มีเป้าหมายอยู่ในแบกแดด เมืองได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดเพราะว่ามันเป็นที่ตั้งของซัดดัม ฮุสเซนและศูนย์บัญชาการทางทหาร อย่างไรก็ตามมันก็ทำให้พลเรือนได้รับความสูญเสียอย่างมาก

ตลอดการทัพที่ทิ้งระเบิดเป็นระยะเวลานานก่อนที่จะเริ่มการบุกภาคพื้นดิน มันได้ทำให้พลเรือนได้รับความเสียหายอย่างมาก ในเหตุการณ์หนึ่งเครื่องบินทิ้งระเบิดสเตลท์ได้โจมตีบังเกอร์ในอาเมียร์ย่า ทำให้พลเรือนเสียชีวิตไป 200-400 ราย ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยในตอนนั้น ผลที่ตามมาคือภาพสถานที่เกิดเหตุถูกถ่ายทอดและการโต้เถียงในเรื่องสถานะของบังเกอร์ก็เกิดขึ้น โดยมีบางคนที่กล่าวว่ามันเป็นที่หลบภัยของพลเรือนในขณะที่คนอื่นๆ กล่าวว่ามันเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารและพลเมืองถูกย้ายไปที่นั่นเพื่อใช้เป็นโล่มนุษย์ การสอบสวนของBeth Osborne Daponteได้ประมาณว่ามีพลเรือนบาดเจ็บสาหัส 3,500 รายจากการทิ้งระเบิด[89][92][93] กองกำลังผสมอ้างว่าพวกเขาได้หลีกเลี่ยงการโจมตีเป้าหมายในเขตพลเรือนและหลีกเลี่ยงการทำลายที่อยู่อาศัยของพลเรือน ไม่เหมือนกับการทัพก่อนหน้าอย่างการทิ้งระเบิดโตเกียวในสงครามโลกครั้งที่ 2

การตายของพลเรือนจากขีปนาวุธสกั๊ด

ขีปนาวุธสกั๊ด 42 ลูกถูกยิงเข้าใส่อิสราเอลโดยอิรักตลอด 7 สัปดาห์ของสงคราม[94] พลเรือนอิสราเอลสองคนเสียชีวิตจากการโจมตี มีบาดเจ็บอีก 230 ราย ในรายงาน 10 คนได้รับบาดเจ็บปานกลางและสาหัสหนึ่งราย[7] อีกหลายคนตายเพราะหัวใจวาย อิสราเอลกระหายที่จะโต้ตอบด้วยกำลังทางทหาร แต่ตกลงที่จะไม่เข้าร่วมเมื่อรัฐบาลสหรัฐขอร้อง ซึ่งกลัวว่าหากอิสราเอลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ประเทศอาหรับอื่นๆ ก็จะเข้าร่วมกับอิรัก อสราเอลได้รับแท่นยิงเอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียทสำหรับการป้องกันขีปนาวุธ[95] กองทัพอากาศเนเธอแลนด์ยังติดตั้งขีปนาวุธเพเทรียทเอาไว้ในตุรกีและอิสราเอลเพื่อตอบโต้จากโจมตีจากสกั๊ด ต่อมากระทรวงกลาโหมของเนเธอแลนด์ได้กล่าวว่าการใช้ขีปนาวุธเพเทรียทนั้นไม่มีประสิทธิภาพ แต่คุณค่าทางจิทยานั้นก็สูง[75] มีการแนะนำว่าการก่อสร้างที่แข็งแรงในอิสราเอล และด้วยเหตุที่ว่าสกั๊ดมักยิงในตอนกลางคืน เป็นปัจจัยที่ทำให้มีการเสียชีวิตและบาดเจ็บน้อย[7]

นอกจากนี้แล้วขีปนาวุธวกั๊ด 44 ลูกถูกยิงถล่มซาอุดิอาระเบีย หนึ่งลูกยิงใส่บห์เรน และอีกลูกยิงใส่กาตาร์ ขีปนาวุธถูกยิงใส่เป้าหมายทางทหารและของพลเรือน ชาวซาอุหนึ่งคนถูกสังหารและ 65 รายได้รับบาดเจ็บ ส่วนบาห์เรนและกาตาร์ไม่มีดานรายงานถึงผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ขีปนาวุธลูกหนึ่งตกใส่ค่ายทหารของสหรัฐในดารานประเทศศาอุ ทำให้ทหารเสียชีวิตไป 28 นายและบาดเจ็บกว่า[96]

ข้อโต้เถียง

กัลฟ์วอร์ซินโดรม

ทหารของกองกำลังผสมหลายนายที่กลับมาถูกรายงานว่าเจ็บป่วยหลังจากที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมในสงครามอ่าว อาการดังกล่าวถูกเรียกว่ากัลฟท์วอร์ซินโดรม (Gulf War syndrome) มีการไตร่ตรองอย่างแพร่หลายและการไม่เห็นด้วยถึงสาเหตุของอาการป่วย บางปัจจัยถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย อย่าง กระสุนยูเรเนียม อาวุธเคมี วัคซีนแอนแทร็กซ์ที่ทหารต้องได้รับ และการติดเชื้อ ผู้พันไมเคิล ดอนเนลลี่ อดีตนายทหารกองทัพอากาศสหรัฐในสงครามอ่าว ได้ช่วยกระจายข่าวของการเจ็บป่วยและเรียกร้องสิทธิให้กับทหารผ่านศึกเหล่านี้

ผลกระทบจากกระสุนยูเรเนียม

พื้นที่ที่คาดว่ามีกระสุนยูเรเนียมตกอยู่

กระสุนยูเรเนียม (Depleted uranium) ถูกใช้ในสงครามอ่าวเป็นกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลล์ของรถถังและกระสุนปืนใหญ่ขนาด 20-30 ม.ม. การใช้กระสุนแบบนี้ในสงครามอ่าวครั้งแรกถูกกล่าวว่าเป็นผลทำให้สุขภาพของทหารผ่านศึกและพลเรือนได้รับผลกระทบ[97][98][99]

ทางหลวงมรณะ

ในคืนของวันที่26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักที่พ่ายแพ้กำลังล่าถอยออกจากคูเวตโดยใช้ทางหลวงสายเหนือของอัล จาห์ราโดยเป็นแถวขบวนรถทั้งสิ้น 1,400 คัน เครื่องบินลาดตระเวนอี-8 จอยท์สตาร์สลำหนึ่งได้ตรวจพบกองกำลังดังกล่าวและส่งข้อมูลให้กับศูนย์ปฏิบัติการทางอากาศ[100] เครื่องบินของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐได้เข้าติดตามและทำลายขบวนรถ ด้วยการทิ้งระเบิดใส่เป็นเวลาหลายชั่วโมง เนื่องจากว่าการโจมตีมากจากอากาศยานปีกนิ่งที่บินในระดับสูง จึงทำให้ทหารอิรักไม่มีโอกาสในการยอมจำนน[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1. Gulf War, the Sandhurst-trained Prince Khaled bin Sultan al-Saud was co commander with General Norman Schwarzkopf www.casi.org.uk/discuss
  2. General Khaled was Co-Commander, with U.S. General Norman Schwarzkopf, of the allied coalition that liberated Kuwait www.thefreelibrary.com
  3. Gulf War Coalition Forces (Latest available) by country www.nationmaster.com
  4. 4.0 4.1 Geoffrey Regan, p.214
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Crocker III, H. W. (2006). Don't Tread on Me. New York: Crown Forum. p. 386. ISBN 9781400053636. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Tread" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  6. "The Wages of War: Iraqi Combatant and Noncombatant Fatalities in the 2003 Conflict". Project on Defense Alternatives. สืบค้นเมื่อ 2009-05-09.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 http://www.publicpolicy.umd.edu/Fetter/1993-Nature-Scud.pdf อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "publicpolicy.umd.edu" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  8. http://www.iraqwatch.org/government/US/Pentagon/dodscud.htm
  9. "The Use of Terror during Iraq's invasion of Kuwait". The Jewish Agency for Israel. สืบค้นเมื่อ 2009-05-09.
  10. "Frontline Chronology" (PDF). Public Broadcasting Service. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  11. "Tenth anniversary of the Gulf War: A look back". CNN. 17 January 2001. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); |archive-url= : timestamp ผิดรูปแบบ (help)
  12. Kenneth Estes. "ISN: The Second Gulf War (1990-1991) - Council on Foreign Relations". Cfr.org. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
  13. http://ehistory.osu.edu/world/WarView.Cfm?WID=41
  14. Peters, John E; Deshong, Howard (1995). Out of Area or Out of Reach? European Military Support for Operations in Southwest Asia (PDF). RAND. ISBN 0833023292.
  15. Douglas A. Borer (2003). "Inverse Engagement: Lessons from U.S.-Iraq Relations, 1982–1990". U.S. Army Professional Writing Collection. U.S. Army. สืบค้นเมื่อ 2006-10-12.
  16. Cleveland, William L. A History of the Modern Middle East. 2nd Ed pg. 464
  17. Duiker, William J; Spielvogel, Jackson J. World History: From 1500. 5th edition. Belmont, California, USA: Thomson Wadsworth, 2007. Pp. 839.
  18. Cleveland, William L. A History of the Modern Middle East. 2nd Ed pg. 463
  19. Academic forum for foreign affairs, Austria.
  20. "Saddam's message of friendship to president Bush (Wikileaks telegram 90BAGHDAD4237)". U.S. Department of State. 25 July 1990. สืบค้นเมื่อ 2. January 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. 21.0 21.1 Finlan (2003). p. 26.
  22. 22.0 22.1 "Kuwait: Organization and Mission of the Forces". Library of Congress Country Studies. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012.
  23. Finlan (2003). p. 25.
  24. Childs, John; Corvisier, André (1994). A Dictionary of Military History and the Art of War. Wiley-Blackwell. p. 403. ISBN 9780631168485.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. Knights, Michael (2005). Cradle of Conflict: Iraq and the Birth of Modern U.S. Military Power. United States Naval Institute. p. 20. ISBN 9781591144441.
  26. Dan Vaught. "Eyewitness, Col. Fred Hart 1". Users.lighthouse.net. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  27. Cooper, Tom; Sadik, Ahmad (16 September 2003). "Iraqi Invasion of Kuwait; 1990". Air Combat Information Group. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  28. Finlan (2003). p. 29.
  29. "Gulf War of 1991 Effects on Israel & Palestinian Arabs". Palestinefacts.org. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
  30. "Myths & Facts – The Gulf Wars". Jewishvirtuallibrary.org. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
  31. 31.0 31.1 Ziad Swaidan; Mihai Nica (2002). "The 1991 Gulf War And Jordan's Economy". Middle East Review of International Affairs. 6 (2). {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  32. Deese, David A. "Persian Gulf War, Desert Storm – War with Iraqi". The History Professor. Concord Learning Systems. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  33. *Finlan (2003). p. 29. *"Resolution 661 (1990)". United Nations. สืบค้นเมื่อ 13 April 2012.
  34. Lori Fisler Damrosch, International Law, Cases and Materials, West Group, 2001
  35. 35.0 35.1 Friedman, Thomas L. (22 August 1990). "Confrontation in the Gulf: Behind Bush's Hard Line; Washington Considers a Clear Iraqi Defeat To Be Necessary to Bolster Its Arab Allies". The New York Times. New York. pp. A1. สืบค้นเมื่อ 16 September 2010.
  36. "Confrontation in the Gulf; Proposals by Iraqi President: Excerpts From His Address". The New York Times. New York. 13 August 1990. pp. A8. สืบค้นเมื่อ 17 October 2010.
  37. 37.0 37.1 Waldman, Shmuel (2005). Beyond a Reasonable Doubt. Feldheim Publishers, p. 179. ISBN 1-58330-806-7
  38. BBC News. "1990: Outrage at Iraqi TV hostage show". Retrieved 2 September 2007.
  39. Royce, Knut (29 August 1990). "MIDDLE EAST CRISIS Secret Offer Iraq Sent Pullout Deal to U.S". Newsday Washington Bureau. New York. สืบค้นเมื่อ 17 October 2010.
  40. Royce, Knut (3 January 1991). "Iraq Offers Deal to Quit Kuwait U.S. rejects it, but stays 'interested'". Newsday Washington Bureau. Long Island, N.Y. p. 5. สืบค้นเมื่อ 24 October 2010.
  41. Tyler, Patrick E. (3 January 1991). "CONFRONTATION IN THE GULF; Arafat Eases Stand on Kuwait-Palestine Link". The New York Times. New York. สืบค้นเมื่อ 17 October 2010.
  42. Friedman, Thomas L. (11 January 1991). "CONFRONTATION IN THE GULF; As U.S. Officials See It, Hands of Aziz Were Tied". The New York Times. pp. A10. สืบค้นเมื่อ 30 September 2010.
  43. See Paul Lewis, "Confrontation in the Gulf: The U.N.; France and 3 Arab States Issue an Appeal to Hussein," New York Times, 15 January 1991, p. A12
  44. Michael Kranish et al., "World waits on brink of war: Late effort at diplomacy in gulf fails," Boston Globe, 16 January 1991, p. 1
  45. Ellen Nimmons, A.P., "Last-ditch pitches for peace; But U.S. claims Iraqis hold key," Houston Chronicle, 15 January 1991, p. 1
  46. Gilles Kepel Jihad: The Trail of Political Islam.
  47. "The Operation Desert Shield/Desert Storm Timeline". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2008. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  48. "15 Years After Desert Storm, U.S. Commitment to Region Continues". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06=-08. สืบค้นเมื่อ 29 March 2007. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |archivedate= (help)
  49. "Essential Documents: UN Security Council Resolution 678". Council on Foreign Relations. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  50. "The Unfinished War: A Decade Since Desert Storm". CNN In-Depth Specials. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2008. สืบค้นเมื่อ 5 April 2008.
  51. Lynch, Colum (1 November 2006). "Security Council Seat Tied to Aid". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
  52. Bush, George H. W. (11 September 1990). "Address Before a Joint Session of Congress". Miller Center of Public Affairs. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  53. "Photos don't show buildup". St. Petersburg Times. 6 January 1991. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
  54. Bulletin of the Atomic Scientists, Volume 59, page 33, Educational Foundation for Nuclear Science (Chicago, Ill.), Atomic Scientists of Chicago, Bulletin of the Atomic Scientists (Organization), 2003.
  55. "How PR Sold the War in the Persian Gulf | Center for Media and Democracy". Prwatch.org. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  56. 56.0 56.1 Rowse, Ted (1992). "Kuwaitgate – killing of Kuwaiti babies by Iraqi soldiers exaggerated". Washington Monthly.
  57. Makiya 1993, p 40.
  58. Makiya 1993, pp 31–33
  59. Makiya 1993, p 32.
  60. name=cnnstats Edwin E. Moïse. "Limited War : The Stereotypes". Clemson University. สืบค้นเมื่อ 2 July 2010.
  61. Operation Desert Storm globalsecurity.com
  62. "CNN.com In-depth specials — Gulf War (via Internet Archive)". CNN. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2008. สืบค้นเมื่อ 23 March 2008.
  63. Lee, Robin J. (2002). "Fixed-Wing Combat Aircraft Attrition in Desert Storm". สืบค้นเมื่อ 30 January 2012. Sources: Gulf War Airpower Survey, Vol. 5; Norman Friedman, Desert Victory; World Air Power Journal. Additionally, Mark Bovankovich and LT Chuck Chase offered corrections and several intriguing details on these incidents. All errors, however, remain entirely mine.
  64. Atkinson, Rick (1994). Crusade: The Untold Story of the Persian Gulf War. Houghton Mifflin Harcourt, p. 47. ISBN 0-395-71083-9
  65. Lawrence Freedman and Efraim Karsh, The Gulf Conflict: Diplomacy and War in the New World Order, 1990–1991 (Princeton, 1993), 332.
  66. Post Video To Facebook (9 January 1991). "Geneva Meeting on Persian Gulf Crisis". C-SPAN. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  67. Rostker, Bernard (2000). "Information Paper: Iraq's Scud Ballistic Missiles". Wisconsin Project on Nuclear Arms Control from 2000-2006. สืบค้นเมื่อ 21 May 2009.
  68. Lawrence Freedman and Efraim Karsh, The Gulf Conflict: Diplomacy and War in the New World Order, 1990–1991 (Princeton, 1993), 331–41.
  69. Thomas, Gordon, Gideon's Spies: The Secret History of the Mossad
  70. The Gulf War
  71. Atkinson, Rick; Balz, Dan (January 23, 1991). "Scud Hits Tel Aviv, Leaving 3 Dead, 96 Hurt". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ June 2, 2013.
  72. The Gulf War (1991)
  73. "Three Isrealis killed as Scuds hit Tel Aviv". The Tech. 1991. สืบค้นเมื่อ 11 January 2009.
  74. Sprey, Pierre M. "Evaluating Weapons: Sorting the Good from the Bad." CDI, February 2011.
  75. 75.0 75.1 "Betrokkenheid van Nederland" (ภาษาDutch). Ministerie van Defensie. 2009. สืบค้นเมื่อ 11 January 2009.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "nederland2009" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  76. http://www.globalsecurity.org/military/ops/desert_sabre.htm
  77. http://www.leyden.com/gulfwar/week6.html
  78. twentieth century battlefields, the gulf war
  79. 79.0 79.1 In-Depth Specials - Gulf War, CNN, 2001, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001
  80. Blanford, Nicholas (2001), Kuwait hopes for answers on its Gulf War POWs, Christian Science Monitor
  81. Persian Gulf War - MSN Encarta
  82. NGWRC: Serving veterans of recent and current wars
  83. Is an Armament Sickening U.S. Soldiers?
  84. Saudi Arabia - Persian Gulf War, 1991
  85. The Associated Press. "Soldier Reported Dead Shows Up at Parents' Doorstep." March 22, 1991.
  86. The Role of the United Arab Emirates in the Iran-Iraq War and the Persian Gulf War
  87. Miller, Judith. "Syria Plans to Double Gulf Force." The New York Times, March 27, 1991.
  88. Role of Kuwaiti Armed Forces in the Persian Gulf War
  89. 89.0 89.1 Robert Fisk, The Great War For Civilisation; The Conquest of the Middle East (Fourth Estate, 2005), p.853.
  90. Keaney, Thomas (1993). Gulf War Air Power Survey. United States Dept. of the Air Force. ISBN 0-16-041950-6. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  91. Wages of War - Appendix 2: Iraqi Combatant and Noncombatant Fatalities in the 1991 Gulf War
  92. "Toting the Casualties of War". Businessweek. February 6, 2003.
  93. Ford, Peter (April 09, 2003). "Bid to stem civilian deaths tested". Christian Science Monitor. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  94. "Information Paper: Iraq's Scud Ballistic Missiles". Special Assistant for Gulf War Illnesses Department of Defense. 2000. สืบค้นเมื่อ 2009-05-21.
  95. "Three Isrealis killed as Scuds hit Tel Aviv". The Tech. 1991. สืบค้นเมื่อ 2009-01-11.
  96. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ iraqwatch.org
  97. Schröder H, Heimers A, Frentzel-Beyme R, Schott A, Hoffman W (2003). "Chromosome Aberration Analysis in Peripheral Lymphocytes of Gulf War and Balkans War Veterans". Radiation Protection Dosimetry. 103: 211–219. {{cite journal}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  98. Hindin, R. et al. (2005) "Teratogenicity of depleted uranium aerosols: A review from an epidemiological perspective," Environmental Health, vol. 4, pp. 17.
  99. An Analysis of Uranium Dispersal and Health Effects Using a Gulf War Case Study, Albert C. Marshall, Sandia National Laboratories
  100. http://www.globalsecurity.org/intell/systems/jstars-back.htm

ดูเพิ่ม


แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA