ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อวตาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก nl:Avatara ไปเป็น nl:Avatar (hindoeïsme)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 68: บรรทัด 68:
[[หมวดหมู่:ศาสนาพุทธแบบทิเบต]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาพุทธแบบทิเบต]]
{{Link GA|id}}
{{Link GA|id}}

[[ar:أڤتار]]
[[bg:Аватар]]
[[bn:অবতার]]
[[ca:Avatar (mitologia)]]
[[ckb:ئەڤەتار]]
[[cs:Avatár]]
[[da:Avatar]]
[[de:Avatara]]
[[el:Αβατάρα]]
[[en:Avatar]]
[[eo:Avataro]]
[[es:Avatar]]
[[et:Avataara]]
[[eu:Avatar]]
[[fa:اوتار]]
[[fi:Avatar (hindulaisuus)]]
[[fr:Avatar (hindouisme)]]
[[gl:Avatar]]
[[he:אווטאר]]
[[hi:अवतार]]
[[hr:Avatar]]
[[hu:Avatára]]
[[hy:Ավատար]]
[[id:Awatara]]
[[it:Avatāra]]
[[ja:アヴァターラ]]
[[jv:Awatara]]
[[ka:ავატარა]]
[[kk:Аватара]]
[[km:អវតារ]]
[[kn:ಅವತಾರ]]
[[ko:아바타라]]
[[la:Avatara]]
[[lt:Avatara]]
[[lv:Avatāra]]
[[mk:Аватар]]
[[mr:अवतार]]
[[ms:Avatar]]
[[ne:अवतार]]
[[new:अवतारम् (सन् १९९५या संकिपा)]]
[[nl:Avatar (hindoeïsme)]]
[[nn:Avatar]]
[[no:Avatar]]
[[pl:Awatara]]
[[pt:Avatar]]
[[ro:Avatar]]
[[ru:Аватара]]
[[sah:Avatar]]
[[simple:Avatar]]
[[sk:Avatára]]
[[sl:Avatar]]
[[sr:Аватар]]
[[sv:Avatar]]
[[ta:அவதாரம்]]
[[tl:Abatar (termino)]]
[[tr:Avatar]]
[[uk:Аватара]]
[[ur:اوتار]]
[[zh:化身]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:17, 10 มีนาคม 2556

"ทศาวตาร" หรือ "นารายณ์สิบปาง" หรือ อวตารทั้งสิบของพระวิษณุ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพ (นับเวียนตามเข็มนาฬิกา) มัตศยาวตาร (ปลา), กูรมาวตาร (เต่า), วราหาวตาร (หมูป่า), วามนาตาร (พราหมณ์ค่อม), กฤษณาวตาร (พระกฤษณะ), กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว), พุทธาวตาร (พระโคตมพุทธเจ้า), ปรศุรามาวตาร (รามผู้ถือขวาน), รามจันทรวาตาร (พระราม), นรสิงหาวตาร (นรสิงห์, คนครึ่งสิงห์) ส่วนรูปตรงกลางเป็นรูปพระกฤษณะและเหล่าสาวก

อวตาร (สันสกฤต: अवतार, avatāra) คือการแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ของเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระนารายณ์จะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ[1][2]

การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระนารายณ์ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ [3] รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน[4] พระนารายณ์อวตารเป็นส่วนประกอบหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา[5]

มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศวร และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ[5][6] อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที่สุด

อวตารในศาสนาฮินดู

นารายณ์สิบปาง

มัตสยาวตาร - พระนารายณ์อวตารเป็นปลา
วราหาวตาร - พระนารายณ์อวตารเป็นหมูป่าเพื่อปราบยักษ์

อวตารของพระวิษณุมีมากมายหลายปาง แต่อวตารซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคืออวตารชุด "ทศาวตาร" (เป็นการสมาสคำว่า "ทศ" (สิบ) เข้ากับคำว่า "อวตาร" จึงหมายถึง "อวตารทั้งสิบ") ซึ่งในประเทศไทยมักเรียกชื่อว่า "นารายณ์สิบปาง" รายชื่ออวตารทั้งสิบปางนั้นปรากฏอยู่ในครุฑปุราณะ (1.86.10"11)[7]

ทั้งนี้ ตามการแบ่งเวลาเป็นยุคของศาสนาฮินดูนั้น อวตารสี่ปางแรกของพระองค์เกิดขึ้นในสัตยยุค สามปางต่อมาเกิดขึ้นในไตรดายุค อวตารปางที่แปดเกิดขึ้นในทวาปรยุค ปางที่เก้าเกิดในกลียุค และปางที่สิบซึ่งเป็นปางสุดท้ายจะเกิดขึ้นเมื่อถึงปลายกลียุค[8]

อวตารทั้งสิบปางของพระวิษณุประกอบด้วย

  1. มัตสยาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นปลาชื่อ "ศผริ" เพื่อช่วยเหลือพระมนูให้รอดจากโลกาวินาศในช่วงพรหมราตรีจนกระทั่งไว้ตั้งวงศ์มนุษย์ขึ้นมาใหม่ และสังหารอสูรหัยครีวะซึ่งลักเอาพระเวทไปจากพระพรหม เรื่องราวโดยละเอียดปรากฏอยู่ในคัมภีร์มัตสยะปุราณะ
  2. กูรมาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นเต่าเพื่อรองรับเขาสมุทรมันทรในพิธีกวนเกษียรสมุทร เรื่องราวโดยละเอียดปรากฏอยู่ในคัมภีร์กูรมะปุราณะ
  3. วราหาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นหมูป่า เพื่อประหารยักษ์หิรัณยากษะ ซึ่งได้ลักเอาแผ่นดินโลกไปจากพื้นสมุทร เรื่องราวโดยละเอียดปรากฏอยู่ในคัมภีร์วราหะปุราณะ
  4. นรสิงหาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นนรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงห์) เพื่อประหารพญายักษ์หิรัณยกศิปุ ผู้ซึ่งกระทำทารุณกรรมต่อประหลาทกุมารซึ่งภักดีต่อพระวิษณุ
  5. วามนาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นพราหมณ์หลังค่อมชื่อวามนพราหมณ์ เพื่อปราบพยศของพญายักษ์มหาพลี เรื่องราวโดยละเอียดปรากฏอยู่ในคัมภีร์วามนปุราณะ
  6. ปรศุรามาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นพราหมณ์ชื่อปรศุราม ("รามผู้ถือขวาน") เพื่อปราบกษัตริย์ผู้มีพันกรชื่อกรรตวิรยะอรชุน ซึ่งกระทำการเบียดเบียนข่มเหงแก่คนวรรณะพราหมณ์อย่างหนัก และกวาดล้างเชื้อวงศ์วรรณะกษัตริย์ที่เป็นบุรุษจนหมดสิ้นทั้งโลก
  7. รามาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นพระราม กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา วีรบุรุษในมหากาพย์เรื่องรามายณะ
  8. กฤษณาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ กษัตริย์แห่งกรุงทวารกา ผู้เป็นตัวละครหลักในคัมภีร์ภควตปุราณะ มหากาพย์มหาภารตะ และอนุศาสน์ภควัทคีตา อย่างไรก็ตาม ในทศวาตารฉบับดั้งเดิมนั้นกล่าวว่าพระพลรามซึ่งเป็นพี่ชายของพระกฤษณะเป็นอวตารปางที่แปดของพระวิษณุ ส่วนพระกฤษณะนั้นคือต้นธารแห่งอวตารทุกปางที่ปรากฏในโลก[9]
  9. พุทธาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นพระโคตมพุทธเจ้า[10] ศาสดาในศาสนาพุทธ ความเชื่อนี้มาจากคัมภีร์ภาควตปุราณะซึ่งเรียบเรียงขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 9[11]
  10. กัลกยาวตาร - ในอนาคตกาลเมื่อถึงปลายกลียุค พระวิษณุจะอวตารมาเป็นบุรุษขี่ม้าขาวชื่อกัลกิ ("นิรันดร", "กาลเวลา", หรือ "ผู้บำราบความเขลา") เพื่อปราบยุคเข็ญ มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในกัลกิปุราณะ

คเณศาวตาร

ในลิงคะปุราณะกล่าวถึงอวตารของพระคเณศเพื่อปราบปีศาจและช่วยเหลือผู้ใจบุญ[12] อุปปุราณะ 2 ฉบับ คือ คเณศปุราณะและมุทคละปุราณะ ซึ่งเป็นคัมภีร์หลักของผู้นับถือลัทธิบูชาพระคเณศได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอวตารของพระคเณศไว้ โดยในคเณศปุราณะมี 4 ปาง ส่วนในมุทคละปุราณะมี 8 ปาง [13] ทุกปางมักมีจุดมุ่งหมายเพื่อไปฆ่าปีศาจ[14] ทั้ง 8 ปางของพระคเณศได้แก่

  1. วักรตุณฑะ - มีราชสีห์เป็นพาหนะ
  2. เอกทันตะ ("งาเดียว") - มีหนูเป็นพาหนะ
  3. มโหทร ("ท้องใหญ่") - มีหนูเป็นพาหนะ
  4. คชวักตระ หรือ คชานนะ ("หน้าช้าง") - มีหนูเป็นพาหนะ
  5. ลัมโภทร ("ท้องใหญ่") - มีหนูเป็นพาหนะ
  6. วิกฎะ - มีนกยูงเป็นพาหนะ
  7. วิฆนราช ("ราชาแห่งอุปสรรค") - มีพญาเศษะนาคราชเป็นพาหนะ
  8. ธูมราวรรณ ("สีเทา") - มีม้าเป็นพาหนะ

อวตารของพระศิวะ

ศารภะ (ขวา) กับนรสิงห์

แม้ว่าจะมีการอ้างอิงคัมภีร์ปุราณะต่างๆว่าพระศิวะมีการอวตารแต่ไม่เป็นที่เชื่อถือแพร่หลายนักในไศวนิกาย [5][15] ลิงกะปุราณะกล่าวว่าอวตารของพระศิวะมี 28 ปาง[16] ในศิวะปุราณะ เรื่องราวของพระศิวะที่นำรูปแบบวีระภัทรที่น่ากลัวของพระองค์เพื่อกำราบนรสิงห์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ เมื่อไม่ได้ผลพระศิวะ แปลงกายเป็นมนุษย์สิงโต - นกศารภะ เรื่องราวจบลงด้วยการที่นรสิงห์กลายเป็นบ่าวของพระศิวะ[17] หนุมานในบางท้องที่ถือว่าเป็นอวตารปางที่สิบเอ็ดของพระศิวะ[18][19][20][21]

อวตารของเทพี/ศักติ

หนุมานกับพระรามและนางสีดา

ในลิทธิศักติมีอวตารเช่นกัน ในเทวีภควัต ปุราณะอธิบายถึงอวตารของเทวีที่จะมาปราบคนชั่วและปกป้องคนดี โดยมีการอวตารมากเท่าพระนารายณ์ [22] พระลักษมี เทวีของพระนารายณ์ อวตารมาเป็นนางสีดามเหสีของพระรามและนางราธา มเหสีของพระกฤษณะ [23] พระลักษมีและพระสรัสวตีเป็นเทวีที่มีผู้บูชามากและมีการอวตาร[24]

อวตารในศาสนาพุทธ

อวตารกับวัชรยาน

ความเชื่อของชาวพุทธที่นับถือนิกายวัชรยาน ถือว่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์อวตารหรือแบ่งภาคได้เช่นเดียวกันเช่น พระอาทิพุทธะอวตารมาเป็นพระธยานิพุทธะ พระโพธิสัตว์อวตารเป็นยิดัม นอกจากนี้ชาวพุทธในทิเบตเชื่อว่า ทะไลลามะเป็นอวตารของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และปันเชนลามะเป็นอวตารของพระอมิตาภพุทธะ เป็นต้น[25]

อวตารกับเถรวาท

ในความเชื่อของชาวพุทธนิกายเถรวาท จะไม่เชื่อว่าการอวตารมีจริง เพราะจิตนั้นมีดวงเดียว (ตามบทที่ว่า เอกะ จะรัง จิตตัง...) เพียงแต่เกิดดับตลอดเวลา เมื่อจิตนั้นเกิดเป็นเทพเจ้าไม่ว่าชั้นใดๆ หากแปลงกายเป็นมนุษย์ (เนรมิตขึ้นมาชั่วประเดี๋ยวประด๋าว เช่น พระอินทร์แปลงเป็นพราหมณ์แก่) โดยจิตเดิมยังอยู่เป็นเทพเจ้าบนสวรรค์นั้น มีจริง แต่การที่จิตนั้นลงมาเกิดอวตารเป็นมนุษย์ โดยการอยู่ในครรภ์ คลอดออกมา เจริญเติบโตเล่าเรียนรู้เลยทั้ง ๆ ที่ยังมีจิต (เหมือนกัน ดวงเดียวกัน) อีกดวง ยังเป็นเทพเจ้าบนสวรรค์นั้นเป็นไปตามความจริงไม่ได้ ตามหลักที่ปรากฏในพระอภิธรรม[25]

อ้างอิง

  1. Matchett, Freda (2001). Krishna, Lord or Avatara?: the relationship between Krishna and Vishnu. 9780700712816. p. 4. ISBN 9780700712816.
  2. Introduction to World Religions, by Christopher Hugh Partridge, pg. 148, at Books.Google.com
  3. Kinsley, David (2005). Lindsay Jones (บ.ก.). Gale's Encyclopedia of Religion. Vol. 2 (Second ed.). Thomson Gale. pp. 707–708. ISBN 0-02-865735-7.
  4. Bryant, Edwin Francis (2007). Krishna: A Sourcebook. Oxford University Press US. p. 18. ISBN 9780195148916.
  5. 5.0 5.1 5.2 Sheth, Noel (Jan. 2002). "Hindu Avatāra and Christian Incarnation: A Comparison". Philosophy East and West. University of Hawai'i Press. 52 (1 (Jan. 2002)): 98–125. doi:10.1353/pew.2002.0005. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. Hawley, John Stratton (2006). The life of Hinduism. University of California Press. p. 174. ISBN 9780520249141. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  7. Garuda Purana (1.86.10-11)
  8. Matchett, p. 86.
  9. O Keshava! O Lord of the universe! O Lord Hari, who have assumed the form of Balarama, the yielder of the prowl All glories to You! On Your brilliant white body You wear garments the color of a fresh blue rain cloud. These garments are colored like the beautiful dark hue of the River Yamuna, who feels great fear due to the striking of Your plowshare] Dasavatara stotra
  10. List of Hindu scripture that declares Gautama Buddha as 9th Avatar of Vishnu as follows [Harivamsha (1.41) Vishnu Purana (3.18) Bhagavata Purana (1.3.24, 2.7.37, 11.4.23 name="Bhagavata Purana 1.3.24">Bhagavata Purana 1.3.24
  11. Estimated dates given by some notable scholars include: R. C. Hazra – 6th c., Radhakamal Mukherjee – 9th–10th c., Farquhar – 10th c., Nilakanta Sastri – 10th c., S. N. Dasgupta – 10th c.Kumar Das 2006, pp. 172–173
  12. Grimes, John A. (1995). Gaṇapati: song of the self. SUNY Press. p. 105. ISBN 9780791424391.
  13. Phyllis Granoff, "Gaṇeśa as Metaphor," in Robert L. Brown (ed.) Ganesh: Studies of an Asian God, pp. 94-5, note 2. ISBN 0-7914-0657-1
  14. Grimes, pp. 100-105.
  15. Parrinder, Edward Geoffrey (1982). Avatar and incarnation. Oxford: Oxford University Press. p. 88. ISBN 0-19-520361-5.
  16. Winternitz, Moriz (1981). A History of Indian Literature, Volume 1. Motilal Banarsidass. pp. 543–544. ISBN 9788120802643. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  17. Soifer, pp. 91-92.
  18. Lutgendorf, Philip (2007). Hanuman's tale: the messages of a divine monkey. Oxford University Press US. p. 44. ISBN 9780195309218.
  19. Catherine Ludvík (1994). Hanumān in the Rāmāyaṇa of Vālmīki and the Rāmacaritamānasa of Tulasī Dāsa. Motilal Banarsidass Publ. pp. 10–11. ISBN 9788120811225.
  20. Sontheimer, Gunther-Dietz (1990). "God as King for All: The Sanskrit Malhari Mahatmya and it's context". ใน Hans Bakker (บ.ก.). The History of Sacred Places in India as Reflected in Traditional Literature. BRILL. ISBN 9004093184. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |chapterurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|chapter-url=) (help) p.118
  21. Sontheimer, Gunther-Dietz (1989). "Between Ghost and God: Folk Deity of the Deccan". ใน Alf Hiltebeitel (บ.ก.). Criminal Gods and Demon Devotees: Essays on the Guardians of Popular Hinduism. SUNY Press. ISBN 0887069819. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |chapterurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|chapter-url=) (help) p.332
  22. Brown, Cheever Mackenzie (1990). The triumph of the goddess: the canonical models and theological visions of the Devī-Bhāgavata Purāṇa. SUNY Press. p. 32. ISBN 9780791403631.
  23. Hindu Avatāra and Christian Incarnation: A Comparison, Noel Sheth Philosophy East and West, Vol. 52, No. 1 (Jan., 2002), pp. 98, 117.
  24. Brown, p. 270.
  25. 25.0 25.1 พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ราชบัณฑิตยสถาน. 2548. หน้า 78-79.

แม่แบบ:Link GA