ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี"

พิกัด: 13°39′09″N 100°29′38″E / 13.652383°N 100.493872°E / 13.652383; 100.493872
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oommaharuai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Robosorne (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4927775 สร้างโดย Oommaharuai (พูดคุย) vandal
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
{{กล่องข้อมูล มหาวิทยาลัย
{{กล่องข้อมูล มหาวิทยาลัย
| ชื่อ = มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี<br />พระจอมเกล้าธนบุรี
| ชื่อ = มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี<br />พระจอมเกล้าธนบุรี
| ภาพ = [[ไฟล์:BBL_Logo.png|280px]]
| ภาพ = [[ไฟล์:Kmutt.png|150px]]
| ชื่ออังกฤษ = King Mongkut's University of Technology Thonburi
| ชื่ออังกฤษ = King Mongkut's University of Technology Thonburi
| ชื่อย่อ = มจธ. / KMUTT
| ชื่อย่อ = มจธ. / KMUTT

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:52, 14 พฤษภาคม 2556

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี
ไฟล์:Kmutt.png
ชื่อย่อมจธ. / KMUTT
คติพจน์THE TRAINED MAN WINS
ทนโต เสฏโฐ มนุสเสสุ
(ในหมู่มนุษย์ ผู้ที่ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 (วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี)
24 เมษายน พ.ศ. 2514 (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า)
อธิการบดีรศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน
อธิการบดีรศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน
นายกสภาฯดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.kmutt.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือที่รู้จักในชื่อ "บางมด" เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บนที่ดินพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัย ดีเลิศ ด้านการวิจัยและ ดีเยี่ยม ด้านการเรียนการสอน โดยการจัดอันดับเพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย ปี 2548 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปี 2555 ได้รับการจัดอันดับจากเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) อยู่ในอันดับที่ 482 ของโลก อันดับที่ 13 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวจาก UI โดยประเมินจากด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้อันดับ 17 ของประเทศโลก อันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 1 ของประเทศไทย และจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศไทย โดย สกว. ได้รับการประเมินในระดับดีเยี่ยมในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีถึง 5 สาขา ซึ่งถือว่ามากที่สุดในประเทศ [1] ได้รับการจัดอันดับหน่วยงานวิจัยทั่วโลกในดัชนี Normalized Impact จาก SIR World Report 2011 ของ SCImago Institutions Ranking ได้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยด้านการวิจัย [2] ได้รับการจัดอันดับจากQS Asian University Rankings by faculty2012 ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นอันดับที่ 74 ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย [3] ได้รับการจัดอันดับจากTimes Higher Education World University Rankings 2012-13 powered by Thomson Reuters ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในTop400อันดับแรกมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย อยู่ในอันดับที่389ของโลก และอันดับที่1ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย [4] และล่าสุดในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.2013 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก็ได้รับการจัดอันดับ100สุดยอดมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียโดย The Times Higher Education Asia University Rankings 2013 ให้เป็นอันดับที่ 55 และเป็นอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอีกครั้งในปีนี้ [5]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้าน วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และเปิดทำการสอนทั้งในหลักสูตรปกติ สองภาษาและนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี โท และเอก มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยด้วย

ประวัติ

บรรยากาศยามเย็นบริเวณสระมรกตและอาคารสำนักอธิการบดี มองจากด้านหลังห้องประชุมจำรัสฯ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดิมคือ "วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี" ซึ่งเป็นวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ที่ถนนประชาอุทิศ (ซอยสุขสวัสดิ์ 48) แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

ในระยะเริ่มแรก วิทยาลัยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีกำหนด 3 ปี ใน 4 สาขาวิชา คือ

  1. ช่างก่อสร้าง
  2. ช่างไฟฟ้า
  3. ช่างยนต์
  4. ช่างเทคนิคการผลิต
ทัศนียภาพยามเย็นภายในมหาวิทยาลัยฯ มองจากสถาบันการเรียนรู้ ชั้น 7 อาคารสำนักอธิการบดี

ในปี พ.ศ. 2506 ยูเนสโก (UNESCO) และกองทุนพิเศษสหประชาชาติ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่วิทยาลัย มีโครงการ 5 ปี โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เปิดสอนอยู่ ให้ทุนการศึกษาอบรมเพิ่มเติมแก่อาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาให้แก่วิทยาลัยตามความต้องการ ในปี พ.ศ. 2508 วิทยาลัยโดยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการ และคณะรัฐมนตรี ให้เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยมีหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูเนสโก และกองทุนพิเศษสหประชาชาติอีก โดยจัดเป็นโครงการ 4 ปี เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในรูปแบบเดียวกับโครงการแรก คือ ผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา อบรมแก่อาจารย์ และอุปกรณ์การศึกษา

หลังจากนั้น วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้รวมกับ วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ได้ยกระดับขึ้นเป็น "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี" เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2514 โดยเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยระดับอุดมศึกษา เป็นนิติบุคคลมีฐานะเป็นกรมสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เปลี่ยนสภาพเป็น "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี" ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2541 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 11 ก ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[6]

ทำเนียบอธิการบดี

  1. ศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2532) , (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2535)
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.หริส สูตะบุตร (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) , (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541)
  3. อาจารย์ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2545) , (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549)
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553)
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน)

สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์พระราชทาน (ตราพระราชลัญจกร หรือตราสัญลักษณ์แบบทางการ)

ตราประจำมหาวิทยาลัย ลักษณะของตรานำมาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์ (ตราประจำพระองค์) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ลักษณะของตรา ประกอบด้วยลายกลางเป็นตราพระมหามงกุฎ ซึ่งนำมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม "มงกุฎ" และเป็นศิราภรณ์สำคัญหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ มีฉัตรบริวารขนาบอยู่บริเวณด้านข้างทั้งสอง โดยสัญลักษณ์ทั้งหมดจะอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น มีอักษรทั้งภาษาไทยและอังกฤษ แสดงนามมหาวิทยาลัย กำกับอยู่ภายในโค้งด้านล่างของวงกลม

สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแสด - เหลือง โดยสีแสดเป็นสีประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของไทย พระผู้ทรงริเริ่มแนวคิดสมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย ส่วนสีเหลืองเป็นสีประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระผู้ทรงพระราชทานนามมหาวิทยาลัย และเมื่อรวมกันจึงเป็นสีที่แสดงถึงความจงรักภักดี และเป็นสีที่แสดงถึงความเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง ความแข็งแรง ทั้งเป็นสีที่กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นเปรียบเทียบได้กับเครื่องมือเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเครื่องมือเครื่องจักรทั้งหลาย ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ "ดอกธรรมรักษา" เป็นไม้ดอกที่พบมากในบริเวณที่ตั้ง มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาลัย และมีสีของดอกที่คล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังมีนามที่เป็นมงคลต่อนักศึกษาและบุคลากรในด้านจริยธรรมกล่าวคือสอดคล้องกับคติธรรมที่ว่า "ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม"

ตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์

ตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์ ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ตราวิสัยทัศน์ เป็นตราที่เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2552 โดยตราดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดทอนรายละเอียดของตราสัญลักษณ์ (LOGO) ให้ง่ายต่อการจดจำ, สร้างเอกลักษณ์ให้กับมหาวิทยาลัย และเป็นตราสัญลักษณ์ที่สามารถใช้ได้ในทุกๆ ที่ อาธิเช่น ขวดน้ำ มจธ., ใบปลิว, แก้วน้ำ, ของที่ระลึก รวมทั้งที่ๆ ไม่เหมาะสมที่จะใช้ตราพระลัญจกรซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ในตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์นั้น ประกอบด้วยสองส่วนคือ สัญญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) และตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark)

สัญญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) สื่อถึงความชัดเจนในวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย (Framing Vision) ที่จะก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาว มจธ. โดยรูปแบบของจุด หรือ Pixel ที่เรียงกันสามารถสื่อถึงความเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีได้อย่างร่วมสมัย ในขณะเดียวกันการเรียงกันเป็นเลขสี่ยังสามารถสื่อถึงความภาคภูมิใจในนามพระราชทาน

ตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark) เป็นการเรียงตัวกันอย่างสร้างสรรค์ (Creative & Constructive) สื่อถึงการไม่หยุดนิ่งและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้การใช้ชื่อย่อตัวอักษรภาษาอังกฤษยังสื่อถึงวิสัยทัศน์ที่จะนำมหาวิยาลัยก้าวไปสู่สากลอย่างมีประสิทธิภาพ

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

เพลงพระจอมเกล้าธนบุรี

เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยประพันธ์โดยนายก่อเกียรติ ชาตะนาวิน ในปี 2542 บทเพลงมีเนื้อร้องที่ครอบคลุมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

เพลงมาร์ชห้ามุ่ง

บทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2553 เป็นบทเพลงที่สามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์ห้ามุ่ง ประพันธ์โดยนายไกวัล กุลวัฒโนทัย

เพลงลูกพระจอม

โดยบทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2551 ขับร้องสู่สาธารณชนครั้งแรกในกิจกรรมถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหาพิชัยมงกุฎ ขับร้องโดยวงประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เพลงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

หลักสูตรที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ใน 8 คณะ ดังนี้

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียงลำดับตามการก่อตั้งดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถือว่าเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 13 สาขาวิชา 20 หลักสูตรดังนี้

หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (วิชาเอกวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (วิชาเอกวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (วิชาเอกวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (วิชาเอกวิศวกรรมโครงสร้าง)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (วิชาเอกวิศวกรรมเทคนิคธรณี)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบริหารและการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชามาตรวิทยาทางอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเที่ยงตรง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการเชื่อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคุณภาพ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาวาริชวิศวกรรม

หลักสูตรปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต(วศ.ด.)/ Ph.D. และ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) /Ph.D.

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีขึ้นรูปโลหะ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการการและระบบการผลิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)

คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรปริญญาตรี

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เน้นด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ และคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเคมี(อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ (เน้นฟิสิกส์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมและการแพทย์ รวมทั้งการสร้างสรรค์และพัฒนาระบบเลเซอร์ชนิดต่างๆ)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์วัสดุและนาโนเทคโนโลยี
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา เน้นด้านจุลชีววิทยาในอุตสาหกรรมอาหาร การแพทย์ การเกษตร การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร : เน้นด้านการแปรรูปอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

หลักสูตรปริญญาโท

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
  • Industrial Chemistry
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์

หลักสูตรปริญญาเอก

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • Doctor of Philosophy Program in Bioscience

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม (ค.อ.บ.) หลักสูตร 5 ปี ใน 4 สาขาวิชา (รับนศ.ปวช.และม.6) ดังนี้

  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าในหลักสูตรนี้แบ่งวิชาเอกออกเป็น 3 วิชาเอก คือ
    • วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
    • วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ทล.บ.) 4ปี เปิดทำการศึกษาในปีการศึกษา2553 เป็นรุ่นแรกโดยจุดประสงค์เพื่อผลิตช่างเทคนิคชั้นสูงเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรม ตามคำเรียกร้องของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เปิดรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปวช.และม.6 แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา

  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรม(วิชาชีพอุตสาหการ)
  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรม(วิชาชีพก่อสร้าง)
  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรม(วิชาชีพไฟฟ้า)
  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรม(วิชาชีพเครื่องกล)

ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม คือเวลาในการศึกษาตามหลักสูตร และรายวิชาที่ศึกษา คอ.บ.รายวิชาจะเน้นไปที่การสอน แต่ ทล.บ.จะไม่มีวิชาที่เกี่ยวกับการสอน แต่จะเน้นหนักไปทางวิชาชีพ

  • ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี รับนักศึกษาปี 2552 ปีสุดท้าย นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในภาคนี้มาจากการสอบตรงของ ปวส.ปี2นั้นเอง โดยภาควิชานี้ครบรอบ 20 ปีแล้ว (เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553)

เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)หลักสูตร 4 ปี

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชนเป็นสาขาวิชาที่ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาจากภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความครอบคลุมทางด้านของสื่อสารมวลชนมากยิ่งขึ้น โดยเน้นให้นักศึกษาปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี เป็นหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) นักศึกษารุ่นแรกมีจำนวนทั้งสิ้น 46 คน ซึ่งมาจากการสอบตรงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 หรือ ปวช.ปี3
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย

เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ดังนี้

  • สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์ :เป็นหลักสูตรที่รองรับการขยายตัวทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมการพิมพ์ และการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ ควรมีความถนัดในสาขา วิชาเคมี และฟิสิกส์ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านวัสดุ และอุปกรณ์ทางการพิมพ์ บัณฑิตที่ สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ความสามารถด้านการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างดี

เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้


เปิดสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) หลักสูตร 4 ปีใน 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชามีเดียอาตส์ :เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความสามารถทางปัญญาแห่งศาสตร์ทางศิลปะและการออกแบบที่เน้นทางด้าน แอนิเมชัน ด้านเทคนิคภาพเพื่อการผลิตภาพยนตร์ และด้านการถ่ายภาพถ่าย ดิจิทัลและการออกแบบกราฟิก ตลอดจนปลูกฝังให้มีการนำเอาคุณธรรม และ จริยธรรมของสังคมและบุคคลมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตผลงาน

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

เป็นคณะที่ทำการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทุกสาขาวิชา เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) หลักสูตร 5 ปี ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้

  • สถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตรนานาชาติ)

และหลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) หลักสูตร 4 ปี ในสาขาวิชา

  • การออกแบบอุตสาหกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) (เดิมคือหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม หลักสูตร 5 ปี)
  • ออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ)

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

นับจากปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย พ.ศ. 2538 ที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลิตบัณฑิต และมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพ ออกรับใช้สังคมไทยที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากรบุคคลทางด้าน ไอทีจวบจนกระทั่งปัจจุบัน กล่าวได้ว่า เป็นภารกิจที่ยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยามที่ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง ควบคู่ไปกับการที่โลกมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมหลายอย่างในการฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการในช่วงรอยต่อ ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมขนาดใหญ่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดองค์กร ในรูปแบบที่มีพลวัตสูง การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการศึกษาเพื่อการแสวงหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเอง ไม่ให้เป็นภาระกับรัฐบาล และอีกหลายสิ่งที่ทรัพยากรบุคคลของคณะฯ ได้ร่วมกันทุ่มเทให้เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ ทำให้คณะฯ ประสบความสำเร็จ ในระดับที่น่าพอใจกล่าวคือ เป็นเพียงคณะเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอน สาขาเทคโนโลยี สารสนเทศครบถ้วนทั้ง ปริญญาตรี โท และเอก ท่ามกลางแรงกดดันจากหลากหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ยังคงยืนยันในเรื่องคุณภาพของบัณฑิต ทั้งด้านวิชาชีพ และการสื่อสารในยุค โลกาภิวัฒน์ซึ่งพอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีการกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาของคณะฯ ต้องผ่านการ ทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐานสากล

เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Doctor of Philosophy Program in Computer Science)
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Doctor of Philosophy Program in Information Technology)

เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) ใน 4 สาขาวิชา ดังนี้

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Master of Science Program in Information Technology)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Master of Science Program in Electronic Business)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสารสนเทศ (Master of Science Program in Bioinformatics)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Master of Science Program in Software Engineering)

เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) หลักสูตร 4 ปี ใน 2 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 2 ปี (ปวส.ต่อเนื่อง) ใน 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคปกติ) มี สองวิทยาเขต คือ

และในปีการศึกษา 2550 ทางคณะได้มีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร 4 ปี

คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ

คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ เดิมมีชื่อว่า คณะพลังงานและวัสดุ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เปิดหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก

หลักสูตรปริญญาโท

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน
  • สาขาวิชาการจัดการพลังงาน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ
  • สาขาวิชาการออกแบบและผลิตแบบบูรณาการ

หลักสูตรปริญญาเอก

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ

คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

หลักสูตรปริญญาโท

หลักสูตรนานาชาติ
  • เทคโนโลยีชีวภาพ
  • เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • ชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ
หลักสูตรปกติ
  • เทคโนโลยีชีวเคมี
  • การจัดการทรัพยากรชีวภาพ
  • วาริชวิศวกรรม

หลักสูตรปริญญาเอก

หลักสูตรนานาชาติ
  • เทคโนโลยีชีวภาพ
  • เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
หลักสูตรปกติ
  • เทคโนโลยีชีวเคมี
  • การจัดการทรัพยากรชีวภาพ

คณะศิลปศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์ เป็นโครงการขยายงานเดิม จากภาควิชาภาษาและสังคม สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีลำดับความเป็นมาในการจัดตั้ง ดังนี้

  • สภาสถาบันฯ ให้ความเห็นชอบ เมื่อคราวประชุม ครั้งที่ 5/2537 วันที่ 1 กันยายน 2537
  • ขอทบทวน/ปรับแผนเพื่อขอบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 8 วันที่ 27 กันยายน 2538 (ครั้งที่ 1) แต่ไม่ได้รับการพิจารณา
  • สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 1/2541 วันที่ 9 เมษายน 2541
  • ขอความเห็นชอบให้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 8 (ครั้งที่ 2) วันที่ 13 กรกฎาคม 2543
  • ทบวงมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบการบรรจุโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ไว้ในแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 8 วันที่ 2 สิงหาคม 2543
  • ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 117 ตอนที่ 89 ง. วันที่ 7 พฤศจิกายน 2543

เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) 1 สาขาวิชา คือ ปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)

เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) 2 สาขาวิชา คือ ปริญญาโทภาษาศาสตร์ประยุกต์ ด้านการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) (โครงการปกติจันทร์ – ศุกร์ และโครงการพิเศษ เสาร์ - อาทิตย์) และปริญญาโทศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต ด้าน English for Professional and International Communication (หลักสูตรใหม่ เริ่มรับสมัครภาคการศึกษา 1/25544)

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ และนวัตกรรม

เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ใน 5 สาขาวิชา ดังนี้

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการโลจิสติกส์ (Master of Science Program in Logistics Management)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารโครงการ (Master of Science in Project Management)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Master of Science in Technology and Innovation Management)
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ (Master of Business Administration in Entrepreneurship Management)
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคม (Master of Business Administration in Telecommunication Business Management)

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้)

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ฟีโบ้) จัดตั้งขึ้นระหว่างแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 7 เพื่อวิจัยพัฒนาการศึกษาระดับสูงทางด้านวิชาการหุ่นยนต์ และงานวิจัยทางด้านระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้บริการรับปรึกษาด้านอุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศ

ศูนย์และสถาบันในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท) จัดตั้งขึ้นตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 114 ตอนที่ 16 ก. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ คือ ให้สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ เพื่อเป็นแหล่งดำเนินการวิจัย การพัฒนาและการวิศวกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสหวิทยบริการ เพื่อสนองนโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเน้นนโยบายการพึ่งพาตนเอง สร้างขีดความสามารถของภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ประกอบด้วยศูนย์ต่างๆ ดังนี้

วิทยาเขตราชบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการขยายโอกาสอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2538 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี (หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล) และร้อยตำรวจโทเชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ พร้อมด้วยประชาชนในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ให้การสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาเขต ณ ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ 1,200 ไร่

การจัดการเรียนการสอน

วิทยาเขตราชบุรี เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) โดยให้โควต้านักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม เข้าศึกษาต่อในวิทยาเขต

อันดับมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัย ดีเลิศ ด้านการวิจัยและ ดีเยี่ยม ด้านการเรียนการสอน โดยการจัดอันดับเพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย ปี 2548 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปี 2555 ได้รับการจัดอันดับจากเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) อยู่ในอันดับที่ 482 ของโลก อันดับที่ 13 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวจาก UI โดยประเมินจากด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้อันดับ 17 ของประเทศโลก อันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 1 ของประเทศไทย และจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศไทย โดย สกว. ได้รับการประเมินในระดับดีเยี่ยมในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีถึง 5 สาขา ซึ่งถือว่ามากที่สุดในประเทศ [7] ได้รับการจัดอันดับหน่วยงานวิจัยทั่วโลกในดัชนี Normalized Impact จาก SIR World Report 2011 ของ SCImago Institutions Ranking ได้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยด้านการวิจัย [8] ได้รับการจัดอันดับจากQS Asian University Rankings by faculty2012 ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นอันดับที่ 74 ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย [9] ได้รับการจัดอันดับจากTimes Higher Education World University Rankings 2012-13 powered by Thomson Reuters ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในTop400อันดับแรกมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย อยู่ในอันดับที่389ของโลก และอันดับที่1ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย [10] และล่าสุดในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.2013 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก็ได้รับการจัดอันดับ100สุดยอดมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียโดย The Times Higher Education Asia University Rankings 2013 ให้เป็นอันดับที่ 55 และเป็นอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอีกครั้งในปีนี้ [11]

ดูเพิ่มที่ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

การเดินทาง

1.รถโดยสารประจำทาง

  • รถโดยสารประจำทางสาย 21 (สีครีมแดงและยูโร) วัดคู่สร้าง - จุฬาลงกรณ์
  • รถโดยสารประจำทางสาย 75 (สีเหลือง สีส้ม และสีครึมแดง) พุทธบูชา - หัวลำโพง
  • รถโดยสารประจำทางสาย 88 (สีครีมแดง) วัดคลองสวน - ลาดหญ้า
  • รถโดยสารประจำทางสาย 504 (สีเหลือง) สวนธนบุรีรมย์ - แยกลาดพร้าว
  • รถสองแถวสาย 1403 (สีแดง) ใต้ทางด่วนสุขสวัสดิ์กิโลเมตร 9 - แฟลตทุ่งครุ
  • รถกระป๋อง สาย 70 บางปะกอก - วัดพุทธบูชา
  • รถกระป๋อง สาย 88 บิ๊กซีราษฏร์บูรณะ - วัดทุ่งครุ
  • รถกระป๋อง สาย 99 บางปะกอก - วัดทุ่งครุ

2.รถตู้ปรับอากาศ

  • สยามนิเวศน์ - จุฬาลงกรณ์

3.รถยนต์ส่วนตัว ท่านสามารถเข้ามาทางถนนประชาอุทิศ หรือ ถนนพุทธบูชา ก็ได้ครับ โดย ขับรถมาทางถนนสุขสวัสดิ์แล้วเลี้ยวเข้าถนนประชาอุทิศ หรือ ขับมาทางถนนพระรามที่ 2 แล้วเลี้ยวเข้า ถนนพุทธบูชา ขับ ตรงมาทางแยกนาหลวง ถ้าขึ้นทางพิเศษเฉลิมมหานคร ให้ลงที่ถนนสุขสวัสดิ์กิโลมเตรที่เก้า

ส่วนหนึ่งของศิษย์เก่าผู้ประสบความสำเร็จ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

เทอดพงษ์ ไชยนันทน์(ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ศ.ดร.ไพฑูรย์ ตันติเวชวุฒิกุล(ศิษย์เก่า) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ University of Regina ประเทศ Canada

สุพจน์ ทรัพย์ล้อม (ศิษย์เก่า) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม

เพชรสมร วีระพัน (สัญชาติลาว)(ศิษย์เก่า) ปลัดกระทรวงคมนาคม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

จำรูญ ตั้งไพศาลกิจ (ศิษย์เก่า) อธิบดีกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม

วีระ เรืองสุขศรีวงศ์ (ศิษย์เก่า) อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

นาวาเอกปพนภพ สุวรรณวาทิน(ศิษย์เก่า) เจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ

ประสบศิลป์ โชติมงคลรัตน์(ศิษย์เก่า) รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

พีระพล สาครินทร์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน

จุมพล สำเภาพล (ศิษย์เก่า) รองปลัดกรุงเทพมหานคร อดีต ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กระทรวงคมนาคม

สุพจน์ เลียดประถม(ศิษย์เก่า) สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราด

สุรเดช จิรัฐิติเจริญ(ศิษย์เก่า) สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปราจีนบุรี

มณฑล สุดประเสริฐ (ศิษย์เก่า) อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล(ศิษย์เก่า) รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เกรียงฤทธิ์ เจียจันทร์พงษ์(ศิษย์เก่า) รองผู้ว่าการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

นาวาเอกอัมพร ศรีสท(ศิษย์เก่า) รองเจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ

บุญชิต วิชุภากรณ์กุล(ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง

ปราโมทย์ เอี่ยมศิริ(ศิษย์เก่า) อดีตรองปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงานการพลังงานแห่งชาติ

วาสนา ศรีสรินทร์(ศิษย์เก่า) เจ้าของบริษัท Finish Hardward Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา วิศวกรไทยคนเดียวที่สอบใบประกอบวิชาชีพ AHC ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้, ผู้ออกแบบระบบประตูรักษาความปลอดภัยในสนามบิน โรงงานนิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกา สถานทูตสหรัฐอเมริกา

ดร.สุมิท แช่มประสิทธิ์(ศิษย์เก่า) เลขาธิการสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิเศรษฐกิจพอเพียง อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน และ ประธานกิตติมศักดิ์บริษัท ซันโย เอส เอ็ม ไอ (ประเทศไทย) จำกัด

อภิเชต สีตกะลิน(ศิษย์เก่า) ดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายขายการตลาด บริษัททาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของทาทา มอเตอร์ส

สมชัย วงศ์วัฒนศานต์(ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการด้านบริหารองค์กร บริษัท Thai Oil Group

ฉัตรฐาพงศ์ วังธนากร(ศิษย์เก่า) ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และคุณภาพ บริษัท Thai Oil Group

ดำรงค์ ปิยารมณ์(ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

เฉลิมชัย หมอยาดี(ศิษย์เก่า) อดีตเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา

สมประสงค์ บุญยะชัย (ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด

บุญนาค โมกข์มงคลกุล (ศิษย์เก่า) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทดานิลี่ ฟาร์ อีส บริษัทลูกของ บริษัทดานิลี่(ประเทศอิตาลี่) บริษัทผลิตเครื่องจักรกลมากเป็นอันดับ 3 ของโลก

ประภาส ตั้งอดุลย์รัตน์ (ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัท Appli CAD บริษัทตัวแทนจำหน่ายโปรแกรม Solidwork ในประเทศไทย

สมบัติ อนันตรัมพร(ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ.อินเตอร์ลิงก์ คอมมิวนิเคชั่น (ILINK)บริษัทด้านสายสัญญาณสื่อสารคอมพิวเตอร์(LAN)และโทรคมนาคมอันดับ 1 ในประเทศไทย

สมนึก โอวุฒิธรรม(ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการบริษัทเลคิเซ่ กรุ๊ป และบริษัทเลคิเซ่ ไลท์ติ้ง ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายหลอดไฟเลคิเซ่

ปราโมทย์ ธีรกุล(ศิษย์เก่า) นายกสมาคมรับสร้างบ้านคนแรก และ กรรมการผู้จัดการบริษัทโฟร์พัฒนาจำกัด

สุเมธ สุรบถโสภณ (ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลเล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัทก่อสร้างอันดับต้นๆของประเทศไทย

วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู(ศิษย์เก่า) รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด บริษัทในกลุ่ม บมจ.ซีพี ออลล์(CP All)

บุญมาก ศิริเนาวกุล(ศิษย์เก่า) รองประธานกรรมการบริษัท ทีโอที(TOT)จำกัด(มหาชน) และ ประธานอนุกรรมาธิการการพิจารณางบประมาณแผ่นดินด้านคอมพิวเตอร์ทุกหน่วยงานรัฐ ปี 2540

พีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน(ศิษย์เก่า) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท บริษัท ปตท.

สุจิตรา สุวรรณสินพันธ์(ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท.สผ

กิติศักดิ์ นวลจันทร์ฉาย(ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และ สิ่งแวดล้อม บริษัท ปตท.สผ

โสภณ ศิริรัชตพงษ์(ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการ โครงการซ่อมบำรุงและตรวจสอบโรงงาน บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น

วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์(ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota ประเทศไทย

อดิศักดิ์ ภัทรธำรง(ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามโตโยต้าอุตสาหกรรม

ชาญชัย ธารรักประเสริฐ(ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ส่วนงานปฏิบัติงาน บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด บริษัทก่อสร้างอันดับต้นๆของประเทศไทย

เจริญ ประจำแก่น(ศิษย์เก่า) กรรมการผู้บริหารบริษัทผลิตไฟฟ้า Egco Group

บุญชัย เหล่าพิพัฒน์(ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการบริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬา Marathon

มยุรี ชาติเมธากุล(ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการบริษัท G-ABLE

สัมพันธ์ ลู่วีระพันธ์(ศิษย์เก่า) ผู้จัดการฝ่ายขายในประเทศเอสซีจี พลาสติก

ธนวงษ์ อารีรัชชกุล(ศิษย์เก่า) ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัทระยองโอเลฟินส์ จำกัด (ROC) บริษัทในเครือบริษัท SCG

พลฤทธิ์ เศรษฐกำเนิด(ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตไฟฟ้าแม่เหมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ (ศิษย์เก่าและบุคลากร) อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ , บุคคลดีเด่นของชาติ จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา (ศิษย์เก่าและบุคลากร) ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม(FIBO) และนายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยคนแรก

รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์(ศิษย์เก่า) อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์คนแรก

ศ.ดร.สำเริง จักรใจ(ศิษย์เก่าและบุคลากร) ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น

บารมี นวนพรัตน์สกุล (ศิษย์เก่า) ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 รายการโลกยามเช้า อดีต วิศวกรสิ่งแวดล้อม City Of Chicago U.S.A.

ณัฐพล เกียรติวงศ์หงส์ (ศิษย์เก่า) ผู้ริเริ่มและพัฒนาโปรแกรม CPE17 Autorun killer โปรแกรมที่Antivirusที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งภาครัฐและเอกชน

ดร.ประกิจ เปรมธรรมกร(ศิษย์เก่า) รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

ผศ.ดร.วรานนท์ คงสง(ศิษย์เก่า) คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดร.อาณัต ดีพัฒนา (ศิษย์เก่า) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ดร. ภาสพิรุฬห์ ศรีสำเริง (ศิษย์เก่า) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ผศ.ดร.พนิดา สามพรานไพบูลย์(ศิษย์เก่า) หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ มหาวิทยาลัยรังสิต

ดร.ปฏิภาณ จุ้ยเจิม(ศิษย์เก่า) หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

กัญจน์ คณาธารทิพย์ (ศิษย์เก่า) หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยมหิดล

กรกช ทวีสิน(ศิษย์เก่า) หัวหน้าสาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผศ.ดร.อานนท์ วงษ์แก้ว (ศิษย์เก่า) หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยบูรพา

ดร. จักรวาล คุณะดิลก(ศิษย์เก่า) หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยบูรพา

ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ(ศิษย์เก่าและบุคลากร) อาจารย์ประจำ และ หัวหน้าห้องปฏิบัติการระบบอัจฉริยะเพื่อการแพทย์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ. เกียรติไกร อายุวัฒน์(ศิษย์เก่า) หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม (บางเขน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง (ศิษย์เก่า) หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

เสกสรรค์ มธุลาภรังสรรค์ (ศิษย์เก่า) ประธานโครงการฯ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

กิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์(ศิษย์เก่า) ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา

วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์(ศิษย์เก่า) ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย

นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์(ศิษย์เก่า) นักจัดรายการโทรทัศน์

ณัฐพล วาสิกดิลก (ศิษย์เก่า) พิธีกรรายการโทรทัศน์

เศรษฐกานต์ ปิติไชยเจริญ (พี่ต้อม Eureka)(ศิษย์เก่า) อาจารย์สถาบันกวดวิชาคณิตศาสตร์ของสถาบันกวดวิชา Eureka

สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว(บี้ เดอะสตาร์)(ศิษย์เก่า) นักร้อง และนักแสดง

สุวิกรม อัมระนันทน์ (เปอร์ ไฟน่อลสกอร์) นักแสดง และ พิธีกร

โกสินทร์ ราชกรม(ศิษย์เก่า) นักแสดง

ณัฎฐ์ศรุต ถาม์พรทองสุทธิ (ยศ OIC) นักจัดรายการโทรทัศน์

อรณัชชา ไกรสมสุด นักแสดง นางเอกMusic Video และ Miss slimming thailand 2009


คณะวิทยาศาสตร์

สมบูรณ์ ครบธีรนนท์ Country manager บริษัท Visa

กมลรัตน์ พันธ์อารยะ Senior Processing Engineering & Production Manager บริษัทสี TOA (ประเทศไทย) จำกัด

ดร.สุทธิ ปั้นพานิช ผู้จัดการส่วนธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น , ผู้จัดการโครงสร้างด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต บริษัท ปตท.(มหาชน)จำกัด , บริษัท ปตท.ฟีนอลจำกัด

วีระพงษ์ นุ่มตี่ OEM Sales Manager บริษัท Chevron Cooperation Co.,Ltd

ดร.ประภัสสร เตชะวานิชชัย วิศวกรอาวุโสฝ่ายขายและบริการด้านเทคนิค บริษัท Atotech

คุณทวีศักดิ์ สุดสวาท Sales Executive บริษัทซิกเวอร์ค(ประเทศไทย)จำกัด

อมรรัตน์ แสนสุรีย์รังสิกุล วิศวกรบริษัทปูนซิเมนต์ไทย(SCG)

ผศ.ดร.อภิรัตน์ เลาห์บุตรี รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

รศ.ดร.กอบบุญ หล่อทองคำ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.จันทรา ทองคำเภา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.รังรอง ยกส้าน อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีทางกระบวนการเคมีและฟิสิกส์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กณิศ ซอเสวี Regional Sourcing Unit Logistics Support Manager - Ice Cream บริษัท Uniliver Thai Holding, .Ltd (Thailand)

นพดล เปี่ยมกุลวนิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอก ย้อมและตกแต่งสิ่งทอไทย

กุลชนม์ ยิ่งชัยยะกมล ผู้จัดการบริษัท AstraZeneca(Thailand)

พรเทพ ศักดิ์สุจริต เจ้าของ บริษัทอุดร มาสเตอร์เทค จำกัด

สนธิ ดำรงค์ศิลป์ กรรมการผู้จัดการภาคพื้นประจำประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย บริษัท Agilent Technologies (Thailand) Ltd.

ปรีดา ลิ้มนนทกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็ดดูแคชั่น แอด คลิก จำกัด และ บริษัท พีแอนด์ดับบลิว เอาท์ซอร์ส

ไอริณ ดำรงค์มงคลกุล พิธีกรรายการ และผู้ประกาศข่าว ช่อง 5


คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิโรจน์ เพชรเด่นลาภ วิศวกรออกแบบและทดสอบซอฟต์แวร์ บริษัท Microsoft Corporation สำนักงานใหญ่ ประเทศสหรัฐอเมริกา

เฉลิมพล ตู้จินดา Technical Drector บริษัทรอยเตอร์ ซอฟต์แวร์(ประเทศไทย) จำกัด

กษาณฑ์ ปิยาภิมุข ผู้จัดการอาวุโส บริษัท Accenture จำกัด

นนทกร วัจฉลพงษ์ Chief Operating Officer Paper Rocket Co., Ltd.

เกษม บุญมั่น Software Bussiness Director Raxinter diagnostic Co., Ltd.

ประพันธ์ วัจฉลพงษ์ Technical Service Manager Planet Communication Asia Co., Ltd.

จิตติ อภิบุญ Director VR3D Training center Co., Ltd.

ธิดา ธัญญประเสริฐกุล นักแปลหนังสือที่มีชื่อเสียง

พุฒิพัฒน์ กุลปรีชาเศรษฐ์ นักร้อง


คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

บุศริน หยกพรายพันธ์ (ศิษย์เก่า) นักแสดง

ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย(ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมระบบทางพิเศษการทางพิเศษแห่งประเทศไทย


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

จินตนัดดา ลัมะกานนท์ (แป้งโกะ) นักแสดง

ศิริศิลป์ โชติวิจิตร (กวาง AB Normal) นักร้อง

อ้างอิง

  1. Ranking Web of World UniversitiesTop South East Asia
  2. [1]SIR World Report 2011
  3. [2]QS Asian University Rankings by faculty2012
  4. [3]Times Higher Education World University Rankings 2012-13 powered by Thomson Reuters
  5. [4]Times Higher Education Asia University Rankings 2013 powered by Thomson Reuters
  6. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541
  7. Ranking Web of World UniversitiesTop South East Asia
  8. [5]SIR World Report 2011
  9. [6]QS Asian University Rankings by faculty2012
  10. [7]Times Higher Education World University Rankings 2012-13 powered by Thomson Reuters
  11. [8]Times Higher Education Asia University Rankings 2013 powered by Thomson Reuters

แหล่งข้อมูลอื่น

13°39′09″N 100°29′38″E / 13.652383°N 100.493872°E / 13.652383; 100.493872