ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดบุรีรัมย์"

พิกัด: 15°00′N 103°07′E / 15°N 103.11°E / 15; 103.11
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.buriram (คุย | ส่วนร่วม)
Mr.buriram (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 322: บรรทัด 322:


==ประชากร==
==ประชากร==
[[ไฟล์:อำเภอลำปลายมาศ.jpg|thumbnail|ภายในตัว[[อำเภอลำปลายมาศ]]]]
{| class="wikitable"
{| class="wikitable"
|-
|-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:37, 1 เมษายน 2556

จังหวัดบุรีรัมย์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Buri Ram
คำขวัญ: 
เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ
ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายอภินันท์ จันทรังษี
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2555)
พื้นที่
 • ทั้งหมด10,322.885 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 17
ประชากร
 (พ.ศ. 2554)
 • ทั้งหมด1,559,085 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 6
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 26
รหัส ISO 3166TH-31
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้กาฬพฤกษ์
 • ดอกไม้ฝ้ายคำ
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 4461 1342
เว็บไซต์http://www.buriram.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย ในสมัยก่อนบุรีรัมย์เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูร และอาณาจักรทวารวดีเคยเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา

ประวัติ

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ชาวไทยสยามเก็บน้ำตาล

บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทราวดีและที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 อยู่ทั่วไปหลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์ ไม่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เมืองนางรอง เมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงคำแหน่ง เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิตและสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์ เมืองโขง และเมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ เจ้าอิน อุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง ตะลุบ สุรินทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง) ให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต้นราชการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็นบุรีรัมย์ด้วยปรากฏว่า ได้มีการแต่งตั้งพระสำแดงฤทธิรงค์เป็นพระนครภักดีศรีนครา ผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2411 เมืองบุรีรัมย์และเมืองนางรองผลัดกันมีความสำคัญเรื่อยมา พ.ศ. 2433 เมืองบุรีรัมย์โอนขึ้นไปขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีหนองคายเป็นศูนย์กลาง และเมืองบุรีรัมย์มีเมืองในสังกัด 1 แห่ง คือเมืองนางรอง

ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า"บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ มณฑลลาวเฉียงเป็น มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเขมร เป็นมณฑลตะวันออกและในคราวนี้เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์" และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา

พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ คือ

ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัด

คือ รูปเทวดารำและปราสาทหิน

  • เทวดารำ หมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราบยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข
  • ท่ารำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับพยางค์สุดท้ายของชื่อจังหวัด
  • ปราสาทหิน คือปราสาทเขาพนมรุ้งซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในท้องพระโรงมีเทวสถาน
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ดอกสุพรรณิการ์ หรือดอกฝ้ายคำ

ดอกฝ้ายคำ (Cochlospermum regium)

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ดอกสุพรรณิการ์ หรือดอกฝ้ายคำ

คำขวัญประจำจังหวัด;

เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

— คำขวัญประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ความหมายของคำขวัญ
  • เมืองปราสาทหิน หมายถึง บุรีรัมย์มีปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
  • ถิ่นภูเขาไฟ หมายถึง บุรีรัมย์มีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วหลายแห่ง
  • ผ้าไหมสวย หมายถึง บุรีรัมย์มีการทอผ้าไหมขึ้นชื่อ ที่อำเภอนาโพธิ์
  • รวยวัฒนธรรม หมายถึง ดูได้จากการเล่นสงกรานต์ของบุรีรัมย์
อักษรย่อจังหวัด

บร.

ธงประจำจังหวัด

ธงสีม่วง-แสด ตรงกลางมีตราประจำจังหวัดติดอยู่

หน่วยการปกครอง

ที่ตั้งและอาณาเขต

ไฟล์:เขตบุรีรัมย์-นครราชสีมา.jpg
เขตระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา

อำเภอ

ไฟล์:เขตอำเภอเมือง.jpg
แผนที่เขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์

การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 189 ตำบล 2212 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  2. อำเภอคูเมือง
  3. อำเภอกระสัง
  4. อำเภอนางรอง
  5. อำเภอหนองกี่
  6. อำเภอละหานทราย
  7. อำเภอประโคนชัย
  8. อำเภอบ้านกรวด
  9. อำเภอพุทไธสง
  10. อำเภอลำปลายมาศ
  11. อำเภอสตึก
  12. อำเภอปะคำ
  1. อำเภอนาโพธิ์
  2. อำเภอหนองหงส์
  3. อำเภอพลับพลาชัย
  4. อำเภอห้วยราช
  5. อำเภอโนนสุวรรณ
  6. อำเภอชำนิ
  7. อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
  8. อำเภอโนนดินแดง
  9. อำเภอบ้านด่าน
  10. อำเภอแคนดง
  11. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ไฟล์:โรงแรมเทพนคร.jpg
โรงแรมในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
โรงแรมในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
โรงแรมในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์

แบ่งออกเป็น 3 เทศบาลเมือง 58 เทศบาลตำบล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 148 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

อำเภอเมือง

อำเภอนางรอง

อำเภอคูเมือง

อำเภอกระสัง

อำเภอหนองกี่

อำเภอละหานทราย

อำเภอประโคนชัย

อำเภอบ้านกรวด

อำเภอพุทไธสง

อำเภอลำปลายมาศ

อำเภอสตึก

อำเภอปะคำ

อำเภอนาโพธิ์

อำเภอหนองหงส์

อำเภอพลับพลาชัย

อำเภอห้วยราช

อำเภอโนนสุวรรณ

อำเภอชำนิ

อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์

อำเภอโนนดินแดง

อำเภอบ้านด่าน

อำเภอแคนดง

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
เทศบาลตำบลกระสัง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตจังหวัดบุรีรัมย์

ภูมิประเทศ

วนอุทยานเขากระโดง
ภาพเมืองบุรีรัมย์

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง พื้นที่ลาดจากทิศใต้ลงไปทิศเหนือ พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นน้อยเป็นที่ราบขั้นบันไดช่องเขาเกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณเก้าแสนถึงหนึ่งล้านปีเศษ ทำให้จังหวัดบุรีรัมย์มีลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญคือ

  1. พื้นที่สูงและภูเขาทางตอนใต้
  2. พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด
  3. พื้นที่ราบลุ่มตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำมูล

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอยู่ 3 ฤดู คือ

ข้อมูลภูมิอากาศของบุรีรัมย์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 35.7
(96.3)
36.0
(96.8)
38.0
(100.4)
39.0
(102.2)
40.0
(104)
37.0
(98.6)
37.0
(98.6)
36.6
(97.9)
36.1
(97)
35.0
(95)
34.8
(94.6)
32.0
(89.6)
36.43
(97.58)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 11.7
(53.1)
14.8
(58.6)
19.2
(66.6)
22.5
(72.5)
23.5
(74.3)
23.2
(73.8)
23.2
(73.8)
23.0
(73.4)
23.1
(73.6)
20.5
(68.9)
16.5
(61.7)
13.0
(55.4)
19.52
(67.13)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 32.5
(1.28)
52.5
(2.067)
42.8
(1.685)
37.0
(1.457)
87.9
(3.461)
186.8
(7.354)
67.6
(2.661)
243.5
(9.587)
289.0
(11.378)
121.5
(4.783)
37.8
(1.488)
36.1
(1.421)
1,235
(48.622)
แหล่งที่มา: http://www.buriram.go.th/

ประชากร

ภายในตัวอำเภอลำปลายมาศ
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร[3]
จังหวัดบุรีรีมย์
ปี (พ.ศ.) ประชากร
2549 1,536,045
2550 1,536,070
2551 1,541,650
2552 1,546,784
2553 1,553,765
2554 1,559,085

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์

อำเภอเมือง

  • ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ เป็นแหล่งเก็บรวบรวม และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็นแหล่งที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ศูนย์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2536 เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันในเวลาราชการ
พระบรมราชานุสาวรีย์
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่พสกนิกรชาวบุรีรัมย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แห่งผู้สถาปนาเมืองบุรีรัมย์ และเพื่อเป็นอนุสรณ์สักการะ รวมทั้งศูนย์รวมจิตใจที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมหาจักรีบรมราชวงค์
  • วนอุทยานเขากระโดง ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำซับ ตำบลเสม็ด เคยเรียกกันว่า "พนมกระดอง" มีความหมายว่า "ภูเขากระดองเต่า" เพราะคล้ายกระดองเต่า ซึ่งต่อได้เรียกเพี้ยนเป็น "กระโดง" เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวบุรีรัมย์ และนักท่องเที่ยวที่สัญจรไปมา บนยอดเขามีพระสุภัทรบพิตรประดิษฐาน พระพุทธรูปคู่เมืองบุรีรัมย์ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐฉาบปูนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 12 เมตร ฐานยาว 14 เมตร สร้างขึนเมื่อ พ.ศ. 2512 เดิมองค์พระเป็นสีขาว แต่เมื่อโดนแดดทำให้คล้ายสีดำ จึงแก้เป็นสีทอง นอกจากนั้นยังมีบันไดนาคราช พระพุทธบาทจำลอง ปราสาทเขากระโดง ปากปล่องภูเขาไฟ
  • อ่างเก็บน้ำเขากระโดง (อ่างเก็บน้ำวุฒิสวัสดิ์) บริเวณหน้าที่ทำการวนอุทยานเขากระโดง
  • อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ เป็นแหล่งดูนกน้ำแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ 4,434 ไร่ ซึ่งมีนกกระสาปากเหลือง เป็นนกที่มีค่าหายากอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังพบนกกระสาดำ นกกาบบัว นกอ้ายงั่ว เป็ดเทา และนกน้ำต่างๆ อีกมากมาย เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสามารถปั่นจักรยานชมทัศนีย์ภาพรอบอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดได้
  • อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืด สร้างขึ้นเพื่อการชลประทานและการประปา มีพื้นที่ 3,876 ไร่ อยู่ใน ต.บ้านบัว ต.เสม็ด และ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีไม้พื้นเมืองยืนต้นร่มรื่น มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาลมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 170 ชนิด จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะสำหรับการดูนกและพักผ่อน
  • โครงการชลประทานบุรีรัมย์ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืด สร้างขึ้นเพื่อการชลประทานและการประปา มีพื้นที่ 3,876 ไร่ อยู่ใน ต.บ้านบัว ต.เสม็ด และ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีไม้พื้นเมืองยืนต้นร่มรื่น มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาลมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 170 ชนิด จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะสำหรับการดูนกและพักผ่อน
นิว ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม
  • นิว ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวใจประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) สามารถจัดเกมการแข่งขันระดับชาติได้ เป็นสนามที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
  • อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเขาพนมรุ้งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราสาทหินที่งดงามมากแห่งหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายสีชมพู และศิลาแลงอย่างยิ่งใหญ่อลังการมีการออกแบบผังปราสาทตามแนวความเชื่อที่สอดคล้องกับภูมิประเทศศาสนสถานแต่ละส่วนประดับด้วยลวดลายวิจิตรงามตาโดยเฉพาะหน้าบันศิวนาฎราชและทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีความงดงามละเอียดอ่อนช้อย นับเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าที่ไม่ควรพลาดชมในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (ประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค.) ของทุกปีจะมีประเพณีเดินขึ้นเขาพนมรุ้งเพื่อชมปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่ามหรรศจรรย์คือ พระอาทิตย์จะสาดแสงตรงเป็นลำทะลุช่องประตูปราสาททั้ง 15 บานราวปาฏิหาริย์และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบปีเท่านั้น
  • น้ำตกเขาพนมรุ้ง
  • ปราสาทหนองกง ห่างจากเชิงพนมรุ้งไปทางทิศใต้ 2.8 กิโลเมตร
  • วัดเขาพระอังคาร เป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจยิ่ง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดีเพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก
  • เขาอังคาร เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากปราสาทพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยลงมาจากพนมรุ้ง ถึงบ้านตาเป็กแล้วเลี้ยวซ้ายมาตามทางที่จะไปละหานทรายประมาณ 13 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 7 กิโลเมตรพบโบราณสถานเก่าแก่ และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีสำคัญหลายชิ้น
น้ำตกเขาพระอังคาร
  • น้ำตกเขาพระอังคาร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสำรวจเพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัด

อำเภอนางรอง

อำเภอประโคนชัย

ปราสาทเมืองต่ำ
  • ปราสาทเมืองต่ำ เมืองโบราณร่วมสมัยกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำเป็นปราสาทหินของโบราณที่มีขนาดใหญ่มาก สร้างขึ้นตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตัวปราสาทออกแบบได้อย่างงดงาม มีโครงสร้างที่ได้สัดส่วนบริเวณโดยรอบปราสาท เป็นชุมชนโบราณสมัยขอม ที่มีประวัติเกี่ยวเนี่ยงกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำจึงมีความสำคัญทางโบราณคดี นอกเหนือจากเป็นมรดกทางศิลปกรรมที่งดงาม ปราสาทแห่งนี้ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2540
  • ปราสาทบ้านบุ บ้านบุ ตำบลห้วยจรเข้มาก
  • อ่างเก็บน้ำสนามบิน
  • ชุมชนโบราณบ้านแสลงโทน เป็นชุมชนโบราณตั้งอยู่ในเขตบ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ ตามทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวงตัดผ่ากลางชุมชนโบราณ มองเห็นคันดินเป็นแนวสูงประมาณ 5-7 เมตร อยู่สองข้างทาง ชุมชนโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็นรูปกลมรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก ยาวประมาณ 5,756 เมตร กว้าง 1,750 เมตร มีคูเมืองโอบอยู่นอกคันดิน 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นเดียว ใกล้คันดินด้านที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซึ่งมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายเข้าใจว่าเคยมีศาสนสถาน แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปู่เจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็นศาลเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแสลงโทนและชาวบ้านใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคามุงกระเบื้องและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ ทั้งคูน้ำคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นที่สำคัญ คือ สระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมในเขตวัดแสลงโทน 2 สระ พบเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เทวรูปเก่าและใบเสมาเก่า ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชนโบราณ

อำเภอบ้านกรวด

อำเภอปะคำ

อำเภอโนนดินแดง

  • เขื่อนลำนางรอง เป็นเขื่อนดินฐานคอนกรีตขนาดใหญ่ จุน้ำได้ประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่าง หมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์ และหนองหว้า ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนเพียง 20 กว่ากิโลเมตรเท่ากัน ที่สันเขื่อนมีหินลอย (หินภูเขาไฟอีกชนิดหนึ่ง) เป็นก้อนและแผ่นสีสันแบ่งกันเป็นชั้นสวยงาม ซึ่งได้นำไปกองกั้นน้ำเซาะสันเขื่อน นอกจากนี้ ยังเป็นที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงในอำเภอโนนดินแดง บรรยากาศสวยงาม มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้วยทะเลสาบเหนือเขื่อนอันกว้างใหญ่ หาดทรายสวยงามบรรยากาศดี ชาวบุรีรัมย์จึงนิยมพาครอบครัวไปพักผ่อน เล่นน้ำและรับประทานปลาสดจากเขื่อน
ปราสาทหนองหงส์
  • ปราสาทหนองหงส์
  • อนุสาวรีย์เราสู้ อยู่ริมทางหลวงในเขต ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ชาวบุรีรัมย์ร่วมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของประชาชน ตำรวจ และทหาร ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กับผู้ก่อ การร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งขัดขวางการก่อสร้าง ถนนสายละหานทราย - ตาพระยา
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งสุดท้ายในจังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากอำเภอโนนดินแดง 5 กิโลเมตร เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ ทำให้เกิดพืชพันธุ์ สัตว์ป่าที่หลากหลาย
ไฟล์:น้ำตกผาแดง.jpg
น้ำตกผาแดง
  • ผาแดง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ บ้านหนองเสม็ด ต.ลำนางรอง อ.โนดินแดง จ.บุรีรัมย์ เป็นเขตติดต่อระหว่าง อ.โนนดินแดง กับ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดบุรีรัมย์ นักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติสามารถมาสัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ชมดวงอาทิตย์ตก ทัศนียภาพของผืนป่าธรรมชาติอันกว้างใหญ่สวยงามของเทือกเขาบรรทัด และป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจะได้พบกับทะเลหมอกปกคลุมป่าดงใหญ่ - เทือกเขาบรรทัดอันซับซ้อนสวยงามด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นจุดพักรถของคนเดินทางผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ ไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกด้วย ซึ่งช่วงนี้ในแต่ละวันได้มีนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางแวะมาเที่ยวชมพักผ่อน ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกเป็นจำนวนมาก ไม่แพ้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในพื้นที่อำเภอโนนดินแดงอีกด้วย

อำเภอสตึก

พระพุทธรูปใหญ่

อำเภอลำปลายมาศ

อำเภอพุทไธสง

  • วัดศีรษะแรด (วัดหงส์) พระเจ้าใหญ่วัดหงส์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะของศิลปะพื้นเมืองปรากฏอยู่มาก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดหงส์ หรือวัดศีรษะแรด ในอำเภอพุทไธสง ทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ หรือวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 จะจัดงานเฉลิมฉลองทุกปี มีชาวอำเภอพุทไธสง และจังหวัดต่างๆ ไปนมัสการกราบไหว้เป็นจำนวนมาก

อำเภอนาโพธิ์

  • หมู่บ้านทอผ้าไหมนาโพธิ์ ผ้าไหมที่อำเภอนาโพธิ์จะมีทั้งผ้าไหมพื้นไหมหางกระรอก ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า และผ้ามัดหมี่ การทอผ้ามัดหมี่จะมีลายพื้นเมืองดั้งเดิม และลายที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ลักษณะเด่นของผ้าไหมบุรีรัมย์ คือเนื้อจะแน่น เส้นไหมละเอียด ถ้าเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่เป็นแบบพื้นเมืองดั้งเดิมจะนิยมใช้สีขรึมๆ ไม่ฉูดฉาด

อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์

  • ปรางค์กู่สวนแตง เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมสมัยนครวัดเป็นโบราณสถานอีกแห่งที่ถูกวางระเบิดจนองค์ปรางค์พังทลายลงมาเพื่อโจรกรรม ชิ้นส่วนปราสาทไปขาย ภายหลังกรมศิลปากรได้บูรณะใหม่จนมีความสมบูรณ์ และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547

ลักษณะของกู่ประกอบด้วย ปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน อาคารทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูหน้าเพียงประตูเดียว อีก 3 ด้าน สลักเป็นประตูหลอก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน มีลักษณะยื่นออกมาและมีแผ่นศิลาทรายรองรับ ส่วนปรางค์อีกสององค์มีขนาดเล็กกว่าฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตูเดียวทางด้านหน้า เช่นกัน ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ก่อเรียบทึบ สำหรับบนพื้นหน้าปรางค์มีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายอื่นๆ ตกหล่นอยู่ เช่น ฐานบัว ยอดปรางค์ กลีบขนุน รูปนาค 6 เศียร อายุของกู่สวนแตงสามารถกำหนดได้จากทับหลังของปรางค์ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากภาพสลักบนทับหลังทั้งหมดมีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบนครวัด ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิเช่น ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ตรีวิกรม (ตอนหนึ่งในวามนาวตารแสดงภาพพระนารายณ์ย่างพระบาท 3 ก้าว เหยียบโลกบาดาล โลกมนุษย์ และโลกสวรรค์) ทับหลังภาพศิวนาฎราช ทับหลังภาพการกวนเกษียรสมุทร ทับหลังภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ ฯลฯ แต่ละชิ้นมีขนาดใหญ่สวยงามน่าสนใจยิ่ง

อำเภอคูเมือง

  • พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน อำเภอคูเมือง[4] สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2552 แต่ยังไม่มีการใช้งาน เนื่องจากไม่มีไม้กลายเป็นหินมาจัดแสดง ตัวอาคารมีสภาพทรุดโทรม[5] ใช้งบประมาณเกือบ 60 ล้านบาท และสภาเทศบาลตำบลคูเมืองคัดค้านไม่ทำต่อ เพราะใช้ประโยชน์ไม่ได้[6]
  • เพลาเพลิน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ประกอบไปด้วยโซนความรู้-สิ่งมหัศจรรย์ของโลก โซนแอดเวนเจอร์แคมป์ และโซนรีสอร์ท[7]

การเดินทาง

ทางถนน

รถโดยสารประจำทาง

รถโดยสารประจำทาง บุรีรัมย์-สตึก
รถสองแถวในเมืองบุรีรัมย์ ตัวรถมีสีชมพูเป็นเอกลักษณ์ มี 2 สาย วิ่งรอบเมืองบุรีรัมย์
  • สายกรุงเทพ - บุรีรัมย์ ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หมอชิต) มาลงที่สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ มีบริการทั้งกิจการทัวร์ , บริษัทขนส่ง จำกัด , ศิริรัตนพลทัวร์ , นครชัยแอร์
  • กรุงเทพ - พนมรุ้ง - กรุงเทพ มีทั้งบริการรถประอากาศชั้น 1 และ 2 ใช้เวลาเดินทาง 6 - 7 ชั่วโมง
  • กรุงเทพ - พุทไธสง -กรุงเทพ มีบริการรถปรับอากาศ VIP และชั้น 1 ใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง
  • กรุงเทพ - อุบลราชธานี
  • กรุงเทพ - สุรินทร์
  • กรุงเทพ - ศรีสะเกษ
  • อุบลราชธานี - ระยอง
  • อุบลราชธานี - ภูเก็ต
  • มุกดาหาร - พัทยา แวะจอดรับ - ส่งผู้โดยสารที่ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 และ 2
  • บุรีรัมย์ - นครราชสีมา ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - สุรินทร์ ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - ขอนแก่น ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - จันทบุรี ใช้เวลาเดินทาง 10 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - อรัญประเทศ ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - ประโคนชัย ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง มีทั้งรถตู้ รถบัส และรถทัวร์
  • บุรีรัมย์ - ร้อยเอ็ด ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์ - นางรอง จุดหมายปลายทางที่อำเภอนางรอง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และ ปราสาทเมืองต่ำ
  • บุรีรัมย์ - ประโคนชัย - บ้านกรวด - ละหานทราย จุดหมายปลายทางที่วัดป่าพระสบาย อำเภอบ้านกรวด อ่างเก็บน้ำสนามบิน และอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด
  • บุรีรัมย์ - พุทไธสง จุดหมายปลายทางที่ อำเภอพุทไธสง
  • บุรีรัมย์ - สตึก จุดหมายปลายทางที่ อำเภอสตึก
  • สายตลาดเทศบาล - เขากระโดง (สาย 1) ขึ้นรถได้ที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และสถานีขนส่ง

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ

ไฟล์:Nang Rong.jpg
ป้ายบอกเส้นทางในจังหวัดบุรีรัมย์
อำเภอ ระยะทาง (กม.) อำเภอ ระยะทาง (กม.)
ห้วยราช 10 หนองหงส์ 60
บ้านด่าน 17 พุทไธสง 64
กระสัง 30 บ้านกรวด 66
ลำปลายมาศ 31 เฉลิมพระเกียรติ 70
คูเมือง 34 โนนสุวรรณ 70
สตึก 40 ปะคำ 78
ประโคนชัย 44 นาโพธิ์ 80
นางรอง 55 บ้านใหม่ไชยพจน์ 80
พลับพลาชัย 58 หนองกี่ 83
แคนดง 59 โนนดินแดง 114
ชำนิ 59 ละหานทราย 99

ทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดบุรีรัมย์

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์

สถานีขนส่งผู้โดยสารในจังหวัดบุรีรัมย์

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์

สะพานที่สำคัญ

ทางรถไฟ

สถานีรถไฟบุรีรัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์มีขบวนรถด่วนพิเศษสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี เป็นรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ทั้งขบวน ขบวนรถด่วนสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี, กรุงเทพ-ศรีสะเกษ และกรุงเทพ-ศีขรภูมิ ขบวนรถเร็วสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 4 ขบวน ขบวนรถธรรมดาสายกรุงเทพ-สุรินทร์ และขบวนรถท้องถิ่นสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 3 ขบวน จังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีรถไฟตามเส้นทางรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานีผ่านอำเภอต่างๆ ดังนี้ อำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอห้วยราช และ อำเภอกระสัง มีสถานีรถไฟทั้งหมด 9 แห่ง ที่หยุดรถ 1 แห่ง

ทางอากาศ

ไฟล์:สนามบินบุรีรัมย์.jpg
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ อำเภอสตึก

ปัจจุบันบริษัท นกแอร์ จำกัด และบริษัท ไทย รีเจียนัล แอร์ไลน์ จำกัด มีเครื่องบินไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ มาลงที่ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ (อำเภอสตึก) อยู่ประจำ

ศาสนสถาน

วัดกลางพระอารามหลวง
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม

การสาธารณสุขในจังหวัดบุรีรัมย์

โรงพยาบาลบุรีรัมย์
โรงพยาบาลเอกชนบุรีรัมย์

การสาธารสุขในอำเภอเมือง

การสาธารสุขในต่างอำเภอ

เศรษฐกิจ

ในปัจจุบัน ทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมต่างๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

เกษตรกรรม

พืชผลิตผลที่สำคัญของบุรีรัมย์ ได้แก่ ข้าว (มากกว่า 500,000 ไร่), อ้อย (มากกว่า 5,000 ไร่), ยางพารา (มากกว่า 50,000 ไร่) และพืชอื่นๆ ในสัดส่วนน้อย

อุตสาหกรรม

ไฟล์:โฮมเมก้า.jpg
โฮมเมก้ามาร์ท ห้างวัสดุท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์

แหล่งอุตสาหกรรมหลักของบุรีรัมย์อยู่ที่อำเภอเมือง ส่วนแหล่งอุตสาหกรรมอื่นๆได้แก่ที่อำเภอนางรอง อำเภอลำปลายมาศ อำเภอสตึก เป็นต้น ห้างวัสดุในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่

พาณิชยกรรม

ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบุรีรัมย์
ธนาคาร

ในจังหวัดบุรีรัมย์มีธนาคารสาขาต่างๆ มากมาย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารทหารไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารอื่นๆ

ทวีกิจ ซูเปอร์เซ็นเตอร์
ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าขนาดเล็ก

ศูนย์การค้าในจังหวัดบุรีรัมย์ได้แก่

โรงภาพยนตร์

โรงภาพยนตร์ในบุรีรัมย์มี 2 แห่ง ได้แก่ TTF Cineplex ทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ (หรือวีมาร์ท) 2 โรง และ J-Cineplex เจพลาซ่า อำเภอลำปลายมาศ 2 โรง

ตลาด

ไฟล์:ตลาดสดไนซ์พลาซ่า.jpg
ตลาดไนท์บาซาร์
  • ตลาดสดเทศบาล
  • ตลาดสดไนซ์พล่าซ่า
  • ตลาดทองกู้เกียรติกูล
  • ตลาด บูสแคว์
  • ตลาดเก่า

การเชื่อมต่อกับต่างประเทศ

ไฟล์:ช่องโอบก.jpg
ช่องโอบก
พรมแดน

สถานศึกษา

โรงเรียนเอกชน

โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์

มหาวิทยาลัยเอกชน

สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา

ไฟล์:อาคาร 15.jpg
ตึกอาคารที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นตึกที่มีความสูงที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์

กีฬา

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แคมป์

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ เป็นสโมสรใหม่ที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยดร.วีระ ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น 3 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่2ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก 2 ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ

หลังจากลงเล่นในดิวิชั่น 1 อยู่นานสโมสรก็ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547 และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ และศุภกิจ จินะใจกองหน้าของทีมก็คว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับศรายุทธ ชัยคำดี กองหน้าของทีมการท่าเรือ ที่จำนวน 10 ประตู และยังได้เล่นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2549 อีกด้วย

ฤดูกาล 2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พาณิชย์และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก ในฤดูกาล 2552

ฤดูกาล 2552 สโมสรตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนตัวกุนซือในเดือนพฤษภาคม ปี 2552เป็นอดีตกุนซือทีมชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมาทองสุข สัมปหังสิต

ภายหลังฤดูกาล 2552 ซึ่งทีมมีผลงานจบในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงชื่อทีม เป็น บุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ จากการเข้าครอบครองอำนาจบริหารสโมสรของ นายเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด พร้อมกันนั้นทีมผู้ฝึกสอนก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางส่วนด้วยเช่นกัน

สนามกีฬา

ชาวบุรีรัมย์ที่มีชื่อเสียง

พระภิกษุ/พระภิกษุที่ดำรงสมณศักดิ์

  • พระราชปริยัติยาลังการ (วิชัย ฐิตาจาโร น.ธ. เอก, ป.ธ๔)อดีตเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ฝ่าย(มหานิกาย),ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ฝ่าย(มหานิกาย)และเจ้าอาวาสวัดบ้านบัว
  • พระราชปริยัติกวี
  • พระราชปัญญาวิสารัท (เหลือง ฉนฺทาคโม) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธ) เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง
  • พระประสาธน์สารคุณ (อาจ) เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธ) เจ้าอาวาสวัดทุ่งโพธิ์
  • พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร) รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ฝ่าย(มหานิกาย)และ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ย่อย
  • พระสุนทรธรรมเมธี (สุเทพ อาสโภ) รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ฝ่าย(มหานิกาย)และ เจ้าอาวาสวัดท่าสว่าง
  • พระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์ วรทสฺสี) เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
  • พระครูเขมคุณโสภณ (จันทร์แรม เขมสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้วธุดงคสถาน (ธ)
  • พระครูบริหารกิจโกศล (ก้อนทอง อินฺทวํโส) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบ้านกรวด
  • พระครูพนมคุณารักษ์ (ไสว หิริสมฺปนฺโน) เจ้าคณะอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (ธ) เจ้าอาวาสวัดปราสาทพนมรุ้ง
  • พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

นักฟุตบอล

ไฟล์:สุริยา.jpg
สุริยา ดอมไธสง

นักมวยสากล

ไฟล์:Kompayak.jpg
คมพยัคฆ์ ป.ประมุข

นักมวยสากลสมัครเล่น

นักมวยไทย

เอฟ 16 ราชานนท์

นักกีฬาจักรยาน

นักยิงธนู

นักกรีฑา

นักแสดง

ทฤษฎี สหวงษ์

นักพากย์

นักร้อง/นักดนตรี

นักการเมือง

ไฟล์:21711 002.jpg
เนวิน ชิดชอบ

ครูบาช้าง

งานประเพณี

ไฟล์:ขึ้นเขาพนมรุ้ง.jpg
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
ไฟล์:แข่งเรือยาว สตึก.jpg
ประเพณีแข่งเรือยาวที่อำเภอสตึก
งานดอกฝ้ายคำบาน
ช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. ของทุกปี บริเวณปราสาทเขาพนมรุ้ง
นมัสการพระเจ้าใหญ่วัดศีรษะแรด (วัดหงส์)
วันขึ้น 14 ค่ำ ถึงวันแรก 1 ค่ำ เดือน 3 หรือตรงกับ วันมาฆบูชา ของทุกปี ที่วัดศีรษะแรด อ.พุทไธสง
นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ วันมาฆบูชา
งานประเพณีขึ้นเขากระโดง
ช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ณ วนอุทยานแห่งชาติเขากระโดง ตำบลเสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์
งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
เดือนเมษายน ของทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า) ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
งานเครื่องเคลือบพันปี
ช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ที่ อ.บ้านกรวด
ประเพณีแข่งเรือยาว
วันเสาร์-อาทิตย์แรก ของเดือน พ.ย. ที่ลำน้ำมูล ที่ที่ว่าการ อ.สตึก
มหกรรมว่าวอีสาน
ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือน ธ.ค. บริเวณสนามกีฬา อ.ห้วยราช
มหกรรมมวยไทยเทศกาลกินไก่ไหว้เจ้าพ่อขุนศรี
ประมาณปลายเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอ อ.หนองกี่

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "บริการข้อมูลประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/ 2555. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2556.
  4. Buriram City & Province - Regional Thailand
  5. คอลัมน์หมายเลข 7 - สร้างพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินไม่ใช้งาน ตอน 2
  6. คอลัมน์หมายเลข 7 - สร้างพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินไม่ใช้งาน
  7. เพ ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท & แอดเวนเจอร์แคมป์

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

15°00′N 103°07′E / 15°N 103.11°E / 15; 103.11