ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การตีโฉบฉวยดูลิตเติล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 2 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q713516 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
บรรทัด 32: บรรทัด 32:


[[หมวดหมู่:สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก]]
[[หมวดหมู่:สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก]]

[[gl:Incursión Doolittle]]
[[sr:Дулитлов напад]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:32, 26 มีนาคม 2556

การตีโฉบฉวยดูลิตเติล
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก สงครามโลกครั้งที่สอง

เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-25 บินขึ้นจากดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส ฮอร์นเน็ท
วันที่18 เมษายน 1942
สถานที่
กรุงโตเกียว และเมืองอื่น ๆ ในญี่ปุ่น
ผล
  • การตีโฉบฉวยครั้งแรกบนแผ่นดินญี่ปุ่น
  • ไม่มีชัยชนะทางยุทธวิธีอย่างมีนัยสำคัญ
  • สหรัฐอเมริกามีกำลังใจฮึกเหิมมากขึ้น
คู่สงคราม
 สหรัฐ  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เจมส์ เอช. ดูลิตเติล N/A
กำลัง
บี-25 มิทเชล 16 ลำ, กำลังพล 80 นาย, เรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำ, เรือลาดตระเวน 4 ลำ, เรือพิฆาต 8 ลำ ไม่ทราบกำลังพลที่แน่ชัด
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 3 นาย,
ถูกจับเป็นเชลยศึก 8 นาย (เสียชีวิต 4 นาย: ถูกประหาร 4 นาย, ป่วยตาย 1 นาย)
บี-25 15 ลำ
เสียชีวิตประมาณ 50 คน, บาดเจ็บ 400 (รวมพลเรือน)
ลูกเรือเครื่องบิน บี-25 #40-2344 บนดาดฟ้าของเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส ฮอร์นเน็ท วันที่ 18 เมษายน 1942

การตีโฉบฉวยดูลิตเติล (อังกฤษ: Doolittle Raid) หรือ การตีโฉบฉวยกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 1942 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการตีโฉบฉวยทางอากาศโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งพุ่งเป้าไปที่เกาะใหญ่ของญี่ปุ่น (เกาะฮอนชู) เพื่อต้องการแสดงให้จักรวรรติญี่ปุ่นเห็นว่าเขาก็แพ้เป็น และเพื่อเสริมสร้างความฮึกเหิมกำลังใจของกองทัพสหรัฐ หลังจากการสูญเสียในการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1941 การตีโฉบฉวยนี้วางแผนและนำโดย เจมส์ "จิมมี่" ดูลิตเติล สังกัดของทัพอากาศสหรัฐ

เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางบี-25บี มิทเชลของกองทัพอากาศสหรัฐ 16 ลำบินขึ้นจากดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส ฮอร์นเน็ทของกองทัพเรือสหรัฐ บริเวณทางด้านตะวันตกไกลของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยพุ่งไปที่เป้าทางทหารในญี่ปุ่น แล้วจึงไปลงจอดที่จีน เพราะการลงจอดเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางบน ฮอร์นเน็ท นั้นเป็นไปไม่ได้ เครื่องบินทิ้งระเบิด 16 ลำนั้นพังเสียหายทั้งหมด และลูกเรือ 11 คนไม่ถูกจับก็เสียชีวิต ในจำนวนนั้นสามคนถูกประหารชีวิตโดยทหารญี่ปุ่นในประเทศจีน

จุดเริ่มต้น

การตีโฉบฉวยนี้เร่มต้นในการประชุมคณะเสนาธิการทหารที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1941 ภายใต้ความต้องการของประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ที่จะตอบโต้ต่อจักรวรรติญี่ปุ่นเพื่อสร้างกำลังใจต่อสู้ให้กับชาวอเมริกันที่รู้สึกพ่ายแพ้จากการโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์

แนวคิดของการโจมตีครั้งนี้มาจากกัปตันเรือฟรานซิส โลว์ และได้นำเสนอให้ พลเรือเอกเออร์เนสท์ เจ. คิง ในวันที่ 10 มกราคม 1942 ว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดเครื่องยนต์คู่น่าจะบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินได้ หลักจากการทดลองบินขึ้นหลายครั้งจากสนามบินกองทัพเรือที่นอร์ฟอล์ค, เวอร์จิเนีย ซึ่งได้ทำเครื่องหมายรันเวย์ที่ระยะวิ่งเท่ากับความยาวรันเวย์ของดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน สุดท้ายการโจมตีครั้งนี้วางแผนและนำทีมโดย จิมมี่ ดูลิตเติล

ภารกิจนี้ต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีวิสัยทำการเกิน 2,400 ไมล์ทะเล (4,400 กม.) ในขณะที่บรรทุกระเบิดหนัก 2,000 ปอนด์ (910 กก.) ไปด้วย จะมีเครื่องบิน​อีกสามรุ่นที่เหมาะสมคือ มาร์ติน บี-26 มารัวเดอร์, ดักลาส บี-18 โบโล และ ดักลาส บี-23 ดรากอน แต่สุดท้ายก็เลือกเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-25 มิทเชล เพื่อรับหน้าที่นี้ เพราะไม่แน่ใจว่า บี-26 จะสามารถบินขึ้นจากดาดฟ้าเรือได้หรือไม่ และ บี-23 ก็มีปีใหญ่กว่า บี-25 เกือบ 50% ซึ่งจะทำให้เรือบรรทุกเครื่องบินไปได้น้อยลง สุดท้าย บี-18 ก็ตกไปด้วยเหตุผลคล้าย ๆ กัน