ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสือซามูเอล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พุทธามาตย์ ย้ายหน้า พระธรรมซามูเอล ไปยัง หนังสือซามูเอล: ตามอ้างอิง
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 51: บรรทัด 51:


[[an:II Samuel]]
[[an:II Samuel]]
[[ar:سفر صموئيل الثاني]]
[[bar:2. Buach Samuel]]
[[bar:2. Buach Samuel]]
[[ca:Segon de Samuel]]
[[ca:Segon de Samuel]]
บรรทัด 58: บรรทัด 57:
[[de:2. Buch Samuel]]
[[de:2. Buch Samuel]]
[[el:Β' Βασιλειών]]
[[el:Β' Βασιλειών]]
[[en:Books of Samuel]]
[[eo:2-a libro de Samuel]]
[[eo:2-a libro de Samuel]]
[[es:II Samuel]]
[[es:II Samuel]]
[[et:Saamueli raamatud]]
[[fi:Toinen Samuelin kirja]]
[[fi:Toinen Samuelin kirja]]
[[fr:Deuxième livre de Samuel]]
[[fr:Deuxième livre de Samuel]]
[[gd:2 Samuel]]
[[gd:2 Samuel]]
[[hak:Sat-mû-ngí-ki-ha]]
[[he:ספר שמואל]]
[[hu:Sámuel első és második könyve]]
[[id:Kitab 2 Samuel]]
[[id:Kitab 2 Samuel]]
[[it:Libri di Samuele]]
[[ja:サムエル記]]
[[jv:II Samuel]]
[[jv:II Samuel]]
[[ko:사무엘기]]
[[la:Liber II Samuelis]]
[[la:Liber II Samuelis]]
[[lt:Samuelio knygos]]
[[ml:ശമുവേലിന്റെ പുസ്തകങ്ങൾ]]
[[nl:I en II Samuel]]
[[nl:I en II Samuel]]
[[nn:Samuelsbøkene]]
[[no:Samuelsbøkene]]
[[pl:2 Księga Samuela]]
[[pl:2 Księga Samuela]]
[[pt:II Samuel]]
[[pt:II Samuel]]
[[qu:Samuelpa iskay ñiqin qillqasqan]]
[[qu:Samuelpa iskay ñiqin qillqasqan]]
[[ro:Cartea întâi a Regilor]]
[[ru:Книга Самуила]]
[[ru:Книга Самуила]]
[[rw:Igitabo cya Samweli]]
[[scn:2 Samueli]]
[[scn:2 Samueli]]
[[simple:Books of Samuel]]
[[sk:Knihy Samuelove]]
[[sv:Andra Samuelsboken]]
[[sv:Andra Samuelsboken]]
[[sw:Vitabu vya Samweli]]
[[sw:Vitabu vya Samweli]]
[[ta:2 சாமுவேல்]]
[[ta:2 சாமுவேல்]]
[[tl:Mga Aklat ni Samuel]]
[[tr:Samuel kitapları]]
[[yo:Ìwé Samuẹli]]
[[zh:撒母耳记]]
[[zh-min-nan:Sat-bó͘-jíⁿ-kì]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:50, 10 มีนาคม 2556

หนังสือซามูเอล[1] (อังกฤษ: Books of Samuel) แบ่งออกเป็น 2 ฉบับ ได้แก่

  • หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1 และ
  • หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2

หนังสือซามูเอลตั้งชื่อตามผู้เผยพระวจนะที่มีชื่อเสียงของอิสราเอลในยุคนั้น โดยเนื้อหาของหนังสือทั้งสองฉบับกล่าวถึงพงศาวดารของอิสราเอลในช่วงชีวิตของซามูเอล ตั้งแต่ความเป็นมา การเกิด การเข้าสู่การเป็นผู้เผยพระวจนะ การแต่งตั้งกษัตริย์พระองค์แรกของอิสราเอล และการจากไปของท่าน

เนื้อหาของหนังสือซามูเอลทั้งสองฉบับ สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ช่วงสำคัญ ได้แก่

กำเนิดซามูเอล และการทรงเรียกของซามูเอล

ในยุคที่เอลีอาซาร์เป็นปุโรหิตของพระเจ้า บุตรชายของเอลีอาซาร์ได้กระทำผิดต่อพระเจ้าว่าด้วยเครื่องถวายบูชา เป็นเหตุให้พระเจ้าไม่อวยพระพรแก่ครอบครัวของเอลีอาซาร์

ในยุคนั้นเอง มารดาของซามูเอลซึ่งเป็นหมันได้มาอธิษฐานอ้อนวอนกราบทูลพระเจ้าให้เบิกครรภ์ให้แก่นาง โดยนางได้บนบานต่อพระเจ้าว่า จะถวายบุตรชายของนางให้เป็นผู้รับใช้ในพระวิหารของพระเจ้า ดังนั้น เมื่อพระเจ้าทรงเบิกครรภ์ให้แก่นาง และเมื่อนางคลอดเป็นบุตรชาย จึงตั้งชื่อบุตรชายว่า ซามูเอล และถวายซามูเอลให้เป็นผู้รับใช้พระเจ้าตั้งแต่นั้นมา

ด้วยเหตุที่ครอบครัวของเอเลอาซาร์กระทำผิดต่อพระเจ้า พระองค์จึงทรงเรียก ซามูเอล ให้ทำหน้าที่เป็นปุโรหิต และผู้เผยพระวจนะ แทนที่เอลีอาซาร์

การแต่งตั้งกษัตริย์ซาอูล

เมื่อซามูเอลเป็นปุโรหิตของพระเจ้านั้น ประเทศรอบข้างอิสราเอลต่างมีกษัตริย์ทำหน้าที่ปกครองประเทศ มีเพียงอิสราเอลที่ไม่มีกษัตริย์ แต่มีปุโรหิตเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลประชากรตามที่พระเจ้าทรงบัญชา

อิสราเอลได้เรียกร้องให้ซามูเอลแต่งตั้งกษัตริย์ให้ตน ซึ่งถือว่าเป็นการกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้า แต่พระเจ้าก็ทรงอนุญาตให้อิสราเอลแต่งตั้งกษัตริย์ได้ โดยพิจารณาจากบุตรชายหัวปีของตระกูล ตามลำดับพงศ์พันธุ์ของอิสราเอล ปรากฏว่าบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง คือ ซาอูล ซึ่งมีบุคลิกภาพดี มีความเป็นผู้นำ และเป็นนักรบ ซาอูลจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของอิสราเอล

กษัตริย์ซาอูลทรงถูกถอดจากราชสมบัติ

กษัตริย์ซาอูลทรงขึ้นครองราชย์ปกครองอิสราเอลด้วยความชอบธรรม โดยมีซามูเอลเป็นปุโรหิตผู้คอยให้คำแนะนำด้วยดีในระยะแรก เมื่อมีสงครามใดใด กษัตริย์ซาอูลก็จะให้ซามูเอลอธิษฐานและร้องทูลต่อพระเจ้า ทุกครั้งก็มีชัยชนะกลับมาเสมอ เมื่อได้รับชัยชนะบ่อยครั้งเข้า ทำให้กษัตริย์ซาอูลทรงฮึกเหิม ไม่ปฏิบัติตามที่พระเจ้าทรงตรัสผ่านซามูเอล เป็นเหตุให้พระเจ้าทอดทิ้งพระองค์ กษัตริย์ซาอูล มิได้กลับพระทัยแต่หันไปพึ่งคนทรง ซึ่งเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงในสายพระเนตรพระเจ้า พระองค์จึงทรงถอดถอนกษัตริย์ซาอูลออก โดยไม่ให้การสนับสนุนการกระทำของพระองค์ และทรงมอบหมายให้ซามูเอลไปทำการเจิม ให้แก่ว่าที่กษัตริย์องค์ใหม่ของอิสราเอลแทน

การแต่งตั้งกษัตริย์ดาวิด

เพื่อให้อิสราเอลเห็นว่า พระเจ้าทรงเป็นกษัตริย์ที่แท้จริง มิใช่ตัวบุคคลที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมา พระองค์จึงทรงให้ซามูเอลไปค้นหาบุตรชายคนสุดท้อง ของตระกูลที่เล็กน้อยที่สุด จากเผ่ายูดาห์ เพื่อทำการเจิมตั้งให้เป็นกษัตริย์แทนซาอูล ซามูเอล จึงได้ออกเดินทางไปตามพระบัญชาของพระเจ้า ไปยังครอบครัวที่เล็กน้อยที่สุดในเผ่ายูดาห์ และพบกับดาวิด เด็กหนุ่มบุตรคนสุดท้อง ทำหน้าที่เลี้ยงแกะให้แก่บิดา ไม่ได้เป็นนักรบยิ่งใหญ่แต่อย่างใด แต่มีความยำเกรงและเชื่อฟังพระเจ้า

ภายหลังจากที่พระเจ้าทรงให้ซามูเอลเจิมตั้งดาวิดให้เป็นกษัตริย์ของอิสราเอล ก็มีเหตุการณ์อันเป็นเหตุให้ดาวิดได้แสดงความสามารถ และการทรงสถิตย์ของพระเจ้า โดยได้เข้าร่วมกองทัพกับอิสราเอลและรบชนะศึกสำคัญหลายครั้ง จนประชาชนอิสราเอลตระหนักว่าพระเจ้าทรงอยู่ข้างดาวิด มิใช่ซาอูล แต่กระนั้น ดาวิด ก็มิได้ตั้งตนเองขึ้นมาเป็นกษัตริย์ของอิสราเอล

การซ่องสุมกำลังของดาวิด

เมื่อผลงานของดาวิดมีมากขึ้น เป็นเหตุให้กษัตริย์ซาอูลไม่พอพระทัย และคิดหาทางกำจัดดาวิดเสียหลายครั้ง แต่ดาวิดก็สามารถรอดตัวมาได้เสมอ จนในที่สุดเมื่อกษัตริย์ซาอูลริษยาดาวิดจนนำกองทัพไล่ติดตาม ดาวิดจำเป็นต้องหลบหนีไปอยู่ในชนบท แต่มีประชากรอิสราเอลจำนวนมาก ที่เห็นว่าพระเจ้าทรงสถิตย์กับดาวิด จึงได้ขอติดตามพระองค์ไปด้วยและซ่องสุมเป็นกองกำลังเพื่อปกป้องตนเอง แต่มิได้เข้าไปยึดบัลลังก์จากซาอูลแต่อย่างใด

กษัตริย์ดาวิดทรงขึ้นครองราชย์

ในที่สุด เมื่อกองทัพของดาวิดมีกำลังมากขึ้น กษัตริย์ซาอูลไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้ จึงทรงนำกองทัพออกมาเพื่อกำจัดดาวิด แต่สุดท้ายกษัตริย์ซาอูลกลับถูกแม่ทัพของตนเองประหารชีวิต และนำศีรษะมาถวายแก่ดาวิด เมื่อสิ้นกษัตริย์ซาอูลแล้ว ประชาชนอิสราเอลได้ทูลเชิญดาวิดขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่สองของอิสราเอลต่อไป

หนังสือซามูเอลในแง่มุมทางเทววิทยา

หนังสือซามูเอลแม้โดยเนื้อหาเป็นพงศาวดารของอิสราเอล แต่ได้แฝงไว้ซึ่งหลักคิดที่สำคัญในแง่มุมทางเทววิทยาหลาย ๆ ประการเช่น

  • การทรงเลือกกษัตริย์ โดยเปรียบเทียบระหว่าง ซาอูล และ ดาวิด เป็นการแฝงความคิดให้เห็นว่า หากพระเจ้าทรงอยู่ด้วย แม้ความสามารถทางกายภาพที่ด้อยกว่า ก็มิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
  • ความยำเกรงพระเจ้า กษัตริย์ดาวิดเป็นบุคคลที่พระคัมภีร์หลาย ๆ ตอนได้ยกย่องในด้านความยำเกรงพระเจ้า และความถ่อมพระทัยของพระองค์เป็นอย่างมาก อิสราเอลในยุคของพระองค์ไม่ได้รุ่งเรืองที่สุด แต่กลับได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์ที่ย่งใหญ่ที่สุดของอิสราเอล
  • การให้อภัย ในหนังสือซามูเอลจะแสดงให้เห็นถึงจิตใจของกษัตริย์ดาวิด ที่ไม่เคยถือโทษโกรธกษัตริย์ซาอูลเลย แม้จะโดยกษัตริย์ซาอูลปองร้ายครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดเวลา

อ้างอิง

ดูเพิ่ม