ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แรนดี ออร์ตัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 64: บรรทัด 64:
วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เว็บไซต์ WWE.com ได้ประกาศสั่งแบนออร์ตัน เป็นเวลา 60 วัน จากการไม่ผ่านการตรวจสุขภาพเป็นครั้งที่ 2<ref>{{cite web |url=http://www.wwe.com/inside/randy-orton-suspended-for-60-days|title=Randy Orton suspended |author= |date=30.5.2012 |work= |publisher=WWE |accessdate=30 May 2012}}</ref> ออร์ตันได้พ้นโทษแบน 60 วันกลับมา ในศึกรอว์ (30 กรกฎาคม 2012) โดยเจอกับ [[ฮีท สเลเตอร์]] สุดท้ายออร์ตันก็เป็นฝ่ายชนะ<ref>{{cite web|title=CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/30: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #1,000 - Punk explains heel turn, #1 contender match main event, Orton returns, Summerslam hype|date=July 30, 2012|author=James Caldwell|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wwerawreport/article_63818.shtml}}</ref>
วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เว็บไซต์ WWE.com ได้ประกาศสั่งแบนออร์ตัน เป็นเวลา 60 วัน จากการไม่ผ่านการตรวจสุขภาพเป็นครั้งที่ 2<ref>{{cite web |url=http://www.wwe.com/inside/randy-orton-suspended-for-60-days|title=Randy Orton suspended |author= |date=30.5.2012 |work= |publisher=WWE |accessdate=30 May 2012}}</ref> ออร์ตันได้พ้นโทษแบน 60 วันกลับมา ในศึกรอว์ (30 กรกฎาคม 2012) โดยเจอกับ [[ฮีท สเลเตอร์]] สุดท้ายออร์ตันก็เป็นฝ่ายชนะ<ref>{{cite web|title=CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/30: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #1,000 - Punk explains heel turn, #1 contender match main event, Orton returns, Summerslam hype|date=July 30, 2012|author=James Caldwell|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wwerawreport/article_63818.shtml}}</ref>


ในศึก [[เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29]] ออร์ตันได้จับคู่กับ เชมัส และ บิ๊กโชว์ เจอกับ [[เดอะชีลด์ (มวยปล้ำอาชีพ)|เดอะชีลด์]] แต่ก็แพ้ไป<ref>{{cite web|title=PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 3/15: Ongoing "virtual time" coverage of the Friday night show, including Henry vs. Ryback|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wwesmackdownreport/article_69333.shtml}}</ref> However, three days later on ''Raw'', Ryback would be booked in another match for the event leaving the spot open. Later that night, Big Show saved the two from an attack by the Shield and was immediately recruited as their partner.<ref>{{cite web|title=CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 3/18: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Hunter signs WM29 contract, IC Title match, more WM29 developments|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wwerawreport/article_69381.shtml}}</ref><ref>{{cite web|title=PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 3/22: Ongoing "virtual time" coverage of the Friday night show, including Chris Jericho vs. Jack Swagger in a rematch from last week|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wwesmackdownreport/article_69461.shtml}}</ref>
ในศึก [[เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29]] ออร์ตันได้จับคู่กับ เชมัส และ บิ๊กโชว์ เจอกับ [[เดอะชีลด์ (มวยปล้ำอาชีพ)|เดอะชีลด์]] แต่ก็แพ้ไป<ref>{{cite web|title=PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 3/15: Ongoing "virtual time" coverage of the Friday night show, including Henry vs. Ryback|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wwesmackdownreport/article_69333.shtml}}</ref><ref>{{cite web|title=CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 3/18: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Hunter signs WM29 contract, IC Title match, more WM29 developments|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wwerawreport/article_69381.shtml}}</ref><ref>{{cite web|title=PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 3/22: Ongoing "virtual time" coverage of the Friday night show, including Chris Jericho vs. Jack Swagger in a rematch from last week|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wwesmackdownreport/article_69461.shtml}}</ref>


==เกี่ยวกับมวยปล้ำ==
==เกี่ยวกับมวยปล้ำ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:22, 10 เมษายน 2556

แรนดี ออร์ตัน
เกิด (1980-04-01) 1 เมษายน ค.ศ. 1980 (44 ปี)
น็อกซ์วิลล์, รัฐเทนเนสซี
ที่พักไฮริด, รัฐมิสซูรี
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนแรนดี ออร์ตัน
ส่วนสูง6 ft 4 in (1.93 m)
น้ำหนัก235 lb (107 กก)
มาจากเซนต์หลุยส์, รัฐมิสซูรี
ฝึกหัดโดย"คาวบอย" บ๊อบ ออร์ตัน จูเนียร์[1]
Ohio Valley Wrestling
South Broadway Athletic Club Mid Missouri Wrestling Alliance
เปิดตัว18 มีนาคม ค.ศ. 2000

แรนดัล คีธ "แรนดี" ออร์ตัน (อังกฤษ: Randal Keith "Randy" Orton)[2][3] เกิดวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1980 เกิดที่ น็อกซ์วิลล์, เทนเนสซี (ปัจจุบันอยู่ ไฮริด, มิสซูรี ซึ่งย้ายมาจาก เซนต์หลุยส์, มิสซูรี) เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน ปัจจุบันเซ็นสัญญาให้กับสมาคม เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ หรือ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ในนามสังเวียนมวยปล้ำมีชื่อว่า แรนดี ออร์ตัน เป็นนักมวยปล้ำรุ่นที่ 3 ต่อจากปู่ บ๊อบ ออร์ตัน ซีเนียร์ และ "คาวบอย" บ๊อบ ออร์ตัน จูเนียร์ พ่อของเขานั่นเอง[4] ซึ่ง 2 รุ่นก่อนหน้าก็ประสบความสำเร็จมามากมาย

ประวัติในสังเวียนมวยปล้ำ

เวิลด์เรสต์ลิงเฟดเดเรชั่น / เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (2002 - ปัจจุบัน)

ไฟล์:ORTON7.jpg
แรนดี ออร์ตัน คว้าแชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุด ในศึก ซัมเมอร์สแลม ปี 2004 ด้วยอายุเพียง 24 ปี 4 เดือน 15 วัน
แรนดี ออร์ตัน กับ แชมป์โลกแทคทีม คู่กับ เอดจ์ ในนาม Rated-RKO
แรนดี ออร์ตัน กับ แชมป์ WWE ในปี ค.ศ. 2008
เดอะเลกาซี: แรนดี ออร์ตัน (กลาง), เท็ด ดิบิอาซี่ (ขวา) และ โคดี โรดส์ (ซ้าย)

แรนดี ออร์ตัน มีชื่อเสียงโด่งดังจากการคว้าแชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุด[5] ของ WWE โดยการเอาชนะนักมวยปล้ำจอมเทคนิค อย่าง คริส เบนวา ด้วยอายุเพียง 24 ปี 4 เดือน 15 วัน ทำลายสถิติของ บร็อก เลสเนอร์ (อายุ 25 ปี) ไปได้ ในปี ค.ศ. 2004 และยังคงไม่มีใครทำลายสถิตินี้ได้จนถึงทุกวันนี้ ในปี 2001 ออร์ตันได้ฝึกมวยปล้ำในสมาคม OVW และคว้าแชมป์ OVW Hardcore Champion 2 สมัย.[6] จากการเอาชนะ มิสเตอร์แบล็ค และ แฟลช แฟลงนากา

ออร์ตันได้มีโอกาสมาอยู่ WWF/E และเปิดตัวครั้งแรก ในศึก สแมคดาวน์ วันที่ 25 เมษายน โดยการเจอกับ ฮาร์ดคอร์ ฮอลลี[7] ซึ่งก็ได้การตอบรับจากคนดูได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ต่อมา ในเดือนกันยายน ออร์ตันได้ถูกย้ายมาที่ รอว์ และได้เอาชนะ สตีเวน รีชาร์ด เป็นการเปิดตัวของเขาครั้งแรกในรอว์[8][9] นอกจากนี้ออร์ตันยังได้ร่วมกลุ่มกับ เอฟโวลูชั่น ซึ่งมี ทริปเปิล เอช, ริก แฟลร์ และ บาติสต้า อยู่ด้วย หลังจากนั้นออร์ตันก็โด่งดังมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ โดยสามารถคว้า แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล โดยการเอาชนะ ร็อบ แวน แดม มาได้ ในศึก อาร์มาเกดดอน 2003[10] และยังได้ปราบนักมวยปล้ำที่เป็นตำนานหลายคน อาทิ เช่น ฮาร์ลีย์ เลส, ชอว์น ไมเคิลส์, มิค โฟลีย์, จ่าสลอจเตอร์ และอีกมากมาย[11]

ในศึก ซัมเมอร์สแลม 2004 ออร์ตันได้เอาชนะ คริส เบนวา และได้คว้า แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ที่อายุน้อยที่สุด[12] ซึ่งชัยชนะครั้งนี้ของออร์ตัน ทำให้ ทริปเปิล เอช หัวหน้ากลุ่ม เอฟโวลูชั่น เกิดความอิจฉา เพราะตนก็กำลังพยายามไล่ล่าเข็มขัดแชมป์เส้นนี้กลับมาหลังจากที่เสียไปให้กับ คริส เบนวา ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 ออร์ตันจึงถูกหักหลังและต้องออกจากกลุ่ม เอฟโวลูชั่น และกลายเป็นฝ่ายธรรมะ[13] นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ในศึก อันฟอร์กิฟเว่น 2004 ทริปเปิล เอช สามารถกระชากแชมป์จากออร์ตันไปได้[14]

ออร์ตันได้กลับมาเป็นฝ่ายอธรรมอีกครั้ง ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21 ออร์ตันได้ปะทะกับสุดยอดนักมวยปล้ำระดับตำนาน และ เจ้าของสถิติไม่แพ้ใครในศึก เรสเซิลเมเนีย อย่าง ดิอันเดอร์เทเกอร์ แต่ออร์ตันก็ไม่สามารถทำลายสถิติไม่แพ้ใครในศึก เรสเซิลเมเนีย ของ อันเดอร์เทเกอร์ ลงได้ จากนั้นออร์ตันก็ลอบทำร้ายอันเดอร์เทเกอร์ ตลอดเวลา และท้าเจอกัน ในศึก อาร์มาเกดดอน 2005 ในแมตช์การปล้ำ เฮลล์อินเอเซลล์ แมทช์ แต่สุดท้ายออร์ตันก็แพ้ไป[15]

ออร์ตันก็ยังคงโชว์ฝีมือได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการไล่ล่าตำนานคนต่อๆไปอย่าง ฮอง โฮแกน, รอดดี้ ไพเพอร์ และ อาจารย์เก่าอย่าง ริก แฟลร์ ซึ่งออร์ตันก็สามารถเล่นงานได้หมดทุกคน และในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22 ออร์ตันได้ปะทะกับ เคิร์ต แองเกิล และ เรย์ มิสเตริโอ ในแมตช์การปล้ำ 3 เส้า เพื่อชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท[16] สุดท้าย เรย์ มิสเตริโอ จัดการออร์ตันด้วยท่า 619 ทำให้ไม่สามารถคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทมาได้[17]

ในปลายปี 2006 ออร์ตันได้มีโอกาสจับคู่กับ เอดจ์ ในนาม Rated-RKO เปิดศึกกับกลุ่ม ดี-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ (ทริปเปิล เอช กับ ชอว์น ไมเคิลส์) ซึ่งผลัดแพ้ผลัดชนะกันหลายรอบ จนจบด้วยการที่ ทริปเปิล เอช เจ็บเข่าต้องพักไป 7 เดือน นอกจากนี้ออร์ตันก็สามารถคว้า แชมป์โลกแทคทีม คู่กับ เอดจ์[18][19] จากการเอาชนะนักมวยปล้ำระดับตำนานอย่าง ริก แฟลร์ และ รอดดี้ ไพเพอร์ อีกด้วย[20] แต่ก็เสียแชมป์ให้กับ จอห์น ซีนา และ ชอว์น ไมเคิลส์ หลังจากนั้นก็แตกทีมกัน

ออร์ตันพยายามไล่ล่า แชมป์ WWE จาก จอห์น ซีนา ถึงขั้นไปทำร้ายพ่อของ จอห์น ซีนา ด้วย[21] แต่ออร์ตันก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ เพราะซีนาให้พ่อของเขามาเตะหัวออร์ตัน จนกระทั่งซีนาเจ็บต้องพักการปล้ำไป ซีนาจึงต้องสละแชมป์ให้กับออร์ตัน' ในศึก โนเมอร์ซี 2007[22] ซึ่งคืนนั้น ทริปเปิล เอช ลูกพี่เก่าได้มาท้าชิงแชมป์กับเขาและเสียแชมป์ไป[23] แต่ออร์ตันก็สามารถคว้าแชมป์กลับมาได้ในคืนเดียวกันในแมตช์ Last Man Standing ใครล้มลงนอนกับพื้นแล้วถูกกรรมการนับสิบจะเป็นฝ่ายแพ้ไป[24]

ในศึก แบคแลช (2008) ทริปเปิล เอช ได้กลับมากระชากแชมป์จากออร์ตัน ไปได้ในการปล้ำ Fatal-4-Way Elimination Match (4 เส้าแพ้คัดออกเหลือคนสุดท้ายเป็นผู้ชนะ)[25] ในศึก จัดจ์เมนท์เดย์ (2008) ออร์ตันขอท้าชิงแชมป์ WWE กับ ทริปเปิล เอช ในกรงเหล็ก แต่ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์คืนมาได้[26] และเจอกันอีกครั้ง ในศึก วันไนท์สแตนด์ (2008) ในแมตช์การปล้ำ Last Man Standing แต่ครั้งนี้ออร์ตันเป็นฝ่ายแพ้และทำให้ออร์ตันต้องพักการปล้ำไปหลายเดือนเลยที่เดียว[27] เมื่อออร์ตันกลับมาก็ได้ลอบทำร้ายนักมวยปล้ำทุกคนที่ขวางหน้า เช่น ซีเอ็ม พังก์, บาติสต้า และ ตระกูลแมคแมน เจ้าของ ธุรกิจ WWE

ในศึก รอยัลรัมเบิล (2009) ออร์ตันได้เป็นผู้ชนะ รอยัลรัมเบิล ซึ่งมีสิทธิ์ในการชิงแชมป์โลก[28] ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 ทริปเปิล เอช ซึ่งเป็นลูกเขยของตระกูลแมคแมนรอคอยการแก้แค้นให้พ่อตาจึงท้าให้ออร์ตันชิงแชมป์กับเขา ในศึก เรสเซิลเมเนีย ผลสรุปคือ ทริปเปิล เอช ได้จัดการออร์ตัน ด้วยค้อนปอนด์ และ ท่าไม้ตาย Pegdigree ทำให้ออร์ตันแพ้อย่างหมดรูปและไม่สามารถเอาแชมป์คืนมาได้[29] ในศึก แบคแลช (2009) ออร์ตันมีโอกาสชิงแชมป์อีกครั้งในการปล้ำแทคทีม 6 คน โดยออร์ตันจับคู่กับทีม เดอะเลกาซี (โคดี โรดส์ และ เท็ด ดิบิอาซี่) เจอกับ ทริปเปิล เอช, บาติสต้า และ เชน แมคแมน ผลปรากฏว่า ออร์ตันได้เล่นงาน ทริปเปิล เอช ด้วยท่าไม้ตาย RKO และ พั้นซ์ คิก สามารถคว้าแชมป์ WWE กลับมาครองได้สำเร็จ[30] หลังจากนั้นออร์ตันก็เสียแชมป์ให้กับซีนา และก็โทษกลุ่ม เดอะเลกาซี (โคดี โรดส์ และ เท็ด ดิบิอาซี่) ที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เขาแพ้ต่อซีนา ถึง 3 ครั้ง

ในศึก รอยัลรัมเบิล (2010) ออร์ตันได้ขอท้าชิงแชมป์ WWE กับ เชมัส นักมวยปล้ำหน้าใหม่และเป็นเจ้าของตำแหน่งในตอนนั้น[31] ผลปรากฏว่า เชมัส ถูกลอบทำร้ายโดย โคดี โรดส์ ทำให้ออร์ตันแพ้ฟาล์ว[32] ต่อมา ออร์ตันและกลุ่มเดอะเลกาซี ก็แตกกลุ่มกันและเจอกัน ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 ในแมตช์การปล้ำ 3 เส้า ผลปรากฏว่า ออร์ตันได้จัดการทั้ง โคดี โรดส์ และ เท็ด ดิบิอาซี่ เอาชนะไปได้ และได้กลับมาเป็นฝ่ายธรรมะ[33]

ออร์ตันได้ขอท้าชิงแชมป์ WWE กับ เชมัส ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2010)[34] ผลปรากฏว่า เชมัส ถูกจับแพ้ฟาล์ว ทำให้ เชมัส ยังเป็นแชมป์ต่อไป[35] ในศึก ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2010) ออร์ตันได้เจอกับ เชมัส, จอห์น ซีนา, คริส เจอริโค, เอดจ์ และ เวด บาร์เร็ตต์ ในแมตช์การปล้ำ 6 คน เพื่อชิงแชมป์ WWE สุดท้ายออร์ตันสามารถคว้าแชมป์ WWE มาได้[36] ในศึก เซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2010) ออร์ตันต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ เวด บาร์เร็ตต์ โดยมี จอห์น ซีนา เป็นกรรมการพิเศษ ผลปรากฏว่า ออร์ตันเป็นฝ่ายเอาชนะและป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[37][38]

ในศึกรอว์ ออร์ตันต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ เวด บาร์เร็ตต์ อีกครั้ง โดยก่อนปล้ำพวกกลุ่ม เดอะเน็กซัส มาลอบทำร้ายออร์ตัน แต่ออร์ตันก็ยังไหว และสามารถเอาชนะบาร์เร็ตต์ ไปได้อีกครั้งจากความช่วยเหลือของ จอห์น ซีนา และป้องกันแชมป์เอาไว้ได้สำเร็จอีกครั้ง แต่ว่าหลังจากจบแมตซ์ เดอะ มิซ ได้ขอใช้สิทธิ์กระเป๋า Money In The Bank และเสียแชมป์ให้กับ เดอะ มิซ[39] ในศึก ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2010) ออร์ตันได้ขอท้าชิงแชมป์ WWE กับ เดอะ มิซ ในรูปแบบการปล้ำจับฟาดใส่โต๊ะ สุดท้ายออร์ตันก็แพ้ให้กับ เดอะ มิซ[40] ออร์ตันสามารถเอาชนะ เชมัส และ เวด บาร์เร็ตต์ ในแมตช์การปล้ำ 3 เส้า ทำให้ออร์ตันได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE กับ เดอะ มิซ ในศึก รอยัลรัมเบิล (2011) ในศึกรอว์ ออร์ตันได้ถูก เดอะ มิซ และ อเล็กซ์ ไรลีย์ รุมทำร้าย จนได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่เป็นอะไรมาก ในศึก รอยัลรัมเบิล ออร์ตันก็ไม่สามารถคว้าแชมป์ WWE คืนมาได้ เพราะกลุ่ม เดอะนิวเน็กซัส ได้มาก่อกวนการปล้ำของออร์ตัน จนเป็นฝ่ายแพ้ให้กับ เดอะ มิซ จากการช่วยเหลือของ ซีเอ็ม พังก์[41]

ออร์ตันได้เปิดศึกกับ ซีเอ็ม พังก์ และท้าเจอกัน ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 สุดท้ายออร์ตันก็เป็นฝ่ายเอาชนะมาได้[42] ออร์ตันได้ย้ายไปอยู่ สแมคดาวน์ จากผลการดราฟท์ ในศึกรอว์ (25 เมษายน ค.ศ. 2011) ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2011) ออร์ตันได้เจอกับ ซีเอ็ม พังก์ อีกครั้ง ในแมตช์การปล้ำลาสแมนสแตนดิ้ง สุดท้ายออร์ตันก็สามารถเอาชนะพังก์ไปได้เป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน[43]

ในศึก สแมคดาวน์ หลังจากศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ 2 วัน ออร์ตันก็คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท จาก คริสเตียน ทำให้ออร์ตันคว้าแชมป์โลกสมัยที่ 8 มาครอง[44] ในศึก โอเวอร์ เดอะ ลิมิต (2011) ออร์ตันต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับ คริสเตียน สุดท้ายออร์ตันเป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[45] ในศึก สแมคดาวน์ ออร์ตันต้องป้องกันแชมป์กับ เชมัส โดยมี คริสเตียน เป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายออร์ตันเป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์เอาไว้ได้ แต่หลังจากจบแมตช์ คริสเตียน ได้เอาเข็มขัดแชมป์ไปฟาดใส่หัวออร์ตัน ก่อนจะเดินจากไป ในศึก แคปิเทล พูนิชเมนท์ ออร์ตันต้องป้องกันแชมป์กับ คริสเตียน อีกครั้ง สุดท้ายออร์ตันเป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[46] ในศึก มันนีอินเดอะแบงก์ (2011) ออร์ตันต้องป้องกันแชมป์กับ คริสเตียน อีกครั้ง โดยถ้าออร์ตันทำผิดกฎิตา หรือตามคำสั่งของกรรมการ เข็มขัดจะตกเป็นของ คริสเตียน ทันที[47] สุดท้ายออร์ตันก็ทำผิดกฎิตา โดยการเตะผ่าหมากของ คริสเตียน ทำให้ออร์ตันถูกปรับแพ้ฟาล์วและเสียเข็มขัดแชมป์โลกให้กับ คริสเตียน[48] หลังแมตช์ออร์ตันคลั่ง กระทืบคริสเตียนเละก่อนจะ RKO บนโต๊ะผู้บรรยาย แล้วก็เดินกลับไป แต่เปลี่ยนใจย้อนกลับมา RKO บนโต๊ะซ้ำอีกรอบจน คริสเตียน กลายเป็นแชมป์แบบอนาถ ถูกหิ้วปีกออกจากสนาม ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2011) ออร์ตันก็สามารถเอาชนะ คริสเตียน ในแมตซ์การปล้ำไม่มีกฎกติกา และคว้าแชมป์โลกสมัยที่ 9 มาครอง[49]

ในศึก ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2011) ออร์ตันก็เสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ให้กับ มาร์ก เฮนรี[50] และขอชิงคืนในศึก เฮลอินเอเซล (2011) แต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาออร์ตันได้เปิดศึกกับ เวด บาร์เร็ตต์ ในศึก เซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2011) ออร์ตันได้เป็นกัปตันทีม นำทีมโดย ออร์ตัน, เชมัส, โคฟี คิงส์ตัน, ซิน คารา และ เมสัน ไรอัน เจอกับทีมของบาร์เร็ตต์ ในแมตช์การปล้ำแทคทีม 5 ต่อ 5 แบบคัดออก สุดท้ายทีมของออร์ตันก็แพ้ไป[51] ในศึก ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2011) ออร์ตันได้เจอกับ เวด บาร์เร็ตต์ ในรูปแบบการปล้ำจับฟาดใส่โต๊ะ สุดท้ายออร์ตันใส่ท่า RKO เล่นงานบาร์เร็ตต์ กับโต๊ะ ทำให้ออร์ตันเป็นฝ่ายชนะ[52] ในศึก สแมคดาวน์ (30 ธันวาคม 2011) ออร์ตันได้เจอกับบาร์เร็ตต์ อีกครั้ง ในแมตช์การปล้ำจับกดที่ไหนก็ได้ สุดท้ายออร์ตันถูกบาร์เร็ตต์เหวี่ยงตกบันได หลังจากนั้นออร์ตันก็ต้องพักการปล้ำจากการถูกบาร์เร็ตต์เหวี่ยงตกบันได[53]

ในศึก สแมคดาวน์ (27 มกราคม 2012) ออร์ตันได้หายจากอาการบาดเจ็บและกลับมาเล่นงานบาร์เร็ตต์ จนกรรมการและนักมวยปล้ำคนอื่นๆ ต้องออกมาช่วยห้ามแต่เหล่านักมวยปล้ำที่เข้ามาห้ามนั้นก็โดนออร์ตันใส่ท่า RKO จนหมดไม่ว่าจะเป็น ไทเลอร์ เร็กส์, เคิร์ท ฮอว์กินส์, เทรนท์ บาร์เรต้า และ ดิ อูโซส์[54] ในศึก สแมคดาวน์ (3 กุมภาพันธ์ 2012) ออร์ตันได้เจอกับบาร์เร็ตต์ อีกครั้ง ในแมตช์การปล้ำไม่มีการจับแพ้ฟาล์ว สุดท้ายออร์ตันก็เป็นฝ่ายชนะและล้างแค้นบาร์เร็ตต์มาได้[55] ในศึก อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2012) ออร์ตันได้เจอกับ แดเนียล ไบรอัน, บิ๊กโชว์, โคดี้ โรดส์, เวด บาร์เร็ตต์ และ เดอะ เกรท คาลี ในแมตช์การปล้ำอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ แมทช์ เพื่อชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท แต่ล่าสุด ออร์ตันได้ถูก แดเนียล ไบรอัน เอาเข็มขัดแชมป์ฟาดหัว ในระหว่างการปล้ำกับ บิ๊กโชว์ ในศึกรอว์ (13 กุมภาพันธ์ 2012) จนมีอาการกระทบกระเทือนทางสมอง ทำให้ออร์ตันหมดสิทธิ์เข้าร่วมศึกอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์[56]

ในศึก สแมคดาวน์ (2 มีนาคม 2012) ออร์ตันได้หายจากอาการบาดเจ็บ จากการถูก แดเนียล ไบรอัน เอาเข็มขัดแชมป์ฟาดหัว ในระหว่างการปล้ำกับ บิ๊กโชว์ ในศึกรอว์ (13 กุมภาพันธ์ 2012) จนมีอาการกระทบกระเทือนทางสมอง โดยออร์ตันกลับมาล้างแค้นไบรอัน สุดท้ายไม่มีผลแพ้ชนะ เพราะ เคน ออกมาก่อกวน แถมไล่อัดออร์ตัน ในขณะที่ไบรอันหนีไปได้ และ เคน เล่นงานออร์ตัน ด้วยท่า โชคสแลม แล้วเอาไมค์มากล่าวยินดีต้อนรับออร์ตันที่หายบาดเจ็บกลับมา[57][58][59] ในศึกรอว์ (5 มีนาคม 2012) ออร์ตันได้ออกมาลอบทำร้าย เคน โดยเล่นงาน เคน ด้วยท่า RKO ทั้งคู่ได้เจอกัน ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 สุดท้ายออร์ตัน ก็เป็นฝ่ายแพ้ไป ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2012) ออร์ตันได้เจอกับ เคน อีกครั้ง ในแมตซ์การปล้ำจับกดที่ไหนก็ได้ สุดท้ายออร์ตันก็เป็นฝ่ายชนะ[60] ในศึก โอเวอร์เดอะลิมิต (2012) ออร์ตันได้เจอกับ เชมัส, คริส เจอริโค, และ อัลเบอร์โต เดล รีโอ ในแมตช์การปล้ำ 4 เส้า เพื่อชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท สุดท้ายออร์ตันก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้[61]

วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เว็บไซต์ WWE.com ได้ประกาศสั่งแบนออร์ตัน เป็นเวลา 60 วัน จากการไม่ผ่านการตรวจสุขภาพเป็นครั้งที่ 2[62] ออร์ตันได้พ้นโทษแบน 60 วันกลับมา ในศึกรอว์ (30 กรกฎาคม 2012) โดยเจอกับ ฮีท สเลเตอร์ สุดท้ายออร์ตันก็เป็นฝ่ายชนะ[63]

ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 ออร์ตันได้จับคู่กับ เชมัส และ บิ๊กโชว์ เจอกับ เดอะชีลด์ แต่ก็แพ้ไป[64][65][66]

เกี่ยวกับมวยปล้ำ

แรนดี ออร์ตัน ใช้ท่า RKO เล่นงาน ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์
แรนดี ออร์ตัน ใช้ท่า Rope-hung DDT เล่นงาน เชมัส
แรนดี ออร์ตัน ใช้ท่า Inverted headlock backbreaker เล่นงาน เชมัส
  • ท่าไม้ตาย
    • RKO (กระโดดหักคอ) เริ่มใช้เมื่อปี 2003 - ปัจจุบัน
    • Punt Kick (วิ่งเตะจุดโทษตรงกะโหลกคู่ต่อสู้) เริ่มใช้เมื่อปี 2007 - ปัจจุบัน (ตอนนี้โดนแบนอยู่)
    • Diving Crossbody (กระโดดขวางลำตัว) เริ่มใช้เมื่อปี 2002
    • O-Zone (ขาพาดก้านคอ แล้วหมุนไปข้างหน้า) ใช้เมื่อ 2002 - 2003
    • Cobra Clutch Bottom (ใส่คอบร้า ครัทช์ แล้วเอาหลังฟาด) ใช้สมัยอยู่ โอวีดับเบิลยู
    • Revese Chinlock ท่า Submission
  • ท่าเอกลักษณ์
    • Bodyscissors
    • Dropkick
    • European uppercut
    • Falling clothesline
    • Full nelson slam
    • Inverted headlock backbreaker (จับหักคอจากด้านหลัง)
    • Olympic slam
    • Orton Stomp (Multiple stomps while circling a fallen opponent)
    • Rope-hung DDT
    • Running punt kick to an opponent's head
    • Snap scoop powerslam
    • Wrenching chinlock
  • ฉายาและชื่ออื่นๆ
    • "The Legend Killer"
    • "The Viper"
    • "The Apex Predator"
  • เพลงเปิดตัว
    • "Blasting'" (เพลงเปิดตัวเพลงแรกของออร์ตันนับตั้งแต่ย่างก้าวเข้ามาใน WWE)
    • "Evolve" โดย Jim Johnston (เป็นเพลงเปิดตัวเพลงแรกของกลุ่ม เอฟโวลูชั่น)
    • "Line in the Sand" ขับร้องโดยวง Motörhead (เป็นเพลงที่ออร์ตันใช้เปิดตัวสมัยอยู่ในกลุ่ม เอฟโวลูชั่น และเป็นเพลงเปิดตัวเพลงที่ 2 ของกลุ่มด้วยเช่นกัน)
    • "Burn in My Light" ขับร้องโดยวง Mercy Drive (เป็นเพลงที่ออร์ตันใช้เปิดตัวเมื่ออกจากกลุ่ม เอฟโวลูชัน ซึ่งภายหลังออร์ตันได้ออกมาเผยว่าเกลียดเพลงนี้มากๆ และทนใช้เพลงเปิดตัวนี้มานานถึง 4 ปี)
    • "Voices" ขับร้องโดยวง Rev Theory (เพลงเปิดตัวของออร์ตันในปัจจุบัน)

ผลงานทั้งหมด

แรนดี ออร์ตัน กับ แชมป์ WWE
แรนดี ออร์ตัน กับ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท
  • Ohio Valley Wrestling
    • OVW Hardcore Championship (2 สมัย)
  • Pro Wrestling Illustrated
    • PWI Feud of the Year (2009) เจอกับ ทริปเปิล เอช
    • PWI Most Hated Wrestler of the Year (2007, 2009)[67][68]
    • PWI Most Improved Wrestler of the Year (2004)[69]
    • PWI Most Popular Wrestler of the Year (2010)[70]
    • PWI Rookie of the Year (2001)[71]
    • PWI จัดในอันดับที่ 1 ของท็อป 500 อันดับ ซิงเกิลนักมวยปล้ำแห่งปีใน PWI 500 ในปี 2008[72]
    • PWI จัดในอันดับที่ 2 ของท็อป 500 อันดับ ซิงเกิลนักมวยปล้ำแห่งปีใน PWI 500 ในปี 2011[73]
    • PWI Wrestler of the Year (2009, 2010)[74][75]
  • Wrestling Observer Newsletter
    • Most Improved (2004)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Randy Orton Bio". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-07-16.
  2. "Name search engine". Intelius People Search. สืบค้นเมื่อ 2009-05-01.
  3. "Hazelwood Central Alumni — Class of 1998". Hazelwood Central Alumni. สืบค้นเมื่อ 2007-08-17.
  4. WWE: The Most Powerful Families in Wrestling (DVD). WWE Home Video. 2007.
  5. "World Heavyweight Title (W.W.E. Smackdown!)". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
  6. "OVW Hardcore Championship (retired)". Ohio Valley Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2010-02-04.
  7. "SmackDown! results — April 25, 2002". PWWEW.net. April 25, 2002. สืบค้นเมื่อ March 1, 2008.
  8. "Raw results — September 23, 2002". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ March 23, 2008.
  9. "Raw results — September 23, 2002". PWWEW.net. September 23, 2002. สืบค้นเมื่อ March 23, 2008.
  10. Tywalk, Nick (December 14, 2003). "WWE Armageddon a flop". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ August 26, 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  11. "World Heavyweight Title (W.W.E. Smackdown!)". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
  12. "History Of The World Heavyweight Championship — Randy Orton". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ July 10, 2007.
  13. "Raw results — August 16, 2004". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ July 11, 2007.
  14. Martin, Finn (September 22, 2004). "Power Slam Magazine, issue 123". Panic Stations! (Unforgiven 2004). SW Publishing. pp. 24–25.
  15. "SmackDown results — December 9, 2005". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ August 23, 2007.
  16. Sokol, Chris (February 20, 2006). "Main events salvage No Way Out". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ May 12, 2008.
  17. Hurley, Oliver (April 20, 2006). "Power Slam Magazine, issue 142". WrestleMania In Person (WrestleMania 22). SW Publishing. pp. 16–19.
  18. Elliott, Brian (November 6, 2006). "K-Fed costs Cena at Cyber Sunday". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ January 17, 2008.
  19. "History Of The World Tag Team Title — Edge & Randy Orton". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ July 10, 2007.
  20. "W.W.W.F./W.W.F./W.W.E. World Tag Team Title". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
  21. McAvennie, Mike (August 29, 2007). "Should Cena step up... or step down". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ November 7, 2007.
  22. "ECW results — October 2, 2007". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ March 19, 2008.
  23. Robinson, Bryan (October 7, 2007). "Kings of Kings reigns supreme again". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ October 8, 2007.
  24. Robinson, Bryan (October 7, 2007). "Championship hot potato: Legend Killer's time comes after all". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ October 8, 2007.
  25. Keller, Wade (April 27, 2008). "Keller's WWE Backlash PPV Report 4/27: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV event". PW Torch. สืบค้นเมื่อ August 26, 2009.
  26. Kapur, Bob (May 18, 2008). "Judgment Day spoils streak of good shows". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ August 26, 2009.
  27. Tello, Craig (June 1, 2008). "Orton suffers broken collarbone". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ June 2, 2008.
  28. Plummer, Dale (January 26, 2009). "Orton triumphs, Cena survives, Hardy falls at Royal Rumble". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ January 26, 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  29. Sitterson, Aubrey (March 2, 2009). "Breaking the news". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ April 6, 2009.
  30. Sitterson, Aubrey (April 26, 2009). "Punter's quarry". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ April 26, 2009.
  31. Plummer, Dale (January 11, 2010). "Raw: Iron Mike and DX reunite". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ March 3, 2010.
  32. Plummer, Dale (February 1, 2010). "The 2010 Royal Rumble is Rated R in Atlanta". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ March 3, 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  33. Martin, Adam (March 28, 2010). "Wrestlemania 26 Results – 3/28/10". WrestleView. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
  34. Bishop, Matt (July 19, 2010). "Raw: Hart returns as Cena leads team to face Nexus". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ August 23, 2010.
  35. Plummer, Dale; Nick Tylwalk (August 15, 2010). "Rumored return helps Team WWE fend off Nexus at SummerSlam". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ August 23, 2010.
  36. Tylwalk, Nick (September 20, 2010). "Few gimmicks, more title changes at Night of Champions". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 20, 2010.
  37. Sokol, Bryan (October 25, 2010). "Cena central to Bragging Rights; Smackdown wins again". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ November 23, 2010.
  38. Plummer, Dale (November 22, 2010). "The fate of Cena is finally decided at so-so Survivor Series". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ November 23, 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  39. Plummer, Dale (November 22, 2010). "RAW: The Miz cashes in as Nexus costs Orton WWE title". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ November 23, 2010.
  40. Wortman, James (December 19, 2010). "Results: Stalking in a splinter wonderland". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ December 21, 2010.
  41. Plummer, Dale; Nick Tylwalk (January 31, 2011). "Super-size Royal Rumble saves biggest surprise for last". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ January 31, 2011.
  42. Bishop, Matt (April 3, 2011). "The Rock costs Cena as The Miz retains at WrestleMania XXVII". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  43. Plummer, Dale (April 25, 2011). "Raw: Draft tries to shock WWE Universe". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
  44. Pasero, Mitch (May 6, 2011). "Smackdown Results: Christian's dream crushed". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ June 11, 2011.
  45. Hillhouse, Dave (May 22, 2011). "Over the Limit: Unpredictability makes for a good show". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  46. Kapur, Bob (June 19, 2011). "Cena, Orton retain titles at Capitol Punishment". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  47. Hillhouse, Dave (July 18, 2011). "Money in the Bank: The WWE gets Punk'd". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  48. Burdick, Michael (July 8, 2011). "SmackDown results: 'Money' breeds mayhem". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  49. Plummer, Dale; Nick Tylwalk (August 15, 2011). "Punk-Cena feud comes to a head, but not without some wrinkles at SummerSlam". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 10, 2011.
  50. Burdick, Michael (September 19, 2011). "Mark Henry def. Randy Orton (New World Heavyweight Champion)". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ September 19, 2011.
  51. Caldwell, James (2011-11-20). "Caldwell's WWE Survivor Series PPV Results 11/20: Complete "virtual time" coverage of live PPV - The Rock returns, Punk vs. Del Rio, Henry vs. Show". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2011-11-21.
  52. Powers, Kevin (2011-12-18). "Randy Orton def. Wade Barrett (Tables Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ 2011-12-19.
  53. "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 12/30: Complete coverage of the Friday night show, including Randy Orton vs. Wade Barrett, Falls Count Anywhere".
  54. http://www.wrestlingattitude.com/news/smackdown-taping-results-1-27-spoilers.html
  55. Burdick, Michael. "SmackDown results: Wade Barrett feels the sting of The Viper; Mark Henry suspended". WWE. สืบค้นเมื่อ 6 February 2012.
  56. {{cite web|title=Randy Orton Suffers Concussion 2/14/12|url=http://www.wwe.com/shows/raw/2012-02-13/orton-suffers-concussion
  57. "WWE Smackdown Spoilers 3/2/12".
  58. "WWE Monday Night Raw (3/5/12) Results: Live Blog, Coverage and Analysis".
  59. "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 3/9: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including John Laurinaitis running the episode".
  60. Giannini, Alex. "Randy Orton vs. Kane - Falls Count Anywhere Match". WWE. สืบค้นเมื่อ 21 April 2012.
  61. Meltzer, Dave (2012-05-20). "WWE Over the Limit live coverage from Raleigh". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.
  62. "Randy Orton suspended". WWE. 30.5.2012. สืบค้นเมื่อ 30 May 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  63. James Caldwell (July 30, 2012). "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/30: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #1,000 - Punk explains heel turn, #1 contender match main event, Orton returns, Summerslam hype".
  64. "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 3/15: Ongoing "virtual time" coverage of the Friday night show, including Henry vs. Ryback".
  65. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 3/18: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Hunter signs WM29 contract, IC Title match, more WM29 developments".
  66. "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 3/22: Ongoing "virtual time" coverage of the Friday night show, including Chris Jericho vs. Jack Swagger in a rematch from last week".
  67. Pena, Daniel (February 18, 2008). "Hornswoggle Wins Pro Wrestling Illustrated's Rookie Of The Year Award; More 2007 Award Results Revealed". Lords Of Pain. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2008. สืบค้นเมื่อ April 13, 2008. Most Hated Wrestler Of The Year – Randy Orton (36%)
  68. Pro Wrestling Illustrated. 31 (3): 76–77. 2010. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  69. "Awards der Pro Wrestling Illustrated: 2004" (ภาษาGerman). Genickbruch: Die Wrestlingseite des alten Europa. สืบค้นเมื่อ April 13, 2008.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  70. "Achievement Awards: Most Popular". Pro Wrestling Illustrated. January 11, 2011. สืบค้นเมื่อ January 15, 2011.
  71. Abreu, Donnie (March 13, 2002). "Tough talent choices lay ahead for WWF". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ January 9, 2009.
  72. "Randy Orton tops "PWI 500" list". World Wrestling Entertainment. July 21, 2008. สืบค้นเมื่อ July 22, 2008.
  73. ""PWI 500" 1-100". Pro Wrestling Illustrated. August 9, 2011. สืบค้นเมื่อ August 16, 2011.
  74. Pro Wrestling Illustrated. 31 (3): 82–83. 2010. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  75. "And, finally ... PWI's 2010 Wrestler of the Year". Pro Wrestling Illustrated. January 17, 2011. สืบค้นเมื่อ January 17, 2011.
  76. "History Of The WWE Championship — Randy Orton". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ August 10, 2007.
  77. "Randy Orton's third WWE Championship reign". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ April 27, 2009.
  78. "Randy Orton's fourth WWE Championship reign". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ June 23, 2009.
  79. "World Heavyweight Championship - Randy Orton". WWE. May 6, 2011. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA