ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 108: บรรทัด 108:
สัมพันธภาพของพระองค์กับเจ้าชายมีเกล พระโอรสกลับไม่สามารถดำรงได้ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของพระมารดาเข้าแทรกแซง เจ้าชายมีเกลทรงก่อการ[[กบฏเมษายน]] หรือ Abrilada โดยกองทหารรักษาการณ์ในลิสบอนในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2367 กลุ่มกบฏได้อ้างว่าเพื่อต้องการกำจัดองค์กร[[ฟรีเมสัน]]และป้องกันพระมหากษัตริย์จากแผนการลอบปลงพระชนม์ของพวกฟรีเมสันที่ซึ่งทำการต่อต้านพระองค์ แต่พระเจ้าฌูเอากลับทรงถูกนำพระองค์มาเพื่อคุ้มครองใน[[พระราชวังเบงปอชตา]] นักการเมืองจำนวนมากที่เป็นศัตรูกับเจ้าชายมีเกลยังคงถูกจับกุมอยู่ที่ไหนสักแห่ง พระประสงค์ของเจ้าชายทรงต้องการขู่ให้พระราชบิดาสละราชบัลลังก์ มีการตื่นตัวถึงสถานการณ์ คณะเจรจาฝ่ายทหารได้ควบคุมและเข้าไปยังพระราชวังเบงปอชตา ได้บอกให้พระมหากษัตริย์ไม่ให้ทำการต่อต้านมาก และได้ฟื้นฟูอิสรภาพของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม จากคำปรึกษาของคณะทูตที่เป็นมิตรกัน พระเจ้าฌูเอาทรงแสร้งที่จะเสด็จประพาสเมือง[[คาซิเอส]] แต่ในความเป็นจริงพระองค์เสด็จไปหลบภัยในเรือรบของอังกฤษที่ซึ่งเทียบท่ารอพระองค์อยู่ พระองค์มีพระราชวินิจฉัยจาก[[เรือเฮสเอ็มเอส วินเซอร์ คาสเซิล(1790)|เรือเฮสเอ็มเอส วินเซอร์ คาสเซิล]]ทรงกล่าวประณามพระโอรส มีพระบรมราชโองการปลดพระโอรสออกจากตำแหน่งสั่งการในกองทัพ และให้พระโอรสปล่อยนักโทษทางการเมือง เจ้าชายมีเกลทรงถูกเนรเทศ ด้วยการที่กลุ่มกบฏถูกกำจัด ทั้งกลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มสมบูรณาญาสิทธิ์ได้ออกมายังถนนเพื่อเฉลิมฉลองการดำรงอยู่ของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย<ref name="Dicionário"/><ref>Cardoso, pp. 269–271</ref> ในวันที่ 14 พฤษภาคม พระมหากษัตริย์เสด็จกลับพระราชวังเบงปอชตา มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสภารัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและทรงแสดงความเมตตาต่อผู้ที่เคยร่วมก่อการกบฏ แต่ก็ยังไม่มีการเตือนพระราชินีจากการก่อการสมคบคิด ตำรวจได้ค้นพบแผนการกบฏต่อไปในวันที่ 26 ตุลาคม และเป็นหลักฐานที่พระเจ้าฌูเอามีพระบัญชาให้จับกุมพระมเหสีโดยกักบริเวณแต่ในพระตำหนักที่[[พระราชวังหลวงเกลุช]]<ref name="Dicionário"/>
สัมพันธภาพของพระองค์กับเจ้าชายมีเกล พระโอรสกลับไม่สามารถดำรงได้ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของพระมารดาเข้าแทรกแซง เจ้าชายมีเกลทรงก่อการ[[กบฏเมษายน]] หรือ Abrilada โดยกองทหารรักษาการณ์ในลิสบอนในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2367 กลุ่มกบฏได้อ้างว่าเพื่อต้องการกำจัดองค์กร[[ฟรีเมสัน]]และป้องกันพระมหากษัตริย์จากแผนการลอบปลงพระชนม์ของพวกฟรีเมสันที่ซึ่งทำการต่อต้านพระองค์ แต่พระเจ้าฌูเอากลับทรงถูกนำพระองค์มาเพื่อคุ้มครองใน[[พระราชวังเบงปอชตา]] นักการเมืองจำนวนมากที่เป็นศัตรูกับเจ้าชายมีเกลยังคงถูกจับกุมอยู่ที่ไหนสักแห่ง พระประสงค์ของเจ้าชายทรงต้องการขู่ให้พระราชบิดาสละราชบัลลังก์ มีการตื่นตัวถึงสถานการณ์ คณะเจรจาฝ่ายทหารได้ควบคุมและเข้าไปยังพระราชวังเบงปอชตา ได้บอกให้พระมหากษัตริย์ไม่ให้ทำการต่อต้านมาก และได้ฟื้นฟูอิสรภาพของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม จากคำปรึกษาของคณะทูตที่เป็นมิตรกัน พระเจ้าฌูเอาทรงแสร้งที่จะเสด็จประพาสเมือง[[คาซิเอส]] แต่ในความเป็นจริงพระองค์เสด็จไปหลบภัยในเรือรบของอังกฤษที่ซึ่งเทียบท่ารอพระองค์อยู่ พระองค์มีพระราชวินิจฉัยจาก[[เรือเฮสเอ็มเอส วินเซอร์ คาสเซิล(1790)|เรือเฮสเอ็มเอส วินเซอร์ คาสเซิล]]ทรงกล่าวประณามพระโอรส มีพระบรมราชโองการปลดพระโอรสออกจากตำแหน่งสั่งการในกองทัพ และให้พระโอรสปล่อยนักโทษทางการเมือง เจ้าชายมีเกลทรงถูกเนรเทศ ด้วยการที่กลุ่มกบฏถูกกำจัด ทั้งกลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มสมบูรณาญาสิทธิ์ได้ออกมายังถนนเพื่อเฉลิมฉลองการดำรงอยู่ของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย<ref name="Dicionário"/><ref>Cardoso, pp. 269–271</ref> ในวันที่ 14 พฤษภาคม พระมหากษัตริย์เสด็จกลับพระราชวังเบงปอชตา มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสภารัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและทรงแสดงความเมตตาต่อผู้ที่เคยร่วมก่อการกบฏ แต่ก็ยังไม่มีการเตือนพระราชินีจากการก่อการสมคบคิด ตำรวจได้ค้นพบแผนการกบฏต่อไปในวันที่ 26 ตุลาคม และเป็นหลักฐานที่พระเจ้าฌูเอามีพระบัญชาให้จับกุมพระมเหสีโดยกักบริเวณแต่ในพระตำหนักที่[[พระราชวังหลวงเกลุช]]<ref name="Dicionário"/>


===ปีสุดท้ายและสวรรคต===
===ยามบั้นปลายและการสวรรคต===
[[ไฟล์:Retrato de D. Joao VI - Gregorius, Albertus Jacob Frans.jpg|thumb|right|''พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส'' วาดโดย อัลเบอร์ตัส จาค็อบ ฟรานซ์ เกรกอเรียส ในปี พ.ศ. 2368]]
[[ไฟล์:Retrato de D. Joao VI - Gregorius, Albertus Jacob Frans.jpg|thumb|right|''พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส'' วาดโดย อัลเบอร์ตัส จาค็อบ ฟรานซ์ เกรกอเรียส ในปี พ.ศ. 2368]]
ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าฌูเอามีพระบรมราชโองการเปิดเมืองท่าเสรีในลิสบอนแต่กฎหมายก็ไม่เป็นผล มีพระบรมราชโองการให้เพิ่มการไต่สวนในการสืบสวนในกรณีที่พระสหายเก่า [[มาควิสแห่งลูเล]]เสียชีวิต แต่คำพิพากษาสูงสุดไม่เคยได้รับการช่วยเหลือ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2367 พระองค์ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการลุกฮือที่ปอร์โต ยกเว้นเจ้าหน้าที่เก้าคนได้ถูกเนรเทศ ในวันเดียวกันรัฐธรรมนูญฉบับเก่าแห่งพระราชอาณาจักรได้ถูกนำกลับมาบังคับใช้ และกลุ่มคอร์เตสได้เปิดประชุมเพื่อร่างฉบับใหม่ การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเป็นการเผชิญหน้ากับอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะอุปสรรคกับสเปนและกลุ่มผู้สนับสนุนในสมเด็จพระราชินี<ref name="Soriano"/>
ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าฌูเอามีพระบรมราชโองการเปิดเมืองท่าเสรีในลิสบอนแต่กฎหมายก็ไม่เป็นผล มีพระบรมราชโองการให้เพิ่มการไต่สวนในการสืบสวนในกรณีที่พระสหายเก่า [[มาควิสแห่งลูเล]]เสียชีวิต แต่คำพิพากษาสูงสุดไม่เคยได้รับการช่วยเหลือ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2367 พระองค์ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการลุกฮือที่ปอร์โต ยกเว้นเจ้าหน้าที่เก้าคนได้ถูกเนรเทศ ในวันเดียวกันรัฐธรรมนูญฉบับเก่าแห่งพระราชอาณาจักรได้ถูกนำกลับมาบังคับใช้ และกลุ่มคอร์เตสได้เปิดประชุมเพื่อร่างฉบับใหม่ การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเป็นการเผชิญหน้ากับอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะอุปสรรคกับสเปนและกลุ่มผู้สนับสนุนในสมเด็จพระราชินี<ref name="Soriano"/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:03, 28 พฤษภาคม 2556

พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส

ฌูเอา มารีอา ฌูเซ ฟรังซิชกู ชาวีเอร์ ดึ เปาลา ลูอิช อังตอนีอู ดูมิงกุช ราฟาเอล
พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส วาดโดยฌูเซ ลึอังดรู ดึ การ์วัลยู ราวปี พ.ศ. 2361
เจ้าชายแห่งโปรตุเกส
ดยุคแห่งบรากังซา
ดยุคแห่งเบฌา
เจ้าชายแห่งบราซิล
เจ้าชาย ผู้สำเร็จราชการแห่งโปรตุเกส
พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ
พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ
จักรพรรดิแห่งบราซิล (เพียงในพระนาม)
ครองราชย์20 มีนาคม พ.ศ. 235910 มีนาคม พ.ศ. 2369
รัชสมัย9 ปี 355 วัน
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส
และ
พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
รัชกาลถัดไปพระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกส
ประสูติ13 พฤษภาคม พ.ศ. 2310
ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
สวรรคต10 มีนาคม พ.ศ. 2369
ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
(พระชนมายุ 58 พรรษา)
พระราชบุตรเจ้าหญิงมารีอา ตีเรซาแห่งไบรา
เจ้าชายฟรังซิชกู อังตอนีอูแห่งไบรา
มารีอา อิซาเบลแห่งโปรตุเกส สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน
จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
เจ้าหญิงมารีอา ฟรังซิชกาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงอิซาเบล มารีอาแห่งโปรตุเกส
พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมารีอา ดา อาซุงเซาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส
พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ
ราชวงศ์บรากังซา
พระราชบิดาพระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส

พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส (โปรตุเกส: Dom João VI de Portugal, ออกเสียง: [ʒuˈɐ̃w̃]) มีพระนามเต็มว่า ฌูเอา มารีอา ฌูเซ ฟรังซิชกู ชาวีเอร์ ดึ เปาลา ลูอิช อังตอนีอู ดูมิงกุช ราฟาเอล ดึ บรากังซา (João Maria José Francisco Xavier de Paula Luís António Domingos Rafael de Bragança; 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2310 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2369) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ ตั้งแต่ พ.ศ. 2359 ถึง พ.ศ. 2365 ทรงปกครองสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิลและแอลการ์ฟโดยพฤตินัย ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส พระมารดาและทรงปกครองโดยนิตินัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2365 ถึง พ.ศ. 2368 หลังจากการประกาศอิสรภาพบราซิลภายใต้สนธิสัญญารีโอเดจาเนโร (1825) และยังทรงดำรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟสืบต่อจนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2369 จากสนธิสัญญานี้พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งบราซิลเพียงในพระนาม ในขณะที่เจ้าชายเปดรู พระโอรสองค์โตของพระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลและทั้งสองพระองค์ทรงมีอำนาจทั้งทางพฤตินัยและนิตินัยในประเทศใหม่นี้

พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสประสูติที่กรุงลิสบอน ในปี พ.ศ. 2310 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกสกับสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส เดิมมีพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งโปรตุเกส (มิใช่เจ้าชายรัชทายาท) พระองค์ทรงกลายเป็นองค์รัชทายาทเมื่อเจ้าชายฌูเซแห่งบราซิล พระเชษฐา สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2331 จากพระโรคฝีดาษขณะมีพระชนมายุ 27 พรรษา

ก่อนที่พระองค์จะเสด็จครองราชสมบัติโปรตุเกส พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศดยุคแห่งบรากังซา, ดยุคแห่งเบฌา และเจ้าชายแห่งบราซิล พระองค์ทรงรับตำแหน่งเจ้าชายผู้สำเร็จราชการแห่งโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2342 (และหลังจากนั้นทรงเป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการแห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟในปี พ.ศ. 2358) อันเนื่องมาจากอาการประชวรทางพระสติของสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 พระราชมารดา ในที่สุดเมื่อพระมารดาเสด็จสวรรคต พระองค์จึงได้ครองราชสมบัติสืบต่อเป็นพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งจักรวรรดิโปรตุเกสโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจมากนัก เนื่องจากพระองค์มีพระราชอำนาจเต็มที่ตั้งแต่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแล้ว

พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพในยุคที่มีแต่ความวุ่นวาย ในรัชกาลของพระองค์ไม่เคยมีความสงบสุขที่ยาวนาน ตลอดช่วงที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในพระนางมาเรียและเมื่อเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว กลุ่มมหาอำนาจเช่น สเปน ฝรั่งเศส และบริเตนใหญ่ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นสหราชอาณาจักร) ได้เข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของโปรตุเกสอย่างต่อเนื่อง พระองค์จำต้องลี้ภัยไปยังบราซิลเมื่อกองทัพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เข้ารุกรานโปรตุเกส ที่นั่นพระองค์ต้องทรงเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากกลุ่มเสรีนิยมซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันตามเมืองใหญ่ ๆ พระองค์ทรงถูกบังคับให้เสด็จกลับยุโรปท่ามกลางความขัดแย้งครั้งใหม่ การอภิเษกสมรสของพระองค์กับเจ้าหญิงการ์โลตา โคอากีนาแห่งสเปน ก็ไม่ได้สร้างความขัดแย้งไปน้อยกว่ากัน พระนางการ์โลตาทรงจุดประกายความขัดแย้งเพื่อต่อต้านพระสวามีเพื่อผลประโยชน์ของสเปน บ้านเกิดของพระนางเอง พระองค์ทรงสูญเสียบราซิลเมื่อเจ้าชายเปดรู พระโอรสได้ทรงประกาศเอกราช และพระโอรสอีกพระองค์คือ เจ้าชายมีเกลก็ทรงก่อกบฏเพื่อต่อต้านพระราชบิดา จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า การสวรรคตของพระองค์เกิดจากการรับสารพิษจำพวกสารหนู

อย่างไรก็ตาม ความยากลำบากเหล่านี้ทำให้พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจไว้โดยเฉพาะในบราซิล พระองค์ทรงก่อตั้งสถาบันและการบริการต่าง ๆ ไว้มากมายซึ่งเป็นการวางรากฐานสู่การปกครองตนเอง และทรงได้รับการพิจารณาจากนักวิจัยหลาย ๆ คนว่าทรงเป็นผู้ริเริ่มโครงการให้บราซิลเป็นรัฐที่ทันสมัย อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงถูกบรรยายว่าเป็นผู้เกียจคร้าน ขาดไหวพริบทางการเมือง และทรงลังเลเป็นประจำและมีพระอุปนิสัยที่แปลกพิสดารบ่อยครั้ง

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

พระบรมสาทิสลักษณ์เจ้าชายฌูเอาขณะทรงเป็นดยุคแห่งบรากังซา ไม่ปรากฏชื่อผู้วาด

เจ้าชายฌูเอาประสูติที่กรุงลิสบอน ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2310 ในรัชสมัยของพระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส พระอัยกา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในเจ้าหญิงมารีอา (ว่าที่พระราชินีนาถมารีอาที่ 1 ในอนาคต) กับเจ้าชายเปดรู ผู้มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาของพระนางเอง (ว่าที่พระเจ้าเปดรูที่ 3 ในอนาคต) ในช่วงที่เจ้าชายฌูเอาประสูตินั้น เจ้าหญิงมารีอาทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งบราซิล และเจ้าชายเปดรูทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งโปรตุเกส พระเจ้าฌูเซที่ 1 พระอัยกาได้เสด็จสวรรคตและพระมารดาทรงสืบราชบัลลังก์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกสขณะที่เจ้าชายมีพระชนมายุ 10 ชันษา ในวัยเยาว์ของพระองค์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างเงียบ ๆ และพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเพียงชั้นเจ้าฟ้าชายภายใต้ร่มเงาของพระเชษฐา คือ เจ้าชายฌูเซ ซึ่งดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งบราซิลและดยุคแห่งบรากังซาพระองค์ที่ 14 ซึ่งเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ มีเสียงเล่าลือกันว่าในวัยเยาว์ พระองค์มีพระอุปนิสัยที่ค่อนข้างหยาบคาย แต่ฌอร์ฌึ ปึไดรรา อี กอชตา ยืนยันว่าพระองค์ทรงได้รับการอบรมที่เข้มงวดเช่นเดียวกับเจ้าชายฌูเซ อย่างไรก็ตาม ทูตฝรั่งเศสในขณะนั้นก็ให้นิยามพระองค์ด้วยคำที่ไม่พึงประสงค์ โดยมองว่าพระองค์มีพระอุปนิสัยโลเลและพระสติปัญญาทึบ เรื่องราวเกี่ยวกับพระชนม์ชีพในช่วงนี้ได้รับการบันทึกไว้อย่างคลุมเครือเกินกว่าที่นักประวัติศาสตร์จะสรุปตัวตนของพระองค์ไปในทางใดทางหนึ่งได้[1]

จากข้อมูลที่ยึดถือกันมาแต่ดั้งเดิม พระอาจารย์ของพระองค์ในด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยบาทหลวงมานูเอล ดู เซนากูลู, บาทหลวงอังโตนีอู ดูมิงเกช ดู ปาซู และบาทหลวงมีเกล ฟรังซีนี พระอาจารย์ด้านดนตรีของพระองค์คือฌูเอา กูร์ไดรู ดา ซิลวา นักออร์แกน และฌูเอา โซซา ดึ การ์วัลยู นักประพันธ์เพลง ส่วนพระอาจารย์ด้านการทรงม้าของพระองค์คือ หัวหน้าทหารรักษาการณ์การ์ลุช อังโตรีอู ฟึไรรา มงตึ เนื้อหาสาระที่พระองค์ทรงศึกษาในแต่ละด้านไม่เป็นที่ทราบกันมากนัก แต่แน่นอว่าพระองค์ต้องทรงได้รับการศึกษาเรื่องศาสนา กฎหมาย ภาษาฝรั่งเศส และธรรมเนียมปฏิบัติ และสันนิษฐานว่าพระองค์คงจะทรงศึกษาประวัติศาสตร์จากผลงานของดูอาร์ตึ นูนึช ดึ ลึเอา และฌูเอา ดึ บารุช[2]

การอภิเษกสมรสและวิกฤตการณ์สืบราชบัลลังก์

พระบรมสาทิสลักษณ์ ฌูเอา เจ้าชายแห่งบราซิล ดยุคแห่งบรากังซา วาดโดยจูเซปเป โตรนี
พระบรมสาทิสลักษณ์พระนางการ์โลตา โคอากีนา วาดโดยดูมิงกุช ซึไกรา ราวปี พ.ศ. 2345 - 2349

ในปี พ.ศ. 2328 เองรีกึ ดึ มึเนซิช มาร์ควิสที่ 3 แห่งโลรีซัลได้จัดพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายฌูเอากับเจ้าหญิงการ์โลตา โคอากีนาแห่งสเปน พระราชธิดาในพระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปนกับพระราชินีมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา เจ้าหญิงการ์โลตาเป็นพระราชนิกุลเยาว์วัยของราชวงศ์เช่นเดียวกับเจ้าชายฌูเอา ด้วยความกลัวว่าอาจจะเกิดสหภาพไอบีเรียขึ้นมาใหม่ บุคคลในราชสำนักโปรตุเกสบางคนจึงมองการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงจากสเปนอย่างไม่พอใจนัก แม้ว่าเจ้าหญิงจะมีพระชนมายุเพียง 10 ชันษาในขณะนั้น แต่ก็มีพระบุคลิกที่ร่าเริงและพระกิริยาที่งดงาม เจ้าหญิงทรงต้องอดทนเป็นเวลาสี่วันจากการทดสอบของคณะทูตจากราชสำนักโปรตุเกสก่อนที่แผนการอภิเษกสมรสจะได้รับการยอมรับ ด้วยเหตุที่ว่าเจ้าชายฌูเอาและเจ้าหญิงการ์โลตาเป็นพระญาติใกล้ชิดกันและเนื่องจากเจ้าสาวยังทรงพระเยาว์ การอภิเษกสมรสครั้งนี้จึงต้องได้รับการอนุมัติเป็นกรณีพิเศษจากพระสันตะปาปาเสียก่อน หลังจากที่ได้รับการยินยอมแล้ว การอภิเษกสมรสได้มีการลงนามในท้องพระโรงของราชสำนักสเปน โดยมีพิธีอันยิ่งใหญ่และการร่วมมือจากพระราชอาณาจักรทั้งสอง ตามมาด้วยการอภิเษกสมรสโดยผ่านตัวแทน ตัวแทนของเจ้าชายฌูเอาคือพระราชบิดาของเจ้าสาวเอง ในคืนนั้นมีการจัดงานเลี้ยงฉลองรับรองผู้เข้าร่วมกว่า 2,000 คน[3]

เจ้าหญิงทรงได้รับพระราชทานพระราชวังวีลาวีโซซาในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2328 และในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2328 ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับศีลสมรสในโบสถ์น้อยของพระราชวัง ในเวลาเดียวกัน เจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งโปรตุเกส พระขนิษฐาของเจ้าชายฌูเอา ก็ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายกาเบรียลแห่งสเปน ราชนิกุลในพระราชวงศ์สเปน จดหมายที่เจ้าชายฌูเอาทรงเขียนถึงเจ้าหญิงมาเรียนาในช่วงนั้นเผยให้เห็นว่าพระองค์ทรงระลึกถึงพระขนิษฐาเสมอ และทรงกล่าวเปรียบเทียบพระขนิษฐากับพระมเหสีของพระองค์ว่า "เจ้าหญิงทรงฉลาดมากและมีความยุติธรรมมาก ในขณะที่เธอไม่ใคร่มีนัก และพี่ก็ชอบหล่อนมาก แต่ไม่สามารถรักหล่อนได้อย่างเท่าเทียมกัน" ในอีกด้านหนึ่ง พระมเหสีของเจ้าชายทรงไม่ใช่คนว่านอนสอนง่ายนัก จึงต้องทรงขอให้สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาเข้ามาจัดการด้วยพระองค์เองอยู่หลายครั้ง นอกจากนี้ความแตกต่างกันระหว่างพระชนมายุ (เจ้าชายฌูเอามีพระชนมายุ 18 พรรษา) ก็ทำให้เจ้าชายทรงรู้สึกอึดอัดและวิตกกังวล เนื่องจากเจ้าหญิงการ์โลตายังทรงพระเยาว์มาก ทำให้การอภิเษกสมรสยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ และเจ้าชายฌูเอาทรงเขียนว่า "นี่เป็นช่วงเวลาที่ข้าจะยังเล่นกับเจ้าหญิงได้ตลอด ถ้าสิ่งต่าง ๆ ยังคงดำเนินไปเช่นนี้ ข้าคิดว่าคงไม่มีอะไรเกิดขึ้นในอีก 6 ปีต่อจากนี้ ให้หล่อนเติบโตขึ้นกว่าตอนที่หล่อนมาถึงจะดีกว่า" ในความเป็นจริงนั้น ความสำเร็จบริบูรณ์ของการอภิเษกสมรสยังไม่มาถึงจนกระทั่งวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2333 ในปี พ.ศ. 2336 เจ้าหญิงการ์โลตามีพระประสูติกาลบุตรพระองค์แรกในจำนวน 9 พระองค์คือ เจ้าหญิงมารีอา ตีเรซาแห่งไบรา[3]

เมื่อถึงช่วงเวลานั้น พระชนม์ชีพของเจ้าชายที่ดำเนินมาอย่างปรกติสุขก็สิ้นสุดลงเมื่อเจ้าชายฌูเซ พระเชษฐา ได้สิ้นพระชนม์ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2331 ส่งผลให้เจ้าชายฌูเอาทรงกลายเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ และทรงได้รับพระอิสริยยศเจ้าชายแห่งบราซิลและดยุคแห่งบรากังซาพระองค์ที่ 15[4] ได้เคยมีการฝากความหวังที่ยิ่งใหญ่ไว้กับเจ้าชายฌูเซ ผู้ทรงมีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรืองปัญญาที่กำลังก้าวหน้า พระองค์ทรงได้รับการวิจารณ์จากนักบวชเนื่องจากทรงมีความโน้มเอียงไปทางนโยบายต่อต้านศาสนจักรของมาร์ควิสแห่งปงบัล ในทางกลับกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าเจ้าชายฌูเอาทรงเลื่อมใสในศาสนาและทรงนิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิกฤตการณ์สืบราชบัลลังก์ได้รุนแรงขึ้นหลังการเสียชีวิตของอิกนาซีอู ดึ เซา ไกตานู อาร์ชบิชอปแห่งเทสซาโลนิกา ซึ่งเป็นพระผู้ฟังคำสารภาพของพระราชินีนาถและเป็นผู้มีอำนาจทางการเมืองคนหนึ่ง โดยมีอิทธิพลต่อการคัดเลือกคณะรัฐมนตรีในสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่นิยมเจ้าชายฌูเอา แม้จะไม่ปราศจากการต่อต้านอย่างแข็งขันจากกลุ่มขุนนาง (fidalgo) คนสำคัญที่ต้องการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวเช่นกัน นอกเหนือจากนั้น ในปีหลังการเสียชีวิตของบุคคลเหล่านี้ เจ้าชายฌูเอาทรงพระประชวรจนเกือบจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรไปแล้ว แต่ในปี พ.ศ. 2334 พระองค์ทรงพระประชวรอีกครั้ง โดยมี "พระโลหิตไหลออกจากพระโอษฐ์และพระอันตะ (ลำไส้)" ตามบันทึกของอนุศาสนาจารย์ของมาร์ควิสแห่งมารีอัลวา ซึ่งยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่าจิตใจของพระองค์หดหู่อยู่เสมอ เหตุการณ์นี้ได้สร้างบรรยากาศแห่งความตึงเครียดและความไม่แน่นอนต่อราชบัลลังก์ของพระองค์ในอนาคต[5]

การสำเร็จราชการแทนพระองค์

พระบรมสาทิสลักษณ์เจ้าชายฌูเอา วาดโดยดูมิงกุช ซึไกรา ราวปี พ.ศ. 2345 ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พระราชวังหลวงอาฌูดา

ในขณะเดียวกันสมเด็จพระราชินีนาถทรงปรากฏพระอาการอันเป็นสัญญาณถึงความวิปลาสเพิ่มขึ้น ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2335 คณะแพทย์จำนวน 17 คนได้วินิจฉัยและออกประกาศลงในเอกสารของสำนักพระราชวังว่า สมเด็จพระราชินีนาถไม่ทรงสามารถประกอบราชกิจในการบริหารราชอาณาจักรได้ และไม่มีความหวังที่พระอาการประชวรของพระนางจะดีขึ้น ในตอนแรกเจ้าชายฌูเอาทรงลังเลที่จะสืบต่อพระราชอำนาจของพระมารดาโดยทรงปฏิเสธความคิดที่จะให้พระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเป็นทางการ นี่เป็นการเปิดทางให้สมาชิกขุนนางหลายคนจัดตั้งรัฐบาลโดยพฤตินัยผ่านทางสภา มีกระแสข่าวลือว่าเจ้าชายฌูเอามีพระอาการวิปลาสเช่นกันและอาจทรงถูกกีดกันไม่ให้ขึ้นครองราชย์ กฎหมายเกี่ยวกับการสำเร็จราชการแผ่นดินที่ใช้กันมานานระบุไว้ว่า ถ้าผู้สำเร็จราชการเสียชีวิตหรือไร้ความสามารถที่จะปกครองอาณาจักรไม่ว่าจากเหตุผลใด โดยที่บุตรยังมีอายุต่ำกว่า 14 ปี (ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของเจ้าชายฌูเอาในขณะนั้น) รัฐบาลจะได้รับการบริหารโดยผู้ปกครองของบุตรเหล่านั้นหรือโดยภริยาของผู้สำเร็จราชการ (หากผู้ไม่มีการแต่งตั้งผู้ปกครองอย่างเป็นทางการ) ซึ่งในกรณีของเจ้าชายฌูเอาก็ได้แก่เจ้าหญิงแห่งสเปน ตอนนี้ความหวาดกลัว ความแคลงใจ และการสมรู้ร่วมคิดได้กลืนกินโครงสร้างสถาบันสูงสุดของชาติไว้หมดแล้ว[6]

ในเวลานั้น ข่าวการปฏิวัติฝรั่งเศสได้สร้างความสับสนและความหวาดกลัวแก่บรรดาราชวงศ์ต่าง ๆ ที่กำลังมีอำนาจอยู่ในยุโรป การสั่งสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 โดยคณะปฏิวัติได้เร่งให้เกิดการตอบสนองจากนานาประเทศอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2336 ได้มีการลงนามในอนุสัญญาฉบับหนึ่งระหว่างโปรตุเกสกับสเปน และในวันที่ 26 กันยายน โปรตุเกสก็ดำเนินการเป็นพันธมิตรกับบริเตนใหญ่ ข้อตกลงทั้งสองกำหนดให้มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติ และนำทหารโปรตุเกส 6,000 นายเข้าสู่สงครามพิเรนีส (พ.ศ. 2336-2338) ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเข้ารุกรานดินแดนรูซียงของฝรั่งเศส และจบลงด้วยความปราชัยโดยกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสสามารถยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสเปนได้ เหตุการณ์นี้ได้สร้างปัญหาที่ละเอียดอ่อนทางการทูตเนื่องจากโปรตุเกสจะไม่สามารถทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศสได้หากไม่ยุติความเป็นพันธมิตรกับอังกฤษซึ่งมีส่วนพัวพันกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ในดินแดนโพ้นทะเล ดังนั้นโปรตุเกสจึงต้องแสวงหาความเป็นกลางซึ่งก็เป็นไปอย่างเปราะบางและตึงเครียด[7][8]

หลังจากพ่ายแพ้สงครามพิเรนีส สเปนได้ยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับโปรตุเกสและหันไปสร้างสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาบาเซิล ด้วยอังกฤษมีแสนยานุภาพเกินกว่าฝรั่งเศสจะโจมตีโดยตรงได้ ฝรั่งเศสจึงวางแผนที่จะจัดการโปรตุเกสซึ่งยังคงเป็นพันธมิตรกับอังกฤษแทน[9] ในปี พ.ศ. 2342 เจ้าชายฌูเอาทรงเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศอย่างเป็นทางการในฐานะเจ้าชายผู้สำเร็จราชการในพระนามของพระราชมารดา[10] ในปีเดียวกันนายพลนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ก่อรัฐประหารในฝรั่งเศสและบีบบังคับสเปนให้ยื่นคำขาดแก่โปรตุเกสให้ยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและให้ยอมอ่อนน้อมต่อผลประโยชน์ของนโปเลียน เมื่อเจ้าชายฌูเอาทรงปฏิเสธ ความเป็นกลางของประเทศจึงไม่อาจอยู่รอด กองทัพสเปนและฝรั่งเศสเข้ารุกรานโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2344 เกิดเป็นสงครามออเรนจ์ (War of the Oranges) ความพ่ายแพ้จากสงครามทำให้โปรตุเกสยอมลงนามในสนธิสัญญาบาดาโคซ และตามมาด้วยสนธิสัญญามาดริด ซึ่งโปรตุเกสต้องยกเมืองโอลีเบนซาให้สเปน และต้องยกอำนาจเหนือดินแดนอาณานิคมบางแห่งให้ฝรั่งเศส[11][12] เพราะผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การเคลื่อนไหวอย่างคลุมเครือและการทำข้อตกลงลับจึงเป็นลักษณะเด่นของสงครามนี้ โปรตุเกสในฐานะผู้เล่นที่อ่อนแอที่สุดไม่สามารถหลีกเลี่ยงการต่อสู้อันต่อเนื่องนี้ได้[9] ในขณะเดียวกัน เจ้าชายฌูเอาต้องทรงเผชิญหน้ากับศัตรูในประเทศของพระองค์เอง เจ้าหญิงการ์โลตา โคอากีนา พระมเหสีของพระองค์ซึ่งทรงมีความจงรักภักดีต่อสเปนบ้านเกิดของพระนางมากได้ทรงริเริ่มแผนการถอดถอนพระสวามีออกจากตำแหน่งเพื่อยึดพระราชอำนาจมาไว้ในพระหัตถ์ของพระนางเอง ซึ่งก็เป็นความพยายามที่ล้มเหลวในปี พ.ศ. 2348 ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถต้องเสด็จออกจากราชสำนักไปประทับที่พระราชวังหลวงเกลุช ส่วนเจ้าชายผู้สำเร็จราชการก็เสด็จไปประทับที่พระราชวังหลวงมาฟรา[13][14]

การเดินทางสู่บราซิล

ภาพการเสด็จลงเรือพระที่นั่งของเจ้าชายฌูเอาและพระราชวงศ์ วาดโดยฟรันซิสโก บาร์โตลอซซี ในปี พ.ศ. 2358

เจ้าชายฌูเอาทรงพยายามถ่วงเวลาอย่างเต็มที่โดยทรงแสร้งจนนาทีสุดท้ายว่าโปรตุเกสจะยอมจำนนต่อฝรั่งเศสแต่โดยดี ไปจนถึงทรงแนะนำพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ให้ทรงประกาศสงครามหลอก ๆ ระหว่างประเทศทั้งสอง แต่ที่จริงพระองค์กลับไม่ทรงกระทำตามแผนการระบบภาคพื้นทวีป (การสกัดกั้นอังกฤษ) ของจักรพรรดินโปเลียนแต่อย่างใด สนธิสัญญาลับฉบับใหม่ได้ถูกจัดทำขึ้นโดยอังกฤษให้การรับรองว่าจะช่วยเหลือโปรตุเกสหากราชวงศ์ของเจ้าชายฌูเอาจะต้องหลบหนีในที่สุด สัญญาฉบับนี้เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายอังกฤษมาก เนื่องจากอังกฤษมีข้อผูกพันเพียงแค่การช่วยเหลือรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นมิตรกับตนเองมาตลอดเท่านั้น และอังกฤษยังสามารถรักษาอิทธิพลเหนือโปรตุเกสและแสวงหาผลตอบแทนมหาศาลจากการค้ากับจักรวรรดิระหว่างทวีปอย่างโปรตุเกสได้ต่อไปอีกด้วย โปรตุเกสจำต้องเลือกว่าจะเข้าข้างฝ่ายใดระหว่างฝรั่งเศสหรืออังกฤษ และความลังเลที่จะติดสินใจให้เด็ดขาดก็ทำให้โปรตุเกสตกอยู่ในสถานะอันเสี่ยงต่อสงครามไม่เฉพาะกับมหาอำนาจชาติใดชาติหนึ่งเท่านั้น แต่กับทั้งสองชาติ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2350 มีข่าวรายงานว่ากองทัพฝรั่งเศสได้เคลื่อนทัพเข้ามาใกล้ และในวันที่ 16 พฤศจิกายน กองเรือรบอังกฤษเข้ามาเทียบท่าที่กรุงลิสบอนด้วยกำลังทหาร 7,000 นายพร้อมคำสั่งให้พาราชวงศ์โปรตุเกสลี้ภัยไปยังบราซิล หรือถ้ารัฐบาลยอมจำนนต่อฝรั่งเศสก็ให้โจมตีและยึดเมืองหลวงให้ได้ ราชสำนักแบ่งเป็นสองฝ่ายระหว่างพวกนิยมอังกฤษกับพวกนิยมฝรั่งเศส หลังจากการพิจารณาอย่างรวดร้าวภายใต้แรงกดดันของทั้งสองฝ่าย เจ้าชายฌูเอาก็ทรงตัดสินพระทัยยอมรับการอารักขาจากอังกฤษและลี้ภัยไปยังบราซิล[9][15][16]

กองทัพฝรั่งเศสที่นำโดยนายพลฌ็อง-อ็องด็อช ฌูว์โน ได้รุกคืบเข้ามาโดยประสบความยากลำบากอยู่บ้าง แต่ก็มาถึงประตูเมืองลิสบอนในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2350[13] เมื่อถึงตอนนี้ เจ้าชายฌูเอาพร้อมด้วยพระราชวงศ์ทั้งหมด และขุนนางผู้ติดตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐ และข้าราชบริพารกลุ่มใหญ่ พร้อมทั้งสัมภาระที่หลากหลายอันได้แก่งานศิลปะและหนังสือที่มีค่า เอกสาร และสมบัติอื่น ๆ ได้อยู่บนเรือเรียบร้อยแล้ว ทรงปล่อยให้รัฐบาลอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการแทนพระองค์และทรงแนะกองทัพว่าอย่าปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้รุกราน การออกเดินทางอย่างรีบเร่งท่ามกลางพายุฝนที่โหมกระหน่ำนั้นได้ทำให้เกิดความอลหม่านในกรุงลิสบอน เนื่องจากประชาชนรู้สึกตกตะลึงอย่างมากและไม่อยากเชื่อว่าเจ้าชาย พระราชินี และพระราชวงศ์กำลังจะละทิ้งพวกเขา[17][18] บันทึกเรื่องเล่าของฌูเซ อากูร์ซีอู ดัช เนวิช ได้บรรยายความรู้สึกของเจ้าชายผู้สำเร็จราชการไว้ว่า

พระองค์มีพระประสงค์ที่จะตรัสออกมาแต่ไม่สามารถทำได้ พอมีพระประสงค์จะขยับพระองค์ พระวรกายก็สั่นและย่างพระบาทไม่ออก พระองค์ทรงพระดำเนินผ่านหุบเหวลึกและทรงมีจินตนาการถึงอนาคตที่มืดมิดและไม่แน่นอนดั่งมหาสมุทรที่ทรงกำลังจะเดินทางข้ามไป ประเทศชาติ เมืองหลวง ราชอาณาจักร ข้าทาสบริวาร พระองค์ต้องสละสิ่งเหล่านี้อย่างกะทันหัน ด้วยความหวังอันริบหรี่ที่จะได้กลับมาเห็นสิ่งเหล่านี้อีกครั้ง และทั้งหมดนี้เป็นเหมือนหนามที่ทิ่มแทงพระราชหฤทัยของพระองค์[19]

ภาพ การเสด็จลงเรือพระที่นั่งของพระราชวงศ์ ไม่ปรากฏชื่อผู้วาด

เพื่ออธิบายพระองค์เองต่อประชาชน เจ้าชายฌูเอามีพระบัญชาให้ติดป้ายประกาศตามถนนสายต่าง ๆ โดยระบุว่าการเดินทางของพระองค์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แม้ว่าได้ทรงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาความเป็นปึกแผ่นและความสงบสุขของราชอาณาจักรแล้วก็ตาม ข้อความในประกาศแนะนำให้ทุกคนอยู่ในความสงบและไม่ต่อต้านผู้รุกรานเพื่อจะได้ไม่มีการนองเลือดไปโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากการเสด็จออกเดินทางอย่างเร่งรีบ เจ้าชายผู้สำเร็จราชการ, สมเด็จพระราชินีนาถมารีอา, เจ้าชายเปดรู เจ้าชายแห่งไบรา (ต่อมาคือ พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกสและจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล) และเจ้าชายมีเกลแห่งโปรตุเกส (ต่อมาคือ พระเจ้ามีเกลแห่งโปรตุเกส) ทั้งหมดจึงประทับอยู่ในเรือลำเดียวกัน นี่เป็นการตัดสินใจที่ประมาทถ้าพิจารณาถึงอันตรายในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในสมัยนั้น และเป็นการเสี่ยงต่อการสืบราชสันตติวงศ์หากเรือพระที่นั่งเกิดอับปางกลางมหาสมุทร ส่วนพระนางการ์โลตา โคอากีนากับเหล่าเจ้าหญิงประทับบนเรือพระที่นั่ง 2 ลำอื่น[20] จำนวนของผู้ตามเสด็จไปพร้อมกับเจ้าชายฌูเอายังคงเป็นที่ถกเถียง ในศตวรรษที่ 19 มีการกล่าวว่ามีผู้ตามเสด็จถึง 30,000 คน[21] ในยุคหลังประเมินกันว่ามีผู้ตามเสด็จระหว่าง 500 ถึง 15,000 คน ข้อสรุปหลังนี้น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในการจุผู้คนในกองเรือรบ 15 ลำ ซึ่งรวมลูกเรือด้วย ถึงกระนั้นเรือก็ยังคงแออัดมากเกินไป ปึไดรรา อี กอชตา ได้พิจารณาข้อมูลการประเมินต่าง ๆ แล้วสรุปว่าจำนวนผู้ตามเสด็จที่เป็นไปได้มากที่สุดอยู่ระหว่าง 4,000 ถึง 7,000 คนรวมทั้งลูกเรือ

หลายครอบครัวถูกพรากจากกัน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนยังจับจองที่นั่งบนเรือไว้ไม่ได้และถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง การเดินทางครั้งนี้ไม่สงบนัก เรือหลายลำอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยและความแออัดบนเรือได้ทำให้กลุ่มขุนนางถูกบั่นทอนเกียรติลง โดยส่วนใหญ่ต้องนอนเบียดกันในที่เปิดหรือตรงดาดฟ้าท้ายเรือ สุขลักษณะก็ไม่ดี เกิดการระบาดของเหา หลายคนไม่ได้เปลี่ยนเสื้อผ้า หลายคนป่วย เสบียงอาหารก็มีน้อยทำให้ต้องแบ่งสรรปันส่วนกันไป นอกจากนี้ กองเรือดังกล่าวต้องใช้เวลาสิบวันในเขตเส้นศูนย์สูตรภายใต้ความร้อนที่แผดเผาเพราะแทบไม่มีลมช่วยพัดใบเรือ ทำให้อารมณ์ของคนเริ่มขุ่นมัวและมีเสียงบ่นพึมพำ กองเรือรบยังต้องเผชิญพายุอีกสองลูกและในที่สุดก็กระจัดกระจายกันบริเวณหมู่เกาะมาเดรา ในช่วงกลางของการเดินทาง เจ้าชายฌูเอาทรงเปลี่ยนพระทัยและตัดสินพระทัยเดินทางสู่เมืองซัลวาดอร์ในรัฐบาเยีย คงด้วยเหตุผลทางการเมือง กล่าวคือ เพื่อให้ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นรู้สึกพอใจขึ้นหลังจากที่ซัลวาดอร์ได้สูญเสียสถานะเมืองหลวงของอาณานิคมไป ในขณะที่เรือพระที่นั่งที่มีเหล่าเจ้าหญิงประทับอยู่ได้เดินทางไปตามเส้นทางเดิมสู่รีโอเดจาเนโร[22][23]

การเปลี่ยนสภาพอาณานิคม

พระราชกฤษฎีกาเปิดเมืองท่า ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติบราซิล

ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2351 เรือพระที่นั่งของเจ้าชายผู้สำเร็จราชการและเรืออื่น ๆ อีกสองลำได้เทียบท่าที่อ่าวแห่งนักบุญทั้งหลายในบราซิล ท้องถนนเมืองซัลวาดอร์นั้นว่างเปล่า เนื่องจากผู้ว่าราชการ เคานต์แห่งปงตึ ต้องการรับพระบัญชาจากเจ้าชายก่อนที่จะอนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้า ด้วยทรงมองว่าเป็นทัศนคติที่แปลก เจ้าชายจึงทรงอนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้าได้หากพวกเขามีความประสงค์[24] อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการให้เวลาขุนนางได้จัดเตรียมตนเองหลังการเดินทางที่แสนเข็ญ การเทียบท่าได้ถูกเลื่อนไปในวันถัดมาซึ่งพวกเขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างครื้นเครงท่ามกลางขบวนแห่ การตีระฆัง และการเฉลิมฉลองเพลง Te Deum ที่มหาวิหารซัลวาดอร์ ในวันถัดมาโปรดให้ผู้ที่มีความประสงค์สามารถเข้าเฝ้าเพื่อถวายความเคารพได้ โปรดให้มีพิธีไบฌา-เมา (การจุมพิตพระหัตถ์ขององค์กษัตริย์) และพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณต่าง ๆ[25] ในจำนวนนี้ พระองค์ทรงประกาศให้จัดตั้งห้องเรียนสาธารณะในวิชาเศรษฐกิจและโรงเรียนสอนการผ่าตัด[26] แต่พระราชกรณียกิจที่สำคัญเด่นชัดที่สุดในช่วงเวลานี้คือการประกาศพระราชกฤษฎีกาการเปิดเมืองท่าแก่ชาติพันธมิตร ([Decreto de Abertura dos Portos às Nações Amigas] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ที่ถือเป็นมาตรการที่มีความสำคัญยิ่งทางการเมืองและเศรษฐกิจ และเป็นมาตรการแรกจากหลาย ๆ มาตรการที่ทรงนำมาใช้เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของอาณานิคม อย่างไรก็ตาม เป็นธรรมดาว่า อังกฤษ (ซึ่งเศรษฐกิจของตนขึ้นอยู่กับการค้าทางทะเล และมีฐานะเสมือนเป็นผู้อารักขากษัตริย์โปรตุเกสและบราซิลอยู่กลาย ๆ ในตอนนี้) จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงมากที่สุด โดยได้รับสิทธิพิเศษมากมาย[27]

การเสด็จถึงของเจ้าชายฌูเอาในบราซิล

ในซัลวาดอร์ได้มีการเฉลิมฉลองการประทับของราชสำนักอยู่หนึ่งเดือน และมีความพยายามชักจูงให้ราชสำนักให้เลือกซัลวาดอร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ของราชอาณาจักร มีการเสนอให้สร้างพระราชวังที่หรูหราวิจิตรเพื่อเป็นที่ประทับของพระราชวงศ์ แต่เจ้าชายฌูเอาทรงปฏิเสธและทรงออกเดินทางต่อไป ด้วยได้ทรงประกาศต่อนานาชาติไว้แล้วว่าจะทรงก่อตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่เมืองรีโอเดจาเนโร เรือพระที่นั่งของพระองค์ได้เข้าสู่อ่าวกวานาบาราในวันที่ 7 มีนาคม และทรงได้พบกับเหล่าเจ้าหญิงและสมาชิกราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ ที่เรือพระที่นั่งของตนมาเทียบท่าที่นี้ก่อนแล้ว ในที่สุดเมื่อวันที่ 8 ราชสำนักทั้งหมดก็ได้เสด็จขึ้นฝั่ง และได้พบกับเมืองที่มีการตกแต่งอย่างวิจิตรเพื่อรับเสด็จ พร้อมด้วยการเฉลิมฉลองอย่างไม่ขาดสายเป็นเวลาเก้าวัน[28] บาทหลวงปึรึเรกา ซึ่งเป็นนักบันทึกเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นประจักษ์พยานในการเสด็จมาถึงของพระราชวงศ์ในคราวนั้น นอกจากจะคร่ำครวญกับข่าวการรุกรานโปรตุเกสภาคพื้นทวีปยุโรปแล้ว เขายังสัมผัสได้ถึงความสำคัญของการประทับบนแผ่นดินบราซิลของราชสำนักอีกด้วย ดังที่บรรยายไว้ว่า

หากต้นเหตุของความโศกเศร้าและความเสียใจมันยิ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นแล้ว ต้นเหตุของความสบายใจและความยินดีก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปน้อยกว่ากัน เพราะระเบียบแบบแผนของสิ่งใหม่ ๆ กำลังจะเริ่มต้นขึ้นบนดินแดนทางซีกโลกใต้แห่งนี้ จักรวรรดิบราซิลเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว และพวกเราก็ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้พระหัตถ์อันทรงอำนาจของเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ องค์เหนือหัวของพวกเรา วางศิลาฤกษ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความมั่งคั่ง และอำนาจของจักรวรรดิใหม่ในอนาคต[29]

เมื่อมีราชสำนัก กลไกที่จำเป็นของรัฐอธิปไตยจึงกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ในระดับสูงที่มีทั้งพลเรือน นักบวช และทหาร กลุ่มชนชั้นสูงและผู้ประกอบอาชีพอิสระ ช่างฝีมือผู้ชำนาญและข้าราชการ ในความเห็นของนักวิชาการหลายคน การย้ายราชสำนักมาที่รีโอเดจาเนโรนั้นเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนารัฐบราซิลสมัยใหม่ และถือเป็นก้าวแรกของบราซิลในการเดินหน้าสู่เอกราชที่แท้จริง[30] ในขณะที่บราซิลในเวลานั้นยังคงเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย กายู ปราดู ฌูนีโอร์ ก็ได้กล่าวไว้ว่า

ภาพ พระเจ้าฌูเอาทรงสดับธรรมจากบาทหลวงฌูเซ เมารีซีอู วาดโดยเองรีกี เบร์นาเดลี

เมื่อทรงสถาปนาราชธานีขึ้นในบราซิลแล้ว เจ้าชายผู้สำเร็จราชการก็ทรงยกเลิกระบอบอาณานิคมซึ่งดำรงอยู่ในบราซิลจนถึงขณะนั้นไปโดยพฤตินัย ลักษณะต่าง ๆ ของระบอบ [อาณานิคม] นั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่จากสถานะอาณานิคมคือการอยู่ภายใต้รัฐบาลต่างชาติเท่านั้น กลไกเก่า ๆ ของกระบวนการบริหารอาณานิคมได้ถูกล้มเลิกไปทีละอย่าง และถูกแทนที่ด้วยกลไกการบริหารอย่างชาติเอกราช ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจได้สิ้นสุดลง แนวคิดเรื่องผลประโยชน์ของชาติกลายเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของรัฐบาล[31]

แต่สิ่งแรกที่จำเป็นในการจัดหาที่พักอาศัยแก่ผู้มาเยือน เป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไขอันนำมาซึ่งการจำกัดสัดส่วนของเมืองริโอในขณะนั้น โดยเฉพาะ มีที่พักอาศัยจำนวนน้อยที่เหมาะสมกับชนชั้นขุนนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในพระราชวงศ์เอง ซึ่งได้เข้ามาประทับในพระราชวังอุปราช ที่ซึ่งในปัจจุบันคือ ปาซูอิงเปรีอัล ("วังจักรพรรดิ") อย่างไรก็ตาม สถานที่แห่งนี้ไม่มีซึ่งความสะดวกสบายไม่เหมือนกับพระราชวังโปรตุเกส ขนาดใหญ่แต่ก็ไม่สามารถจำกัดได้อย่างเพียงพอสำหรับแต่ละคน จึงมีการเรียกคืนอาคารที่ใกล้เคียงกับพระราชวัง เช่น คาร์มิลิตท์ คอนแวนต์, ศาลาว่าการเมือง และแม้กระทั่งเรือนจำ เพื่อตอบสนองความต้องการของขุนนางต่าง ๆ และในการจัดตั้งทำเนียบของรัฐบาลใหม่ ที่อยู่อาศัยจำนวนมากมายถูกยึดคืนอย่างรีบเร่ง ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ได้ขับไล่คนอย่างไม่มีเหตุผล ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านที่รุนแรง แม้ความพยายามของอุปราชมาร์กุช ดึ นูโรนญา อี บรีตู กับฌูอากิง ฌูเซ ดึ อาซีเวดู ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการก็ยังคงถูกบังคับในข้อตกลงอย่างน่าเห็นใจ พ่อค้า เอลีอัส อังโตนีอู ลอปิส ได้เสนอบ้านพักในชนบทของเขา กิงตาโบอาวิสตา ซึ่งเป็นคฤหาสน์ที่หรูหราในทำเลที่เยี่ยมยอด ที่ซึ่งในทันทีทันใดก็สร้างความพอพระทัยแก่เจ้าชาย การปฏิสังขรณ์และการขยับขยายที่ดินเป็นปาซูจีเซากริสตอเวา (พระราชวังแห่งนักบุญคริสโตเฟอร์) ในส่วนของเจ้าหญิงการ์โลตา โคอากีนา ทรงพอพระทัยในการประทับในฟาร์มใกล้กับชายหาดบอตาโฟกู ทรงเริ่มต้นดำรงพระชนม์ชีพโดยพยายามออกห่างจากพระสวามี[32]

มุมมองตำหนักลาร์กูดูการ์มู ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจัตุรัส 15 พฤศจิกายน ใจกลางกรุงรีโอ ไม่กี่ปีหลังจากมีการย้ายราชสำนักมายังบราซิล

เมืองที่ซึ่งมีประชากรประมาณ 70,000 คน ได้แปรสภาพเปลี่ยนไปเพียงชั่วข้ามคืน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เต็มไปด้วยสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีพ การกำหนดการบริหารจัดการเสบียงอาหารอย่างเป็นระบบและสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งสินค้าฟุ่มเฟือย เวลาเป็นปีในการที่ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เป็นสาเหตุให้เกิดความยุ่งเหยิงในชีวิตประจำวันและสังคมชาวรีโอ ค่าเช่าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า, ภาษีเพิ่มขึ้น และอาหารมีอยู่ในเสบียงระยะสั้น ๆ มีการเรียกร้องสิทธิจากกลุ่มขุนนางที่เข้ามา เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ความนิยมในการเสด็จมาถึงของเจ้าชาย ผู้สำเร็จราชการได้หมดไป ผังเมืองและรูปแบบเมืองได้เปลี่ยนไป ด้วยสิ่งก่อสร้างนับไม่ถ้วนได้แก่ ที่พักอาศัย, หมู่บ้าน และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ และมีการปรับปรุงการบริการและโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากมาย นอกจากนั้น การวางตัวของราชสำนักได้นำมาซึ่งมาตรฐานธรรมเนียมปฏิบัติแบบใหม่, เสื้อผ้าล้ำสมัยและวัฒนธรรมใหม่ได้นำมาซึ่งการแบ่งชนชั้นทางสังคมแบบใหม่[33][34][35][36]

ท่ามกลางขนบธรรมเนียมประเพณี เจ้าชายฌูเอาทรงริเริ่มดำเนินประเพณีโปรตุเกสโบราณในบราซิลคือ "ไบฌา-เมา" (beija-mão) ที่ซึ่งพระองค์ทรงชื่นชอบอย่างมาก และที่ซึ่งสร้างความประทับใจในพสกนิกรบราซิลและกลายเป็นส่วนหนึ่งของตำนานพื้นบ้านของพวกเขา[37] พระองค์เสด็จออกรับพสกนิกรเกือบทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ แถวของประชาชนยาวเหยียดเพื่อเข้าเฝ้าและทรงรับของกำนัลจากทั้งขุนนางและสามัญชน ตามคำกล่าวของจิตรกร อ็องรี เลแว็ก ที่ว่า "เจ้าชาย ร่วมกับรัฐมนตรี กรมวังและพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารทางราชการ ได้รับการถวายฎีกาทั้งหมดที่ซึ่งเสนอแก่พระองค์ ทรงฟังทุกเรื่องราวที่ไม่พอพระทัยอย่างตั้งพระทัยแน่วแน่ ทรงวิงวอนแก่ผู้ร้องทุกข์ทุกคน ทรงปลอบโยนคนหนึ่ง ทรงให้กำลังใจคนอื่น ๆ........ มารยาทที่หยาบคาย วาทะที่คุ้นเคย การยืนกรานในบางสิ่ง การขยายความในอื่น ๆ ไม่มีผู้ใดเบื่อพระองค์เลย ดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงลืมแล้วเสียว่าทรงเป็นเจ้านายพวกเขา และพวกเขาจดจำพระองค์ได้ในฐานะของพ่อ"[38] มานูเอล จี โอลีเวย์รา ลีมา ได้เขียนเกี่ยวกับพระองค์ว่า "ไม่ทรงเคยปฏิเสธการเผชิญหน้าหรือคำร้อง และผู้ถวายฎีกาทุกคนประหลาดใจว่าทำไมพระองค์ทรงทราบอย่างดีถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ครอบครัวของพวกเขา แม้เหตุการณ์เล็กน้อยที่ซึ่งได้เกิดขึ้นในอดีตและที่ซึ่งพวกเขาไม่เชื่อว่าสามารถล่วงรู้ถึงพระกรรณของพระองค์ได้อย่างไร"[39]

ภาพพระราชพิธีไบฌา-เมา (การจุมพิตพระหัตถ์ขององค์กษัตริย์) ในราชสำนักบราซิลของพระเจ้าฌูเอา ที่ซึ่งยังคงเป็นโบราณราชประเพณีของราชสำนักโปรตุเกสจนกระทั่งสิ้นสุดราชาธิปไตย

ตลอดเวลาที่พระองค์ประทับในบราซิล เจ้าชายฌูเอาทรงก่อตั้งสถาบันต่าง ๆ จำนวนมากมายอย่างเป็นทางการและการบริการสาธารณะต่าง ๆ และทรงผลักดันเศรษฐกิจ, วัฒนธรรมและวิถีชีวิตประจำชาติตามพื้นที่ต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกยึดโดยส่วนใหญ่ เพราะความต้องการในสิ่งที่จำเป็นของการบริหารจัดการจักรวรรดิใหญ่ในดินแดนที่แต่ก่อนเคยขาดแคลนทรัพยากร เพราะว่าความคิดที่มีอิทธิพลได้ดำเนินต่อไปที่ซึ่งเชื่อว่าบราซิลยังคงเป็นอาณานิคม ได้ให้สิ่งที่ถูกคาดว่าราชสำนักที่นี่ควรจะกลายเป็นอดีตราชธานีเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองในยุโรปกลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาในสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นรากฐานสำหรับเอกราชของบราซิลในอนาคต[40][41] นี้ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและความก้าวหน้าทั้งหมด ลำดับของวิกฤตทางการเมืองได้เกิดขึ้นเพียงเวลาสั้น ๆ หลังจากพระองค์เสด็จมาถึงด้วยการรุกรานกาแยน (ค.ศ. 1809) ในเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2352 ในการโต้กลับสำหรับการที่ฝรั่งเศสเข้ารุกรานโปรตุเกส[42], ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรง และความลำบากจากข้อตกลงทางการค้าที่กำหนดในปี พ.ศ. 2353 โดยพันธมิตรอย่างอังกฤษ ที่ซึ่งในการปฏิบัติการเอ่อล้นของตลาดเล็ก ๆภายในด้วยสิ่งเล็กน้อยที่ไร้ค่าและการส่งออกที่เป็นผลเสีย และในการก่อตั้งอุตสาหกรรมใหม่ในชาติ[43][44] หนี้สินของชาติได้เพิ่มจำนวนทวีคูณถึง 20 และการคอร์รัปชั่นแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในสถาบันใหญ่ ๆ รวมทั้งธนาคารแห่งบราซิลแห่งแรก ที่ซึ่งสิ้นสุดด้วยการล้มละลาย เช่นเดียวกับราชสำนักที่ฟุ่มเฟือยและสิ้นเปลือง, สะสมอภิสิทธิ์ต่าง ๆ และดำรงไว้ซึ่งกองทหารที่ประจบสอพลอและฉวยโอกาส กงสุลอังกฤษ เจมส์ เฮนเดอร์สัน ได้สังเกตการณ์ว่า ราชสำนักในยุโรปส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีขนาดใหญ่เท่ากับราชสำนักโปรตุเกส ลอเรนติโน โกเมซได้เขียนไว้ว่า เจ้าชายฌูเอาทรงพระราชทานยศอันเป็นมรดกตกทอดมากมายในช่วงแปดปีแรกในบราซิลซึ่งมากกว่าประวัติศาสตร์การพระราชทานยศก่อนหน้านี้ในรอบสามร้อยปีแห่งราชาธิปไตยโปรตุเกส ไม่ได้มีการนับการพระราชทานเครื่องยศมากกว่า 5,000 ยศและการยกย่องเกียรติยศในเครื่องราชอิสริยาภรณ์โปรตุเกส[45]

เมื่อจักรพรรดินโปเลียนพ่ายแพ้ในปี พ.ศ. 2358 มหาอำนาจยุโรปได้พบปะกันในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาเพื่อจัดระบบแผนที่ทางการเมืองในภาคพื้นทวีปใหม่ โปรตุเกสได้เข้ามีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรองแต่ต้องให้นักวางแผนการชาวบริติชหรืออังกฤษที่ขัดแย้งกันในการสนับสนุนราชวงศ์บรากังซา อัครราชทูตโปรตุเกสในคองเกรส เคานต์แห่งปัลเมลา ได้เสนอแนะให้เจ้าชายผู้สำเร็จราชการยังคงประทับอยู่ในบราซิล ดังที่คำแนะนำของบุคคลผู้ทรงอำนาจอย่างเจ้าชายตาแลร็อง เพื่อจำกัดความแข็งแกร่งระหว่างราชธานีกับอาณานิคม รวมทั้งการเสนอแนะให้ยกระดับบราซิลเป็นราชอาณาจักรรวมกับโปรตุเกส ผู้แทนจากสหราชอาณาจักรก็ยังยุติด้วยการสนับสนุนข้อเสนอนี้ ที่ซึ่งเป็นผลให้เกิดการสถาปนาสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2358 เป็นสถาบันที่ได้รับการพิจารณาผ่านทางกฎหมายอย่างรวดเร็วโดยชาติต่าง ๆ[41]

สืบราชบัลลังก์

พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ทรงฉลองพระองค์สำหรับการสรรเสริญในฐานะพระมหากษัตริย์ ภาพวาดโดย ฌอง-แบ็ฟติสท์ เดอเบรต์

สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส พระราชมารดาของเจ้าชายฌูเอาเสด็จสวรรคตในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2359 สิริพระชนมายุ 81 พรรษา ครองสิริราชสมบัติรวมระยะเวลา 39 ปีด้วยพระอาการสติวิปลาสเกือบตลอดรัชกาล ซึ่งทรงดำรงพระชนม์ชีพยืนยาวที่สุดในบรรดากษัตริย์โปรตุเกสนับตั้งแต่สถาปนาราชอาณาจักรโปรตุเกส การสวรรคตของพระนางเป็นการเปิดทางให้แก่ผู้สำเร็จราชการในการขึ้นครองราชสมบัติ แต่พระองค์ทรงเริ่มปกครองในฐานะกษัตริย์ตั้งแต่วันนั้น พระองค์ไม่ทรงได้อุทิศพระองค์ในฐานะกษัตริย์โดยทันทีและทรงได้รับการสรรเสริญเท่านั้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2361 ด้วยงานเฉลิมฉลองอย่างใหญ่โต[10] ขณะที่พระราชกรณียกิจหลากหลายได้ประดามาล่วงหน้าก่อนแล้ว สมเด็จพระราชินีการ์โลตา โคอากีนาผู้ทะเยอทะยาน ทรงริเริ่มวางแผนการลับเพื่อต่อต้านความสนใจของประชาชนชาวโปรตุเกสในขณะที่ทรงประทับอยู่ในยุโรป และในเวลาอันสั้นหลังจากการมาถึงของพระนางในบราซิล ทรงทำการก่อตั้งและสนับสนุนกองทหารสเปนและนักชาตินิยมในดินแดนรีโอเดลาปลาตา(ปัจจุบันคือ อาร์เจนตินาและอุรุกวัย) ด้วยทรงปรารถนาในการเพิ่มพระราชอำนาจของพระนางเอง บางครั้งทรงปรารถนาเป็น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งสเปน บางครั้งทรงปรารถนาเป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชาธิปไตยใหม่ที่ประดิษฐานโดยการสนับสนุนจากอาณานิคมสเปนในทวีปอเมริกาใต้ บางครั้งทรงปรารถนาที่จะถอดถอนพระสวามีออกจากราชบัลลังก์ นี่แสดงให้เห็นว่าการอภิเษกสมรสของพระเจ้าฌูเอาซึ่งมีความหมายที่เป็นไปไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ทรงแสดงท่าทีที่อดทนอดกลั้น และทรงพยายามบังคับให้ทั้งสองพระองค์ปรากฏพระองค์ร่วมกันในที่สาธารณะ ในขณะที่พระนางการ์โลตาทรงได้รับการสนับสนุนจากผู้เห็นใจจำนวนมาก แผนการของพระนางมักล้มเหลวอย่างไม่แตกต่าง ทั้ง ๆ ที่พระนางทรงประสบความสำเร็จในการแทรกแซงอิทธิพลของพระสวามีโดยทรงมีส่วนร่วมโดยตรงในการเมืองอาณานิคมของสเปน นำไปสู่การเข้ายึดครองเมืองมอนเตวิเดโอในปี พ.ศ. 2360 และการผนวกแคว้นคิสพลาตินาในปี พ.ศ. 2364[46][47]

ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ได้เกิดปัญหาขึ้นคือการจัดหาพระชายาแก่องค์รัชทายาทของพระองค์ ซึ่งในอนาคตคือ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล ยุโรปในขณะนั้นได้พิจารณาเกี่ยวกับบราซิลว่าเป็นดินแดนห่างไกล, ล้าหลังและไม่ปลอดภัย ดังนั้นมันไม่ง่ายเลยที่จะจัดหาคู่สมรสที่เหมาะสม หลังจากปีแห่งการเสาะหา ราชทูต เปดรู ฌูเซ โจอาคิม วิโต เดอ เมเนเซส เคาทินโฮซึ่งดำรงยศเป็นมาควิสแห่งมาเรียลวา ท้ายที่สุดได้เสนอให้ผูกสัมพันธ์กับหนึ่งในราชวงศ์ที่ทรงอำนาจที่สุดในยุโรป นั่นก็คือ ราชวงศ์ฮับส์บูร์กในจักรพรรดิแห่งออสเตรีย หลังจากได้มีการรับประกันจากราชสำนักออสเตรียด้วยสิทธิต่าง ๆ มากมาย, แสดงพิธีการที่เอิกเกริก และการแบ่งสรรปันส่วนทองคำแท่งและเครื่องเพชรจากชนชั้นสูง เจ้าชายเปดรูทรงอภิเษกสมรสกับอาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย พระราชธิดาในจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งออสเตรียกับเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลีส์ในปี พ.ศ. 2360[48] จักรพรรดิและรัฐมนตรีของพระองค์ คลีเมนซ์ ฟาน แมทเทอร์นิตช์ ได้พิจารณาการเจริญสัมพันธไมตรีครั้งนี้ว่า "เป็นแผนการที่เป็นประโยชน์ระหว่างยุโรปและโลกใหม่" เสริมสร้างความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในรัชกาลแห่งราชาธิปไตยของทั้งสองซีกโลกและได้นำออสเตรียเข้ามามีอิทธิพลในซีกโลกใหม่[49]

ขณะที่สถานการณ์ในโปรตุเกสยังไม่มีความสงบสุข จากการว่างกษัตริย์และการถูกทำลายล้างจากสงครามคาบสมุทร และเป็นผลกระทบให้เกิดผู้คนอดอยากจำนวนมากและการอพยพย้ายถิ่นฐานออกไปจำนวนมาก[50] จากการขับไล่การรุกรานของฝรั่งเศสครั้งสุดท้ายจากเมืองใหญ่ได้กลายการอารักขาโดยอังกฤษ ซึ่งควบคุมโดยนายพล วิลเลียม คารร์ เบเรสฟอร์ด ผู้ซึ่งปกครองด้วยกำปั้นเหล็ก ตั้งแต่พระเจ้าฌูเอาทรงสืบราชบัลลังก์ ชาวโปรตุเกสพยายามบีบบังคับให้พระองค์เสด็จกลับ เริ่มชักนำให้เกิดการจลาจลของพวกเสรีนิยม และการก่อตั้งองค์กรลับต่าง ๆ ด้วยเป้าหมายที่นำมาซึ่งการประชุมคอร์เตสโปรตุเกส (Portuguese Cortes) ซึ่งเป็นภาษาในยุคกลางหมายถึงตัวแทนของแคว้นต่าง ๆ ในโปรตุเกส ที่ซึ่งไม่ได้มีการพบปะกันอีกนับตั้งแต่พ.ศ. 2241 เหมือนกับพวกเสรีนิยมที่สร้างความวุ่นวายในบราซิล ในปี พ.ศ. 2360 เกิดกบฏเปร์นัมบูกันในเมืองเรซีฟี เป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิยมสาธารณรัฐที่ซึ่งทำการก่อตั้งรัฐบาลขึ้นเองในรัฐเปร์นัมบูกูและการกบฏก็ขยายวงกว้างไปทั่วบราซิล แต่ในที่สุดก็ถูกปราบลงอย่างราบคาบ กลับไปที่โปรตุเกส ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2363 ได้เกิดการปฏิวัติเสรีนิยมในพ.ศ. 2363 ที่เมืองโปร์ตู และได้ทำการก่อตั้งรัฐบาลเองที่ควบคุมโดยคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง และได้ส่งผลกระทบในลิสบอน ที่ซึ่งมีการเข้าพบ "นายพลเพื่อจุดประสงค์พิเศษ" (General Extraordinary) และ "กลุ่มคอร์เตสรัฐธรรมนูญ" (Constituent Cortes) หรือ Cortes Gerais Extraordinárias e Constituintes ได้จัดตั้งรัฐบาล และได้มารวมกันเพื่อทำการเลือกคณะผู้แทนโดยปราศจากการขอพระราชวินิจฉัยจากพระเจ้าฌูเอา การเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหมู่เกาะมาเดย์รา, อะโซร์สและครอบงำไปถึงกาว-ปาราและรัฐบาเยียในบราซิล นำมาด้วยการลุกฮือของกองทัพในนครริโอเดอจาเนโร[4]

ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2364 กลุ่มคอร์เตสได้มาประชุมกันที่ลิสบอนและมีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งสภาผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเพื่อใช้อำนาจในพระนามของพระเจ้าฌูเอา ได้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองจำนวนมากและเรียกร้องให้พระมหากษัตริย์เสด็จกลับ ในวันที่ 20 เมษายน พระเจ้าฌูเอาทรงเรียกประชุมขุนนางที่กรุงรีโอเพื่อทำการเลือกผู้แทนพระองค์ไปยังกลุ่มคอร์เตสรัฐธรรมนูญ แต่ในวันต่อมาเกิดการประท้วงที่จตุรัสและผู้ประท้วงถูกปราบปรามอย่างรุนแรง ในบราซิลได้มีความคิดเห็นส่วนใหญ่ต้องการให้พระมหากษัตริย์เสด็จกลับโปรตุเกสซึ่งหมายความว่าจะต้องละทิ้งบราซิลความเป็นเอกราชของบราซิลและลดสถานะของบราซิลให้กลับเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสดังเช่นกาลก่อน ภายใต้กระแสความกดดัน พระเจ้าฌูเอาทรงดำเนินทางเป็นกลางโดยทรงส่งมกุฎราชกุมารเปดรู พระโอรสไปยังลิสบอนเพื่อให้เป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญและก่อตั้งรัฐบาลใหม่ขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามองค์มกุฎราชกุมารที่ซึ่งมีพระดำริในทางเสรีนิยมได้ปฏิเสธแผนการของพระราชบิดา วิกฤตการณ์ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและเป็นการยากที่จะหวนกลับไปสู่ระบอบเก่า พระเจ้าฌูเอามีพระบรมราชโองการสถาปนาให้มกุฎราชกุมารเปดรูเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่บราซิลและพระองค์เองได้เสด็จออกจากบราซิลเพื่อไปลิสบอนในวันที่ 25 เมษายน หลังจากทรงประทับในบราซิลมาเป็นเวลา 13 ปี แผ่นดินที่ซึ่งพระองค์ทรงดำริถึงทุกเมื่อเสมอมา[4][10][51]

เสด็จนิวัติโปรตุเกส

ภาพ พระเจ้าฌูเอาเสด็จนิวัติถึงท่าเรือลิสบอน

เรื่อพระที่นั่งได้นำพระเจ้าฌูเอาและราชสำนักถึงท่าลิสบอนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2364 การเสด็จนิวัติของพระองค์ถูกวิจารณ์ในพฤติกรรมที่บอกเป็นนัยว่าเป็นการบีบบังคับพระองค์มากกว่า แต่ในความเป็นจริงสภาพแวดล้อมของรัฐบาลใหม่ได้มีการก่อตั้งขึ้นแล้ว[4] มีการร่างรัฐธรรมนูญ และพระมหากษัตริย์ได้รับการปฏิญาณต่อรัฐธรรมนูญในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2365 ทรงยอมจำนนด้วยพระราชอำนาจที่หลากหลาย สมเด็จพระราชินีการ์โลตา โคอากีนาทรงปฏิเสธที่จะดำเนินการปฏิญาณตามพระราชสวามี และดังนั้นพระนางจึงถูกยึดพระราชอำนาจทางการเมืองและทรงถูกถอดถอนออกจากพระอิสริยยศ "สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส" ขณะที่พระเจ้าฌูเอาทรงสูญเสียบราซิลไป พระโอรสของพระองค์ มกุฎราชกุมารเปดรูยังคงประทับอยู่ที่บราซิลและทรงก่อการกบฏในการประกาศอิสรภาพแห่งบราซิลในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2365 ทรงปราบดาภิเษกในพระอิสริยยศ "จักรพรรดิแห่งบราซิล"[10][52] เป็นจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล ตามความเชื่อดั้งเดิมได้มีการกล่าวว่า ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับโปรตุเกส พระเจ้าฌูเอาทรงตระหนักถึงเหตุการณ์ในอนาคตและตรัสกับพระโอรสว่า "เปดรูเอ๋ย บราซิลนั้นต่อไปจักต้องแยกออกจากโปรตุเกส ถ้าเป็นเช่นนั้น เจ้าต้องนำมงกุฎนั้นมาสวมที่หัวของเจ้าให้จงได้ก่อนที่พวกฉวยโอกาสคนหนึ่งคนใดจะได้มันไป" จากบันทึกความจำของเคานท์แห่งปาลเมลา ได้บันทึกว่า อิสรภาพแห่งบราซิลได้มาถึงโดยท่ามกลางข้อตกลงร่วมกันระหว่างพระมหากษัตริย์และองค์มกุฎราชกุมาร ในเหตุการณ์บางอย่าง หลังจากมีการติดต่อกันระหว่างทั้งสองพระองค์ได้แสดงให้เห็นว่าการกระทำของเจ้าชายรัชทายาทมิได้บั่นทอนทำลายความสัมพันธ์ของพระองค์กับพระราชบิดาเลย[53] อย่างไรก็ตามรัฐบาลโปรตุเกสในขณะนั้นไม่รับรองเอกราชของบราซิลอย่างเป็นทางการ[10]

พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฌูเอาที่ 6 วาดโดย โดมินโกส อันโตนิโอ เดอ เซเควอิรา ในปี พ.ศ. 2364

รัฐธรรมนูญในทางเสรีนิยมที่ซึ่งให้พระมหากษัตริย์ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณได้มีผลบังคับใช้เพียงไม่กี่เดือน ไม่มีประชาชนหรือผู้ใดในโปรตุเกสสนับสนุนลัทธิเสรีนิยม และมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสมบูรณาญาสิทธิ์มากขึ้น ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2366 ที่แคว้นตรัส-โอส-มอนเตส อี อัลโต โดอูโร ฟรานซิสโก ซิลเวย์รา เคานท์แห่งอมันรันเตได้ประกาศสถาปนาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบที่เป็นรูปธรรมและกลับทำให้เกิดการปลุกปั่นครั้งใหม่ตามมา ในวันที่ 27 พฤษภาคม เจ้าชายมีเกลแห่งโปรตุเกส พระโอรสองค์หนึ่ง ทรงได้รับการสนับสนุนจากพระมารดา พระนางการ์โลตา โคอากีนา ให้ก่อการกบฏที่รู้จักในชื่อ วิลลาฟรานคาดา โดยมีความตั้งใจที่จะสถาปนาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระเจ้าฌูเอาทรงเปลี่ยนพระทัยเห็นมาสนับสนุนพระโอรสเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นความปรารถนาสูงสุดในกลุ่มของพระราชินี และทรงปรากฏพระองค์เคียงข้างพระโอรสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์เอง พระโอรสทรงฉลองพระองค์ของกลุ่มราชองครักษ์แห่งชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มทหารที่เคยพยายามก่อรัฐประหารแต่ต้องถูกกำจัดโดยพวกเสรีนิยม การปรากฏของทั้งสองพระองค์ได้รับการสรรเสริญจากกองทัพ พระเจ้าฌูเอาเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ไปยังเขตวิลลา ฟรานกา เดอ ซีราที่ซึ่งง่ายต่อการจัดการให้ประชาชนลุกฮือ ท้ายที่สุดเสด็จกลับลิสบอนด้วยความสำเร็จ สถานการณ์ทางการเมืองยังคงแปรปรวนและแม้แต่ผู้ที่ทำการปกป้องลัทธิเสรีนิยมอย่างเข้มแข็งยังเกรงกลัวที่จะตัดสินใจว่าจะอยู่ฝ่ายใด ก่อนการสลายตัว กลุ่มคอร์เตสได้ทำการประท้วงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับแล้วก่อนหน้านี้ แต่แล้วสมัยแห่งสมบูรณาญาสิทธิ์ได้มีการฟื้นฟู[10][54] พระราชอำนาจและพระอิสริยยศของสมเด็จพระราชินีได้รับการฟื้นคืนอีกครั้งและพระมหากษัตริย์ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นครั้งที่สองในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2366 พระเจ้าฌูเอาทรงใช้พระราชอำนาจควบคุมปราบปรามผู้ประท้วงการฟื้นฟูพระราชอำนาจครั้งนี้ ทรงเนรเทศผู้นิยมลัทธิเสรีนิยมออกจากประเทศและทำการจับกุมบุคคลอื่น ๆ มีพระราชโองการให้ฟื้นฟูคณะตุลาการและสถาบันต่าง ๆ จำนวนมากด้วยระบอบการเมืองในทิศทางใหม่และทรงจัดตั้งคณะกรรมาธิการในการร่างกฎบัตรใหม่ขึ้นพื้นฐานเพื่อแทนที่รัฐธรรมนูญ[54][55]

สัมพันธภาพของพระองค์กับเจ้าชายมีเกล พระโอรสกลับไม่สามารถดำรงได้ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของพระมารดาเข้าแทรกแซง เจ้าชายมีเกลทรงก่อการกบฏเมษายน หรือ Abrilada โดยกองทหารรักษาการณ์ในลิสบอนในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2367 กลุ่มกบฏได้อ้างว่าเพื่อต้องการกำจัดองค์กรฟรีเมสันและป้องกันพระมหากษัตริย์จากแผนการลอบปลงพระชนม์ของพวกฟรีเมสันที่ซึ่งทำการต่อต้านพระองค์ แต่พระเจ้าฌูเอากลับทรงถูกนำพระองค์มาเพื่อคุ้มครองในพระราชวังเบงปอชตา นักการเมืองจำนวนมากที่เป็นศัตรูกับเจ้าชายมีเกลยังคงถูกจับกุมอยู่ที่ไหนสักแห่ง พระประสงค์ของเจ้าชายทรงต้องการขู่ให้พระราชบิดาสละราชบัลลังก์ มีการตื่นตัวถึงสถานการณ์ คณะเจรจาฝ่ายทหารได้ควบคุมและเข้าไปยังพระราชวังเบงปอชตา ได้บอกให้พระมหากษัตริย์ไม่ให้ทำการต่อต้านมาก และได้ฟื้นฟูอิสรภาพของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม จากคำปรึกษาของคณะทูตที่เป็นมิตรกัน พระเจ้าฌูเอาทรงแสร้งที่จะเสด็จประพาสเมืองคาซิเอส แต่ในความเป็นจริงพระองค์เสด็จไปหลบภัยในเรือรบของอังกฤษที่ซึ่งเทียบท่ารอพระองค์อยู่ พระองค์มีพระราชวินิจฉัยจากเรือเฮสเอ็มเอส วินเซอร์ คาสเซิลทรงกล่าวประณามพระโอรส มีพระบรมราชโองการปลดพระโอรสออกจากตำแหน่งสั่งการในกองทัพ และให้พระโอรสปล่อยนักโทษทางการเมือง เจ้าชายมีเกลทรงถูกเนรเทศ ด้วยการที่กลุ่มกบฏถูกกำจัด ทั้งกลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มสมบูรณาญาสิทธิ์ได้ออกมายังถนนเพื่อเฉลิมฉลองการดำรงอยู่ของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย[10][56] ในวันที่ 14 พฤษภาคม พระมหากษัตริย์เสด็จกลับพระราชวังเบงปอชตา มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสภารัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและทรงแสดงความเมตตาต่อผู้ที่เคยร่วมก่อการกบฏ แต่ก็ยังไม่มีการเตือนพระราชินีจากการก่อการสมคบคิด ตำรวจได้ค้นพบแผนการกบฏต่อไปในวันที่ 26 ตุลาคม และเป็นหลักฐานที่พระเจ้าฌูเอามีพระบัญชาให้จับกุมพระมเหสีโดยกักบริเวณแต่ในพระตำหนักที่พระราชวังหลวงเกลุช[10]

ยามบั้นปลายและการสวรรคต

พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส วาดโดย อัลเบอร์ตัส จาค็อบ ฟรานซ์ เกรกอเรียส ในปี พ.ศ. 2368

ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าฌูเอามีพระบรมราชโองการเปิดเมืองท่าเสรีในลิสบอนแต่กฎหมายก็ไม่เป็นผล มีพระบรมราชโองการให้เพิ่มการไต่สวนในการสืบสวนในกรณีที่พระสหายเก่า มาควิสแห่งลูเลเสียชีวิต แต่คำพิพากษาสูงสุดไม่เคยได้รับการช่วยเหลือ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2367 พระองค์ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการลุกฮือที่ปอร์โต ยกเว้นเจ้าหน้าที่เก้าคนได้ถูกเนรเทศ ในวันเดียวกันรัฐธรรมนูญฉบับเก่าแห่งพระราชอาณาจักรได้ถูกนำกลับมาบังคับใช้ และกลุ่มคอร์เตสได้เปิดประชุมเพื่อร่างฉบับใหม่ การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเป็นการเผชิญหน้ากับอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะอุปสรรคกับสเปนและกลุ่มผู้สนับสนุนในสมเด็จพระราชินี[57]

อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ของโปรตุเกสในเวลานี้เกี่ยวข้องกับเอกราชของบราซิล จนกระทั่งแหล่งทรัพย์สินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ การสูญเสียบราซิลได้ส่งผลเสียทางเศรษฐกิจที่รุนแรงต่อโปรตุเกส ความตื่นตัวในการพยายามเอาชนะอดีตอาณานิคมได้รับการพิจารณา แต่แนวคิดนี้ต่อมาถูกละทิ้ง ความยากลำบากในการเจรจาต่อรองและการประชุมหารือในการรับรองจากยุโรปในรีโอเดจาเนโร ด้วยความเป็นกลางและแรงกดดันจากอังกฤษ ส่งผลในการรับรองเอกราชครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2368 ในเวลาเดียวกัน พระเจ้าฌูเอาทรงปลดปล่อยนักโทษชาวบราซิลและทรงอนุญาตให้สิทธิทางการค้าระหว่างสองชาติ ได้มีการยอมรับในเจ้าชายเปดรูปกครองในฐานะพระประมุขแห่งบราซิลด้วยพระอิสริยยศ "จักรพรรดิ" พระเจ้าฌูเอาทรงรักษาเกียรติยศของพระองค์ในฐานะจักรพรรดิแห่งบราซิลเพียงในพระนาม จากเวลานี้ พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยลงในเอกสารในฐานะ "จักรพรรดิและพระเจ้าฌูเอาที่ 6" (Sua Majestade o Imperador e Rei Dom João VI) บราซิลได้รับเงินทุนบางอย่างที่ซึ่งบราซิลได้กู้ยืมมาจากโปรตุเกส ไม่มีสนธิสัญญาใดกล่าวถึงสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ทั้งสอง แต่จักรพรรดิเปดรู ยังคงดำรงพระอิสริยยศในฐานะมกุฎราชกุมารแห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ อย่างเป็นนัยว่าทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์โปรตุเกส[10][57]

ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 พระเจ้าฌูเอาขณะเสด็จกลับจากพระอารามเฮียโรนิไมท์ และทรงเข้าบรรทมที่พระราชวังเบงปอชตาด้วยพระอาการน่าเป็นห่วง พระองค์ทรงเจ็บปวดทรมานหลายวันจากพระอาการต่าง ๆ รวมทั้งอาเจียนและการสั่นอย่างรุนแรง พระองค์ทรงปรากฏองค์ด้วยพระพลานามัยที่ดีขึ้นแต่ด้วยความรอบคอบ พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งให้ เจ้าหญิงอิซาเบล มารีอาแห่งโปรตุเกส พระราชธิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกลางคืนของวันที่ 9 มีนาคม พระอาการประชวรของพระองค์กลับแย่ลงและเสด็จสวรรคตในเวลาประมาณ 5 โมงเช้าของวันที่ 10 มีนาคม สิริพระชนมายุ 58 พรรษา เจ้าหญิงผู้สำเร็จราชการทรงยอมรับในทันทีทันใดภายในรัฐบาลของโปรตุเกสและจักรพรรดิเปดรูทรงได้รับการยอมรับในฐานะองค์รัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมายในฐานะ พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกส แพทย์หลวงประจำราชสำนักยังไม่สามารถกำหนดเหตุการสวรรคตของพระเจ้าฌูเอาได้ในท้ายที่สุด แต่มีการสงสัยกันว่าทรงถูกวางยาพิษ พระวรกายของพระองค์ถูกตบแต่งและทำพระราชพิธีฝังพระศพที่สุสานหลวงแห่งกษัตริย์โปรตุเกส วิหารหลวงแห่งพระราชวงศ์บรากังซาในพระอารามเซา วิเซนเต เดอ ฟอรา[58] ในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 คณะผู้ตรวจสอบได้ค้นพบและขุดหม้อเซรามิกทรงจีนขึ้นมาจากหลุมที่ซึ่งบรรจุพระอันตะ(ลำไส้)ของพระองค์ ชิ้นส่วนของพระหทัยของพระองค์ได้ถูกทำให้ชื้นและได้รับการตรวจสอบที่ซึ่งมีการพบปริมาณสารหนูปริมาณมากพอสำหรับฆ่าคนได้สองคน เป็นการยอมรับอย่างเป็นนัยว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ[59][60]

ชีวิตส่วนพระองค์

พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฌูเอาที่ 6 และพระราชินีการ์โลตา โคอากีนา วาดโดย มานูเอล ไดแอซ เดอ โอลิเวียรา ในปี พ.ศ. 2358

เมื่อทรงพระเยาว์ขณะทรงดำรงเป็นเจ้าชายฌูเอา พระองค์มีพระบุคลิกภาพที่แตกต่างออกไป ทรงศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า ทรงดำรงพระชนม์ชีพท่ามกลางบาทหลวงและเข้าร่วมพิธีมิสซาในโบสถ์ประจำวัน อย่างไรก็ตาม โอลิเวียรา ลิมาได้ยืนยันว่าทรงค่อนข้างแสดงพระองค์ศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า สิ่งนี้ได้สะท้อนให้เก็นถึงวัฒนธรรมโปรตุเกสในยุคสมัยนั้นเพียงเท่านั้น และพระมหากษัตริย์...

....ทรงเข้าพระทัยในศาสนา ด้วยส่วนประกอบของขนบธรรมเนียมประเพณีและระเบียบวินัยทางศีลธรรม เท่านั้นสามารถเป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลที่ดีในรูปแบบ, การปกครองแบบบิดาและลักษณะเฉพาะของพระองค์ เพื่อราษฎรที่ซึ่งถูกปกครองสืบต่อด้วยพระราชอำนาจ เนื่องมาจากสิ่งนี้ พระองค์ทรงเป็นอย่างซ้ำ ๆ ในฐานะแขกของคณะสงฆ์และทรงอุปถัมภ์นักประพันธ์เพลงศาสนา แต่ก็มิได้ทรงถูกอธิบายว่าเป็นคนเจ้าสำราญและมีรสนิยมมีการยอมรับในอิสระของพระองค์ทางความคิดหรือทรงผิดธรรมชาติในการอดทนกับความกังขาของบุคคลอื่น ...พระองค์มักสร้างโรงครัวจำนวนมากในพระอารามและห้องสวดมนต์ เพราะว่า (ในเวลาต่อมา) เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจทางศาสนาและใน(ก่อนหน้านี้)การคำนึงถึงศาสตร์ในการทำอาหาร และในระยะเวลาของการปฏิบัติกิจทางศาสนาทรงเน้นการปฏิบัติที่เพียงพอสำหรับพระองค์เอง ในห้องสวดมนต์หลวง พระองค์ทรงพอพระทัยอย่างยิ่งด้วยสติสัมปชัญญะจากนั้นทรงสวดมนต์ด้วยจิตวิญญาณ: andantes ทรงประทับนั่งสมาธิ[61]

พระองค์ทรงให้คุณค่ากับบทเพลงทางศาสนาอย่างมากและทรงเป็นนักอ่านที่ยอดเยี่ยมในงานทางศิลปะแต่พระองค์ไม่โปรดกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างมาก พระองค์ทรงทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงเป็นครั้งคราว[62] ซึ่งอาจจะทรงได้รับพันธุกรรมโรคนี้มาจากพระมารดาหรือพระอัยกา ทรงเกลียดชังในการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันรวมทั้งฉลองพระองค์ พระองค์ทรงฉลองพระองค์ตัวเดียวจนกระทั่งขาด ทรงบังคับให้มหาดเล็กในวังของพระองค์เย็บฉลองพระองค์ตัวนั้นในตอนที่ทรงสวมอยู่ขณะที่บรรทม พระองค์ทรงทรมานจากพระอาการตื่นตกใจอย่างรุนแรงเมื่อทรงได้ยินเสียงฟ้าร้อง โดยทรงประทับแต่ในห้องด้วยหน้าต่างที่ถูกปิดและทรงไม่ต้อนรับผู้ใด[63]

ชีวิตการอภิเษกสมรสของพระองค์ถือเป็นคู่ที่ไม่มีความสุข ได้มีข่าวลือแพร่กระจายว่าเมื่อมีพระชนมายุ 25 พรรษา พระองค์ทรงตกหลุมรักยูจีเนีย ฌูเซ เดอ เมเนเซส หญิงชาวสเปนผู้ติดตามพระมเหสีของพระองค์ เธอได้ตั้งครรภ์และมีการสงสัยว่าพระองค์ทรงเป็นบิดาของบุตรในครรภ์ กรณีนี้ถูกทำให้เงียบและหญิงสาวถูกส่งตัวกลับสเปนที่ได้ให้กำเนิดบุตร เธอได้ให้กำเนิดบุตรสาว ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชื่อของเธอ ยูจีเนียดำรงชีวิตอย่างสงบในสำนักชีและพระองค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เธอเสมอมา นักประวัติศาสตร์ โทเบียส มอนเตย์โรและแพทริค วิลค์เคนได้บันทึกเป็นสัญญาณว่า พระเจ้าฌูเอามีพระบุคลิกไปในทางความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศได้นำมาซึ่งหายนะในชีวิตสมรสของพระองค์ ที่ซึ่งทรงประทับห่างจากพระมเหสีโดยมักทรงปรากฏพระองค์ร่วมกันในงานพระราชพิธีสำคัญ คู่รักของพระองค์ในความสัมพันธ์ครั้งนี้เป็นคนรับใช้คนโปรดของพระองค์ ฟรานซิสโก เดอ เซาซา โลบาโต ผู้ซึ่งตามบันทึกของนักประวัติศาสตร์ โดยปกติเขามักจะมีหน้าที่สำเร็จความใคร่ให้กับเจ้านาย ในขณะที่อาจจะได้รับการปองร้ายทีเดียว บาทหลวงนามว่า มีเกล ได้พบกับฉากนั้นโดยบังเอิญและเป็นผลให้บาทหลวงถูกส่งตัวไปยังแองโกลาแต่ก็ไม่ได้เขียนบันทึกคำให้การก่อนที่จะออกไป โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงและความไม่ถูกต้องของการเรียกร้อง รูฟิโน เดอ เซาซาได้รับเกียรติยศมากมาย ซ้อนท่ามกลางข้อครหาในที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ เขาได้เป็นเลขาธิการแห่งคาซา โด อินเฟนตาโด, เลขาธิการสำนักคุณธรรมและอำนวยการ (Mesa de Consciência e Ordens) และเป็นผู้ว่าการป้อมปราการซานตา ครูซ และได้รับพระอิศริยยศชั้น บารอนและหลังจากนั้นเป็นไวส์เคานท์แห่งวิลลา โนวา ดา ไรน์ฮา[62]

ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยและฉุกเฉินของรีโอเดจาเนโรที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์เป็นอย่างง่าย ๆ ในทางกลับกันกับพระญาติที่แยกตัวโดดเดี่ยวในโปรตุเกส พระองค์ทรงกลายเป็นผู้กระตือรืนร้นทางร่างกายมากขึ้นและมีความสนพระทัยในธรรมชาติ พระองค์ทรงย้ายบ่อย ๆ ระหว่างปาโค เดอ เซา กริสโตบาวและวังอุปราชในเมือง ทรงพำนักบางครั้งที่เกาะปาเควตา, เกาะโกเวอร์นาดอร์ ที่พราเอีย แกรนเดอ(ชายหาดที่นิเตรอย) และที่พระตำหนักหลวงแห่งซานตา ครูซ พระองค์เสด็จออกล่าสัตว์และบรรทมอย่างมีความสุขในเต้นหรือภายใต้ต้นไม้ พระองค์โปรดชนบททั้ง ๆ ที่มีบึงแห่งยุงชุมและแมลงอื่น ๆ และความร้อนในป่าเขตร้อนที่ไหม้เกรียมที่ซึ่งเป็นสภาพที่ชาวโปรตุเกสและชาวต่างชาติส่วนใหญ่เกลียดมาก[64]

พระราชมรดก

ภาพอุปมานิทัศน์คุณงามความดีแห่งพระเจ้าฌูเอาที่ 6 วาดโดยดูมิงกุช อังตอนีอู ดึ ซีไกรา ในปี พ.ศ. 2343

ในช่วงเวลาไม่กี่ปีในการประทับที่บราซิลของพระเจ้าฌูเอา พระองค์มีพระบรมราชโองการจัดตั้งกลุ่มสถาบัน โครงการ และบริการหลายอย่าง ซึ่งทำให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างกว้างขวางทางด้านเศรษฐกิจ การบริหารราชการ กฎหมาย วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปะ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จทั้งหมด และบางอย่างก็ไม่สมบูรณ์หรือไม่จำเป็นโดยสิ้นเชิง ตามที่อีปอลีตู ฌูเซ ดึ กอชตา ได้วิจารณ์อย่างเสียดสีไว้[65] ในบรรดาสิ่งเหล่านี้ พระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งอิงเปรงซาเรฌีอา (สำนักพิมพ์แห่งแรกของประเทศ), สวนพฤกษศาสตร์รีโอเดจาเนโร,[66] คลังสรรพาวุธทหารเรือ, ฟาบรีกาจีปอลโวรา (โรงงานผลิตดินปืน), ฝ่ายดับเพลิงของเมืองรีโอเดจาเนโร, กองเรือพาณิชย์นาวีของบราซิล และโรงพยาบาลการกุศลที่รู้จักกันในนาม "กาซาดุสอิสโปสตุส"[67] พระองค์ยังทรงก่อตั้งแผนการศึกษามากมายในรีโอ, เปร์นัมบูกู, บาเยีย และสถานที่อื่น ๆ โดยมีการเรียนการสอนในวิชาทางศาสนาและเทววิทยาศีลธรรม แคลคูลัสเชิงปริพันธ์ กลศาสตร์ อุทกพลศาสตร์ เคมี เลขคณิต เรขาคณิต ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ พฤกษศาสตร์ เกษตรกรรม และอื่น ๆ พระองค์ยังทรงส่งเสริมให้มีการก่อตั้งสมาคมและสถาบันมากมายเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ วรรณคดี และศิลปะ เช่น ฌุงตาวาซีนีกา (บริหารจัดการวัคซีนไข้ทรพิษ), ราชสมาคมนักอักษรศาสตร์แห่งบาเยีย, สำนักวิทยาศาสตร์และวิจิตรศิลป์, สถาบันวิทยาศาสตร์และศิลปะแห่งรัฐรีโอเดจาเนโร,[68] สำนักกายวิภาคศาสตร์ ศัลยศาสตร์ และแพทยศาสตร์แห่งรีโอเดจาเนโร[69] สถาบันวิชาการปืนใหญ่ การเสริมกำลัง และการออกแบบหลวง,[70] โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนเตรียมทหาร, หอสมุดแห่งชาติบราซิล,[71] พิพิธภัณฑ์หลวง (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบราซิล),[72] โรงละครหลวงเซาฌูเอา (ปัจจุบันคือโรงละครฌูเอาไกตานู) รวมทั้งทรงเกณฑ์ผู้บรรเลงเดี่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ และอุปถัมภ์นักดนตรีแห่งโบสถ์หลวงคนอื่น ซึ่งรวมทั้งบาทหลวงโฌเซ เมารีซีอู นักประพันธ์เพลงชั้นนำชาวบราซิลในรัชสมัยของพระองค์[67] ทรงสนับสนุนการมาของคณะมีเซาอาร์ติสชีกาฟรังเซซา เป็นผลให้เกิดการก่อตั้งสำนักวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และงานฝีมือหลวง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสำนักวิจิตรศิลป์แห่งชาติแห่งมหาวิทยาลัยสหพันธ์แห่งรีโอเดจาเนโรในปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการเริ่มต้นการศึกษาและการผลิตงานศิลปะในบราซิล[73]

ภาพ เจ้าชายผู้สำเร็จราชการทรงตรวจกองทัพที่อาซังบูฌา วาดโดยดูมิงกุช อังตอนีอู ดึ ซีไกรา

นโยบายของพระเจ้าฌูเอานำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง เริ่มต้นด้วยการเปิดท่าเรือและการยกเลิกระบบการค้าผูกขาดของโปรตุเกส ทำให้สหราชอาณาจักรกลายเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์มหาศาล ในทางหนึ่ง ผู้ค้าซึ่งมีฐานในบราซิลต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันที่แข็งแกร่งจากต่างชาติ ในทางตรงกันข้าม ก็ได้ส่งเสริมการผลิตสิ่งใหม่ ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่ก่อนหน้านี้เคยถูกสั่งห้าม ล้มเหลว หรือไม่เคยเกิดขึ้นในบราซิล ในเวลาเดียวกัน พระองค์ทรงก่อตั้งหน่วยงานการบริหารจัดการในระดับสูงอย่างกระทรวงการสงคราม กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสมุทรและดินแดนโพ้นทะเล; สภาแห่งชาติและการคลัง สภาทหารสูงสุด หอจดหมายเหตุทางทหาร ทบวงการยุติธรรมและทบวงมโนธรรมและระเบียบ กาซาจีซูปลีกาเซา (สภาสูง) กองกำกับการตำรวจ ธนาคารแห่งแรกของบราซิล[66][74] คณะกรรมการการค้า เกษตรกรรม โรงงาน และการเดินสมุทร[75] และไปรษณีย์กลาง[74] รวมทั้งทรงให้ชาวบราซิลเข้ามามีอำนาจในตำแหน่งบริหารและการจัดการ ซึ่งช่วยลดความตึงเครียดระหว่างคนพื้นเมืองกับชาวโปรตุเกสลงได้[76] พระองค์ยังทรงสนับสนุนการผลิตทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ้าย ข้าว และอ้อย ทรงเปิดเส้นทางและสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางน้ำภายในแผ่นดิน เป็นการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของประชาชน สินค้า และผลิตภัณฑ์ระหว่างภูมิภาค[77]

ข้อโต้แย้ง

พระบรมสาทิสลักษณ์โดยจิตรกรที่แตกต่างกันแสดงบุคลิกภาพแทนพระองค์ที่หลากหลาย

ตามรายงานของปีเดรอิราและคอสตา พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสจำนวนน้อยที่จะมีการนิยมจินตนาการในพระบรมสาทิสลักษณ์เทียบเท่าพระเจ้าฌูเอาที่ 6 ที่ซึ่งแต่ละพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์แตกต่างกันมาก ๆ "แต่นาน ๆ ครั้งก็เป็นผลดี....มันไม่แปลกที่ซึ่งความยากลำบากในชีวิตสมรสและพระราชวงศ์และการอ้างอิงถึงบุคลิกลักษณะของพระองค์และธรรมเนียมประจำพระองค์เอง การนำมาซึ่งภาพล้อเลียนแบบง่าย ๆ และการเคลื่อนไหวอย่างตรงไปตรงมา ถ้าไม่ใช่ประเพณีที่ตลกขบขัน"[78] กษัตริย์ทรงได้รับความนิยมในการแสดงถึงความขี้เกียจ, ความเขลาและความซุ่มซ่าม ทำให้เชื่อฟังโดยภรรยาที่ปากร้าย การขยะแขยงคนตะกละผู้ซึ่งมักจะมีไก่อบในกระเป๋าเสื้อโค้ตของพระองค์ที่เสวยตลอดเวลาด้วยมือที่เต็มด้วยคราบน้ำมัน[40][79] เรื่องที่เป็นตัวอย่างได้คือภาพยนตร์บราซิลเรื่อง การ์โลตา โคอากีนา - เจ้าหญิงแห่งบราซิล (Carlota Joaquina – Princesa do Brasil) (พ.ศ. 2538)[40] การเขียนล้อเลียนที่รวมด้วยบทวิจารณ์ทางสังคมที่เฉียบคม งานเขียนนั้นได้สร้างผลกระทบสะท้อนกลับอย่างมากมาย แต่ตามรายงานคำวิจารณ์ของโรนัลโด เวนฟาส "มันเป็นเรื่องราวที่เต็มไปด้วยข้อผิดพลาดในหลายรูปแบบ, การเป็นตัวอย่างที่ผิด, ความไม่แน่ชัด, การประดิษฐ์"[80] สำหรับนักประวัติศาสตร์ ลูอิซ คาร์ลอส วิลลัลตา "มันสร้างการโจมตีอย่างกว้าง ๆ ในความรู้ทางประวัติศาสตร์"[81] ในทางกลับกันผู้อำนวยการคาร์ลา คามูราติบอกกล่าวอย่างเจตนา "สร้างเรื่องเล่าแบบภาพยนตร์ที่ซึ่งกำหนดประเภทของนวนิยายทางประวัติศาสตร์ด้วยหน้าที่เกี่ยวกับการสอนและในเวลาเดียวกันจะเสนอผู้ตรวจสอบความรู้ในอดีตและช่วยเหลือในฐานะประชาชน ที่นึกถึงเกี่ยวกับปัจจุบัน....มันไม่ได้เสนอความรู้ทางประวัติศาสตร์ใหม่ ๆ ของผู้ตรวจสอบ ในทางนี้ มันได้นำมาซึ่งผู้ตรวจสอบทางพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมทางโลกีย์มากกว่าเรื่องเล่าที่ส่งผลกระทบสะท้อนในประวัติศาสตร์บราซิล"[82]

การมองภาพแทนอย่างหลากหลายของพระเจ้าฌูเอาในขอบเขตบุคลิกลักษณะที่ทรงมีน้ำหนักมากเกินไป, รูปร่างใหญ่กว่าปกติ, ไม่เป็นระเบียบที่ซึ่งบุคลิกมีภูมิฐานและสง่างาม [83] สำหรับจิตรกรวาดภาพเหมือน นักวิจัย อิสเมเนีย เดอ ลิมา มาร์ตินส์ ได้เขียนไว้ว่า "ถ้าคือข้อตกลงท่ามกลางผู้เขียนทั้งหมด ผู้ซึ่งอาศัยหลักฐานของพวกเขา ผู้ซึ่งใกล้ชิดกับพระองค์สำหรับพระเมตตาและสุภาพ ทั้งหมดนี้เป็นข้อโต้เถียงอย่างรุนแรง ในขณะที่การตรัสตรงๆถึงสีหน้าของพระองค์อย่างรัฐบุรุษ บางคนพิจารณาว่าพระองค์ทรงขี้ขลาดและไม่เหมาะสำหรับการปกครอง ในเหตุการณ์อื่นๆ พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ทรงสร้างรอยที่ลบไม่ออกในประวัติศาสตร์ลูโซ-บราซิล ข้อเท็จจริงที่ซึ่งปรากฏทั่วในปัจจุบัน ท่ามกลางบทบาททางประวัติศาสตร์ที่ซี่งยืนกรานเหนือการคาดคะเนของกษัตริย์ ทั้งๆที่การเปลี่ยนแปลงที่ซึ่งฝึกฝนประสบการณ์เหนือเหตุการณ์ในศตวรรษที่ 20"[84]

พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ในกรุงรีโอเดจาเนโร

ในทางการปกครอง พระเจ้าฌูเอาทรงได้รับแรงสนับสนุนที่แข็งแกร่งเสมอ ที่มีชื่อเสียงคือ โรดริโก เดอ เซาซา โควทินโฮ เคานท์ที่ 1 แห่งลินฮาเรซ, อันโตนิโอ เดอ อเราโจ อี อเซเวโด เคานท์ที่ 1 แห่งบาร์คาและโตมัส อันโตนิโอ เดอ วิลลา โนวา โปรตุเกส ผู้ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ให้คำปรึกษาในพระราชกรณียกิจของพระเจ้าฌูเอาจำนวนมาก[85] แต่ตามรายงานของจอห์น ลุคค็อก ผู้สังเกตการณ์ที่เชื่อถือได้ในยุคสมัยนั้น "เจ้าชายผู้สำเร็จราชการทรงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขาดความกระตือรือร้นหลายครั้ง สำหรับฉัน พระองค์นั้นทรงเป็นผู้มีความเฉียบแหลมอย่างมากและบุคลิกภาพที่แข็งแกร่งมากกว่าคุณลักษณะที่เห็นโดยทั่วไปจากทั้งมิตรและศัตรูของพระองค์ พระองค์ทรงอยู่ในพฤติการณ์แวดล้อมใหม่ ที่ซึ่งทรงได้รับการทดสอบ การยอมรับพวกเขาด้วยตวามอดทน ถ้าทรงถูกยั่งยุ พระองค์จะแสดงพระองค์ด้วยความกระฉับกระเฉงและฉับไว"[86] พระองค์ทรงได้รับการสรรเสริญด้วยบุคลิกแห่งการเป็นกษัตริย์ การยืนยันใหม่ถึงพระเมตตาและความสนพระทัย[87] งานประพันธ์คลาสสิคของโอลิเวียรา ลิมา เรื่อง Dom João VI no Brasil(พ.ศ. 2451) เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีความเชื่อถือได้สำหรับการเริ่มต้นของกระบวนการฟื้นฟูสภาพเดิมขนานใหญ่ของพระเจ้าฌูเอา[79][88] เขาได้ทำการค้นคว้าเอกสารนับไม่ถ้วนในช่วงยุคสมัยนั้นโดยปราศจากการค้นหาบทบรรยายซึ่งไม่น่าพอใจเกี่ยวกับกษัตริย์โดยชาวบราซิลหรือเอกอัครราชทูตและนักการทูตต่างๆที่ได้รับการยอมรับในราชสำนัก ในทางกลับกัน เขาได้พบการบรรยายจำนวนมากที่ซึ่งแต่งแต้มด้วยสีอันเป็นที่ชื่นชอบ ดังเช่น หลักฐานจากแฮนเดอร์สัน กงสุลบริติชและซัมเทอร์ รัฐมนตรีสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่ง"ชื่นชอบอย่างมากที่จะกำหนดพระองค์ให้เป็นกษัตริย์โดยตรง โดยความชอบธรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย จากนั้นทรงพบปะกับคณะรัฐมนตรีของพระองค์....การคิดว่าพระองค์ในสถานการณ์นี้ทรงมีความก้าวหน้ามากพอกว่าข้าราชสำนักของพระองค์"[89] เอกสารทางการทูตยังคงยืนยังถึงวิสัยทัศน์ทางการเมืองของพระองค์ที่กว้างไกล ความตั้งพระทัยที่จะให้บราซิลมีความสำคัญในทวีปอเมริกาโดยสามารถเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา การรับเอามาของวาทกรรมที่ใกล้เคียงกับหลักการเทพลิขิตของสหรัฐอเมริกา พระองค์ทรงยืนยันในอำนาจอันชอบธรรมของพระองค์โดยปราศจากความรุนแรง มากด้วยพระอารมณ์ที่สามารถชักจูงได้และสุภาพ การจัดการทางการระหว่างประเทศของพระองค์ แม้ว่าในบางครั้งจะไม่ประสบความสำเร็จและค่อนข้างจะนำมาซึ่งความทะเยอทะยานแห่งลัทธิจักรวรรดินิยม แต่ในทางอื่นๆมากมายถือเป็นการมองการณ์ไกลและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เป็นการแสดงด้วยท่าทางมากมายบรรยายที่ซึ่งยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ในอาณานิคมบราซิล[61][87]

ถึงอย่างไรก็ตาม นายพลแห่งกองทัพฝรั่งเศส ฌอง-อันดอเช ชูโนต์ ได้บรรยายพระองค์ในฐานะ "บุรุษผู้อ่อนแอ หวาดระแวงทุกๆคนและทุกๆสิ่ง ริษยาอำนาจสั่งการของพระองค์แต่ซึ่งไม่สามารถพอในการสร้างความเคารพ พระองค์ถูกปกครองโดยคุณพ่อ (ในที่นี้คือ บาทหลวง) และสามารถดำรงพระองค์ภายใต้การข่มขู่ให้เกรงกลัว" และนักประวัติศาสตร์ชาวบราซิลหลายๆคน เช่น แพนเดีย คาลอเกราส, โตเบียส มอนเตย์โรและลูอิส นอร์ตัน ได้บรรยายพระองค์เปรียบเหมือนสีดำมืดมิด ท่ามกลางชาวโปรตุเกส เช่น โจอาควิม เปดรู เดอ ดอลิเวียรา มาร์ตินส์และราอูล บรานเดา บรรยายว่า พระองค์ทรงถูกพรรณาร่ำไปในฐานะบุคคลที่ตลกล้อเลียนจนกระทั่งอนุรักษ์นิยมถูกฟื้นคืนในปี พ.ศ. 2469 เมื่อเขาเริ่มต้นที่จะหาผู้ปกป้อง เช่น ฟอร์ทูนาโด เดอ อัลเมดา, อัลเฟรโด ปิเมนตาและวาเลนทิม อเล็กซานเดร[79][90][91] มันเป็นบางอย่างที่ซึ่งจำนวนมากถูกทำให้ไม่จงรักภักดีต่อพระองค์ ที่ซึ่งทรงขึ้นภาษีและการเป็นหนี้ที่แย่ลง,เพิ่มจำนวนตำแหน่งและสิทธิพิเศษสืบทางสายโลหิต ที่ซึ่งไม่ทรงสามารถระงับความขัดแย้งภายในที่เพิ่มขึ้นมากหรือการกำจัดการคอร์รัปชัน และที่ซึ่งเสด็จออกจากบราซิลช่วงระยะใกล้จะล้มละลายเมื่อพระองค์ทำให้ท้องพระคลังว่างเปล่าในการเสด็จกลับโปรตุเกส[40][79][92]

อะไรก็ตามบุคลิกของพระองค์ สำคัญต่อรัชกาลของพระองค์สำหรับช่วยจดจำการโหมกำลังการผลิตในบราซิลและเป็นเอกภาพอย่างแท้จริงที่ซึ่งเป็นชาติที่มิอาจโต้แย้งได้ กิลเบอร์โต เฟรเรยืนยันว่า "พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ทรงเป็นบุคคลหนึ่งผู้ซึ่งมีบทบาทมหาศาลในการสถาปนาชาติ.....พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีเลิศในฐานะบุคคลกลาง....ระหว่างประเพณี ที่ซึ่งพระองค์ทำให้เป็นรูปธรรม และนวัตกรรม ที่ซึ่งพระองค์ทรงเปิดรับและยกระดับ ในระหว่างที่ซึ่งสร้างความมั่นใจแก่อนาคตของชาวบราซิล"[93] ในความเห็นของลอเรนติโน โกเมซ "ไม่มียุคสมัยใดในประวัติศาสตร์บราซิลยืนยันแน่นอนอย่างลึกซึ้งและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใน 13 ปีที่ซึ่งราชสำนักโปรตุเกสประทับอยู่ที่รีโอเดจาเนโร" นักวิชาการเช่น โอลิเวียรา ลิมา, มาเรีย โอดิลา ดา ซิลวา ดิเอส, โรเดอริค บาร์แมนและลอเรนติโน ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว เชื่อว่าพระเจ้าฌูเอาไม่เคยคิดเสด็จมาที่อเมริกาและก่อตั้งรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง บางทีคือแผ่นดินใหญ่บราซิลด้วยความแตกต่างเกี่ยวกับดินแดนที่สำคัญที่ซึ่งมีส่วนที่แตกออกมาของชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นกับชาติอาณานิคมเพื่อนบ้านอย่างสเปน ความคิดเห็นนี้ถูกร่วมโดยนายพลเรือบริติช ซิดนีย์ สมิธ ผู้บัญชาการกองเรือรบที่ซึ่งคุ้มกันเรือโปรตุเกสให้เดินทางไปยังบราซิล[40][94]

เร็วๆนี้พระราชประวัติได้มีการแยกข้อเท็จจริงออกจากตำนานและโต้ตอบด้วยตำนานเย้ยหยันที่ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยบุคคลแวดล้อมพระเจ้าฌูเอาและที่ซึ่งขาดแคลนเอกสารมาสนับสนุน[40] ลูเซีย บาสโตสได้เตือนที่ซึ่งแม้กระทั่งวันนี้พวกเราจำเป็นที่จะระมัดระวังในการวางเรื่องที่แน่นอนในบริบทของประวัติศาสตร์ ดังเช่น ข้อถกเถียงในการฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่มีที่ซึ่งแม้ว่าสิ้นเปลืองมหาศาลและการสบประมาท ในเวลานั้นไม่มีการชัดแจ้งในการแบ่งระหว่างการคลังสาธารณะและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของกษัตริย์ และในตรรกะของยุคสมัยเก่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของประเทศ....ที่ซึ่งกระจายส่วนของแบบที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แจกจ่ายความยุติธรรมและการแย่งชิง"[79] ในคำพูดของลีอันโดร โลโยลา "จากการศึกษาวิจัยใหม่ที่ปรากฏออกมา ผู้ซึ่งมีข้อจำกัดของพระองค์ แต่ผู้ซึ่งเผชิญหน้าสถานการณ์ที่เป็นอันตรายโดยสิ้นเชิงและมีชีวิตต่อไป ทั้งๆที่การปกครองประเทศขนาดเล็ก, ยากจน, ทรุดโทรม ดังเช่นโปรตุเกสในจุดเริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19"[40] ก่อนที่ศัตรูของพระองค์จะสวรรคตที่เซนต์เฮเลนา ศัตรูผู้ทรงอำนาจสูงสุดอย่างนโปเลียน กล่าวถึงพระองค์ว่า "เขาเป็นบุคคลเดียวที่หลอกข้าได้"[95] มาควิสแห่งคาราเวลาสกล่าวสรรเสริญพระองค์ในวุฒิสภาบราซิลในช่วงการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าฌูเอา ได้กล่าวว่า "เราทั้งมวล ณ ที่นี้มีเหตุผลมากมายที่จะกล่าวสรรเสริญระลึกถึงพระเจ้าฌูเอาที่ 6 พวกเราล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สำหรับผลประโยชน์มากมายที่ทรงมอบแก่พวกเรา พระองค์ทรงยกระดับบราซิลให้เป็นราชอาณาจักร ทรงจัดหาสิ่งที่ดีสำหรับพวกเราทั้งมวล ทรงดูแลพวกเราเสมอมาด้วยความรัก และชาวบราซิลทั้งหมดทั้งมวลมีความผูกพันกับพระองค์เสมอ"[96]

การอภิเษกสมรสและทายาท

พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงการ์โลตา โคอากีนาแห่งสเปนในปี พ.ศ. 2328 มีพระโอรส-ธิดาร่วมกัน 9 พระองค์ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ
เจ้าหญิงมารีอา ตีเรซาแห่งไบรา 179329 เมษายน
พ.ศ. 2336
187417 มกราคม
พ.ศ. 2417
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2353 กับพระญาติ
เจ้าชายเปโดร การ์โลสแห่งสเปนและโปรตุเกส
มีพระโอรส 1 พระองค์ได้แก่
เจ้าชายเซบัสเตียนแห่งโปรตุเกสและสเปน

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 พ.ศ. 2381 กับพระสวามีในพระขนิษฐาและมีศักดิ์เป็นพระมาตุลา
เจ้าชายการ์โลส เคานต์แห่งโมลีนา
ไม่มีพระโอรสธิดา
เจ้าชายฟรังซิชกู อังตอนีอูแห่งไบรา 179521 มิถุนายน
พ.ศ. 2338
180111 มิถุนายน
พ.ศ. 2344
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ส่งผลให้เจ้าชายเปดรู พระอนุชากลายเป็นองค์รัชทายาท
มารีอา อิซาเบลแห่งโปรตุเกส สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน 179719 พฤษภาคม
พ.ศ. 2340
181826 ธันวาคม
พ.ศ. 2361
อภิเษกสมรส วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2359 กับพระมาตุลา
พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 แห่งสเปน
มีพระธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซา อิซาเบลแห่งสเปน
เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซา อิซาเบลแห่งสเปน
พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกสและจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล 179312 ตุลาคม
พ.ศ. 2336
183424 กันยายน
พ.ศ. 2377
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2360 กับ
อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย
มีพระโอรสธิดา 7 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 แห่งโปรตุเกส
เจ้าชายมีเกลแห่งไบรา
เจ้าชายฌูเอา การ์ลุชแห่งไบรา
เจ้าหญิงยาโนเรียแห่งบราซิล
เจ้าหญิงเปาลาแห่งบราซิล
เจ้าหญิงฟรังซิชกาแห่งบราซิล
จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล
ต่อมาพระมเหสีทรงแท้งและสิ้นพระชนม์

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2372 กับ
เจ้าหญิงอาเมลีแห่งลอยช์เทนแบร์ก
มีพระธิดา 1 พระองค์ได้แก่
เจ้าหญิงมารีอา อาเมลีอาแห่งบราซิล
เจ้าหญิงมารีอา ฟรังซิชกาแห่งโปรตุเกส 180022 เมษายน
พ.ศ. 2343
18344 กันยายน
พ.ศ. 2377
อภิเษกสมรส วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2359 กับพระมาตุลา
เจ้าชายการ์โลส เคานต์แห่งโมลีนา
มีพระโอรส 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายการ์โลส เคานต์แห่งมอนเตโมลิน
เจ้าชายควน เคานต์แห่งมอนตีซอน
เจ้าชายเฟร์นันโดแห่งสเปน
เจ้าหญิงอิซาเบล มารีอาแห่งโปรตุเกส 18014 กรกฎาคม
พ.ศ. 2344
187622 เมษายน
พ.ศ. 2419
ไม่ทรงอภิเษกสมรส

ทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชสมัยของพระบิดา
พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส 180226 ตุลาคม
พ.ศ. 2345
186614 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2409
อภิเษกสมรส วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2394 กับ
เจ้าหญิงอเดเลดแห่งโลเวนสไตน์-เวิร์ทเฮล์ม-โรเซนเบิร์ก
มีพระโอรสธิดา 7 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงมารีอา ดัช เนวึชแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายมีเกล ดยุคแห่งบรากังซา
เจ้าหญิงมารีอา ตีเรซาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมารีอา ฌูเซแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงอาเดลกุงดึช ดัสเชสแห่งกีมาไรช์
มารีอา อานาแห่งโปรตุเกส แกรนด์ดัสเชสแห่งลักเซมเบิร์ก
เจ้าหญิงมารีอา อังตอนีอาแห่งโปรตุเกส

มีพระธิดานอกกฎหมาย 2 พระองค์ ได้แก่
มาเรีย อัสซันโค ริเบย์โร โด คาร์โม อี บรากังซา
มาเรีย เดอ จีซัส เดอ บรากังซา อี บูร์บง
เจ้าหญิงมารีอา ดา อาซุงเซาแห่งโปรตุเกส 180525 มิถุนายน
พ.ศ. 2348
18347 มกราคม
พ.ศ. 2377
ไม่ทรงอภิเษกสมรส
เจ้าหญิงอานา ดี ฌีซุช มารีอาแห่งโปรตุเกส 180623 ตุลาคม
พ.ศ. 2349
185722 มิถุนายน
พ.ศ. 2400
อภิเษกสมรส วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2370 กับนักการเมือง
นูนู ฌูเซ ซึเวรู ดึ เมงโดซา รอลิง ดึ โมรา บาเรตู ดยุคที่ 1 แห่งโลเล่
มีพระโอรสธิดา 5 พระองค์ ได้แก่
อานา การ์โลตา ดึ เมงโดซา รอลิง ดึ โมรา เมารา บาเรตู
มารีอา ดู การ์มู ดึ เมงโดซา รอลิง ดึ โมรา เมารา บาเรตู
เปดรู ฌูเซ อากุชตีญู ดึ เมงโดซา รอลิง ดึ โมรา บาเรตู ดยุคที่ 2 แห่งโลเล่
มารีอา อาเมลีอา ดึ เมงโดซา รอลิง ดึ โมรา เมารา บาเรตู
เอากุชตู เปดรู ดึ เมงโดซา รอลิง ดึ โมรา เมารา บาเรตู เคานต์ที่ 3 แห่งอาซังบูฌา

พระราชตระกูล

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าเปดรูที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงลุยซาแห่งเมดินา ซิโดเนีย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. ฟิลิป วิลเลียม อีเล็กเตอร์ พาเลนทีน
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. แลนด์เกรฟวีนเอลิซาเบธ อเมลีแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
10. จักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมาเรีย อันนาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
5. อาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ฟิลิป วิลเลียม อีเล็กเตอร์ พาเลนทีน
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงเอเลโอนอร์ แม็กดาเลนแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. แลนด์เกรฟวีนเอลิซาเบธ อเมลีแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. พระเจ้าเปดรูที่ 2 แห่งโปรตุเกส(=8)
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส(=4)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก(=9)
 
 
 
 
 
 
 
6. พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. จักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์(=10)
 
 
 
 
 
 
 
13. อาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย(=5)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงเอเลโอนอร์ แม็กดาเลนแห่งเนาบูร์ก(=11)
 
 
 
 
 
 
 
3. สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เจ้าชายหลุยส์ แกรนด์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
14. พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. ดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. โอโดอาร์โด ฟาร์เนเซ เจ้าชายรัชทายาทแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
15. เอลิซาเบธ ฟาร์เนเซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. ดัชเชสโซฟีแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

  1. Pedreira, Jorge e Costa, Fernando Dores. D. João VI: um príncipe entre dois continentes. Companhia das Letras, 2008, pp. 31–35. In Portuguese.
  2. Pedreira e Costa, p. 42
  3. 3.0 3.1 Pedreira e Costa, pp. 38–43
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Cronologia Período Joanino. Fundação Biblioteca Nacional, 2010. In Portugal.
  5. Pedreira e Costa, pp. 42–54
  6. Pedreira e Costa, pp. 59–63
  7. Strobel, Thomas. A "Guerra das Laranjas" e a "Questão de Olivença" num contexto internacional. GRIN Verlag, 2008, pp. 3–4. In Portuguese.
  8. Souza, Laura de Mello e. O sol e a sombra: política e administração na América portuguesa do século XVIII. Companhia das Letras, 2006, p. 394 In Portuguese.
  9. 9.0 9.1 9.2 Andrade, Maria Ivone de Ornellas de. "O reino sob tormenta". In: Marques, João et alii. Estudos em homenagem a João Francisco Marques, Volume I. Universidade do Porto, sd, pp. 137–144. In Portuguese.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 10.8 Amaral, Manuel. "João VI". In: Portugal – Dicionário Histórico, Corográfico, Heráldico, Biográfico, Bibliográfico, Numismático e Artístico, Volume III, 2000–2010, pp. 1051–1055. In Portuguese.
  11. "War of the Oranges". Encyclopædia Britannica. 2005.
  12. Vicente, António Pedro (2007). Guerra Peninsular: História de Portugal Guerras e Campanhas Militares (ภาษาPortuguese). Lisbon, Portugal: Academia Portuguesa da História/Quidnovi. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |trans_title= ถูกละเว้น แนะนำ (|trans-title=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  13. 13.0 13.1 Schwarcz, Lília Moritz; Azevedo, Paulo Cesar de & Costa, Angela Marques da. A longa viagem da biblioteca dos reis: do terremoto de Lisboa à independência do Brasil. Companhia das Letras, 2002, pp. 479–480. In Portuguese.
  14. Aclamação de d. João. Arquivo Nacional, 2003. In Portuguese.
  15. Valuguera, Alfonso B. de Mendoza Y Gómez de. "Carlismo y miguelismo". In: Gómez, Hipólito de la Torre & Vicente, António Pedro. España y Portugal. Estudios de Historia Contemporánea. Editorial Complutense, 1998, pp. 13–14. In Spanish.
  16. Pedreira e Costa, pp. 174–176
  17. O Embarque e a Viagem da Corte. Secretaria Municipal de Educação da Cidade do Rio de Janeiro. In Portuguese.
  18. Pedreira e Costa, pp. 185–186
  19. "Queria falar e não podia; queria mover-se e, convulso, não acertava a dar um passo; caminhava sobre um abismo, e apresentava-se-lhe à imaginação um futuro tenebroso e tão incerto como o oceano a que ia entregar-se. Pátria, capital, reino, vassalos, tudo ia abandonar repentinamente, com poucas esperanças de tornar a pôr-lhes os olhos, e tudo eram espinhos que lhe atravessavam o coração." Pedreira e Costa, p. 186
  20. Gomes, pp. 64–70
  21. Bortoloti, Marcelo. "Controvérsias na corte". In: Revista Veja, Edição 2013, 20 มิถุนายน 2550. In Portuguese.
  22. Pedreira e Costa, pp. 186–194
  23. Gomes, pp. 72–74; 82–100
  24. Gomes, p. 102
  25. Pedreira e Costa, pp. 201–210
  26. Lobo Neto, Francisco José da Silveira. "D. João VI e a educação brasileira: alguns documentos". In: Trabalho Necessário, ano 6, nº 6, 2008, s/p. In Portuguese.
  27. Pedreira e Costa, pp. 208–210
  28. Pedreira e Costa, pp. 210–212
  29. "Se tão grandes eram os motivos de mágoa e aflição, não menores eram as causas de consolo e de prazer: uma nova ordem de coisas ia a principiar nesta parte do hemisfério austral. O império do Brasil já se considerava projetado, e ansiosamente suspirávamos pela poderosa mão do príncipe regente nosso senhor para lançar a primeira pedra da futura grandeza, prosperidade e poder de novo império". Gomes, p. 129
  30. Mota, Carlos Guilherme. Viagem incompleta: a experiência brasileira. A grande transação. Senac, 2000, pp. 453–454. In Portuguese
  31. "Estabelecendo no Brasil a sede da monarquia, o regente aboliu ipso facto o regime de colônia em que o país até então vivera. Todos os caracteres de tal regime desaparecem, restando apenas a circunstância de continuar à frente de um governo estranho. São abolidas, uma atrás da outra, as velhas engrenagens da administração colonial, e substituídas por outras já de uma nação soberana. Caem as restrições econômicas e passam para um primeiro plano das cogitações políticas do governo os interesses do país." Mota, p. 455
  32. Pedreira e Costa, pp. 214–216
  33. Fernandes, Cláudia Alves & Fernandes Junior, Ricardo de Oliveira. "Dom João VI: arquiteto da emancipação brasileira". In: XXII Simpósio de História do Vale do Paraíba, Associação Educacional Dom Bosco, Resende, 15–17 August 2008. pp. 36–38. In Portuguese.
  34. Oliveira, Anelise Martinelli Borges. "Dom João VI no Rio de Janeiro: preparando o novo cenário". In: Revista História em Reflexão: Vol. 2 n. 4 – UFGD – Dourados, July/December 2008. In Portuguese.
  35. Lima, Carollina Carvalho Ramos de. "Viajantes estrangeiros na corte de Dom João". In: Anais do II Fórum de Artigos Multidisciplinares, Uni-FACEF Centro Universitário de Franca, 5–9 May 2008, no pagination. In Portuguese.
  36. Gomes, pp. 136–151
  37. Casa Real: Nascimento do Príncipe da Beira: Beija-mão. O Arquivo Nacional e a História Brasileira. In Portuguese.
  38. "o Príncipe, acompanhado por um Secretário de Estado, um Camareiro e alguns oficiais de sua Casa, recebe todos os requerimentos que lhe são apresentados; escuta com atenção todas as queixas, todos os pedidos dos requerentes; consola uns, anima outros.... A vulgaridade das maneiras, a familiaridade da linguagem, a insistência de alguns, a prolixidade de outros, nada o enfada. Parece esquecer-se de que é senhor deles para se lembrar apenas de que é o seu pai". Carvalho, Marieta Pinheiro de. D. João VI: perfil do rei nos trópicos. Rede Virtual da Memória Brasileira. Fundação Biblioteca Nacional, 2008.
  39. "nunca confundia as fisionomias nem as súplicas, e maravilhava os requerentes com o conhecimento que denotava das suas vidas, das suas famílias, até de pequenos incidentes ocorridos em tempos passados e que eles mal podiam acreditar terem subido à ciência d'el-rei." Lima, Oliveira. Vol. II. p. 859
  40. 40.0 40.1 40.2 40.3 40.4 40.5 40.6 Loyola, Leandro. "A nova história de Dom João VI". In: Revista Época, nº 506, 30 มกราคม 2551. In Portuguese.
  41. 41.0 41.1 Bandeira, Moniz. Casa da Torre de Garcia d'Avila. Editora Record, 2000, pp. 423–425
  42. Caiena: mapa do comércio. O Arquivo Nacional e a História Luso-Brasileira, 26 พฤศจิกายน 2547. In Portuguese.
  43. Lima, Oliveira. D. João VI no Brasil – 1808–1821. Vol. I. Rio de Janeiro: Typ. do Jornal do Commercio, de Rodrigues, 1908. Edição online
  44. Gomes, pp. 186–190
  45. Gomes, pp. 169–177
  46. Vicente, António Pedro. "Política exterior de D. João VI no Brasil". In: Estudos Avançados, vol.7 no.19 São Paulo Sept./Dec. 1993. In Portuguese.
  47. Iglésias, Francisco. Trajetória política do Brasil, 1500–1964. Companhia das Letras, 1993, pp. 103–105. "Política e
  48. Wilcken, Patrick. Império à deriva: a corte portuguesa no Rio de Janeiro, 1808–1821. Editora Objetiva, 2005, pp. 225–226. In Portuguese.
  49. Lustosa, Isabel. D. Pedro I. Companhia das Letras, 2006, pp. 77–78. In Portuguese.
  50. Gomes, p. 81
  51. Iglésias, p. 106
  52. Pedreira & Costa, p. 15
  53. The quotation in Portuguese is '""Pedro, o Brasil brevemente se separará de Portugal: se assim for, põe a coroa sobre tua cabeça, antes que algum aventureiro lance mão dela." Pascual, Antonio Diodoro. Rasgos memoraveis do Senhor Dom Pedro I, imperador do Brasil, excelso duque de Bragança. Typ. Universal de Laemmert, 1862, p. 65. In Portuguese
  54. 54.0 54.1 Cardoso, António Barros. "Liberais e absolutistas no Porto (1823–1829)". In: Departamento de Ciências e Técnicas do Património / Departamento de História. Estudos em homenagem ao professor doutor José Marques. Universidade do Porto, 2006, pp. 262–269. In Portuguese.
  55. Pedreira & Costa, pp. 392–400
  56. Cardoso, pp. 269–271
  57. 57.0 57.1 Soriano, Simão da Luz & Baril, V. L. (Comte de la Hure). Historia de el-Rei D. João VI primeiro rei constitucional de Portugal e do Brazil: em que se referem os principaes actos e occorrencias do seu governo, bem como algumas particularidades da sua vida privada. Typ. Universal, 1866, pp. 117–123. In Portuguese.
  58. Soriano & Baril, pp. 123–124
  59. "Mataram o rei – Exames comprovam que João VI, rei de Portugal, morreu envenenado com arsênico". In: Revista Veja, 7 มิถุนายน 2543. In Portuguese.
  60. "Assassinato na corte – Pesquisadores portugueses comprovam que dom João VI foi envenenado com doses altas de arsênico". In: Revista Época, 5 มิถุนายน 2543. In Portuguese.
  61. 61.0 61.1 '...compreendia que a Igreja, com seu corpo de tradições e sua disciplina moral, só lhe podia ser útil para o bom governo a seu modo, paternal e exclusivo, de populações cujo domínio herdara com o cetro. Por isso foi repetidamente hóspede de frades e mecenas de compositores sacros, sem que nessas manifestações epicuristas ou artísticas se comprometesse seu livre pensar ou se desnaturasse sua tolerância cética.... Aprazia-lhe o refeitório mais do que o capítulo do mosteiro, porque neste se tratava de observância e naquele se cogitava de gastronomia, e para observância lhe bastava a da pragmática. Na Capela Real mais gozava com os sentidos do que rezava com o espírito: os andantes substituíam as meditações. Lima, Oliveira. cap. XXIV อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Lima" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  62. 62.0 62.1 Gomes, pp. 152–157
  63. Gomes, pp. 157–158
  64. Martins, Ismênia de Lima. "Dom João – Príncipe Regente e Rei – um soberano e muitas controvérsias". In: Revista Navigator, nº 11, p. 39. In Portuguese.
  65. Apud Lima, Oliveira. Chapter XVIII. In Portuguese.
  66. 66.0 66.1 Fernandes & Fernandes Junior, p. 39
  67. 67.0 67.1 Mariz, Vasco. A música no Rio de Janeiro no tempo de D. João VI. Casa da Palavra, 2008, p. 19. In Portuguese.
  68. Varela, Alex Gonçalves. Juro-lhe pela honra de bom vassalo e bom português: análise das memórias científicas de José Bonifácio de Andrada e Silva (1780–1819)]. Annablume, 2006, pp. 75–77. In Portuguese.
  69. Escola Anatômica, Cirúrgica e Médica do Rio de Janeiro. Dicionário Histórico-Biográfico das Ciências da Saúde no Brasil (1832–1930), Casa de Oswaldo Cruz / Fiocruz. In Portuguese.
  70. Caruso, Ernesto. "Ponta do Calabouço – início do século XX: berço fardado dos doutores". In: Revista do Clube Militar, ano LXXXI, n. 430, ago-set-out 2008, pp. 14–16. In Portuguese.
  71. Apresentação. Fundação Biblioteca Nacional
  72. Museu Real. Dicionário Histórico-Biográfico das Ciências da Saúde no Brasil (1832–1930), Casa de Oswaldo Cruz / Fiocruz. In Portuguese.
  73. Schwarcz, Lilia Moritz. O sol do Brasil: Nicolas-Antoine Taunay e as desventuras dos artistas franceses na corte de d. João. Companhia das Letras, 2008, pp. 176–188. In Portuguese.
  74. 74.0 74.1 A Vinda de D.João e da Família Real Portuguesa para o Brasil. Empresa Brasileira de Correios e Telégrafos. In Portuguese.
  75. Lopes, Walter de Mattos. A Real Junta do Commercio, Agricultura, Fabricas e Navegação deste Estado do Brazil e seus domínios ultramarinos: um tribunal de antigo regime na corte de Dom João (1808–1821). Dissertação de Mestrado. Universidade Federal Fluminense, 2009. In Portuguese.
  76. Rocha, Antônio Penalves. "Economia e Política no Período Joanino". In: Szmrecsanyi, Tamas & Lapa, José Roberto do Amaral. História Econômica da Independência e do Império, EdUSP, 2002, pp. 42–43. In Portuguese.
  77. Martins, p. 33
  78. "ainda que raramente por boas razões. ... Não são estranhas as atribulações de sua vida conjugal e familiar e as referências à sua personalidade e aos seus costumes pessoais, convidando à caricatura fácil e à circulação de uma tradição pouco lisonjeira, quando não jocosa". Pedreira & Costa, o. 8.
  79. 79.0 79.1 79.2 79.3 79.4 Loyola, Leandro. "Não havia Brasil antes de Dom João". Entrevista com Lúcia Bastos. In: Revista Época. Nº 506, 25/01/2008. In Portuguese.
  80. "é uma história cheia de erros de todo tipo, deturpações, imprecisões, invenções"
  81. "constitui um amplo ataque ao conhecimento histórico"
  82. "produzir uma narrativa cinematográfica que constituísse uma espécie de romance histórico com funções pedagógicas e que, assim, oferecesse ao espectador um conhecimento do passado e o ajudasse, como povo, a pensar sobre o presente. ...não oferece conhecimento histórico novo ao espectador, nem que se considere que a mesma concebe a História como um Romance: ele reforça, na verdade, as idéias que os espectadores trazem, sendo nulo em termos de ampliação do conhecimento... Dessa forma, conduz-se o espectador mais ao deboche do que à reflexão crítica sobre a história do Brasil." Villalta, Luiz Carlos. "Carlota Joaquina, Princesa do Brazil": entre a história e a ficção, um "Romance" crítico do conhecimento histórico. Departamento de História – UFMG, s/d. pp. 1–34. In Portuguese.
  83. Martins, p. 28
  84. "Se existe a concordância de todos os autores, que se basearam no depoimento daqueles que o conheceram de perto, quanto à sua bondade e afabilidade, todo o resto é controvérsia. Enquanto uns apontavam sua visão de estadista, outros consideravam-no inteiramente covarde e despreparado para governar. De qualquer maneira, Dom João VI marcou de forma indelével a história luso-brasileira, fato que repercute até o presente, através de uma historiografia que insiste em julgar o rei, desprezando as transformações contínuas que a disciplina experimentou ao longo do século XX". Martins, pp. 24-25
  85. Gomes, pp. 159-160
  86. "o príncipe regente tem sido várias vezes acusado de apatia; a mim, pareceu-me ele possuir maior sensibilidade e energia de caráter do que em geral tanto amigos como adversários costumam atribuir-lhe. Achava-se colocado dentro de circunstâncias novas e próprias para pô-lo à prova, curvando-se ante elas com paciência; se incitado, agia com vigor e presteza." Martins, pp. 28-34. Martins was probably quoting an English-language statement in Portuguese, so here this has probably been doubly translated.
  87. 87.0 87.1 Martins, pp. 28-34
  88. Melissa de Mello e. Souza, Brasil e Estados Unidos: a nação imaginada nas obras de Oliveira Lima e Jackson Turner. Masters' thesis in Social History of Culture. Rio de Janeiro: PUC-RJ, April 2003, pp. 47-57
  89. "preferiam muito dirigir-se diretamente ao monarca, sempre disposto a fazer justiça, a entender-se com seus ministros.... reputando-o em tal assunto muito mais adiantado do que os seus cortesãos". Martins, pp. 28-34.
  90. Gomes, pp. 153-155
  91. Pedreira & Costa, pp. 21-29
  92. Martins, pp. 8-34
  93. "Dom João VI foi uma das personalidades que mais influíram sobre a formação nacional.... foi um mediador ideal.... entre a tradição – que encarnou – e a inovação – que acolheu e promoveu – naquele período decisivo para o futuro brasileiro." op. cit., Souza, p. 54
  94. "nenhum outro período da história brasileira testemunhou mudanças tão profundas, decisivas e aceleradas quanto os treze anos em que a corte portuguesa morou no Rio de Janeiro". Gomes, pp. 288-295
  95. Miguez, Sérgio. "O DNA do Brasil". In: Revista da Cultura, nº 6, January 2007
  96. "Nós todos que aqui estamos temos muitas razões para nos lembrarmos da memória de Dom João VI, todos lhe devemos ser gratos, pelos benefícios que nos fez: elevou o Brasil a reino, procurou por todos o seu bem, tratou-nos sempre com muito carinho e todos os brasileiros lhe são obrigados." "D. João VI, O Clemente". In: Diários Anacrônicos, Sociedade Histórica Desterrense, 2011
  • (โปรตุเกส)Loyola, Leandro (30 January 2008), "A nova história de Dom João VI", Revista Época (506).แม่แบบ:Full
  • (โปรตุเกส) Martins, Ismênia de Lima, "Dom João – Príncipe Regente e Rei – um soberano e muitas controvérsias", Revista Navigator (11): 39.
ก่อนหน้า พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส ถัดไป
สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ
(20 มีนาคม พ.ศ. 2359 - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2365)
บราซิลแยกออกจากสหราชอาณาจักร
ประกาศสถาปนาพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ
พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ
(12 ตุลาคม พ.ศ. 2365 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2369)
พระเจ้าเปดรูที่ 4
พระอิสริยยศก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติโดยจักรพรรดิเปดรูที่ 1 เป็นจักรพรรดิโดยแท้จริง
จักรพรรดิแห่งบราซิล
เพียงในพระนาม
ร่วมกับจักรพรรดิเปดรูที่ 1

(15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2368 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2369)
พระอิสริยยศเพื่อเป็นเกียรติสิ้นสุดหลังจากผู้ดำรงอิสริยยศสวรรคตจักรพรรดิเปดรูที่ 1 เป็นจักรพรรดิที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA