ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมจินต์ ธรรมทัต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 122: บรรทัด 122:
=== โหราศาสตร์ ===
=== โหราศาสตร์ ===


เมื่อครั้งที่ สมจินต์ ธรรมทัต ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นค่อนข้างนับได้ว่าเป็นเด็กเกเร บิดามารดาซึ่งเป็นห่วงได้นำตัวไปให้พระภิกษุซึ่งมีความรู้ทางโหราศาสตร์ตรวจดวงชะตา ซึ่งมีคำพยากรณ์หนึ่งว่าเด็กคนนี้จะได้เข้าสู่วงการการแสดง<ref name="พลอยแกมเพชร">[ นิตยสารพลอยแกมเพชร ปีที่ 3 ฉบับที่ 52 - 31 มีนาคม 2537 ]</ref> ซึ่งสมจินต์ ธรรมทัตไม่ได้ใส่ใจกับคำพยากรณ์นั้น ตราบจนกระทั่งเริ่มมีชื่อเสียง จึงนึกสงสัยว่าผู้ทำนายใช้วิชาการใดในการทำนาย และเริ่มศึกษาวิชาโหราศาสตร์ด้วยตนเองโดยซื้อตำรามาอ่าน และเสาะแสวงหาอาจารย์ทางโหราศาสตร์เพื่อขอศึกษาซึ่งก็ไม่สามารถหาผู้ที่ให้ความรู้ได้ จึงมุมานะเรียนด้วยตนเองจากตำราและทดสอบด้วยตัวเอง จนเริ่มมีความรู้ความชำนาญในการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคล
ในช่วงวัยรุ่นค่อนข้างเป็นเด็กเกเร บิดามารดามีความเป็นห่วงจึงพาไปหาพระภิกษุผู้มีความรู้ทางโหราศาสตร์ตรวจดวงชะตา และ'''ได้รับคำพยากรณ์ว่าเด็กคนนี้จะได้เข้าสู่วงการการแสดง'''<ref name="พลอยแกมเพชร">[ นิตยสารพลอยแกมเพชร ปีที่ 3 ฉบับที่ 52 - 31 มีนาคม 2537 ]</ref>แต่เขาไม่ได้ใส่ใจกับคำพยากรณ์จนเริ่มมีชื่อเสียง จึงสนใจหันมาศึกษาวิชาโหราศาสตร์ด้วยตนเองโดยซื้อตำรามาอ่าน และเสาะแสวงหาอาจารย์ทางโหราศาสตร์เพื่อขอเรียนซึ่งก็ไม่สามารถหาผู้ให้ความรู้ได้ จึงมุมานะเรียนด้วยตนเองจากตำราและทดสอบด้วยตัวเอง จนมีความรู้ความชำนาญในการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคล


สมจินต์ ธรรมทัต ได้ใช้วิชาโหราศาสตร์ที่ศึกษามาเพื่อสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ โดยพยากรณ์ให้แก่ทุกบุคคลโดยไม่รับอามิสสินจ้าง เคยจัดรายการวิทยุดูดวงชะตาโดยมีบริษัทสหพัฒนพิบูลย์เป็นผู้อุปถัมภ์ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ฟังโดยส่งวันเดือนปีเวลาเกิดมาให้พยากรณ์ดวงชะตาเป็นจำนวนมาก ได้เขียนบทความการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคลในวงการบันเทิงลงหนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี <ref name="อินไซด์ทีวี">[ หนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี ปีที่ 7 ฉบับที่ 317 - มีนาคม 2535 ]</ref>ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหลายปี
ชีวิตช่วงหลังได้ใช้วิชาโหราศาสตร์เพื่อสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์โดยไม่รับอามิสสินจ้าง ,ทำรายการวิทยุดูดวงชะตา โดยบริษัทสหพัฒนพิบูลย์ (ผู้อุปถัมภ์) ได้รับความสนใจจากผู้ฟังโดยส่งวันเดือนปีเวลาเกิดมาให้พยากรณ์ดวงชะตาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเขียนบทความการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคลในวงการบันเทิงลงหนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี <ref name="อินไซด์ทีวี">[ หนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี ปีที่ 7 ฉบับที่ 317 - มีนาคม 2535 ]</ref>ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปี


[[ไฟล์:สมจินต์ ธรรมทัต ดูดวงชะตา ธงไชย แมคอินไตย์ อินด์ไซด์ทีวี.jpg|thumb|สมจินต์ ธรรมทัต ดูดวงชะตา ธงไชย แมคอินไตย์ หนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี]]
[[ไฟล์:สมจินต์ ธรรมทัต ดูดวงชะตา ธงไชย แมคอินไตย์ อินด์ไซด์ทีวี.jpg|thumb|สมจินต์ ธรรมทัต ดูดวงชะตา ธงไชย แมคอินไตย์ หนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:49, 13 มิถุนายน 2556

สมจินต์ ธรรมทัต
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473
ธนบุรี
เสียชีวิต6 มีนาคม พ.ศ. 2547 (74 ปี)
ร.พ.รามาธิบดี
คู่สมรสนงเยาว์ กะสิชล
อาชีพนักพากย์ นักแสดง ผู้กำกับละครโทรทัศน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ นักโหราศาสตร์ นักเขียน
โทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 1 (2529) ผู้พากย์ภาพยนตร์ดีเด่นชาย
จากเรื่อง พั้งค์กี้จอมแก่น และ หนูน้อยคอมพิวเตอร์ (ช่อง 9)
เมขลาครั้งที่ 2 (2524) ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น
จากเรื่อง เขาชื่อกานต์ (ช่อง 3)
ThaiFilmDb
ไฟล์:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานรางวัลดาราทอง สมจินต์ ธรรมทัต.jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานรางวัลดาราทองประเภทโทรทัศน์ ให้นาย สมจินต์ ธรรมทัต ณ.เวทีลีลาศสวนอัมพร ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2509

สมจินต์ ธรรมทัต เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นนักแสดงชาวไทย นักพากย์ ผู้กำกับการแสดง จบการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลปธนบุรี และพานิชยการพระนคร ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิงโดยเริ่มจากสมัครเข้าทำงานในบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัดเมื่อยุคก่อตั้ง และได้เป็นลูกน้องของ จำนง รังสิกุล มีหน้าที่อัดเสียงของผู้สมัครเข้าเป็นผู้ประกาศของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด หรือช่องสี่บางขุนพรหม ต่อมาได้เข้าเป็นพนักงานของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด โดยทำงานในฝ่ายจัดรายการ แผนกแผนผัง (แผนผังการออกอากาศ) โดยเป็นลูกน้องของ อาจินต์ ปัญจพรรค์

ประวัติ

2473–2497: ปฐมวัย

บุตรชายคนโตของ นายศรี ธรรมทัต และ นางเตียง (แซ่ฉั่ว) ธรรมทัต มีน้องร่วมบิดามารดาอีกสามคน คือ นางสาวสมสอาด ธรรมทัต รับราชการครูสังกัดกรมอาชีวะศึกษา นายสมถวิล ธรรมทัต รับราชการกรมประชาสัมพันธ์ และเป็นผู้ประกาศข่าวของกรมประชาสัมพันธ์ และ นางเพ็ญศรี (ธรรมทัต) วุฒิวัย

เกิดที่บ้านของบิดาที่ท่าดินแดง คลองสาน ธนบุรี บิดามารดามีอาชีพค้าขายและทำแป้งข้าวหมาก เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้วัดอนงคารามวรวิหาร เด็กชายสมจินต์จึงเข้าสังกัดเป็นเด็กวัดอนงค์ และได้รับใช้หลวงพ่อทับเกจิอาจารย์ชื่อดังในสมัยนั้น ครั้งหนึ่งหลวงพ่อทับได้สร้างพระปิดตาเนื้อเมฆพัตร ซึ่งมีชื่อเสียงมาก ญาติโยมทั้งหลายจึงมาขออาราธณาพระปิดตาไปบูชากันมิได้ขาด บางคราวหลวงพ่อจำวัดโดยมีเด็กชายสมจินต์นั่งนวดขาให้ ก็ถามตามประสาเด็กว่ามาทำไม ได้รับคำตอบจากญาติโยมที่มานั่งรอว่ามาขอพระปิดตา เขาก็ล้วงหยิบพระจากบาตรที่หลวงพ่อใส่ไว้ส่งให้ โดยกำพระออกจากบาตรได้คราวละหนึ่งองค์สององค์บ้าง โดยไม่เคยเก็บไว้เป็นของตนเองเลย

ไฟล์:สมจินต์ ธรรมทัต ในบท ทหารเสา.jpeg
สมจินต์ ธรรมทัต ในบทตัวประกอบที่เรียกว่าทหารเสา (นั่งคนที่สองจากขวามือของภาพ)
สมจินต์ ธรรมทัต ในละครเรื่องเสือเก่า

ภายหลังเมื่อมีโอกาสพบญาติโยมบางคนที่ได้พระปิดตาเมฆพัตรไปและเพิ่งทราบว่าสมจินต์เองยังไม่มีพระที่ตนเองเคยหยิบแจกให้ผู้อื่นเลย จึงได้มอบคืนให้ ซึ่งในครั้งนั้นท่านผู้นั้นได้พระปิดตาจากมือของสมจินต์มาหลายองค์ด้วยกัน

ละครเรื่องเสือเก่า สมจินต์ ธรรมทัต (ยืน) กัณฑรีย์ นาคประภา (ยืน) อาคม มกรานนท์ (นั่ง)

เป็นคนตัวเล็ก เพื่อน ๆ จึงเรียกว่าเตี้ย เมื่อมีเรื่องทะเลาะวิวาทก็จะสู้คนตัวใหญ่กว่าไม่ได้ จึงได้เข้าฝึกมวยไทยและเพาะกาย เล่นกีฬาฟุตบอลล์ อีกทั้งยังเสาะหาเครื่องรางของขลังเพื่อป้องกันตัวตามสมัยนิยม เคยแอบไปสักกับอาจารย์สักยันต์ แต่ด้วยกลัวบิดาซึ่งดุมากจะทราบ จึงได้เลือกสักน้ำมันที่แผ่นหลัง เมื่อกลับถึงบ้านบิดาก็ทราบจนได้ เพราะถึงรอยสักน้ำมันจะมองไม่เห็น แต่เลือดที่ออกเป็นจุด ๆ ตามรอยเข็มสัก ซึมติดหลังเสื้อนักเรียนสีขาวเป็นรอยสักชัดเจน จึงถูกลงโทษด้วยไม้เรียวตามระเบียบ ครั้งหนึ่งเคยแอบไปเปรียบมวยในงานวัด เพราะต้องการทดลองฝีมือทางหมัดมวย เมื่อได้ขึ้นเวทียังไม่ทันได้ชกก็เห็นบิดาถือไม้เรียวรออยู่ที่ด้านล่างของเวที การชกครั้งนั้นแพ้และเมื่อลงจากเวทียังเจ็บตัวซ้ำสอง แต่การฝึกมวยไทยให้ประโยชน์เมื่อต้องใช้ในการแสดงละครโทรทัศน์

2498–2520: บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด ช่อง 4 บางขุนพรหม

หลังจากเรียนจบพณิชยการพระนคร สมจินต์ ธรรมทัตได้ทำงานหลายแห่ง เช่นกรมชลประทาน กรมรถไฟ จนกระทั่งได้ยินว่าจะมีการเปิดสถานีโทรทัศน์แห่งแรกขึ้น จึงได้มาสมัครทำงานกับ จำนงค์ รังสิกุล [1] ด้วยวุฒิพณิชยการและผลงานชนะการแข่งขันพิมพ์ดีด ได้ทำงานในส่วนกลางของบริษัทไทยโทรทัศน์ตั้งแต่อาคารสถานียังสร้างไม่เสร็จ ต้องนั่งทำงานที่กรมประชาสัมพันธ์ไปพลาง ๆ ก่อน ในครั้งนั้น สมจินต์ ธรรมทัตไม่ได้นึกเลยว่าจะมาเป็นนักแสดง ที่เข้ามาสมัครงานก็เพียงเพราะเห็นว่าเป็นกิจการใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทยเท่านั้น ในยุคเริ่มแรกของบริษัทไทยโทรทัศน์ สมจินต์ ธรรมทัตทำงานทั่วไปตามแต่นายคือ จำนงค์ รังสิกุล จะสั่งการ บางครั้งก็ทำหน้าที่ควบคุมการอัดเสียงผู้ที่มาสมัครเป็นผู้ประกาศของสถานีวิทยุ ททท.ซึ่งเปิดดำเนินการก่อนที่สถานีโทรทัศน์จะทำการแพร่ภาพออกอากาศ ต่อมาได้ทำงานเอกสารในแผนกแผนผังของฝ่ายจัดรายการ ซึ่งนอกจากจะต้องพิมพ์แผนผังการออกอากาศประจำวันแล้ว บางครั้งยังต้องพิมพ์บทละครโทรทัศน์ด้วย และได้เข้าร่วมแสดงเป็นตัวประกอบในละครโทรทัศน์ โดยรับบทที่ไม่มีการพูด เช่นเป็นทหารตัวประกอบในฉากละครซึ่งเรียกกันว่าทหารเสาหรือเสนา 50 เพราะจะได้รับค่าตัว 50 บาทในการแสดงละครหนึ่งครั้ง ต่อมาจึงได้รับบทพูด จนกระทั่งได้รับบทแสดงในละครหลายเรื่องจนกระทั่งมาถึงเรื่องเสือเก่า แสดงนำร่วมกับอาคม มกรานนท์และกัณฑรีย์ (นาคประภา) สิมะเสถียร ซึ่งละครเรื่องนั้นส่งให้สมจินต์ ธรรมทัตมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้ชม เรื่องเสือเก่านี้สมจินต์ ธรรมทัตแสดงเป็นนักมวยเก่าที่แขวนนวมไปแล้ว และต้องกลับมาขึ้นชกโดยต้องชกกับลูกชายของตัวเองซึ่งแสดงโดย อาคม มกรานนท์ สมจินต์ ธรรมทัตจึงได้ใช้ประสบการณ์จากวัยรุ่นที่เคยฝึกมวยและชกมวยมาก่อนในการแสดงละครเรื่องนี้

ในปีพุทธศักราช 2502-2504 สมจินต์ ธรรมทัตได้แสดงละครชุดหลายตอนจบเรื่องขุนศึก จากบทประพันธ์ของ ไม้ เมืองเดิม บทโทรทัศน์โดย สุมทุม บุญเกื้อ ซึ่งเป็นการขอยืมชื่อน้องชายของ ไม้ เมืองเดิม มาเป็นผู้เขียนบทโทรทัศน์ แต่ความจริงแล้วเขียนโดย รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก) ซึ่งขณะนั้นถูกจำคุกอยู่ด้วยคดีกบฐเสรีภาพ[2] สมจินต์ ธรรมทัต รับบทเป็น หมู่ขัน ตัวร้ายของเรื่อง ซึ่งจากการแสดงละครเรื่องนี้ทำให้ สมจินต์ ธรรมทัต มีชื่อเสียงในฐานะ ดาวร้ายจอแก้ว ละครโทรทัศน์เรื่องขุนศึก นับเป็นละครฟอร์มใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ ใช้ผู้แสดงจำนวนมาก มีความยาวของเรื่องมาก ทำให้ต้องแสดงต่อเนื่องถึงสองปี

ปีพุทธศักราช 2509 สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย[3][4] ได้ขอพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้แก่ผู้มีผลงานในทุกสาขา ทั้งภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ และ นักร้อง โดยมีชื่อรางวัลว่า "ดาราทองพระราชทาน" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเพื่อพระราชทานรางวัล ณ.เวทีลีลาศสวนอัมพร ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2509 ซึ่งสมจินต์ ธรรมทัต ได้รับพระราชทานรางวัลดาราทอง ในสาขาโทรทัศน์

ผู้ที่ได้รับรางวัลดาราทองพระราชทานมีรายชื่อดังต่อไปนี้

ประเภทภาพยนตร์ มิตร ชัยบัญชา (พันจ่าอากาศโท พิเชษฐ์ พุ่มเหม) , พิศมัย วิไลศักดิ์

ประเภทโทรทัศน์ สมจินต์ ธรรมทัต, สุพรรณ บูรณพิมพ์

ประเภทวิทยุ วิเชียร นีลิกานนท์, จีราภา ปัญจศีล

ประเภทนักร้อง ชรินท์ นันทนาคร ลินจง บุญนากริน

รางวัลชมเชยพิเศษ ศิริ ศิริจินดา, ไพบูลย์ ลีสุวัฒน์, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี, จีรนันท์ เศวตนันทน์

สมจินต์ ธรรมทัต มีผลงานทางโทรทัศน์ ทั้งแสดงละคร กำกับละคร พากษ์ภาพยนตร์ต่างประเทศ บรรยายสารคดี อ่านข่าว และงานอื่น ๆ อีกมากมาย ตามสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมากจนตลอดชีวิต และเคยได้รับรางวัลต่าง ๆ เช่น

รางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 1 (2529) ผู้พากย์ภาพยนตร์ดีเด่นชาย จากเรื่อง พั้งค์กี้จอมแก่น และ หนูน้อยคอมพิวเตอร์ (ช่อง 9)

รางวัลเมขลาครั้งที่ 2 (2524) ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น จากเรื่อง เขาชื่อกานต์ (ช่อง 3)

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2520 รัฐบาลเผด็จการที่มาจากการรัฐประหารในขณะนั้นโดย นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี และนายดุสิต ศิริวรรณ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้เลิกกิจการบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด และเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด และได้ตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ขึ้นเพื่อรับช่วงการดำเนินงานของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด โดยให้พนักงานของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานใหม่ นายดุสิต ศิริวรรณ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับผู้บริหารองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยในยุคก่อตั้ง ปฏิเสธที่จะรับอดีตพนักงานของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดจำนวนหนึ่งเข้าทำงาน ซึ่งรวมถึง สมจินต์ ธรรมทัต ด้วย นับตั้งแต่นั้นมา สมจินต์ ธรรมทัต จึงเป็นนักแสดงอิสระไม่มีสังกัด

ละครเรื่องขุนศึก จากซ้ายไปขวา กำธร สุวรรณปิยะศิริ - จำรูญ หนวดจิ๋ม - ไม่ทราบชื่อ - ทัต เอกทัต (ประวัติ ผิวเผือก) - สมจินต์ ธรรมทัต - ไม่ทราบชื่อ - เสริมพันธ์ สุทธิเนตร
ไฟล์:ละครทหารเอกพระบัณฑูร สถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม.jpg
ละครทหารเอกพระบัณฑูร สถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม จากซ้ายไปขวา สมชาย อาสนจินดา, กำธร สุวรรณปิยะศิริ, สมจินต์ ธรรมทัต
ไฟล์:ละครทหารเอกพระบัณฑูร สถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม 2.jpg
ละครทหารเอกพระบัณฑูร สถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม จากซ้ายไปขวา สมจินต์ ธรรมทัต, อารีย์ นักดนตรี, ดวงดาว (อาษากิจ) ปริวัติธรรม
ไฟล์:เอเรียน่า สตูทเซล สมจินต์ ธรรมทัต ละครโทรทัศน์ฮวนนั้ง.jpg
เอเรียน่า สตูทเซล - สมจินต์ ธรรมทัต ในละครเรื่อง ฮวนนั้ง บทประพันธ์โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม
ไฟล์:ละครวิทยุของ ททท.jpg
ละครวิทยุของสถานีไทยโทรทัศน์ (ททท.) จากซ้ายไปขวา ชาติ (สักกะ) จารุจินดา, กำธร สุวรรณปิยะศิริ, รัก รักพงษ์ (สมณะ โพธิรักษ์) , สุภางค์ (พิจิตรคุรุการ) ชูโต, อนุวัตร สุวรรณโสรช, สินีนาฏ โพธิเวส, ศุภมิตร ศาตะจันทร์, นงลักษณ์ โรจนพรรณ, สมจินต์ ธรรมทัต

2512–2546: วงการภาพยนตร์

สมจินต์ ธรรมทัต ทำงานที่บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดสังกัดฝ่ายรายการโดยมี จำนงค์ รังสิกุล เป็นหัวหน้าซึ่ง จำนงค์ รังสิกุล มีระเบียบห้ามนักแสดงสังกัดฝ่ายรายการ รับงานแสดงนอกเหนือจากงานแสดงของทางสถานี จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2512 จำนงค์ รังสิกุล ย้ายกลับกรมประชาสัมพันธ์ต้นสังกัดเดิม ระเบียบดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไป สมจินต์ ธรรมทัต จึงได้มีโอกาสรับงานแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกโดยเป็นผลงานสร้างของ ชรินทร์ นันทนาคร ผู้ได้รับดาราทองพระราชทานเช่นเดียวกัน ในเรื่อง สวรรค์วันเพ็ญ โดยแสดงกับ มิตร ชัยบัญชา (ได้รับดาราทองพระราชทานเช่นกัน) เพชรา เชาว์ราษฏร ล้อต็อก สมพล กงสวรรณ อดินันท์ สิงห์หิรัญ น้ำเงิน บุญหนัก แมน ธีระพล

หลังจากนั้น สมจินต์ ธรรมทัต ก็มีผลงานการแสดงภาพยนตร์จำนวนมาก โดยมักจะได้รับบทเป็นดาวร้ายซึ่งเป็นบทบาทที่ถนัดและเป็นที่นิยมของประชาชน จนกระทั่งบั้นปลายของชีวิต ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง เยาวราช เป็นเรื่องสุดท้าย

ไฟล์:ภาพยนตร์ สวรรค์วันเพ็ญ.jpg
ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง สวรรค์วันเพ็ญ พุทธศักราช 2512

2500–2546: งานให้เสียงภาพยนตร์และสารคดี

จำนงค์ รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายจัดรายการของสถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม มีนโยบายให้พนักงานในฝ่ายทำงานทุกชนิดของทางสถานี ทั้งการแสดงละคร การกำกับละคร การพากษ์ภาพยนตร์ต่างประเทศ สมจินต์ ธรรมทัต จึงได้เริ่มงานพากษ์ภาพยนตร์ต่างประเทศของทางสถานี เรื่องแรกที่ได้พากษ์อย่างจริงจังคือ เดอะ โลน เรนเจอร์ และได้รับความนิยมจากผู้ชมเรื่อยมา ในการแสดงละครนั้น สมจินต์ ธรรมทัต มักจะได้รับบทผู้ร้าย แต่ในงานพากษ์รับทั้งบทพระเอก พระรอง และตัวโกง รวมทั้งแนวตลก เนื่องจากเสียงที่ทุ้มนุ่มและมีชีวิตชีวา ที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักดี เช่น ผู้พันหนุ่มดอน เวส และ ตัวแสบหมอสมิธ ใน โลกพิศวง (Lost in Space) , คุณตาแดร็กคูล่า ใน คนผี (The Munsters) และ บทต่าง ๆ ใน มนุษย์ค้างคาว (Batman)

การพากษ์ภาพยนตร์ต่างประเทศที่สร้างชื่อเสียงให้ สมจินต์ ธรรมทัต ทางสถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมมีเป็นจำนวนมากเช่น คุณอัศว์ (Mister Ed) มนุษย์ค้างคาว (Batman) สายลับลูกทุ่ง (THE WILD WILD WEST) [5] แดนสนธยา (The Twilight Zone) ขวัญใจสายลับ (The Avengers) ขบวนการพยัคฆ์ร้าย (Mission Impossible) [6] ตลุยจักรวาล (Star Trek) [7] สิงห์สำอางค์ (The Saint) [8] โลกพิศวง (Lost in Space) [9] คนผี (The Munsters) โบนันซ่า (Bonanza) [10] แม่มดเจ้าเสน่ห์ (Bewitched) [11] ทรามวัยกายสิทธิ์ (I Dream of Jeannie) ผจญภัย ใต้ทะเลลึก (voyage to the bottom) อุโมงค์มหัศจรรย์ (The Time Tunnel)

ในปีพุทธศักราช 2518 วันชัย อรรถเวทย์วรวุฒิ เพื่อนสนิทของ สมจินต์ ธรรมทัต ได้ซื้อภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับชีวิตสัตว์จากต่างประเทศเรื่อง Animals Are Beautiful People [12] เข้ามา เหตุที่ซื้อภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับสัตว์ซึ่งไม่เป็นที่นิยมของตลาดภาพยนตร์ในประเทศไทยนั้น เพราะถูกบังคับให้ซื้อพ่วงมากับภาพยนตร์อื่น ๆ วันชัย อรรถเวทย์วรวุฒิ ได้ขอให้ สมจินต์ ธรรมทัต เป็นผู้บรรยายสารคดีเรื่องนี้ เมื่อทำการอัดเสียงภาพยนตร์เสร็จ ทั้งสองก็สรุปร่วมกันว่าเมื่อนำออกฉายจะต้องเจ๊งแน่นอน สมจินต์ ธรรมทัต จึงได้ขอลองบรรยายสารคดีเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง โดยไม่อ่านตามบทแปลทั้งหมด แต่ได้ใส่ลีลาการพากษ์แบบภาพยนตร์การ์ตูนเข้าไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ชื่อในภาษาไทยว่า "สัตว์โลกผู้น่ารัก" เมื่อนำออกฉายปรากฏว่าพลิกความคาดหมายของทุกคน เนื่องจากได้รับความนิยมสูงสุด ถึงกับต้องยืดเวลาฉายและเพิ่มโรงภาพยนตร์ ส่งผลให้ สมจินต์ ธรรมทัต มีชื่อเสียงทางการบรรยายสารคดีที่เกี่ยวกับสัตว์ และได้ทำการบรรยายภาพยนตร์ประเภทนี้อีกเป็นจำนวนมาก

ภาพยนตร์สารคดีทั่วไป สมจินต์ ธรรมทัต ก็ได้บรรยายไว้เป็นจำนวนมาก ผลงานส่วนใหญ่ทำกับบริษัทรัชฟีล์มทีวี พาโนรามาดอกคิวเมนทารี่ รวมถึงการพากษ์ภาพยนตร์ต่างประเทศนับพันเรื่องในยุคที่เครื่องเล่นวิดีโอเทปกำลังเฟื่องฟูช่วงทศวรรษ 2520 กับบริษัทคิววิดีโอจำกัด

ไฟล์:ใบปิดภาพยนตร์ สัตว์โลกผู้น่ารัก.jpg
ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง สัตว์โลกผู้น่ารัก

โหราศาสตร์

ในช่วงวัยรุ่นค่อนข้างเป็นเด็กเกเร บิดามารดามีความเป็นห่วงจึงพาไปหาพระภิกษุผู้มีความรู้ทางโหราศาสตร์ตรวจดวงชะตา และได้รับคำพยากรณ์ว่าเด็กคนนี้จะได้เข้าสู่วงการการแสดง[1]แต่เขาไม่ได้ใส่ใจกับคำพยากรณ์จนเริ่มมีชื่อเสียง จึงสนใจหันมาศึกษาวิชาโหราศาสตร์ด้วยตนเองโดยซื้อตำรามาอ่าน และเสาะแสวงหาอาจารย์ทางโหราศาสตร์เพื่อขอเรียนซึ่งก็ไม่สามารถหาผู้ให้ความรู้ได้ จึงมุมานะเรียนด้วยตนเองจากตำราและทดสอบด้วยตัวเอง จนมีความรู้ความชำนาญในการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคล

ชีวิตช่วงหลังได้ใช้วิชาโหราศาสตร์เพื่อสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์โดยไม่รับอามิสสินจ้าง ,ทำรายการวิทยุดูดวงชะตา โดยบริษัทสหพัฒนพิบูลย์ (ผู้อุปถัมภ์) ได้รับความสนใจจากผู้ฟังโดยส่งวันเดือนปีเวลาเกิดมาให้พยากรณ์ดวงชะตาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเขียนบทความการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคลในวงการบันเทิงลงหนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี [13]ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปี

ไฟล์:สมจินต์ ธรรมทัต ดูดวงชะตา ธงไชย แมคอินไตย์ อินด์ไซด์ทีวี.jpg
สมจินต์ ธรรมทัต ดูดวงชะตา ธงไชย แมคอินไตย์ หนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี

งานอื่น ๆ

เมื่อบริษัทประชาช่างได้พิมพ์หนังสือแบบเรียน กอไก่ สำหรับเด็กอนุบาล[14] ทางบริษัทได้นำภาพของ สมจินต์ ธรรมทัต ไปเป็นแบบสำหรับตัวอักษร ฅ.ฅน ขึงขัง ซึ่งหนังสือนี้ยังคงพิมพ์จำหน่ายอยู่จนถึงปัจจุบัน (พุทธศักราช 2555)

ไฟล์:หนังสือแบบเรียนชั้นอนุบาล บริษัทประชาช่าง.jpg
สมจินต์ ธรรมทัต เป็นผู้แสดงแบบตัวอักษร ฅ.ฅน ขึงขัง ในหนังสือแบบเรียนชั้นอนุบาล ของบริษัทประชาช่างจำกัด

ผลงาน

ละคร

  • เสือเก่า ช่อง 4 แสดงเป็น พ่อ ร่วมด้วย อาคม มกรานนท์
  • ฮวนนั้ง (ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช) ช่อง 4 แสดงเป็น อัตติลา
  • ซูสีไทเฮา (ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช) ช่อง 4 แสดงเป็น ขันทีลิเลียนยิง
  • บูเช็กเทียน ช่อง 4
  • พระเจ้าไทยหลวง ช่อง 4
  • ลูกทาส (รพีพร) ช่อง 4
  • รอยไถ (ไม้ เมืองเดิม) ช่อง 4 แสดงเป็น ลือ
  • แผลเก่า (ไม้ เมืองเดิม) ช่อง 4
  • ไอด้า ช่อง 4
  • ออกญายามาด้า ช่อง 4
  • สามก๊ก (ตอน ตั๋งโต๊ะหลงกลเตียวเสี้ยน) ช่อง 4
  • ทหารเอกพระบัณฑูร (ไม้ เมืองเดิม) ช่อง 4
  • พันท้ายนรสิงห์ (พล.ต. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล) ช่อง 4
  • ผู้ชนะสิบทิศ (ยาขอบ) ช่อง 4 แสดงเป็น ไขลู
  • ขุนศึก (ไม้ เมืองเดิม) ช่อง 4 ปี 2502-04 แสดงเป็น หมู่ขัน
  • ละครชีวิตคณะวิมอิทธิกุล (วิม อิทธิกุล) ช่อง 4
  • ละครคณะสุภาพบุรุษ (อาจินต์ ปัญจพรรค์) ช่อง 4
  • ละครคณะนาฏศิลปสัมพันธ์ (สัมพันธ์ พันธ์มณ๊) ช่อง 4
  • สามสิงห์ ช่อง 3 ปี 2522
  • เขาชื่อกานต์ (สุวรรณี สุคนทา) ช่อง 3 ปี 2523
  • เรือมนุษย์ (กฤษณา อโศกสิน) ช่อง 9 ปี 2528
  • ชายสามโบสถ์ (ไม้ เมืองเดิม) ช่อง 3 ปี 2529
  • นาคี (ตรี อภิรุม) ช่อง 3 ปี 2529
  • ผู้ใหญ่ลีกับนางมา (กาญจนา นาคนันท์) ช่อง 3 ปี 2530
  • ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (ก. สุรางคนางค์) ช่อง 3 ปี 2532
  • แม่พลอยหุง (ว. วินิจฉัยกุล) ช่อง 3 ปี 2536
  • จินตปาตี (โสภาค สุวรรณ) ช่อง 3 ปี 2540
  • มือปืน (ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล) ช่อง 3 ปี 2542
  • เสน่ห์นางงิ้ว (ภราดร ศักดา) ช่อง 3 ปี 2542
  • ดาวคนละดวง ช่อง 7 ปี 2542
  • ทอง 5 (ฉลอง ภักดีวิจิตร) ช่อง 7 ปี 2544

ละครเวที

  • พันท้ายนรสิงห์
  • วีระมหาเทพ

แสดงภาพยนตร์

  • สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
  • เจ้าลอย (2515)
  • เหยื่ออารมณ์ (2518)
  • บัณฑิตเหลือแดน (2522)
  • พรุ่งนี้ก็สายเกินไป (2522)
  • นายอำเภอปฏิวัติ (2522)
  • สมิงบ้านไร่ (2522)
  • ลูกทาส (2522)
  • ขุนเดช (2523)
  • คู่โจร (2523)
  • ชั่วฟ้าดินสลาย (2523) ... พะโป้
  • ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน (2523) .... เฒ่าหยอย
  • เจ้าแม่สาริกา (2524)
  • สาวน้อย (2524)
  • ถล่มแผนจ้าวโลก (2525)
  • นักสืบฮาร์ด (2525)
  • มังกรห้าเล็บ (2526)
  • ไอ้ป.4 ไม่มีเส้น (2526) .... เสี่ยบุญมาก
  • ยุทธการกระดูกอ่อน (2527)
  • ลำพูนดำ (2527)
  • อย่าบอกว่าเธอบาป (2530)
  • คำพิพากษา (2532) .... ครูใหญ่
  • คนทรงเจ้า (2532)
  • ฉีกป่าล่าคน (2538)
  • เยาวราช (2546)

กำกับภาพยนตร์

  • อาอี๊ (2524) บริษัทเอเพ็คซ์

ละครวิทยุ

  • คณะเสียงใสไทยทีวี (ของช่อง 4 บริษัทไทยโทรทัศน์)
  • คณะเสียงใสการละคร (ของ สุภางค์ ชูโต นงเยาว์ ธรรมทัต)
  • คณะ 213 (ของบริษัท สหพัฒนพิบูลย์)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 [ นิตยสารพลอยแกมเพชร ปีที่ 3 ฉบับที่ 52 - 31 มีนาคม 2537 ]
  2. [ โลกมายาของอารีย์ โดย อารีย์ นักดนตรี - มีนาคม 2546 - ISBN 974-91018-4-7 ]
  3. หนังสือพิมพ์ ข่าวสยาม ปีที่ 9 ฉบับที่ 2322 วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2509
  4. หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3376 วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2509
  5. http://www.imdb.com/title/tt0080132/
  6. http://www.imdb.com/title/tt0060009/
  7. http://www.imdb.com/title/tt0060028/
  8. http://www.imdb.com/title/tt0055701/
  9. http://www.imdb.com/title/tt0058824/
  10. http://www.imdb.com/title/tt0052451/
  11. http://www.imdb.com/title/tt0057733/
  12. http://www.imdb.com/title/tt0071143/
  13. [ หนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี ปีที่ 7 ฉบับที่ 317 - มีนาคม 2535 ]
  14. หนังสือแบบเรียน ก.ไก่ ชั้นอนุบาล บริษัทประชาช่างจำกัด

แหล่งข้อมูลอื่น