ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดแม่แบบเรียงลำดับ
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์}}
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์}}


{{เรียงลำดับ|พุ่ม ศรีไชยยันต์)}}
{{เรียงลำดับ|รัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)}}
{{เกิดปี|2363}}{{ตายปี|2444}}
{{เกิดปี|2363}}{{ตายปี|2444}}
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา|รัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)]]
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา|รัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:34, 16 พฤษภาคม 2556

ไฟล์:เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์.jpg
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งสูงสุดของขุนนาง(ข้าราชการ)ไทยในสมัยนั้น คือตำแหน่งสมุหกลาโหม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ นอกจากจะเป็นข้าราชการที่กล้าหาญ ซื่อตรงจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองและพระมหากษัตริย์แล้ว ท่านยังเป็นบุคคลที่ใจบุญใฝ่ในธรรมะ มีเมตตากรุณา เมื่อครั้งที่ท่านมาทอดกฐินวัดบางขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ท่านทราบว่าพระครูศีลาภิรมต้องการเงินสร้างโรงเรียน ท่านจึงบริจาคเงินจำนวน ๑๐๐ ชั่งสร้างอาคารหลังแรกขึ้นได้รับการขนานนามว่า โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ เป็นโรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดนนทบุรี จึงถือได้ว่าท่านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์นอกจากจะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ของประเทศแล้วท่านยังเป็นผู้ให้กำเนิดสถาบันการศึกษาแห่งแรก ของจังหวัดนนทบุรีด้วย

ตำแหน่ง

ตำแหน่งทางราชการของเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)

สมัยรัชกาลที่ ๔

  • ขุนสมุทรโคจร กรมมหาดเล็ก

สมัยรัชกาลที่ ๕

  • พระนรินทรราชเสนี ปลัดบัญชี กรมพระกลาโหม
  • พระยาเทพประชุน ปลัดทูลฉลอง กรมพระกลาโหม
  • เจ้าพระยาพลเทพ ตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. ๒๔๒๙)
  • เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ตำแหน่งสมุหกลาโหม (พ.ศ. ๒๔๓๘)

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์เป็นข้าราชการตัวอย่างที่มีความดีพร้อม เป็นผู้ที่เสียสละเห็นแก่ความสงบความเจริญของบ้านเมือง จึงเป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เห็นได้จากการดำรงตำแหน่งสูงสุดทางราชการได้ยาวนานตลอดจนสิ้นอายุขัย

ท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๔ รวมอายุได้ ๘๑ ปี เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ มีนามเดิมว่า "พุ่ม" เป็นบุตรคนที่ 4 ของหลวงจีนประชา (ทองอยู่) ยกบัตรเมืองนครไชยศรี เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ปีมะโรง บิดามารดามีบ้านเป็นแพลอยอยู่หน้าวัดทองธรรมชาติ-ฝั่งธนบุรี เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ์มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน ได้แก่

คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ ฮวด สมรสกับเจ้าสัวซี เศรษฐีใหญ่ ผู้แต่งสำเภาของกรมพระราชวังบวรศักดิพลเสพย์รัชกาลที่ 3

คนที่ 2 เป็นชายชื่อ อ้น มีธิดาคนหนึ่งเป็นหม่อมห้ามในกรมหมื่นอุดมรัตนราษี

คนที่ 3 เป็นชายชื่อ ขุนเณร ได้ภรรยาเป็นธิดาพระไชยบาล(เจ๊ะสัวหง)

คนที่ 4 เป็นชายชื่อ พุ่ม ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์

คนที่ 5 เป็นหญิงถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์