ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 156: บรรทัด 156:
! ตำแหน่ง !!|
! ตำแหน่ง !!|
|-
|-
|ผู้จัดการทีม ||{{flagicon|Italy}} [[โรแบร์โต มันชีนี]]
|ผู้จัดการทีม ||ว่าง
|-
|-
|ผู้ช่วยผู้จัดการทีม||{{flagicon|ENG}} [[ไบรอัน คิดด์]]
|ผู้ช่วยผู้จัดการทีม||{{flagicon|ENG}} [[ไบรอัน คิดด์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:11, 14 พฤษภาคม 2556

แมนเชสเตอร์ซิตี
สัญลักษณ์ของสโมสร
ชื่อเต็มManchester City Football Club
ฉายาเรือใบสีฟ้า, ซิตี, เดอะ ซิตีเซน
ก่อตั้งพ.ศ. 2423
(ในชื่อ เซนต์มาร์กส์, เวสต์กอร์ตัน)
สนามเอติฮัด สเตเดียม
แมนเชสเตอร์
Ground ความจุ47,726 คน[1]
เจ้าของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชีค มานซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน
ประธานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คัลดูน อัล มูบารัค
ผู้จัดการว่าง
ลีกพรีเมียร์ลีก
2012-13อันดับที่ 2
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี (อังกฤษ: Manchester City Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ของฟุตบอลอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2423 ในชื่อ เซนต์มาร์กส์, เวสต์กอร์ตัน มีฉายาว่า “เรือใบสีฟ้า”

ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) ในชื่อทีม “เซนต์มาร์กส์ (เวสต์กอร์ตัน) ” โดยมี แอนนา คอนเนลล์ และ ผู้ดูแลโบสถ์ เซนต์ มาร์กส์ อีก 2 คน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง

แต่เดิม ทีมนี้ตั้งอยู่ที่ ตำบลกอร์ตัน ทางตะวันออก ของเมืองแมนเชสเตอร์ ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่สนามใหม่ ในย่านไฮด์ โรด ของเมืองอาร์ดวิก ใกล้กับแมนเชสเตอร์ และได้เปลี่ยนชื่อทีมไปเป็น “อาร์ดวิกเอเอฟซี” ตามสถานที่ตั้ง จากนั้น อาร์ดวิก ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกอังกฤษ ในฐานะสมาชิกก่อตั้ง ในระดับดิวิชั่น 2 เมื่อปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892)

กระทั่งถึง ฤดูกาล 2436 - 2437 (ค.ศ. 1893 - 1894) ทีมมีปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก จนต้องมีการรื้อระบบการบริหารทีมครั้งใหญ่ และเปลี่ยนชื่อเป็น “แมนเชสเตอร์ซิตีฟุตบอลคลับ” จนถึงปัจจุบัน

ทีมได้เริ่มต้นความยิ่งใหญ่ ด้วยการเป็นแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวิชั่น 2 ของอังกฤษ เป็นแชมป์แรก เมื่อปี พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) ทำให้พวกเขาเลื่อนชั้นขึ้นไปอยู่ใน ดิวิชั่น 1 ลีกสูงสุดของอังกฤษ (ในเวลานั้น) ก่อนจะมาได้แชมป์เอฟเอคัพ หลังเฉือนชนะ โบลตัน 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904)

ขณะที่ผลงานกำลังไปได้ดี แต่กลับเกิดเพลิงไหม้ สนาม "ไฮด์โรด" ในปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) อัฒจันทร์หลักเสียหายอย่างมาก จนทำให้ต้องย้ายไปใช้ สนาม "เมนโรด" เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่ ในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923)

กระทั่งในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ได้ย้ายสนามเหย้าอีกครั้ง ไปที่ "เอติฮัด สเตเดียม" ซึ่งเป็นสนามปัจจุบัน ที่มีความโอ่อ่า ทันสมัย มีความจุถึง 48,000 ที่นั่ง โดยเช่าจากสภาเมืองแมนเชสเตอร์เป็นเวลาถึง 250 ปี และใช้เงินอีกราว 35 ล้านปอนด์ ในการปรับปรุงสนาม หลังจากใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ ในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)

การย้ายมาใช้สนามเหย้าแห่งใหม่ ทำให้สามารถรองรับแฟนบอลได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นทีมที่มีแฟนบอลมากเป็นพิเศษ และติดตามเชียร์อย่างเหนียวแน่นมาตลอด แม้ทีมจะตกลงไปสู่ดิวิชั่นต่ำๆ ในหลายครั้งก็ตาม ปัจจุบัน ทีมมียอดผู้ชมในนัดเหย้า เฉลี่ยกว่า 39,000 คน ต่อนัด และคาดว่าจะมีชาวอังกฤษไม่ต่ำกว่า 400,000 คน และคนทั่วโลก อีกกว่า 2 ล้านคน ที่เป็นแฟนบอลของทีม

สนามฟุตบอลเอติฮัด สนามเหย้าของสโมสร

นับตั้งแต่ก่อตั้งทีม กว่า 1 ศตวรรษ มีเกียรติยศที่บันทึกไว้ คือ เป็นแชมป์ลีกสูงสุด 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) และ พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) แชมป์เอฟเอคัพ 4 สมัย แชมป์ลีกคัพ 2 สมัย และ เป็นแชมป์ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ อีก 1 สมัย

ในยุคที่นับว่ารุ่งเรืองที่สุด คือ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2500เรื่อยมา เนื่องจากทีมชุดนี้ สามารถขึ้นไปถึงตำแหน่งแชมป์ได้หลายรายการ โดยมี โจ เมอร์เซอร์ เป็นผู้จัดการทีม และ มัลคอล์ม อัลลิสสัน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม รวมถึง มียอดนักเตะชื่อดังมากมาย อาทิ โคลิน เบลล์

แต่หลังจากเป็นแชมป์ลีกคัพ ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) พวกเขาก็ไม่ได้ขึ้นถึงตำแหน่งแชมป์ ในรายการสำคัญอีกเลย และยังมีผลงานไม่ค่อยดีนักมาตลอด โดยเฉพาะ ในช่วงปี พ.ศ. 2530 พวกเขาต้องตกชั้น 2 ครั้ง ในรอบ 3 ปี จนลงไปอยู่ใน ดิวิชั่น 3 เดิม อยู่ถึง 1 ปี

อย่างไรก็ตาม ทีมก็สามารถกลับขึ้นมาสู่ลีกสูงสุด และยังคงรักษาตัวไว้ได้อย่างมั่นคง แม้ผลงานของทีม มักอยู่ในช่วงกลางตาราง ค่อนไปทางท้ายก็ตาม โดยจบ ฤดูกาล 2006-2007 ในอันดับที่ 14 ของพรีเมียร์ลีก

ในฤดูกาล 2011-2012 แมนเชสเตอร์ซิตี มีผลงานดีมาโดยตลอดตั้งแต่เปิดฤดูกาลมา โดยขึ้นเป็นที่ 1 ของตารางคะแนน และยึดอันดับนี้มาตลอด และมีบางช่วงที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด คู่ปรับร่วมเมืองขึ้นแซงไปเป็นที่ 1 บ้าง จนกระทั่งมาจนถึงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ซึ่งเป็นนัดสุดท้ายของการแข่งขัน ทั้งคู่มีคะแนนเท่ากัน คือ 86 คะแนน แต่ผลต่างของประตูได้เสียของแมนเชสเตอร์ซิตีดีกว่าถึง 8 ลูก โดยแมนเชสเตอร์ซิตีจะต้องพบกับ ควีนปาร์คแรนเจอส์ ที่เอติฮัดสเตเดียม สนามของตนเอง ขณะที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นฝ่ายออกไปเยือน ซันเดอร์แลนด์ ซึ่งทั้งคู่ต้องการชัยชนะทั้งคู่ หากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ชนะ แล้วแมนเชสเตอร์ซิตีทำได้แค่เสมอหรือแม้กระทั่งแพ้ แชมป์จะตกอยู่ที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทันที ปรากฏว่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เอาชนะซันเดอร์แลนด์ไปได้ 0-1 ประตู แล้วในเกมที่แมนเชสเตอร์ซิตีพบกับควีนปาร์คแรนเจอส์นั้น แมนเชสเตร์ซิตีไม่อาจทำอะไรได้อย่างถนัดถนี่เกือบตลอดการแข่งขัน เพราะนักฟุตบอลแต่ละคนถูกประกบตลอด และกลายเป็นควีนปาร์คแรนเจอร์สขึ้นนำไป 1-2 ประตู ในนาทีที่ 60 จนกระทั่งถึงช่วงทดเวลาบาดเจ็บ แมนเชสเตอร์ซิตี พลิกกลับขึ้นมานำในนาทีที่ 91 และ 94 อย่างปาฏิหาริย์ ชนะไป 3-2 และได้แชมป์พรีเมียร์ลีกไปครอง หลังจากรอคอยมานานกว่า 44 ปี[2]

แต่ในฤดูกาลถัดมา แมนเชสเตอร์ซิตีกลับไม่ประสบความสำเร็จ โดยไม่ได้แชมป์อะไรเลย อีกทั้งเมื่อเข้าชิงเอฟเอคัพกับ วีแกนแอธเลติก ซึ่งเป็นทีมขนาดเล็กกว่าที่เพิ่งเคยเข้าชิงแชมป์ถ้วยใบนี้เป็นครั้งแรก ก็กลับเป็นฝ่ายแพ้ไป 0-1 ทำให้หลังจากนั้นไม่นาน ผู้บริหารทีมตัดสินใจปลด โรแบร์โต มันชีนี ผู้จัดการชาวอิตาเลียนออกจากตำแหน่ง[3]

ทีมร่วมเมือง

มีทีมคู่แข่งร่วมเมือง คือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่มีที่มาในการเป็นคู่แข่ง แตกต่างกับ สโมสรฟุตบอลร่วมเมืองทีมอื่นๆ เช่น เมืองกลาสโกว์ (เรนเจอส์ กับ เซลติก) ที่มีความแตกต่างในด้านการเมืองและศาสนา

ส่วนในกรณีของ ซิตี และ ยูไนเต็ด นั้น มีต้นเหตุมาจาก ในสมัยก่อน เกิดความยากลำบากในการเดินทางไปมาหาสู่กัน แม้ทุกวันนี้ จะเดินทางได้ด้วยความสะดวกสบายแล้ว แต่ก็สายเกินไป ที่จะกลับมาญาติดีต่อกันได้

อีกประการหนึ่ง คือ แฟนบอลชาวอังกฤษของ ซิตี ส่วนมากอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ ส่วนแฟนของ ยูไนเต็ด มีไม่น้อยที่อยู่เมืองอื่นด้วย

ผลงานในแต่ละฤดูกาล

โรแบร์โต้ มันชินี่ อดีตผู้จัดการทีม

ฤดูกาล 2007-2008 ที่ผ่านมา หลังจากเพียร์ซถูกปลดจากตำแหน่งผู้จัดการทีม สเวน โกรัน-อีริคส์สันก็เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมแทน ภายหลังลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติอังกฤษครบ 1 ปี ซิตีชนะใน 3 นัดแรกของฤดูกาล ซึ่งรวมถึงดาร์บี้แมตช์กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และไม่เสียประตูเลยสักประตูเดียว แต่สุดท้ายแล้วแพ้ในนัดที่สี่ที่พบกับอาร์เซนอล อย่างไรก็ตาม ผลงานของทีมที่บ้านดีมากโดยไม่แพ้ใครติดต่อกัน 10 นัดโดยเริ่มจากนัดที่ชนะดาร์บีเคานตี ในวันที่ 15 สิงหาคม ก่อนที่จะมาแพ้ทอตนัมฮอตสเปอร์ 0-2 ในฟุตบอลลีกคัพในวันที่ 18 ธันวาคม หรือ 4 เดือนต่อมานั่นเอง หลังจากนั้นก็สามารถย้ำแค้นแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้อีกครั้ง แต่หลังจากนั้นผลงานของทีมดูต่ำกว่าครึ่งแรกของฤดูกาลมาก และเมื่อจบฤดูกาล พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ปลด สเวน โกรัน อีริคส์สันออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม นำมาซึ่งการคัดค้านอย่างรวดเร็วจากแฟนๆของซิตี แต่ถึงแม้ว่านัดสุดท้ายจะบุกไปแพ้มิดเดิลสโบรย่อยยับถึง 8-1 ก็ยังได้สิทธิ์ผ่านการคัดเลือกเข้าไปเล่นยูฟ่า คัพในฤดูกาล 2008/2009 จากการที่ได้อันดับที่ 9 และได้อันดับดีที่สุดในตารางแฟร์เพลย์ของพรีเมียร์ลีก ก่อนโดนปลด อีริคส์สันได้พาทีมไปทัวร์ที่ประเทศไทยและเกาะฮ่องกง ประเทศจีนเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และโดนปลดในวันที่ 2 มิถุนายน 2551 และมาร์ค ฮิวจ์ส ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลแบล็คเบิร์น โรเวอร์ส เข้ามารับตำแหน่งแทนในสองวันถัดมา มาร์ค ฮิวจ์ เริ่มต้นเข้ามายังสโมสรเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 โดยเซ็นสัญญาการคุมทีมทั้งหมด 3 ปี และตามด้วยการเข้ามาของผู้เล่นอย่าง โช,ทาล เบน-ฮาอิม,แวงซอง กอมปาณี,ฌอน ไรท์-ฟิลลิปส์,พาโบล ซาบาเลตา

ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551 (2008) สโมสรถูกเทคโอเวอร์ โดยกลุ่ม ADUG หรือ Abu Dhabi United investment group ในวันสุดท้ายของตลาดการซื้อขายนักเตะ ตามมาด้วยการเปิดดีลครั้งใหญ่แสดงศักยภาพทางการเงิน โดยทำการเจรจาเปิดซื้อตัวผู้เล่นชื่อดังจากหลายสโมสร ด้วยค่าตัวประมาณคนละ 30 ล้านปอนด์ ไป นับว่าเป็นการเปิดตัวด้วยการตลาดที่สร้างความฮือฮาอย่างมาก ในนั้นมีนักเตะอย่าง ดิมิตาร์ เบอร์บาตอฟ จากสเปอร์ หรือโรบินญู จากเรอัล มาดริด รวมอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม การเปิดการเจรจากับสเปอร์ทำให้ต้องเสียนักเตะอย่าง ชอลูกา ออกไปจากทีมและ ดิมิตาร์ เบอร์บาตอฟ ก็ตัดสินใจไปอยู่ร่วมกับทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ส่วนทางโรบินญูนั้น ได้มีปัญหากับต้นสังกัดเดิมคือเรอัล มาดริด และตัดสินใจย้ายมาแมนเชสเตอร์ซิตีไม่ยาก เพราะมีเพื่อนชาวบราซิลคนสนิทอย่าง เอลาโน อยู่ในทีมด้วยนั่นเอง

หลังจาก ADUG เข้ามาเทคโอเวอร์ ก็ได้ส่ง สุไลมาน อัล-ฟาฮิมเข้ามาเพื่อดูแสสโมสรในนามกลุ่มADUG แต่เนื่องจากบทสัมภาษณ์ทางทีวีที่อวดความร่ำรวยจนเกินงามทำให้โดนปลดออก และมีชื่อเจ้าของสโมสรที่แท้จริงปรากฏออกมา คือ ชีค มานซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน น้องชายกษัตริย์ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ โดยได้แต่งตั้งคาลิด อัล มูบารัค เข้ามาทำหน้าที่ประธานสโมสร

ในส่วนของการแข่งขันนัดแรกของฤดูกาล 2008-09 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม นั้น สโมสรแพ้สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลา 4–2 ในเกมเยือน ที่สนามวิลลา พาร์ค โดยประตูแรกมาจากฝั่งของเจ้าถิ่น ในนาทีที่ 47 จากจอห์น คาริว หลังจากนั้นเอลาโน่ บลูแมร์ตีเสมอให้แมนเชสเตอร์ซิตี จากลูกโทษที่จุดโทษนาที่ที่ 64 จากนั้นกาเบรียล อักบอนลาฮอร์มาซัดแฮตทริกในนาที่ที่ 67,74 และ 75 และเวดราน ชอร์ลูก้า มายิงตีตื้นให้แมนเชลเตอร์ ซิตีเป็น 4–2 ในนาที 89

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ได้ประสบความสำเร็จในการเล่นรอบคัดเลือกยูฟ่า คัพ รอบแรกโดยการชนะ สโมสรฟุตบอลอีบี/สเตรย์เมอร์จากหมู่เกาะแฟโรห์ 2–0 (หลังจากชนะในนัดแรก 0–2) และชนะ สโมสรฟุตบอลมิดทิลแลนด์จากเดนมาร์ก 0–1 (หลังจากแพ้ในนัดแรก 0–1) แต่ชนะในการดวลจุดโทษ 4–2 ในรอบแรกนั้นสามารถชนะโอโมเนีย นิโคเซียจากไซปรัส 2–1 (หลังจากชนะในนัดแรก 2–1) ในรอบแบ่งกลุ่มได้อยู่ในกลุ่มเอร่วมกับ สโมสรฟุตบอล ชาลเก 04จากเยอรมัน สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์-แชร์กแมงจากฝรั่งเศส สโมสรฟุตบอลราซิง ซานตานเดร์จากสเปน และ สโมสรฟุตบอลเอฟซี ทเวนเตจากเนเธอร์แลนด์ส และสามารถเอาชนะ สโมสรฟุตบอลเอฟซี ทเวนเต3–2 ชนะ สโมสรฟุตบอล ชาลเก 04ชนะ 2–0 เสมอ สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมง 0–0 และแพ้ สโมสรฟุตบอลราซิง ซานตานเดร์ 3–1 และในรอบ 32 ทีมสุดท้าย ได้พบกับ สโมสรเอฟซี โคเปนเฮเกนจากเดนมาร์ก นัดแรกที่เดนมาร์ก ผลออกมาเสมอ 2–2 และนัดที่ 2 ที่อีสต์แลนด์ สามารถเอาชนะไปได้ 2–1 เข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายเจอกับ สโมสรอัลบอร์ก บีเค จากเดนมาร์กซึ่งเป็นการเจอกับทีมที่มาจากเดนมาร์กเป็นครั้งที่ 3 ของฤดูกาลนี้ ซึ่งก็สามารถเอาชนะได้ในนัดแรก 2–0 และบุกไปแพ้ 2–0 ทำให้ต้องตัดสินด้วยการต่อเวลาและการยิงจุดโทษ ซึ่ง แมนเชสเตอร์ซิตีก็สามารถเอาชนะไปได้ 4–2 เข้ารอบก่องรองชนะเลิศพบกับ สโมสรฟุตบอลฮัมบวร์ก จากเยอรมัน ซึ่งบุกไปแพ่ก่อน 3–1 แต่ก็ทำได้แค่เฉือนชนะ 2–1 ที่อีสต์แลนด์ ทำให้ต้องออกจากการแข่งขันยูฟ่า คัพ ฤดูกาล 2008/09 โดยจบฤดูกาลทีมจบด้วยอันดับ 10 ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานทั้งที่มีนักเตะชั้นนำอย่าง โรบินญู, ฌอณ ไรท์ ฟิลลิปส์, เคร็ก เบลลามี, โช และ เชย์ กิฟเว่น

โดยก่อนฤดูกาล 2009/2010 จะเริ่มต้นทีมสามรถเซ็นสัญญานักเตะอย่าง เอ็มมานูเอล อเดบายอร์ และ โคโล ตูเร่ จากอาร์เซนอล, คาร์ลอส เตเวซ, ซิลวิญญู, โรเก ซานตาครูซ, แกเร็ท แบร์รี และ โจลีออน เลสค็อต ทำให้ทีมเริ่มต้นได้อย่างยอดเยี่ยมก่อนที่ฟอร์มจะเริ่มตกต่ำลง เนื่องจากทำสถิติเสมอตลอด 8 นัด ในที่สุดสโมสรจึงมีมติปลดมาร์ค ฮิวส์ ออกจากตำแหน่งเนื่องจากทีมไม่มีแววได้ติดท็อปโฟว์ทั้งที่ใช้เงินไปร่วม 200 ล้านปอนด์ตลอดการคุมทีม และเป็นโรแบร์โต มันชินี อดีตผู้จัดการทีมอินเตอร์ มิลาน เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ทีมก็พลาดเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลคาร์ลิง คัพ โดยแพ้คู่ปรับอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพร้อมกับสโตกชนะซิตี ทำให้ตกรอบฟุตบอลเอฟเอ คัพ ทั้งที่ในช่วงตลาดนักเตะได้ทำการซื้อนักเตะอย่าง ซามีร์ นาสรี อดีตกองกลางอาร์เซนอลและอดัม จอห์นสัน ปีกดาวรุ่งมาร่วมทีม

ผู้เล่นชุดป้จจุบัน

ณ วันที่ 21 เมษายน 2013

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK อังกฤษ โจ ฮาร์ต
2 DF อังกฤษ ไมคาห์ ริชาดส์
3 DF บราซิล ไมคอน โดกลัส ซีเซนังดู
4 DF เบลเยียม แว็งซ็อง กงปานี (กัปตันทีม)
5 DF อาร์เจนตินา ปาโบล ซาบาเลตา (รองกัปตันทีม)
6 MF อังกฤษ โจเลียน เลสคอตต์
7 MF อังกฤษ เจมส์ มิลเนอร์
8 MF ฝรั่งเศส ซามีร์ นัสรี
10 FW บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เอดิน เจโก
11 MF อังกฤษ สกอตต์ ซินแคลร์
13 DF เซอร์เบีย อเล็กซานดาร์ คอลาโรฟ
14 MF สเปน คาบี การ์เซีย
16 FW อาร์เจนตินา เซร์คีโอ อะกูเอโร
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
17 MF อังกฤษ แจ็ก ร็อดเวล
18 MF อังกฤษ แกเร็ท แบร์รี
21 MF สเปน ดาบิด ซิลบา
22 DF ฝรั่งเศส กาแอล กลีชี
28 DF โกตดิวัวร์ โคโล ตูเร
29 GK อังกฤษ ริชาร์ด ไรต์
30 GK โรมาเนีย คอสเทล พันทีลีมอน
32 FW อาร์เจนตินา คาลอต เตเบซ
33 DF เซอร์เบีย มาตียา นาสตาซิช
42 MF โกตดิวัวร์ ยาย่า ตูเร
60 FW สวีเดน จอห์น กุยเด็ตติ
62 MF โกตดิวัวร์ อับดุล ราซัค

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 DF อังกฤษ เวย์น บริดจ์ (ยืมตัวไป ไบร์ทตันแอนด์โฮฟว์ อัลเบียน จนจบฤดูกาล)
20 FW ปารากวัย โรเก ซานตา ครูซ (ยืมตัวไป มาลากา จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
38 DF เบลเยียม เดดริค โบยาตา (ยืมตัวไป เทเวนเต จนจบฤดูกาล)
50 MF นอร์เวย์ อับดิซาลาม อิบราฮิม (ยืมตัวไป สตรอมส์ก็อดเซ็ท จนถึง 31 ธันวาคม 2012)

ผู้เล่นชุดสำรอง

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
36 MF สเปน เดนิส ซัวเรซ
44 DF เนเธอร์แลนด์ คาริม เรคิก
48 DF ไอร์แลนด์เหนือ ไรอัน แม็คกิเวอร์น
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น}
49 FW อิตาลี ลูคา ซาปุซซี
57 DF อังกฤษ รีซ วาบารา

ทีมงานประจำสโมสร

ตำแหน่ง
ผู้จัดการทีม ว่าง
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม อังกฤษ ไบรอัน คิดด์
โค้ช อิตาลี ฟาอุสโต ซัลซาโน
โค้ช อังกฤษ เดวิด แพลตต์
โค้ช อิตาลี อัตติลิโอ ลอมบาร์โด
โค้ชผู้รักษาประตู อิตาลี มัสซิโม บัททารา
โค้ชฟิตเนส อิตาลี อิวาน คาร์มินาทิ
ผู้อำนวยการอคาเดมี่ อังกฤษ จิม แคสเซลล์
ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผู้เล่นเยาวชน อังกฤษ แอนดี เวลซ์
หัวหน้าแพลตเลนอคาเดมี อังกฤษ มาร์ค อเลน
ผู้จัดการทีมอคาเดมี อังกฤษ สกอตต์ เซลลาร์

อดีตผู้จัดการ

Name From To Played Won  Drawn Lost
สกอตแลนด์ Tom Maley 1902 1906 150 89 22 39
อังกฤษ Wilf Wild 1932 1946 354 158 124 72
อังกฤษ Les McDowall 1950 1963 592 220 127 245
อังกฤษ Joe Mercer 1965 1971 340 149 94 97
อังกฤษ Tony Book 1974 1979 269 114 75 80

เกียรติประวัติ

(ระบุเป็นปีพุทธศักราช)

  • เอฟเอ คัพ
    • ชนะเลิศ 2447, 2477, 2499, 2512, 2554
    • รองชนะเลิศ 2469, 2476, 2498, 2524

สโมสรพันธมิตร

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:ยูฟ่ายูโรปาลีก

แม่แบบ:Link FA