ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนักบวชคาทอลิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
เมื่อตัดสินใจเข้าคณะ ผู้สมัครจะต้องรับการอบรมในฐานะ'''โปสตูลันต์''' (Postulant) เพื่อฝึกการปฏิบัติศาสนกิจเป็นเวลา 6 เดือน และเป็น'''โนวิซ''' (Novice) อีกอย่างน้อย 2 ปี เมื่อครบแล้วจึงขอปฏิญาณตนเป็นสมาชิกของคณะ การปฏิญาณจะทำ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการปฏิญาณเพื่อถวายตัวชั่วคราว ซึ่งจะกินเวลา 1-3 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วผู้สมัครมั่นใจและมีความพร้อมจะเป็นนักบวชได้ตลอดชีพก็จะทำการปฏิญาณตนอีกครั้งเพื่อถวายตัวตลอดชีพ<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>
เมื่อตัดสินใจเข้าคณะ ผู้สมัครจะต้องรับการอบรมในฐานะ'''โปสตูลันต์''' (Postulant) เพื่อฝึกการปฏิบัติศาสนกิจเป็นเวลา 6 เดือน และเป็น'''โนวิซ''' (Novice) อีกอย่างน้อย 2 ปี เมื่อครบแล้วจึงขอปฏิญาณตนเป็นสมาชิกของคณะ การปฏิญาณจะทำ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการปฏิญาณเพื่อถวายตัวชั่วคราว ซึ่งจะกินเวลา 1-3 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วผู้สมัครมั่นใจและมีความพร้อมจะเป็นนักบวชได้ตลอดชีพก็จะทำการปฏิญาณตนอีกครั้งเพื่อถวายตัวตลอดชีพ<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>


เมื่อเป็นนักบวชในคณะโดยสมบูรณ์แล้ว นักบวชจะต้องปฏิบัติศาสนกิจในสังกัดคณะตลอด เว้นแต่จะละเมิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกขับออกจากคณะ ส่วนคณะก็ต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ขอปงนักบวชในทุกด้าน ทั้งที่พักอาศัย (ซึ่งนักบวชจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในอาราม หรือบ้านพักของคณะ) ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>
เมื่อเป็นนักบวชในคณะโดยสมบูรณ์แล้ว นักบวชจะต้องปฏิบัติศาสนกิจในสังกัดคณะตลอด เว้นแต่จะละเมิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกขับออกจากคณะ ส่วนคณะก็ต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของนักบวชในทุกด้าน ทั้งที่พักอาศัย (ซึ่งนักบวชจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในอาราม หรือบ้านพักของคณะ) ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>


== ความแตกต่างระหว่างบาทหลวงกับนักบวช ==
== ความแตกต่างระหว่างบาทหลวงกับนักบวช ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:50, 15 มีนาคม 2556

ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักร คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (อังกฤษ: Religious institute) คือองค์การของชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้คริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะนักบวช (Order; Society; Congregation) โดยคณะนักบวชแต่ละคณะจะมีแนวทางการทำงาน และเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป

นอกจากจะเรียกว่าคณะนักบวชแล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังบัญญัติให้เรียกว่า คณะนักพรตและคณะนักบวชถือพรต ได้ โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน [1]

ประเภทของคณะ

คณะนักบวชคาทอลิกแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามพระพรพิเศษ จิตวิญญาณ และพันธกิจ ซึ่งแต่ละคณะมีแตกต่างกัน โดยคร่าว ๆ แบ่งได้ดังนี้

การเข้าคณะนักบวช

ชายหรือหญิงที่ปรารถนาจะเข้าเป็นนักบวชไม่ว่าสังกัดในคณะใด ต้องติดต่อกับคณะนั้น โดยทั่วไปนักบวชจะต้องปฏิญาณตน 3 ข้อเป็นพื้นฐาน[1] คือ 1. เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา (คืออธิการคณะ) 2. ถือโสดตลอดชีวิต 3. ไม่ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใด ๆ นอกจาก 3 ข้อนี้แล้วผู้สมัครยังต้องปฏิญาณข้ออื่น ๆ อีกตามแต่ละคณะจะกำหนดไว้ และยังต้องรักษาวินัยประจำคณะ (Religious rule) ซึ่งจะแตกต่างกันไปอีกเช่นกัน วินัยเหล่านี้เป็นที่อนุมัติของสันตะสำนัก

เมื่อตัดสินใจเข้าคณะ ผู้สมัครจะต้องรับการอบรมในฐานะโปสตูลันต์ (Postulant) เพื่อฝึกการปฏิบัติศาสนกิจเป็นเวลา 6 เดือน และเป็นโนวิซ (Novice) อีกอย่างน้อย 2 ปี เมื่อครบแล้วจึงขอปฏิญาณตนเป็นสมาชิกของคณะ การปฏิญาณจะทำ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการปฏิญาณเพื่อถวายตัวชั่วคราว ซึ่งจะกินเวลา 1-3 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วผู้สมัครมั่นใจและมีความพร้อมจะเป็นนักบวชได้ตลอดชีพก็จะทำการปฏิญาณตนอีกครั้งเพื่อถวายตัวตลอดชีพ[1]

เมื่อเป็นนักบวชในคณะโดยสมบูรณ์แล้ว นักบวชจะต้องปฏิบัติศาสนกิจในสังกัดคณะตลอด เว้นแต่จะละเมิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกขับออกจากคณะ ส่วนคณะก็ต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของนักบวชในทุกด้าน ทั้งที่พักอาศัย (ซึ่งนักบวชจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในอาราม หรือบ้านพักของคณะ) ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น[1]

ความแตกต่างระหว่างบาทหลวงกับนักบวช

บาทหลวง (priest) และนักบวช (the religious) มีลักษณะแตกต่างกัน บาทหลวงคือชายที่ได้รับศีลอนุกรมขึ้นที่ 7 คือขั้นบาทหลวง ทำให้มีสถานะเป็นบาทหลวง มีอำนาจสามารถโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacrament) ต่าง ๆ ได้ตามที่ศาสนจักรกำหนดไว้ เช่น ศีลล้างบาป ศีลกำลัง ศีลอภัยบาป เป็นต้น บาทหลวงจะถูกเรียกว่า “คุณพ่อ” (Father) แต่นักบวชมีสถานะโดยเบื้องต้นแค่ผู้ถือพรต ไม่สามารถโปรดศีลได้ ชาวคาทอลิกจะเรียกนักบวชชายว่า “บราเดอร์” (Brother) และนักบวชหญิงว่า “ซิสเตอร์” (Sister) อย่างไรก็ตามนักบวชชายบางคนในบางคณะอาจขอรับศีลบวชเป็นบาทหลวงได้ ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นมีสถานะเป็นทั้งนักบวชและบาทหลวง (เรียกว่า Regular priest)[2] สามารถประกอบพิธีอย่างบาทหลวงที่ไม่ได้สังกัดคณะนักบวช (Secular priest) ได้ทุกประการ ต่างแต่เพียงบาทหลวงที่ไม่ได้เป็นนักบวชจะต้องทำงานให้มุขมณฑลตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนนักบวชแม้ว่าเป็นบาทหลวงแล้วก็ยังต้องสังกัดคณะนักบวชต่อไป

คณะนักบวชคาทอลิกในประเทศไทย

คณะนักบวชคาทอลิกคณะแรกที่มาถึงสยามคือคณะดอมินิกันถึงในปี พ.ศ. 2110 ตามด้วยคณะฟรันซิสกันในปี พ.ศ. 2125[3] นอกจากนี้ก็มีคณะออกัสติเนียน และคณะเยสุอิต คณะเหล่านี้มีบทบาทมากในการเผยแพร่นิกายคาทอลิกในยุคปาโดรอาโด จากนั้นมีคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเป็นกลุ่มหลักที่เข้ามาดำเนินการเผยแพร่ศาสนาและก่อตั้งมิสซังสยามได้เป็นผลสำเร็จ คณะนี้ได้วางรากฐานคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทยจนพัฒนามาเป็นคริสตจักรท้องถิ่นที่ปกครองและบริหารงานตนเองได้ในปัจจุบัน

ตลอดช่วงของการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยยังได้ก่อตั้งคณะนักบวชท้องถิ่นขึ้นมาช่วยเหลืองานของเขตมิสซัง เช่น คณะรักกางเขนช่วยงานของคริสตจักรคาทอลิกในเขตมิสซังจันทบุรี เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง และเขตมิสซังอุบลราชธานี คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ช่วยงานของคริสตจักรคาทอลิกในเขตมิสซังกรุงเทพฯและเขตมิสซังเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังเชิญคณะนักบวชจากต่างประเทศเข้ามาด้วย เช่น คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมันและคณะภราดาเซนต์คาเบรียลมาช่วยงานด้านการศึกษา คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโกช่วยงานด้านพัฒนาสวัสดิภาพเยาวชน คณะคามิลเลียนเน้นงานด้านการสาธารณสุข นอกจากงานสังคมสงเคราะห์ยังมีคณะนักบวชอารามิกซึ่งเน้นวัตรการอธิษฐานและการเข้าฌาน ได้แก่ คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าซึ่งเปิดอารามแห่งแรกในปี พ.ศ. 2468 และคณะกลาริสกาปูชินเข้ามาตั้งอารามในปี พ.ศ. 2479

ปัจจุบันอธิการเจ้าคณะนักบวชชายในประเทศไทยได้รวมกลุ่มกันเป็นชมรมอธิการเจ้าคณะนักบวชชายแห่งประเทศไทย[4] ขณะที่อธิการิณีเจ้าคณะนักบวชหญิงก็ร่วมกันก่อตั้งเป็นชมรมอธิการิณีเจ้าคณะแห่งประเทศไทย[5] ทั้งสององค์การรวมกันเป็นสหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย[6]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2
  2. กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
  3. สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย, นักบวชหญิงและชายในประเทศไทย, พ.ศ. 2545, หน้า 42
  4. สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย, 68-9
  5. ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะแห่งประเทศไทยและลาว
  6. สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทยประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2009