ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนูผี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต: แก้ไขจาก vi:Soricidae ไปเป็น vi:Họ Chuột chù
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 43: บรรทัด 43:


[[หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]]
[[หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]]

[[af:Skeerbekmuis]]
[[ar:زباب]]
[[be:Землярыйкі]]
[[bg:Земеровкови]]
[[bjn:Mariangin]]
[[br:Sorikideged]]
[[ca:Musaranya]]
[[ceb:Soricidae]]
[[cs:Rejskovití]]
[[cv:Пĕчĕк каюра йышшисем]]
[[da:Spidsmus]]
[[de:Spitzmäuse]]
[[en:Shrew]]
[[eo:Soriko]]
[[es:Soricidae]]
[[eu:Soricidae]]
[[fa:حشره‌خوار]]
[[fi:Päästäiset]]
[[fr:Soricidae]]
[[ga:Dallóg]]
[[he:חדפיים]]
[[hu:Cickányfélék]]
[[id:Celurut]]
[[io:Musareno]]
[[it:Soricidae]]
[[ja:トガリネズミ]]
[[jv:Curut]]
[[ka:ბიგასებრნი]]
[[kk:Жертесерлер]]
[[ko:땃쥐류]]
[[li:Sjpitsmuus]]
[[lt:Kirstukiniai]]
[[lv:Ciršļu dzimta]]
[[mk:Земјоријачки]]
[[ml:നച്ചെലി]]
[[mt:Sorċid]]
[[my:ကြွက်စုတ်]]
[[myv:Кутора]]
[[nl:Spitsmuizen]]
[[nn:Spissmus]]
[[no:Spissmus]]
[[nrm:Mustchinne]]
[[nv:Naʼastsʼǫǫsí binááʼ áłtsʼíísígíí]]
[[pl:Ryjówkowate]]
[[pnb:چکوندر]]
[[pt:Soricidae]]
[[qu:K'awchisuyt'u]]
[[ro:Soricidae]]
[[ru:Землеройковые]]
[[sah:Күүдээхтэр кэргэннэрэ]]
[[sco:Shrew]]
[[simple:Shrew]]
[[sr:Ровчица]]
[[sv:Näbbmöss]]
[[sw:Kirukanjia (mamalia)]]
[[tl:Soricidae]]
[[tr:Sivri faregiller]]
[[tt:Җир тычканнары]]
[[uk:Мідицеві]]
[[vi:Họ Chuột chù]]
[[vls:Tope (Insectneter)]]
[[zh:鼩鼱科]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:50, 10 มีนาคม 2556

หนูผี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีนยุคกลาง-ปัจจุบัน
หนูผีบ้าน (Suncus murinus) เป็นหนูผีชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นฐาน: Eutheria
อันดับ: Soricomorpha
วงศ์: Soricidae
G. Fischer, 1814
วงศ์

หนูผี (อังกฤษ: Shrew) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Soricidae

ครั้งหนึ่ง หนูผีเคยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora)[1]

หนูผี มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหนู ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ซึ่งเป็นสัตว์คนละอันดับมาก แต่ทว่ามีขนาดเล็กกว่ามาก มีฟันที่แหลมคมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ตามลำตัวมีขนที่อ่อนนุ่มสีคล้ำปกคลุม ตาและใบหูมีขนาดเล็กมากฝังอยู่ในขน ดังนั้นตาและหูของหนูผีใช้การไม่ค่อยดี จึงอาศัยประสาทการดมกลิ่นจากจมูกเป็นหลัก โดยมักจะกระดุกกระดิกจมูกสอดส่ายหากลิ่นตามพื้นดิน หรือบางครั้งก็ชูขึ้นสูดกลิ่นในอากาศ

หนูผี โดยขุดรูตื้น ๆ อยู่ในดินหรือซุกซ่อนในพงหญ้า กินอาหารหลักจำพวก แมลง และอาจมีเมล็ดพืชบ้าง หนูผีเป็นสัตว์ที่มีระบบการเผาผลาญอาหารสูงมาก ดังนั้น จึงจะหากินอยู่ตลอดเวลา ด้วยการหากิน 3 ชั่วโมง และนอนหลับ 3 ชั่วโมง เป็นเช่นนี้สลับกันไปตลอด หากไม่เช่นแล้ว อาจทำให้ถึงตายได้

หนูผี เป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยดุร้าย มักกัดกันเองเสมอ ๆ โดยหากเมื่อต่อสู้กันแล้ว มักจะขู่ศัตรูด้วยการยืนด้วยสองขาหลังส่งเสียงร้องแหลมเล็กให้หนีไป หากได้กัดแล้ว จะกัดด้วยการกัดที่หางและขาหลังของกันและกันเป็นวงกลมเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเสียงดังข่มขู่กันตลอด

หนูผี บางชนิดเมื่อกัดแล้วมีพิษ และถือเป็นสัตว์ที่มีต่อมน้ำพิษที่มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอยู่ใต้ผิวหนัง ดังนั้น หนูผีจึงมักไม่ค่อยตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ยกเว้นนกเค้าแมว

หนูผี ทำรังด้วยใบไม้และฟาง ออกลูกครอกละ 5-8 ตัว ปีหนึ่ง ๆ อาจออกได้หลายครอก ลูกอ่อนจะสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้เมื่อมีอายุได้ 5 สัปดาห์ แต่หนูผีมักมีอายุสั้นไม่เกินหนึ่งปี กระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทุกทวีปของโลก พบในหลากหลายภูมิประเทศ รวมถึงในบ้านเรือนของมนุษย์ หนูผีที่พบในบ้านจะไม่ทำลายข้าวของเหมือนเช่นหนูบ้านทั่วไป เนื่องด้วยไม่ใช่สัตว์ฟันแทะ แต่อาจจะมีขโมยเศษอาหารได้ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็บสาบรุนแรง และอาจจะจับแมลงสาบกินได้ และกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของหนูผีจะไล่หนูบ้านออกไปได้[2]

นอกจากนี้แล้ว หนูผียังสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เก่งกว่าหนูมาก โดยสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานถึง 20 วินาที เพื่อจับสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น หอย หรือตัวอ่อนของแมลงปอ กินเป็นอาหาร[3]

หนูผี ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 385 ชนิด ใน 26 วงศ์ แบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยได้ 3 วงศ์ (ดูในตาราง)[4]สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทยมีหลายชนิด อาทิ หนูผีบ้าน (Suncus murinus), หนูผีจิ๋ว (S. etrusucs), และชนิดที่พบได้ในป่าและทุ่งนา เช่น หนูผีป่า (S. malayanus), หนูผีภูเขา (Crocidura monticola) เป็นต้น[5] โดยที่ครั้งหนึ่ง หนูผีจิ๋วที่พบได้ในทวีปยุโรปและในไทยด้วย เคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกมาแล้ว[6]

อ้างอิง

  1. สัตววิทยา (การจัดหมวดหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 414 - 416
  2. 28-33, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม พ.ศ. 2518)
  3. Mouse: A Secret Life, "Animal Planet Showcase" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2556
  4. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  5. หน้า 158, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (มีนาคม พ.ศ. 2543) ISBN 974-87081-5-2
  6. Mammal record breakers: The smallest!". The Mammal Society. http://www.abdn.ac.uk/mammal/smallest.shtml. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-04-10.

แหล่งข้อมูลอื่น