ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดศรีสะเกษ"

พิกัด: 15°07′N 104°20′E / 15.11°N 104.33°E / 15.11; 104.33
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.buriram (คุย | ส่วนร่วม)
Mr.buriram (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 534: บรรทัด 534:


==== แหล่งน้ำและระบบชลประทาน ====
==== แหล่งน้ำและระบบชลประทาน ====
[[ไฟล์:ป้ายเขื่อนราษีไศล.jpg|thumb|250 px|left|ป้ายเขื่อนราษีไศล]]
[[ไฟล์:ป้ายเขื่อนราษีไศล.jpg|thumb|200 px|left|ป้ายเขื่อนราษีไศล]]
[[ไฟล์:Rasisalai dam.jpg|thumb |250 px|left|เขื่อนราษีไศล]]
[[ไฟล์:Rasisalai dam.jpg|thumb |200 px|left|เขื่อนราษีไศล]]
[[ไฟล์:เขื่อนราษีไศล2.jpg|thumb|250 px|left|พื้นที่เขื่อนราษีไศล]]
[[ไฟล์:เขื่อนราษีไศล2.jpg|thumb|200 px|left|พื้นที่เขื่อนราษีไศล]]
จังหวัดศรีสะเกษ มีแหล่งน้ำที่สำคัญและมีผลต่อกิจกรรมการเกษตร การประมง ดังนี้
จังหวัดศรีสะเกษ มีแหล่งน้ำที่สำคัญและมีผลต่อกิจกรรมการเกษตร การประมง ดังนี้
* [[แม่น้ำมูล]] ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาดงพญาเย็นในท้องที่[[อำเภอปักธงชัย]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] ไหลเข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอราษีไศล ไหลผ่านอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอกันทรารมย์ แล้วไหลไปบรรจบ[[แม่น้ำชี]] ที่[[จังหวัดอุบลราชธานี]] พื้นที่ทางทิศเหนือของแม่น้ำมูลลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีสภาวะน้ำท่วมขังในฤดูฝน
* [[แม่น้ำมูล]] ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาดงพญาเย็นในท้องที่[[อำเภอปักธงชัย]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] ไหลเข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอราษีไศล ไหลผ่านอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอกันทรารมย์ แล้วไหลไปบรรจบ[[แม่น้ำชี]] ที่[[จังหวัดอุบลราชธานี]] พื้นที่ทางทิศเหนือของแม่น้ำมูลลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีสภาวะน้ำท่วมขังในฤดูฝน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:19, 1 เมษายน 2556

ความหมายอื่นของ ศรีสะเกษ ดูได้ที่ ศรีสะเกษ (แก้ความกำกวม)
จังหวัดศรีสะเกษ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Si Sa Ket
คำขวัญ: 
หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายประทีป กีรติเรขา
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
พื้นที่
 • ทั้งหมด8,839.976 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 21
ประชากร
 (พ.ศ. 2554)
 • ทั้งหมด1,452,203 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 9
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 19
รหัส ISO 3166TH-33
ชื่อไทยอื่น ๆศรีนครลำดวน, ขุขันธ์, คูขันธ์, คูขัณฑ์
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ลำดวน
 • ดอกไม้ลำดวน
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 4561 1139
เว็บไซต์http://www.sisaket.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งในบรรดา 77 จังหวัดและกรุงเทพมหานครประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด[3] ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ[3] มีประชากรราว 1.45 ล้านคน [4] ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาถิ่นอีสาน, ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมร ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิม[5][6][7]

มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ศิลปะขอมตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน (ตำบลลำดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ในปัจจุบัน) เป็นเมืองศรีนครลำดวน ต่อมาโยกย้ายลงทางใต้และได้ชื่อใหม่เป็นเมืองขุขันธ์[5][8][9] และในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ได้ย้ายเมืองไปยังบริเวณตำบลเมืองเก่า (ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) แต่เรียกชื่อเมืองขุขันธ์ ตามเดิม กระทั่งยกฐานะเป็น จังหวัดขุขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2481 [3]

แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร, สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ, ปรางค์กู่, ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย, ปราสาทสระกำแพงใหญ่, ปราสาทเยอ, ปราสาทหินบ้านปราสาท, ปราสาทหินโดนตวล, บึงนกเป็ดน้ำไพรบึง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา[3] ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าวหอมมะลิ, ผลไม้ เช่น ทุเรียน และเงาะ, พืชสวน เช่น หอมแดง, กระเทียม และยางพารา [5] ตลอดจนพืชไร่ เป็นต้นว่า มันสำปะหลัง และถั่วลิสง [3]

พัฒนาการในการตั้งถิ่นฐานและประวัติศาสตร์การก่อตั้ง

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

หลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ แสดงให้เห็นการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่นี้ย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรหรือภาษาเขียน จารึกเรื่องราวต่างๆในสังคมมนุษย์) ตอนปลาย ในสมัยเหล็ก(ยุคเหล็ก)(Iron Age) ราว 2,500 ปีมาแล้ว เช่น แหล่งภาพสลักบริเวณผาเขียน-ผาจันทน์แดง ในเขตอำเภอขุนหาญ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นเขตพื้นที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นอกจากนั้นยังร่องรอยชุมชนสมัยเหล็กอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด เช่น กลุ่มชุมชนโบราณในเขตอำเภอราษีไศล ซึ่งปรากฏร่องรอยชุมชนที่มีหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ ที่ได้รับการฝังศพพร้อมกับวัตถุอุทิศอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กและภาชนะดินเผา ตลอดจนแบบแผนพิธีกรรมฝังศพแบบวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล-ชี หรือที่เรียกว่า"วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้"[5]

สมัยประวัติศาสตร์

สมัยวัฒนธรรมทวารวดี

ต่อมาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 (ประมาณ 1,400 - 1,200 ปีมาแล้ว) ชุมชนสมัยเหล็ก (โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด) ได้มีพัฒนาการต่อมาเป็นชุมชนในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทหรือหินยาน มีการจารึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ด้วยตัวอักษรหรือภาษาเขียนแบบโบราณ จึงจัดเป็นช่วง "ยุคหรือสมัยประวัติศาสตร์" ตอนต้น รวมทั้งมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ โดยการขุดคูน้ำและสร้างคันดินล้อมรอบเมือง เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในฤดูแล้งและใช้เป็นแนวป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ชุมชนโบราณสำคัญที่มีลักษณะผังเมืองดังกล่าวนี้ เช่น เมืองโบราณที่มีคูน้ำ-คันดิน หลายแห่งในเขตอำเภอราษีไศล, เมืองโบราณคูขัณฑ์(หรือคูขันธ์)ซึ่งเป็นที่ตั้งตัวอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน [5]

สมัยวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17(ประมาณ 1,300 - 900 ปีมาแล้ว) ก็มีชุมชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับกระแสวัฒนธรรมแบบขอมโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตอนกลางและตอนล่างของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16) และพุทธศาสนา นิกายมหายาน (ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17) โดยปรากฏเป็นชุมชนขนาดน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หลายชุมชมมีการก่อสร้างศาสนสถานซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือปราสาทหินโบราณ เช่น ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่[10] ปราสาทหินสระกำแพงน้อย[11] ใน เขตอำเภออุทุมพรพิสัย , ปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน[12] , ปราสาทกู่สมบูรณ์ อำเภอบึงบูรพ์, ปราสาททามจาน(หรือปราสาทบ้านสมอ)[13], ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่, ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์, ปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง, ปราสาทภูฝ้าย ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณพะลานหินเขตผามออีแดง ปราสาทโดนตวล อำเภอกันทรลักษ์, ปราสาทหนองปราสาท ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ เป็นต้น โบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทหินแบบศิลปะขอมที่พบเป็นจำนวนมากในจังหวัดศรีสะเกษ ส่งผลให้จังหวัดศรีสะเกษได้รับสมญานามว่า "เมืองปรางค์ร้อยกู่" หรือ "นครร้อยปราสาท" [5] [14]

สมัยกรุงศรีอยุธยา

การสร้างบ้านแปงเมืองซึ่งเป็นต้นเค้าของการพัฒนามาเป็นจังหวัดศรีสะเกษ ได้ปรากฏชัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2232 โดยเป็นผลจากที่อาณาจักรลาวเกิดการแย่งชิงอำนาจการปกครอง ทำให้ชาวลาวกลุ่มหนึ่งประมาณ 3,๐๐๐ คน หนีภัยลงมาทางใต้ มาปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม และไปตั้งหลักแหล่งที่เมืองจำปาศักดิ์ หลังจากนั้นเป็นต้นมา อาณาจักรลาวก็แยกออกเป็นสามอาณาจักรคือหลวงพระบาง เวียงจันทน์และจำปาศักด นอกจากนั้น การแย่งชิงอำนาจและการแบ่งแยกบ้านเมืองดังกล่าวเป็นเหตุให้ชาวลาวหลายกลุ่มอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนในเขตฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ซึ่งได้แก่พื้นที่ภาคอีสานของไทยหลายกลุ่มซึ่งเรียกกันว่า ไปครัว หรือไปอยู่บ้านใหม่ แสวงหาที่ทำกินดินดำน้ำชุ่ม วิธีการอพยพที่สำคัญคือ การอาศัยลำน้ำมูลในการเดินทางอพยพ [15] เมื่อพบชัยภูมิที่เหมาะสมก็ตั้งเมืองสร้างบ้านแปงเมืองสืบต่อกันมา ในระยะนั้น มีกลุ่มชนเผ่าที่เรียกตนเองว่า กูย จำนวน 6 กลุ่ม อพยพมาจากเมืองอัตปือแสนแป เขตนครจำปาศักดิ์ ข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดสุรินทร์ หัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่มได้นำไพร่พลเข้าจับจองพื้นที่รกร้างตั้งเป็นชุมชน ต่างๆ ดังนี้ [16]

  • ตากะจะ(หรือตาไกร)และ เชียงขัน มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่ ในเขตอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน)
  • เชียงปุม มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านเมืองที ต่อมาได้สร้างบ้านเมืองอยู่ที่บ้านคูปทายและยกเป็นปทายสมันต์ (จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน)ส่วนเมืองทีให้เชียงปิดน้องชายเป็นหัวหน้าปกครอง
  • เชียงฆะ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านอัจจะปึงหรือเมืองดงยาง (ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
  • เชียงชัย มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านจารพัต (ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
  • เชียงสง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองลิง (ในเขตอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
  • เชียงสี (ตากะอาม) มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่กุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
ไฟล์:PrayaKraipakdee.jpg
อนุสาวรีย์ พระยาไกรภักดีฯ (หลวงแก้วสุวรรณ หรือ ตากะจะ) เจ้าเมืองคนแรกผู้ก่อตั้งเมืองศรีนครลำดวน ต้นเค้าที่พัฒนามาเป็นจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษ
ไฟล์:PrayaKraipakdee closer.jpg
อนุสาวรีย์ พระยาไกรภักดีฯ (หลวงแก้วสุวรรณ หรือ ตากะจะ) เจ้าเมืองคนแรก

ชุมชนชาวกูยดังกล่าวได้อยู่อาศัยเรื่อยมาจนล่วงเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ใน พ.ศ. 2302 รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์(หรือพระที่นั่งสุริยามรินทร์)พญาช้างเผือกมงคลในราชสำนักแตกโรงมาจากจากกรุงศรีอยุธยา หนีเข้าป่าไปรวมอยู่กับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงเร็ก ตากะจะหรือตาไกรและเชียงขัน พร้อมด้วยหัวหน้าชาวกูยเขมรป่าดงได้รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้แล้วนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ "ตากะจะ" หรือ "ตาไกร" เป็น "หลวงแก้วสุวรรณ" ตำแหน่งหัวหน้านายกอง ปกครองหมู่บ้าน โดยโปรดให้ยก บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวนขึ้นเป็น เมือง "ศรีนครลำดวน" ต่อมาเมืองศรีนครลำดวนขาดแคลนน้ำ จึงโปรดให้ย้ายไปจัดตั้งเมืองใหม่ที่ริมหนองแตระห่างจากเมืองเดิมไปทางใต้ เมืองใหม่เรียก "เมืองคูขัณฑ์" หรือ "เมืองคูขันธ์"(หมายถึงเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบ แต่ต่อมาชื่อนี้ได้เพี้ยนมาเป็น "ขุขันธ์") ซึ่งได้แก่อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน จนล่วงปีพุทธศักราช 2306 หลวงแก้วสุวรรณนำเครื่องบรรณาการถวายพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา ความชอบครั้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้หลวงแก้วสุวรรณ เป็นพระไกรภักดีศรีนครลำดวน ตำแหน่ง "เจ้าเมือง"คูขัณฑ์ คนแรก [17] [18] [19]

สมัยกรุงธนบุรี

ลุถึงสมัยกรุงธนบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2319พ.ศ. 2320 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(พระเจ้าตากสิน) โปรดเกล้าฯ มีรับสั่งให้ พระยาจักรี (ทองด้วง) ไปทำศึกปราบกบฏกับเวียงจันทน์ พระไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) และ ”หลวงปราบ” ได้เกณฑ์กำลังไปช่วยรบอย่างเข้มแข็งจนได้รับชัยชนะทุกครั้ง ถือว่ามีความดีความชอบจึงได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ พระไกรภักดีศรีนครลำดวน เป็น “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน[20] [21] [22]

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2325 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้แยกบ้านโนนสามขาสระกำแพงออกจากเมืองคูขัณฑ์ แล้วตั้งเป็นเมืองใหม่คือ เมืองศีร์ษะเกษ

พ.ศ. 2354 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมืองขุขันธ์ ขอพระราชทานพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ยกบ้านลังเสนเป็น เมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายเมืองกันทรลักษณ์มาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็น เมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ

พ.ศ. 2386 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านลำโดมใหญ่ เป็น เมืองเดชอุดม ขึ้นกับเมืองขุขันธ์

พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านไพรตระหมักและบ้านตาสี เป็น เมืองมโนไพร ขึ้นกับเมืองขุขันธ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศกัมพูชาเรียกเมืองมะลูเปรย)

พ.ศ. 2418 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มืองหนองคายเกิดกบฏโดยกลุ่มฮ่อ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพคุมกองทัพจากนครราชสีมา และกองทัพจากเมืองต่างๆ รวมทั้ง เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม และเมืองศรีสะเกษ ไปปราบกบฏฮ่อที่หนองคาย สามารถตีกลุ่มกบฏฮ่อแตกพ่ายยับเยิน ที่เหลือก็ถูกจับเป็นเชลยทั้งหมด

พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ เริ่มใช้นโยบายเลิกทาส มีสารตรา ไปยังหัวเมืองด้านตะวันออก ห้ามมิให้จับข่า ( กวย หรือส่วย ) มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนและใช้สอยการงานต่าง ๆ และส่วนผู้ใดได้ซื้อหามาจากผู้ใดอยู่ก่อนนั้น ก็ให้อยู่กับผู้นั้นต่อไป เพราะถ้าจะให้ข้าทาสนั้นหลุดพ้นค่าตัวไปก็จะเป็นเหตุเดือดร้อนแก่มูลนาย ผู้ซื้อและแลกเปลี่ยนมาก่อนนั้น

พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านโนนหินกอง เป็น เมืองราษีไศล ขึ้นกับเมืองศีร์ษะเกษ

พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้วางโครงข่ายระบบโทรเลขจากเมืองขุขันธ์ไปยังเมืองต่างๆ 2 สายคือ สร้างทางสายโทรเลขขุขันธ์-จำปาศักดิ์ และสร้างทางสายโทรเลขจากเมืองขุขันธ์-มโนไพร-เมืองเสียมราฐ

พ.ศ. 2434 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศีร์ษะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว

พ.ศ. 2435 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครองแบบมณทล ขึ้น โดยให้เมืองศีร์ษะะเกษขึ้นอยู่กับมณฑลอีสาน [23]

พ.ศ. 2436 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวขุขันธ์และชาวศรีสะเกษจะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ

ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร

พ.ศ. 2436 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง )ป็นข้าหลวงเมืองขุขันธ์ โดยรวมเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์และเมืองสังขะ เป็นบริเวณเดียวกัน ตั้งที่ทำการข้าหลวง ณ เมืองขุขันธ์

พ.ศ. 2445 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนชื่อ มณฑลอีสาน เป็น มณฑลอุบล มีเมือง 3 เมืองขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของมณฑลอุบล คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์ ช่วงดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อเมืองศีรษะเกษ สันนิษฐานว่าเมืองศีร์ษะเกษถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองขุขันธ์ซึ่งเป็นเมืองเก่ามาแต่เดิม

พ.ศ. 2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์(ซึ่งอยู่ที่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า(ปัจจุบันคือตำบลเมืองเหนือในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน) และยังคงใช้ชื่อ "เมืองขุขันธ์" ยุบเมืองขุขันธ์เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ(ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้)

ครั้น พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมบ้านเมืองขุขันธ์(คูขัณฑ์ หรือ คูขันธ์) เมืองศีร์ษะเกษ และเมืองเดชอุดม เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียก "เมืองขุขันธ์"

รายนามเจ้าเมืองศรีนครลำดวน, เจ้าเมืองขุขันธ์, ข้าหลวงกำกับราชการ, ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (พระยาขุขันธ์ภักดี-พระไกรภักดีศรีนครลำดวน-หลวงแก้วสุวรรณ หรือตากะจะ)

ผู้ก่อตั้งเมือง เจ้าเมืองท่านแรก

(ตั้งเมืองครั้งแรกใช้ชื่อเมือง"ศรีนครลำดวน" แล้วเปลี่ยนเป็นเมือง "คูขัณฑ์" หรือคูขันธ์/ขุขันธ์ ใน พ.ศ. 2321 เมื่อย้ายเมืองลงมาทางใต้)

พ.ศ. 2302 – 2324

(รัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย –

รัชกาลพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยกรุงธนบุรี)

2. พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (หลวงปราบ/เซียงขัน) เจ้ามืองขุขันธ์ พ.ศ. 2324 – 2325

(รัชกาลพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยกรุงธนบุรี)

3. พระยาขุขันธ์ภักดี (พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน/เซียงขัน) เจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2325 – 2325

(รัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)

4. พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวบุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2325 – 2369

(รัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช – รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)

5. พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (พระยาสังฆะ ย้ายมาจากเมืองสังฆะ) เจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2371 – พ.ศ. 2388

(รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)

6. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวเกา) เจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2388 – พ.ศ. 2393

(รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)

7. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวใน หรือ พระยาภักดีภูธรสงคราม) เจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2393 – พ.ศ. 2393

(รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)

8. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวนวล หรือ พระแก้วมนตรี) เจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2393 – พ.ศ. 2394

(รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)

9. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวกิ่ง หรือ พระภักดีภูธรสงคราม) เจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2394 – พ.ศ. 2395

(รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว – รัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

10. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าววัง หรือ พระวิชัย) เจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2395 – พ.ศ. 2426

(รัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว – รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

11. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา ขุขันธิน ต้นสกุล ขุขันธิน นามสุกลพระราชทาน [24]) เจ้าเมืองขุขันธ์ และผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์(คนแรก) พ.ศ. 2426 – พ.ศ. 2450

(รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

หลวงเสนีย์พิทักษ์ ข้าหลวงกำกับราชการเมืองขุขันธ์(คนที่ 1) ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2428 – พ.ศ. 2431

(รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พระยาบำรุงบุระประจันต์ (ท้าวจันดี หรือ พระรัตนวงษา) ข้าหลวงกำกับราชการเมืองขุขันธ์(คนที่ 2) ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2432 – พ.ศ. 2435

(รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พระศรีพิทักษ์ (ท้าวหว่าง) ข้าหลวงกำกับราชการเมืองขุขันธ์(คนที่ 3) ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2450

(รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)


รายนามเจ้าเมือง, ข้าหลวงกำกับราชการ, ผู้ว่าราชการเมืองศีร์ษะเกษ
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระยารัตนวงษา (ท้าวอุ่น หรือ พระภักดีภูธรสงคราม) ผู้ก่อตั้งเมือง เจ้าเมืองท่านแรก

(อดีตปลัดเมืองขุขันธ์ ผู้กราบบังคมทูลขอแยกมาตั้งเมืองศีร์ษะเกษ บริเวณบ้านโนนสามขาสระกำแพง เมื่อ พ.ศ. 2325)

พ.ศ. 2325 – 2328

(รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)

2. พระยาวิเศษภักดี (ท้าวชม) เจ้าเมืองศีร์ษะเกษ

(พ.ศ. 2328 ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านพันทาเจียงอี อันเป็นที่ตั้งเมืองเก่าศรีนครเขตซึ่งร้างไป คือที่ตั้งตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน)

พ.ศ. 2328 – พ.ศ. 2368

(รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช-รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)

3. พระยาวิเศษภักดี เจ้าเมืองศีร์ษะเกษ พ.ศ. 2368 – พ.ศ. 2424

(รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว-รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

4. พระยาวิเศษภักดี (ท้าวโท หรือ พระพรหมภักดี) เจ้าเมืองศีร์ษะเกษ พ.ศ. 2424 – พ.ศ. 2437

(รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

หลวงจำนงยุทธกิจ(อิ่ม)และ ขุนไผทไทยพิทักษ์(เกลื่อน)

(คณะข้าหลวงเมืองศีร์ษะเกษ ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าเมืองศีร์ษะเกษ)

พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2443

(รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

5.พระภักดีโยธา(เหง้า) ผู้ว่าราชการเมืองศีร์ษะเกษ (คนแรก) พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2450

(รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พ.ศ. 2459 มี "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2459"[25] ให้เรียกเมืองขุขันธ์ใหม่เป็น "จังหวัดขุขันธ์"[5]

เขตการปกครองของจังหวัดขุขันธ์ในอดีตมี 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ซึ่งรายชื่อดังต่อไปนี้สะกดชื่อตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ได้แก่

  1. อำเภอเมืองขุขันธ์ (อำเภอห้วยเหนือ)
  2. อำเภอเมืองศีร์ษะเกษ
  3. อำเภอราษีไสล (อำเภอคง)
  4. อำเภอรัตนบุรี (ต่อมาถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์)
  5. อำเภอกันทรลักษ์ (อำเภอน้ำอ้อม)
  6. อำเภออุทุมพรพิไสย
  7. อำเภอเดชอุดม (ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานีใน พ.ศ. 2472)
  8. กิ่งอำเภอบัวบุณฑริก (หรืออีกชื่อหนึ่งคือกิ่งอำเภอโพนงาม ซึ่งแยกออกมาจาก อำเภอเดชอุดม ใน พ.ศ. 2466 ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับอำเภอเดชอุดม)[26]

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ตรา "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481"[27] มาตรา 3 ให้เปลี่ยนชื่อ "จังหวัดขุขันธ์" เป็น จังหวัดศรีสะเกษ (เดิมในพระราชกฤษฎีกาสะกดว่า "ศีร์ษะเกษ") โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน ปีนั้น[5]

รายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการเมือง - ผู้ว่าราชการจังหวัด

รายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการเมืองและจังหวัดขุขันธ์ (พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2481)
รายพระนามและรายนาม
ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา ขุขันธิน ต้นสกุล ขุขันธิน นามสุกลพระราชทาน [28]) พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2450
2. พระยาบำรุงบุรประจันทต์ (จันดี) พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2452
3. พระยาประชากิจ (ทับ มหาเปาระยะ) พ.ศ. 2452 – พ.ศ. 2454
4. พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุญนาค) พ.ศ. 2454 – พ.ศ. 2456
5. ร้อยเอก พระอินทร์ประสิทธิศร (เชื้อ ทองอุทัย) พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2457
6. อำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าถูกถวิล สุขสวัสดิ์ พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2459
7. อำมาตย์โท พระภักดีศรีสุนทรราช (ดิศ โกมลบุตร) (เริ่มใช้คำว่า "จังหวัด" แทนคำว่า "เมือง") พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2461
8. อำมาตย์เอก พระยาวิเศษชัยชาญ (ชอุ่ม อมัตติรัตน์) พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2465
9. อำมาตย์โท พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) พ.ศ. 2465
10. อำมาตย์โท พระวิสุทธราชรังสรรค์ (ใหญ่ บุญนาค) พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2472
11. อำมาตย์ตรี พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์) พ.ศ. 2472 – พ.ศ. 2473
12. อำมาตย์โท พระศรีวิชัยบริบาล (สวัสดิ์ ปัทมดิลก) พ.ศ. 2473 – พ.ศ. 2478
13. หลวงศรีราชรักษา (ผิว ชาศรีรัฐ) พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2481
รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2481 – ปัจจุบัน)
รายนาม
ปีที่ดำรงตำแหน่ง
14. พระศรีราชสงคราม (ศรีสุขวาที) พ.ศ. 2481
15. พระบริรักษ์ภูธร (เพิ่ม ขนิษฐายนต์ พ.ศ. 2482 – พ.ศ. 2483
16. หลวงปริวรรควรจิตร (จันทร์ เจริญไชยา) พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2485
17. นายชอบ ชัยประภา พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2488
18. ขุนบำรุงรัตนบุรี (ปกรณ์ จุฑะพุทธิ) พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2489
19. นายศิริ วรนารถ พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2490
20. นายเติม ศิลปิ พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2492
21. นายพินิต โพธิพันธ์ พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2495
22. ขุนวัฒนานุรักษ์ (ประจักษ์ วงศ์รัตน์) พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2498
23. นายกิติ ยธการี พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2500
24. นายจาด อุรัสยะนันทน์ พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2501
25. นายวรวิทย์ รังสิโยทัย พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2504
26. นายรังสรรค์ รังสิกุล พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2512
27. นายกำเกิง สุรการ พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2514
28. นายประมวล รังสิคุต พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2516
29. นายเชื้อ เพ็ชรช่อ พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2517
30. นายพิศาล มูลศาสตรสาทร พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2518
31. นายกรี รอดคำดี พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2521
32. นายสมบูรณ์ ไทยวัชรามาศ พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2524
รายนาม (ต่อ)
ปีที่ดำรงตำแหน่ง (ต่อ)
33. เรือตรี ดนัย เกตุสิริ ร.น. พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2528
34. นายจำลอง ราษฎร์ประเสริฐ พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2531
35. นายธวัช โพธิสุนทร พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2533
36. ร้อยตรี สมจิตต์ จุลพงษ์ พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2535
37. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536
38. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2540
39. นายพจน์ ใจมั่น พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2542
40. นายโกสินทร์ เกษทอง พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2544
41. นายสุจริต นันทมนตรี พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2545
42. นายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2546
43. นายถนอม ส่งเสริม พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2548
44. นายสันทัด จัตุชัย พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2550
45. นายก้องเกียรติ อัครประเสริฐกุล พ.ศ. 2550
46. นายเสนีย์ จิตตเกษม พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2552
47. นายระพี ผ่องบุพกิจ พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2553
48. นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ พ.ศ. 2553
49. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต พ.ศ. 2553 - 27 พ.ย. 2554
50. นายประทีป กีรติเรขา 29 ธ.ค. 2554 - ปัจจุบัน

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด : รูปปรางค์กู่มีดอกลำดวน 6 กลีบอยู่เบื้องล่าง (เดิมใช้ภาพปราสาทหินเขาพระวิหารเป็นตราประจำจังหวัด มาเปลี่ยนเป็นตราปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2512[29]
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกลำดวน (Melodorum fruticosum)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ลำดวน (Melodorum fruticosum)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอมกระเทียมเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี
  • เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด : ด้านหน้าภาพปราสาทสระกำแพงใหญ่, ด้านหลังภาพ ปรางค์กู่และดอกลำดวน

อาณาเขตติดต่อ

การปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดศรีสะเกษแบ่งการปกครองเป็น 2,557 หมู่บ้าน, 206 ตำบล, 22 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองศรีสะเกษ
  2. อำเภอยางชุมน้อย
  3. อำเภอกันทรารมย์
  4. อำเภอกันทรลักษ์
  5. อำเภอขุขันธ์
  6. อำเภอไพรบึง
  7. อำเภอปรางค์กู่
  8. อำเภอขุนหาญ
  9. อำเภอราษีไศล
  10. อำเภออุทุมพรพิสัย
  11. อำเภอบึงบูรพ์
  1. อำเภอห้วยทับทัน
  2. อำเภอโนนคูณ
  3. อำเภอศรีรัตนะ
  4. อำเภอน้ำเกลี้ยง
  5. อำเภอวังหิน
  6. อำเภอภูสิงห์
  7. อำเภอเมืองจันทร์
  8. อำเภอเบญจลักษ์
  9. อำเภอพยุห์
  10. อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
  11. อำเภอศิลาลาด[30]
 
แผนที่อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 27 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 191 แห่ง [31]

พื้นที่เทศบาลเมืองศรีสะเกษ
โรงแรมในเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

อำเภอเมืองศรีสะเกษ

อำเภอกันทรลักษ์

อำเภอยางชุมน้อย

อำเภอกันทรารมย์

อำเภอไพรบึง

อำเภอปรางค์กู่

อำเภอขุนหาญ

อำเภออุทุมพรพิสัย

อำเภอบึงบูรพ์

  • เทศบาลตำบลบึงบูรพ์

อำเภอห้วยทับทัน

อำเภอศรีรัตนะ

อำเภอขุขันธ์

อำเภอราษีไศล

อำเภอวังหิน

อำเภอพยุห์

สภาพทั่วไป

ภูมิประเทศ

จังหวัดศรีสะเกษนั้น ตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักซึ่งทอดตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ยาว 127 กิโลเมตร ยอดเขาสูงสุดในจังหวัดชื่อ "พนมตาเมือน" สูง 673 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยตั้งอยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จากเขาพนมตาเมือนนี้ พื้นที่ค่อย ๆ ลาดต่ำลงไปทางเหนือเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลอนลาด มีระดับความสูงระหว่าง 150-200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลำน้ำหลายสายไหลผ่านพื้นที่ราบนี้ลงไปยังแม่น้ำมูล ลำน้ำสายสำคัญได้แก่ ห้วยทับทัน ห้วยสำราญ และห้วยขะยุง

ตัวจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบันตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยสำราญ ห้วยน้ำคำและห้วยขะยุง ห่างจากแม่น้ำมูลไปทางทิศใต้ประมาณสิบกิโลเมตร และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 126 เมตร

ทุ่งกุลาร้องไห้

ทางตอนเหนือของจังหวัดมีแม่น้ำมูลไหลผ่านเขตอำเภอศิลาลาด,อำเภอราษีไศล,อำเภอเมืองศรีสะเกษ,อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ เป็นระยะทางยาวประมาณ 120 กิโลมเตร บริเวณนี้ถือเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่อันอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 115-130 เมตร [32]

ทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินเป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้

ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย

ภูดินแดง

เป็นพื้นที่ภูเขาไฟเก่า จัดเป็นดินร่วนปนทราย มีสีแดงจึงเรียกว่า ดงดินแดง] หรือ ภูดินแดงซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญได้ เขตภูดินแดงเป็นแนวภูเขาไฟเก่าที่มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ลึกเข้ามาจากแนวเทือกเขาพนมดงรัก ชายเขตแดนไทยกับกัมพูชา เป็นรอยต่อของอำเภอเบญจลักษณ์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญและอำเภอกันทรลักษณ์ เขตนี้จึงเป็นย่านที่ปลูกพืชสวนสำคัญๆ ได้ผลดี เช่น เงาะ ทุเรียน ยางพารา ฯลฯ [33]

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวจัดในฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน โดยมักจะตกหนักในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดจะมีปริมารฝนตกน้อย และไม่ค่อยสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยแล้วในปีหนึ่ง ๆ จะมีฝนตก 100 วัน ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส สูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 66-73 ในเดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 62.24 และปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมเป็นร้อยละ 71.95 ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งปริมาณความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดวัดได้ในเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 78.16 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน หลังจากนั้นปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงช่วงสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม โดยมีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 73.80, 68.67 และ 66.45 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว

ค่าศักย์การคายระเหยน้ำในจังหวัดศรีสะเกษจะแปรผันไปตามฤดูกาล กล่าวคือในเดือนมกราคม มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ 117.89 มิลลิเมตร ค่าศักย์การคายระเหยน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 146.30 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นค่าสูงสุด และในเดือนเมษายนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 142.23 มิลลิเมตร หลังจากนั้นค่าศักย์การคายระเหยน้ำได้ลดต่ำลงในเดือนพฤษภาคมเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน โดยมีค่า 122.65 มิลลิเมตร ค่าศักย์การระเหยน้ำต่ำสุดอยู่ในเดือนกันยายนซึ่งมีค่า 85.93 มิลลิเมตร จากนั้นค่าจะเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม [34]

ทรัพยากร

สัตว์ป่าและพื้นที่อนุรักษ์

พื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดในเขต อำเภอภูสิงห์ อำเภอขุนหาญ และ อำเภอกันทรลักษ์ อันเป็นแนวเทือกเขาพนมดงรัก ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นอาณาบริเวณที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติอันเป็นระบบนิเวศที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด สัตว์ป่าจำนวนมากในพื้นที่นี้จัดเป็นสัตว์ป่าหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น กูปรี หรือโคไพร หรือ วัวป่า ซึ่งมีรายงานว่ามีปริมาณหลงเหลืออยู่น้อยมาก ด้วยเหตุนี้ ทางราชการจึงได้ประกาศจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและพื้นที่รอยต่อกับจังหวัดใกล้เคียง(สุรินทร์-อุบลราชธานี) ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม

ป่าไม้และพื้นที่อนุรักษ์

ลักษณะป่าไม้ของจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยป่ายาง ไม้เต็ง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้กระบาก และไม้เบญจพรรณ จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ป่าไม้แยกเป็นป่าอนุรักษ์ (3 แห่ง 472,075 ไร่) ป่าสงวน (4 ป่า 92,042 ไร่) ป่าชุมชน (อยู่ในเขตป่าสงวน 25,621 ไร่, ป่าไม้ 1,845 ไร่, ป่าสาธารณประโยชน์ 7,094 ไร่) ป่าเศรษฐกิจ (Zone E: 825,246 ไร่) พื้นที่ป่าไม้ที่สมบูรณ์ร้อยละ 11.67 ของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

แหล่งน้ำและระบบชลประทาน

ป้ายเขื่อนราษีไศล
เขื่อนราษีไศล
พื้นที่เขื่อนราษีไศล

จังหวัดศรีสะเกษ มีแหล่งน้ำที่สำคัญและมีผลต่อกิจกรรมการเกษตร การประมง ดังนี้

  • แม่น้ำมูล ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาดงพญาเย็นในท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ไหลเข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอราษีไศล ไหลผ่านอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอกันทรารมย์ แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำชี ที่จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ทางทิศเหนือของแม่น้ำมูลลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีสภาวะน้ำท่วมขังในฤดูฝน
  • ห้วยทับทัน ไหลมาจากอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย ไหลลงไปบรรจบแม่น้ำมูลบริเวณอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
  • ห้วยสำราญ ไหลมาจากเขตอำเภอปรางค์กู่ ผ่านอำเภอเมืองศรีสะเกษ แล้วไหลลงแม่น้ำมูล ที่เขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ
  • ห้วยศาลา เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ดัดแปลงทำเป็นเขื่อนเก็บน้ำที่ไหลมาจากห้วยสำราญและมีต้นน้ำจากห้วยพนมดงรัก สามารถบรรจุน้ำได้สูงสุด 52.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ทำการชลประทาน จำนวน 20,400 ไร่ มีน้ำตลอดปี
  • เขื่อนราษีไศล เป็นเขื่อนคอนกรีต มีบานประตูระบายน้ำ 7 บาน กั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย-บ้านดอน ตั้งอยู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เขื่อนเริ่มเก็บกักน้ำในปี พ.ศ. 2536

แร่ธาตุและทรัพยากรธรณี

โครงสร้างทางธรณีวิทยา ตลอดจนลักษณะทางธรณีสัณฐานและปฐพีสัณฐาน พบว่าในเขตพื้นที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดได้แก่แนวพรมแดนไทย-กัมพูชา บริเวณอำเภอกันทรลักษ์และอำเภอขุนหาญ เป็นแหล่งกำเนิดแร่ธาตุอันเป็นทรัพยากรธรณีที่มีศักยภาพเชิงอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจหลายชนิด ผลการสำรวจทางธรณีวิทยาพบว่าในพื้นที่อำเภอดังกล่าวของจังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งแร่ธาตุและทรัพยากรธรณีชนิดต่างๆ ที่สำคัญ ประกอบด้วยหินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อการก่อสร้าง และรัตนชาติที่สำคัญได้แก่พลอยสีแดงหรือสีดอกตะแบก, โกเมน, แซฟไฟร์, ทับทิม และเพทาย ตลอดจนพลอยอื่นๆ เช่น พลอยน้ำค้างและโอลิวีน แหล่งแร่พลอยที่สำคัญได้แก่พื้นที่บ้านด่าน อำเภอกันทรลักษ์ และพื้นที่เชิงเขาพนมดงรักในเขตอำเภอขุนหาญ ซึ่งเป็นแหล่งแร่รัตนชาติขนาดใหญ่ที่กรมทรัพยากรธรณียังไม่ได้เปิดสัมปทานให้มีการดำเนินการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ

ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัด เป็นแหล่งทรายและกรวดแม่น้ำเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง โดยแหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่พื้นที่ฝั่งแม่น้ำมูลในหลายอำเภอ เช่น อำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ นอกจากนั้น พื้นที่ทางตอนเหนือยังเป็นแหล่งแร่เกลือหินและโพแทซ ซึ่งมีปริมาณสำรองเพียงพอและมีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ แร่ดังกล่าวพบมากในเขตอำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย และบางส่วนของอำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอกันทรารมย์

นอกเหนือจากแร่ข้างต้นแล้ว หลายพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งตอนเหนือ ตอนกลางและตอนใต้ ยังเป็นแหล่งแร่ศิลาแลงหรือดินแลงและแร่ดินเหนียว ซึ่งมีปริมาณสำรองและศักยภาพเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างรวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมอิฐและดินเผา แหล่งแร่ที่สำคัญครอบคลุมพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญ และอำเภอกันทรลักษ์[35] [36]

ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์

ในจังหวัดศรีสะเกษ มีชุมชนหลายกลุ่มตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการอพยพย้ายครัวเข้ามาของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันยังคงปรากฏลักษณะเฉพาะทางกายภาพและวัฒนธรรมของกลุ่มคนเหล่านั้นอยู่ กลุ่มคนดังกล่าวได้แก่ ชาวลาว ชาวเขมร ชาวกูย (หรือส่วยหรือกวย) และเยอ[5] [37]

  • กลุ่มชาติพันธุ์ลาว มีภาษาในการสื่อสารเป็นของตนเองทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนได้แก่อักษรไทยน้อยและอักษรธรรมอีสาน ซึ่งมีพื้นฐานและตัวอักษรใกล้เคียงกับอักษรลาว สำเนียงภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวลาว จัดอยู่อยู่ในตระกูลภาษาไท(หรือไต)-กะได ในจังหวัดศรีสะเกษมีความแตกต่างจากสำเนียงของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพื้นฐานการพัฒนาและถิ่นฐานเดิมที่แตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งชาวลาวที่เคลื่อนย้ายมาจากทางตอนเหนือและตอนใต้ของประเทศลาวปัจจุบัน ทั้งนี้ ภาษาลาวอีสานมีการพูดทั่วไปในทุกอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษ [5]
  • กลุ่มชาติพันธุ์กูย (หรือส่วย หรือกวย)มีเพียงภาษาพูด สำเนียงและคำศัพท์ร่วมหลายคำคล้ายภาษาข่า แสก โส้ จัดล้วนจัดอยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร(หรือขแมร์) ช่วยให้สามารถสื่อสารกันได้ ภาษากวยยังเป็นภาษาพิเศษที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของหมอควาญช้าง สำหรับการบวงสรวงผีก่อนการออกจับช้างป่า มีกลุ่มชาติพันธุ์กวยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบางส่วนของอำเภอราษีไศล อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอห้วยทับทัน อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอปรางค์กู่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอไพรบึง อำเภอขุนหาญ และอำเภอกันทรลักษ์ [5] [38]
  • กลุ่มชาติพันธุ์เยอ มีเพียงภาษาพูด ซึ่งมีคำศัพท์ส่วนใหญ่คล้ายกับภาษากวยแต่มีสำเนียงที่แตกต่างและเพี้ยนไปจากภาษากวยตามสภาพแวดล้อม นักภาษาศาสตร์ให้ความเห็นว่าภาษาเยอคือภาษากวยที่มีความใกล้ชิดกับภาษาลาว ส่วนภาษากวยคือภาษาเยอที่ใกล้ชิดกับภาษาเขมร อย่างไรก็ตาม ภาษาเยอจัดเป็นภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เช่นกัน โดยพบว่ามีการพูดภาษาดังกล่าวนี้ในบางพื้นที่ของอำเภอไพรบึง อำเภอพยุห์ อำเภอศรีรัตนะ และอำเภอน้ำเกลี้ยง [5]
  • กลุ่มชาติพันธุ์เขมร มีภาษาพูดที่จัดเป็นภาษาเขมรถิ่นไทย หรือเขมรสูง (ขแมร์เลอ) เนื่องจากมีสำเนียงและคำศัพท์หลายคำแตกต่างไปจากภาษาพูดของชาวเขมรในเขตประเทศกัมพูชาซึ่งจัดเป็นชาวเขมรลุ่มหรือเขมรต่ำ(ขแมร์กรอม) อย่างไรก็ดี ภาษาเขมรสูงหรือเขมรถิ่นไทยในจังหวัดศรีสะเกษสามารถใช้พูดสื่อสารกับชาวเขมรในเขตประเทศกัมพูชาได้ โดยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษมีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขมรอาศัยอยู่หนาแน่นในอำเภอภูสิงห์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษ์ รวมทั้งบางส่วนของอำเภอศรีรัตนะ อำเภอไพรบึง อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของประชากรทั้งจังหวัด [5] [39]

ชาวศรีสะเกษที่มีชื่อเสียง

นายบุญชง วีสมหมาย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, อดีตสมาชิกวุฒสภา และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
พระครูประสาธน์ขันธคุณ หรือ หลวงปู่มุม วัดปราสาทเยอเหนือ
นักการเมือง
นักกีฬา
ศิลปิน
ภิกษุสงฆ์และนักบวช
อื่นๆ

|}

เศรษฐกิจ

โรงแรมในเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
โรงแรมในเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

โครงสร้างหลักทางเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษ 3 อันดับแรกขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร ภาคการขายส่งขายปลีก และภาคการศึกษา เป็นสำคัญ โดยในปี พ.ศ. 2553 มีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) เป็น 12,622 ล้านบาท, 12,525 ล้านบาท และ 8,731 ล้านบาท ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งสิ้นเพิ่มขึ้นเป็น 55,643 ล้านบาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 36,142 บาท/คน/ปี [40]

ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป

ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับปริมาณและระดับราคาของพืชผลทางการเกษตรในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมาภาคการเกษตรมีผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผลไม้เริ่มมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดด้วยราคาผลผลิตพืชเศรษฐกิจหลักปรับตัวลดลง ขณะที่ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประชาชนขยายตัวเล็กน้อยตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การลงทุนภาคเอกชนหดตัว เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ด้านการลงทุนภาคอุตสาหกรรม มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 423 โรงงาน ทุนจดทะเบียนจำนวน 3,294.687 ล้านบาท

ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) จังหวัดศรีสะเกษมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP ปีละประมาณ 1,356.798 ล้านบาท ในด้านภาคการค้าชายแดน จังหวัดศรีสะเกษมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา และมีจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนถาวรที่เป็นเส้นทางสำคัญในการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน ทั้งนี้ สถานการณ์การค้าชายแดนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่าการค้าในแต่ละปีเพิ่มสูงมาก โดยในปี 2544 มีมูลค่ารวม 48.107 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2552 มีมูลค่ารวม 1,090.681 ล้านบาท (มูลค่าการส่งออก 905.638 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 185.044 ล้านบาท)

การคมนาคม

จากกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางไปยังจังหวัดศรีสะเกษได้ดังนี้

ไฟล์:SiSaKetTouristMap.gif
แผนที่เส้นทางคมนาคมทางบกในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง

นอกจากนั้น สามารถเดินทางจากตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษไปยังอำเภอต่างๆภายในจังหวัดและไปยังตัวเมืองของจังหวัดใกล้เคียง โดยทางรถยนต์ด้วยระยะทาง ดังนี้

  • จากอำเภอเมืองศรีสะเกษไปยังอำเภอต่างๆ
  1. อำเภอพยุห์ 21 กิโลเมตร
  2. อำเภออุทุมพรพิสัย 24 กิโลเมตร
  3. อำเภอกันทรารมย์ 26 กิโลเมตร
  4. อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ 29 กิโลเมตร
  5. อำเภอยางชุมน้อย 32 กิโลเมตร
  6. อำเภอศรีรัตนะ 37 กิโลเมตร
  7. อำเภอห้วยทับทัน 37 กิโลเมตร
  8. อำเภอราศีไศล 38 กิโลเมตร
  9. อำเภอเมืองจันทร์ 40 กิโลเมตร
  10. อำเภอไพรบึง 42 กิโลเมตร
  • จากอำเภอเมืองศรีสะเกษไปยังอำเภอต่างๆ(ต่อ)
  1. อำเภอบึงบูรพ์ 42 กิโลเมตร
  2. อำเภอน้ำเกลี้ยง 44 กิโลเมตร
  3. อำเภอขุขันธ์ 49 กิโลเมตร
  4. อำเภอศิลาลาด 50 กิโลเมตร
  5. อำเภอโนนคูณ 56 กิโลเมตร
  6. อำเภอขุนหาญ 60 กิโลเมตร
  7. อำเภอปรางค์กู่ 60 กิโลเมตร
  8. อำเภอกันทรลักษ์ 63 กิโลเมตร
  9. อำเภอภูสิงห์ 74 กิโลเมตร
  10. อำเภอเบญจลักษ์ 80 กิโลเมตร
  • จากตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษไปยังตัวเมืองจังหวัดอื่นๆ
    • จังหวัดอุบลราชธานี 67 กิโลเมตร
    • จังหวัดยโสธร 103 กิโลเมตร
    • จังหวัดสุรินทร์ 110 กิโลเมตร
    • จังหวัดบุรีรัมย์ 157 กิโลเมตร
    • จังหวัดร้อยเอ็ด 174 กิโลเมตร
    • จังหวัดขอนแก่น 262 กิโลเมตร
    • จังหวัดนครราชสีมา 277 กิโลเมตร
    • จังหวัดอุดรธานี 390 กิโลเมตร

การศึกษา

จังหวัดศรีสะเกษ มีสถานศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 1,032 แห่ง แบ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 972 แห่ง (สพฐ. 914 แห่ง, เอกชน 28 แห่ง, อาชีวศึกษา 6 แห่ง, กศน. 22 แห่ง, สกอ. 2 แห่ง) และสถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 53 แห่ง (สธ 1 แห่ง, อปท. 39 แห่ง, ตชด. 1 แห่ง, พศ. 10 แห่ง, สพล. 2 แห่ง)

ประตูทางเข้าหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ระดับอุดมศึกษา
ระดับอาชีวศึกษา
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา (ต่อ)

ดูโรงเรียนอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ

แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์

ปราสาทสระกำแพงใหญ่

บริเวณที่ตั้งของจังหวัดนี้เคยเป็นอู่วัฒนธรรมโบราณ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตอนปลาย จนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ได้แก่วัฒนธรรมทวารวดี,อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ,ล้านช้าง, อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ ตามลำดับ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านหลุบโมก ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล พบร่องรอยเมืองโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบสองชั้น ภายในเมืองมีซากโบราณสถานและใบเสมาอันแสดงถึงร่องรอยการนับถือพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังพบปราสาทและปรางค์กู่อีกหลายแห่ง โดยเป็นศิลปะเขมรราวพุทธศตวรรษที่ 13-17 รวมทั้งชุมชนเขมรโบราณ เช่น แหล่งโบราณคดีในเขตปราสาทสระกำแพงใหญ่ ซึ่งอยู่รอบๆบารายหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชนเขมรโบราณใน อำเภออุทุมพรพิสัย, แหล่งโบราณคดีบ้านหัวช้าง อำเภอไพรบึง ซึ่งพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาชนิดเนื้อแกร่ง ตกแต่งผิวด้วยการเคลือบสีน้ำตาล ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะ

โบราณสถานที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากร ได้ดำเนินการสำรวจและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ได้แก่ [5]

แหล่งท่องเที่ยว

จังหวัดศรีสะเกษ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่งที่มีลักษณะทางธรรมชาติโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ในทางธรณีวิทยา[41] ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจำนวนมาก[5] อาทิ

ทัศนียภาพยามพระอาทิตย์ตก สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
ผามออีแดง
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ

เทศกาลและงานประเพณี

เทศกาลดอกลำดวนบาน และ ประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ

ในช่วงเดือนมีนาคมของแต่ละปี ดอกลำดวนซึ่งเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและเป็นต้นไม้/ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติโดยทั่วไปโดยเฉพาะในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ อันเป็นสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีต้นลำดวนมากกว่า 50,000 ต้น ได้ออกดอกบานสะพรั่ง สิ่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วทั้งเมือง เปรียบเสมือนเมืองในเทพนิยาย

จังหวัดศรีสะเกษได้ร่วมกับมูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และส่วนราชการทุกหน่วยงานภายในจังหวัดศรีสะเกษ กำหนดจัดงาน เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ขึ้น ณ บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ ในช่วงเดือนมีนาคม ของทุกปี

ความโดดเด่นของเทศกาลคือการแสดงประกอบแสง สี เสียง ชุด ศรีพฤทเธศวร ซึ่งเป็นการแสดงที่ย้อนยุคบอกเล่าตำนานของการสร้างเมืองศรีสะเกษ หรือ เมืองศรีนครลำดวน ในอดีต นับเป็นการแสดงละครกลางแจ้งที่สมบูรณ์แบบที่สุดรายการหนึ่งของประเทศไทย ประกอบด้วยนักแสดงจำนวนกว่า 1,000 คน และชุดการแสดงหลายรายการ โดยเฉพาะ ระบำศรีพฤทเธศวร ซึ่งเป็นการแสดงนาฏยศิลป์ที่ได้รับการออกแบบโดยกรมศิลปากร นอกจากนั้น ยังมีการแสดงดนตรี การฟ้อนรำ และศิลปะพื้นบ้านของชน 4 เผ่าไทยศรีสะเกษ ได้แก่ ลาว กูย เยอ และ เขมร ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่ต้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และระหว่างชมการแสดงนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับรสชาติอาหารพื้นเมืองในบรรยากาศการรับประทานอาหารแบบ พาข้าวแลง หรือการรับประทานอาหารมื้อค่ำ ท่ามกลางกลิ่นหอมของดอกลำดวน [42]

เทศกาลเงาะ ทุเรียน และของดีศรีสะเกษ

จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นแผ่นดินทองแห่งอีสานใต้ เนื่องจากมีสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะเขตที่ราบลุ่มน้ำมูลและเขตที่ราบลุ่มตอนกลางของจังหวัดในบริเวณที่เรียกว่า ดงภูดินแดง ที่มีลักษณะดินป็นดินร่วนปนทราย สีแดง(จึงเรียกว่า ดงดินแดง หรือ ภูดินแดง )มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญได้ ภูดินแดงเป็นภูเขาไฟเก่าที่มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ลึกเข้ามาจากแนวเทือกเขาพนมดงรัก ชายเขตแดนไทยกับกัมพูชา เป็นรอยต่อของอำเภอเบญจลักษณ์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญและอำเภอกันทรลักษณ์[5] เขตนี้จึงเป็นย่านที่ปลูกพืชสวนสำคัญๆ ได้ผลดี เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะยงชิด สะตอ ยางพารา ลำไย ลิ้นจี่ มะปรางหวาน กระท้อน ส้มโอ มะม่วง โดยเฉพาะ การผลิตเงาะและทุเรียน จังหวัดศรีสะเกษถือเป็นแห่งผลิตแห่งแรก และเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีพื้นที่ปลูกกว่า 7,000 ไร่ เงาะที่ผลิตเป็นพันธุ์เงาะโรงเรียน ส่วนทุเรียนเป็นพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี จึงเป็นแหล่งพืชสวนและผลไม้อันเป็นผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการส่งออกแหล่งใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนั้น ยังมีพืชผลอื่นๆ ที่ออกผลตลอดทั้งปี [5]

ดังนั้น ในเดือนมิถุนายนของทุกปี จังหวัดศรีสะเกษจึงกำหนดเป็นช่วงเทศกาล เงาะ ทุเรียน และของดีศรีสะเกษ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัด รวมทั้งการเผยแพร่ชื่อเสียงของผลไม้และพืชผลทางการเกษตรจากศรีสะเกษ มีขบวนรถบุปผาชาติประดับด้วยผลไม้ กิจกรรมคาราวานการท่องเที่ยวชมสวนและชิมผลไม้ไปตามสวนในพื้นที่เพาะปลูกสำคัญ เช่น ในเขตอำเภอกันทรลักษ์และอำเภอขุนหาญ รวมทั้งการจำหน่ายผลไม้และพืชผลทางการเกษตรคุณภาพดี ราคาย่อมเยาว์ [43]

การแข่งขันวิ่งฮาล์ฟมาราธอนและมินิควอเตอร์สู่ผามออีแดง

จัดขึ้นในวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคมทุกปี บนเส้นทางขึ้นสู่ผามออีแดง เขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ระหว่างหมู่บ้านภูมิซรอล-ผามออีแดง เนื่องจากเป็นเส้นทางขึ้นเขาสู่ชายแดนที่ต้องวิ่งฝ่าสายหมอกในช่วงปลายฤดูฝน จึงนับเป็นเส้นทางและรายการที่ท้าทาย เป็นสนามประลองกำลังที่นักกีฬาวิ่งมาราธอนจากทั่วประเทศให้ความสนใจมากที่สุดอีกรายการหนึ่ง [44]

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย
  4. ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย>
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 กรมศิลปากร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ.คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว; [บรรณาธิการ : ปรุงศรี วัลลิโภดม],กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.>
  6. วีระ สุดสังข์."ชาวกวย-ชาวเขมร : รำตำตะ-เล่นตร๊ดที่ศรีสะเกษ", วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2543) : หน้า 118-121.
  7. สุจริตลักษณ์ ดีผดุง และคณะ. รายงานการทำงานภาคสนามวิชาระเบียบวิธีการทำวิจัยทางภาษาศาสตร์ภาคการศึกษาที่ 2/2534 เขมรเหนือ บ้านใจดี หมู่ 1 ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ.นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, 2535.
  8. ศรีศักร วัลลิโภดม,รองศาสตรจารย์. ค้นหาอดีตของเมืองโบราณ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2538.
  9. Tips, Walter W.J.Pavie Mission Exploration Work : laos, Cambodai, Siam, Yunnan, and Vietnam.[ Translated from “Mission Pavie Indo-Chine, 1879-1895. Geographie et Voyage”].Bangkok : White Lotus, 1999.
  10. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว."รูปทวารบาลสำริด : ประติมากรรมชิ้นเอกของปราสาทกำแพงใหญ่ = The bronze portal guardian masterpiece of Prasat Sa Khamphaeng Yai", วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2532) : หน้า 76-81.
  11. กิตินันท์ ช่วยคงทอง. "หลักฐานใหม่จากอโรคยาศาล ปราสาทสระกำแพงน้อย", วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 36 ฉบับที่ 4(ตุลาคม-ธันวาคม 2553) : หน้า 34-37.
  12. ชินณวุฒิ วิลยาลัย. "ทับหลังพบใหม่...ที่ปราสาทบ้านธาตุ จังหวัดศรีสะเกษ", นิตยสารศิลปากร, ปีที่ 52 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2552) : หน้า 52-63.
  13. ก่องแก้ว วีระประจักษ์. "จารึกปราสาททามจาน", นิตยสารศิลปากร, ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2553) : หน้า 32-45.
  14. จังหวัดศรีสะเกษ.ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดศรีสะเกษ.กรุงเทพฯ : สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ, 2532.
  15. พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน พ.ศ. 2260
  16. [อ้างแล้ว] พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน พ.ศ. 2260
  17. กรมศิลปากร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ.คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว; [บรรณาธิการ : ปรุงศรี วัลลิโภดม],กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
  18. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร).พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน.มปท, มปป.
  19. อรุณรัตน์ ทองปัญญา. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, 2545.
  20. กรมศิลปากร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ.คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว; [บรรณาธิการ : ปรุงศรี วัลลิโภดม],กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
  21. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร).พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน.มปท, มปป.
  22. อรุณรัตน์ ทองปัญญา. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, 2545.
  23. ซึ่งมีกองบัญชาการมณฑลอยู่ที่ตัวเมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน
  24. สภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์. การชำระประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์.2548 [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากเว็บไซต์สภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์ http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2008/11/blog-post_9305.html
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2459" (2459, 28 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 33). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/51.PDF. (เข้าถึงเมื่อ: 26 กันยายน 2551).
  26. เติม วิพากษ์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน.กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2542
  27. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481" (2481, 14 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 55). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/A/658.PDF. (เข้าถึงเมื่อ: 26 กันยายน 2551).
  28. สภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์. การชำระประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์.2548 [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากเว็บไซต์สภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์ http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2008/11/blog-post_9305.html
  29. กรมศิลปากร. ตราประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542.
  30. ข้อมูลการเขตการปกครองจังหวัดศรีสะเกษ จัดทำโดยสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ เข้าถึงออนไลน์ทาง www.sisaket.go.th
  31. ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปจำนวน อปท แยกรายจังหวัด ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 จัดทำโดย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp
  32. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ภูมิลักษณ์ประเทศไทย.กรุงเทพฯ : ภาควิชาภูมิศาสตร์และภาควิชาธรณีวิทยา, 2534.
  33. กรมศิลปากร (2544).พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ฯ จังหวัดศรีสะเกษ.
  34. ข้อมูลจังหวัดศรีสะเกษกับความเหมาะสมในการปลูกข้าว จัดทำโดยศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ เข้าถึงออนไลน์ทาง http://srn.brrd.in.th/km/index.php?option=com_content&view=article&id=44
  35. กรมทรัพยากรธรณี.การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดศรีสะเกษ.กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,2553.
  36. สรุปข้อมูลจังหวัด จัดทำโดยศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.sisaket.go.th/index1.php
  37. เสาวภา พรสิริพงษ์."แผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ในจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา : เครื่องมือจัดการทรัพยากรโดยชุมชน". บทความประกอบการประชุมเชิงวิชาการและนิทรรศการเรื่อง “กลุ่มชาติพันธ์กับการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง”. อุบลราชธานี : คณะศิลปศาสตร์ และศูนย์วิจัยอนุภูมิภาคลุ่มแม่นำโขง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2549.
  38. น้ำทิพย์ พุ่มไม้ทอง."การสำรวจคุณภาพชีวิต และความต้องการทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวส่วยเขมรในบ้านแจงแมง และบ้านซำ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ".วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืน้ ฐานการศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
  39. ระพีพรรณ คมใส."พิธีกรรมแซนเนียะตาของกลุ่มชาวไทยเขมร : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านกราม ดำบลไพร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ". วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
  40. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.ข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศจำแนกเป็นรายภาคและรายจังหวัด ประจำปี 2553.กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2554
  41. กรมทรัพยากรธรณี.การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดศรีสะเกษ.กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,2553.
  42. ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ.เอกสารแนะนำแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ.สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 2, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.2548
  43. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ.(2552).เทศกาลงานประเพณี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้ทาง http://sisaket.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=3
  44. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดศรีสะเกษ [อ้างแล้ว]
  • กรมทรัพยากรธรณี.การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดศรีสะเกษ.กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,2553.
  • กรมพัฒนาที่ดิน. รายงานการสำรวจดินจังหวัดศรีสะเกษ. (โดยไมตรี สังหะวาระ และทวี รัตนวิมล).กรุงเทพฯ : กองสำรวจดิน, 2520.
  • กรมศิลปากร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ.คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว; [บรรณาธิการ : ปรุงศรี วัลลิโภดม],กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
  • กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดี จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี, 2526.
  • กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : กองสารสนเทศสิ่งแวดล้อม, 2545.
  • ก่องแก้ว วีระประจักษ์. "จารึกปราสาททามจาน", นิตยสารศิลปากร, ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2553) : หน้า 32-45.
  • กิตินันท์ ช่วยคงทอง. "หลักฐานใหม่จากอโรคยาศาล ปราสาทสระกำแพงน้อย", วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 36 ฉบับที่ 4(ตุลาคม-ธันวาคม 2553) : หน้า 34-37.
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ภูมิลักษณ์ประเทศไทย.กรุงเทพฯ : ภาควิชาภูมิศาสตร์และภาควิชาธรณีวิทยา, 2534.
  • จังหวัดศรีสะเกษ.ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดศรีสะเกษ.กรุงเทพฯ : สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ, 2532.
  • ชินณวุฒิ วิลยาลัย. "ทับหลังพบใหม่...ที่ปราสาทบ้านธาตุ จังหวัดศรีสะเกษ", นิตยสารศิลปากร, ปีที่ 52 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2552) : หน้า 52-63.
  • ฐากูร โกมารกุล ณ นคร. "บนแผ่นดินผืนนี้ ศรีสะเกษ", อนุสาร อสท ,ปีที่ 52 ฉบับที่ 2 (กันยายน 2554): หน้า 106-114.
  • เติม วิพากษ์พจนกิจ.ประวัติศาสตร์อีสาน.กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2542.
  • น้ำทิพย์ พุ่มไม้ทอง."การสำรวจคุณภาพชีวิต และความต้องการทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวส่วยเขมรในบ้านแจงแมง และบ้านซำ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ".วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืน้ ฐานการศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
  • ไพฑูรย์ พงศะบุตร. (2549). "ศรีสะเกษ". สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน (เล่ม 26: ฤ, ฤๅ-สตูล). กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์. หน้า 16819-19822.
  • ระพีพรรณ คมใส."พิธีกรรมแซนเนียะตาของกลุ่มชาวไทยเขมร : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านกราม ดำบลไพร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ". วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
  • เรวัติ ชัยราช แและ จินดามณี แสงกาญจวนิช.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการความเป็นไปได้ของการผลิตข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ที่จะเป็นอาชีพทางเลือกที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนสำหรับเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว),2549.
  • วีระ สุดสังข์."ชาวกวย-ชาวเขมร : รำตำตะ-เล่นตร๊ดที่ศรีสะเกษ", วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2543) : หน้า 118-121.
  • วีระศักร จันทร์ส่งแสง. "ดงภูดิน เมืองหลวงแห่งเทพเทวาลุ่มน้ำมูน", นิตยสารสารคดี, ปีที่ 26 ฉบับที่ 312 (กุมภาพันธ์ 2554) : หน้า 140-166.
  • ศรีศักร วัลลิโภดม. "ศรีสะเกษ เขตเขมรป่าดง", ใน แอ่งอารยธรรมอีสาน : แฉหลักฐานโบราณคดี พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2533.
  • สมัย สุทธิธรรม. สารคดีชุดถิ่นทองของไทย : ศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2545.
  • สุจริตลักษณ์ ดีผดุง และคณะ. รายงานการทำงานภาคสนามวิชาระเบียบวิธีการทำวิจัยทางภาษาศาสตร์ภาคการศึกษาที่ 2/2534 เขมรเหนือ บ้านใจดี หมู่ 1 ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ.นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, 2535.
  • สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว."รูปทวารบาลสำริด : ประติมากรรมชิ้นเอกของปราสาทกำแพงใหญ่ = The bronze portal guardian masterpiece of Prasat Sa Khamphaeng Yai", วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2532) : หน้า 76-81.
  • สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว. ปราสาทเขาพระวิหาร : ศาสนบรรพตที่โดดเด่นที่สุดในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2536.
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ.ข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศจำแนกเป็นรายภาคและรายจังหวัด ประจำปี 2553.กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2554.
  • เสาวภา พรสิริพงษ์."แผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ในจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา : เครื่องมือจัดการทรัพยากรโดยชุมชน". บทความประกอบการประชุมเชิงวิชาการและนิทรรศการเรื่อง “กลุ่มชาติพันธ์กับการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง”. อุบลราชธานี : คณะศิลปศาสตร์ และศูนย์วิจัยอนุภูมิภาคลุ่มแม่นำโขง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2549.
  • หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร).พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน.มปท, มปป.
  • อรุณรัตน์ ทองปัญญา. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, 2545.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

15°07′N 104°20′E / 15.11°N 104.33°E / 15.11; 104.33