ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
2T (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 82: บรรทัด 82:
[[หมวดหมู่:ระบบขนส่งมวลชน]]
[[หมวดหมู่:ระบบขนส่งมวลชน]]
[[หมวดหมู่:รถไฟฟ้าใต้ดิน|มหานคร]]
[[หมวดหมู่:รถไฟฟ้าใต้ดิน|มหานคร]]
{{สร้างปี|2542}}
{{สร้างปี|2547}}


[[de:Bangkok Metro]]
[[de:Bangkok Metro]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:12, 5 เมษายน 2550

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

รถไฟฟ้ามหานคร หรือที่ชาวกรุงเทพฯ นิยมเรียกว่า รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รถไฟฟ้ามหานครนั้นเป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจากระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส)

เส้นทางสายแรกซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่ารถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรู้จักกันในชื่อไม่เป็นทางการว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) หลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้มีการเปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันมีเส้นทางรวมระยะทาง 21 กิโลเมตร วิ่งจากสถานีบางซื่อถึง สถานีหัวลำโพง ผ่านสถานีรวม 18 สถานี และมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสีลม/ศาลาแดง สุขุมวิท/อโศก และสวนจตุจักร/หมอชิต เส้นทางสายสีน้ำเงินนี้สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ 80,000 คนต่อทิศทางต่อชั่วโมง เส้นทางนี้ยังมีโครงการที่จะขยายเส้นทางออกทางทิศเหนือไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์และท่าพระ และออกทางทิศใต้ไปยังบางแค ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเส้นทางวงแหวนในอนาคต

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทุกสถานีจะยกพื้นทางเข้าออกสูงจากระดับพื้นดิน เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำ ที่อาจเข้าไปท่วมระบบหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในอนาคต

รายชื่อสถานี

สถานีห้วยขวาง
ชื่อย่อ ชื่อสถานี ชานชาลา จุดเปลี่ยนเส้นทาง
HUA สถานีหัวลำโพง กลาง
SAM สถานีสามย่าน ข้าง, สองชั้น
SIL สถานีสีลม ข้าง, สองชั้น ไปยัง สถานีศาลาแดง (สายสีลม)
LUM สถานีลุมพินี ข้าง, สองชั้น
KHO สถานีคลองเตย กลาง
SIR สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กลาง
SUK สถานีสุขุมวิท กลาง ไปยัง สถานีอโศก (สายสุขุมวิท)
PET สถานีเพชรบุรี กลาง
RAM สถานีพระราม 9 กลาง
CUL สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กลาง
HUI สถานีห้วยขวาง กลาง
SUT สถานีสุทธิสาร กลาง
RAT สถานีรัชดาภิเษก กลาง
LAT สถานีลาดพร้าว กลาง
PHA สถานีพหลโยธิน กลาง
CHA สถานีสวนจตุจักร กลาง ไปยัง สถานีหมอชิต (สายสุขุมวิท)
KAM สถานีกำแพงเพชร กลาง
BAN สถานีบางซื่อ ข้าง

รายละเอียดปลีกย่อย

  • โครงสร้างทางวิ่ง :อุโมงค์คู่วางตามแนวราบ และตามแนวดิ่ง เส้นผ่าศูนย์การภายในอุโมงค์ 5.7 เมตรความลึกของอุโมงค์ 15-25 เมตร ทางเดินฉุกเฉินกว้าง 60 เมตร สูง 2.0 เมตร สถานี 18 สถานี มีทั้งแบบชานชาลากลางและ ชานชาลาด้านข้างประมาณ 150 เมตร กว้าง 22-23 เมตร (สถานีมาตรฐาน) มีประตูกันคนตก (Screen Door)
  • ระบบราง:รางคู่ขนาดมาตรฐาน (Standard Guage) กว้าง 1,435 เมตร ใช้รางที่ 3วางขนานกันไปกับรางวิ่ง สำหรับจ่ายไฟฟ้าให้ตัวรถ
  • ระบบรถ :รถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (heave rail)ใช้ล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 19.23 เมตร สูงประมาณ 3.8 เมตร ความจุ 320 คน/ คัน วิ่ง 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้า 750 โวลท์ กระแสตรงป้อนระบบขับเคลื่อนรถใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนตัวรถควบคุมการเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุม ความเร็ว สูงสุด 80 กม./ซม.
  • ระบบเก็บค่าโดยสาร:ใช้ระบบเก็บและตรวจตั๋วอัตโนมัติ และสามารถใช้ตั๋วร่วมกับระบบอื่นได้ค่าโดยสารเก็บตามระยะทางอัตราค่าโดยสาร 12 บาท +2 บาท/ สถานี แต่ไม่เกิน 36 บาท (ราคาปี 2545)
  • การให้บริการความถี่:ชั่วโมงเร่งด้าน 2-4 นาที /ขบวน ชั่วโมงปกติ 4-6 นาที / ขบวน ให้บริการ 6.00-24.00 น. ความเร็วในการเดินทางเฉลี่ย 35 กม./ซม. ให้บริการได้มากกว่า 40,000 คน / ชั่วโมง /ทิศทาง
  • สิ่งอำนวยความสะดวก:ลิฟท์ บันไดเลื่อน ห้องน้ำร้านค้าย้อย สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
  • ที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร:1 แห่งที่ลาดพร้าว

โครงการในอนาคต

  • โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ

จะเริ่มต้นที่จุดปลายโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกฯ ที่บริเวณบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ จนไปเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค ที่ สี่แยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร

  • โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค

จะเริ่มต้นที่จุดปลายโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรกๆ ที่บริเวณหัวลำโพง ผ่านเยาวราช เฉลิมกรุง วังสราญรมย์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากคลองตลาด ไปยังท่าพระ จากนั้นจะวิ่งไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านตลาดบางแค และสิ้นสุดที่บริเวณถนนวงแหวนรอบนอก รวมระยะทางประมาณ 13.8 กิโลเมตร โดยช่วงจากหัวลำโพงถึงท่าพระ ระยะทางประมาณ 4.9 กิโลเมตร จะเป็นทางวิ่งใต้ดิน ส่วนที่เหลือเป็นทางวิ่งยกระดับรถไฟฟ้าสายนี้มีสถานีรวม 10 สถานี และมีที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร 1 แห่งที่บริเวณถนนวงแหวนรอบนอก

แหล่งข้อมูลอื่น