ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จีเอ็มเอ็ม ไท หับ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cadilaque (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 27: บรรทัด 27:


=== การตลาด ===
=== การตลาด ===
ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ทางบริษัท ได้นำสินค้าเข้าไปโฆษณาแฝงในภาพยนตร์และละครอย่างเช่น ผู้สนับสนุนการสร้างคือ บริษัท เอพีฮอนด้า เจ้าของผลิตภัณฑ์[[รถจักรยานยนต์]][[ฮอนด้า]] ในภาพยนตร์เรื่อง ''[[รถไฟฟ้า มาหานะเธอ]]'' ให้เหมยลี่มีกิจการที่บ้านเป็นผู้แทนจำหน่ายฮอนด้า <ref>[http://linching2.exteen.com/20091018/entry รถไฟฟ้ามาหานะเธอ]</ref> ก่อนหน้านี้บริษัทเคยให้การสนับสนุนในทำนองนี้กับภาพยนตร์และ[[ซิตคอม]]หลายเรื่อง เช่น ''[[สายล่อฟ้า (ภาพยนตร์)|สายล่อฟ้า]]'' <ref>[http://positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=26937 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกับฮอนด้า มอบรถจักรยานยนต์ให้กับผู้โชคดีจากแคมเปญเรื่อง “สายล่อฟ้า”]</ref> ''[[ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น]]''<ref>[http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=67295 ฮอนด้าส่งไอคอน รุกมูฟวี่ มาร์เก็ตติ้ง ร่วมหนังไทยคุณภาพ “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น”] Positioning Magazine, กุมภาพันธ์ 2551</ref> ''[[ระเบิดเถิดเทิง]]'' {{อ้างอิง}} และ''[[เป็นต่อ]]''<ref>[http://www.positioningmag.com/Magazine/PrintNews.aspx?id=66372 Tie-in เนียนๆ สไตล์เอ็กแซ็กท์] สุกรี แมนชัยนิมิต, Positioning Magazine, มกราคม 2551</ref><ref>[http://www.oknation.net/blog/oam/2008/05/17/entry-1 โฆษณาแฝง ที่แฝงในซิตคอม] oknation</ref>
ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ทางบริษัท ได้นำสินค้าเข้าไปโฆษณาแฝงในภาพยนตร์และละครอย่างเช่น ผู้สนับสนุนการสร้างคือ บริษัท เอพีฮอนด้า เจ้าของผลิตภัณฑ์[[รถจักรยานยนต์]][[ฮอนด้า]] ในภาพยนตร์เรื่อง ''[[รถไฟฟ้า มาหานะเธอ]]'' ให้เหมยลี่มีกิจการที่บ้านเป็นผู้แทนจำหน่ายฮอนด้า <ref>[http://linching2.exteen.com/20091018/entry รถไฟฟ้ามาหานะเธอ]</ref> ก่อนหน้านี้บริษัทเคยให้การสนับสนุนในทำนองนี้กับภาพยนตร์และ[[ซิตคอม]]หลายเรื่อง เช่น ''[[สายล่อฟ้า (ภาพยนตร์)|สายล่อฟ้า]]'' <ref>[http://positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=26937 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกับฮอนด้า มอบรถจักรยานยนต์ให้กับผู้โชคดีจากแคมเปญเรื่อง “สายล่อฟ้า”]</ref> ''[[ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น]]''<ref>[http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=67295 ฮอนด้าส่งไอคอน รุกมูฟวี่ มาร์เก็ตติ้ง ร่วมหนังไทยคุณภาพ “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น”] Positioning Magazine, กุมภาพันธ์ 2551</ref> และ''[[เป็นต่อ]]''<ref>[http://www.positioningmag.com/Magazine/PrintNews.aspx?id=66372 Tie-in เนียนๆ สไตล์เอ็กแซ็กท์] สุกรี แมนชัยนิมิต, Positioning Magazine, มกราคม 2551</ref><ref>[http://www.oknation.net/blog/oam/2008/05/17/entry-1 โฆษณาแฝง ที่แฝงในซิตคอม] oknation</ref>


== บุคคลสำคัญ ==
== บุคคลสำคัญ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:18, 28 เมษายน 2556

บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ โทรทัศน์
ก่อตั้งพ.ศ. 2546
เลิกกิจการ31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่92/1 ซอยสวัสดี
ถนนสุขุมวิท 31
แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม.
บุคลากรหลัก
วิสูตร พูลวรลักษณ์ - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
จินา โอสถศิลป์ - กรรมการผู้จัดการ
ผลิตภัณฑ์สื่อภาพยนตร์ สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
เว็บไซต์www.gth.co.th
โลโก้ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ (GTH) แบบดั้งเดิม

จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือที่นิยมเรียกตามตัวย่อว่า จีทีเอช เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์ไทย เป็นค่ายหนังในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มุ่งเน้นสร้างภาพยนตร์ไทย อย่างครบวงจร การจัดการที่มีมาตรฐานสากล, ผลประโยชน์ที่เป็นธรรมต่อคนทำงานและพร้อมที่จะดูแล โดยยึดหลัก 3 ประการคือ “สดใหม่-คุณภาพ-จริงใจ” ซึ่งทั้งสามประการเปรียบเสมือนคุณลักษณะ ของทั้งสามบริษัทที่มีมาช้านาน โดยได้วางเป้าผลิตหนังไทยใน “กระแสหลัก” และเป็นหนังที่สร้างความพึงพอใจให้กับมวลชน

จีทีเอชเกิดขึ้นหลังจากปี พ.ศ. 2546 เมื่อทั้งหมดร่วมงานสร้างภาพยนตร์ แฟนฉัน และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ต่อมา ภาพยนตร์ของจีทีเอชได้รับความนิยมชมชอบและทำรายได้แทบทุกเรื่อง เช่น ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ, ห้าแพร่ง, รถไฟฟ้า มาหานะเธอ, กวน มึน โฮ, ลัดดาแลนด์, ATM เออรัก เออเร่อ และ พี่มากพระโขนง เป็นต้น

จีทีเอชยังมีบริการบัตรเดบิตชื่อว่า GTH is me โดยร่วมมือกับ ธนาคารกสิกรไทย[1] และมีช่องดาวเทียมและเคเบิลทีวีเป็นของตัวเองในชื่อว่า "เพลย์ แชนแนล"

ประวัติ

การรวมตัวของบริษัท

จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือ จีทีเอช เกิดจากการร่วมทุนของ 3 บริษัท คือ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ของ วิสูตร พูลวรลักษณ์ และหับ โห้ หิ้น ฟิล์ม (ในเครือแกรมมี่) ของ จิระ มะลิกุล โดยชื่อบริษัทใหม่ มาจากชื่อต้น และอักษรย่อหน้าชื่อของบริษัทร่วมทุนทั้งสาม ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ได้แก่ G (51%) T (30%) และ H (19%) [2]

งานสร้างภาพยนตร์

จีทีเอชมุ่งเน้นสร้างหนังไทยในระบบ “สตูดิโอ” ที่ครบวงจร, มีระบบการทำงานที่ชัดเจน, การจัดการที่มีมาตรฐานสากล, ผลประโยชน์ที่เป็นธรรมต่อคนทำงานและพร้อมที่จะดูแลและให้ความช่วยเหลือกับ FILM MAKER ทั้งเก่าและใหม่ อย่างใกล้ชิด โดยยึดหลัก 3 ประการคือ “สดใหม่-คุณภาพ-จริงใจ” ซึ่งทั้งสามประการเปรียบเสมือนคุณลักษณะ ของทั้งสามบริษัทที่มีมาช้านาน โดย GTH ได้วางเป้าผลิตหนังไทยใน “กระแสหลัก” และเป็นหนังที่สร้างความพึงพอใจให้กับมวลชน เป็นค่ายหนังไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมากเป็นอันดับหนึ่ง จากคนในสังคมเมือง และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีหัวคิดทันสมัย โดยการรวมตัวของทั้งสามบริษัท เกิดขึ้นหลังจากปี พ.ศ. 2546 เมื่อทั้งหมดร่วมงานสร้างภาพยนตร์ แฟนฉัน และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง

การตลาด

ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ทางบริษัท ได้นำสินค้าเข้าไปโฆษณาแฝงในภาพยนตร์และละครอย่างเช่น ผู้สนับสนุนการสร้างคือ บริษัท เอพีฮอนด้า เจ้าของผลิตภัณฑ์รถจักรยานยนต์ฮอนด้า ในภาพยนตร์เรื่อง รถไฟฟ้า มาหานะเธอ ให้เหมยลี่มีกิจการที่บ้านเป็นผู้แทนจำหน่ายฮอนด้า [3] ก่อนหน้านี้บริษัทเคยให้การสนับสนุนในทำนองนี้กับภาพยนตร์และซิตคอมหลายเรื่อง เช่น สายล่อฟ้า [4] ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น[5] และเป็นต่อ[6][7]

บุคคลสำคัญ

ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร

ไฟล์:Wisut.jpg
วิสูตร พูลวรลักษณ์ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
ประธานกรรมการ
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จีเอ็มเอ็ม ไท หับ
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา วิสูตร พูลวรลักษณ์
กรรมการ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ
จินา โอสถศิลป์

ผู้อำนวยการสร้าง

บริษัทและกลุ่มธุรกิจในเครือ

ผู้กำกับภาพยนตร์ในสังกัด

นักแสดงหลักในสังกัด

ผลงานภาพยนตร์

ปี พ.ศ. เรื่อง วันเข้าฉาย รายได้สูงสุด (ล้านบาท)
2546 แฟนฉัน 3 ตุลาคม 137.7 ล้านบาท
2547 ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ 9 กันยายน 107.1 ล้านบาท
สายล่อฟ้า 7 ตุลาคม 75 ล้านบาท
แจ๋ว 23 ธันวาคม 60 ล้านบาท
มหา'ลัย เหมืองแร่ 26 พฤษภาคม 30 ล้านบาท
2548 วัยอลวน 4 ตั้ม โอ๋ รีเทิร์น 28 กรกฎาคม 50 ล้านบาท
เพื่อนสนิท 6 ตุลาคม 80 ล้านบาท
2549 เด็กหอ 23 กุมภาพันธ์ 50 ล้านบาท
แก๊งชะนีกับอีแอบ 13 กรกฎาคม 49 ล้านบาท
โกยเถอะโยม 3 สิงหาคม 70 ล้านบาท
Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย 31 สิงหาคม 71.8 ล้านบาท
หมากเตะ รีเทิร์น 19 ตุลาคม 10 ล้านบาท
เก๋า เก๋า 4 ธันวาคม 35 ล้านบาท
2550 Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ 1 กุมภาพันธ์ 25 ล้านบาท
แฝด 29 มีนาคม 67.5 ล้านบาท
ตั๊ดสู้ฟุด 19 กรกฎาคม 80 ล้านบาท
สายลับจับบ้านเล็ก 6 กันยายน 70 ล้านบาท
บอดี้ ศพ#19 4 ตุลาคม 30 ล้านบาท
2551 กอด 21 กุมภาพันธ์ 10 ล้านบาท
ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น 20 มีนาคม 80 ล้านบาท
สี่แพร่ง 24 เมษายน 85 ล้านบาท
รัก/สาม/เศร้า 19 มิถุนายน 60 ล้านบาท
โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต 30 ตุลาคม 50 ล้านบาท
2552 ความจำสั้น แต่รักฉันยาว 5 มีนาคม 49 ล้านบาท
หนีตามกาลิเลโอ 23 กรกฎาคม 30 ล้านบาท
ห้าแพร่ง 9 กันยายน 114 ล้านบาท
รถไฟฟ้า มาหานะเธอ 15 ตุลาคม 147 ล้านบาท
2553 บ้านฉัน..ตลกไว้ก่อน (พ่อสอนไว้) 11 มีนาคม 42 ล้านบาท
กวน มึน โฮ 19 สิงหาคม 125 ล้านบาท
กระดึ๊บ 2 ธันวาคม 14 ล้านบาท
2554 Suck Seed ห่วยขั้นเทพ 17 มีนาคม 80 ล้านบาท
ลัดดาแลนด์ 28 เมษายน 117 ล้านบาท
Top Secret วัยรุ่นพันล้าน 20 ตุลาคม 38 ล้านบาท
2555 ATM เออรัก เออเร่อ 19 มกราคม 152.5 ล้านบาท
รัก 7 ปี ดี 7 หน 26 กรกฎาคม 70 ล้านบาท
เคาท์ดาวน์ 20 ธันวาคม 26 ล้านบาท
2556 พี่มาก..พระโขนง 28 มีนาคม 508 ล้านบาท

ผลงานภาพยนตร์โครงการพิเศษ

ผลงานละคร ซิตคอม ซีรีส์

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ
2551-52 เนื้อคู่ประตูถัดไป 11 ตุลาคม 2551 – 4 เมษายน 2552
2552 สายลับเดอะซีรีส์ กับ 24 คดีสุดห้ามใจ 26 กันยายน – 27 ธันวาคม 2552
2553 เนื้อคู่อยากรู้ว่าใคร 4 มกราคม – 27 ธันวาคม 2553
2554 หมวดโอภาส ยอดมืดปราบคดีพิศวง 11 มิถุนายน – 5 กันยายน 2554
2555-56 หมวดโอภาส เดอะซีรีส์ ปี 2 8 กรกฎาคม 2555 – 20 มกราคม 2556
2556 HORMONES วัยว้าวุ่น 18 พฤษภาคม 2556
GTH Side Story สิงหาคม 2556
ATM 2 คู่เวอร์ เออเร่อ เออรัก พฤศจิกายน 2556
ซุปตาร์ดวงดาว

ผลงานคอนเสิร์ต

ผลงานละครเวที

ช่องดาวเทียมและเคเบิลทีวี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น