ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตวิทยาคลินิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 13: บรรทัด 13:


== งานจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย ==
== งานจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย ==
สถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรจิตวิทยาคลินิกคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2507
สถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรจิตวิทยาคลินิกคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2507


ปัจจุบัน นักจิตวิทยาคลินิกมีกระจายอยู่ตามโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ๆ และโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยเท่านั้น ในด้านการเรียนการสอน มีบางมหาวิทยาลัยเปิดการสอนด้านจิตวิทยาคลินิก ผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลก็มีจำนวนไม่มากนัก โดยในปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะประมาณ 450 คน
ปัจจุบัน นักจิตวิทยาคลินิกมีกระจายอยู่ตามโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ๆ และโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยเท่านั้น ในด้านการเรียนการสอน มีบางมหาวิทยาลัยเปิดการสอนด้านจิตวิทยาคลินิก ผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลก็มีจำนวนไม่มากนัก โดยในปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะประมาณ 450 คน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:17, 31 มีนาคม 2556

จิตวิทยาคลินิก คือ การประยุกต์หลักวิชาจิตวิทยา (Psychology) เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้มีอาการทางจิต หรือผู้มีสภาพจิตใจย่ำแย่หลังจากประสบเหตุการณ์ร้ายแรงหรือความเครียดต่างๆ ทั้งที่เป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร เพื่อช่วยให้อาการเหล่านั้นบรรเทาลงหรือหายขาด และช่วยให้เกิดการปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆได้

ตัวอย่างงานจิตวิทยาคลินิก เช่น การทำจิตบำบัด (Psychotherapy), การให้คำปรึกษา (Counseling) , การทำแบบทดสอบและประเมินสภาพทางจิต บุคลิกภาพ และ เชาวน์ปัญญา เป็นต้น

จิตวิทยาคลินิกกับงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู

งานจิตวิทยาคลินิกมีส่วนสำคัญต่อการบำบัดฟื้นฟูมาก เนื่องจากผู้พิการหรือผู้ที่สูญเสียสมรรถภาพทางกายย่อมมีสภาพจิตใจแย่ลง หน้าที่ของนักจิตวิทยาคือการประเมินด้วยแบบทดสอบต่างๆ ให้คำปรึกษาและการรักษาทางจิตวิทยาร่วมกับจิตแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการปรับสภาพจิตใจภายหลังเกิดความพิการได้

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ดำเนินกิจกรรมกลุ่มบำบัดร่วมกับพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูและบุคลากรอื่นๆ ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล คัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูง และร่วมวางแผนการรักษาฟื้นฟูกับทีมงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูอีกด้วย

งานจิตวิทยาคลินิกในต่างประเทศ

งานจิตวิทยาคลินิกเริ่มเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 และได้ถือว่ามีกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1896 ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา งานจิตวิทยาคลินิกในต่างประเทศโดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรปมีความก้าวหน้ามาก มีการให้บริการในทุกโรงพยาบาลในเมืองใหญ่ๆ มีการฝึกอบรมในมหาวิทยาลัยต่างๆ และงานวิจัยต่างๆก็ถูกตีพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง

งานจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย

สถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรจิตวิทยาคลินิกคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2507

ปัจจุบัน นักจิตวิทยาคลินิกมีกระจายอยู่ตามโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ๆ และโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยเท่านั้น ในด้านการเรียนการสอน มีบางมหาวิทยาลัยเปิดการสอนด้านจิตวิทยาคลินิก ผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลก็มีจำนวนไม่มากนัก โดยในปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะประมาณ 450 คน

นักจิตวิทยาคลินิก

นักจิตวิทยาคลินิก คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) ซึ่งมีใบประกอบโรคศิลปะ และปฏิบัติงานในสถานพยาบาลต่างๆ นักจิตวิทยาคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ ส่วนใหญ่มักประจำอยู่ในงานจิตเวชศาสตร์ (Psychiatry) บางส่วนอยู่ในงานอื่นๆ เช่น งานเวชกรรมป้องกัน หรือ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นต้น

สถาบันที่เปิดสอนทางด้านจิตวิทยาคลินิก ระดับปริญญาตรี ของรัฐบาลได้แก่ ม.ธรรมศาสตร์ (ก่อตั้งเป็นแห่งแรกของประเทศ พ.ศ. 2507) ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.นเรศวร พิษณุโลก และ ม.รามคำแหง (สาขาจิตวิทยาคลินิก-ชุมชน) ม.เอกชนที่เปิดสอน คือ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ระดับปริญญาโท ได้แก่ ม.มหิดล และม.รามคำแหง (จิตวิทยาคลินิกและชุมชน)

อ้างอิง

  • ดัดแปลงจากตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ บก. จัดพิมพ์โดยสมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย.

ดูเพิ่ม