ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีเอ็มพังก์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 69: บรรทัด 69:
ในศึก [[ดับเบิลยูดับเบิลยูอี รอว์ 1000|รอว์ ตอนที่ 1,000]] (23 กรกฎาคม 2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซีนา ผลปรากฏว่า บิ๊กโชว์ออกมาอัดซีนา ทำให้พังก์ถูกปรับแพ้ฟาวล์ หลังแมตช์ บิ๊กโชว์กระทืบซีนาไม่ยั้ง แต่พังก์ก็ยืนดูเฉยๆ ไม่ยอมช่วย [[ดเวย์น จอห์นสัน|เดอะ ร็อค]] ออกมาช่วยซีนา และจะใช้ People's Elbow ใส่บิ๊กโชว์ แต่พังก์ขึ้นมาโคลทส์ไลน์ เล่นงานใส่ร็อค และจับใส่ GTS ก่อนจะเดินจากไปท่ามกลางเสียงโห่ของคนดูและกลายมาเป็นอธรรม<ref>{{cite web|last=Styles|first=Joey|title=Was CM Punk justified?|url=http://www.wwe.com/shows/raw/2012-07-23/was-cm-punk-justified|publisher=[[WWE]]|date=23 July 2012|accessdate=23 July 2012}}</ref><ref>{{cite web|last=Martin|first=Todd|title=Raw 1000th Episode Report|url=http://www.f4wonline.com/more/more-top-stories/3-news/26687-raw-1000th-episode-report-by-todd-martin|publisher=[[Wrestling Observer]]|date=23 July 2012|accessdate=23 July 2012}}</ref><ref>{{cite web|last=Herrera|first=Tom|title=Raw 1,000 results: John Cena failed to win the WWE Title; The Rock floored by CM Punk|url=http://www.wwe.com/shows/raw/2012-07-23/raw-1000-results/page-10|publisher=[[WWE]]|date=23 July 2012|accessdate=23 July 2012}}</ref> ในศึก [[เซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2012)]] พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซีนา และ [[ไรแบ็ค]] โดยถ้าพังก์ชนะป้องกันแชมป์ WWE เอาไว้ได้ พังก์จะครองแชมป์ WWE ครบ 365 วันหรือ 1 ปี สุดท้ายพังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์ WWE เอาไว้ได้ ทำให้พังก์สามารถครองแชมป์ WWE มาได้ครบ 1 ปีเต็ม จากการช่วยเหลือของกลุ่ม [[เดอะชีลด์ (มวยปล้ำอาชีพ)|เดอะชีลด์]]<ref>{{cite web|last=Murphy|first=Ryan|url=http://www.wwe.com/shows/survivorseries/2012/cm-punk-john-cena-ryback-2606628|title=WWE Champion CM Punk def. John Cena and Ryback (Triple Threat Match)|publisher=WWE|date=November 19, 2012|accessdate=2012-11-24}}</ref> ในศึก [[รอยัลรัมเบิล (2013)]] พังก์ก็เสียแชมป์ WWE ให้กับ เดอะ ร็อค หลังจากที่พังก์ครองแชมป์ WWE มาได้ถึง 434 วัน<ref>{{cite web|title=CALDWELL'S WWE ROYAL RUMBLE PPV RESULTS 1/27: Complete "virtual-time" coverage of Punk vs. Rock, 30-man Rumble|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wweppvs/article_68181.shtml}}</ref>
ในศึก [[ดับเบิลยูดับเบิลยูอี รอว์ 1000|รอว์ ตอนที่ 1,000]] (23 กรกฎาคม 2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซีนา ผลปรากฏว่า บิ๊กโชว์ออกมาอัดซีนา ทำให้พังก์ถูกปรับแพ้ฟาวล์ หลังแมตช์ บิ๊กโชว์กระทืบซีนาไม่ยั้ง แต่พังก์ก็ยืนดูเฉยๆ ไม่ยอมช่วย [[ดเวย์น จอห์นสัน|เดอะ ร็อค]] ออกมาช่วยซีนา และจะใช้ People's Elbow ใส่บิ๊กโชว์ แต่พังก์ขึ้นมาโคลทส์ไลน์ เล่นงานใส่ร็อค และจับใส่ GTS ก่อนจะเดินจากไปท่ามกลางเสียงโห่ของคนดูและกลายมาเป็นอธรรม<ref>{{cite web|last=Styles|first=Joey|title=Was CM Punk justified?|url=http://www.wwe.com/shows/raw/2012-07-23/was-cm-punk-justified|publisher=[[WWE]]|date=23 July 2012|accessdate=23 July 2012}}</ref><ref>{{cite web|last=Martin|first=Todd|title=Raw 1000th Episode Report|url=http://www.f4wonline.com/more/more-top-stories/3-news/26687-raw-1000th-episode-report-by-todd-martin|publisher=[[Wrestling Observer]]|date=23 July 2012|accessdate=23 July 2012}}</ref><ref>{{cite web|last=Herrera|first=Tom|title=Raw 1,000 results: John Cena failed to win the WWE Title; The Rock floored by CM Punk|url=http://www.wwe.com/shows/raw/2012-07-23/raw-1000-results/page-10|publisher=[[WWE]]|date=23 July 2012|accessdate=23 July 2012}}</ref> ในศึก [[เซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2012)]] พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซีนา และ [[ไรแบ็ค]] โดยถ้าพังก์ชนะป้องกันแชมป์ WWE เอาไว้ได้ พังก์จะครองแชมป์ WWE ครบ 365 วันหรือ 1 ปี สุดท้ายพังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์ WWE เอาไว้ได้ ทำให้พังก์สามารถครองแชมป์ WWE มาได้ครบ 1 ปีเต็ม จากการช่วยเหลือของกลุ่ม [[เดอะชีลด์ (มวยปล้ำอาชีพ)|เดอะชีลด์]]<ref>{{cite web|last=Murphy|first=Ryan|url=http://www.wwe.com/shows/survivorseries/2012/cm-punk-john-cena-ryback-2606628|title=WWE Champion CM Punk def. John Cena and Ryback (Triple Threat Match)|publisher=WWE|date=November 19, 2012|accessdate=2012-11-24}}</ref> ในศึก [[รอยัลรัมเบิล (2013)]] พังก์ก็เสียแชมป์ WWE ให้กับ เดอะ ร็อค หลังจากที่พังก์ครองแชมป์ WWE มาได้ถึง 434 วัน<ref>{{cite web|title=CALDWELL'S WWE ROYAL RUMBLE PPV RESULTS 1/27: Complete "virtual-time" coverage of Punk vs. Rock, 30-man Rumble|url=http://pwtorch.com/artman2/publish/wweppvs/article_68181.shtml}}</ref>


ในศึกรอว์ (4 มีนาคม 2013) พังก์ออกมาประกาศว่าจะทำลายสถิติของ อันเดอร์เทเกอร์ ในศึก [[เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29]] จากนั้นทั้ง ออร์ตัน, บิ๊กโชว์ และ เชมัส ก็ออกมาบอกว่าอยากจะเจอกับ อันเดอร์เทเกอร์ จากนั้น [[วิคกี เกอร์เรโร]] ออกมาจัดแมตช์ 4 เส้า พังก์, ออร์ตัน, บิ๊กโชว์ และ เชมัส ผู้ชนะจะได้เจอกับ อันเดอร์เทเกอร์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะและได้ไปเจอกับ ในศึก อันเดอร์เทเกอร์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29<ref>{{cite web|last=Tylwalk|first=Nick|title=Raw: Four men enter, one man leaves as Undertaker's WrestleMania opponent|url=http://slam.canoe.ca/Slam/Wrestling/2013/03/05/20629096.html|publisher=SLAM! Wrestling|accessdate=8 March 2013|date=March 5, 2013}}</ref>
ในศึกรอว์ (4 มีนาคม 2013) พังก์ออกมาประกาศว่าจะทำลายสถิติของ อันเดอร์เทเกอร์ 20-0 ในศึก [[เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29]] จากนั้นทั้ง ออร์ตัน, บิ๊กโชว์ และ เชมัส ก็ออกมาบอกว่าอยากจะเจอกับ อันเดอร์เทเกอร์ จากนั้น [[วิคกี เกอร์เรโร]] ออกมาจัดแมตช์ 4 เส้า พังก์, ออร์ตัน, บิ๊กโชว์ และ เชมัส ผู้ชนะจะได้เจอกับ อันเดอร์เทเกอร์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะและได้ไปเจอกับ ในศึก อันเดอร์เทเกอร์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29<ref>{{cite web|last=Tylwalk|first=Nick|title=Raw: Four men enter, one man leaves as Undertaker's WrestleMania opponent|url=http://slam.canoe.ca/Slam/Wrestling/2013/03/05/20629096.html|publisher=SLAM! Wrestling|accessdate=8 March 2013|date=March 5, 2013}}</ref> แต่ก็แพ้ไป ทำให้อันเดอร์เทเกอร์เพิ่มสถิติเป็น 21-0


== เกี่ยวกับมวยปล้ำ ==
== เกี่ยวกับมวยปล้ำ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:05, 9 เมษายน 2556

ซีเอ็ม พังก์
เกิด (1978-10-26) 26 ตุลาคม ค.ศ. 1978 (45 ปี)
ชิคาโก, รัฐอิลลินอยส์
ที่พักล็อกพอร์ต, รัฐอิลลินอยส์
เว็บไซต์CMPunk.com
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนซีเอ็ม พังก์ (CM Punk)
ส่วนสูง6 ft 2 in (1.88 m)
น้ำหนัก218 lb (99 กก)
มาจากชิคาโก, รัฐอิลลินอยส์
ฝึกหัดโดยเอส สตีล
แดนนี โดมิเนียน
เควิน ควิน
เดฟ เทเลอร์
เดฟ ฟินเลย์
วิลเลียม รีกัล
โรงเรียนมวยปล้ำสตีลโดมิเนียน
เปิดตัวค.ศ. 1999

ฟิลลิป แจ็ก บรูกส์[1] เกิดวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1978[2] เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน ปัจจุบันเซ็นสัญญาให้กับสมาคม เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ หรือ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ในนามสังเวียนมวยปล้ำมีชื่อว่า ซีเอ็ม พังก์

ประวัติในสังเวียนมวยปล้ำ

เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ / ดับเบิลยูดับเบิลยูอี (2006 - ปัจจุบัน)

ซีเอ็ม พังก์ กับ กระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์
ซีเอ็ม พังค์ กับ แชมป์โลกแทคทีม
ซีเอ็ม พังก์ กับ แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล
สเตรจต์เอดจ์โซไซตี้:ซีเอ็ม พังก์, เซเรน่า และ ลุค กาล์โลว์
ซีเอ็ม พังก์ เป็นหัวหน้ากลุ่มเดอะนิวเน็กซัส

ซีเอ็ม พังก์ มีชื่อมาจากชื่อย่อแทคทีมของทีมตนที่มีชื่อทีมคือ ชิค แม็กเน็ตส์ ซึ่งทีมนี้เกิดจาก แบ็คยาร์ดเรสต์ลิง (ปล้ำเล่นกันเอง ณ.สวนหลังบ้านของเขาเอง) ซึ่งพังก์ คู่กับเพื่อนที่ชื่อว่า วีนอม พออยู่ในแทคทีมเขาทั้งคู่จึงในนามแทคทีมใช้เป็นตัวย่อ "ซีเอ็ม" จึงเป็น ซีเอ็ม วีนอม[3][4] พังก์เป็นอดีตแชมป์โลกของสมาคม ริงออฟออเนอร์ ในสมาคม WWE ได้เป็นทั้ง แชมป์ WWE 2 สมัย, แชมป์โลกเฮฟวี่เวท 3 สมัย และ แชมป์โลก ECW 1 สมัย ตามด้วย แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล 1 สมัย และ แชมป์โลกแทคทีม 1 สมัย คู่กับ โคฟี คิงส์ตัน และเป็นแชมป์ทริปเปิล คราวน์ คนที่ 19 ของ WWE นอกจากนี้พังก์ยังเป็นผู้ชนะในแมตช์การปล้ำไต่บันไดชิงกระเป๋า มันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์ เพื่อชิงสัญญาการชิงแชมป์โลกที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใด ก็ได้ ในศึก เรสเซิลเมเนีย 2 ปีซ้อน

พังก์ได้เปิดตัวครั้งแรกในศึก อีซีดับเบิลยู และได้ปล้ำแมตช์แรก ในศึกเฮาส์โชว์ วันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ของศึก ECW โดยเจอกับ สตีวี ริชาร์ดส สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายเอาชนะ สตีวี ริชาร์ด มาได้สำเร็จ[5] พังก์ได้เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการในศึก ECW (4 กรกฎาคม 2006) ในนามซูเปอร์สตาร์ดาวรุ่งแห่งค่าย ECW ภายใต้สโลแกนด์ สเตรจต์เอดจ์ซูเปอร์สตาร์ "ไม่เสพสิ่งเสพติดใดๆ ไม่ดื่มเหล้า" และก็ได้ขึ้นปล้ำอย่างเป็นทางการในศึก ECW (1 สิงหาคม 2006) โดยการเอาชนะ จัสติน เครดิเบิล จากนั้นพังก์ก็สามารถล้มนักมวยปล้ำใน ECW ได้หลายคน ได้แก่ คริสโตเฟอร์ ดับเบิลยู. แอนเดอร์สัน, สตีวี ริชาร์ดส และ ชานนอน มัวร์ จนเป็นสถิติที่ไร้พ่ายหลังจากการเปิดตัว (ชนะ 4 แพ้ 0) ในช่วงนั้น[6]

ในศึก เซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ 2006 พังก์ได้เข้าร่วมทีมกับ ดี-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ (ทริปเปิล เอช และ ชอว์น ไมเคิลส์) และ ฮาร์ดี บอยซ์ (แมทท์ ฮาร์ดี และ เจฟฟ์ ฮาร์ดี) สามารถเอาชนะทีมเรด อาร์เคโอ (เอดจ์ และ แรนดี ออร์ตัน), ไมค์ น็อกซ์, เกรกอรี เฮมส์ และ จอห์นนี ไนโตร มาได้สำเร็จ[7] ต่อมา ในศึก ดีเซมเบอร์ ทู ดิสเมมเบอร์ พังก์จะต้องเจอกับ บิ๊กโชว์, ร็อบ แวน แดม, เทสต์, ฮาร์ดคอร์ ฮอลลี และ บ็อบบี แลชลีย์ ในแมตช์การปล้ำ เอกซ์ตรีม อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ เพื่อชิงแชมป์โลก ECW สุดท้ายพังก์ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์โลก ECW มาได้[8] ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 พังก์ได้เข้าร่วมในแมตช์ไต่บันไดชิงกระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์ แต่ไม่สำเร็จ[9]

ในศึก ECW (10 เมษายน 2007) พังก์ได้กลายเป็นฝ่ายอธรรมและเข้าร่วมกลุ่มของนักมวยปล้ำ ECW ยุคใหม่อย่างทีมนิว บรีด (อีไลจาห์ เบิร์ก (หัวหน้า), มาร์คัส คอร์ วอน, เควิน ทอร์น และ แมทท์ สไตรเกอร์)[10] ที่กำลังเปิดศึกกับทีม อีซีดับเบิลยู ออริจินัล (ร็อบ แวน แดม, ทอมมี ดรีมเมอร์, ซาบู และ แซนด์แมน)[11][12] จากนั้นอีก 2 สัปดาห์ พังก์ก็หักหลังทีมนิว บรีด หันกลับไปอยู่กับทีมอีซีดับเบิลยู ออริจินัล และกลับมาเป็นฝ่ายธรรมะอีกครั้ง[13] ในศึก วันไนท์สแตนด์ 2007 ทีมอีซีดับเบิลยู ออริจินัล (พังก์, ทอมมี ดรีมเมอร์ และ เดอะ แซนด์แมน) เจอกับทีมนิว บรีด (อีไลจาห์ เบิร์ก, มาร์คัส คอร์ วอน และ แมทท์ สไตรเกอร์) ในการปล้ำแทคทีม 6 คน ในการจับคู่ต่อสู้ทุ่มใส่โต๊ะ สุดท้ายทีมอีซีดับเบิลยู ออริจินัล ก็เป็นฝ่ายชนะ[14]

บ็อบบี แลชลีย์ เจ้าของแชมป์โลก ECW ได้ถูกดราฟท์ไปอยู่รอว์ และต้องถูกปลดจากตำแหน่ง ทำให้ตำแหน่งว่างลง เลยมีการจัดทัวร์นาเมนต์ เพื่อหาเจ้าของแชมป์โลก ECW คนใหม่ ซึ่งครั้งนั้นพังก์เอาชนะ มาร์คัส คอร์ วอน และ คริส เบนวา ก็เอาชนะ อีไลจาห์ เบิร์ก ทั้งคู่ได้เข้าสู่รอบชิงในศึก เวนเจินส์ 2007 พังก์จะต้องเจอกับ คริส เบนวา ในแมตช์การปล้ำชิงแชมป์โลก ECW[15] แต่พอในคืนนั้นจริง คริส เบนวา มาไม่ได้จึงให้ จอห์นนี ไนโตร มาปล้ำแทน สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายแพ้ทำให้ จอห์นนี ไนโตร คว้าแชมป์โลก ECW ไปในที่สุด[16] หลังจากนั้น พังก์ก็ได้ขอท้าชิงแชมป์โลก ECW จาก จอห์นนี ไนโตร แต่ก็เป็นฝ่ายแพ้ถึง 3 ครั้งติดต่อกัน และ ในศึก ECW (1 กันยายน 2007) พังก์ได้ขอท้าชิงแชมป์โลก ECW กับ จอห์น มอร์ริสัน หรือ จอห์นนี ไนโตร สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะและคว้าแชมป์โลก ECW มาได้สำเร็จ[17] ในศึก ECW (22 มกราคม 2008) พังก์ได้เสียแชมป์โลก ECW กับ ชาโว่ เกอร์เรโร่ ในแมตช์การปล้ำไม่มีกฎกติกา จากการถูก เอดจ์ มาลอบทำร้ายด้วยท่า สเปียร์[18]

ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 24 พังก์ได้ชนะในแมตช์ไต่บันไดชิงกระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ และคว้ากระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ มาได้สำเร็จ[19] ต่อมา พังก์ได้ย้ายมาอยู่รอว์ จากผลดราฟท์ ในศึกรอว์ (23 มิถุนายน 2008)[20] ในคืนเดียวกัน พังก์ก็ขอใช้สิทธิ์มันนีอินเดอะแบงก์ กับ เอดจ์ เจ้าของตำแหน่งแชมป์โลกเฮฟวี่เวท หลังจากถูก บาทิสตา ลอบทำร้าย จนอยู่ในสภาพไม่พร้อมปล้ำ และพังก์ก็เอาชนะ เอดจ์ และคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เป็นสมัยแรกมาได้สำเร็จ ในศึก อันฟอร์กิฟเว่น (2008) พังก์ได้ถูกกลุ่ม เดอะเลกาซี (แรนดี ออร์ตัน, โคดี โรดส์, เท็ด ดิบิอาซี่ และ มานู) ลอบทำร้าย และถูก แรนดี ออร์ตัน เตะเข้าไปที่กะโหลกศีรษะ ทำให้ พังก์ต้องพักการปล้ำ และสละแชมป์โลกเฮฟวี่เวท[21]

ในศึกรอว์ (27 ตุลาคม 2008) พังก์ได้จับคู่กับ โคฟี คิงส์ตัน เจอกับ โคดี โรดส์ และ เท็ด ดิบิอาซี่ 2 สมาชิกกลุ่มเดอะเลกาซี สุดท้าย พังก์และโคฟี ก็เป็นฝ่ายชนะและคว้าแชมป์โลกแทคทีมมาได้[22] ในศึกรอว์ ได้มีการจัดทัวร์นาเมนต์ เพื่อหาผู้ท้าชิงอินเตอร์คอนติเนนทัล กับ วิลเลียม รีกัล โดยพังก์ได้เข้าร่วมและได้มาสู่ทัวร์นาเมนต์รอบสุดท้าย กับ เรย์ มิสเตริโอ ต่อมา วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2008 พังก์และโคฟี ก็เสียแชมป์ให้กับ จอห์น มอร์ริสัน และเดอะ มิซ[23] ในศึก อาร์มาเกดดอน (2008) พังก์ได้เจอกับเรย์ โดยถ้าใครชนะจะได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล กับ วิลเลียม รีกัล สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะ และได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล กับ วิลเลียม รีกัล

ในศึกรอว์ (5 มกราคม 2009) พังก์ได้ชิงแชมป์กับรีกัล สุดท้ายพังก์ถูกปรับแพ้ฟาล์ว ทำให้พังก์ไม่ได้แชมป์[24] ในศึกรอว์ (19 มกราคม 2009) พังก์ได้เอาชนะรีกัล ในแมตช์การปล้ำไม่มีกฎกติกา และสามารถคว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลมาได้[25] และได้เป็นแชมป์ทริปเปิล คราวน์ คนที่ 19 ของสมาคม WWE[25] ในศึกรอว์ (9 มีนาคม 2009) พังก์ก็เสียแชมป์ให้กับ เจบีแอล[26]

ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 พังก์ได้ชนะในแมตช์ไต่บันไดชิงกระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ และคว้ากระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ มาได้สำเร็จ เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน[27] ต่อมา พังก์ได้ย้ายมาอยู่ สแมคดาวน์ จากผลดราฟท์ ในศึกรอว์ (13 เมษายน 2009)[28] ในคืนเดียวกัน พังก์ก็ขอใช้สิทธิ์มันนีอินเดอะแบงก์ กับ เอดจ์ เจ้าของตำแหน่งแชมป์โลกเฮฟวี่เวท อีกครั้ง แต่ยังไม่ทันใช้สิทธิ์พังก์ก็โดน อูมาก้า เข้ามาขัดขวาง ทำให้ไม่ได้ใช้สิทธิ์มันนีอินเดอะแบงก์ จากนั้นพังก์ก็ได้เปิดศึกกับ อูมาก้า และเจอกันในศึก จัดจ์เมนท์เดย์ (2009) สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายแพ้ให้กับ อูมาก้า ไปในที่สุด ต่อมา ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2009) พังก์ก็เอาชนะ อูมาก้า มาได้ ในแมตช์การปล้ำซามวน สแตรป[29] ในคืนเดียวกัน พังก์ได้ใช้สิทธิ์มันนีอินเดอะแบงก์ เพื่อชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับ เจฟฟ์ ฮาร์ดี ที่เพิ่งได้แชมป์มาจาก เอดจ์ สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะและคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เป็นสมัยที่ 2[30]

พังก์ก็ได้กลายมาเป็นฝ่ายอธรรม และเปิดศึกกับเจฟฟ์ และเสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ให้กับเจฟฟ์ ในศึก ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2009)[31] แต่พังก์ก็ไม่ยอมและขอท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท คืนจาก เจฟฟ์ ฮาร์ดี ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2009) ในรูปแบบการปล้ำ TLC Match และพังก์คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เป็นสมัยที่ 3 มาได้สำเร็จ หลังแมตช์ ดิอันเดอร์เทเกอร์ มาเล่นงานพังก์[32] ในศึก สแมคดาวน์ (28 สิงหาคม 2009) พังก์จะต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับเจฟฟ์อีกครั้ง ในแมตช์การปล้ำในกรงเหล็ก โดยมีการเดิมพันว่าถ้าเจฟฟ์แพ้ เจฟฟ์จะต้องออกจาก WWE สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะป้องกันแชมป์เอาไว้ได้ ทำให้ เจฟฟ์ต้องออกจาก WWE[33]

พังก์ได้เปิดศึกกับ อันเดอร์เทเกอร์ และจะต้องกันแชมป์กับ อันเดอร์เทเกอร์ ในศึก เบรกกิ้งพอยท์ สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายแพ้ด้วยท่า Hells's Gate และเสียแชมป์ แต่ว่า ทีโอดอร์ ลอง ได้ประกาศให้เริ่มแมตช์ใหม่อีกครั้ง เพราะท่านี้ถูกแบนพังก์เลยฉวยโอกาสจัดการใส่ อนาคอนด้า ไวส์ และกรรมการตัดสินให้พังก์ชนะทั้งที่ อันเดอร์เทเกอร์ ไม่ได้ตบพื้นยอมแพ้เหมือนเหตุการณ์ มอนทรีออลสครูว์จ็อบ และพังก์ยังเป็นแชมป์ต่อไป[34] ในศึก เฮลอินเอเซล (2009) พังก์ก็เสียแชมป์ให้กับ อันเดอร์เทเกอร์ ในแมตช์การปล้ำเฮลอินเอเซล[35] ในศึก สแมคดาวน์ (27 พฤศจิกายน 2009) พังก์ได้ก่อตั้งกลุ่ม สเตรจต์เอดจ์โซไซตี้ โดยมี พังก์ และ ลุค กาล์โลว์[36] ภายใต้สโลแกนด์ “ปลอดสารเสพติด” โดยพังก์ได้มาบรรยายสรรพคุณของ สเตรจต์เอดจ์โซไซตี้ ว่าเขาสามารถพัฒนาชีวิตของ ลุค กาล์โลว์ ได้[37] จากนั้นพังก์ก็เริ่มเทศน์โดยเอาผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมลัทธิมาโกนหัว และก็ได้เจอ เซเรนา ที่อยากจะเข้าร่วมก็จับโกนหัวและมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสเตรจต์เอดจ์โซไซตี้[38]

พังก์ได้เปิดศึกกับ เรย์ มิสเตริโอ[39] และได้เจอกัน ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายแพ้ไป[40] ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2010) พังก์ก็เอาชนะ เรย์ มาได้ จากการช่วยเหลือของ โจอี เมอร์คิวรี[41] ในศึก โอเวอร์เดอะลิมิต (2010) พังก์จะต้องเจอกับเรย์อีกครั้ง โดยถ้าพังก์ชนะ เรย์จะต้องเข้ามาอยู่กลุ่มสเตรจต์เอดจ์โซไซตี้ แต่ถ้าเรย์ชนะ พังก์ต้องโดนโกนหัว สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายแพ้จึงถูก เรย์โกนหัวทำให้พังก์หัวล้านและต้องใส่หน้ากากปล้ำตลอดเวลา[42]

ในศึก สแมคดาวน์ (16 กรกฎาคม 2010) พังก์ถูก บิ๊กโชว์ จับถอดหน้ากากจนเห็นหัวล้านของพังก์[43] ทำให้พังก์แค้นมาก และขอท้าเจอกัน ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2010) ในแมตช์การปล้ำแฮนดิแคป 3 รุม 1 กลุ่มสเตรจต์เอดจ์โซไซตี้ (พังก์, ลุค กาล์โลว์ และ โจอี เมอร์คิวรี) เจอกับ บิ๊กโชว์ สุดท้ายกลุ่มสเตรจต์เอดจ์โซไซตี้ ก็เป็นฝ่ายแพ้ไปในที่สุด[44] ในศึก ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2010) พังก์ได้เจอกับบิ๊กโชว์ สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายแพ้ไป[45] เซเรนา ได้ถูกไล่ออกจาก WWE[46] และ โจอี เมอร์คิวรี ได้รับอาการบาดเจ็บ[47] จากนั้นไม่นานพังก์ก็ได้แตกทีมกับ ลุค กาล์โลว์ ในศึก สแมคดาวน์ (24 กันยายน 2010) พังก์ได้เจอกับกาล์โลว์ และพังก์ก็เอาชนะมาได้ จากนั้นกลุ่มสเตรจต์เอดจ์โซไซตี้ก็ได้แตกกลุ่มกันไป[48]

พังก์ได้ย้ายมาสังกัดรอว์ และได้เอาชนะ อีแวน บอร์น ทำให้ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกทีมฝั่งรอว์ หลังแมตช์พังก์ได้เล่นงานบอร์น ด้วยท่า อนาคอนด้า ไวส์ ทำให้บอร์นได้รับบาดเจ็บ[49] ในศึก แบรกกิ้ง ไรท์ส (2010) พังก์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกทีมฝั่งรอว์ ปะทะกับทีมฝั่งสแมคดาวน์ สุดท้ายทีมฝั่งรอว์ก็เป็นฝ่ายแพ้ไป[50] พังก์มีอาการบาดเจ็บที่สะโพก พังก์จึงมาเป็นโฆษกผู้บรรยายอยู่ข้างเวทีชั่วคราว[51][52] ในศึกรอว์ (22 พฤศจิกายน 2010) พังก์ได้เอาเก้าอี้มาตีใส่ จอห์น ซีนา แบบไม่มีเหตุผล[53][54] ไม่นานพังก์ก็ได้ประกาศตนเองเป็นหัวหน้ากลุ่ม เดอะเน็กซัส แทนอดีตหัวหน้ากลุ่มเดอะเน็กซัส เวด บาร์เร็ตต์[55]

พังก์ได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มจากเดอะเน็กซัส เป็น เดอะนิวเน็กซัส ในศึก รอยัลรัมเบิล (2011) พังก์ได้ไปก่อกวนการปล้ำของ แรนดี ออร์ตัน ในแมตช์การปล้ำชิงแชมป์ WWE กับ เดอะ มิซ ทำให้ ออร์ตันแพ้ให้กับ เดอะ มิซ[56] จากนั้นพังก์ได้เปิดศึกกับ แรนดี ออร์ตัน โดยในปี 2008 ออร์ตันได้เตะกะโหลกศีรษะของพังก์ ทำให้ต้องสละแชมป์โลกเฮฟวี่เวท และพังก์ได้รอคอยวันที่จะล้างแค้นออร์ตันมานานจนกระทั่งมีกลุ่มเดอะนิวเน็กซัส ทำให้พังก์ได้ล้างแค้นอย่างสมใจ ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 พังก์ได้เจอกับออร์ตัน โดยจะไม่มีกลุ่มเดอะนิวเน็กซัส อยู่ข้างเวทีด้วย สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายแพ้ไป[57] ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2011) พังก์ได้เจอกับออร์ตัน อีกครั้ง ในแมตซ์การปล้ำลาสแมนสแตนดิ้ง โดยถ้าใครถูกกรรมการนับ 10 ก่อนจะเป็นฝ่ายแพ้ไป สุดท้ายพังก์เป็นฝ่ายถูกกรรมการนับ 10 แพ้ไปเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน[58]

ในศึกรอว์ (20 มิถุนายน 2011) พังก์ได้เอาชนะ เรย์และ อัลเบอร์โต เดล รีโอ ในแมตช์การปล้ำ 3 เส้า ทำให้ได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE กับซีนา ในศึก มันนีอินเดอะแบงก์ (2011) ในศึกรอว์ (27 มิถุนายน 2011) พังก์ได้พูดด่าทั้ง WWE, ซีนา และอีกหลายๆ คนร่วมทั้งประธานบริษัท WWE และ CEO ของสมาคม WWE วินซ์ แม็กแมน จนถูกตัดเสียงไมโครโฟน ซึ่งเป็นการตัดสินใจของวินซ์ แล้วปิดรายการในทันที ซึ่งรายงานล่าสุดเป็นรายงานว่า พังก์ถูกระงับอย่างไม่มีกำหนดโดย WWE[59] ในศึกรอว์ (11 กรกฎาคม 2011) วินซ์สั่งให้มีแมตช์การปล้ำระหว่าง ซีนากับพังก์ อีกครั้ง ในศึก มันนีอินเดอะแบงก์ โดยมีข้อแม้ว่าถ้าพังก์ชนะ พังก์จะลาออกจาก WWE พร้อมกับ แชมป์ WWE และ ซีนาก็ต้องออกจาก WWE อีกด้วย[60] ในศึก มันนีอินเดอะแบงก์ พังก์ได้เอาชนะซีนา และคว้าแชมป์ WWE เป็นสมัยแรกมาได้ และพังก์ก็ได้ลาออกจาก WWE พร้อมกับแชมป์ WWE และ ซีนาก็ต้องออกจาก WWE หลังแมตช์ วินซ์รีบเดินไปที่โต๊ะผู้บรรยายแล้วต่อสายเรียกเดล รีโอ ให้ออกมาใช้กระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ เดล รีโอวิ่งออกมาพร้อมกระเป๋า พังก์เตะก้านคอใส่เดล รีโอ และปีนที่กั้นคนดูหนีออกจากสนามไปท่ามกลางผู้ชมพร้อมกับ แชมป์ WWE

ในศึกรอว์ (25 กรกฎาคม 2011) พังก์ได้มาปรากฏตัวด้วยเพลงเปิดตัวใหม่พร้อมกับเข็มขัดแชมป์ WWE และยืนจ้องหน้ากับซีนา เจ้าของแชมป์ WWE เส้นใหม่ หลังจากที่ ซีนาไม่ถูกไล่ออก จากนั้นต่างฝ่ายต่างชูเข็มขัดของตัวเองประกาศศักดา[61][62] ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2011) พังก์เจ้าของแชมป์ WWE ได้เจอกับ จอห์น ซีนา เจ้าของแชมป์ WWE ในแมตช์การปล้ำชิงแชมป์อันดิสพิวเด็ต WWE โดยมี ทริปเปิล เอช เป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะและคว้าแชมป์อันดิสพิวเด็ต WWE มาได้[63] หลังแมตช์ เควิน แนช ได้มาลอบทำร้ายพังก์ และใส่ท่า Jackknife Powerbomb เล่นงานพังก์ จากนั้นเดล รีโอออกมาพร้อมกระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ ใช้สิทธิ์ชิงแชมป์ WWE ทันที และพังก์ก็เสียแชมป์ WWE ให้กับเดล รีโอ[64]

พังก์ได้กลับมาเป็นฝ่ายธรรมะอีกครั้ง และได้เปิดศึกกับเดล รีโอ ในศึก เซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2011) พังก์ได้ขอท้าชิงแชมป์ WWE กับเดล รีโอ สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายเอาชนะและได้คว้าแชมป์ WWE เป็นสมัยที่ 2[65][66] พังก์ได้เปิดศึกกับ ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์ และได้มีเรื่องกับ จอห์น โลรีนายติส ผู้จัดการทั่วไปชั่วคราวของรอว์ ในศึก รอยัลรัมเบิล (2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซิกก์เลอร์ โดยมี โลรีนายติสเป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายพังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์ WWE เอาไว้ได้[67]

พังก์ได้เปิดศึกกับ คริส เจอริโค ในศึกรอว์ (20 กุมภาพันธ์ 2012) เจอริโคได้เป็นผู้ชนะในแมตช์แบทเทิลรอยัล ทำให้เจอริโคได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE กับพังก์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 หลังแมตช์พังก์ได้ขึ้นมาแสดงความยินดีด้วยการจับมือแต่เจอริโคไม่จับมือแล้วเดินกลับไป[68] ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 พังก์จะต้องป้องกันแชมป์ WWE กับเจอริโค โดย โลรีนายติสสั่งไว้ว่าถ้าพังก์ถูกปรับแพ้ฟาล์ว พังก์จะเสียแชมป์ให้กับเจอริโค ทันที สุดท้ายพังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์ WWE เอาไว้ได้[69] ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับเจอริโคอีกครั้ง ในแมตช์การปล้ำชิคาโกสตรีทไฟท์ สุดท้ายพังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[70]

ในศึก รอว์ ตอนที่ 1,000 (23 กรกฎาคม 2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซีนา ผลปรากฏว่า บิ๊กโชว์ออกมาอัดซีนา ทำให้พังก์ถูกปรับแพ้ฟาวล์ หลังแมตช์ บิ๊กโชว์กระทืบซีนาไม่ยั้ง แต่พังก์ก็ยืนดูเฉยๆ ไม่ยอมช่วย เดอะ ร็อค ออกมาช่วยซีนา และจะใช้ People's Elbow ใส่บิ๊กโชว์ แต่พังก์ขึ้นมาโคลทส์ไลน์ เล่นงานใส่ร็อค และจับใส่ GTS ก่อนจะเดินจากไปท่ามกลางเสียงโห่ของคนดูและกลายมาเป็นอธรรม[71][72][73] ในศึก เซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซีนา และ ไรแบ็ค โดยถ้าพังก์ชนะป้องกันแชมป์ WWE เอาไว้ได้ พังก์จะครองแชมป์ WWE ครบ 365 วันหรือ 1 ปี สุดท้ายพังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์ WWE เอาไว้ได้ ทำให้พังก์สามารถครองแชมป์ WWE มาได้ครบ 1 ปีเต็ม จากการช่วยเหลือของกลุ่ม เดอะชีลด์[74] ในศึก รอยัลรัมเบิล (2013) พังก์ก็เสียแชมป์ WWE ให้กับ เดอะ ร็อค หลังจากที่พังก์ครองแชมป์ WWE มาได้ถึง 434 วัน[75]

ในศึกรอว์ (4 มีนาคม 2013) พังก์ออกมาประกาศว่าจะทำลายสถิติของ อันเดอร์เทเกอร์ 20-0 ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 จากนั้นทั้ง ออร์ตัน, บิ๊กโชว์ และ เชมัส ก็ออกมาบอกว่าอยากจะเจอกับ อันเดอร์เทเกอร์ จากนั้น วิคกี เกอร์เรโร ออกมาจัดแมตช์ 4 เส้า พังก์, ออร์ตัน, บิ๊กโชว์ และ เชมัส ผู้ชนะจะได้เจอกับ อันเดอร์เทเกอร์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะและได้ไปเจอกับ ในศึก อันเดอร์เทเกอร์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29[76] แต่ก็แพ้ไป ทำให้อันเดอร์เทเกอร์เพิ่มสถิติเป็น 21-0

เกี่ยวกับมวยปล้ำ

ซีเอ็ม พังก์ ใช้ท่า โก ทู สลีพ เล่นงานใส่ ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์
ซีเอ็ม พังก์ ใช้ท่า อนาคอนด้า ไวส์ เล่นงานใส่ ไมค์ น็อกซ์
ซีเอ็ม พังก์ ใช้ท่า ไดวิง เอลโบว์ ดรอป เล่นงานใส่ อัลเบอร์โต เดล รีโอ
ซีเอ็ม พังก์ ใช้ท่า บูลด็อกส์ เล่นงานใส่ อัลเบอร์โต เดล รีโอ
ซีเอ็ม พังก์ ใช้ท่า สปริงบอร์ด โคลสไลน์ เล่นงานใส่ เคน
ซีเอ็ม พังก์ สมัยอยู่ในสมาคม ริงออฟออเนอร์
    • ท่าเอกลักษณ์
      • Arm trap swinging neckbreaker
      • Arm wrench followed โดย stepping a leg over the wrenched arm และ performing a mule kick พร้อมกับ the leg below the opponent's face
      • Bulldog
      • Diving crossbody
      • Diving elbow drop (ใช้ท่าไม้ตายของ แรนดี ซาเวจ)
      • Double underhook backbreaker
      • Falcon arrow
      • Hurricanrana to an opponent seated on the top rope
      • Jumping hammerlock twisted into a short-range lariat
      • Koji clutch
      • Leg lariat
      • Mongolian chop
      • Repeated elbow strikes to an opponent's chest
      • Rope hung arm trap can opener
      • Roundhouse kick (Occasionally used as a finisher)
      • Slingshot somersault senton
      • Snap scoop powerslam
      • Snap suplex
      • Springboard clothesline
      • Springboard crossbody
      • Step-up enzuigiri
      • Step-up high knee to a cornered opponent followed by a bulldog
      • Suicide dive
      • Swinging neckbreaker
      • Tilt-a-whirl backbreaker
    • ฉายาและชื่ออื่นๆ
      • "เดอะ เบสต์ อิน เดอะ เวิลด์"
      • "มิสเตอร์มันนีอินเดอะแบงก์"
      • "เดอะ ซีคอนด์ ซิตี เซนท์ / ซาไวเวอร์"
      • "เดอะ ซีคอนด์ ซิตี ซาไวเออร์ / ซูเปอร์สตาร์"
      • "เดอะ วอยซ์ ออฟ เดอะ วอยซ์เลส"
    • เพลงเปิดตัว
      • "This Fire Burns" โดย คิลสวิตช์ อิงเกจ (2006 - 2011)
      • "Cult of Personality" โดย ลิวิง คัลเลอร์ (2011 - ปัจจุบัน)
  • ค่ายอิสระ
    • ท่าไม้ตาย
      • Anaconda Vise or an arm triangle choke
      • Pepsi Plunge (Diving double underhook facebuster)
      • Shining wizard
    • ท่าเอกลักษณ์
      • Arm wrench followed by stepping a leg over the wrenched arm and performing a mule kick with the leg below the opponent's face
      • Corkscrew diving neckbreaker
      • Crooked Moonsault (Split-legged moonsault)
      • Delayed vertical suplex
      • Devil Lock DDT (Hammerlock legsweep DDT)
      • Facewash
      • Inverted facelock backbreaker
      • Inverted frankensteiner
      • Jackie Chan (While sitting in a corner Punk grasps the top rope with one hand on each side of the turnbuckle and when the opponent attempts to pull Punk off the ropes by his legs, Punk performs a back tuck, landing on his feet)
      • Pepsi Twist (Jumping hammerlock twisted into a short-range lariat)
      • Punk–Handle Piledriver (Pumphandle reverse piledriver)
      • Rolling fireman's carry slam
      • Slingshot somersault senton
      • Springboard corkscrew crossbody
      • Suicide dive
      • Welcome to Chicago, Motherfucker (Double underhook backbreaker)
    • คู่กับ จูลีโอ ดีเนโร
      • Double superkick
      • Near Death Experience (Diving neckbreaker (พังค์) / Powerbomb (ดีเนโร) combination)
    • ผู้จัดการ
      • ไมโล แบส์ลีย์
      • เทรซี บลู๊คส์
      • บ็อบบี ฮีแนน
      • พอล เฮเมน
      • อเล็กซ์ส ลารี / วิคกี อดัมส์
      • ลูซี
      • จอสห์ มาสเตอร์ส
      • เจมส์ มิเชล
      • เดฟ เพรแซค
    • เพลงเปิดตัว
      • "Shitlist" โดย L7
      • "South of Heaven" โดย สเลเยอร์
      • "A Call for Blood" โดย เฮดบรีด
      • "Miseria Cantare (The Beginning)" โดย เอเอฟไอ
      • "Cult of Personality" โดย ลิวิง คัลเลอร์
      • "Night Train" โดย เดอะ บอนซิง โซลส์
      • "¡Olé!" โดย เดอะ บอนซิง โซลส์
  • ผู้ฝึกสอนนักมวยปล้ำ
    • แอนโทนี แบล็นคา
    • แอนโทนี ฟรานโค
    • บ็อบบี เด็มป์ซีย์
    • เดวี แอนดรูว์ส
    • เดอเร็ค เด็มป์ซีย์
    • อีแวน สตาร์สมอร์
    • กริซลี เรดวูด
    • เจย์ เจนเซน
    • แมตต์ เทอร์เนอร์
    • เพลล์ พรีมิว
    • เชน ฮากาดอร์น
    • สแมช แบรดลีย์

ผลงานทั้งหมด

ซีเอ็ม พังก์ กับ แชมป์ WWE
ซีเอ็ม พังก์ กับ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท
ซีเอ็ม พังก์ กับ แชมป์โลก ECW
  • อินเดเพนเดนท์ เรสต์ลิง อัสโสเซียชัน ไมด์-เซาท์
    • ไอดับเบิลยูเอ ไมด์-เซาท์ เฮฟวี่เวท แชมเปียนชิพ (5 สมัย)[77]
    • ไอดับเบิลยูเอ ไมด์-เซาท์ ไลท์เฮฟวี่เวท แชมเปียนชิพ (2 สมัย)[78]
  • อินเตอร์เนชันแนลเรสต์ลิงคาร์เทิล
    • ไอดับเบิลยูซี เฮฟวี่เวท แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[79]
  • ไมด์-อเมริกันเรสต์ลิง
    • เอ็มเอดับเบิลยู เฮฟวี่เวท แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[80]
  • เอ็นดับเบิลยูเอ ไซเบอร์สเปช
    • เอ็นดับเบิลยูเอ ไซเบอร์สเปช แทคทีม แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[81] – คู่กับ จูลิโอ ดิเนโร
  • เอ็นดับเบิลยูเอ เรโวลูชัน
    • เอ็นดับเบิลยูเอ เรโวลูชั่น เฮฟวี่เวท แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[82]
  • โอไฮโอเวลลีย์เรสต์ลิง
    • โอวีดับเบิลยู เฮฟวี่เวท แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[83]
    • โอวีดับเบิลยู เซาท์เธน แทคทีม แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[84] – คู่กับ เซท สกายไฟร์
    • โอวีดับเบิลยู เทเลวิชัน แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[85]
  • โปรเรสต์ลิงอีลลัชเทรทิด
    • ความแตกร้าวยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2011)[86] ปะทะ จอห์น ซีนา
    • แมตช์ยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2011)[87] ปะทะ จอห์น ซีนา ในศึก มันนีอินเดอะแบงก์
    • นักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งปี (ปี 2011)[88]
    • นักมวยปล้ำยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2011)[89]
    • พีดับเบิลยูไอ จัดในอันดับที่ 3 ของท็อป 500 อันดับ ซิงเกิลนักมวยปล้ำแห่งปี ในพีดับเบิลยูไอ 500 ในปี 2010
    • พีดับเบิลยูไอ จัดในอันดับที่ 1 ของท็อป 500 อันดับ ซิงเกิลนักมวยปล้ำแห่งปี ในพีดับเบิลยูไอ 500 ในปี 2012[90][91]
  • เรฟโวลเวอร์
    • รางวัล โกลเดน ก็อดส์ สำหรับ "นักกีฬาที่แข็งแรงที่สุด" (ปี 2012)[92]
  • ริงออฟออเนอร์
    • อาโอเอช แทคทีม แชมเปียนชิพ (2 สมัย)[93] – คู่กับ โคลต์ คาบานา
    • อาโอเอช เวิลด์ แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[93]
  • เซนต์. พอล แชมเปียนชิพเรสต์ลิง
    • เอสดีดับเบิลยู นอร์ธเธน สเตทส์ เทเลวิชั่น แชมเปียนชิพ (2 สมัย)[94]
    • เอสพีซีดับเบิลยู นอร์ธเธน สเตทส์ ไลท์เฮฟวี่เวท แชมเปียนชิพ (1 สมัย)
  • เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ / ดับเบิลยูดับเบิลยูอี
    • ดับเบิลยูดับเบิลยูอี แชมเปียนชิพ (2 สมัย)[95][96]
    • เวิลด์ เฮฟวี่เวท แชมเปียนชิพ (3 สมัย)[97][98][99]
    • อีซีดับเบิลยู แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[100]
    • ดับเบิลยูดับเบิลยูอี อินเตอร์คอนติเนนทัล แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[101]
    • เวิลด์ แทคทีม แชมเปียนชิพ (1 สมัย)[102] – คู่กับ โคฟี คิงส์ตัน
    • มิสเตอร์มันนีอินเดอะแบงก์ (ปี 2008, 2009)[103][104]
    • ทริปเปิลคราวน์ แชมเปียนชิพ คนที่ 19[105]
    • สแลมมีอวอร์ด ช่วง "OMG" ยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2008)[106] ใช้กระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ในการชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท
    • สแลมมีอวอร์ด เรื่องที่ทำให้ช็อกยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2009)[107] ทำให้ เจฟฟ์ ฮาร์ดี ต้องออกจาก ดับเบิลยูดับเบิลยูอี หลังจากชนะในแมตช์กรงเหล็กสตีล เคจ
    • สแลมมีอวอร์ด คนร้ายกาจยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2010)[108] การรบกวน เรย์ มิสเตริโอ และครอบครัวของเขา
    • สแลมมีอวอร์ด ซุปเปอร์สตาร์ยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2011)[109]
    • สแลมมีอวอร์ด "ระเบิดไมค์" ยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2011)
    • สแลมมีอวอร์ด เสื้อเชิ้ตยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2011)[110] "เบสต์ อิน เดอะ เวิลด์" (สุดยอดที่สุดในโลก)
  • มวยปล้ำที่ได้รับรางวัลสถานที่สังเกตการณ์
    • กิมมิคที่ดีที่สุด (ปี 2009, 2011)[111][112]
    • ที่ดีที่สุดสำหรับการสัมภาษณ์ (ปี 2011)[112]
    • ความแตกร้าวยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2009)[111] เจอกับ เจฟฟ์ ฮาร์ดี
    • ความแตกร้าวยอดเยี่ยมแห่งปี (ปี 2011)[112] เจอกับ จอห์น ซีนา
    • แมตช์สุดยอดแห่งปี (ปี 2011)[112] เจอกับ จอห์น ซีนา ในศึก มันนีอินเดอะแบงก์

แมตช์ที่มีสิ่งต่างๆ เป็นเดิมพัน

สิ่งที่เดิมพัน ผู้ชนะ ผู้แพ้ สถานที่ วันที่ หมายเหตุ
ผม เรย์ มิสเตริโอ ซีเอ็ม พังก์ ดีทรอยต์, มิชิแกน 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 เดิมพันระหว่างเอา เรย์ มิสเตริโอ เข้ากลุ่ม สเตรจต์เอดจ์โซไซตี้ กับ ผมของ ซีเอ็ม พังก์ ในศึก โอเวอร์เดอะลิมิต[113]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Latest Status Info". United States Patent and Trademark Office. 2008-08-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-17.
  2. "CM Punk profile". NNDB.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-22.
  3. Lagattolla, Al (2001-12-17). "CM Venom Interview". Chicago Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-02-22. สืบค้นเมื่อ 2006-09-26.
  4. Robinson, Jon (2006-12-01). "CM Punk Interview". IGN. สืบค้นเมื่อ 2007-03-19.
  5. Magee, Bob (2006-06-25). "6/24 WWE at ECW Arena". Pro Wrestling Torch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-03. สืบค้นเมื่อ 2006-09-26.
  6. Hoffman, Brett (2006-09-12). "Garden Showstopper". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2006-10-02.
  7. Dee, Louis (2006-11-26). "D-Xtreme dominance". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-04-10.
  8. Tello, Craig (2006-12-03). "Mission accomplished". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-04-10.
  9. Plummer, Dale. "Undertaker the champ, McMahon bald". SLAM! Wrestling. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ January 15, 2008. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  10. Robinson, Bryan (2007-04-10). "New Breed gets the straight edge". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-04-11.
  11. Tello, Craig (2007-03-06). "Rattlesnake's venomous visit". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  12. Robinson, Bryan (2007-03-21). "Masterpiece theater, Lashley-style". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-04-10.
  13. Robinson, Bryan (April 24, 2007). "Making painful statements". WWE. สืบค้นเมื่อ May 1, 2007.
  14. Rote, Andrew (June 3, 2007). "CM Punk splinters the New Breed". WWE. สืบค้นเมื่อ September 8, 2008.
  15. Robinson, Bryan (June 19, 2007). "The beginning of a new ECW dawn". WWE. สืบค้นเมื่อ June 24, 2007.
  16. Robinson, Bryan (June 24, 2007). "ECW World Title goes A-list". WWE. สืบค้นเมื่อ June 25, 2007.
  17. Rote, Andrew (September 4, 2007). "Golden grin". WWE. สืบค้นเมื่อ April 23, 2009.
  18. Tello, Craig (2008-01-22). "Chavo's Night". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-03-07.
  19. "WWE WrestleMania XXIV Results". Pro-Wrestling Edge. สืบค้นเมื่อ 2008-04-06.
  20. Sitterson, Aubrey (June 23, 2008). "A Draft Disaster". WWE. สืบค้นเมื่อ June 25, 2008.
  21. Tello, Craig (September 7, 2008). "Punk possibly unable to compete?". WWE. สืบค้นเมื่อ September 8, 2008.
  22. Sitterson, Aubrey (October 27, 2008). "Just Desserts". WWE. สืบค้นเมื่อ January 4, 2009.
  23. "Miz and Morrison's first reign". WWE. สืบค้นเมื่อ January 4, 2009.
  24. Sitterson, Aubrey (January 5, 2009). "Big Night in the Big Easy". WWE. สืบค้นเมื่อ February 26, 2009.
  25. 25.0 25.1 Tylwalk, Nick. "Raw: CM Punk rises, Vince falls in Chicago". SLAM! Wrestling. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ May 1, 2009.
  26. Sitterson, Aubrey (March 9, 2009). "In your house". WWE. สืบค้นเมื่อ April 5, 2009.
  27. Rote, Andrew (April 5, 2009). "Twice as nice for CM Punk". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  28. Sitterson, Aubrey (April 13, 2009). "Rough Draft". WWE. สืบค้นเมื่อ April 20, 2009.
  29. Medalis, Kara A. (June 7, 2009). "Results:Samoan Goes To Sleep". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  30. Medalis, Kara A. (2009-06-07). extremerules/history/2009/matches/10300540/results/ "Results:Samoan Goes To Sleep". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2011-01-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  31. Murphy, Ryan (July 26, 2009). "A lifelong dream comes true". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  32. Murphy, Ryan (August 23, 2009). "CM Punk comes out on top". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  33. Burdick, Michael (August 28, 2009). "Extreme exodus". WWE. สืบค้นเมื่อ August 28, 2009.
  34. Tello, Craig (September 13, 2009). "Hell's Gate-crasher". WWE. สืบค้นเมื่อ September 13, 2009.
  35. Sokol, Chris. "Title changes highlight Hell in a Cell". SLAM! Wrestling. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ October 5, 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  36. Burdick, Michael (2009-11-27). "Hungry Animal heading to WWE TLC". WWE. สืบค้นเมื่อ 2011-01-30.
  37. McNichol, Rob (January 25, 2009). "In Punk we trust". The Sun. สืบค้นเมื่อ January 25, 2010.
  38. Burdick, Michael (January 29, 2010). "Whirlwind before the Rumble". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  39. Parks, Greg (March 19, 2010). "WWE SmackDown Report 3/19: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Jericho on the Cutting Edge". PWTorch. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  40. McNichol, Rob (March 29, 2010). "Shawn's career ends on a high". The Sun. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  41. Keller, Wade (April 25, 2010). "WWE Extreme Rules Results: Keller's complete PPV report – Cena vs. Batista, Mysterio vs. Punk, Edge vs. Jericho". PWTorch. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  42. Bishop, Matt (2010-05-23). "Batista quits to end disappointing Over The Limit". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  43. Bishop, Matt (July 16, 2010). "Smackdown: Kane strikes again, Punk unmasked". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  44. McNichol, Rob (2010-08-16). "SummerSlam is only lukewarm". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  45. Tylwalk, Nick (2010-09-20). "Few gimmicks, more title changes at Night of Champions". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  46. "Serena released". WWE. August 27, 2010. สืบค้นเมื่อ August 28, 2010.
  47. Gerweck, Steve (September 1, 2010). "Smackdown star likely out six months". WrestleView. สืบค้นเมื่อ September 2, 2010.
  48. Hillhouse, Dave (September 25, 2010). "Smackdown: Kickin' it old school". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  49. Tylwalk, Nick (2010-10-12). "Raw: Team Raw assembles while Cena stews". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  50. Tylwalk, Nick (2010-10-12). "Raw: Team Raw assembles while Cena stews". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  51. Shaw, Toby (2010-11-02). "WWE hit by dual injury blow". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  52. McNichol, Rob (2010-11-23). "Miz wins title on awesome Raw". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  53. Bishop, Matt (2010-12-21). "Smackdown: Ziggler takes Cena to the limit again, CM Punk makes impact". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
  54. McNichol, Rob (2010-11-23). "Miz wins title on awesome Raw". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  55. Plummer, Dale (2010-12-21). "RAW: No Nexus, no problem". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
  56. Adkins, Greg (2011-01-03). "Steel resolve". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2011-01-30.
  57. "Randy Orton def. CM Punk". WWE.
  58. Hillhouse, Dave (May 1, 2011). "Extreme Rules: Championship make-over edition". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ June 21, 2011.
  59. "WWE Chairman Vince McMahon suspends CM Punk". WWE. June 28, 2011. สืบค้นเมื่อ June 28, 2011.
  60. James Wortman (July 4, 2011). "Raw results: Stars and gripes". WWE. สืบค้นเมื่อ July 5, 2011.
  61. "CM Punk Invades Comic-Con". 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  62. "CM Punk invaded Comic-Con, mocking Triple H and WWE". WWE. 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  63. "SmackDown results: Truth and Consequences". WWE. สืบค้นเมื่อ 2011-07-30.
  64. "CM Punk def. John Cena; Alberto Del Rio cashed in Raw Money in the Bank briefcase (New Undisputed WWE Champion)". WWE. สืบค้นเมื่อ September 1, 2011.
  65. Murphy, Ryan (31 October 2011). "WWE Raw SuperShow results: It's time to meet The Muppets!". สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  66. Murphy, Ryan. "Entertainment era begins".
  67. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Royal Rumble report 1/29: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rumble match, Punk-Ziggler, Cena-Kane, steel cage". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 30 January 2012.
  68. Passero, Mitch. "Raw SuperShow results: Triple H accepts Undertaker's WrestleMania challenge". WWE. สืบค้นเมื่อ February 26, 2012.
  69. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE WRESTLEMANIA 28 PPV REPORT 4/1: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rock-Cena, Taker-Hunter, Punk-Jericho". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
  70. Meltzer, Dave. "WWE Extreme Rules live coverage from Chicago". Wrestling Observer. สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
  71. Styles, Joey (23 July 2012). "Was CM Punk justified?". WWE. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
  72. Martin, Todd (23 July 2012). "Raw 1000th Episode Report". Wrestling Observer. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
  73. Herrera, Tom (23 July 2012). "Raw 1,000 results: John Cena failed to win the WWE Title; The Rock floored by CM Punk". WWE. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
  74. Murphy, Ryan (November 19, 2012). "WWE Champion CM Punk def. John Cena and Ryback (Triple Threat Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-11-24.
  75. "CALDWELL'S WWE ROYAL RUMBLE PPV RESULTS 1/27: Complete "virtual-time" coverage of Punk vs. Rock, 30-man Rumble".
  76. Tylwalk, Nick (March 5, 2013). "Raw: Four men enter, one man leaves as Undertaker's WrestleMania opponent". SLAM! Wrestling. สืบค้นเมื่อ 8 March 2013.
  77. "Independent Wrestling Association Mid-South Heavyweight Title". wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  78. "Independent Wrestling Association Mid-South Light Heavyweight Title". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  79. Roelfsema, Eric. "IWC – International Wrestling Cartel World Heavyweight Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  80. Westcott, Brian. "MAW – Mid-American Wrestling MAW Heavyweight Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  81. Westcott, Brian. "NWA National Wrestling Alliance/Cyberspace Wrestling Federation CSWF/NWA Cyberspace Tag Team Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  82. "Wrestler Profiles". Online World of Wrestling.
  83. Westcott, Brian. "NWA – National Wrestling Alliance NWA Ohio Valley Wrestling Heavyweight/Ohio Valley Wrestling Heavyweight Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  84. Westcott, Brian. "NWA – National Wrestling Alliance NWA Ohio Valley Wrestling Southern Tag Team Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  85. "NWA – National Wrestling Alliance NWA Ohio Valley Wrestling Hardcore/Ohio Valley Wrestling Television history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  86. Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 74–75. 2012. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  87. Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 80–81. 2012. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  88. Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 76–77. 2012. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  89. Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 84–85. 2012. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  90. Pro Wrestling Illustrated. 33 (7): 12–18. 2012. ISSN 1043-7576. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  91. Murphy, Dan (August 20, 2012). "#AftermathRadio - August 20, 2012" (mp3) (Interview). สัมภาษณ์โดย Arda Ocal. The Score. สืบค้นเมื่อ August 21, 2012. {{cite interview}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |cointerviewers= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |program= ถูกละเว้น (help)
  92. Passero, Mitch (April 12, 2012). "Chris Jericho ruins CM Punk's "metal" moment". WWE. สืบค้นเมื่อ April 12, 2012.
  93. 93.0 93.1 "Ring of Honor official title histories". Ring of Honor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 10, 2008. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  94. "Datenbank Profil – CM Punk" (ภาษาGerman). Cagematch.de. สืบค้นเมื่อ September 26, 2006.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  95. "CM Punk's first WWE Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ February 5, 2012.
  96. "CM Punk's second WWE Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ February 5, 2012.
  97. "CM Punk's first World Heavyweight Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ June 30, 2008.
  98. "CM Punk's second World Heavyweight Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ June 9, 2009.
  99. "CM Punk's third World Heavyweight Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ August 23, 2009.
  100. "CM Punk's first ECW Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  101. "CM Punk's first Intercontinental Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ February 26, 2009.
  102. "Punk and Kingston's first World Tag Team Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ October 28, 2008.
  103. Clayton, Corey (2008-03-30). "Perseverance makes Punk 'Mr. Money' in Orlando". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-05. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
  104. Cohen, Eric. "Money in the Bank". about.com. สืบค้นเมื่อ 2010-02-24.
  105. Woodward, Buck (2009-01-19). "CM PUNK MAKES WWE HISTORY WITH TITLE WIN". สืบค้นเมื่อ 2012-03-07.
  106. "2008 [[Slammy Award]]s". WWE. December 8, 2008. สืบค้นเมื่อ January 28, 2009. {{cite web}}: URL–wikilink ขัดแย้งกัน (help)
  107. "2009 [[Slammy Award]]s". WWE. December 14, 2009. สืบค้นเมื่อ January 2, 2010. {{cite web}}: URL–wikilink ขัดแย้งกัน (help)
  108. Adkins, Greg (December 13, 2010). "Saluting the Slammys". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  109. "2011 Slammy Award Winners". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19. {{cite web}}: ข้อความ "2012-12-12" ถูกละเว้น (help)
  110. "WWE.com Exclusive Slammy Awards 2011". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-12-12. {{cite web}}: ข้อความ "2012-12-12" ถูกละเว้น (help)
  111. 111.0 111.1 Meltzer, Dave (January 27, 2010). "Feb. 1 2010 Observer Newsletter: 2009 Awards Issue, Possible biggest wrestling news story of 2010". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ January 30, 2010.
  112. 112.0 112.1 112.2 112.3 Meltzer, Dave (January 30, 2012). "Jan 30 Wrestling Observer Newsletter: Gigantic year-end awards issue, best and worst in all categories plus UFC on FX 1, death of Savannah Jack, ratings, tons and tons of news". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA. ISSN 1083-9593.
  113. "Rey Mysterio shaves CM Punk's head". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ May 23, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA