ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูเอชเอฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
migrateToWikidata at d:q628096
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
[[ar:تردد فائق العلو]]
[[ar:تردد فائق العلو]]
[[fa:یواچ‌اف]]
[[fa:یواچ‌اف]]
[[fi:UHF]]
[[fr:Ultra haute fréquence]]
[[fr:Ultra haute fréquence]]
[[he:UHF]]
[[he:UHF]]
[[nl:UHF (radiospectrum)]]
[[pt:UHF]]
[[sv:UHF]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:12, 28 มีนาคม 2556

ยูเอชเอฟ (UHF) เป็นคลื่นความถี่สูงยิ่ง (Ultra-High Frequency) เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2491

ยูเอชเอฟในการสื่อสาร

โทรทัศน์

ยูเอชเอฟ เป็นคลื่นความถี่ที่ใช้คู่ขนานกับระบบ วีเอชเอฟ ของเครื่องส่งโทรทัศน์และเสาส่งระบบอนาล็อก และอาจจะเป็นคลื่นความถี่ที่ถูกบังคับให้ส่งสัญญาณของโทรทัศน์ระบบดิจิตอล คาดว่าทั่วโลกจะต้องเปลี่ยนแปลงมาเป็นโทรทัศน์ระบบดิจิทัลให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558

ยูเอชเอฟในวิทยุกระจายเสียง

ยูเอชเอฟในวิทยุโทรทัศน์

ในการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ มีช่วงเลขประจำช่อง ระหว่าง 14-83 (47-890 เมกะเฮิร์ทซ์)

ส่วนในประเทศไทย มีช่องสัญญาณอยู่ที่ช่อง 21 ถึง 69 แต่ในกรณีช่อง 21 ถึง 25 และ 61 ถึง 69 กรมไปรษณีย์โทรเลข (ปัจจุบันถูกเปลี่ยนมาเป็น สำนักงาน กสทช.) ได้สงวนช่องสัญญาณไว้ด้งกล่าว เพื่อใช้ในระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือ ระบบ Cellular Mobile System จึงทำให้ประเทศไทย สามารถใช้ช่องสัญญาณไว้ตั้งแต่ที่ 26 ถึง 60 เพื่อออกอากาศส่งทางวิทยุโทรทัศน์ เท่านั้น

ตัวอย่างการใช้ระบบในประเทศไทย

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เริ่มดำเนินโครงการ สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีการเปิดประมูลรับสัมปทาน เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2538 โดย กลุ่มสยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่น (แปรรูปเป็น บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เมื่อได้รับอนุมัติสัมปทานแล้ว และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541) เป็นผู้ได้รับอนุมัติสัมปทานดังกล่าว โดยใช้ชื่อสถานีว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ITV-Independent Television) นับเป็น สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟแห่งแรกของประเทศไทย แพร่ภาพออกอากาศทางช่อง 26 และเปลี่ยนมาเป็นช่อง 29 ในภายหลัง โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และได้เปลี่ยนแปลงเป็น สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีในปี 2550 และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตามลำดับ ในปี 2551

ดูเพิ่ม