ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดสกลนคร"

พิกัด: 17°10′N 104°09′E / 17.17°N 104.15°E / 17.17; 104.15
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.buriram (คุย | ส่วนร่วม)
→‎หน่วยการปกครอง: ย้อนการก่อก่วน
Mr.buriram (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 222: บรรทัด 222:


== บุคคลสำคัญ ที่มีชื่อเสียง ==
== บุคคลสำคัญ ที่มีชื่อเสียง ==
{|
|--- valign=top
||
=== พระ ===
=== พระ ===
* [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต|พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต]]
* [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต|พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต]]
บรรทัด 250: บรรทัด 247:
* เอิ้นขวัญ วรัญญา ศิลปินเพลงลูกทุ่ง
* เอิ้นขวัญ วรัญญา ศิลปินเพลงลูกทุ่ง
* ปอ ปาริชาติ ศิลปินเพลงลูกทุ่ง
* ปอ ปาริชาติ ศิลปินเพลงลูกทุ่ง

<ol start=10>


=== ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ===
=== ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ===
บรรทัด 275: บรรทัด 270:
* [[จันทร์เพ็ง นนทะสิน]]
* [[จันทร์เพ็ง นนทะสิน]]
* [[มนฤดี ชาภูคำ]]
* [[มนฤดี ชาภูคำ]]
</ol>
|}


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:16, 1 เมษายน 2556

จังหวัดสกลนคร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Sakon Nakhon
คำขวัญ: 
พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสกลนครเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายจรินทร์ จักกะพาก
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
พื้นที่
 • ทั้งหมด9,605.764 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 19
ประชากร
 (พ.ศ. 2554)
 • ทั้งหมด1,123,351 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 17
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 43
รหัส ISO 3166TH-47
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้อินทนิลน้ำ
 • ดอกไม้อินทนิลน้ำ
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 4271 4959
 • โทรสาร0 4271 1763
เว็บไซต์http://www.sakonnakhon.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้จังหวัดสกลนครยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญและหลากหลายในด้านต่างๆโดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น[3] และเป็นจังหวัดศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศูนย์กลางทางการศึกษา อันเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ใน กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร)[4]

ชื่อเมือง

คำว่า "สกลนคร" มาจากคำภาษาสันสกฤต สกล (สะ-กะ-ละ) หมายความว่า โดยรวม ครอบคลุม หรือทั้งหมด และ คำว่า "นคร" (นะ-คะ-ระ) จากภาษาสันสกฤต หมายถึงแหล่งที่อยู่ หรือเมือง ดังนั้นชื่อที่แท้จริงของเมืองหมายความว่า "นครแห่งนครทั้งมวล" (City of cities)

ประวัติ

ประตูเมืองสกลนคร

สกลนคร เป็นแหล่งธรรมะ มีปูชนียสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น พระธาตุเชิงชุม พระธาตุดูม พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุศรีมงคล พระธาตุภูเพ็ก และมีพระเกจิอาจารย์ดังที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, พระอาจารย์วัน อุตตโม และหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น

จังหวัดสกลนครตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์บริเวณแนวทิวเขาภูพาน อำเภอวาริชภูมิ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดสกลนครอยู่ร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมบ้านเชียงในจังหวัดอุดรธานี จากการสำรวจแหล่งชุมชนโบราณในพื้นที่แอ่งสกลนคร บริเวณลุ่มแม่น้ำสงครามครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอบ้านดุง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคน อำเภอวานรนิวาส อำเภอพรรณานิคม และรอบ ๆ หนองหาร อำเภอเมืองสกลนคร พบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จำนวน 83 แห่ง ชุมชนโบราณของแอ่งสกลนครนี้มีอายุประมาณ 600 ปีก่อนพุทธกาลจนถึงพุทธศตวรรษที่ 8 (ระหว่าง 3,000-1,800 ปีมาแล้ว) จากหลักฐานการค้นพบต่าง ๆ ของที่นี่พบว่า ชุมชนโบราณในแอ่งสกลนครได้มีการรวมตัวกันเป็นสังคมขนาดใหญ่และอาจจะพัฒนาเป็นสังคมเมืองในสมัยต่อมา

สกลนครเดิมชื่อ เมืองหนองหารหลวง แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โดยขุนขอมราชบุตรเจ้าเมืองอินทปัฐนคร ซึ่งได้อพยพครอบครัวและบ่าวไพร่มาจากเมืองเขมร มาสร้างเมืองใหม่ที่ริมหนองหารหลวง บริเวณท่านางอาบ ปัจจุบันเรียกว่าท่าศาลา อำเภอโคกศรีสุพรรณ มีเจ้าปกครองเรื่อยมาจนสิ้นสมัยพระเจ้าสุวรรณภิงคาระ เมื่อเกิดฝนแล้งทำให้ราษฎรอพยพไปเมืองเขมร เมืองหนองหารหลวงจึงร้างอยู่ระยะหนึ่ง ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่อสกลนครอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "เชียงใหม่หนองหาร" หรือเมืองสระหลวงหลังจากนั้นเมืองสกลนคร คงอยู่ใต้การปกครองกันไปมา ระหว่างอาณาจักรล้านช้างกับอาณาจักรสุโขทัย และไม่ค่อยมีบทบาททางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นนัก จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้คนกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กๆทำมาหากินตามริมหนองหาร จ่ายส่วย อากรให้เจ้าแขวงประเทศราชศรีโคตรบอง เพื่อถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองให้แก่ราชธานีกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น

จนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยครอบครัวมาตั้งบ้านเมืองดูแลรักษาองค์พระธาตุเชิงชุม จนมีผู้คนมากขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชิงชุมเป็น เมืองสกลทวาปี โดยแต่งตั้งให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เจ้าเมืองสกลทวาปีคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2369 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้เตรียมกำลังป้องกันเมือง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพมาตรวจราชการเห็นว่าเจ้าเมืองกรมการไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมือง ปล่อยให้ข้าศึก (ทัพเจ้าอนุวงศ์) ล่วงล้ำไปเมืองนครราชสีมาได้โดยง่าย จึงสั่งให้นำตัวพระธานีไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนในเมืองสกลทวาปีไปอยู่ที่เมืองกบินทร์บุรีบ้าง เมืองประจันตคามบ้าง ให้คงเหลือรักษาองค์พระธาตุเชิงชุมแต่เพียงพวกเพี้ยศรีคอนชุม ตำบลธาตุเชิงชุม บ้านหนองเหียน บ้านจานเพ็ญ บ้านอ่อมแก้ว บ้านธาตุเจงเวง บ้านพราน บ้านนาคี บ้านวังยาง และบ้านพรรณา รวม 10 ตำบล เพื่อให้เป็นข้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุมเท่านั้น

ในสมัยต่อ ๆ มาได้มีราชวงศ์คำแห่งเมืองมหาชัยกองแก้วทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขอสร้างบ้าน แปงเมืองขึ้นใหม่ที่เมืองสกลทวาปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์คำเป็นพระยาประเทศธานี (คำ) ในตำแหน่งเจ้าเมืองสกลทวาปี และทรงเปลี่ยนนามเมืองใหม่เป็น เมืองสกลนคร ตั้งแต่บัดนั้นมา จนถึง พ.ศ. 2435 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปกครองเมืองสกลนคร จึงเปลี่ยนเป็นรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคมณฑลเทศาภิบาล โดยส่วนกลางส่งพระยาสุริยเดช (กาจ) มาเป็นข้าหลวงเมืองสกลนครคนแรก

อาณาเขตติดต่อ

สกลนครมีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

สภาพทางภูมิศาสตร์

ทะเลสาบหนองหาน

ภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 172 เมตร ด้านทิศเหนือของจังหวัด (บริเวณอำเภอบ้านม่วง อำเภอคำตากล้า อำเภอสว่างแดนดิน อำเภออากาศอำนวย และอำเภอเจริญศิลป์) มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มลอนคลื่นไม่สม่ำเสมอกัน ใช้น้ำจากลำห้วยสาขาในการทำนา ทิศเหนือของอำเภออากาศอำนวยเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง เนื่องจากติดกับแม่น้ำสงคราม ทำให้เหมาะแก่การทำนากว่าพื้นที่โดยรอบ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทาม ที่ขึ้นริมน้ำและปล่อยรกร้างว่างเปล่า ส่วนทางตอนใต้มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ เรียกว่าแอ่งสกลนคร จุดต่ำสุดของแอ่งคือ ทะเลสาบหนองหาน อำเภอเมืองสกลนคร และหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม นอกจากนี้ยังมีทิวเขาภูพานทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้บริเวณอำเภอภูพานและอำเภอกุดบาก มีลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขาสูงสลับกับที่ราบลูกคลื่นที่อยู่ช่วงกลางระหว่างทิวเขาภูพานในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดสกลนคร

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูง มีทิวเขาล้อมรอบทั้งด้านทิศตะวันตกและด้านใต้ ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นอยู่ทางตะวันตก ทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาพนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่เกิดจากร่องความกดอากาศต่ำพายุดีเปรสชันจากอ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีนใต้ที่เคลื่อนผ่านเข้ามาระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝนจังหวัดสกลนครประมาณปีละ 1,578 มิลลิเมตร สกลนครมีลักษณะอากาศหนาวอย่างชัดเจนกระแสลมที่เย็นและแห้ง หย่อมความกดอากาศสูงที่แผ่ปกคลุมมาจากประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อดินฟ้าอากาศในจังหวัดสกลนครมาก เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ และมีฉากรับลมเป็นทิวเขาภูพาน ประกอบกับเมื่อมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนที่พัดเข้ามา เมื่อพัดผ่านหนองหารน้ำจะเป็นตัวลดอุณหภูมิลง จึงทำให้สกลนครมีอากาศที่หนาวเย็นกว่าพื้นที่อื่น จังหวัดสกลนครเคยมีอุณหภูมิต่ำสุดจนถึง -1.4 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517 ที่สถานีอากาศเกษตร อำเภอเมืองสกลนคร และวัดได้ -2.5 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 สถานีตรวจอากาศเกษตรสกลนคร ซึ่งเป็นสถิติอุณหภูมิพื้นราบที่ต่ำสุดของประเทศไทยในขณะนี้ [5]

หน่วยการปกครอง

แผนที่อำเภอในจังหวัดสกลนคร
องค์พระธาตุเชิงชุม

การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 125 ตำบล 1323 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองสกลนคร
  2. อำเภอกุสุมาลย์
  3. อำเภอกุดบาก
  4. อำเภอพรรณานิคม
  5. อำเภอพังโคน
  6. อำเภอวาริชภูมิ
  7. อำเภอนิคมน้ำอูน
  8. อำเภอวานรนิวาส
  9. อำเภอคำตากล้า
  1. อำเภอบ้านม่วง
  2. อำเภออากาศอำนวย
  3. อำเภอสว่างแดนดิน
  4. อำเภอส่องดาว
  5. อำเภอเต่างอย
  6. อำเภอโคกศรีสุพรรณ
  7. อำเภอเจริญศิลป์
  8. อำเภอโพนนาแก้ว
  9. อำเภอภูพาน

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด: รูปพระธาตุเชิงชุม เบื้องหลังเป็นหนองหาร
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ไม่มี
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: อินทนิลน้ำ (Lagerstroemia speciosa)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม

สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

เทศกาลและประเพณีประจำปี

การคมนาคม

ป้ายชื่อถนนในจังหวัดสกลนคร

รถยนต์ จากกรุงเทพมหานคร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา แล้วเลี้ยวแยกเข้าทางไปในเขตอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ไปจนถึงบ้านท่าพระ แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงอหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 เพื่อเข้าสู่จังหวัดสกลนคร

รถไฟ สามารถเดินทางโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปลงที่จังหวัดอุดรธานี แล้วเดินทางต่อไปโดยรถประจำทางไปจังหวัดสกลนครอีกประมาณ 159 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 26 (กรุงเทพฯ - นครพนม แต่รถผ่านจังหวัดสกลนคร) สาย 27 (กรุงเทพฯ - สกลนคร หรือ กรุงเทพฯ -สกลนคร - เรณูนคร) สาย 930 (กรุงเทพฯ - นครพนม แต่รถผ่านจังหวัดสกลนคร) วิ่งให้บริการจาก สถานีขนส่งหมอชิต 2 กรุงเทพฯ มายังจังหวัดสกลนคร โดยมีบริษัท ขนส่ง จำกัด ให้บริการรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 26 27 และ 930 และเอกชน ที่ได้รับสัมปทานเปิดบริการเดินรถโดยสารสาย 26 27 และ 930 จำนวน 3 รายคือ

• บริษัท แสงประทีปเดินรถ จำกัด (ให้บริการรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 26 และ 27)

• บริษัท กิจการราชสีมายานยนต์ จำกัด (เชิดชัยทัวร์) (ให้บริการรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 สาย 930)

• บริษัท ชยสิทธิ์ ธนํลาภํ จำกัด (ให้บริการรถประจำทางชั้น 1 สาย 930)

เครื่องบิน การเดินทางโดยเครื่องบินโดยมีสายการบินที่ให้บริการคือ บริษัท นกแอร์ จำกัด มีบริการเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ไปยังท่าอากาศยานสกลนครทุกวัน

การคมนาคมภายในตัวจังหวัดสกลนคร การคมนาคมภายในตัวจังหวัดสกลนครมีรถเมล์เล็ก รถสามล้อถีบ รถจักรยานยนต์รับจ้าง และรถสามล้อเครื่อง รถสองแถว รับจ้างวิ่งบริการในตัวเมือง ควรตกลงค่าโดยสารก่อนเดินทาง

สถานศึกษา

โรงเรียน
อาชีวศึกษา
ระดับอุดมศึกษา

บุคคลสำคัญ ที่มีชื่อเสียง

พระ

การเมือง

วงการบันเทิง

ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์

นักกีฬา

นักฟุตบอล

นักมวย

นักปั่นจักรยาน

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ประวัติจังหวัดสกลนคร
  4. [http://www.sakonnakhon.go.th/stokery/stakery51.doc แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด 6.2 (สนุก) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สู่แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ปี พ.ศ. 2548 - 2551], ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสกลนคร.
  5. http://www.metsakon.tmd.go.th/stat.htm

ดูเพิ่ม

เมืองพี่น้อง

แหล่งข้อมูลอื่น

17°10′N 104°09′E / 17.17°N 104.15°E / 17.17; 104.15