ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวสุรนารี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 57: บรรทัด 57:


== ภาพยนตร์ไทย-ฮ่องกง ==
== ภาพยนตร์ไทย-ฮ่องกง ==
พ.ศ. 2500 ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง ''สุรนารี'' ระบบ 35 มม. สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม สร้างโดย วิจิตรเกษมภาพยนตร์ - ชอว์บราเดอร์ส นำแสดงโดย [[วิไลวรรณ วัฒนพานิช]] และ [[สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์]] ร่วมด้วยดาวรุ่งแห่ง[[ฮ่องกง]] [[ยูหมิ่น]] และ [[เจาหลุ่ย]]
พ.ศ. 2500 ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง ''สุรนารี'' ระบบ 35 มม. สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม สร้างโดย วิจิตรเกษมภาพยนตร์ - ชอว์บราเดอร์ส นำแสดงโดย [[วิไลวรรณ วัฒนพานิช]] และ [[สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์]] ร่วมด้วยดาวรุ่งแห่ง[[ฮ่องกง]] [[ยูหมิ่น]] และ [[เจาหลุ่ย]] ฉายที่ [[ไทย]], [[อาหรับ]], [[ฟิลิปปินส์]], [[อินโดนีเซีย]], [[อินโดจีน]], ฮ่องกง, [[สิงคโปร์]], [[มลายู]], [[ไต้หวัน]] และ [[มาเก๊า]] <ref>ใบปิดภาพยนตร์ สุรนารี พ.ศ. 2500</ref>

ใบปิดหนังโฆษณาว่าเข้าฉายที่ [[ไทย]], [[อาหรับ]], [[ฟิลิปปินส์]], [[อินโดนีเซีย]], [[อินโดจีน]], ฮ่องกง, [[สิงคโปร์]], [[มลายู]], [[ไต้หวัน]] และ [[มาเก๊า]] นอกจากนี้ยังนับเป็นครั้งแรกของวงการหนังไทยที่ร่วมงานกับ [[ชอว์ บราเดอร์ส]] เพื่อเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์สู่ระดับสากล<ref>ใบปิดภาพยนตร์ สุรนารี พ.ศ. 2500</ref>{{อ้างอิง}}<!-- ควรเป็นแหล่งทุติยภูมิ -->


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:19, 16 เมษายน 2556

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

ท้าวสุรนารี, คุณหญิงโม (ต้นฉบับว่า คุณหญิงโม้) หรือ ย่าโม (พ.ศ. 2314พ.ศ. 2395) บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะวีรสตรีผู้มีส่วนกอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์เวียงจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2369

ประวัติ

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า "โม" (แปลว่า ใหญ่มาก) หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา[1] เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก (ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก มาอยู่ ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมือง พนมซร๊อก มาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น บ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จนทุกวันนี้) [1]

เมื่อปี พ.ศ. 2339 โม เมื่ออายุได้ 25 ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อมานายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระภักดีสุริยเดช" ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา "พระภักดีสุริยเดช" ได้เลื่อนเป็น "พระยาสุริยเดช" ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม [1] ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า "คุณหญิงโม" และ "พระยาปลัดทองคำ" ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า แม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก-หลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลัง และอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการใด ๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญ ที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ[1]

ท้าวสุรนารี เป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลาน ไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำเสมอ[1]ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2395 (เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 81 ปี

ตราประจำจังหวัดนครราชสีมา แสดงภาพอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและประตูชุมพล

วีรกรรมของท้าวสุรนารี และบำเหน็จความชอบ

เมื่อพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไป คุณหญิงโม และนางสาวบุญเหลือรวบรวมครอบครัวชาย หญิงชาวนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2369 ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อความทราบไปถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโม ขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 เมื่อคุณหญิงโมมีอายุได้ 57 ปี พร้อมกับพระราชทานพระราชทานเครื่องยศ มีต่อไปนี้

  • ถาดทองคำใส่เครื่องเชี่ยนหมาก 1 ใบ
  • จอกหมากทองคำ 1 คู่
  • ตลับทองคำ 3 ใบเถา
  • เต้าปูนทองคำ 1 ใบ
  • คนโท และขันน้ำทองคำอย่างละ 1 ใบ[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2524 เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานบรมราโชวาทมีความตอนหนึ่งว่า

....ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย
ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน
บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี
รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการ
ความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง
แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก
แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง....[2]

อนุสาวรีย์

ไฟล์:เสด็จพระราชดำเนิน อนุสาวรีย์.jpg
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
ไฟล์:Yamo statue 2477.jpg
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีบนฐานอนุสาวรีย์เดิม พ.ศ. 2477
ไฟล์:Yamo cinerary urn.jpg
กู่อัฐิท้าวสุรนารี วัดพระนารายณ์มหาราช

เมื่อท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีพุทธศักราช 2395 อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสวามี ได้ฌาปนกิจศพ และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอยซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างไว้ เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์ชำรุดลง พลตรีเจ้าพระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี) ครั้นเมื่อยังเป็น พระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา องคมนตรี และรัฐมนตรี ได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็ก บรรจุพระอัฐิท้าวสุรนารีขี้นใหม่ที่วัดกลาง (วัดพระนารายณ์มหาราช) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ร.ศ.118 (พ.ศ. 2442)

ต่อมากู่นั้นได้ทรุดโทรมลงมาอีก อีกทั้งยังอยู่ในที่แคบ ไม่สมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทรโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร (ทอง รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมา ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีด้วยสัมฤทธิ์ ซึ่งทางกรมศิลปากรได้มอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิตร (ฉาย เทียมศิลปไชย) ประติมากรเลื่องชื่อในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ไฟล์:พิธิเปิด.jpg
พิธีเปิดอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
บนฐานอนุสาวรีย์ใหม่
ปี พ.ศ. 2510

ทั้งนี้ได้อัญเชิญอัฐิของท่านนำมาบรรจุไว้ที่ฐานรองรับ และประดิษฐานไว้ ณ ที่หน้าประตูชุมพล อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานไพที สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรี คนแรกของประเทศ เริ่มก่อสร้างในปี 2476 แล้วเสร็จ และ มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2477[3]

ในงานพิธีเปิดนี้ จึงได้มีการสร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึก โดยมี สมเด็จมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่น - พระอาจารย์เสาร์ ร่วมพิธีปลุกเสกที่ วัดสุทธจินดา ชาวเมืองนครราชสีมารัก และหวงแหนเหรียญรุ่นนี้กันมาก เพราะถือกันว่านี่คือ เหรียญแห่งชัยชนะ เพื่อศรีสง่าแห่งบ้านเมือง และเชิดชูเกียรติ ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาล[4] และทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นโบราณสถานวัตถุแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480[5]

ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ฐานอนุสาวรีย์ชำรุด ข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมา โดยนายสวัสดิวงศ์ ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น เป็นประธาน ได้ร่วมใจกันสร้าง ฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี ขึ้นใหม่ ณ ที่เดิม เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง และเชิดชูเกียรติท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาลนาน แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510[6]

ทางจังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนชาวนครราชสีมา ได้การจัด งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) เป็นงานประจำปีของจังหวัด เพื่อเป็นการเคารพสักการะ เชิดชูเกียรติ ในวีรกรรมของท้าวสุรนารี และเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา จัดขึ้นบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด กำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี

ข้อขัดแย้ง

วีรกรรมท้าวสุรนารี กล่าวถึงในจดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันทน์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2469

ในหลักฐานร่วมสมัยอย่างจดหมายเหตุนครราชสีมาระบุบคำให้การขุนโอฐบันทึกในใบบอกว่า "เวลาเช้าตรู่ พระยาปลัด พระยายกกระบัตร กรมการต่างคนต่างยิงปืนคนละนัด พวกครัวก็เข้าฟันแทง ทั้งพระสงฆ์ เถร เณร ผู้หญิงในครัว หนุนโห่ร้องไล่อ้ายลาวแตก" และ คำให้การอ้ายพระยานรินทร์แม่ทัพลาวที่ถูกจับ อ้างพระราชดำรัสเจ้าอนุวงศ์ว่า "อ้ายอนุบอกข้าพเจ้าว่าครัวเมืองโคราชซึ่งให้เพี้ยรามพิชัยคุมไพร่ 200 คนไปถึงบ้านสัมริด พวกครัวฆ่านายไพร่ตายเสียหมดแล้ว ให้อ้ายสุทธิสารคุมไพร่ 2,000 คน มีปืน 200 บอกยกไปรบกับครัวโคราช ณ บ้านสำริด อ้ายสุทธิสารแตกหนีมา พวกครัวฆ่านายไพร่ตายเป็นอันมาก" ซึ่งไม่มีการกล่าวถึงวีรกรรมของคุณหญิงโม แต่มีการกล่าวถึงวีรกรรมดังกล่าวในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 และ จดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันทน์[7] รวมทั้งมีปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ลาวที่แต่งโดยมหาสิลา วีละวง[ต้องการอ้างอิง] ส่วนเรื่องนางสาวบุญเหลือยังไม่พบปรากฏในหลักฐานที่เป็นบันทึกใด ๆ ยกเว้นเรื่องราวที่นำออกเผยแพร่หลังปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา[ต้องการอ้างอิง]

ในเรื่องนี้เป็นประเด็นถกเถียงอย่างกว้างขวางในปี พ.ศ. 2536 เมื่อหนังสือ การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ถูกตีพิมพ์ซึ่งหนังสือดังกล่าวปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง "ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย" โดย สายพิน แก้วงามประเสริฐ นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยานิพนธ์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่องนี้ตั้งคำถามว่า วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ ซึ่งแม้แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ก็เคยตั้งคำถามว่า "เรื่องท่านผู้หญิงโม้นี้ดูก็ประหลาด ...ไม่เห็นว่าแสดงแผลงอิทธิฤทธิ์อะไร เป็นแต่ว่าคุมพวกผู้หญิงเป็นกองหลังเท่านั้น ทำไมยกย่องกันหนักหนาไม่ทราบ"[8] สายพินใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์หาคำตอบจนพบว่า วีรกรรมของท้าวสุรนารีถูกนำมาใช้เพื่อเป้าประสงค์ทางการเมือง เป็นสามัญชนคนแรกที่ทางการสร้างอนุสาวรีย์ให้ และชี้ให้เห็นความล้มเหลวของวิชาประวัติศาสตร์ ที่ไม่ช่วยให้คนในสังคมแก้ปัญหาด้วยการค้นหาความจริง[8]

การตั้งคำถามที่ท้าทายความเชื่อของคนในพื้นที่ ทำให้ผู้เขียนถึงขนาดถูกข่มขู่เอาชีวิตและห้ามเข้าจังหวัดนครราชสีมา[9][10]

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนที่ชี้ว่าเกิดการต่อสู้ระหว่างชาวนครราชสีมาและกองกำลังลาวขึ้นจริง[7] และส่งผลให้เจ้าอนุวงศ์ต้องถอยทัพจากโคราชก่อนกำหนด[11] ถึงกระนั้น ตามทัศนะของ รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม วีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์อาจเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นภายหลัง โดยมีฉากหลังเป็นวีรกรรมของการร่วมแรงร่วมใจสู้รบของชาวนครราชสีมา และเนื่องด้วย ท้าวสุรนารี เป็นบุคคลที่เป็นผู้นำทางวัฒนธรรม เป็นบุคคลที่ชาวบ้านให้การยอมรับนับถือ จึงมีการแต่งเรื่องราวขึ้นภายหลัง เช่นเดียวกับพญาแถนของประเทศลาว เป็นต้น[12] อนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเรื่องเล่าถึงวีรกรรมของท้าวสุรนารีอย่างแพร่หลายแล้ว[13] ซึ่งงานวิจัยของสายพิณ แก้วงามประเสริฐกลับละเลยที่จะกล่าวถึงประเด็นดังกล่าว[ต้องการอ้างอิง]

ภาพยนตร์ไทย-ฮ่องกง

พ.ศ. 2500 ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง สุรนารี ระบบ 35 มม. สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม สร้างโดย วิจิตรเกษมภาพยนตร์ - ชอว์บราเดอร์ส นำแสดงโดย วิไลวรรณ วัฒนพานิช และ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ร่วมด้วยดาวรุ่งแห่งฮ่องกง ยูหมิ่น และ เจาหลุ่ย ฉายที่ ไทย, อาหรับ, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, อินโดจีน, ฮ่องกง, สิงคโปร์, มลายู, ไต้หวัน และ มาเก๊า [14]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ประวัติท้าวสุรนารี
  2. ฐานข้อมูลบุคคลสำคัญ " ท้าวสุรนารี ", สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา[ลิงก์เสีย]
  3. วันนี้ในอดีต
  4. ประวัติและเหรียญท้าวสุรนารีรุ่นแรก
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสำหรับชาติ, เล่มที่ ๕๔, เล่มที่ ๒๒๘๕
  6. จารึกประวัติการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (หลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี), เทศบาลนครนครราชสีมา, นครราชสีมา, 2530
  7. 7.0 7.1 จดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันทน์[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 หนังสือต้องห้าม. ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้น 19 มกราคม 2556.
  9. หนังสือต้องห้าม ความรู้ที่ถูกจองจำ ฉบับที่ 260 ตุลาคม 49 ปีที่ 22
  10. จากจิ๋นซีถึง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับที่ 260 ตุลาคม 49 ปีที่ 22
  11. จากเวียงจันทน์ถึงบางกอกตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว, นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 291 พฤษภาคม 2552, หน้า 138-141
  12. รายการพินิจนคร ตอน นครราชสีมา...รากแห่งนคราย่าโม ตำนานของคนโคราช : 4 มกราคม พ.ศ. 2553 ทางทีวีไทย
  13. อานามสยามยุทธ, ก.ศ.ร. กุหลาบ
  14. ใบปิดภาพยนตร์ สุรนารี พ.ศ. 2500

แหล่งข้อมูลอื่น