ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
| type = [[มหาวิทยาลัยรัฐ]]
| type = [[มหาวิทยาลัยรัฐ]]
| head_label = นายกสภามหาวิทยาลัย
| head_label = นายกสภามหาวิทยาลัย
| head = [[ปัญญา ถนอมรอด|อ.ปัญญา ถนอมรอด]]
| head = [[ปัญญา ถนอมรอด|อ.ปัญญา ถนอมรอด]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/069/3.PDF</ref>
| type_headman = อธิการบดี
| type_headman = อธิการบดี
| อธิการบดี = [[ศุภชัย สมัปปิโต|ผศ. ดร.ศุภชัย สมัปปิโต]]
| อธิการบดี = [[ศุภชัย สมัปปิโต|ผศ. ดร.ศุภชัย สมัปปิโต]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:33, 11 มิถุนายน 2556

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตราโรจนากร
คติพจน์พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว
(ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน)
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนา9 ธันวาคม พ.ศ. 2537
อธิการบดีผศ. ดร.ศุภชัย สมัปปิโต
อธิการบดีผศ. ดร.ศุภชัย สมัปปิโต
นายกสภามหาวิทยาลัยอ.ปัญญา ถนอมรอด[1]
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.msu.ac.th

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม เดิมเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย

ประวัติ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย[2]

อันดับมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในอันดับที่ 1,101 ของโลก อันดับที่ 26 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 13 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[3]

สัญลักษณะประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ราชพฤกษ์
  • ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตราโรจนากร ซึ่งมีความหมายว่า สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา

ภายในมีภาพขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างเป็นสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิตซึ่งอยู่เหนือคำขวัญภาษาบาลี

" พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว " หมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน

ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา

พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี

สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ลายขิต หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน

ความหมายโดยรวม คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่นอีสาน

  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - เทา

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์

สีเทา หมายถึง ความคิด หรือ ปัญญา

สีเหลือง - เทา จึงหมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

  • วาทกรรมอัตลักษณ์ประชาคม มมส คือ ลูกพระธาตุนาดูน ดอกคูนผลิช่อ มอน้ำชี ศรีโรจนากร

ทำเนียบอธิการบดี

วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม
รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ดร.สายหยุด จำปาทอง พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2512
2. รองศาสตราจารย์ ดร. บุญชม ไชยโกษี พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517
มหาวิทยาลันศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม
รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518
2. รองศาสตราจารย์ ชูเกียรติ มณีธร พ.ศ. 2518 (รักษาการ)
3. ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐ พ.ศ. 2519
4. รองศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี เมืองนาโพธิ์ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2524
5. รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยะกาญจน พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2526
6. ดร. ถวิล ลดาวัลย์ พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2530
7. รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยะกาญจน พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534
8. รองศาสตราจารย์ ดร. จรูญ คูณมี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536
9. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาด พ.ศ. 2537
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาด พ.ศ. 2538 (รักษาการ)
2. เภสัชกร ศาสตราภิชาน ดร.ภาวิช ทองโรจน์ พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546
3. ศาสตราจารย์น นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 (รักษาการ)
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน

คณะ/วิทยาลัย/หน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน

ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สำนัก/สถาบัน

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเป็นโรงเรียนสาธิตเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่ได้สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ตั้งอยู่ 2 แห่งภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แก่

วิทยาเขต/ศูนย์/ฝ่าย/สมาคม

  • วิทยาเขตนครพนม (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม)
  • ศูนย์พัฒนาการศึกษาอุดรธานี
  • ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา
  • ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร
  • ศูนย์นวัตกรรมไหม
  • ศูนย์พัฒนาภาษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศูนย์อนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พิพิธภัณฑ์คัมภีร์ใบลาน วัดมหาชัย
  • ศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่น
  • ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา
  • ศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี
  • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โครงการบริการการศึกษา
  • โครงการบริการวิชาการภายนอก
  • ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา
  • สมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สมาคมเทคโนโลยีการศึกษา
  • องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กิจการเสริมศึกษา

  • สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สำนักบริหารจัดการและรักษาผลประโยชน์พื้นที่
  • ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ
  • ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สถานีวิทยุ MSU Radio
  • ร้านยามหาวิทยาลัย
  • น้ำดื่มยูนิเพียว
  • หน่วยโภชนบริการ
  • สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำกัด
  • สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงเดือนธันวาคมเป็นประจำทุกปี

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น