ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้ไขคำผิด
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
== หลังเสียกรุง ==
== หลังเสียกรุง ==
[[ไฟล์:พระที่นั่งสรรเพชร.jpg|250px|thumb|การพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ ฐานเดิมพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท ]]
[[ไฟล์:พระที่นั่งสรรเพชร.jpg|250px|thumb|การพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ ฐานเดิมพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท ]]
ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูกรุงเก่าขึ้นให้ดังเดิม ดั่งเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็น[[ราชธานี]]อยู่ โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาทเป็นปราสาทแรกขึ้นใหม่ บนรากฐานเดิมในวังหลวง เพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานคำจารึก[[พระปรมาภิไธย]]พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ก่อสร้างไม่เสร็จ เนื่องจากสิ้นรัชกาลของพระองค์ ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงมีพระราชดำริให้เก็บรักษาพระราชวังหลวงไว้เป็นหลักฐานทางโบราณคดี ตามแบบนานาอารยประเทศในตะวันตกที่เก็บรักษาสิ่งโบราณไว้ จึงโปรดเกล้าให้รื้อที่สร้างไว้ออก แล้วย้ายไปสร้างพระมหาปราสาทชั่วคราวเพื่อการ[[พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก]]แทน
ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์มีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูกรุงเก่าขึ้นให้ดังเดิม ดั่งเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็น[[ราชธานี]]อยู่ โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาทเป็นปราสาทแรกขึ้นใหม่ บนรากฐานเดิมในวังหลวง เพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานคำจารึก[[พระปรมาภิไธย]]พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ก่อสร้างไม่เสร็จ เนื่องจากสิ้นรัชกาลของพระองค์ ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีพระราชดำริให้เก็บรักษาพระราชวังหลวงไว้เป็นหลักฐานทางโบราณคดี ตามแบบนานาอารยประเทศในตะวันตกที่เก็บรักษาสิ่งโบราณไว้ จึงโปรดเกล้าให้รื้อที่สร้างไว้ออก แล้วย้ายไปสร้างพระมหาปราสาทชั่วคราวเพื่อการ[[พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก]]แทน


== ความงดงามในสายตาชาวต่างชาติ ==
== ความงดงามในสายตาชาวต่างชาติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:17, 3 พฤษภาคม 2556

พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท (จำลอง) ภายในเมืองโบราณ

พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท คือพระที่นั่งองค์หนึ่งในเขตพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยพระราขดำริของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจของราชอาณาจักรสยาม พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญของราชสำนักและเป็นที่รับแขกบ้านแขกเมืองของพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รับราชทูต ฯลฯ แต่พระที่นั่งองค์นี้ถูกเผาทำลายลงทั้งองค์เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ จนในปัจจุบันเหลือแต่ฐาน และ กำแพงบางส่วนเท่านั้น

ประวัติ

ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระนครศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาเป็นช่วงเวลาที่กำลังเจริญเติบโตเป็นมหานครขนาดใหญ่ พระองค์จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ย้ายพระราชวังที่ประทับซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง แห่งราชวงศ์อู่ทอง ไปสร้างใหม่ทางตอนเหนือติดกับกำแพงพระนคร และ แม่น้ำ ส่วนในเขตพระราชวังเดิมนั้นได้ทรงถวายให้เป็นเขตพุทธาวาส หรือวัดพระศรีสรรเพชญ์ในปัจจุบัน เป็นที่เข้าใจกันว่าพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังหลวงแห่งใหม่ก็คือ พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปีพุทธศักราช ๑๙๙๑-๒๐๓๑ โดยเป็นไม้ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นอิฐทีหลัง

ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงพระกรุณาฯ ดำรัสสั่งให้เจ้าพระยากลาโหมเป็นแม่กองทำการปฏิสังขรณ์พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาทซึ่งชำรุดอยู่นั้น และโปรดเกล้าให้ปิดทองส่วนยอดทั้งหมด

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าได้ทำลายวัดวาอาราม รวมไปถึงวังหลวงทั้งหมด พระที่นั่งทุกองค์กลายเป็นซากปรัก ที่มิสามารถรื้อฟื้นได้อีก

หลังเสียกรุง

ไฟล์:พระที่นั่งสรรเพชร.jpg
การพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ ฐานเดิมพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูกรุงเก่าขึ้นให้ดังเดิม ดั่งเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีอยู่ โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาทเป็นปราสาทแรกขึ้นใหม่ บนรากฐานเดิมในวังหลวง เพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานคำจารึกพระปรมาภิไธยพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ก่อสร้างไม่เสร็จ เนื่องจากสิ้นรัชกาลของพระองค์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้เก็บรักษาพระราชวังหลวงไว้เป็นหลักฐานทางโบราณคดี ตามแบบนานาอารยประเทศในตะวันตกที่เก็บรักษาสิ่งโบราณไว้ จึงโปรดเกล้าให้รื้อที่สร้างไว้ออก แล้วย้ายไปสร้างพระมหาปราสาทชั่วคราวเพื่อการพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกแทน

ความงดงามในสายตาชาวต่างชาติ

คณะราชทูตลังกาได้กล่าวถึงความงามของพระมหาปราสาทองค์นี้ไว้ว่า "เมื่อถึงเขตพระราชวัง เห็นปราสาทราชมณเฑียรที่ปิดทองอร่าม เจ้าพนักงานนำทูตานุทูตเข้าไปในพระราชวังผ่านประตู ๒ ชั้น ที่ประตูนั้นประดับประดาไปด้วยสีทอง เมื่อล่วงประตูชั้นที่สองเข้าไป ก็ถึงพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท สองข้างมุขเด็จพระที่นั่ง มีรูปภาพต่าง ๆ ตั้งไว้คือ รูปหมี ราชสีห์ รากษส โทวาริก นาค พิราวะยักษ์ รูปทั้งหลายเหล่านี้ปิดทองเหลืองอร่ามทั้งหมด ตรงรูปหมู่ขึ้นไปเป็นราชบัลลังก์ สูงประมาณ ๑๐ คืบ (พระที่นั่งบุษบกมาลา) ตั้งเครื่องสูงรอบราชบัลลังก์" จะเห็นได้ว่า พระที่นั่งองค์นี้นั้น มีพระที่นั่งบุษบกมาลา ซึ่งคล้าย ๆ กับ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระที่นั่งล้วนปิดทองทั้งองค์ งดงามมาก

พระที่นั่งจำลอง

เมืองโบราณได้จำลองพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาทองค์แรกขึ้น จากซากผังอาคารพระที่นั่งในกรุงศรีอยุธยา ประกอบกับหลักฐานต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงหลักฐานจากศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา สถานที่นี้ยังเป็นสถานที่รับรองสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร และพระราชสวามี เมืองโบราณได้จำลองออกมาได้อย่างสวยสดงดงามมาก และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครและภาพยนตร์หลายเรื่อง

กันตนา ได้จำลองพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาทองค์ที่ 2 ขึ้น ที่โรงถ่ายกันตนามูฟวี่ทาวน์ จังหวัดนครปฐม โดยใช้เป็นสถานที่ถ่ายละครของกันตนาเองเป็นส่วนใหญ่

ภายหลัง พร้อมมิตรโปรดักชั่น โดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้จำลองพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาทองคที่ 3 ขึ้น ที่โรงถ่ายพร้อมมิตรฟิล์มสตูดิโอ จังหวัดกาญจนบุรี โดยได้ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

อ้างอิง

  • วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง