ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็องเรียต มารีแห่งฝรั่งเศส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:คู่สมรสของพระมหากษัตริย์อังกฤษ ไปยัง หมวดหมู่:คู่อภิเษกสมรสใน...
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
{{birth|1609}}
{{birth|1609}}
{{death|1669}}
{{death|1669}}
[[หมวดหมู่:คู่สมรสของพระมหากษัตริย์อังกฤษ]]
[[หมวดหมู่:คู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อังกฤษ]]
[[หมวดหมู่:คู่สมรสของพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์]]
[[หมวดหมู่:คู่สมรสของพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์สจวต]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์สจวต]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:14, 26 เมษายน 2556

อ็องเรียต มารีแห่งฝรั่งเศส

เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ประสูติ25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609
พระราชวังลูฟร์ ปารีส ฝรั่งเศส
สิ้นพระชนม์10 กันยายน ค.ศ. 1669(อายุ 59 ปี)
วังแห่งโคลอมบ์ ฝรั่งเศส
จักรพรรดินีพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ
เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
พระบุตรพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
เฮนเรียตตา แอนน์ สจวต
ราชวงศ์สจวต
บูร์บง
พระบิดาพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
พระมารดามารี เดอ เมดีซิส สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

พระนางเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส (อังกฤษ: Henrietta Maria of France) (25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609 - 10 กันยายน ค.ศ. 1669) พระราชินีแห่งอังกฤษ

พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประสูติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609 ที่พระราชวังลูฟร์ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี เดอ เมดีซิส สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส[1] ต่อมาเป็นพระราชินีในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1625 ถึงวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียสิ้นพระชนม์เมื่อ 10 กันยายน ค.ศ. 1669 ที่วังแห่งโคลอมบ์ ฝรั่งเศส พระศพตั้งอยู่ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียเป็นพระราชินีแห่ง ราชอาณาจักรอังกฤษ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ โดยการเสกสมรสกับพระเจ้าชาลส์ และเป็นพระราชมารดาในพระมหากษัตริย์สองพระองค์ คือ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และเป็นพระอัยกีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 3และพระราชินีนาถแมรี และพระราชินีนาถแอนน์

เบื้องต้น

พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียทรงเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และพระอัครมเหสีองค์ที่สองพระนางมาเรีย เด เมดีชี ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียจีงทรงดำรงตำแหน่งเป็น “เจ้าหญิงสืบสายพระโลหิต” เป็นพระขนิษฐาองค์เล็กของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าอ็องรีพระราชบิดาถูกปลงพระชนม์โดยฟร็องซัว ราวายัก (François Ravaillac) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1610 เมื่อเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียทรงมีพระชนมายุได้เพียงไม่ถึงพรรษา เจ็ดปีต่อมาในปี ค.ศ. 1617 พระมารดาก็ทรงถูกขับจากราชสำนัก

เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียทรงได้รับการเลี้ยงดูอย่างโรมันคาทอลิก ทรงเสกสมรสโดยฉันทะ (Marriage by proxy) กับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1625 ไม่นานก่อนที่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 จะขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษ แต่การแต่งงานของทั้งสองพระองค์ไม่เป็นที่นิยมกันในอังกฤษเพราะการที่เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียทรงเป็นผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

การเสกสมรส

เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียทรงเสกสมรสด้วยพระองค์เองกับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 13 มืถุนายน ค.ศ. 1625 แต่การที่ทรงเป็นโรมันคาทอลิกทำให้ไม่สามารถที่จะได้รับการราชาภิเษกกับพระสวามีได้ในพิธีแองกลิคัน ความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์เมื่อเริ่มแรกเป็นไปอย่างเย็นชา พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียทรงนำผู้ติดตามจำนวนหลายคนมาจากฝรั่งเศสซึ่งล้วนแต่เป็นโรมันคาทอลิกและแต่ละคนต่างก็ใช้เงินเก่งจนต้องพระราชทรัพย์จำนวนมากในการบำรุงรักษาสตรีเหล่านั้น กล่าวกันว่าในที่สุดพระเจ้าชาลส์ก็ทรงทนไม่ได้ จึงทรงส่งข้าราชบริพารของพระราชินีกลับฝรั่งเศส เหลือไว้แต่เพียงอนุศาสนาจารย์ และนางสนองพระโอษฐ์อีกสองคน

เดิมพระเจ้าชาลส์ตั้งพระทัยที่จะเสกสมรสกับมาเรีย แอนนาแห่งสเปน พระราชธิดาของพระเจ้าเฟลีเปที่ 3 แห่งสเปน แต่ไม่สำเร็จซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ของพระองค์กับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียเมื่อเริ่มแรกไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น เมื่อทรงพบกันครั้งใดก็ทรงมีปากมีเสียงกันและแยกจากกัน ไม่ได้พบพระพักตร์กันเป็นอาทิตย์

เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียไม่ทรงโปรดจอร์จ วิลเลิร์ส ดยุกที่ 1 แห่งบักกิงแฮม คนโปรดของเจ้าชาลส์ในทันทีที่ทรงพบ แต่หลังจากดยุกแห่งบักกิงแฮมสิ้นชีวิตในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1628 ความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์ก็ค่อยกระเตื้องขึ้นและในที่สุดก็ทรงมีความรักต่อกันอย่างลึกซึ้ง การที่ไม่ทรงยอมเลิกเป็นโรมันคาทอลิกทำให้ไม่เป็นที่พึงพอใจของข้าราชสำนักผู้มีอำนาจเช่นวิลเลียม ลอด อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี และ ทอมัส เว็นเวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ด แต่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 เองทรงมีความเอนเอียงไปทางโรมันคาทอลิก

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย ราวคริสต์ทศศตวรรษ 1630

พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียทรงเพิ่มความมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองในระหว่างคริสต์ทศศตวรรษ 1630 ไม่ทรงโปรดข้าราชสำนักพิวริตัน เมื่อสงครามการเมืองเริ่ม พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียก็ทรงพยายามหาทุนสนับสนุนพระสวามีจากฝ่ายโรมันคาทอลิกในยุโรปเช่นจากสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 หรือจากฝรั่งเศสซึ่งทำให้ทางฝ่ายอังกฤษผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ไม่พอใจ นอกจากนั้นยังทรงมีความเห็นพระทัยต่อผู้นับถือโรมันคาทอลิกเช่นการทรงจัดเร็คเควียมภายในชาเปลส่วนพระองค์ที่วังซอมเมอร์เซ็ทให้กับหลวงพ่อริชาร์ด เบลาท์เมื่อปี ค.ศ. 1638

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1642 เมื่อความขัดแย้งเริ่มต้นในอังกฤษพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประทับอยู่ที่ฝรั่งเศส เพื่อจะหาทุนสนับสนุนฝ่ายกษัตริย์ (Royalist) และไม่ได้เสด็จกลับอังกฤษจนปี ค.ศ. 1643 เมื่อทรงขึ้นฝั่งอังกฤษก็ทรงมาพร้อมกับกองทหารที่บริดลิงตันในยอร์คเชอร์เพื่อมาสมทบกับกองทหารฝ่ายกษัตริย์ของอังกฤษทางตอนเหนือ และทรงตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ยอร์ก พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประทับอยู่กับกองทหารทางเหนืออยู่หลายเดือนก่อนที่เสด็จลงมาพบกับพระเจ้าชาลส์ที่อ็อกฟอร์ด การที่สถานะการณ์ของพระเจ้าชาลส์ทรุดลงหลังจากการแทรกแซงของสกอตแลนด์ และการที่พระเจ้าชาลส์ไม่ทรงยอมรับข้อตกลงของรัฐบาลในการสงบศึกทำให้พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียเสด็จหนีไปฝรั่งเศสพร้อมกับพระโอรสในปี ค.ศ. 1644 พระเจ้าชาลส์ถูกสำเร็จโทษในปี พระเจ้าชาลส์ ค.ศ. 1649 ทิ้งพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียให้ฐานะที่เกือบไม่มีทรัพย์สินใดใดเหลือ

อ้างอิง

  1. Catholic Encyclopedia, Maria de' Medici[1]


ดูเพิ่ม