ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญามังราย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 89: บรรทัด 89:
กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 มีผู้ตัดต่อภาพอนุสาวรีย์พญามังราย โดยนำสัญลักษณ์ "ชอบ" หรือ "ไลก์" (like) ของ[[เฟซบุ๊ก]]ไปติดกับพระหัตถ์พญามังราย แล้วนำลงเผยแพร่ในเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" พร้อมทั้งเรียกภาพตัดต่อนั้นว่า "พ่อขุนเม็งไลก์"<ref name = "pc">{{cite web|url=http://prachatai.com/journal/2012/08/42148|title=วธ.เชียงราย เผยเตรียมเอาผิดเพจ "ไลค์ดะ" ตัดต่อรูปพ่อขุน|publisher=[[ประชาไท]]|date=19 สิงหาคม 2555|accessdate=22 สิงหาคม 2555}}</ref> ส่งผลให้บุคคลจำนวนหนึ่งไม่พอใจและพากันเข้าไปต่อว่าเจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" เป็นข้อความหยาบคายต่าง ๆ แต่เจ้าของเฟซบุ๊กหน้าดังกล่าวยืนยันว่าไม่เป็นความผิด<ref name = "pc"/><ref>{{cite web|url=http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME5UTTJOell6TWc9PQ==&subcatid=|title=รุมประณามแอดมินเฟซบุ๊ก‘ไลค์ดะ’ แพร่รูปไม่เหมาะสมว่อนเน็ต|publisher=[[ข่าวสด]]|date=19 สิงหาคม 2555|accessdate=22 สิงหาคม 2555}}</ref> ต่อมาวันที่ 19 สิงหาคม 2555 มงคล สิทธิหล่อ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย แถลงว่า เตรียมดำเนินคดีต่อเจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ"<ref>{{cite web|url=http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102020|title=วธ. เชียงราย จ่อแจ้งความเอาผิดมือดีตัดต่อ "พ่อขุนฯ"|publisher=[[ผู้จัดการ]]|date=19 สิงหาคม 2555|accessdate=22 สิงหาคม 2555}}</ref> และวันที่ 22 สิงหาคม 255 ชาวเชียงรายบางกลุ่มประท้วงเดินขบวนที่บริเวณอนุสาวรีย์พญามังรายในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ขณะที่เจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" เลิกเฟซบุ๊กหน้าดังกล่าวไปก่อนนั้นแล้ว<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000103490|title=คนรักรถเชียงราย รวมตัวเรียกร้องจัดการ "ไลค์ดะ" มือตัดต่อภาพ "พ่อขุนฯ"|publisher=[[ผู้จัดการ]]|date=22 สิงหาคม 2555|accessdate=22 สิงหาคม 2555}}</ref>
กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 มีผู้ตัดต่อภาพอนุสาวรีย์พญามังราย โดยนำสัญลักษณ์ "ชอบ" หรือ "ไลก์" (like) ของ[[เฟซบุ๊ก]]ไปติดกับพระหัตถ์พญามังราย แล้วนำลงเผยแพร่ในเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" พร้อมทั้งเรียกภาพตัดต่อนั้นว่า "พ่อขุนเม็งไลก์"<ref name = "pc">{{cite web|url=http://prachatai.com/journal/2012/08/42148|title=วธ.เชียงราย เผยเตรียมเอาผิดเพจ "ไลค์ดะ" ตัดต่อรูปพ่อขุน|publisher=[[ประชาไท]]|date=19 สิงหาคม 2555|accessdate=22 สิงหาคม 2555}}</ref> ส่งผลให้บุคคลจำนวนหนึ่งไม่พอใจและพากันเข้าไปต่อว่าเจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" เป็นข้อความหยาบคายต่าง ๆ แต่เจ้าของเฟซบุ๊กหน้าดังกล่าวยืนยันว่าไม่เป็นความผิด<ref name = "pc"/><ref>{{cite web|url=http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME5UTTJOell6TWc9PQ==&subcatid=|title=รุมประณามแอดมินเฟซบุ๊ก‘ไลค์ดะ’ แพร่รูปไม่เหมาะสมว่อนเน็ต|publisher=[[ข่าวสด]]|date=19 สิงหาคม 2555|accessdate=22 สิงหาคม 2555}}</ref> ต่อมาวันที่ 19 สิงหาคม 2555 มงคล สิทธิหล่อ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย แถลงว่า เตรียมดำเนินคดีต่อเจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ"<ref>{{cite web|url=http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102020|title=วธ. เชียงราย จ่อแจ้งความเอาผิดมือดีตัดต่อ "พ่อขุนฯ"|publisher=[[ผู้จัดการ]]|date=19 สิงหาคม 2555|accessdate=22 สิงหาคม 2555}}</ref> และวันที่ 22 สิงหาคม 255 ชาวเชียงรายบางกลุ่มประท้วงเดินขบวนที่บริเวณอนุสาวรีย์พญามังรายในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ขณะที่เจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" เลิกเฟซบุ๊กหน้าดังกล่าวไปก่อนนั้นแล้ว<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000103490|title=คนรักรถเชียงราย รวมตัวเรียกร้องจัดการ "ไลค์ดะ" มือตัดต่อภาพ "พ่อขุนฯ"|publisher=[[ผู้จัดการ]]|date=22 สิงหาคม 2555|accessdate=22 สิงหาคม 2555}}</ref>


ในกลางปี พ.ศ. 2556 มีการประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 2 (2nd Asia – Pacific Water Summit : 2nd APWS) หรือ "การประชุมน้ำโลก" ครั้งที่ 2 โดยจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในไฮไลต์การประชุม คือ การแสดงละครเวทีเรื่องราวของพญามังราย โดยผู้ที่รับบทนี้ คือ นาย[[ปลอดประสพ สุรัสวดี]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดการวิจารณ์ไปทั่วถึงเรื่องความเหมาะสม<ref>[http://www.manager.co.th/columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9560000051376 ว่าด้วยปลอดประสพ รับบทพญามังราย โดย บัณรส บัวคลี่ จากผู้จัดการออนไลน์]</ref>
ในกลางปี พ.ศ. 2556 มีการประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 2 (2nd Asia – Pacific Water Summit : 2nd APWS) หรือ "การประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 2" ซึ่งเป็นการประชุมระดับนานาชาติ โดยจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในไฮไลต์การประชุม คือ การแสดงละครเวทีเรื่องราวของพญามังราย โดยผู้ที่รับบทนี้ คือ นาย[[ปลอดประสพ สุรัสวดี]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดการวิจารณ์ไปทั่วถึงเรื่องความเหมาะสม<ref>[http://www.manager.co.th/columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9560000051376 ว่าด้วยปลอดประสพ รับบทพญามังราย โดย บัณรส บัวคลี่ จากผู้จัดการออนไลน์]</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:44, 14 พฤษภาคม 2556

พระราชานุสาวรีย์พญามังราย ที่ ห้าแยกพ่อขุน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ฝีมือปั้นของ ปกรณ์ เล็กฮอน ด้านหลังคือตุงทองสามผืน ฝีมือของ ถวัลย์ ดัชนี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และกนก วิศวะกุล ตามลำดับ

พญามังราย[1] (พ.ศ. 1782—1854[1]) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยฝ่ายเหนือ เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 25 แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงราวเมื่อ พ.ศ. 1804[1] และต่อมาทรงสร้างอาณาจักรล้านนาเมื่อ พ.ศ. 1839 จึงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรดังกล่าวด้วย

พระนาม

พระนาม "มังราย" นั้นปรากฏในศิลาจารึก ตำนาน และเอกสารดั้งเดิมทุกชนิด มีแต่พงศาวดารโยนก ที่ พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) เรียบเรียงขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ และเอกสารในสมัยหลัง ๆ ซึ่งอ้างอิงพงศาวดารโยนก ที่ออกพระนามว่า "เม็งราย"[1]

ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต กล่าวว่า "เม็งราย" เป็นการเขียนที่ผิด[2] อย่างไรก็ดี มีสถานที่หลายแห่งใช้ชื่อว่า "เม็งราย" ไปแล้ว เช่น ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม และค่ายเม็งรายมหาราช ในจังหวัดเชียงราย กับทั้งวัดพระเจ้าเม็งราย ในจังหวัดเชียงใหม่

มีการสันนิษฐานว่า ที่พงศาวดารโยนกเรียก "เม็งราย" เป็นกุศโลบายทางการเมืองของรัฐบาลสยามในสมัยนั้น เพราะเมื่อประเทศอังกฤษได้ประเทศพม่าเป็นอาณานิคมแล้ว ก็หมายจะยึดดินแดนล้านนาด้วย โดยใช้เหตุผลว่า ล้านนาเป็นเมืองขึ้นพม่า เมื่อพม่าเมืองแม่เป็นของอังกฤษแล้ว ล้านนาเมืองลูกย่อมเป็นของอังกฤษตามกันด้วย แม้ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนายังมีพระนามว่า "มังราย" ซึ่งน่าจะบ่งบอกว่าล้านนาเป็นของพม่ามาแต่เดิมแล้ว ("มัง" เป็นคำนำหน้าชื่อชายพม่าชนชั้นสูง เพี้ยนมาจากคำว่า "มิน" เช่น มังมหานรธา มังสามเกียด ฯลฯ) รัฐบาลสยามจึงแต่งประวัติศาสตร์ล้านนาโดยจงใจแก้ "มังราย" เป็น "เม็งราย" และประวัติศาสตร์ดังกล่าวก็ได้รับความนิยมจนมีการอ้างถึงสืบ ๆ มา[3]

พระราชกำเนิด

พระองค์เป็นพระราชโอรสของลาวเมง พระมหากษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงราว กับนางเทพคำขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย พระมหากษัตริย์แห่งเมืองเชียงรุ่งสิบสองพันนา[1]

การรวบรวมแผ่นดิน

การผนวกหัวเมือง

เมื่อเสวยราชย์สืบจากพระราชบิดาใน พ.ศ. 1804 แล้ว พญามังรายหมายพระทัยจะสร้างพระราชอาณาจักรใหม่ จึงทรงรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่ดำรงตนเป็นอิสระให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยทรงเริ่มพระราชภารกิจนี้ในหัวเมืองฝ่ายเหนือก่อน แล้วขยายมาฝ่ายใต้[1]

ในช่วงนั้น ได้ทรงสร้างเมืองเชียงรายเป็นเมืองหลวงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1805[1] และทรงสร้างเมืองฝางเมื่อ พ.ศ. 1816, เมืองชะแว ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลำพูน เมื่อ พ.ศ. 1826, และเวียงกุมกาม ซึ่งบัดนี้อยู่คาบอำเภอเมืองเชียงใหม่และอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1829[1] เมื่อสร้างเมืองใหม่แต่ละครั้ง พญามังรายจะประทับอยู่ที่เมืองนั้น ๆ เสมอ ประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานว่า[4]

"...คงมีพระประสงค์ที่จะสร้างชุมชนขึ้นใหม่ เพื่อรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายกันอยู่ให้มาตั้งเป็นเมืองใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ทรงแสวงหาชัยภูมิที่เหมาะสมจะเป็นเมืองหลวงถาวรของพระองค์ต่อไป"

นอกจากนี้ ยังทรงตีได้เมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำ จึงมีหัวเมืองหลายแห่งมาขออ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น เช่น เมืองร้าง ต่อมาจึงเสด็จไปเอาเมืองเชียงของได้ใน พ.ศ. 1812 และเมืองเซริงใน พ.ศ. 1818[4]

การได้เมืองหริภุญไชย

พญามังรายมีพระราชประสงค์จะได้เมืองหริภุญไชย (ลำพูน) เพราะเป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์การค่าระหว่างประเทศ ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังมีทางน้ำติดต่อถึงเมืองละโว้และเมืองอโยธยาด้วย[4] ทรงพระดำริแล้วก็ทรงให้ข้าราชการคนหนึ่งชื่อ อ้ายฟ้า ปลอมปนเข้าไปเป็นไส้ศึกในเมืองหริภุญไชย[4] ขณะนั้น เมืองหริภุญไชยมีพญาญี่บาเป็นพระมหากษัตริย์[4] อ้ายฟ้าจึงทำให้ชาวหริภุญไชยไม่พอใจพญาญี่บา โดยเกณฑ์พวกเขาไปขุดเหมืองในฤดูร้อนเพื่อถ่ายน้ำปิงมาสู่น้ำกวงเป็นระยะทางสามสิบหกกิโลเมตร[4] ปัจจุบัน เหมืองดังกล่าวก็ยังมีและยังใช้ได้ดีอยู่ด้วย[4]

อ้ายฟ้าดำเนินแผนต่ออีกโดยตัดไม้ซุงลากผ่านที่นาของชาวบ้านในหน้านา ทำให้ข้าวเสียหายเป็นอันมาก โดยอ้ายฟ้าแจ้งประชาชนว่า พญาญี่บาจะทรงสร้างพระราชวังใหม่[4] อ้ายฟ้าบ่อนทำลายเมืองหริภุญไชยอยู่นานเกือบเจ็ดปี[4] ชาวหริภุญไชยจึงเอาใจออกห่างพญาญี่บาเต็มที่ เมื่อพญามังรายทรงกรีธาทัพมายึดเมือง ชาวเมืองก็ให้ความร่วมมือแก่พระองค์เป็นอย่างดี พระองค์ทรงได้เมืองไปโดยง่ายเมื่อ พ.ศ. 1824[4] แต่ชินกาลมาลีปกรณ์ว่าเป็น พ.ศ. 1835 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของประเสริฐ ณ นคร[4]

อาณาเขตของล้านนานในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช

การสถาปนาอาณาจักรล้านนา

เมื่อพญามังรายทรงได้เมืองหริภุญไชยแล้ว ขุนคราม พระราชบุตรพระองค์ที่สองของพญามังราย ก็ตีนครเขลางค์ (ลำปาง) ได้ใน พ.ศ. 1839[5] ในปีนั้นเอง ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ พระราชทานนามเมืองเชียงใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และโปรดให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรใหม่นั้น[1] ในการนี้ นับเป็นการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นโดยปริยาย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ขนานชื่อตามพระนามพระองค์ว่า ราชวงศ์มังราย และพญามังรายก็ทรงชื่อว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์และอาณาจักรทั้งสองด้วย[1]

อาณาเขตของล้านนาในรัชกาลพญามังรายนั้น ทางเหนือถึงเชียงรุ่งและเชียงตุง, ตะวันออกถึงน้ำโขง แต่ไม่รวมเมืองพะเยา เมืองน่าน และเมืองแพร่, ทิศใต้ถึงนครเขลางค์ และตะวันตกถึงอาณาจักรพุกาม (พม่าและมอญ)[6]

การได้อาณาจักรพุกาม

พงศาวดารโยนก ของ พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ว่า ใน พ.ศ. 1833 อาณาจักรพุกามขอเป็นเมืองขึ้นของพระองค์ พญามังรายจึงเสด็จไปเยือนพุกาม และเมื่อนิวัติ ก็ทรงนำช่างฆ้อง ช่างหล่อ ช่างเหล็ก และช่างฝีมืออื่น ๆ กลับมาด้วย แล้วก็โปรดให้ช่างทองไปประจำที่เมืองเชียงตุง[5]

แต่เรื่องดังกล่าวไม่ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์[5] นอกจากนี้ ประเสริฐ ณ นคร แสดงความเห็นว่า ถ้าเกิดขึ้นจริง ควรเป็น พ.ศ. 1843 มากกว่า 1833 เพราะมอญอยู่ในอาณัติของอาณาจักรสุโขทัยภายใต้การปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1841 มอญจะแยกตัวไปหานายใหม่ได้ก็ควรหลัง พ.ศ. 1841[5]

นอกจากนี้ บันทึกของจีนและไทลื้อระบุว่า พญามังรายทรงเคยยกรี้พลไปตีเมืองเชียงรุ่งและอาณาจักรพุกามบางส่วนใน พ.ศ. 1840 และสิบสองพันนาใน พ.ศ. 1844 กับทั้งว่า จีนเคยยกลงมาตีอาณาจักรล้านนาแต่พ่ายกลับไปด้วย[7]

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่ศาลาว่าการจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พญางำเมือง และพญามังราย ตามลำดับ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

พญามังรายทรงมีสัมพันธไมตรีกับพญางำเมือง พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรพะเยา และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยเป็นศิษย์สำนักเดียวกันที่เมืองละโว้[8] ทั้งสามพระองค์เป็นพระสหายร่วมสาบานกันด้วย[8]

เมื่อพญามังรายจะทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาที่เมืองเชียงใหม่นั้น ก็ได้ทรงปรึกษากับพระสหายทั้งสอง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงแนะนำว่า ควรลดขนาดเมืองลดครึ่งหนึ่ง จากเดิมวางผังให้ยาวด้านละสองพันวา เพราะเมื่อเกิดศึกสงครามในอนาคต ผู้คนที่ไม่มากพอจะไม่อาจปกปักรักษาบ้านเมืองที่กว้างขวางถึงเพียงนั้นได้ และพญามังรายทรงเห็นชอบด้วย[8]

มิตรภาพระหว่างพระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์นี้ ทำให้แต่ละพระองค์ทรงสามารถขยายดินแดนไปได้อย่างไม่ต้องทรงพะวงหน้าพะวงหลัง[8]

เจดีย์กู่ค่ำ วัดเจดีย์เหลี่ยม

การปกครอง

ในการปกครองบ้านเมือง พญามังรายทรงอาศัยประมวลกฎหมายที่เรียก "วินิจฉัยมังราย" หรือ "มังรายศาสตร์" ซึ่งเป็นราชศาสตร์ (พระราชบัญญัติประกอบพระธรรมศาสตร์) อันกลั่นกรองมาจากคำวินิจฉัยที่พระมหากษัตริย์มีไว้ แล้วประมวลเข้าเป็นหมวดเป็นหมู่[8] ในรัชกาลพญามังราย วินิจฉัยมังรายมีเพียงยี่สิบสองมาตรา ประกอบด้วย เรื่องการหนีศึก ความชอบในสงคราม หน้าที่ของไพร่ในอันที่จะต้องเข้าเวรมาทำงานหลวงสิบวัน กลับบ้านไปทำไรไถ่นาสิบวัน สลับกันไป และเรื่องที่ดิน[8] ภายหลังมีการแก้ไขเพิ่มเติมจนยาวขึ้นอีกสิบเท่า[8]

วินิจฉัยมังรายฉบับเก่าแก่ที่สุดหลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงฉบับเดียว คือ ที่พบ ณ วัดเสาไห้ คัดลอกเอาไว้เมื่อ พ.ศ. 2342 และต่อมา ราชบัณฑิตยสถานแปลเป็นภาษาปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2514[8]

อนึ่ง พญามังรายทรงให้ช่างก่อเจดีย์กู่คำวัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม[9] พญามังรายยังโปรดให้นายช่างชื่อ การโถม สร้างอารามพระอาหารขึ้นที่เมืองน่าน กับทั้งทรงสร้างพระพุทธมหาปฏิมากรห้าพระองค์ สูงใหญ่เท่าพระวรกายของพระองค์ ตลอดจนมหาวิหารและเจดีย์อีกเป็นมากไว้ที่วัดดังกล่าวด้วย[10] นายช่างการโถมปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้เขาไปครองเมืองรอย (ต่อมาสถาปนาเป็นเมืองเชียงแสน)[10] และพระราชทานนามวัดนั้นว่า "วัดการโถม" (ปัจจุบันคือ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน)[10]

พระราชวงศ์

พญามังรายมีพระราชบุตรเท่าใดไม่ปรากฏชัด แต่ปรากฏว่า พระราชบุตรพระองค์หัวปี พระนามว่า ขุนเครื่อง นั้น ทรงให้ไปครองเมืองเชียงราย แต่ภายหลังคิดกระบถ จึงทรงให้คนไปฆ่าทิ้งเสีย[10] พระราชบุตรพระองค์ที่สอง คือ ขุนคราม ผู้ตีได้นครเขลางค์ดังกล่าวข้างต้น และพระองค์ที่สาม คือ ขุนเครือ โปรดให้กินเมืองพร้าว แต่ต่อมาถูกพระองค์เนรเทศไปเมืองกองใต้ และชาวไทยใหญ่พากันสร้างเมืองใหม่ให้ขุนเครือปกครองแทน[10]

สวรรคต

พญามังรายทรงต้องอสนีบาตถึงแก่พระชนมชีพกลางเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. 1854 สิริพระชนม์เจ็ดสิบสามพรรษา[10] และพญาชัยสงครามเสวยราชย์สืบมา

พ้นรัชกาลพญามังรายแล้ว ราชวงศ์มังรายครอบครองอาณาจักรล้านนาเป็นเอกราชอยู่ระยะหนึ่ง โดยเคยขยายอาณาบริเวณมาครอบคลุมเมืองพะเยา น่าน ตาก แพร่ สวรรคโลก และสุโขทัยด้วย กระทั่ง พ.ศ. 2101 ถูกพม่าตีแตก แล้วก็กลายเป็นเมืองขึ้นพม่าบ้าง เป็นอิสระบ้าง และเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีอยุธยาบ้าง สลับกันไปดังนี้เป็นเวลาสองร้อยปี จนร่วมมือกับอาณาจักรรัตนโกสินทร์ขับพม่าออกจากดินแดนได้อย่างสิ้นเชิง และเข้ารวมเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน[10]

สัญลักษณ์ "ชอบ" ของเฟซบุ๊ก

การอ้างถึงในวัฒนธรรมสมัยนิยม

กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 มีผู้ตัดต่อภาพอนุสาวรีย์พญามังราย โดยนำสัญลักษณ์ "ชอบ" หรือ "ไลก์" (like) ของเฟซบุ๊กไปติดกับพระหัตถ์พญามังราย แล้วนำลงเผยแพร่ในเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" พร้อมทั้งเรียกภาพตัดต่อนั้นว่า "พ่อขุนเม็งไลก์"[11] ส่งผลให้บุคคลจำนวนหนึ่งไม่พอใจและพากันเข้าไปต่อว่าเจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" เป็นข้อความหยาบคายต่าง ๆ แต่เจ้าของเฟซบุ๊กหน้าดังกล่าวยืนยันว่าไม่เป็นความผิด[11][12] ต่อมาวันที่ 19 สิงหาคม 2555 มงคล สิทธิหล่อ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย แถลงว่า เตรียมดำเนินคดีต่อเจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ"[13] และวันที่ 22 สิงหาคม 255 ชาวเชียงรายบางกลุ่มประท้วงเดินขบวนที่บริเวณอนุสาวรีย์พญามังรายในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ขณะที่เจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" เลิกเฟซบุ๊กหน้าดังกล่าวไปก่อนนั้นแล้ว[14]

ในกลางปี พ.ศ. 2556 มีการประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 2 (2nd Asia – Pacific Water Summit : 2nd APWS) หรือ "การประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 2" ซึ่งเป็นการประชุมระดับนานาชาติ โดยจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในไฮไลต์การประชุม คือ การแสดงละครเวทีเรื่องราวของพญามังราย โดยผู้ที่รับบทนี้ คือ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดการวิจารณ์ไปทั่วถึงเรื่องความเหมาะสม[15]

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 ประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 267.
  2. ประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 276.

    "พญาเม็งราย...พระนามที่ถูกต้องว่า พญามังราย ทั้งนี้ ปรากฏตามหลักฐานในศิลาจารึก ตำนาน และเอกสารดั้งเดิมทุกชนิด ยกเว้นพงศาวดารโยนกที่พระยาประชากิจกรจักร์เรียบเรียงขึ้น และเอกสารที่อ้างอิงพงศาวดารโยนกในชั้นหลัง ซึ่งใช้พระนาม เม็งราย"

  3. เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ (2555, 24 สิงหาคม). "750 ปี 'พระญามังราย' หรือ 'พ่อขุนเม็งราย'?". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help).
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 ประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 268.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 277.
  6. ประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 278.
  7. ประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 277-278.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 ประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 269.
  9. ประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 269-270.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 ประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 270.
  11. 11.0 11.1 "วธ.เชียงราย เผยเตรียมเอาผิดเพจ "ไลค์ดะ" ตัดต่อรูปพ่อขุน". ประชาไท. 19 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "รุมประณามแอดมินเฟซบุ๊ก'ไลค์ดะ' แพร่รูปไม่เหมาะสมว่อนเน็ต". ข่าวสด. 19 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "วธ. เชียงราย จ่อแจ้งความเอาผิดมือดีตัดต่อ "พ่อขุนฯ"". ผู้จัดการ. 19 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "คนรักรถเชียงราย รวมตัวเรียกร้องจัดการ "ไลค์ดะ" มือตัดต่อภาพ "พ่อขุนฯ"". ผู้จัดการ. 22 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. ว่าด้วยปลอดประสพ รับบทพญามังราย โดย บัณรส บัวคลี่ จากผู้จัดการออนไลน์
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

แหล่งข้อมูลภายใน
แหล่งข้อมูลภายนอก
  • กรมศิลปากร. (2518). ชินกาลมาลีปกรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บำรุงนุกูลกิจ. ISBN -.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2514). มังรายศาสตร์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เรียบเรียงเป็นภาษาปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ?. ISBN -.
  • พงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. (2507). กรุงเทพฯ: คลังวิทยา. ISBN -.
  • เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (2555, 24 สิงหาคม). 750 ปี 'พระญามังราย' หรือ 'พ่อขุนเม็งราย'?. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ: 9 กันยายน 2555.
  • สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2524). ตำนานสิบห้าราชวงศ์, (เล่มที่ 1). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ISBN -.