ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะราษฎร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
better position
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
ราชอาณาจักรสยามปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ชาติได้ประสบกับปัญหาซึ่งเกิดจากรัฐบาลต้องรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรงและภัยคุกคามจากต่างชาติ ([[จักรวรรดิอังกฤษ]]และ[[จักรวรรดิฝรั่งเศส]]) นอกจากนี้ ประเทศยังประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่เมื่อชาวเมืองและชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครเริ่มขยายจำนวนขึ้น และเริ่มแสดงความต้องการสิทธิเพิ่มมากขึ้นจากรัฐบาล และวิจารณ์ว่ารัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ
ราชอาณาจักรสยามปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ชาติได้ประสบกับปัญหาซึ่งเกิดจากรัฐบาลต้องรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรงและภัยคุกคามจากต่างชาติ ([[จักรวรรดิอังกฤษ]]และ[[จักรวรรดิฝรั่งเศส]]) นอกจากนี้ ประเทศยังประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่เมื่อชาวเมืองและชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครเริ่มขยายจำนวนขึ้น และเริ่มแสดงความต้องการสิทธิเพิ่มมากขึ้นจากรัฐบาล และวิจารณ์ว่ารัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ


คณะราษฎรประกอบด้วยกลุ่มบุคคลผู้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและนักเรียนทหารที่ศึกษาและทำงานอยู่ใน[[ทวีปยุโรป]] โดยเริ่มต้นจาก นาย[[ปรีดี พนมยงค์]] นักเรียนวิชากฎหมาย และร้อยโท [[ประยูร ภมรมนตรี]] นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ก่อนที่จะหาสมาชิกที่มีความคิดแบบเดียวกันเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 7 คน คือ
คณะราษฎรประกอบด้วยกลุ่มบุคคลผู้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและนักเรียนทหารที่ศึกษาและทำงานอยู่ใน[[ทวีปยุโรป]] โดยเริ่มต้นจาก นาย[[ปรีดี พนมยงค์]] นักเรียนวิชากฎหมาย และร้อยโท [[ประยูร ภมรมนตรี]] นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ก่อนที่จะหาสมาชิกที่มีความคิดแบบเดียวกันเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่ <ref name="อำนาจ 2 : ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย">{{อ้างหนังสือ

#นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฏหมาย ประเทศฝรั่งเศส
#ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส
#ร.ท.[[แปลก ขีตตะสังคะ]] นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส
#ร.ท.[[ทัศนัย มิตรภักดี]] นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
#นาย[[ตั้ว ลพานุกรม]] นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
#[[หลวงศิริราชไมตรี]] (จรูญ สิงหเสนี) ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
#นาย[[แนบ พหลโยธิน]] นักเรียนวิชากฏหมาย ประเทศอังกฤษ<ref name="อำนาจ 2 : ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย">{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=รุ่งมณี เมฆโสภณ
|ผู้แต่ง=รุ่งมณี เมฆโสภณ
|ชื่อหนังสือ=อำนาจ 2 : ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย
|ชื่อหนังสือ=อำนาจ 2 : ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย
บรรทัด 26: บรรทัด 18:
}}
}}
</ref>
</ref>
#นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฏหมาย ประเทศฝรั่งเศส
#ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส
#ร.ท.[[แปลก ขีตตะสังคะ]] นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส
#ร.ท.[[ทัศนัย มิตรภักดี]] นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
#นาย[[ตั้ว ลพานุกรม]] นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
#[[หลวงศิริราชไมตรี]] (จรูญ สิงหเสนี) ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
#นาย[[แนบ พหลโยธิน]] นักเรียนวิชากฏหมาย ประเทศอังกฤษ


และได้ทำการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 [[Rue Du Sommerard|ถนนซอมเมอราร์ด]] ใน[[ปารีส|กรุงปารีส]] [[ประเทศฝรั่งเศส]] เมื่อวันที่ [[5 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2469]] ซึ่งติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน และได้ตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงที่ใช้วิธีการ "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการ[[ปฏิวัติฝรั่งเศส]]และ[[การปฏิวัติรัสเซีย]]<ref name="สองฝั่ง"/> ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงจากมหาอำนาจที่มีอาณานิคมอยู่ล้อมรอบสยามในสมัยนั้น คือ อังกฤษและฝรั่งเศส<ref name="Sarakadee">สารคดี, [http://www.sarakadee.com/feature/1999/06/2475.htm ยุทธการยึดเมือง 24 มิถุนายน 2475], [[นิตยสารสารคดี]], ปรับปรุงล่าสุด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549</ref>
และได้ทำการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 [[Rue Du Sommerard|ถนนซอมเมอราร์ด]] ใน[[ปารีส|กรุงปารีส]] [[ประเทศฝรั่งเศส]] เมื่อวันที่ [[5 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2469]] ซึ่งติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน และได้ตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงที่ใช้วิธีการ "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการ[[ปฏิวัติฝรั่งเศส]]และ[[การปฏิวัติรัสเซีย]]<ref name="สองฝั่ง"/> ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงจากมหาอำนาจที่มีอาณานิคมอยู่ล้อมรอบสยามในสมัยนั้น คือ อังกฤษและฝรั่งเศส<ref name="Sarakadee">สารคดี, [http://www.sarakadee.com/feature/1999/06/2475.htm ยุทธการยึดเมือง 24 มิถุนายน 2475], [[นิตยสารสารคดี]], ปรับปรุงล่าสุด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:53, 13 มิถุนายน 2556

ไฟล์:คณะราษฎร ปารีส 2468.jpg
คณะราษฎรพบปะกันที่กรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. 2468

คณะราษฎร[1] (มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) คือ กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย

เบื้องหลัง

ราชอาณาจักรสยามปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาติได้ประสบกับปัญหาซึ่งเกิดจากรัฐบาลต้องรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรงและภัยคุกคามจากต่างชาติ (จักรวรรดิอังกฤษและจักรวรรดิฝรั่งเศส) นอกจากนี้ ประเทศยังประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่เมื่อชาวเมืองและชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครเริ่มขยายจำนวนขึ้น และเริ่มแสดงความต้องการสิทธิเพิ่มมากขึ้นจากรัฐบาล และวิจารณ์ว่ารัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ

คณะราษฎรประกอบด้วยกลุ่มบุคคลผู้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและนักเรียนทหารที่ศึกษาและทำงานอยู่ในทวีปยุโรป โดยเริ่มต้นจาก นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย และร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ก่อนที่จะหาสมาชิกที่มีความคิดแบบเดียวกันเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่ [2]

  1. นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฏหมาย ประเทศฝรั่งเศส
  2. ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส
  3. ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส
  4. ร.ท.ทัศนัย มิตรภักดี นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
  5. นายตั้ว ลพานุกรม นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
  6. หลวงศิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
  7. นายแนบ พหลโยธิน นักเรียนวิชากฏหมาย ประเทศอังกฤษ

และได้ทำการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ซึ่งติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน และได้ตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงที่ใช้วิธีการ "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติรัสเซีย[3] ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงจากมหาอำนาจที่มีอาณานิคมอยู่ล้อมรอบสยามในสมัยนั้น คือ อังกฤษและฝรั่งเศส[4]

ในการประชุมครั้งนั้น กลุ่มผู้ก่อการได้ตั้งปณิธานในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อให้สยามบรรลุเป้าหมาย 6 ประการ[4] ซึ่งต่อมาหลังจากปฏิวัติยึดอำนาจได้แล้ว ก็ได้ประกาศเป้าหมาย 6 ประการนี้ไว้ในประกาศคณะราษฏร ฉบับที่ 1 และต่อมาได้เรียกว่าเป็น "หลัก 6 ประการของคณะราษฎร" โดยหลัก 6 ประการนั้นคือ[4]

  1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
  3. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
  5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
  6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

และที่ประชุมได้ลงมติให้ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า จนกว่าจะหาผู้ที่เหมาะสมกว่าได้[2]

หลังจากการประชุมนั้น เมื่อคณะผู้ก่อการได้กลับมาประเทศสยาม ก็ได้พยายามหาสมาชิกเพื่อเข้าร่วมการก่อการปฏิวัติ โดยได้ติดต่อประชาชนทุกอาชีพ ทั้งพ่อค้า ข้าราชการพลเรือน และทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูงที่มีแนวความคิดอย่างเดียวกันมานานก่อนหน้านี้ 4-5 ปีแล้ว[5] จนได้สมาชิกทั้งสิ้น 102 คน แบ่งเป็นสายต่าง ๆ คือ

โดยที่ประชุมคณะราษฎรตกลงกันว่า ในเรื่องของการปฏิวัติ ตลอดจนสถาปนาความมั่นคง และความปลอดภัยของบรรดาสมาชิก และของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายทหาร และในส่วนของการร่างคำประกาศ ตลอดจนการร่างกฎหมาย และการวางเค้าโครงต่าง ๆ ของประเทศ เป็นหน้าที่ของฝ่ายพลเรือน[3]

สมาชิกคณะราษฎร

สมาชิกคณะราษฎรแบ่งเป็นสามสายคือ สายทหารบก สายทหารเรือ สายพลเรือน โดยสมาชิกที่สำคัญในการก่อตั้งคณะราษฎร ในแต่ละสายได้แก่

ซึ่งภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จแล้ว นับว่าคณะราษฎรได้มีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงในทางการเมืองและสังคมของประเทศไทย เป็นระยะเวลายาวนานถึง 25 ปี จนกระทั่งมาหมดบทบาทอย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2500 จากการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม้สมาชิกคณะราษฎรหลายคนจะยังมีชีวิตอยู่ และยังอยู่ในเส้นทางสายการเมืองก็ตาม แต่ก็มิได้มีบทบาทอย่างสูงเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว[6][2]

ปัจจุบันสมาชิกคณะราษฎรทั้งหมดเสียชีวิตแล้ว โดยคนสุดท้ายที่เสียชีวิตคือ ร.ท.กระจ่าง ตุลารักษ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอายุ 98 ปี[7]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ตามที่ปรากฏในต้นฉบับประกาศคณะราษฎร ชื่อสะกดโดยไม่มีทัณฑฆาต
  2. 2.0 2.1 2.2 รุ่งมณี เมฆโสภณ. อำนาจ 2 : ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2555. 183 หน้า. ISBN 9786165360791
  3. 3.0 3.1 สองฝั่งประชาธิปไตย, "2475" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: 26 กรกฎาคม 2555
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 สารคดี, ยุทธการยึดเมือง 24 มิถุนายน 2475, นิตยสารสารคดี, ปรับปรุงล่าสุด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549
  5. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  6. เอกกษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ, บทที่ ๒๙ : ก่อนสฤษดิ์ปฏิวัติ (ต่อ) โดย วิมลพรรณ ปิติธวัชชัย : หน้า 2 เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
  7. ประชาไท, คณะราษฎรคนสุดท้ายเสียชีวิตแล้ว, 24 มิ.ย. 52
  • สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การเมืองการปกครองไทย: พ.ศ. 1762 - 2500. สำนักพิมพ์เสมาธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. พ.ศ. 2549.

แหล่งข้อมูลอื่น