ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมโม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Redstar (คุย | ส่วนร่วม)
Redstar (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
แนวคิดนี้ค่อยๆแผ่ขยายอิทธิพลจนส่งผลกระทบต่อคนทั้งเมือง ผู้คนเริ่มแล้งน้ำใจเพราะเห็นว่าเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ กิจกรรมทางสังคม นันทนาการ การพักผ่อนหย่อนใจ และงานศิลปะได้ถูกยกเลิก อาหาร เสื้อผ้า และสิ่งของต่างๆถูกปรับให้เหมือนกันหมดเพื่อประหยัดเวลาในการผลิต แต่ยิ่งประหยัดเวลาไปเท่าไรพวกเขายิ่งสูญเสียเวลาเหล่านั้นไป ผู้ชายในชุดสีเทาจะได้เวลาเหล่านั้นในรูปแบบของซิการ์ ซึ่งหากปราศจากซิการ์เหล่าผู้ชายในชุดสีเทาก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
แนวคิดนี้ค่อยๆแผ่ขยายอิทธิพลจนส่งผลกระทบต่อคนทั้งเมือง ผู้คนเริ่มแล้งน้ำใจเพราะเห็นว่าเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ กิจกรรมทางสังคม นันทนาการ การพักผ่อนหย่อนใจ และงานศิลปะได้ถูกยกเลิก อาหาร เสื้อผ้า และสิ่งของต่างๆถูกปรับให้เหมือนกันหมดเพื่อประหยัดเวลาในการผลิต แต่ยิ่งประหยัดเวลาไปเท่าไรพวกเขายิ่งสูญเสียเวลาเหล่านั้นไป ผู้ชายในชุดสีเทาจะได้เวลาเหล่านั้นในรูปแบบของซิการ์ ซึ่งหากปราศจากซิการ์เหล่าผู้ชายในชุดสีเทาก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้


แต่ด้วยบุคคลิกพิเศษของโมโม ทำให้ผู้ชายในชุดสีเทาเห็นถึงอันตรายจากการกระทำของเธอ จึงได้พยายามที่จะเปลี่ยนเธอเป็นพวกแต่พวกเขาก็ล้มเหลวทั้งหมด ถึงแม้ว่าเพื่อนสนิทของเธอจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ชายในชุดสีเทา โมโมได้เข้าพบศาสตราจารย์ “เซ็คคุนดุส มินูทุส ฮอร่า” (“Secundus Minutus Hora” หมายถึง ชั่วโมง, นาที, วินาที) ซึ่งเป็นตัวแทนของเวลา และได้รับรู้ถึงวิกฤตการที่โลกทั้งหมดจะหยุดนิ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เช่นนี้ดำเนินอยู่ต่อไป ศาสตราจารย์ “เซ็คคุนดุส มินูทุส ฮอร่า” ได้มอบพลังในการมองเห็นอนาคตล่วงหน้า 30 นาทีให้แก่เธอ เพื่อให้เธอลักลอบเข้าไปยังที่หลบซ่อนของผู้ชายในชุดสีเทาเพื่อช่วยปลอดปล่อยเวลาออกจะเซฟ
แต่ด้วยบุคคลิกพิเศษของโมโม ทำให้ผู้ชายในชุดสีเทาเห็นถึงอันตรายจากการกระทำของเธอ จึงได้พยายามที่จะเปลี่ยนเธอเป็นพวกแต่พวกเขาก็ล้มเหลวทั้งหมด ถึงแม้ว่าเพื่อนสนิทของเธอจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ชายในชุดสีเทา โมโมได้เข้าพบศาสตราจารย์ “เซ็คคุนดุส มินูทุส ฮอร่า” (“Secundus Minutus Hora” หมายถึง ชั่วโมง, นาที, วินาที) ซึ่งเป็นตัวแทนของเวลา และได้รับรู้ถึงวิกฤตการที่โลกทั้งหมดจะหยุดนิ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เช่นนี้ดำเนินอยู่ต่อไป ศาสตราจารย์ “เซ็คคุนดุส มินูทุส ฮอร่า” ได้มอบพลังในการมองเห็นอนาคตล่วงหน้า 30 นาทีให้แก่เธอ เพื่อให้เธอลักลอบเข้าไปยังที่หลบซ่อนของผู้ชายในชุดสีเทาเพื่อช่วยปลดปล่อยเวลาออกจะเซฟ


== ประเด็นหลัก ==
== ประเด็นหลัก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:45, 25 มิถุนายน 2556

โมโม  
ผู้ประพันธ์มิชาเอล เอนเด้
ชื่อเรื่องต้นฉบับMomo
ผู้แปลชินนรงค์ เนียวกุล
ประเทศเยอรมัน
ภาษาเยอรมัน
ประเภทนวนิยายแฟนตาซี
สำนักพิมพ์ Thienemann Verlag
วันที่พิมพ์ 1 มกราคม ค.ศ. 1973

โมโม (อังกฤษ: Momo) เป็นนวนิยายแฟนตาซีและวรรณกรรมเยาวชน ภาษาเยอรมัน ของมิชาเอล เอ็นเด ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1973 เนื้อหาเป็นแนวคิดเกี่ยวกับเวลา และการใช้เวลาของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ มีตัวละครเอกคือ "โมโม"

เนื้อเรื่อง

ในซากปรักหักพังของอัฒจันทร์นอกเมืองเป็นที่อาศัยของโมโม สาวน้อยที่มีความเป็นมาลึกลับ เธอเหมือนเด็กอนาถาที่สวมเสื้อใหญ่กว่าตัว เธอไม่รู้หนังสือและไม่สามารถนับตัวเลขได้ เธอไม่รู้วิธีการนับอายุของเธอว่านับอย่างไร อายุของเธอคือเท่าไร เมื่อถูกถาม เธอจะตอบว่า “ฉันจำได้ว่า ฉันอยู่ที่นั่นตลอด” เธอเป็นคนโดดเด่นในหมู่เพื่อนบ้านใกล้เคียง เพราะเธอมีความสามารถพิเศษที่จะรับฟัง – ฟังอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้เธอสามารถชี้แนะคำตอบสำหรับปัญหาของพวกเขาได้อย่างถูกต้อง จึงได้มีการแนะนำหรือบอกต่อว่า “ไปดูโมโม” ซึ่งกลายเป็นวลีที่ใช้ในครัวเรือน ทำให้โมโมได้เป็นที่นิยมในหมู่เพื่อน

แต่บรรยากาศอันน่ารื่นรมย์นี้ได้ถูกทำลายโดยการมาถึงของผู้ชายในชุดสีเทา ผู้ชอบเกาะกินผู้คนเหมือนปรสิตและมีชีวิตอยู่เหนือกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ ปรากฏตัวในรูปแบบการแต่งกายด้วยชุดสีเทา ผิวสีเทา ศีรษะล้าน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของธนาคารประหยัดเวลา ซึ่งส่งเสริมแนวคิดของการ การประหยัดเวลา ซึ่งเวลาที่ถูกประหยัดได้นั้นจะถูกนำไปฝากไว้กับธนาคาร แต่หลังจากเผชิญหน้ากับผู้ชายในชุดสีเทาผู้คนต่างหลงลืมพวกเขาไป แต่ก็ได้แนวคิดในการประหยัดเวลาให้ได้มากที่สุดเพื่อนำไปใช้ในประโยชน์ในภายหลัง

แนวคิดนี้ค่อยๆแผ่ขยายอิทธิพลจนส่งผลกระทบต่อคนทั้งเมือง ผู้คนเริ่มแล้งน้ำใจเพราะเห็นว่าเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ กิจกรรมทางสังคม นันทนาการ การพักผ่อนหย่อนใจ และงานศิลปะได้ถูกยกเลิก อาหาร เสื้อผ้า และสิ่งของต่างๆถูกปรับให้เหมือนกันหมดเพื่อประหยัดเวลาในการผลิต แต่ยิ่งประหยัดเวลาไปเท่าไรพวกเขายิ่งสูญเสียเวลาเหล่านั้นไป ผู้ชายในชุดสีเทาจะได้เวลาเหล่านั้นในรูปแบบของซิการ์ ซึ่งหากปราศจากซิการ์เหล่าผู้ชายในชุดสีเทาก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

แต่ด้วยบุคคลิกพิเศษของโมโม ทำให้ผู้ชายในชุดสีเทาเห็นถึงอันตรายจากการกระทำของเธอ จึงได้พยายามที่จะเปลี่ยนเธอเป็นพวกแต่พวกเขาก็ล้มเหลวทั้งหมด ถึงแม้ว่าเพื่อนสนิทของเธอจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ชายในชุดสีเทา โมโมได้เข้าพบศาสตราจารย์ “เซ็คคุนดุส มินูทุส ฮอร่า” (“Secundus Minutus Hora” หมายถึง ชั่วโมง, นาที, วินาที) ซึ่งเป็นตัวแทนของเวลา และได้รับรู้ถึงวิกฤตการที่โลกทั้งหมดจะหยุดนิ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เช่นนี้ดำเนินอยู่ต่อไป ศาสตราจารย์ “เซ็คคุนดุส มินูทุส ฮอร่า” ได้มอบพลังในการมองเห็นอนาคตล่วงหน้า 30 นาทีให้แก่เธอ เพื่อให้เธอลักลอบเข้าไปยังที่หลบซ่อนของผู้ชายในชุดสีเทาเพื่อช่วยปลดปล่อยเวลาออกจะเซฟ

ประเด็นหลัก

ตามที่รู้จักกันดีในงานของเขา จินตนาการไม่รู้จบ (อังกฤษ: The Neverending Story; เยอรมัน: Die unendliche Geschichte) มิชาเอล เอนเด้ ใช้จินตนาการและสัญลักษณ์ในการอธิบายปัญหาของโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ความสำคัญของเวลา ความสัมพันธ์ของคน การขาดจินตนาการ การมองข้ามคุณค่าของสิ่งเล็กๆน้อยๆ โดยอาศัยโลกในจินตนาการของเด็กเพื่อแสดงถึงสิ่งที่เราหลงลืมไป

หัวใจหลักของโมโม คือการตั้งคำถามกับการใช้เวลาโดยมองถึงมูลค่าเหมือนเป็นสินค้านั้นถูกต้องแล้วหรือ การทำงานที่เสร็จไวแต่ขาดความใส่ใจต่อคนรอบข้างนั้นคุ้มค่าแน่หรือ เราจะประหยัดเวลาเพื่อไปหาความสุขหรือจะหาความสุขได้ในทุกช่วงเวลา เราต่างใช้เวลาไปเพื่อสร้างความเจริญทางวัตถุ แต่ขณะเดียวกันเราได้หลงลืมอะไรไปบ้าง การที่เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน เราควรจะทำตัวเช่นไรเพื่อไม่ให้ถูกกลืนหายไปกับกระแสสังคม

มิซาเอล เอนเด้ จึงได้เสนอโลกในมุมมองของโมโม เด็กที่ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวและไม่มีการศึกษา แต่สามารถเป็นที่พึ่งของทุกคนได้เพียงแค่ใช้การฟังอย่างแท้จริงเท่านั้น ซึ่งเป็นทักษะที่เราหลายคนหลงลืมมัน การให้ความเอาใจใส่ต่อบุคคลรอบข้างย่อมเป็นเกราะป้องกันที่ดีต่อการครอบงำของลัทธิบูชาวัตถุที่กำลังแผ่ขยาย ทำให้เป็นเป้าหมายที่ยากยิ่งสำหรับผู้ชายในชุดสีเทา จึงได้มีการใช้ตุ๊กตาบาร์บี้และของเล่นแพงๆ เพื่อจูงใจให้โมโมหันมายึดติดกับวัตถุแทน แต่โมโมไม่เชื่อว่าการกระทำของตัวเองนั้นเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ยังคงยึดมั่นต่อคุณค่าของการใส่ใจรับฟังปัญหาของทุกคน และพยายามทวงคืนสิ่งที่ถูกผู้ชายในชุดสีเทาล่อลวงไปกลับคืนมา

คำติชม

เมื่อหนังสือได้ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1985 นักข่าว นาตาลี บั๊บบิท จากหนังสือพิมพ์วอชิงตัน ให้ความเห็นว่า “มันเป็นหนังสือสำหรับเด็กใช่ไหม? ไม่ใช่ในอเมริกา”

ฉบับแปล

  • ภาษาไทย : โมโม่. มิชาเอล เอ็นเด้. ชินนรงค์ เนียวกุล. แปลจากภาษาเยอรมัน. แพรวเยาวชน. ISBN 9748368572

แหล่งข้อมูลอื่น