ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:โครงการวิกิวรรณศิลป์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MahdiBot (คุย | ส่วนร่วม)
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 11 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q8485515 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
บรรทัด 161: บรรทัด 161:
[[หมวดหมู่:สารานุกรมวรรณศิลป์| ]]
[[หมวดหมู่:สารานุกรมวรรณศิลป์| ]]
[[หมวดหมู่:โครงการวิกิ|วรรณกรรม]]
[[หมวดหมู่:โครงการวิกิ|วรรณกรรม]]

[[bg:Уикипедия:Литература]]
[[de:Wikipedia:WikiProjekt Literatur]]
[[en:Wikipedia:WikiProject Literature]]
[[es:Wikiproyecto:Literatura]]
[[fa:ویکی‌پدیا:ویکی‌پروژه ادبیات]]
[[fi:Wikipedia:Wikiprojekti Kirjallisuus]]
[[hi:विकिपीडिया:विकिपरियोजना साहित्य]]
[[mk:Википедија:ВикиПроект Литература]]
[[nn:Wikipedia:Wikiprosjekt Litteratur]]
[[pt:Wikipédia:Projetos/Literatura]]
[[sv:Wikipedia:Projekt litteratur]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:48, 4 เมษายน 2556


สมาชิก
สารบัญ
สถิติบทความ
บทความวรรณศิลป์ ความสำคัญ
ไม่มี ทั้งหมด
คุณภาพ
 บทความคัดสรร คัดสรร  11 11
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  9 9
ดี 15 15
พอใช้ 193 193
โครง 925 925
รายชื่อ 60 60
จัดระดับแล้ว 1213 1213
ยังไม่ได้จัดระดับ 335 335
ทั้งหมด 1548 1548

โครงการวิกิวรรณศิลป์ เป็นโครงการของ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์ มีเป้าหมายเพื่อช่วยกำหนดทิศทางการเขียนบทความทางด้าน วรรณคดีและวรรณกรรม ให้เป็นไปในทางเดียวกัน และมีคุณภาพพอสำหรับใช้ศึกษาค้นคว้าหรืออ้างอิง

ข้อหารือ

มีรายละเอียดหลายประการในการร่วมสร้างโครงการวิกิวรรณศิลป์ ซึ่งต้องการความเห็นของเราทุกคนในการปรับปรุงหรือหาข้อสรุป ร่วมแสดงความเห็นหรือเสนอข้อแนะนำที่ ห้องประชุม

วิธีการเขียนโดยสังเขป

ต่อไปนี้เป็นแนวทางคร่าวๆ สำหรับช่วยให้การพัฒนาบทความวรรณศิลป์เป็นไปในทางเดียวกัน ซึ่งไม่ได้เป็นข้อบังคับ แนวคิดหรือคำแนะนำใดๆ ย่อมเป็นประโยชน์ในการสร้างสารานุกรมวรรณศิลป์ทั้งสิ้น การปรับแก้แนวทางใดๆ สามารถทำได้ทันทีที่หน้านี้ หรือแสดงความเห็นเพื่อหาข้อสรุปที่ ห้องประชุม

สำหรับแม่แบบที่ช่วยในการเขียนบทความ ดูที่หน้าแม่แบบ

บทความประเภทวรรณกรรม

บทความวรรณกรรม ควรประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญดังนี้

  • ระบุชื่อผู้ประพันธ์ และผู้แปล (ถ้ามี)
  • วันเดือนปีที่ตีพิมพ์/แปล ครั้งแรก (ถ้ามี)
  • โครงเรื่อง/เรื่องย่อ/ตัวละครโดยสังเขป
  • ประวัติ/แนวคิดในการประพันธ์
  • ผลตอบรับ/คำวิจารณ์/รางวัล/การยกย่องโดยทั่วไป
  • การดัดแปลง (ถ้ามี)

บทความเกี่ยวกับตัวละคร สถานที่ หรือสิ่งของต่างๆ ในวรรณกรรม

ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

  • ระบุว่าเป็นตัวละครหรือสถานที่ หรือสิ่งของที่อยู่ในวรรณกรรมเรื่องอะไร
  • ประวัติความเป็นมา
  • บทบาทในวรรณกรรม ทั้งในส่วนของวรรณกรรมต้นฉบับ และที่ปรากฏในงานดัดแปลงต่างๆ เช่น ในภาพยนตร์ ละคร หรือเพลง (ถ้ามี)

ทั้งนี้ควรเป็นบทความเกี่ยวกับตัวละครหลัก สถานที่สำคัญ หรือสิ่งของที่มีบทบาทสำคัญต่อเนื้อเรื่อง ซึ่งผู้ประพันธ์ได้พรรณนารายละเอียดและความสำคัญเอาไว้มากพอควร หากเป็นตัวละครประกอบ สถานที่ปลีกย่อย หรือรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ซึ่งมักจะมีเนื้อหาความเป็นมาค่อนข้างน้อย ควรพิจารณาเขียนรวมกันเป็นบทความเดียว ตัวอย่างเช่น ตัวละครในพระอภัยมณี หรือ ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ หรือ รายชื่อเวทมนตร์คาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นต้น

บทความเกี่ยวกับนักเขียน นักแปล

ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

  • ชีวประวัติ
  • แรงบันดาลใจ หรืออิทธิพลที่มีในงานเขียน
  • แนวทางของงานประพันธ์ที่โดดเด่น
  • ชื่อเสียงและคำวิจารณ์ ตลอดจนรางวัลที่ได้รับ และเกียรติคุณ/อนุสรณ์ต่างๆ
  • รายชื่อผลงาน
  • การดัดแปลงผลงานที่สำคัญ (ถ้ามี)

การอ้างอิง

การอ้างอิงแหล่งที่มาของเนื้อหาในบทความ โดยพื้นฐานให้ดำเนินตามนโยบายการอ้างอิงแหล่งที่มาของวิกิพีเดียภาษาไทย โดยควรต้องระมัดระวังเรื่องความเป็นกลาง โดยเฉพาะในหัวข้อเกี่ยวกับการวิจารณ์ ชื่อเสียง และผลตอบรับของวรรณกรรม ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ แหล่งอ้างอิงที่มีส่วนได้เสียกับบทความนั้นๆ เช่น เป็นสำนักพิมพ์ผู้จัดพิมพ์หนังสือ อาจนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นกลาง เนื่องจากพยายามเชิดชูแต่ด้านที่ดีของหนังสือนั้นๆ เพื่อผลทางการโฆษณา ทำให้ไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ จึงควรใช้แหล่งอ้างอิงที่เป็นกลาง เช่นสำนักข่าว บทความวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการ รวมถึงสถาบันต้นสังกัดผู้มอบรางวัลต่างๆ เช่น รางวัลเนบิวลา รางวัลฮิวโก เป็นต้น

การจัดหมวดหมู่

บทความที่เป็นงานวรรณกรรม

ประเภทของวรรณกรรม

โลกวรรณศิลป์ประกอบด้วยงานวรรณกรรมหลายประเภท (genre) ซึ่งประกอบด้วย

วรรณกรรมร้อยกรอง วรรณกรรมร้อยแก้ว นวนิยาย วรรณกรรมแยกตามอายุ
หมวดหมู่:กวีนิพนธ์
หมวดหมู่:วรรณคดี
หมวดหมู่:มหากาพย์
หมวดหมู่:วรรณกรรมด้านศาสนา
หมวดหมู่:มหากาพย์
หมวดหมู่:วรรณคดี
หมวดหมู่:นวนิยาย
หมวดหมู่:นิยาย
หมวดหมู่:เรื่องสั้น
หมวดหมู่:บทละคร
หมวดหมู่:นิทาน
หมวดหมู่:ชีวประวัติ
หมวดหมู่:วรรณกรรมด้านศาสนา
หมวดหมู่:วรรณกรรมทั่วไป
หมวดหมู่:นวนิยายรัก
หมวดหมู่:นวนิยายสืบสวน
หมวดหมู่:นวนิยายอิงประวัติศาสตร์
หมวดหมู่:นวนิยายแฟนตาซี
หมวดหมู่:นิยายกำลังภายใน
หมวดหมู่:นิยายวิทยาศาสตร์
หมวดหมู่:หัสนิยาย
หมวดหมู่:วรรณกรรมเด็ก
หมวดหมู่:วรรณกรรมเยาวชน
หมวดหมู่:นิทาน

บางบทความใน หมวดหมู่:วรรณกรรมเด็ก หรือ วรรณกรรมเยาวชน อาจเป็นบทความที่อยู่ในหมวดหมู่อื่นด้วยก็ได้ เช่น นิทาน นิยาย หรือ นวนิยายแฟนตาซี

สำหรับ เรื่องสั้นไทย นวนิยายไทย และ วรรณคดีไทย ให้จัดหมวดหมู่ต่างหากเป็น หมวดหมู่:เรื่องสั้นไทย หมวดหมู่:นวนิยายไทย และ หมวดหมู่:วรรณคดีไทย เพื่อความสะดวกในการจัดบทความของโครงการประเทศไทย

วรรณกรรมแบ่งตามประเทศ

สำหรับวรรณกรรมต่างประเทศ ควรจัดหมวดหมู่ วรรณกรรม+ชื่อประเทศ เพื่อจัดเรียงบทความวรรณกรรมตามประเทศต้นฉบับ และใส่หมวดหมู่ประเทศเจ้าของภาษาต้นฉบับ ในกรณีที่มีการแปลผลงานเรื่องนั้นเป็นภาษาไทยแล้ว ให้ใส่ หมวดหมู่:วรรณกรรมแปล เอาไว้ด้วย การจัดหมวดหมู่วรรณกรรมตามประเทศต้นฉบับและภาษาที่ใช้ สามารถจัดได้ดังนี้

สรุป

ช่วยกันจัดหมวดหมู่โดยใส่กรอบหมวดหมู่ 3 ประเภทดังต่อไปนี้

  1. ใส่ประเภทของงานวรรณกรรม เช่น หมวดหมู่:นวนิยายไทย หรือ หมวดหมู่:นวนิยายแฟนตาซี
  2. ใส่หมวดหมู่แบ่งตามประเทศ เช่น หมวดหมู่:วรรณกรรมไทย หรือ หมวดหมู่:วรรณกรรมภาษาอังกฤษ
  3. ใส่หมวดหมู่แบ่งตามชื่อผู้ประพันธ์ เช่น หมวดหมู่:งานเขียนของกิมย้ง หรือ หมวดหมู่:งานเขียนของอีนิด ไบลตัน

บทความที่เป็นผู้ประพันธ์

บทความที่เป็นตัวละคร สถานที่ หรือส่วนประกอบต่างๆ ในวรรณกรรม

การจัดระดับคุณภาพของบทความ

เป็นการประเมินและจัดกลุ่มคุณภาพของบทความทางด้านวรรณกรรม รวมถึงบทความเกี่ยวกับผู้ประพันธ์ ผู้แปล และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระดับคุณภาพของบทความในปัจจุบันให้ดูตามสถิติบทความในตารางทางด้านขวามือ

วิธีการจัดระดับคุณภาพ

บทความที่จะรับการจัดระดับคุณภาพ จะต้องเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสารานุกรมวรรณศิลป์เสียก่อน โดยการติดป้าย {{บทความวรรณศิลป์}} ที่ส่วนบนสุดของหน้าพูดคุยของบทความนั้น

จากนั้นจึงพิจารณาระดับคุณภาพของบทความดังตารางที่แสดงในหัวข้อถัดไปนี้ แล้วใส่ระดับของบทความลงไปในตอนท้ายของแม่แบบบทความวรรณศิลป์ เช่น {{บทความวรรณศิลป์|ระดับ = โครง}} หรือ {{บทความวรรณศิลป์|ระดับ = พอใช้}} รายละเอียดในการใช้งานแม่แบบให้ดูในหน้า แม่แบบช่วยเขียน

ระดับของบทความอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามความเคลื่อนไหวและความคืบหน้าในการพัฒนาบทความ โดยสมาชิกทุกคนสามารถร่วมเป็นผู้จัดระดับบทความได้ ยกเว้นระดับ "คุณภาพ" และ "คัดสรร" จะต้องผ่านการพิจารณาคัดเลือกใน โครงการคัดเลือกบทความคุณภาพ และ โครงการคัดเลือกบทความคัดสรร เสียก่อน รายละเอียดการคัดเลือกดูในหน้าโครงการตามลิงก์ที่ให้ไว้

แนวทางการจัดระดับคุณภาพ

ระดับ ความหมาย ลักษณะ ข้อแนะนำการแก้ไข ตัวอย่าง
 บทความคัดสรร คัดสรร 
{{บทความคัดสรร}}
บทความคัดสรร โดดเด่น ละเอียดละออและมีการเรียบเรียงอย่างดี มีแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการอ้างอิงในสารานุกรม มีเนื้อหาครบถ้วนมากพอโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มหัวข้อใหม่นอกจากมีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาบทความนี้ยังสามารถทำได้เพื่อให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น เพชรพระอุมา
 บทความคุณภาพ คุณภาพ 
{{บทความคุณภาพ}}
บทความคุณภาพ มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านโดยทั่วไป ไม่มีเนื้อหาที่ยังไม่มีข้อยุติอยู่ในบทความ มีการเรียบเรียงที่ดีตามลักษณะของสารานุกรม อาจมีการเพิ่มหัวข้อใหม่หรือเพิ่มเนื้อหาบางส่วนที่เฉพาะเจาะจง การให้รายละเอียดในทางวรรณศิลป์อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้บทความมีความโดดเด่นพอสำหรับการเป็นบทความคัดสรร เชอร์ล็อก โฮลมส์
 ดี 
{{ระดับดี}}
บทความระดับดี คือมีความสมบูรณ์ในเนื้อหาใหญ่ที่สำคัญ แต่ยังขาดการวิเคราะห์วิจารณ์หรือข้อมูลโดยละเอียดที่จะเป็นบทความคุณภาพ จะต้องไม่มีเนื้อหาสำคัญขาดหายไป แม้บทความอาจยังมีรายละเอียดไม่มากนักและวิธีการเรียบเรียงอาจยังไม่สมบูรณ์ตามลักษณะของสารานุกรม เน้นที่การเพิ่มเติมข้อมูลระดับผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงให้แหล่งข้อมูลที่ดีมากพอ จัดระเบียบของบทความให้ได้มาตรฐานของวิกิพีเดีย ตำนานทอง
 พอใช้ 
{{ระดับพอใช้}}
บทความระดับพอใช้ คือบทความที่อยู่ระหว่างการพัฒนา มีเนื้อหายังไม่สมบูรณ์ ขาดแหล่งอ้างอิง มีการให้รายละเอียดเพิ่มเติมบ้าง แต่ผู้อ่านทั่วไปอาจยังไม่เข้าใจและต้องการข้อมูลมากกว่านั้น เพิ่มเติมแหล่งข้อมูลเพื่อให้บทความมีความน่าเชื่อถือ รวมถึงการพัฒนาเนื้อหาของบทความเพิ่มเติมให้มีสาระสำคัญครบถ้วน เบวูล์ฟ
 โครง 
{{ระดับโครง}}
บทความระดับโครง คือมีเพียงคำอธิบายโดยคร่าวๆ เท่านั้น ให้รายละเอียดค่อนข้างน้อย อาจเป็นเพียงคำจำกัดความเท่านั้น เพิ่มเติมเนื้อหา สาระสำคัญ แหล่งข้อมูล โดยเน้นที่เนื้อหาของบทความก่อน ซอนเน็ต

บทความวรรณศิลป์คุณภาพในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ

กวีนิพนธ์ (en) • เทพนิยาย (en) • วรรณกรรมอียิปต์โบราณ (en) • สตาร์ชิป ทรูเปอร์ส (en) • กระท่อมน้อยของลุงทอม (en) • เจ. เค. โรว์ลิ่ง (en) • Sir Gawain and the Green Knight (en) • ก็องดิด (en) • Starship Troopers (en) • เอนไซโคลปิเดียบริเทนนิกา (en) • ไอแซก อสิมอฟ (en) • โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ (en) • รัดยาร์ด คิปลิง (en)
A-Class แฟรงเกนสไตน์ (en) • ฮอบบิท (หนังสือ) (en) • เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) (en) • มิดเดิลเอิร์ธ (en) • ภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ (en) • ตารางเวลาแห่งอาร์ดา (en) • ออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ) (en)
อัศวินเขียว (en) • อาร์ทิมิส ฟาวล์ (en) • ซี. เอส. ลิวอิส (en) • เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (en) • เกมพลิกโลก (en) • ออสการ์ ไวลด์ (en) • เอรากอน เล่มสอง (en) • แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) (en) • เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ (en) • ยุทธการทุ่งวอเตอร์ชิป (en) • เกาะมหาสมบัติ (en) • The Sword of Shannara (en)
B-Class เจ้าหญิงน้อย (en) •ประตูที่สาบสูญ (en) • พ่อมดแห่งเอิร์ธซี (en) • เอรากอน (en) • Howl's Moving Castle (en) • ปีเตอร์ แพน กับเวนดี้ (en) • ฟิลิป พูลแมน (en) • มีดนิรมิต (en) • สู่เส้นทางมรณะ (en) • ตำนานแห่งนาร์เนีย (en) • ตู้พิศวง (en) • แรงพยาบาท (en) • อลิซในแดนมหัศจรรย์ (en) • ชาลีกับโรงงานช็อกโกแลต (en) • เทวากับซาตาน (en) • รหัสลับดาวินชี (en) • ล่ารหัสมรณะ (en) • แผนลวงสะท้านโลก (en) • Discworld (en) • ดอน กิโฆเต้ (en) • พ่อมดมหัศจรรย์แห่งออซ (en) • ทวิดารา (en) • แดรกคูล่า (en) • เอรากอน (en) • ดอกไม้ของอัลเจอร์นอน (en) • สถาบันสถาปนา (en) • โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ (en) • Leaf by Niggle (en) • สี่ดรุณี (en) • มาดามโบวารี (en) • โมบิดิก (en) • โอลิเวอร์ ทวิสต์ (en) • พันหนึ่งราตรี (en) • พาราไดซ์ ลอสท์ (en) • ปีเตอร์ แพน (en) • สาวทรงเสน่ห์ (en) • ดุจดั่งอวตาร (en) • พิน็อคคิโอ (en) • พี่น้องคารามาซอฟ (en) • ตำนานบุตรแห่งฮูริน (en) • The Magicians' Guild (en) • จันทราปฏิวัติ (en) • เฒ่าผจญทะเล (en) • ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ (en) • พูห์ (en) • หอคอยคู่พิฆาต (en) • กษัตริย์คืนบัลลังก์ (en) • The Wheel of Time (en) • สงครามและสันติภาพ (en)

บทความวรรณศิลป์คุณภาพในวิกิพีเดียภาษาจีน

สามก๊ก (zh) • ไซอิ๋ว (zh)

อ้างอิง

โครงการที่เกี่ยวข้อง