ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Robosorne (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| target = [[สมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ]] และพระบรมวงศานุวงศ์เนปาล
| target = [[สมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ]] และพระบรมวงศานุวงศ์เนปาล
| date = [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2544]]
| date = [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2544]]
| time = ประมาณ 21 ชั่วโมง
| time = ประมาณ 21 นาฬิกา
| timezone = [[UTC+5:45]]
| timezone = [[UTC+5:45]]
| type = การสังหารหมู่, การฆาตกรรม- ฆ่าตัวตาย
| type = การสังหารหมู่, การฆาตกรรม- ฆ่าตัวตาย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:50, 2 มิถุนายน 2556

เหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์เนปาล พ.ศ. 2544
พระราชวังนารายันหิติ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล สถานที่เกิดเหตุ ปัจจุบันได้แปรสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐ
วันที่1 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ประมาณ 21 นาฬิกา (UTC+5:45)
เป้าหมายสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ และพระบรมวงศานุวงศ์เนปาล
ประเภทการสังหารหมู่, การฆาตกรรม- ฆ่าตัวตาย
ตาย9 (10 รวมทั้งผู้ก่อเหตุ)
เจ็บ5
ผู้ก่อเหตุมกุฎราชกุมารทิเปนทรพีระพิกรมศาหเทวะ

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์แห่งเนปาลขึ้นภายในพระราชวังในกรุงกาฐมาณฑุ เป็นผลให้กษัตริย์พิเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ (Birendra Bir Bikram Shah Dev) และสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ (Aiswarya) เสด็จสวรรคต พร้อมด้วยสมาชิกพระราชวงศ์อีก 7 พระองค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสมาชิกองค์สำคัญในราชวงศ์เนปาลทั้งสิ้น เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวโลกตื่นตะลึง และยังความเศร้าโศกโกลาหลให้แก่ชาวเนปาลอย่างมหันต์

สำนักพระราชวังได้ประกาศสาเหตุของโศกนาฏกรรมว่า เกิดจากอุบัติเหตุพระแสงปืนลั่นโดยมกุฎราชกุมารดิเพนทรา (Dipentra) เป็นผู้ทำพระแสงปืนลั่นในขณะที่สมาชิกพระราชวงศ์กำลังร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำ ก่อนที่องค์มกุฎราชกุมารจะทำพระแสงปืนลั่นถูกพระองค์เอง ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักพระราชวังและแหล่งข่าวหลายกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดจากการที่องค์มกุฏราชกุมาณทรงบันดาลโทสะในขณะทรงวิวาทกับพระราชมารดาเรื่องการที่องค์มกุฎราชกุมาร ทรงต้องการจะอภิเษกกับสตรีจากตระกูลรานา (Rana) และแหล่งข่าวอีกหลายกระแส ตั้งข้อสงสัยว่าองค์มกุฎราชกุมารทรงตกอยู่ในพระอาการมึนเมาจากน้ำจัณฑ์ (สุรา) และยาเสพติด

หลังจากจัดงานพระบรมศพเรียบร้อย ในวันที่ 3 มิถุนายน ทางการเนปาลก็ได้อันเชิญให้มกุฎราชกุมาร ดิเพนทรา ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา แต่ในวันเดียวกัน พระองค์ก็สวรรคตลงอีกพระองค์หนึ่ง ทำให้ทางการเนปาลต้องถวายการแต่งตั้งให้เจ้าชายชญาเนนทร (Gyanendra) พระอนุชาของกษัตริย์พิเรนทรา ซึ่งมิได้ประทับในกาฐมาณฑุขณะเกิดโศกนาฏกรรม

การสวรรคตของกษัตริย์พิเรนทรา ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศของเนปาลเกิดความปั่นป่วนขึ้นเกือบจะในทันที ประชาชนจำนวนมากได้รวมตัวกันเป็นขบวนประท้วงไปตามถนนในกรุงกาฐมาณฑุ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสืบหาความจริงของโศกนาฏกรรมโดยด่วน ประชาชนที่กำลังโกรธแค้นได้ทำลายสาธารณสมบัติ และต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจนมีผู้เสียชีวิตหลายราย ทำให้ทางการต้องประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน ในขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับถูกสั่งปิดข้อหาลงข่าวที่ไม่เหมาะสม ขณะที่ผู้นำกลุ่มลัทธิเหมา (Maoist) นายประจันดา (Prachanda เป็นชื่อย่อจาก Pushpa Kamal Dahal) ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ฝ่ายซ้าย (leftist) ฝ่ายชาตินิยม (nationalist) และฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ (republican) ร่วมกันตั้งรัฐบาลเฉพาะการณ์ขึ้นในระหว่างที่ประเทศกำลังระส่ำระสาย นอกจากนี้ นายมาดาว์ กุมาร เนปาล (Madhav Kumar Nepal) หัวหน้าพรรคแนวร่วมคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (Nepal Communist Party-United Marxist and Leninist : NCP-UML) ซึ่งเป็นฝ่ายค้านของเนปาลได้ลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 14 มิถุนายน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจต่อการสวรรคตของกษัตริย์พิเรนทรา

เหยื่อจากเหตุการณ์สังหารหมู่

ผู้เสียชีวิต

ผู้ได้รับบาดเจ็บ

  • เจ้าหญิงโศภา (พระขนิษฐาในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทร)
  • นายกุมาร โครัข (พระสวามีในเจ้าหญิงศรุติ)
  • เจ้าหญิงโกมล (พระชายาในเจ้าชายชญาเนนทร; ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งเนปาลคนสุดท้าย)
  • นางเคตากี เชสเตอร์ (พระญาติในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทร ซึ่งลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
  • เจ้าชายปารัส (พระโอรสในเจ้าชายชญาเนนทร; ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร)

แม่แบบ:Link GA