ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โพลีพลัส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nualjan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 86: บรรทัด 86:
*[[ภัทรนันท์ จามิกรณ์]]
*[[ภัทรนันท์ จามิกรณ์]]
*[[อรรคพันธ์ นะมาตร์]]
*[[อรรคพันธ์ นะมาตร์]]
*[[อัศนัย เทียนทอง]]


==รายการโทรทัศน์==
==รายการโทรทัศน์==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:59, 2 มิถุนายน 2556

บริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
(Polyplus Entertainment Company Limited)
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมโทรทัศน์
ก่อตั้งพ.ศ. 2537
สำนักงานใหญ่หมู่ 1 ซอยแจ้งวัฒนะ 43 ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
บุคลากรหลัก
อรพรรณ วัชรพล
ผลิตภัณฑ์สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา สื่อประชาสัมพันธ์
เว็บไซต์[1]

บริษัทโพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ ละครโทรทัศน์ของไทย ก่อตั้งโดยอรพรรณ วัชรพล เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2537 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท

โพลีพลัส เริ่มต้นจากการผลิตรายการเด็กที่ชื่อ 7-4-28 ต่อมาพัฒนารูปแบบ เป็นรายการ ที่นี่...มีเพื่อน ซึ่งจากรายการนี้ทำให้ได้รับรางวัล ผลงานสื่อมวลชนดีเด่น ครั้งที่ 12 ประเภทรายการโทรทัศน์ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการพิจารณาผลงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2537 ได้รางวัลเมขลา สาขารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนดีเด่น เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2538 และ เกียรติบัตรจากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2538 ปัจจุบัน โพลีพลัสได้ผลิตรายการโทรทัศน์หลากหลายประเภท เพื่อนำเสนอผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ,สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ,สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ไม่ว่าจะเป็นเกมโชว์ ,ควิซโชว์ ,เรียลลิตีโชว์ ,ทอล์คโชว์ และวาไรตี้โชว์

ในปี พ.ศ. 2541 โพลีพลัสได้มีโอกาสผลิตละครเป็นครั้งแรก เรื่อง รักแท้แค่ขอบฟ้า , รักเล่ห์เพทุบาย หลังจากที่โพลีพลัสเริ่มเป็นผู้จัดละคร มีนักแสดงหน้าใหม่เกิดขึ้นมากจึงเกิด บริษัท ก็อทช่า จำกัด ในปี พ.ศ. 2543 เพื่อดูแลดาราและนักแสดงในสังกัด หลังจากนั้นเมื่อมีรายการโทรทัศน์และละครมากขึ้นจึงเปิด บริษัท โพลีพลัส สตูดิโอ จำกัด เพื่อรองรับงานทางด้านการถ่ายทำรายการในสตูดิโอ ตลอดจนงานทางด้านตัดต่อรายการ

ในปี พ.ศ. 2547 ได้จัดตั้ง บริษัท โพลีพลัส พีอาร์ จำกัด ให้บริการด้านที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ รับวางแผนและดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์แบบครบวงจร พร้อมทั้ง บริษัท โพลีพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด ได้ก่อกำเนิดขึ้น ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ มีนิตยสาร Oops! นิตยสารบันเทิงออกเป็นเล่มแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 เปิดบริษัท โพลีพลัส เอ็กซ์ตร้า จำกัด ทำงานด้านโทรทัศน์ทุกประเภทให้กับองค์กรอื่นๆ อาทิ งานโฆษณาต่างๆ[1]

โพลีพลัสและบริษัทในเครือ มีพนักงานประมาณ 200 กว่าชีวิต[2] โดยบริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ สร้างรายได้มากสุดในบริษัทในเครือข่าย โดยในปี 2549 รายได้ 554.5 ล้านบาท กำไรสุทธิ 39.3 ล้านบาท และในปี 2550 มีรายได้ 605.7 ล้านบาท กำไรสุทธิ 76.5 ล้านบาท และปี 2551 มีรายได้ 717.4 ล้านบาท กำไรสุทธิ 203.6 ล้านบาท มีสินทรัพย์ 637 ล้านบาท[3]

บริษัทในเครือข่าย

บริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด มีบริษัทในเครือข่ายอีก 10 แห่ง

  • บริษัท โพลีพลัส ออกาไนเซอร์ จำกัด ก่อตั้ง วันที่ 11 มิถุนายน 2540 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท จัดงานและเป็นตัวแทนในการโฆษณาในสื่อมวลชนทุกชนิด
  • บริษัท ทู อิน วัน จำกัด ก่อตั้ง วันที่ 13 มีนาคม 2541 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ผลิตละครโทรทัศน์
  • บริษัท ก็อทช่า จำกัด ก่อตั้ง วันที่ 15 กันยายน 2543 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ให้บริการศิลปิน ผลิตรายการโทรทัศน์
  • บริษัท บริษัท บ้านละคอน จำกัด ก่อตั้ง วันที่ 10 พฤษภาคม 2545 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ผลิตละครโทรทัศน์
  • บริษัท หนุก-หนาน จำกัด ก่อตั้ง วันที่ 19 มิถุนายน 2545 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ผลิตละครโทรทัศน์
  • บริษัท โพลีพลัส พีอาร์ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 10 มีนาคม 2547 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ทำประชาสัมพันธ์
  • บริษัท เทเลพลัส เทเลวิชั่น จำกัด ก่อตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2547 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ทำโฆษณา เป็นตัวแทนในการโฆษณาทุกรูปทุกประเภท (เลิกกิจการวันที่ 21 มกราคม 2551)
  • บริษัท โพลีพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด ก่อตั้ง วันที่ 11 มิถุนายน 2547 ทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท ผลิตหนังสือและโฆษณา
  • บริษัท โพลีพลัส สตูดิโอ จำกัด ก่อตั้ง วันที่ 9 สิงหาคม 2548 ทุนจดทะเบียนปัจจุบัน 1 ล้านบาท
  • บริษัท โพลีพลัส เอ็กซ์ตร้า จำกัด ก่อตั้งวันที่ 9 สิงหาคม 2548 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ผลิตสกู๊ปรายการโทรทัศน์

นักแสดงในสังกัด

อดีตในสังกัด

รายการโทรทัศน์

ในปัจจุบัน

  • วีไอพี (ทุกวันจันทร์ 22:30 น.)
  • สามแซ่บ (ทุกวันพุธ 23.15 น.)
  • วันวานยังหวานอยู่ (ทุกวันศุกร์ 23.00 น.)
  • ดาวกระจาย (ทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ ประมาณ 20.20 น.)
  • ศึก 12 ราศี (ทุกวันอาทิตย์ 12.15 น.)
  • ตลาดสดสนามเป้า (ทุกวันอาทิตย์ ประมาณ 20.30 น.)
  • คู่เลิฟตะลอนทัวร์ (ทุกวันอาทิตย์ 16.00-17.00 น.)
  • ศึก 2 บ้าน (ทุกวันเสาร์ 22.30-23.15 น.)

ในอดีต

ละครโทรทัศน์

รางวัล

ปี 2537-38

  • รางวัลรายการโทรทัศน์เพื่อเยาวชน อายุ 7-14 ปี ครั้งที่ 12 จาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (รายการ ที่นี่...มีเพื่อน)
  • รางวัล เมขลา ประเภทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนดีเด่น (รายการ ที่นี่...มีเพื่อน)
  • เกียรติบัตรจากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานนายกรัฐมนตรี (รายการ ที่นี่...มีเพื่อน)
  • รางวัล โหวตอวอร์ด จากรายการวิทยุเรดิโอโหวตแซทเทิลไลท์ จากการโหวตหัวข้อ "รายการทีวีเพื่อเด็กที่คุณคิดว่าดีที่สุด" ของผู้ฟังรายการวิทยุ (รายการ ที่นี่...มีเพื่อน)

ปี 2539-40

  • รางวัล รายการโทรทัศน์เพื่อเยาวชน อายุ 7-14 ปี ครั้งที่ 14 (รายการ ที่นี่...มีเพื่อน)
  • รางวัล พิธีกรดีเด่นเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 14 (รายการ ที่นี่...มีเพื่อน)
  • รางวัลเมขลา ประเภทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนดีเด่น (รายการ ที่นี่...มีเพื่อน)
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทรายการสำหรับเด็ก (รายการ ที่นี่...มีเพื่อน)
  • รางวัล พิธีกรดีเด่นเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 15 (รายการ ที่นี่...มีเพื่อน)

ปี 2550

ปี 2551

ปี 2552

ปี 2553

  • รางวัลวาไรตี้ยอดเยี่ยม จากงานประกาศผลรางวัลวิทยุโทรทัศน์ นาฏราช ครั้งที่ 1 (รายการ ตลาดสดสนามเป้า)
  • รางวัล รายการทีวีฮอตแห่งปี จากงาน ทีวี อินไซด์ ฮอต อวอร์ด (รายการ ตลาดสดสนามเป้า)
  • รางวัล กิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” ครั้งที่ 23 ประจำปี 2552 – 2553 จาก สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (รายการ ตลาดสดสนามเป้า)
  • รางวัล ละครฮอตแห่งปี จากงาน ทีวี อินไซด์ ฮอต อวอร์ด (ละคร พระจันทร์ลายพยัคฆ์)
  • รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ในงาน เยี่ยมเยือน 7 สี สวัสดีปีกระต่าย ในฐานะที่ละคร พระจันทร์ลายพยัคฆ์ เรทติ้งสูงสุดในปี 2553
  • รางวัลรายการโทรทัศน์ในดวงใจครอบครัว ประเภท น 13+ จากงาน แฟมิลี่ อวอร์ดส 2010 (ละคร คู่กิ๊กพริกกะเกลือ)
  • รางวัล หนุ่มเจ้าเสน่ห์ - อรรคพันธ์ นะมาตร์ จากงาน "สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส 2010" (ละคร พระจันทร์ลายพยัคฆ์)
  • รางวัล เซ็กซี่ชาย ฮอตแห่งปี - อรรคพันธุ์ นะมาตร์ จากงาน ทีวี อินไซด์ ฮอต อวอร์ด (ละคร พระจันทร์ลายพยัคฆ์)
  • รางวัลระฆังทอง บุคคลแห่งปี 2553 ในสาขา สร้างสรรค์สนับสนุนมวลชนและสังคมดีเด่น ประเภทศิลปิน จาก สมัชชานักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  • รางวัลทีน ช้อยซ์ อวอร์ดส - อรรคพันธ์ นะมาตร์ จากงาน Seventeen 8th Anniversary & Seventeen Ambassader 2010
  • รางวัล กล้ามแขนหน้าหนุน - อรรคพันธ์ นะมาตร์ จากงาน สตาร์ช้อยส์ อะวอร์ดส ฉลองครบรอบ 15 ปี หนังสือพิมพ์สยามบันเทิง
  • รับโล่เกียรติคุณ - จิรายุ ละอองมณี , ชาลี ไตรรัตน์ , โฟกัส จีระกุล ในฐานะนักแสดงนำภาพยนตร์สั้น เพื่อรณรงค์ปลูกจิตสำนึกและสร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้กับสังคมไทย จาก กระทรวงวัฒนธรรม

ปี 2554

  • รางวัลรายการส่งเสริมอาชีพยอดเยี่ยม สาขา สร้างสรรค์สังคม จากงานท็อป อวอร์ดส 2010 (รายการ ตลาดสดสนามเป้า)
  • รางวัล Top Talk-About 2011 รางวัลที่เป็นที่สุดของโลกออนไลน์ ในเว็บไซต์ MThai.com ครั้งแรกในประเทศไทย - อรรคพันธุ์ นะมาตร์ (ละคร พระจันทร์ลายพยัคฆ์)
  • รางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ ในฐานะผู้สนับสนุนการใช้ภาษาไทยและผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ และ กันต์ กันตถาวร จากละคร บ่วงร้ายพ่ายรัก)
  • รางวัลดาราสนับสนุนชายดีเด่น ในงาน โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 - อรรคพันธุ์ นะมาตร์ จากละคร พระจันทร์ลายพยัคฆ์
  • รางวัลพระเอกขวัญใจชาวสีม่วง (อรรคพันธุ์ นะมาตร์)
  • รางวัลพระร้ายยอดฝีมือ งานสตาร์ปาร์ตี้ 22 ปี ทีวีพูล (กันต์ กันตถาวร)
  • รางวัลผู้หญิงคิดบวกแห่งปี 2554 - คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ ในงาน Think Positive ผู้หญิงคิดบวก...ยิ่งสวยขึ้น
  • รางวัล ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ด้านการแสดง - อรรคพันธุ์ นะมาตร์ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2554 จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รับโล่ประกาศเกียรติคุณ - ชาลี ไตรรัตน์ ในฐานะเยาวชนดีเด่นด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ในการทำความดี ตามโครงการรวมพลังเยาวชนคนทำดี จากกระทรวงวัฒนธรรม

ปี 2555

  • รางวัลพระกินรีในฐานะนักแสดงที่เป็นแบบอย่าง คนดี คิดดี สังคมดี ตามรอยพระยุคลบาท ประเทศไทย (สว.นท) - กันต์ กันตถาวร โดย สมัชชานักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่ง
  • รางวัลเยาวชนปลอดบุหรี่ดีเด่น งาน ศิลปิน ดาราและสื่อสารมวลชน เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ครั้งที่ 3 เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมไทย (จิรายุ ละอองมณี และ โฟกัส จิระกุล)
  • เข้ารับประทานเข็มเชิดชูเกียรติยศสูงสุด พระนามย่อ สส จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ พิธีกรและ วิทวัส อรุณเลิศวิทยา โปรดิวเซอร์)
  • รางวัลคนดังบนโลกออนไลน์ Mthai Top Talk About 2012 ในฐานะนักแสดงชายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ในเว็บไซต์เอ็มไทยดอตคอม (อ๋อม-อรรคพันธ์ นะมาตร์ จากละคร ทวิภพ และ เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ จากละคร เธอกับเขาและรักของเรา)
  • รางวัล มณีเมขลา สาขา ต่อต้านยาเสพติด ในงาน ประกาศรางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 (คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์)
  • โล่พรีเซ็นเตอร์ต่อต้านยาเสพติด ในพิธีประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลและองค์กร ที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2554 (คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์)
  • นักแสดงนำจากละครเรื่อง “ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม” รับรางวัล ศิลปินคุณธรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องใน วันอาสาฬหบูชา 2555 พุทธชยันตี เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธ (กันต์ กันตถาวร)
  • หนึ่งในนักแสดงตัวอย่างที่ทำคุณความดีให้กับสังคม จาก โครงการภาพยนตร์สั้น “ศีล 5” รับโล่ประกาศเกียรติคุณ โดย กระทรวงวัฒนธรรม (ภูสิษฐ์ เอี่ยมสุข)
  • โล่ประกาศเกียรติคุณศิลปิน “สปอร์ตแมน 2012” โดย การกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และโครงการอนุรักษ์ส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ยกย่องศิลปินดาราที่รักการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีและเป็นแบบอย่างแก่เยาวชน (จิรายุ ละอองมณี)
  • รางวัลช่อสะอาด ประจำปี 2555 ในฐานะผู้ที่มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) (กันต์ กันตถาวร และ รัชวิน วงศ์วิริยะ)
  • โล่ประกาศเกียรติคุณ จาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ในฐานะบุคคลดีเด่นที่เป็นแบบอย่างในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2555 (พิมพ์นิภา จิตตธีรโรจน์)
  • รางวัล ละครยอดฮิต งาน สยามดารา สตาร์ อวอร์ดส์ 2012 (ละคร รักออกอากาศ)
  • รางวัล ละครเรตติ้งสูงสุดต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ เข้ารับในงาน มอบรางวัลละครเรทติ้งสูงสุด ก.พ. 54 – มิ.ย. 55 (ละคร คู่แค้นแสนรัก)
  • รางวัล พิฆเนศวร รายการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวดีเด่น โดย หนูแหม่ม-สุริวิภา ควบรางวัล พิธีกรผู้ดำเนินรายการดีเด่น (หญิง) จาก ศึก 12 ราศี ทางช่อง 3 ในงาน ประกาศผลรางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 (รายการ คู่เลิฟตะลอนทัวร์)

อ้างอิง