ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอกูโบะ โทชิมิจิ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
== ซามูไรแคว้นซะสึมะ ==
== ซามูไรแคว้นซะสึมะ ==


[[ชิมะสึ นะริอะกิระ]] ได้สังเกตเห็นความสามารถของโอกุโบะและได้แต่งตั้งให้เขาเป็นเจ้าพนักงานบริหารภาษีของแคว้นในปี [[ค.ศ. 1858]] ต่อมาเมื่อนะริอะกิระเสียชีวิต โอกุโบะก็ได้เข้าร่วมแผนการโค่นล้ม[[รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ]] ทั้งนี้ เขามีจุดยืนสนับสนุนแนวคิด "โทบะคุ" (倒幕) หรือการล้มล้างอำนาจรัฐบาลโชกุนอย่างสิ้นเชิง ซึ่งต่างจากซามูไรในแคว้นเดียวกันส่วนมากที่สนับสนุนแนวคิด "โคบุกัตไต" (公武合体, ประสานราชสำนักกับรัฐบาลโชกุน) และ '"ฮังบะคุ" (ต่อต้านรัฐบาล) ในการขับเคลื่อนขบวนการ "[[ซนโน โจอิ]]" (เทิดทูนจักรพรรดิ ขับคนป่าเถื่อน)
[[ชิมะสึ นะริอะกิระ]] ได้สังเกตเห็นความสามารถของโอกุโบะและได้แต่งตั้งให้เขาเป็นเจ้าพนักงานบริหารภาษีของแคว้นในปี [[ค.ศ. 1858]] ต่อมาเมื่อนะริอะกิระเสียชีวิต โอกุโบะก็ได้เข้าร่วมแผนการโค่นล้ม[[รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ]] ทั้งนี้ เขามีจุดยืนสนับสนุนแนวคิด "โทบะคุ" (倒幕) หรือการล้มล้างอำนาจรัฐบาลโชกุนอย่างสิ้นเชิง ซึ่งต่างจากซามูไรในแคว้นเดียวกันส่วนมากที่สนับสนุนแนวคิด "โคบุกัตไต" (公武合体, ประสานราชสำนักกับรัฐบาลโชกุน) และ '"ฮังบะคุ" (ต่อต้านรัฐบาล) ในการขับเคลื่อนขบวนการ "[[ซนโนโจอิ]]" (เทิดทูนจักรพรรดิ ขับคนป่าเถื่อน)


[[สงครามอังกฤษ - ซะสึมะ ค.ศ. 1863|สงครามระหว่างแคว้นซะสึมะกับอังกฤษ]]ในปี [[ค.ศ. 1863]] พร้อมด้วย[[คดีนะมะมุกิ|กรณีริชาร์ดสัน]] และการรัฐประหารในเกียวโตในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ทำให้โอกุโบะเชื่อแน่ว่าการทำ "โทบะคุ" ได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ในปี ค.ศ. 1866 เขาจึงได้ร่วมกับ[[ไซโง ทะกะโมะริ]] และตัวแทนจากแคว้นโจชูชื่อ [[คิโดะ ทะกะโยะชิ]] จัดตั้ง[[พันธมิตรซัตโจ]]ขึ้นเป็นการลับ เพื่อดำเนินการล้มล้างรัฐบาลโชกุน
[[สงครามอังกฤษ - ซะสึมะ ค.ศ. 1863|สงครามระหว่างแคว้นซะสึมะกับอังกฤษ]]ในปี [[ค.ศ. 1863]] พร้อมด้วย[[คดีนะมะมุกิ|กรณีริชาร์ดสัน]] และการรัฐประหารในเกียวโตในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ทำให้โอกุโบะเชื่อแน่ว่าการทำ "โทบะคุ" ได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ในปี ค.ศ. 1866 เขาจึงได้ร่วมกับ[[ไซโง ทะกะโมะริ]] และตัวแทนจากแคว้นโจชูชื่อ [[คิโดะ ทะกะโยะชิ]] จัดตั้ง[[พันธมิตรซัตโจ]]ขึ้นเป็นการลับ เพื่อดำเนินการล้มล้างรัฐบาลโชกุน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:16, 20 มีนาคม 2556

โอกุโบะ โทะชิมิชิ
大久保 利通
เกิด10 สิงหาคม ค.ศ. 1830(1830-08-10)
คะโงะชิมะ, แคว้นซะสึมะ, ญี่ปุ่น
เสียชีวิต14 พฤษภาคม ค.ศ. 1878(1878-05-14) (47 ปี)
โตเกียว ญี่ปุ่น
สาเหตุเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
สัญชาติญี่ปุ่น
อาชีพนักการเมือง, ซามูไร

โอกุโบะ โทะชิมิชิ (ญี่ปุ่น: 大久保 利通โรมาจิおおくぼ としみちทับศัพท์: Ōkubo Toshimichi, 10 สิงหาคม ค.ศ. 183014 พฤษภาคม ค.ศ. 1878) เป็นรัฐบุรุษของญี่ปุ่นผู้มีพื้นเพจากการเป็นซามูไรแห่งแคว้นซะสึมะ และเป็นหนึ่งใน 3 ขุนนางผู้ใหญ่แห่งการฟื้นฟูสมัยเมจิ เขาได้รับการยอมรับในฐานะหนึ่งในผู้วางรากฐานของประเทศญี่ปุ่นสมัยใหม่

ปฐมวัย

โอกุโบะเมื่อครั้งยังเป็นซามูไรในวัยหนุ่ม

โอกุโบะ โทะชิมิชิ เกิดที่เมืองคะโงะชิมะ แคว้นซะสึมะ (ปัจจุบันคือจังหวัดคะโงะชิมะ) โดยเป็นบุตรชายคนโตจากทั้งหมด 5 คน ของโอกุโบะ จุเอะมง ซามูไรระดับล่างผู้เป็นข้ารับใช้ของชิมะสึ นะริอะกิระ ไดเมืยวแห่งแคว้นซะสึมะ เขาได้รับการศึกษาในสำนักศึกษาของท้องถิ่นแห่งเดียวกันร่วมกับไซโง ทะกะโมะริ ซึ่งมีอายุมากกว่าเขาเพียง 3 ปี ในปี ค.ศ. 1846 โอกุโบะได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอาลักษณ์ประจำแคว้นซะสึมะ

ซามูไรแคว้นซะสึมะ

ชิมะสึ นะริอะกิระ ได้สังเกตเห็นความสามารถของโอกุโบะและได้แต่งตั้งให้เขาเป็นเจ้าพนักงานบริหารภาษีของแคว้นในปี ค.ศ. 1858 ต่อมาเมื่อนะริอะกิระเสียชีวิต โอกุโบะก็ได้เข้าร่วมแผนการโค่นล้มรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ ทั้งนี้ เขามีจุดยืนสนับสนุนแนวคิด "โทบะคุ" (倒幕) หรือการล้มล้างอำนาจรัฐบาลโชกุนอย่างสิ้นเชิง ซึ่งต่างจากซามูไรในแคว้นเดียวกันส่วนมากที่สนับสนุนแนวคิด "โคบุกัตไต" (公武合体, ประสานราชสำนักกับรัฐบาลโชกุน) และ '"ฮังบะคุ" (ต่อต้านรัฐบาล) ในการขับเคลื่อนขบวนการ "ซนโนโจอิ" (เทิดทูนจักรพรรดิ ขับคนป่าเถื่อน)

สงครามระหว่างแคว้นซะสึมะกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1863 พร้อมด้วยกรณีริชาร์ดสัน และการรัฐประหารในเกียวโตในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ทำให้โอกุโบะเชื่อแน่ว่าการทำ "โทบะคุ" ได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ในปี ค.ศ. 1866 เขาจึงได้ร่วมกับไซโง ทะกะโมะริ และตัวแทนจากแคว้นโจชูชื่อ คิโดะ ทะกะโยะชิ จัดตั้งพันธมิตรซัตโจขึ้นเป็นการลับ เพื่อดำเนินการล้มล้างรัฐบาลโชกุน

การฟื้นฟูสมัยเมจิ

ในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1868 กองกำลังของแคว้นโจชูและแคว้นซะสึมะได้ร่วมกันเข้ายึดพระราชวังหลวงที่เกียวโต และประกาศเริ่มการฟื้นฟูสมัยเมจิ คณะกุมอำนาจปกครองซึ่งประกอบด้วยโอกุโบะ ไซโก และคิโดะ ได้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้น การได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีมหาดไทยทำให้โอะกุโบะมีอำนาจอย่างสูงยิ่งในการควบคุมรัฐบาลท้องถิ่นและกิจการตำรวจทั่วทั้งประเทศ ในชั้นต้นนั้นรัฐบาลใหม่ต้องอาศัยรายได้จากดินแดนของตระกูลโทะกุงะวะซึ่งรัฐบาลใหม่ได้ยึดครองไว้ ต่อมาโอกุโบะจึงแต่งตั้งผู้ปกครองดินแดนเหล่านี้ใหม่ทั้งหมด ซึ่งส่วนมากล้วนเป็นคนรุ่นหนุ่ม ส่วนหนึ่งก็เป็นเพื่อนของเขา เช่น มะสึตะกะ มะซะโยะชิ ที่เหลือก็เป็นผู้ได้รับการศึกษาระดับสูงจากยุโรปหรือสหรัฐอเมริซึ่งมีอยู่น้อยนิด นอกจากนี้โอกุโบะยังได้ใช้อำนาจของเสนาบดีมหาดไทยในการพัฒนาสาธารณูปโภคเช่น การตัดถนนใหม่ สร้างสะพานและท่าเรือ เพื่อส่งเสริมการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลโชกุนปฏิเสธที่จะทำมาตลอด

คณะการทูตอิวะคุระ (จากขวา) โอกุโบะ โทะชิมิจิ, อิโต ฮิโระบุมิ, อิวะคุระ โทะโมะมิ, ยะมะงุจิ นะโอะโยะชิ, คิโดะ ทะกะโยะชิ

ในฐานะเสนาบดีการคลัง โอกุโบะได้ตราพระราชบัญญัติปฏิรูปภาษีที่ดิน กฎหมายการห้ามพกพาดาบในที่สาธารณะ (廃刀令 Haitōrei) และยกเลิกการล่วงละเมิดคนชั้นล่างของสังคม (ซึ่งเรียกโดยรวมว่า "บุระคุมิง") อย่างเป็นทางการ ส่วนในด้านการต่างประเทศ เขาได้ดำเนินให้มีการทบทวนสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมฉบับต่างๆ และเข้าร่วมคณะการทูตอิวะคุระในการเดินทางรอบโลกระหว่าง ค.ศ. 1871- 1873

โดยตระหนักว่าญี่ปุ่นในเวลานั้นยังไม่อยู่ในฐานะที่จะท้าทายกับมหาอำนาจชาติตะวันตกได้ โอกุโบะได้เดินทางกลับญี่ปุ่นในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1873 ซึ่งขณะนั้นภายในประเทศญี่ปุ่นได้มีการถกเถียงเรื่องนโยบายการรุกรานเกาหลีอย่างเผ็ดร้อน เขายังได้เข้าร่วมการประชุมที่โอซะกะในปี ค.ศ. 1875 เพื่อพยายามนำความสมานฉันท์ภายในหมู่สมาชิกคณะคณาธิปไตยเมจิกลับคืนมา

อย่างไรก็ตาม โอกุโบะประสบความล้มเหลวในการชักจูงให้ไซโง ทะกะโมะริ มองไปยังอนาคตของญี่ปุ่นในวันข้างหน้า ไซโงเริ่มเห็นว่านโยบายใหม่ในการทำให้ญี่ปุ่นมีความทันสมัยเป็นสิ่งที่ผิด และในการกบฏซะสึมะในปี ค.ศ. 1877 กบฏฝ่ายซะสึมะบางส่วนก็เข้าร่วมรบภายใต้การนำของไซโงเพื่อต่อต้านกองทัพของรัฐบาลใหม่ด้วย ในฐานะเสนาบดีมหาดไทย โอกุโบะได้บัญชาการกองทัพและทำสงครามปราบปรามไซโงผู้เป็นเพื่อนเก่า เมื่อการกบฏจบลงด้วยความพ่ายแพ้ โอกุบะจึงถูกซามูไรแคว้นซะสึมะจำนวนมากมองว่าเขาเป็นคนทรยศ ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1878 โอกุโบะจึงถูกชิมะดะ อิชิโร และซามูไรจากแคว้นคะนะสะวะ 6 คน ลอบสังหารในระหว่างเดินทางไปยังพระราชวังโตเกียว โดยที่เกิดเหตุนั้นอยู่ห่างจากประตูซะกุระดะมง ซึ่งเป็นสถานที่ลอบสังหารอี นะโอะสุเกะ เมื่อ 18 ปีก่อน ไม่ไกลนัก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น