ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเปรู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
K7L (คุย | ส่วนร่วม)
→‎แหล่งอื่น: ‎แหล่งข้อมูลอื่น using AWB
Phat21 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 170: บรรทัด 170:


ในปี พ.ศ. 2550 เปรูมีสภาพเศรษฐกิจดีที่สุดในรอบ 40 ปี<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/research/backgrounders/displaybackgrounder.cfm?bg=709221|title=Background of Peru |publisher=The Economist }}. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551.{{en icon}}</ref> และเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในทวีป (ประมาณร้อยละ 9.2 ใน พ.ศ. 2550) ซึ่งเป็นผลจากการที่ราคาแร่ธาตุสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ การลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคภายในประเทศยังเติบโตสูงขึ้นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ความร่ำรวยและความเจริญกลับกระจายไม่ทั่วถึงประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่เมืองที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและทางตอนเหนือของประเทศมีเศรษฐกิจที่เจริญเติบโต เมืองทางตอนใต้แถบ[[เทือกเขาแอนดีส]]ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็กกลับมีอัตราประชากรยากจนสูงถึงร้อยละ 70<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/world/la/displaystory.cfm?story_id=11332813 |title=Poverty amid progress|publisher=The Economist |date=2008-05-08}}. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551. {{en icon}}</ref>
ในปี พ.ศ. 2550 เปรูมีสภาพเศรษฐกิจดีที่สุดในรอบ 40 ปี<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/research/backgrounders/displaybackgrounder.cfm?bg=709221|title=Background of Peru |publisher=The Economist }}. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551.{{en icon}}</ref> และเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในทวีป (ประมาณร้อยละ 9.2 ใน พ.ศ. 2550) ซึ่งเป็นผลจากการที่ราคาแร่ธาตุสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ การลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคภายในประเทศยังเติบโตสูงขึ้นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ความร่ำรวยและความเจริญกลับกระจายไม่ทั่วถึงประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่เมืองที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและทางตอนเหนือของประเทศมีเศรษฐกิจที่เจริญเติบโต เมืองทางตอนใต้แถบ[[เทือกเขาแอนดีส]]ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็กกลับมีอัตราประชากรยากจนสูงถึงร้อยละ 70<ref> {{cite web |url=http://www.economist.com/world/la/displaystory.cfm?story_id=11332813 |title=Poverty amid progress|publisher=The Economist |date=2008-05-08}}. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551. {{en icon}}</ref>


ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

168.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

GDP รายบุคคล

10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

6.2% (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

GDP แยกตามภาคการผลิต

ภาคการเกษตร 10%
ภาคอุตสาหกรรม 35%
ภาคการบริการ 55% (ค่าประมาณ พ.ศ.2553)
อัตราการว่างงาน

6.8% (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

3% (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

ผลผลิตทางการเกษตร

หน่อไม้ฝรั่ง กาแฟ ฝ้าย อ้อย ข้าว มันฝรั่ง ข้าวโพด กล้วยกล้าย(Plantain: กล้าย พบและใช้รับประทานมากในทวีปแอฟริกา) องุ่น ส้ม โกโก้ สัตว์ปีก เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์นม ปลา หมูกินนี

อุตสาหกรรม

เหมืองแร่ เหล็ก โลหะปลอม ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ อุปกรณ์ตกปลา สิ่งทอ เสื้อผ้า อาหาร

อัตราการเติบโตภาคอุตสาหกรรม

6.6% (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

หนี้สาธารณะ

21.9% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

ดุลบัญชีเดินสะพัด

ขาดดุล 2.129 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

มูลค่าการส่งออก

43.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

สินค้าส่งออก

ทองแดง ทองคำ สังกะสี ปิโตรเลียมดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กาแฟ มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง สิ่งทอ หมูกินนี

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ

จีน 18.4 % สหรัฐอเมริกา 16.1% แคนาดา 11.7% ญี่ปุ่น 6.6% เยอรมนี 4.5% สเปน 4% (ค่าประมาณ พ.ศ.2553)

มูลค่าการนำเข้า

36.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

สินค้านำเข้า

ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม พลาสติก เครื่องจักร ยานพาหนะ แร่เหล็กและเหล็ก ข้าวสาลี กระดาษ

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ

สหรัฐอเมริกา 24.7% จีน 13% บราซิล 7.4% เอกวาดอร์ 4.7% ชิลี 4.3% โคลอมเบีย 4.2% (ค่าประมาณปี พ.ศ.2553)

สกุลเงิน

นวยโบซอล (PEN)


== ประชากร ==
== ประชากร ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:09, 22 เมษายน 2556

สาธารณรัฐเปรู

República del Perú (สเปน)
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติSomos libres, seámoslo siempre
"เราเป็นอิสระ ขอให้เป็นเช่นนั้นตลอดไป"
ที่ตั้งของเปรู
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ลิมา
ภาษาราชการภาษาสเปน[1]
การปกครองสาธารณรัฐระบอบรัฐสภา
โอยันตา อูมาลา
โอสการ์ บัลเดส
เอกราช 
จาก สเปน
• ประกาศ
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2364
พื้นที่
• รวม
1,285,220 ตารางกิโลเมตร (496,230 ตารางไมล์) (20)
8.80%
ประชากร
• สำมะโนประชากร 2550
28,220,764
21.7 ต่อตารางกิโลเมตร (56.2 ต่อตารางไมล์) (183)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2551 (ประมาณ)
• รวม
217.5 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (50)
7,600 ดอลลาร์สหรัฐ (113)
เอชดีไอ (2550)0.806
สูงมาก · 78
สกุลเงินนวยโบซอล (PEN)
เขตเวลาUTC-5
รหัสโทรศัพท์51
โดเมนบนสุด.pe
  1. เกชัวและไอย์มาราเป็นภาษาทางการในระดับท้องถิ่น

ประเทศเปรู (สเปน: Perú) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู (สเปน: República del Perú) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก

ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส[1] ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2364

ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บีรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา[2] โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065[3] ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปีซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่า บีรูหรือเปรูด้วย[4] จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี พ.ศ. 2072 ในเอกสาร กาปีตูลาซีออนเดโตเลโด ซึ่งตั้งจังหวัดเปรูบริเวณจักรวรรดิอินคาเดิม[5]

ภูมิศาสตร์

ไฟล์:Peru veg 1970.jpg
แผนที่แสดงเขตพืชพรรณที่แตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ

เปรูมีพื้นที่ 1,285,220 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดกับเอกวาดอร์และโคลอมเบียทางเหนือ บราซิลทางตะวันออก โบลิเวียทางตะวันออกเฉียงใต้ ชิลีทางใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตก ประเทศเปรูมีเทือกเขาแอนดีสพาดผ่านขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แบ่งประเทศออกเป็นสามภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ พื้นที่ชายฝั่งหรือโกสตา (costa) ทางตะวันตก เป็นที่ราบแคบและแห้งแล้งยกเว้นบริเวณหุบเขาซึ่งเกิดจากแม่น้ำตามฤดูกาล เขตที่สูงหรือเซียร์รา (sierra) เป็นภูมิภาคบนเทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ราบสูงอัลตีปลาโน (Altiplano) เช่นเดียวกับอวสการัน (Huascarán) จุดที่สูงที่สุดของประเทศ 6,768 เมตร[6] ส่วนที่สามคือเขตป่ารกทึบหรือเซลบา (selva) เป็นที่ราบกว้างขวาง ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นแอมะซอน เกือบร้อยละ 60 ของพื้นที่ประเทศอยู่ในส่วนนี้[7]

แม่น้ำส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีส และไหลลงสู่เขตลุ่มน้ำสามแห่งของเปรู แม่น้ำที่ไหลไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นสูงชันและสั้น ไหลอย่างไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่สายที่ไหลไปทางแม่น้ำแอมะซอนนั้นยาวกว่า มีกระแสน้ำมากกว่า และสูงชันน้อยกว่าเมื่อไหลออกจากเขตที่สูง ส่วนแม่น้ำที่ไหลไปยังทะเลสาบตีตีกากาส่วนใหญ่จะสั้นและมีกระแสน้ำมาก[8] แม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับต้น ๆ ของเปรูได้แก่ แม่น้ำอูกายาลี แม่น้ำมาราญอน แม่น้ำปูตูมาโย แม่น้ำยาบารี แม่น้ำอัวยากา แม่น้ำอูรูบัมบา แม่น้ำมันตาโร และแม่น้ำแอมะซอน[9]

เปรูไม่ได้มีเฉพาะภูมิอากาศแบบเขตร้อนเหมือนประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรทั่วไป อิทธิพลของเทือกเขาแอนดีสและกระแสน้ำฮุมโบลดท์ทำให้เปรูมีความหลากหลายทางภูมิอากาศ เขตชายฝั่งมีอากาศอบอุ่น ปริมาณน้ำฝนต่ำ และความชื้นสูง ยกเว้นส่วนเหนือสุดที่ร้อนกว่าและฝนตกมากกว่า[10] โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ บริเวณชายฝั่งตอนเหนือจะมีฝนตกหนักมาก[11] เขตที่สูง มีฝนตกบ่อยในฤดูร้อน อุณหภูมิและความชื้นลดลงตามความสูง[12] ส่วนเขตป่ารกทึบมีจุดสำคัญที่ฝนตกหนักและอุณหภูมิสูง ยกเว้นส่วนใต้สุดที่มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฝนตกตามฤดูกาล[13] จากภูมิประเทศและภูมิอากาศที่หลากหลาย ทำให้เปรูมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยจนถึงปี พ.ศ. 2546 พบพืชและสัตว์แล้วถึง 21,462 ชนิด ในจำนวนนั้น 5,855 เป็นสปีชีส์เฉพาะถิ่น[14]

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนอินคา

เส้นนัซกา

ปรากฏร่องรอยของมนุษย์กลุ่มแรกในบริเวณประเทศเปรูตั้งแต่ประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช[15] อารยธรรมการัลซึ่งเป็นสังคมที่เก่าแก่ที่สุดในเปรูเจริญขึ้นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในระหว่าง 2,500 ถึง 1,300 ปีก่อนพุทธศักราช[16]

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่มากมายในประเทศเปรู แสดงให้เห็นว่ามีอารยธรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนอินคา อารยธรรมชาบินเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดอารยธรรมหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ ศูนย์กลางอยู่บริเวณชายฝั่งตอนกลางของเปรู โบราณสถานที่สำคัญคือ ชาบินเดอวนตาร์ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงลิมา

ในยุคต่อมา อารยธรรมโมเชพัฒนาขึ้นบริเวณชายฝั่งตอนเหนือของเปรู และภายหลังพัฒนากลายเป็นอารยธรรมชีมู ส่วนทางตอนใต้ของเปรู อารยธรรมนัซกาได้ถือกำเนิดขึ้นบริเวณชายฝั่งในช่วงระยะเวลาเดียวกับอารยธรรมโมเช ร่องรอยอารยธรรมที่สำคัญคือเส้นนัซกา นอกจากนี้ ยังมีอารยธรรมตีวานากู ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ใกล้กรุงลาปาซในประเทศโบลิเวีย และอารยธรรมอัวรีซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณแคว้นไออากูโช ทางตอนใต้ของเปรู[17]

ยุคอินคา

การต่อสู้ระหว่างสเปนกับอินคา

อาณาจักรอินคาก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เริ่มมีอำนาจขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1981 ในสมัยของปาชากูตี กษัตริย์องค์ที่ 9 อินคาค่อย ๆ ขยายอาณาเขตออกไปจากศูนย์กลางที่เมืองกุสโกทั้งโดยวิธีทางการทูตและการสู้รบ จักรวรรดิขยายใหญ่จนถึงที่สุดในยุคของอวยนา กาปัก กษัตริย์องค์ที่ 11 ครอบคลุมบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของประเทศโคลอมเบียไปจนถึงตอนกลางของประเทศชิลี รวมทั้งบริเวณประเทศโบลิเวีย และตอนเหนือของประเทศอาร์เจนตินา

ก่อนที่อวยนา กาปักจะสวรรคต ได้ทรงแบ่งดินแดนอินคาให้แก่อาตาอวลปาและอวสการ์ พระราชโอรสทั้งสอง แต่พระราชโอรสทั้งสองไม่พอพระทัย ต้องการปกครองแผ่นดินแต่เพียงพระองค์เดียว จึงเกิดการสู้รบเพื่อแย่งแผ่นดินกันขึ้น ในที่สุดอาตาอวลปาก็เป็นฝ่ายชนะ

ในขณะที่ดินแดนอินคากำลังวุ่นวายด้วยสงครามแย่งชิงอำนาจและโรคระบาด ฟรันซิสโก ปีซาร์โร นักสำรวจชาวสเปนกับกำลังพลเพียง 167 คน ได้เดินทางมาเข้าพบอาตาอวลปาขณะที่กำลังพักผ่อนหลังเสร็จสงครามและจับพระองค์เป็นตัวประกัน ชาวอินคามอบทองคำและเงินเป็นจำนวนมากให้แก่ปีซาร์โรเพื่อเป็นค่าไถ่ให้ปล่อยตัวจักรพรรดิของตน แต่ปีซาร์โรกลับไม่ยอมรักษาคำพูดและประหารพระองค์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2075[18]

การปกครองของสเปน

มาชูปิกชู หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

ในปี พ.ศ. 2075 กองทัพผู้พิชิตของสเปนนำโดยฟรันซิสโก ปีซาร์โร เอาชนะจักรพรรดิอินคาอาตาอวลปา และผนวกเข้าอยู่ใต้การปกครองของสเปน ปีซาร์โรตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ลิมาซึ่งกลายเป็นเมืองหลวงของประเทศเปรูในปัจจุบัน สิบปีถัดมา จักรวรรดิสเปนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์กได้ตั้งเขตอุปราชแห่งเปรู ซึ่งครอบคลุมอาณานิคมในอเมริกาใต้เกือบทั้งหมด[19] ประมาณสามสิบปีถัดมา อุปราชฟรันซิสโก เด โตเลโดจัดระเบียบดินแดนในปกครองของตนใหม่ ด้วยการทำเหมืองแร่เงินเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักและใช้แรงงานชาวพื้นเมือง[20] ทองแท่งจากเปรูเป็นแหล่งรายได้ของเจ้าสเปนและส่งเสริมเครือข่ายการค้าที่ซับซ้อนที่ไปไกลถึงยุโรปและฟิลิปปินส์[21] อย่างไรก็ตาม ในอีกสองศตวรรษต่อมา การผลิตแร่เงินและการกระจายของเศรษฐกิจที่ลดลงทำให้รายได้ของเจ้าสเปนลดลง[22] จึงทำให้สำนักเจ้าของสเปนประกาศการปฏิรูปบูร์บง ซึ่งประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาเพิ่มภาษีและแยกส่วนเขตอุปราชแห่งเปรู[23] กฎหมายใหม่นี้กระตุ้นให้เกิดการกบฏของตูปัก อามารูที่ 2 และความพยายามปฏิวัติอื่น ๆ ซึ่งพ่ายแพ้ทั้งหมด[24] ในช่วงสงครามประกาศเอกราชในอเมริกาใต้ เปรูยังคงเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ แต่เปรูก็กลายเป็นประเทศเอกราชจากการต่อสู้ของโฮเซ เด ซาน มาร์ติน และซีมอง โบลีวาร์[25]

สาธารณรัฐเปรู

ในช่วงแรกของการเป็นสาธารณรัฐ การแก่งแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางการเมือง[26] อัตลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นในยุคนี้ จากการที่แนวความคิดสหพันธ์อเมริกาใต้ของโบลีวาร์และสหภาพกับโบลิเวียไม่ประสบความสำเร็จ[27] ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 เปรูมีเสถียรภาพภายใต้การนำของประธานาธิบดีรามอน กัสตียา ด้วยรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออกปุ๋ยขี้นก (guano) [28] อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรเหล่านี้ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว เปรูมีหนี้สินอย่างหนัก และการต่อสู้ทางการเมืองก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง[29]

เปรูพ่ายแพ้ต่อชิลีในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2422 ถึง 2427 เสียดินแดนจังหวัดอารีกาและตาราปากาในสนธิสัญญาอังกอนและลิมา หลังจากปัญหาภายในประเทศหลังสงคราม เปรูกลับมามีเสถียรภาพภายใต้การนำของพรรคซีบิล ซึ่งสิ้นสุดลงหลังเอากุสโต เบ. เลกีอาขึ้นเป็นผู้นำประเทศ[30] เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทำให้เลกีอาถูกล้มจากอำนาจ และกำเนิดพันธมิตรประชาชนปฏิวัติอเมริกา (Alianza Popular Revolucionaria Americana) [31] การแข่งขันระหว่างกลุ่มนี้กับกลุ่มชนชั้นสูงและกองทัพเป็นส่วนสำคัญของการเมืองเปรูในอีกสามทศวรรษถัดมา[32]

ในปี พ.ศ. 2511 กองทัพเปรูนำโดยนายพลควน เบลัสโก อัลบาราโด ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากประธานาธิบดีเฟร์นันโด เบลาอุนเด รัฐบาลใหม่ทำการปฏิรูปครั้งใหญ่ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่าไรนัก[33] ในปี พ.ศ. 2518 นายพลฟรันซิสโก โมราเลส เบร์มูเดซ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทนเบลัสโก ยุติการปฏิรูปและนำประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง[34] หลังยุคของโมราเลสในปี 2523 เปรูประสบปัญหาหนี้ต่างประเทศสูง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ การขนส่งยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และปัญหาการเมืองที่การใช้กำลังอย่างรุนแรง[35] ภายใต้การนำของประธานาธิบดีอัลเบร์โต ฟูจิโมริ พ.ศ. 2533-2543 ประเทศเปรูก็เริ่มฟื้นตัวด้วยการปฏิรูปทางการเมืองและการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อการร้าย แต่ฟูจิโมริก็ถูกกล่าวหาเรื่องอำนาจนิยม การทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้เขาต้องลาออกและหนีออกนอกประเทศหลังจากการเลือกตั้งครั้งปัญหาในปี พ.ศ. 2543[36] ประชาธิปไตยกลับคืนสู่เปรูอีกครั้งในสมัยของประธานาธิบดีอาเลคันโดร โตเลโด ซึ่งนับแต่นั้นเป็นต้นมา เปรูพยายามกำจัดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และสามารถรักษาสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีไว้ได้[37] ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคืออาลัน การ์ซีอา

การปกครอง

สภาเปรูประชุมกันที่รัฐสภา (Palacio Legislativo) ในกรุงลิมา

เปรูเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ใช้ระบอบประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล โดยได้รับเลือกตั้งเข้ามาอยู่ในตำแหน่งห้าปี และไม่สามารถได้รับเลือกอีกในสมัยถัดไปทันทีได้[38] ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่เหลือตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี[39] รัฐสภาของเปรูเป็นแบบสภาเดียว มีสมาชิก 120 คน ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลาห้าปี[40] ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารสามารถเริ่มเสนอร่างกฎหมายได้ โดยร่างกฎหมายจะต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาและประกาศใช้โดยประธานาธิบดี[41] สถาบันตุลาการเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ[42] แต่มีการแทรกแซงฝ่ายตุลาการบ่อยครั้งตลอดประวัติศาสตร์[43]

รัฐบาลเปรูได้รับการเลือกตั้งโดยตรง และการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีจนถึง 70 ปี[44] ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2549 อาลัน การ์ซีอา จากพรรคอาปริสตาเปรู ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเหนือโอยันตา อูมาลาจากสหภาพเพื่อเปรู[45] สภาปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกจากพรรคอาปริสตาเปรู 36 คน พรรคชาตินิยมเปรู 23 คน พรรคสหภาพเพื่อเปรู 19 คน พรรคเอกภาพแห่งชาติ 15 คน พันธมิตรเพื่ออนาคต 13 คน พันธมิตรรัฐสภา 9 คน และกลุ่มรัฐสภาพิเศษ 5 คน[46]

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศของเปรูที่ผ่านมามักเกี่ยวพันกับปัญหาข้อพิพาทพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ตกลงกันได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20[47] ปัจจุบันเปรูมีข้อพิพาทกับชิลีเรื่องน่านน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก[48] เปรูเป็นสมาชิกของกลุ่มในภูมิภาคหลายกลุ่ม เป็นสมาชิกก่อตั้งของประชาคมแอนดีส และเป็นสมาชิกขององค์กรรัฐอเมริกา กองทัพเปรูประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มีหน้าที่หลักคือดูแลความปลอดภัยของอิสรภาพ เอกราช และบูรณภาพดินแดนของประเทศ[49] กองกำลังของเปรูอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงกลาโหม และประธานาธิบดีในฐานะผู้บัญชาการสูงสุด การเกณฑ์ทหารถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2542 และเปลี่ยนมาใช้การเป็นทหารโดยสมัครใจแทน[50]

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แคว้นต่าง ๆ ของเปรู

ประเทศเปรูแบ่งการปกครองออกเป็น 25 แคว้น (สเปน: región) แต่ละแคว้นแบ่งออกเป็นจังหวัด (provincia) และเขต (distrito) ย่อยลงมาตามลำดับ [ยกเว้นจังหวัดลิมา (Provincia de Lima) ซึ่งเป็นเอกเทศไม่อยู่ในแคว้นใด] แต่ละแคว้นเลือกรัฐบาลท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วยประธานและสภา มีวาระ 4 ปี[51] รัฐบาลท้องถิ่นดูแลเรื่องการพัฒนาภูมิภาค โครงการลงทุนสาธารณะ ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการจัดการทรัพย์สินสาธารณะ[52] จังหวัดลิมาบริหารโดยเทศบาลมหานครลิมา[53]

แคว้นต่าง ๆ ของเปรู และเมืองหลักของแคว้นได้แก่

และจังหวัดลิมา มีเมืองหลักคือลิมา เมืองหลวงของประเทศ

กองทัพ

กองทัพบก

กองทัพอากาศ

กองทัพเรือ

กองกำลังกึ่งทหาร


เศรษฐกิจ

แผนที่กิจกรรมเศรษฐกิจของเปรู (พ.ศ. 2513)

เปรูเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ เขตภูเขาอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เปรูจึงเป็นผู้ผลิตแร่ธาตุรายใหญ่ของโลก เช่นทองแดง (อันดับ 3 ของโลก) ตะกั่ว (อันดับ 4 ของโลก) เงิน (อันดับ 1 ของโลก) สังกะสี (อันดับ 3 ของโลก) ดีบุก (อันดับ 3 ของโลก) [54] น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ส่วนทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกมีสภาพเอื้ออำนวยต่อการประมง[55] ผลิตภัณฑ์การเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ มันฝรั่ง[56] ข้าวโพด ผลไม้ ต้นโคคา และการปศุสัตว์[55] นอกจากนี้ ทรัพยากรการท่องเที่ยวของเปรู เช่น มาชูปิกชู เมืองกุสโก และป่าดิบชื้นบริเวณแม่น้ำแอมะซอนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก[57] [58]

เปรูมีรายได้ต่อประชากรปี (พ.ศ. 2549) อยู่ที่ 3,374 ดอลลาร์สหรัฐ ร้อยละ 39.3 ของประชากรเป็นคนจน รวมถึงร้อยละ 13.7 ที่อยู่ในระดับจนมาก[59] การบริการมีส่วนร้อยละ 52.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ปี พ.ศ. 2550 ตามด้วยอุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิร้อยละ 23.2 อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิร้อยละ 14.2 และภาษีร้อยละ 9.7[60] สินค้าส่งออกที่สำคัญของเปรู ได้แก่ ทองแดง ทอง สังกะสี ปิโตรเลียม กาแฟ และสิ่งทอ ส่วนการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบและสินค้าทุนสำหรับอุตสาหกรรม ประเทศคู่ค้าหลักของเปรูได้แก่สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล ชิลี แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โคลอมเบีย และเอกวาดอร์[61]

นโยบายเศรษฐกิจของเปรูมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2511-2518 รัฐบาลควน เบลัสโก อัลบาราโดมีการปฏิรูปหลายอย่างเช่น การปฏิรูปที่ดินทางการเกษตร ยึดบริษัทต่างชาติหลายแห่งมาเป็นของรัฐบาล การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนและการขยายภาครัฐบาล ถึงแม้การปฏิรูปเหล่านี้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่จะปรับการกระจายรายได้และยุติการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้ก็ตาม[62] แต่นโยบายปฏิรูปเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คงอยู่จนปี พ.ศ. 2533 เมื่อรัฐบาลของนายอัลเบร์โต ฟูจิโมริยกเลิกการควบคุมราคา การแทรกแซงทางการค้า การควบคุมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และดำเนินการแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่[63] การปฏิรูปเสรีนี้เหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจเปรูมีการเติบโตอย่างมั่นคงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ยกเว้นแต่ช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540[64]

ในปี พ.ศ. 2550 เปรูมีสภาพเศรษฐกิจดีที่สุดในรอบ 40 ปี[65] และเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในทวีป (ประมาณร้อยละ 9.2 ใน พ.ศ. 2550) ซึ่งเป็นผลจากการที่ราคาแร่ธาตุสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ การลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคภายในประเทศยังเติบโตสูงขึ้นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ความร่ำรวยและความเจริญกลับกระจายไม่ทั่วถึงประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่เมืองที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและทางตอนเหนือของประเทศมีเศรษฐกิจที่เจริญเติบโต เมืองทางตอนใต้แถบเทือกเขาแอนดีสซึ่งส่วนใหญ่ประกอบการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็กกลับมีอัตราประชากรยากจนสูงถึงร้อยละ 70[66]


ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

168.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

GDP รายบุคคล

10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

6.2% (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

GDP แยกตามภาคการผลิต

ภาคการเกษตร 10% ภาคอุตสาหกรรม 35% ภาคการบริการ 55% (ค่าประมาณ พ.ศ.2553) อัตราการว่างงาน

6.8% (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

3% (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

ผลผลิตทางการเกษตร

หน่อไม้ฝรั่ง กาแฟ ฝ้าย อ้อย ข้าว มันฝรั่ง ข้าวโพด กล้วยกล้าย(Plantain: กล้าย พบและใช้รับประทานมากในทวีปแอฟริกา) องุ่น ส้ม โกโก้ สัตว์ปีก เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์นม ปลา หมูกินนี

อุตสาหกรรม

เหมืองแร่ เหล็ก โลหะปลอม ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ อุปกรณ์ตกปลา สิ่งทอ เสื้อผ้า อาหาร

อัตราการเติบโตภาคอุตสาหกรรม

6.6% (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

หนี้สาธารณะ

21.9% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

ดุลบัญชีเดินสะพัด

ขาดดุล 2.129 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

มูลค่าการส่งออก

43.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

สินค้าส่งออก

ทองแดง ทองคำ สังกะสี ปิโตรเลียมดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กาแฟ มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง สิ่งทอ หมูกินนี

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ

จีน 18.4 % สหรัฐอเมริกา 16.1% แคนาดา 11.7% ญี่ปุ่น 6.6% เยอรมนี 4.5% สเปน 4% (ค่าประมาณ พ.ศ.2553)

มูลค่าการนำเข้า

36.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2554)

สินค้านำเข้า

ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม พลาสติก เครื่องจักร ยานพาหนะ แร่เหล็กและเหล็ก ข้าวสาลี กระดาษ

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ

สหรัฐอเมริกา 24.7% จีน 13% บราซิล 7.4% เอกวาดอร์ 4.7% ชิลี 4.3% โคลอมเบีย 4.2% (ค่าประมาณปี พ.ศ.2553)

สกุลเงิน

นวยโบซอล (PEN)

ประชากร

ไฟล์:ชาวเปรูพื้นเมือง.JPG
ชาวเปรูพื้นเมือง

เปรูมีประชากรประมาณ 28 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของทวีปอเมริกาใต้จากข้อมูลปี พ.ศ. 2550[67] โดยการเติบโตของจำนวนประชากรลดลงจากร้อยละ 2.6 เหลือร้อยละ 1.6 ในช่วงปี พ.ศ. 2493 ถึง 2543 โดยคาดการณ์ว่าจะมีประชากรประมาณ 42 ล้านคนในปี พ.ศ. 2593[68] จากข้อมูลปี 2548 ร้อยละ 72.6 ของประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมือง และร้อยละ 27.4 ในเขตชนบท[69] เมืองหลักของเปรูได้แก่ ลิมา อาเรกีปา ตรูคีโย ชีกลาโย ปิวรา อีกีโตส ชิมโบเต กุสโก และอวงกาโย ซึ่งมีประชากรมากกว่าสองแสนคนในการสำรวจปี พ.ศ. 2536[70]

เปรูเป็นสังคมพหุชาติพันธุ์ที่เกิดจากการรวมตัวของหลายเชื้อชาติตลอดช่วงห้าศตวรรษ โดยชนพื้นเมืองเปรูอาศัยอยู่ในเปรูเป็นเวลานับพันปีก่อนที่สเปนจะเข้าครอบครองในพุทธศตวรรษที่ 21 ประชากรพื้นเมืองลดลงในช่วงประมาณร้อยปี จากเก้าล้านคนเหลือเพียงประมาณหกแสนคนจากโรคติดต่อ[71] ชาวสเปนและชาวแอฟริกาจำนวนมากเข้ามาในยุคอาณานิคม หลังได้รับเอกราช มีชาวยุโรปอพยพเพิ่มขึ้น จากอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และสเปน[72] ชาวจีนเข้ามาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ทดแทนแรงงานทาส และได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของสังคมเปรู[73]

ภาษาทางการของเปรูคือ ภาษาสเปน ซึ่งเป็นภาษาแม่ของชาวเปรูที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปร้อยละ 80.3 (พ.ศ. 2536) และภาษาเกชัวซึ่งมีประชากรร้อยละ 16.5 พูดภาษานี้ (พ.ศ. 2536) มีผู้พูดภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ และภาษาต่างประเทศร้อยละ 3 และร้อยละ 0.2 ของประชากรตามลำดับ[74] จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2549 ประชากรร้อยละ 85 ระบุว่าตัวเองนับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 11 นับถือนิกายโปรเตสแตนต์[75] อัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ร้อยละ 88.9 โดยอัตราในชนบท (ร้อยละ 76.1) ต่ำกว่าในเมือง (ร้อยละ 94.8) [76] การศึกษาขั้นประถมและมัธยมเป็นการศึกษาบังคับและบริการแบบให้เปล่า (ฟรี) ในโรงเรียนของรัฐ[77]

วัฒนธรรม

เซบีเชของเปรู
อินตีไรย์มี จัดขึ้นที่ซักไซย์อัวมัน

วัฒนธรรมเปรูมีรากฐานอยู่บนวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมสเปน[78] ศิลปะของเปรูย้อนกลับไปได้ถึงเครื่องปั้นเดิมเผา สิ่งทอ เพชรพลอย และการแกะสลักของวัฒนธรรมยุคก่อนอินคา ชาวอินคายังคงรักษารูปแบบงานเหล่านี้และยังบรรลุผลในด้านสถาปัตยกรรมโดยได้สร้างมาชูปิกชู ในยุคอาณานิคม ศิลปะได้รับอิทธิพลแบบบาโรก โดยผสมเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น[79] ในยุคนี้ ศิลปะส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนา ตัวอย่างเช่นโบสถ์จำนวนมาก และจิตรกรรมแบบสำนักกุสโก[80] ศิลปะในเปรูซบเซาลงหลังได้รับเอกราช จนมาถึงยุคศิลปะแบบอินดีเคนิสโม ซึ่งนำเสนอความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองอเมริกาใต้[81] วัฒนธรรมโบราณของชาวอินคายังคงอยู่ในเปรูในปัจจุบัน ชาวเปรูยังคงใช้ชีวิตตามแบบบรรพบุรุษ เช่นการใช้ภาษาเกชัว การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

อาหาร

อาหารจานหลักของเปรูมีความหลากหลายเพราะมีส่วนผสมที่สามารถหาได้ในประเทศหลายอย่าง เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้ออัลปากา และเนื้อหนูตะเภา นิยมรับประทานอาหารจานหลักกับมันฝรั่ง (ซึ่งกล่าวกันว่ามีมากถึง 3,500 ชนิด[56]) ข้าวโพด หรือข้าว ในเขตเทือกเขาชาวเปรูมักจะกินซุปเพื่ออบอุ่นร่างกายก่อนออกไปเผชิญความหนาวเย็น อาหารเปรูที่มีชื่อเสียงคือ เซบีเช ซึ่งมีลักษณะคล้ายยำทะเล โดยนำเนื้อปลาสดหรือกุ้งสดที่หมักในน้ำมะนาวและพริกไทย มาผสมกับหัวหอมซอย

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเปรูคือ ปิสโกซาวร์ (Pisco sour) ซึ่งมีส่วนผสมของเหล้าปิสโก (บรั่นดีที่ทำจากองุ่น) น้ำมะนาว น้ำแข็ง ไข่ขาว และน้ำหวาน ชาวเปรูยังนิยมดื่มเครื่องดื่มจากข้าวโพดสีม่วงที่เรียกว่า ชีชาโมราดา (Chicha morada) อีกด้วย[82]

ชาวพื้นเมืองนิยมเคี้ยวใบโคคาตากแห้งและดื่มชาโคคามาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาถูกต่อต้านจากนานาชาติ เนื่องจากใบโคคา (ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตโคเคน) ถูกสหประชาชาติกำหนดให้เป็นยาเสพติดตั้งแต่ พ.ศ. 2504[83]

ดนตรีและการเต้นรำ

ดนตรีของเปรูมีพื้นฐานจากดนตรีพื้นเมือง และได้รับอิทธิพลจากสเปนและแอฟริกาในภายหลัง[84] ในยุคก่อนถูกสเปนครอบครองดนตรีก็มีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามพื้นที่ เครื่องดนตรีพื้นเมืองที่แพร่หลายที่สุดคือขลุ่ยเกนาและกลองตินยา[85] เมื่ออารยธรรมสเปนเข้ามากีตาร์ก็เป็นที่รู้จักและกลายเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งในเปรู[86] นอกจากนี้ กีตาร์ยังเป็นจุดกำเนิดให้แก่เครื่องดนตรีชนิดใหม่คือชารังโก อิทธิพลของดนตรีแบบแอฟริกาปรากฏให้เห็นในทั้งในจังหวะของเพลงและเครื่องดนตรี เช่น กลองกาคอน[87]

การเต้นรำพื้นเมืองของเปรูนอกจากการเต้นรำของคู่หญิงชายเช่น มารีเนรา ตอนเดโร และอวยโนแล้ว ยังมีระบำกรรไกร ซึ่งชาวเปรูถือว่าเป็นการแสดงที่เป็นพิธีการ ผู้เต้นจะถือกรรไกรไว้ขณะเต้นด้วยท่าที่โลดโผน[86]

เทศกาล

เปรูมีเทศกาลมากมายตลอดทั้งปี ซึ่งมีทั้งเทศกาลทางศาสนา เทศกาลเกี่ยวกับประเพณีของอินคา เทศกาลเกี่ยวกับการเกษตร และเทศกาลเพื่อเฉลิมฉลอง เช่น คาร์นิวาลที่มีจุดเด่นที่การละเล่นสาดน้ำ อินตีไรย์มีหรือพิธีเพื่อบูชาพระอาทิตย์ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอินคา เซญอร์เดโลสมีลาโกรส (ลอร์ดออฟมิราเคิลส์) ซึ่งเป็นพาเรดทางศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น[88]

กีฬาและการท่องเที่ยว

อ้างอิง

  1. "Civilizations in America".Washington State University (อังกฤษ)
  2. Raúl Porras Barrenechea, El nombre del Perú, p. 83. (สเปน)
  3. Raúl Porras Barrenechea, El nombre del Perú, p. 84. (สเปน)
  4. Raúl Porras Barrenechea, El nombre del Perú, p. 86. (สเปน)
  5. Raúl Porras Barrenechea, El nombre del Perú, p. 87. (สเปน)
  6. AndesHandbook, Huascarán. เรียกข้อมูลวันที่ 12 สิงหาคม 2550. (อังกฤษ)
  7. Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, p. 16. (สเปน)
  8. Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, p. 31. (สเปน)
  9. Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perú: Compendio Estadístico 2005, p. 21. (สเปน)
  10. Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, pp. 24-25. (สเปน)
  11. "El Niño Information".. เรียกข้อมูลวันที่ 28 มิถุนายน 2551. (อังกฤษ)
  12. Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, pp. 25-26. (สเปน)
  13. Instituto de Estudios Histórico-Marítimos del Perú, El Perú y sus recursos: Atlas geográfico y económico, pp. 26-27. (สเปน)
  14. Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perú: Compendio Estadístico 2005, p. 50. (สเปน)
  15. Tom Dillehay et al, "The first settlers", p. 20.
  16. Jonathan Haas et al, "Dating the Late Archaic occupation of the Norte Chico region in Peru", p. 1021.
  17. "South American Sites & Culures". Minnesota State University Mankato (อังกฤษ)
  18. Terence N. D'Altroy, The Incas, Blackwell Publishing, 2002
  19. Recopilación de leyes de los Reynos de las Indias, vol. II, pp. 12-13. (สเปน)
  20. Peter Bakewell, Miners of the Red Mountain, p. 181. (อังกฤษ)
  21. Margarita Suárez, Desafíos transatlánticos, pp. 252-253. (สเปน)
  22. Kenneth Andrien, Crisis and decline, pp. 200-202. (อังกฤษ)
  23. Mark Burkholder, From impotence to authority, pp. 83-87. (อังกฤษ)
  24. Scarlett O'Phelan, Rebellions and revolts in eighteenth century Peru and Upper Peru, p. 276. (อังกฤษ)
  25. Timothy Anna, The fall of the royal government in Peru, pp. 237-238. (อังกฤษ)
  26. Charles Walker, Smoldering ashes, pp. 124–125.(อังกฤษ)
  27. Paul Gootenberg, Between silver and guano, p. 12. (อังกฤษ)
  28. Paul Gootenberg, Imagining development, pp. 5–6. (อังกฤษ)
  29. Paul Gootenberg, Imagining development, p. 9. (อังกฤษ)
  30. Ulrich Mücke, Political culture in nineteenth-century Peru, pp. 193–194. (อังกฤษ)
  31. Peter Klarén, Peru, pp. 262–276. (อังกฤษ)
  32. David Palmer, Peru: the authoritarian tradition, p. 93. (อังกฤษ)
  33. George Philip, The rise and fall of the Peruvian military radicals, pp. 163–165. (อังกฤษ)
  34. Daniel Schydlowsky and Juan Julio Wicht, "Anatomy of an economic failure", pp. 106–107. (อังกฤษ)
  35. Peter Klarén, Peru, pp. 406–407. (อังกฤษ)
  36. BBC News, Fujimori: Decline and fall. 20 พ.ย. 2543 เรียกข้อมูลวันที่ 13 ก.ค. 2551. (อังกฤษ)
  37. "Survivor Toledo". The Economist. 2005-01-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-31. (อังกฤษ)
  38. Constitución Política del Perú, Article N° 112.
  39. Constitución Política del Perú, Article N° 122.
  40. Constitución Política del Perú, Article N° 90.
  41. Constitución Política del Perú, Articles N° 107-108.
  42. Constitución Política del Perú, Articles N° 146.
  43. Jeffrey Clark, Building on quicksand. Retrieved on July 24, 2007. (อังกฤษ)
  44. Constitución Política del Perú, Article N° 31.
  45. Oficina Nacional de Procesos Electorales, Segunda Elección Presidencial 2006. Retrieved on May 15, 2007. (สเปน)
  46. Congreso de la República del Perú, Grupos Parlamentarios. เรียกข้อมูลวันที่ 5 มกราคม 2551. (สเปน)
  47. Ronald Bruce St John, The foreign policy of Peru, pp. 223-224. (อังกฤษ)
  48. BBC News, Peru-Chile border row escalates. เรียกข้อมูลวันที่ 16 พฤษภาคม 2550. (อังกฤษ)
  49. Ministerio de Defensa, Libro Blanco de la Defensa Nacional, p. 90.
  50. Ley N° 27178, Ley del Servicio Militar, Articles N° 29, 42 and 45.
  51. Ley N° 27867, Ley Orgánica de Gobiernos Regionales, Article N° 11.
  52. Ley N° 27867, Ley Orgánica de Gobiernos Regionales, Article N° 10.
  53. Ley N° 27867, Ley Orgánica de Gobiernos Regionales, Article N° 66.
  54. The Economist, Pocket World in Figures 2007 Edition, 2549 (อังกฤษ)
  55. 55.0 55.1 "ข้อมูลประเทศเปรูจากเวิลด์แฟกต์บุก". CIA.. เรียกข้อมูลวันที่ 21 พฤษภาคม 2551.(อังกฤษ)
  56. 56.0 56.1 "Llamas and mash". The Economist. 2008-02-28. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |1= (help) (อังกฤษ)
  57. "Ecotourism in Peru". The Economist. 2008-04-10. (อังกฤษ)
  58. "Tourism in Peru". The Economist. 2001-07-19. (อังกฤษ)
  59. ข้อมูลปี พ.ศ. 2550. Instituto Nacional de Estadística e Informática, La pobreza en el Perú en el año 2007, p. 3. (สเปน)
  60. Banco Central de Reserva, Producto Bruto Interno por Sectores Productivos 1950 - 2007. (สเปน)
  61. ข้อมูลปี 2549. Banco Central de Reserva, Memoria 2006, pp. 60-61, 66. Retrieved on July 3, 2007. (สเปน)
  62. Rosemary Thorp and Geoffrey Bertram, Peru 1890–1977, pp. 318–319.
  63. John Sheahan, Searching for a better society, p. 157.
  64. Banco Central de Reserva, Producto bruto interno por sectores productivos 1951–2006. Retrieved on 2008-07-09. (สเปน)
  65. "Background of Peru". The Economist.. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551.(อังกฤษ)
  66. "Poverty amid progress". The Economist. 2008-05-08.. เรียกข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2551. (อังกฤษ)
  67. United Nations, World Population ProspectsPDF (2.74 MiB), pp. 44-48. Retrieved on July 29, 2007 (อังกฤษ)
  68. Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perú: Estimaciones y Proyecciones de Población, 1950-2050, pp. 37-38, 40. (สเปน)
  69. Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perú: Estimaciones y Proyecciones de Población, 1950-2050, p. 45. (สเปน)
  70. Instituto Nacional de Estadística e Informática, Migraciones Internas en el Perú. เรียกข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2550. (สเปน)
  71. Noble David Cook, Demographic collapse: Indian Peru, 1520-1620, p. 114. (อังกฤษ)
  72. Mario Vázquez, "Immigration and mestizaje in nineteenth-century Peru", pp. 79-81. (อังกฤษ)
  73. Magnus Mörner, Race mixture in the history of Latin America, p. 131. (อังกฤษ)
  74. Instituto Nacional de Estadística e Informática, Perfil sociodemográfico del Perú. เรียกข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2550. (สเปน)
  75. US Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor, International Religious Freedom Report 2007. เรียกข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2551. (อังกฤษ)
  76. Portal Educativo Huascarán, El analfabetismo en cifras. เรียกข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2550. (สเปน)
  77. Constitución Política del Perú, Article N° 17.
  78. Víctor Andrés Belaunde, Peruanidad, p. 472. (สเปน)
  79. Gauvin Alexander Bailey, Art of colonial Latin America, pp. 72-74. (อังกฤษ)
  80. Gauvin Alexander Bailey, Art of colonial Latin America, p. 263. (อังกฤษ)
  81. Edward Lucie-Smith, Latin American art of the 20th century, pp. 76-77, 145-146. (อังกฤษ)
  82. Rob Rachowiecki and Charlotte Beech, Peru, Lonely Planet, 2004, หน้า 42-43 (อังกฤษ)
  83. "Fighting for the Right to Chew Coca". Time. 2008-03-17. (อังกฤษ)
  84. Raúl Romero, "Andean Peru", p. 385-386.
  85. Dale Olsen, Music of El Dorado, pp. 17-22.
  86. 86.0 86.1 "Dances and Musical Instruments". (อังกฤษ)
  87. Raúl Romero, "La música tradicional y popular", pp. 263-265.
  88. "Festivals in Peru". Peru Tourism Bureau. (อังกฤษ)

แหล่งอื่น

รัฐบาล
การศึกษา
การท่องเที่ยว
อื่นๆ

}

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA