ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนอังรีดูนังต์"

พิกัด: 13°44′23″N 100°32′03″E / 13.739828°N 100.534273°E / 13.739828; 100.534273
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
* กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548.
* กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548.
* '''สถิติจราจร ปี 2548''' สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
* '''สถิติจราจร ปี 2548''' สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*{{geolinks-bldg|13.739828|100.534273}}


[[หมวดหมู่:ถนนในเขตปทุมวัน|อังรีดูนังต์]]
[[หมวดหมู่:ถนนในเขตปทุมวัน|อังรีดูนังต์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:55, 26 พฤษภาคม 2556

ถนนอังรีดูนังต์ มองไปทางทิศใต้ จากมุมมองสะพานลอยหลังสยามสแควร์
ถนนอังรีดูนังต์ มองไปทางทิศเหนือ จากมุมมองสะพานลอยด้านหลังคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนนอังรีดูนังต์ (อังกฤษ: Thanon Henri Dunant) เป็นถนนในท้องที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 1 (สามแยกเฉลิมเผ่า) ถึงถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกอังรีดูนังต์) เดิมเรียกถนนสายนี้ว่า "ถนนสนามม้า" เนื่องจากผ่านสนามม้าปทุมวัน (ปัจจุบันคือราชกรีฑาสโมสร) ตัดผ่านสถานที่สำคัญ คือ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สยามสแควร์ และ โรงพยาบาลตำรวจ

ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งตรงกับวันกาชาดสากลได้เปลี่ยนชื่อถนนสนามม้าเป็นถนนอังรีดูนังต์ หลังจากที่สภากาชาดสากลได้เสนอให้ประเทศสมาชิกจัดทำอนุสรณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีกาชาดสากลและระลึกถึงอองรี ดูนองต์ (Henri Dunant) ชาวสวิส ผู้ริเริ่มกิจการกาชาดสากล

แต่เดิมถนนสายนี้จะมี "คลองอรชร" ขนานอยู่ด้านตะวันตกหน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างคลองหัวลำโพง (โดยมีถนนหัวลำโพงนอกตัดข้ามคลองอรชรที่สะพานเฉลิมศักดิ์ 43 ปัจจุบันคือสี่แยกอังรีดูนังต์ ถนนพระรามที่ 4) และคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ส่วนบริเวณสุดถนนอังรีดูนังต์ ยังมีถนนพระรามที่ 1 ข้ามคลองอรชร ที่สะพานเฉลิมเผ่า 52 ปัจจุบันคือสามแยกเฉลิมเผ่า) แต่ปัจจุบันได้ถมคลองตลอดช่วงถนนอังรีดูนังต์ไปแล้ว และขยายเป็นพื้นที่การจราจรแทน

บนถนนสายนี้มีท่าปล่อยรถประจำทาง สาย 16, 21 และ 141 บริเวณหน้าสถานเสาวภา และช่วงจากประตูรัฐศาสตร์ ถึงสามแยกเฉลิมเผ่ายังเป็นเส้นทางรถโดยสารภายในจุฬาฯ สาย 1, 3 และ 4

กายภาพ

  • ความยาว 1,600 เมตร (1.6 กิโลเมตร) จากถนนพระรามที่ 4 ถึงถนนพระรามที่ 1
  • เขตถนน 36.50 เมตร
  • ผิวจราจร 29 เมตร แบบ คสล.
  • ทางเท้า ด้านซ้าย 5 เมตร ด้านขวา 2.5 เมตร

อ้างอิง

  • กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548.
  • สถิติจราจร ปี 2548 สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′23″N 100°32′03″E / 13.739828°N 100.534273°E / 13.739828; 100.534273