ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พยานบุคคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
'''การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทย'''
'''การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทย'''


การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทยนั้น ไม่ได้จำกัดอายุขั้นต่ำของพยานบุคคลไว้ แต่ผู้ที่จะเป็นพยานบุคคลจะต้องสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ แม้แต่ผู้หูหนวก เป็นใบ้ ก็สามารถเป็นพยานได้ และเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง กล่าวคือเป็นประจักษ์พยาน โดยพยานบอกเล่านั้นโดยหลักแล้วห้ามรับฟัง เว้นแต่ ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำประจักษ์พยานมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น
การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทยนั้น ไม่ได้จำกัดอายุขั้นต่ำของพยานบุคคลไว้ แต่ผู้ที่จะเป็นพยานบุคคลจะต้องสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ แม้แต่ผู้หูหนวก เป็นใบ้ ก็สามารถเป็นพยานได้ และจะต้องเป็นประจักษ์พยาน ได้รู้เห็นเรื่องนั้นมาโดยตรง ส่วนพยานบอกเล่านั้นโดยหลักแล้วห้ามรับฟัง เว้นแต่ ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำประจักษ์พยานมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น



ในคดีแพ่ง คู่ความสามารถอ้างคู่ความอีกฝ่ายเป็นพยานได้ แต่ในคดีอาญา กฎหมายห้ามไม่ให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน
ในคดีแพ่ง คู่ความสามารถอ้างคู่ความอีกฝ่ายเป็นพยานได้ แต่ในคดีอาญา กฎหมายห้ามไม่ให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน




ก่อนเบิกความ พยานจะต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่มีเอกสิทธิไม่ต้องสาบาน หากพยานเบิกความโดยไม่ได้สาบานตนแล้ว ศาลก็รับฟังพยานนั้นไม่ได้
ก่อนเบิกความ พยานจะต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่มีเอกสิทธิไม่ต้องสาบาน หากพยานเบิกความโดยไม่ได้สาบานตน และไม่ใช่ผู้มีเอกสิทธิแล้ว ศาลก็รับฟังพยานนั้นไม่ได้



ในการสอบถามพยาน ศาลจะเป็นผู้ถามรายละเอียดก่อน จากนั้นจะให้ฝ่ายอ้างพยานซักถาม และให้อีกฝ่ายถามค้านเพื่อทำลายน้ำหนักพยาน และฝ่ายที่อ้างพยานถามอีกครั้งหนึ่งเพื่อปิดช่องโหว่จากการถามค้าน เรียกว่าถามติง ทั้งนี้ การซักถามและถามติงห้ามใช้คำถามนำ และการถามติงจะต้องเป็นการถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่ถูกถามค้าน เมื่อถามติงแล้วหากจะถามพยานเพิ่มเติม จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล
ในการสอบถามพยาน ศาลจะเป็นผู้ถามรายละเอียดก่อน จากนั้นจะให้ฝ่ายอ้างพยานซักถาม และให้อีกฝ่ายถามค้านเพื่อทำลายน้ำหนักพยาน และฝ่ายที่อ้างพยานถามอีกครั้งหนึ่งเพื่อปิดช่องโหว่จากการถามค้าน เรียกว่าถามติง ทั้งนี้ การซักถามและถามติงห้ามใช้คำถามนำ และการถามติงจะต้องเป็นการถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่ถูกถามค้าน เมื่อถามติงแล้วหากจะถามพยานเพิ่มเติม จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
การเบิกความจะต้องเบิกความด้วยวาจา และห้ามอ่านข้อความที่เขียนมา ยกเว้นศาลอนุญาตหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญสามารถทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลได้ แต่ในคดีอาญา พยานผู้เชี่ยวชาญที่ทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลก็ต้องมาศาลเพื่อเบิกความประกอบด้วย
การเบิกความจะต้องเบิกความด้วยวาจา และห้ามอ่านข้อความที่เขียนมา ยกเว้นศาลอนุญาตหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญสามารถทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลได้ แต่ในคดีอาญา พยานผู้เชี่ยวชาญที่ทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลก็ต้องมาศาลเพื่อเบิกความประกอบด้วย


ทั้งนี้ การสืบพยานบุคคล สามารถใช้วิธียื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นแทนการซักถามได้ แต่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลและมาศาลเพื่อถามค้าน หรือจะใช้วิธีประชุมทางจอภาพก็ได้ แต่ในคดีอาญา การส่งบันทึกถ้อยคำสามารถทำได้เฉพาะกรณีพยานอยู่ต่างประเทศ และการประชุมทางจอภาพสามารถทำได้ภายในประเทศไทยเท่านั้น
ทั้งนี้ การสืบพยานบุคคล สามารถใช้วิธียื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นแทนการซักถามได้ แต่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลและมาศาลเพื่อให้อีกฝ่ายถามค้าน หรือจะใช้วิธีประชุมทางจอภาพก็ได้ แต่ในคดีอาญา การส่งบันทึกถ้อยคำสามารถทำได้เฉพาะกรณีพยานอยู่ต่างประเทศ และการประชุมทางจอภาพสามารถทำได้ภายในประเทศไทยเท่านั้น



อนึ่ง การที่ศาลไปสืบพยานนอกศาล (โดยศาลนั้นเอง หรือหากเป็นคดีแพ่งก็สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้) เรียกว่า การเดินเผชิญสืบ ส่วนการที่ศาลให้ศาลอื่นสืบพยานให้ เรียกว่า การส่งประเด็นไปสืบ
อนึ่ง การที่ศาลไปสืบพยานนอกศาล (โดยศาลนั้นเอง หรือหากเป็นคดีแพ่งก็สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้) เรียกว่า การเดินเผชิญสืบ ส่วนการที่ศาลให้ศาลอื่นสืบพยานให้ เรียกว่า การส่งประเด็นไปสืบ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:59, 4 เมษายน 2556

พยานบุคคล หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า พยาน (อังกฤษ: witness) หมายถึง ผู้รู้เห็นด้วยประสาทสัมผัสของตนซึ่งการกระทำความผิดอาญาหรือเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ เช่น ได้เห็นด้วยตา ได้ฟังด้วยหู ได้ดมด้วยจมูก หรือได้สัมผัสด้วยมือ ของตนเอง และเพราะฉะนั้น จึงสามารถให้รายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาหรือเหตุการณ์เช่นว่านั้นได้ อันพยานบุคคลที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารมาด้วยตนเองนั้น เรียกว่า "ประจักษพยาน" (อังกฤษ: eyewitness)

พยานทั้งหลายมักได้รับเบิกตัวขึ้นศาลเพื่อให้การในการพิจารณาคดี การเรียกพยานให้ปรากฏตัวต่อศาลนั้น ศาลจะใช้ "หมายเรียกพยาน" (อังกฤษ: subpoena) ในคดีบางประเภท โจทก์หรือจำเลย หรือผู้แทน เช่น ทนายความ ก็มีอำนาจออกหมายเรียกพยานได้ ซึ่งโดยปรกติแล้ว พยานจะต้องสาบานตัว หรือให้สัตย์ปฏิญาณ ว่าจะเบิกความตามจริง หาไม่แล้ว พยานจักถือว่ากระทำความผิดฐานเบิกความเท็จ

พยานที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาญารายนั้น ๆ เรียกว่า "พยานผู้เชี่ยวชาญ" (อังกฤษ: expert witness)


การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทย

การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทยนั้น ไม่ได้จำกัดอายุขั้นต่ำของพยานบุคคลไว้ แต่ผู้ที่จะเป็นพยานบุคคลจะต้องสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ แม้แต่ผู้หูหนวก เป็นใบ้ ก็สามารถเป็นพยานได้ และจะต้องเป็นประจักษ์พยาน ได้รู้เห็นเรื่องนั้นมาโดยตรง ส่วนพยานบอกเล่านั้นโดยหลักแล้วห้ามรับฟัง เว้นแต่ ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำประจักษ์พยานมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น


ในคดีแพ่ง คู่ความสามารถอ้างคู่ความอีกฝ่ายเป็นพยานได้ แต่ในคดีอาญา กฎหมายห้ามไม่ให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน


ก่อนเบิกความ พยานจะต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่มีเอกสิทธิไม่ต้องสาบาน หากพยานเบิกความโดยไม่ได้สาบานตน และไม่ใช่ผู้มีเอกสิทธิแล้ว ศาลก็รับฟังพยานนั้นไม่ได้

ในการสอบถามพยาน ศาลจะเป็นผู้ถามรายละเอียดก่อน จากนั้นจะให้ฝ่ายอ้างพยานซักถาม และให้อีกฝ่ายถามค้านเพื่อทำลายน้ำหนักพยาน และฝ่ายที่อ้างพยานถามอีกครั้งหนึ่งเพื่อปิดช่องโหว่จากการถามค้าน เรียกว่าถามติง ทั้งนี้ การซักถามและถามติงห้ามใช้คำถามนำ และการถามติงจะต้องเป็นการถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่ถูกถามค้าน เมื่อถามติงแล้วหากจะถามพยานเพิ่มเติม จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล

การเบิกความจะต้องเบิกความด้วยวาจา และห้ามอ่านข้อความที่เขียนมา ยกเว้นศาลอนุญาตหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญสามารถทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลได้ แต่ในคดีอาญา พยานผู้เชี่ยวชาญที่ทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลก็ต้องมาศาลเพื่อเบิกความประกอบด้วย

ทั้งนี้ การสืบพยานบุคคล สามารถใช้วิธียื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นแทนการซักถามได้ แต่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลและมาศาลเพื่อให้อีกฝ่ายถามค้าน หรือจะใช้วิธีประชุมทางจอภาพก็ได้ แต่ในคดีอาญา การส่งบันทึกถ้อยคำสามารถทำได้เฉพาะกรณีพยานอยู่ต่างประเทศ และการประชุมทางจอภาพสามารถทำได้ภายในประเทศไทยเท่านั้น

อนึ่ง การที่ศาลไปสืบพยานนอกศาล (โดยศาลนั้นเอง หรือหากเป็นคดีแพ่งก็สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้) เรียกว่า การเดินเผชิญสืบ ส่วนการที่ศาลให้ศาลอื่นสืบพยานให้ เรียกว่า การส่งประเด็นไปสืบ