ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง"

พิกัด: 39°59′30″N 116°23′26″E / 39.99167°N 116.39056°E / 39.99167; 116.39056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 68: บรรทัด 68:
[[หมวดหมู่:สนามกีฬาแห่งชาติ]]
[[หมวดหมู่:สนามกีฬาแห่งชาติ]]
{{โครงสถานที่}}
{{โครงสถานที่}}

[[af:Beijing Nasionale Stadion]]
[[ar:ملعب بكين الوطني]]
[[bg:Пекински национален стадион]]
[[bn:বেইজিং ন্যাশনাল স্টেডিয়াম]]
[[bs:Nacionalni stadion u Pekingu]]
[[ca:Estadi Nacional de Pequín]]
[[cs:Pekingský národní stadion]]
[[cy:Stadiwm Cenedlaethol Beijing]]
[[da:Beijing Nationalstadion]]
[[de:Nationalstadion Peking]]
[[el:Εθνικό Στάδιο του Πεκίνου]]
[[en:Beijing National Stadium]]
[[eo:Nacia stadiono de Pekino]]
[[es:Estadio Nacional de Pekín]]
[[et:Pekingi Rahvusstaadion]]
[[eu:Beijingo Nazio Estadioa]]
[[fa:ورزشگاه ملی پکن]]
[[fi:Pekingin kansallinen stadion]]
[[fr:Stade national de Pékin]]
[[gl:Estadio Nacional de Pequín]]
[[he:האצטדיון הלאומי בייג'ינג]]
[[hr:Nacionalni stadion u Pekingu]]
[[hu:Pekingi Nemzeti Stadion]]
[[id:Stadion Nasional Beijing]]
[[it:Stadio nazionale di Pechino]]
[[ja:北京国家体育場]]
[[ka:პეკინის ეროვნული სტადიონი]]
[[kk:Ұлттық стадион (Бейжің)]]
[[ko:베이징 국가체육장]]
[[la:Stadium Nationale Pecinense]]
[[lb:Nationalstadion vu Peking]]
[[lv:Pekinas Nacionālais stadions]]
[[ml:ബെയ്‌ജിംഗ്‌ നാഷനൽ സ്റ്റേഡിയം]]
[[mr:बीजिंग नॅशनल स्टेडियम]]
[[ms:Stadium Nasional Beijing]]
[[mt:Grawnd Nazzjonali ta' Bejġing]]
[[nl:Nationaal Stadion van Peking]]
[[no:Beijings nasjonalstadion]]
[[pl:Stadion Narodowy w Pekinie]]
[[pt:Estádio Nacional de Pequim]]
[[ro:Stadionul Național din Beijing]]
[[ru:Национальный стадион (Пекин)]]
[[sh:Nacionalni stadion u Pekingu]]
[[simple:Beijing National Stadium]]
[[sk:Kuo-ťia tchi-jü-čchang]]
[[sr:Национални стадион у Пекингу]]
[[sv:Pekings Nationalstadion]]
[[tl:Pambansang Istadyum ng Beijing]]
[[tr:Pekin Ulusal Stadyumu]]
[[uk:Пекінський національний стадіон]]
[[vi:Sân vận động quốc gia Bắc Kinh]]
[[zh:国家体育场 (北京)]]
[[zh-yue:北京國家體育場]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:55, 10 มีนาคม 2556

สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง
แผนที่
แผนที่โอลิมปิกกรีน
แบบสนามกีฬาฯที่เข้ารอบตัดเชือก ผลงานของบริษัทเอเอ็กซ์เอสแห่งญี่ปุ่น และสถาบันออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว

สนามกีฬาแห่งชาติกรุงปักกิ่ง (จีน: 北京國家體育場 , เป่ย์จิงกั๋วเจียถี่ยู่ฉาง) เป็นสนามกีฬาหลักที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่จะถูกจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม 2546 มีกำหนดการสร้างเสร็จในปี 2550 นี้ ได้รับการออกแบบโดย Herzog & DeMeuron (สวิสเซอร์แลนด์) และสถาบันออกแบบสถาปัตยกรรมจีน (China Architecture Design Institute) ครอบคลุมพื้นที่ 258,000 ตร. ม. และมีขนาดความจุ 1 แสนที่นั่ง ใช้งบประมาณถึง 3.5 พันล้านเหรินหมินปี้ โดยสนามกีฬาแห่งนี้จะถูกใช้เป็นสนามแข่งขันกรีฑาและฟุตบอล

สนามกีฬาดังกล่าวตั้งอยู่ทิศใต้ของสวนโอลิมปิกในปักกิ่ง โดยเป็นสเตเดียมแบบเปิด รวมพื้นที่ 23.7 เฮกเตอร์ เพื่อใช้ในพิธีเปิด – ปิด และการแข่งขันกรีฑาประเภทลู่และลานของกีฬาโอลิมปิก 2008 โดยสามารถจุผู้ชมได้มากถึง 100,000 คน แบ่งเป็นที่นั่งแบบถาวร 80,000 ที่ และที่นั่งเสริม 20,000 ที่(รื้อออกเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน) ทั้งนี้ ภายหลักการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 แล้ว สนามแห่งนี้จะใช้เป็นสนามแข่งขันระหว่างประเทศ หรือกิจกรรมทางกีฬาอื่น ๆ

การคัดเลือก

มีร่างการออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติจีน 3 ชุด ได้รับเลือกเข้าสู่สนามพิจารณารอบสุดท้าย ซึ่งเจ้าของแบบทั้งสามที่เข้ารอบตัดสินสุดท้ายนี้ได้แก่

  • กลุ่มบริษัทข้ามชาติเฮอร์ซอจ & เดอ มูรอนแห่งสวิสเซอร์แลนด์ และสถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งจีน
  • สถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งปักกิ่ง และ
  • กลุ่มบริษัทข้ามชาติเอเอ็กซ์เอสแห่งญี่ปุ่นและสถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว

สำหรับคณะกรรมการพิจารณาการออกแบบครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มสถาปนิก 13 คน จากประเทศต่างๆ 5 ชาติ จีนได้เปิดเวทีประกวดการออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา และมีกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการออกแบบงานก่อสร้างที่ช่ำชองการออกแบบสนามกีฬาทั้งในประเทศและต่าง

ประเทศ 13 กลุ่ม รวมทั้งกลุ่มความร่วมมือระหว่างบริษัทต่างๆ เข้าร่วมการแข่งขัน ในจำนวนนี้ ประกอบด้วยบริษัทสัญชาติจีน 2 แห่ง บริษัทจากต่างประเทศ 8 แห่ง และกลุ่มความร่วมมือระหว่างบริษัทจีนและต่างประเทศ 3 แห่ง

ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการฯได้ประกาศการตัดสินร่างแบบฯของกลุ่มบริษัท 3 กลุ่ม เข้ารอบการพิจารณาสุดท้าย พร้อมทั้งมีการนำร่างการออกแบบสนามกีฬาของกลุ่มบริษัททั้ง 13 แห่ง มาแสดงนิทรรศการที่ศูนย์การประชุมนานาชาติในปักกิ่ง ให้สาธารณชนชม ร่างแบบทั้ง 13 ชุดนี้ เป็นของกลุ่มบริษัทจากทั่วโลกได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี รวมทั้งกลุ่มความร่วมมือของบริษัทจีน-ฮ่องกง เป็นต้น

ในงานนิทรรศการแสดงร่างการออกแบบสนามกีฬาดังกล่าว เปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรีไปถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 ทั้งยังมีการเปิดโอกาสแก่ประชาชนให้คะแนนร่างแบบที่พวกเขาชื่นชอบด้วย ซึ่งคะแนนเหล่านี้ จะมีผลต่อการตัดสินของคณะกรรมการฯ

หลังจากตัดสินแบบสนามกีฬาแล้ว ปักกิ่งจะเริ่มลงมือก่อสร้างในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สนามกีฬาใหม่นี้ ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นในบริเวณตอนใต้ของสวนโอลิมปิกในปักกิ่ง สามารถรองรับผู้ชมการแข่งขันได้ถึง 80,000 คน และจะเป็นสถานที่ดำเนินพิธีเปิดและปิดมหกรรมกีฬาโลก 2008 ตลอดจนเป็นสถานที่จัดแสดงงานกลางแจ้งต่างๆระหว่างการแข่งขันด้วย

ผลการตัดสิน

จีนได้ตัดสินแบบสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ ซึ่งจะใช้เป็นสนามแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกปี 2008 การออกแบบที่ชนะการประกวดนี้ มีชื่อแบบว่า ‘รังนก’ (Bird's Nest) ซึ่งเป็นผลงานร่วมของสถาปนิกสวิสและจีน

ปักกิ่ง ซึ่งเป็นจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปี 2008 เปิดเวทีการประกวดแบบสนามกีฬาโอลิมปิกเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2002 และในเดือนมีนาคม คณะกรรมการได้ตัดสินแบบ 13 ชุด เข้ารอบสุดท้าย พร้อมได้นำออกแสดงในนิทรรศการและให้ประชาชนให้คะแนนแบบที่ตนเห็นว่าดีที่สุด

ในที่สุด แบบ ‘รังนก’ ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ร่วมของสถาปนิกชื่อดังของบริษัทออกแบบเฮอร์ซอจ & เดอ มูรอนแห่งสวิสเซอร์แลนด์ และสถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งจีน ก็ชนะใจกรรมการและประชาชน

สนามกีฬาแห่งนี้ มีรูปทรงรังนกที่มีโครงตาข่ายเหล็กสีเทาๆเหมือนกิ่งไม้ ห่อหุ้มเพดานและผนังอาคารที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใส อัฒจันทร์มีลักษณะรูปทรงชามสีแดง ซึ่งดูคล้ายกับพระราชวังโบราณ ‘กู้กง’ ของจีน ภาพโครงสร้างของสนามกีฬาแห่งนี้ จึงดูคล้ายพระราชวังสีแดง ที่อยู่ภายในรั้วกำแพงสีเทาเขียว ซึ่งให้กลิ่นอายงดงามแบบตะวันออก

สำหรับบันไดภายในสนามกีฬาถูกสร้างให้กลมกลืนกับโครงตาข่าย ซึ่งให้ภาพลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเอกภาพ

สนามกีฬาโอลิมปิกนี้ มีกำหนดเริ่มก่อสร้างในวันที่ 24 ธันวาคม 2003 ตอน 10 โมงเช้า

39°59′30″N 116°23′26″E / 39.99167°N 116.39056°E / 39.99167; 116.39056